-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 648 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

เกษตรต่างแดน4




หน้า: 1/2


มาเลเซีย  การเกษตรสมัยใหม่บนคาเมรอน  
คาเมรอน  มาเลเซีย  ชื่อนี้คนไทยอาจไม่คุ้นหูนัก แต่หากพูดถึงเก็นติ้ง หรือแหล่งกาสิโน ที่อยู่บนเขาเก็นติ้ง ก็อาจร้องอ๋อ เพราะ้ใครๆ ก็รู้จัก โดยเฉพาะนักพนันที่เอาเงินไปบริจาคให้กับบ่อนรวมๆกันแล้วก็นับเป็นพันๆ หมื่นๆ ล้าน แต่ปัจจุบันบ่อนพนันเกิดขึ้นหลายแห่งรอบชายแดนไทยทำให้เก็นติ้งไม่เป็นที่นิยมของนักพนันจากไทยเท่าใดนัก


คาเมรอน ก็เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ สำหรับผู้ที่ชอบป่าเขา หรือมาพักบนเขาที่มีบรรยากาศแบบตะวันตก โดยเฉพาะบ้านพักหลังใหญ่ๆ สไตล์อังกฤษ ที่ยังหลงเหลือให้เห็นตามหุบเขา  ใครเห็นแล้วก็บอกว่าเหมือนมาเที่ยวสวิสเซอร์แลนด์


ความสูงบนคาเมรอนประมาณ 1,830 เมตร หรือ 6,000 ฟุต เทียบกับบ้านเราก็ไม่ถือว่าสูงมาก แต่ที่นี่เป็นเขตชุ่มชื้นเหมือนภาคใต้ของเรา  ทำให้มีเมฆมาก  ความสูงระดับนี้ก็พอเพียงที่จะสัมผัสถึงกลุ่มเมฆ  ที่ลอยต่ำและมีอากาศหนาวเย็นคล้ายภาคเหนือบ้านเรา


ที่พักมีหลายรูปแบบ เช่น โรงแรม รีสอร์ต เกสเฮ้าส์ หรือแค้มปิ้ง  ลองเข้าไป search Google ก็จะเห็นบริการที่พักแบบต่างๆ มากมาย  ชาวมาเลเซียเองก็นิยมพาครอบครัวมาพักผ่อน หรือแม้แต่ชาวสิงคโปร์ ก็นิยมขับรถมาพักผ่อนที่นี่เช่นกัน  วันหยุดสุดสัปดาห์ที่จะเต็มเกือบทุกแห่ง โดยเฉพาะบ้านพักเป็นหลังๆ สไตล์เก่าแก่คล้ายชนบทของประเทศทางยุโรป 
 
บนคาเมรอนมีกฏเกณฑ์เรื่องการควบคุมมลภาวะที่เข้มงวดมาก การอยู่อาศัยของผู้คน โรงแรมที่พัก และฟาร์มการเกษตรที่ใหญ่โต จึงไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่สิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะฟาร์มเกษตร มีมากมายทั่วทั้งภูเขา เป็นการการเกษตรสมัยใหม่ ไม่ใช้สารเคมีใดๆ ทั้งปุ๋ยหรือยาฆ่าแปลง พื้นที่ที่อยู่รอบข้างจึงไม่เดือดร้อนจากการพ่นยาฆ่าแมลงเหมือนบ้านเรา ที่นี่เป็นแหล่งผลิตอาหารทางการเกษตรที่ใหญ่เป็นอันดับ 1 ของมาเลเซีย สามารถเลี้ยงคนมาเลเซียค่อนประเทศ และยังสามารถส่งออกไปเลี้ยงคนสิงคโปร์ได้ จนหลายคนบอกว่าพืชผักผลไม้จากคาเมรอนที่เดียว สามารถเลี้ยงคนได้ถึง 2 ประเทศ


พืชผักจากคาเมรอน เป็นตัวอย่างการการเกษตรที่มีการนำเทคโนโลยี่ทางการเกษตรมาใช้ และบริหารจัดการในรูปแบบของธุรกิจเอกชน ดังนั้นเจ้าของฟาร์ม เจ้าของพื้นที่การเกษตรจึงเป็นห้างหุ้นส่วน บริษัท หรือที่เรียกว่านิติบุคคล


ผลผลิตทั้งหมดมีตลาดรองรับที่แน่นอน รัฐบาลไม่ต้องเข้ามายุ่งในเรื่องการประกัน ราคาพืชผล เพราะเจ้าของกิจการสามารถหาตลาดได้ด้วยตัวเอง  หรืออาจร่วมมือกับธุรกิจการเกษตรต่างประเทศ เพื่อเป็นตัวเชื่อมนำผลิตภัณฑ์ส่งไปขาย บางบริษัทอาจเป็นสาขา หรือร่วมมือกับธุรกิจที่มีความก้าวหน้าทางการเกษตร กิจการของมาเลเซียจึงได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี่ในระดับนานาชาติ ผลผลิตจากเคเมรอนจึงเป็นสินค้าเกษตรที่ได้มาตรฐาน สามารถเข้าไปขายยังประเทศที่เข้มงวดเรื่องสารพิษหรือสารตกค้างได้อย่างไม่มีปัญหา


การเกษตรที่คาเมรอนประสพความสำเร็จมาได้ทุกวันนี้  ต้องยกเครดิตให้กับผู้บุกเบิกในอดีต ได้แก่ นักสำรวจชาวอังกฤษที่ชื่อ William Cameron โดยรัฐบาล (อังกฤษ) ที่ปกครองมาเลเซีย  มอบหมายให้สำรวจพื้นที่บนภูเขา เพื่อทำแผนที่เมื่อปี ค.ศ 1885 หรือ พ.ศ. 2428 ในการสำรวจก็ได้เก็บและบันทึกข้อมูลต่างๆ ด้วย  เช่น อุณหภูมิ ความสูง  ความชื้น  ซึ่งเป็นข้อมูลทางวิชาการเพื่อใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ กระทั่ง ค.ศ 1925 (พ.ศ.2468) Sir George Maxwell ได้มาพัฒนาและตั้งสถานีทดลองบนคาเมรอน ( Hill Station Grew) ได้แก่  ตั้งฟาร์มเลี้ยงผีเสื้อ  เลี้ยงผึ้ง  ปลูกชา  ดอกไม้  พืชผักต่างๆ  จากนั้นบนเขาคาเมรอนก็มีสำนักของทางราชการ (อังกฤษ) อีกหลายหน่วยงาน เช่น ศูนย์พฤกศาสตร์  เป็นต้น


พืชชนิดแรกที่เริ่มทดลองปลูก ก็คือ  “ชา” เป็นการนำชาพันธ์ดีจากอินเดียมาปลูกบนคาเมรอนที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับไร่ชาในประเทศอินเดีย  จนกระทั่งประสพผลสำเร็จ  จากนั้นก็นำสตอร์เบอรี่มาทดลองปลูก  พร้อมกับตั้งฟาร์มเลี้ยงผึ้ง  ต่อมาได้นำพืชผักเมืองหนาวชนิดอื่นๆ มาปลูก ก็ได้รับความสำเร็จเช่นกัน  จนคาเมรอนกลายเป็นพื้นที่การเษตรที่ใหญ่ที่สุดของมาเลเซีย และมีชื่อเสียงในระดับนานาชาติ  ในฐานะที่เป็นศูนย์วิจัยพฤกษศาสตร์ของอังกฤษในต่างแดน


คาเมรอนในช่วงนั้นกลายเป็นสถานที่พักผ่อนตากอากาศของข้าราชการและเจ้าขุนมูลนายชาวอังกฤษ ที่ปกครองมาเลเซีย  มีการสร้างบ้านพักในสไตล์อังกฤษและสถานที่ราชการไว้หลายหลัง ปัจจุบันยังพอเหลือและบางแห่งได้รับการอนุรักษ์ไว้  ส่วนอาคารต่างๆ ที่สร้างขึ้นมาใหม่  ก็ได้ยึดตามสไตล์คลาสสิคแบบเดิมๆ  เพื่อจูงใจนักท่องเที่ยวจากยุโรป


ปัจจุบันบ้านพักตากอากาศ  โรงแรม  รีสอร์ต  ของคาเมรอนเป็นที่รู้จักในบรรดานักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยเฉพาะชาติอังกฤษ มีการประกาศโฆษณาและเปิดเว็บไซต์ขายบริการกันมากมาย หากคนไทยมีโอกาสมาเที่ยวคาเมรอนก็อาจแปลกใจที่เห็นบรรยากาศเป็นแบบตะวันตก  อากาศดี  สถานที่ดี  มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน  ไม่ว่าจะเป็นอาหารการกิน สนามกีฬา  สนามกอล์ฟ  แหล่งบันเทิงต่างๆ  แต่ทั้งหมดนี้อยู่ในการควบคุมดูแลในด้านสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างดี เพียงแค่ขับรถวนอยู่บนภูเขาก็มองเห็นถึงการเอาใจใส่ดูแล เช่น  ถนนที่ราบเรียบและปลอดภัยมาก  ตามริมถนนมีร่องระบายน้ำตลอดแนว  ตรงหน้าผามีการทำรางน้ำไหล  โดยการทำเป็นขั้นบันใดเพื่อลดความเร็วของกระแสน้ำ  ส่วนหน้าผาที่อาจมีดินถล่มก็จะมีผ้ายางขนาดใหญ่ขึงปิดไว้ไม่ให้โดนฝนชะ


เห็นแล้วก็อยากให้บ้านเราเป็นแบบนี้บ้าง  ที่ดูดีไปหมดทุกอย่าง  หลายอย่างที่สังเกตเห็น  รู้สึกว่าทางการมาเลเซียให้ความสำคัญในเรื่องความปลอดภัยเป็นอย่างมาก อะไรก็ตามที่เห็นว่าอาจเป็นอันตรายต่อการสัญจร  ก็จะหาทางป้องกันทั้งหมด   หากจะบอกว่าเป็นประเทศที่ร่ำรวยมีงบประมาณมากก็คงไม่ไช่   น่าจะเป็นเรื่องความสำนึก และการเอาใจใส่มากกว่า


คนไทยที่มีโอกาสนั่งรถไปตามถนนข้ามจังหวัดของมาเลเซีย  มักพูดเป็นเสียงเดียวกันว่ามีความปลอดภัยมาก นั่งรถก็สบายใจ ขับรถก็ปลอดภัย  หันมาดูบ้านเราบ้าง  ผู้เกี่ยวข้องอาจบอกว่าบ้านเรารถเยอะกว่า ก็อาจมีเหตุผลพอฟังได้ แต่จริงๆ แล้วน่าจะเป็นจิตสำนึกของผู้คนในหน่วยงานที่กี่ยวข้อง


เรื่องง่ายๆ ทีเห็นบ่อยตามทางหลวงก็คือว่า   ตรงจุดกลับรถ หรือยูเทิร์น  มักจะปลูกต้นไม้ดอกไม้ และทำเนินดินเป็นสวนหย่อมซะสูงลิบ  จนบดบังทัศนวิสัย  ทั้งที่ควรจะให้ดูโล่งๆ  เพื่อให้ผู้ขับขี่มองเห็นรถฝั่งตรงข้ามในระยะำไกล  แต่บ้านเราหวังจะให้สวยงาม จุดกลับรถจึงเป็นจุดอันตรายทั้งผู้ขับทางตรงและผู้ที่จะกลับรถ เพราะมองไม่เห็นซึ่งกันและกัน  โดยเฉพาะในยามค่ำคืนจะอันตรายมาก ใครไม่เชื่อลองขับไปสายซูเปอร์ไฮเวย์หรือสายเหนือบ้างก็จะเห็นเอง  นั่นแหละเป็นหลักฐานที่ฟ้องหน่วยงานทางหลวงว่า



 
แนวโน้มการขยายการส่งออกผลไม้มาเลเซีย          

             
ขณะนี้มาเลเซียเตรียมรณรงค์การส่งออกผลไม้สำคํญเพิ่มอีก 5  ชนิด ได้แก่ แก้วมังกร ส้มโอ ขนุน สละ ลำไย นอกเหนือจากมะละกอ ทุเรียน กล้วย แตงโมไร้เมล็ด มะเฟือง สัปประรด เงาะ และมังคุดที่มาเลเซียส่งออกไปตลาดโลกอยู่แล้ว
             
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรมาเลเซียกล่าวว่าผลไม้เขตร้อนและกึ่งร้อนกำลังได้รับความนิยมในตลาดโลกจนกลายเป็นสินค้าที่มีขีดความสามารถในการแข่งขัน   มาเลเซียมีแผนจะปรับยุทธศาสตร์การตลาดเพื่อเพิ่มศักยภาพให้แก่ผลไม้ของตนในภาพรวม โดยจัดทำแผนขึ้นทะเบียนฟาร์ม การจัดตั้งศูนย์ควบคุม เป็นต้น



ที่มา  : สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ
ประจำสหภาพยุโรป  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

 



มาเลเซียตั้งเป้ายอดผลิตสินค้าประมง 507,558 ตัน

กรมประมงมาเลเซีย ตั้งเป้าหมายยอดการผลิตสินค้าประมงในปี 2553 ถึง 507,558 ตัน

              
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรมาเลเซีย ระบุว่า รัฐเประ (Pera) สามารถผลิตสินค้าประมงได้ถึง 137,400 ตัน จากโครงการพื้นที่อุตสาหกรรมประมง (AIZ) ซึ่งมีพื้นที่โดยประมาณ 15,975 ไร่ และมาเลเซียคาดการณ์ให้ Tasik Temegor เป็นแหล่งขยายพันธุ์ปลา ในปี 2556

              
นอกจากนี้ บริษัท Trapia Malaysia Sdn Bhd ได้ทำข้อตกลงกับรัฐบาลของรัฐเประเกี่ยวกับการขยายพันธุ์ปลานิลน้ำจืดใน Tasik Temengor และบริษัทดังกล่าวได้เริ่มทำการวิจัยในหลายประเทศ ได้แก่ ไทย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และ จีน



ที่มา : The Fish Site





 

กฎเหล็กส่งออกผักผลไม้ไทยไปมาเลเซีย


ผู้ส่งออกไทยอ่วมอีกระลอก หลังมาเลเซียเตรียมออกกฎระเบียบมาตรฐานเกรดบรรจุภัณฑ์และฉลากสินค้าใหม่ต้นปี 2553 กรมวิชาการเกษตรเตือนผู้ประกอบการไทยเร่งปรับตัว รักษาส่วนแบ่งตลาดผักผลไม้สดไทยในมาเลเซียหวั่นโดนจีน เกาหลี ออสเตรเลีย ฮุบตลาดส่งออกผลไม้และผักสดของไทยมูลค่ารวมกว่า 2,000-3,000 ล้านบาทต่อปี

วิชา ธิติประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ขณะนี้กระทรวงเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ประเทศมาเลเซียได้ออกกฎระเบียบว่าด้วยมาตรฐานขนาด (เกรด) บรรจุภัณฑ์และฉลากสำหรับสินค้าเกษตร ซึ่งจะเริ่มมีผลบังคับใช้ในเดือนมกราคม 2553 โดยกฎระเบียบดังกล่าวมีสาระสำคัญครอบคลุมการส่งออกและนำเข้าสินค้าเกษตรด้านพืช ได้แก่ผักสด 73 ชนิด ผลไม้สด 56 ชนิด ไม้ตัดดอก 6 ชนิดถั่ว 2 ชนิด มะพร้าว เมล็ดกาแฟ และลำต้นอ้อยสำหรับมาตรฐานบรรจุภัณฑ์ที่ใช้หีบห่อสินค้า มาเลเซียได้กำหนดให้ใช้วัสดุที่สะอาด มีความแข็งแรงสามารถป้องกันการกระแทกที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายระหว่างการลำเลียงและการบรรจุภัณฑ์ต้องไม่เกิน 30 กิโลกรัม/1 บรรจุภัณฑ์และให้บรรจุเฉพาะสินค้าประเภทและมาตรฐานเกรดเดียวกันเท่านั้น

กรณีนำบรรจุภัณฑ์เดิมมาใช้ใหม่ต้องลบหรือถอดฉลากเดิมออกก่อนส่วนฉลากสินค้าที่ติดบนบรรจุภัณฑ์ต้องมีขนาดไม่ต่ำกว่า11x7 เซนติเมตร โดยต้องติดไว้ด้านบนหรือด้านข้างของบรรจุภัณฑ์ขนาดตัวอักษรไม่ต่ำกว่า 20 point พิมพ์ด้วยตัวพิมพ์ใหญ่หรือตัวพิมพ์เล็กทั้งหมด และข้อมูลที่ปรากฏบนฉลากต้องมีชื่อที่อยู่ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก ตัวแทนผู้ผลิตหรือผู้จัดจำหน่ายชื่อสามัญสินค้า มาตรฐานเกรด ขนาด ประเทศแหล่งกำเนิดสินค้าและน้ำหนักสุทธิ หากเป็นสินค้านำเข้าต้องพิมพ์ฉลากเป็นภาษามาเลเซียด้วย เพื่อให้สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้กรณีสินค้ามีปัญหา


ทั้งนี้ สินค้าผลไม้สด ผักสด และไม้ตัดดอกที่จะส่งออกไปยังมาเลเซีย จะผ่านขั้นตอนการตรวจสอบมาตรฐานโดยเจ้าหน้าที่ Federal Agricultural Marketing Authority(FAMA) ของมาเลเซีย ตามจุดชายแดน ด่านศุลกากรและท่าเรือขนส่งสินค้าก่อนนำเข้า ซึ่งจะต้องมีค่าธรรมเนียมการตรวจสอบด้วย โดยในปี 2553

หากสินค้าไม่ผ่านการตรวจสอบผู้ส่งออกจะถูกแจ้งเตือน และหลังจากปี 2554 เป็นต้นไปหากไม่ปฏิบัติตาม สินค้าจะถูกปฏิเสธการนำเข้าทันทีและอาจมีโทษตามกฎหมายมาเลเซีย โดยปรับไม่เกิน 1,000 ริงกิตหรือประมาณ 10,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 6 เดือนหรือทั้งจำทั้งปรับเป็นเรื่องน่าวิตกว่ากฎระเบียบฉบับใหม่นี้อาจส่งผลกระทบโดยตรงต่อมูลค่าการส่งออกรวมประมาณปีละ 2,000-3,000ล้านบาท เพราะผู้ประกอบการไทยจะแตกแบกรับภาระต้นทุนที่สูงขึ้น เนื่องจากสินค้าของไทยที่ส่งออกไปมาเลเซียมีลักษณะคละเกรดและบรรจุในลังพลาสติก กล่องกระดาษ และถุงพลาสติกแตกต่างกับสินค้าของคู่แข่งสำคัญในตลาดอย่าง จีน ออสเตรเลียและเกาหลี ซึ่งได้มีการคัดเกรดและบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมอยู่แล้ว

ดังนั้น เพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดผักผลไม้สดไทยในมาเลเซียเอาไว้ โดยเฉพาะมะม่วง ทุเรียน มังคุด ลำไย เงาะ มันสำปะหลังหอมแดง หอมหัวใหญ่ พริกหยวก และพืชผักตระกูลถั่วที่กำลังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ประกอบการไทยจะต้องเร่งปรับตัวให้สอดคล้องกับมาตรฐานของมาเลเซียเพื่อปกป้องตลาด และยังอาจช่วยผลักดันการส่งออกผักผลไม้สดของไทยไปยังมาเลเซียให้เฟื่องฟูขึ้นถึง 6,000 ล้านบาทได้ภายในปี 2554







ผนึกกำลังอินโดนีเซียและมาเลเซีย ฟื้นความเชื่อมั่นสินค้ายางพาราในตลาดโลก
สถานการณ์วิกฤติการเงินของสหรัฐ ส่งผลกระทบกับหลายประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะในด้านการชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจ นักลงทุนชะลอการลงทุนในช่วงนี้ ทำให้สินค้าหลายรายการได้รับผลกระทบถูกฉุดราคาตกต่ำตามไปด้วยเพราะไม่สามารถส่งออกได้เหมือนเดิม สินค้าที่เห็นได้เด่นชัดในขณะนี้คือยางพาราที่มีการปรับราคาลดลงอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง โดยมีการปรับลดจากกิโลกรัมละ 91.93 บาท เมื่อเดือนกันยายน ลงมาต่ำสุดที่กิโลกรัมละ 48.89 ในเดือนตุลาคม คิดเป็นสัดส่วนที่ลดลงถึงร้อยละ 53.18
 
“ปัญหาราคายางพาราตกต่ำในครั้งนี้ถึงแม้จะมีสาเหตุหลักมาจากวิกฤติการเงินโลก แต่ในด้านปัจจัยพื้นฐานด้านอุปสงค์-อุปทานยางยังมีความแข็งแกร่ง ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงแบบผิดปกติ แต่ก็ได้ส่งผลกระทบกับประเทศผู้ผลิตยางพาราที่สำคัญของโลก ทั้งไทย อินโดนีเซียและมาเลเซีย เนื่องจากคาดว่าผลกระทบนี้จะทำให้ความต้องการใช้ยางในอนาคตไม่ขยายตัวอย่างปกติในอีก 1-2 ปีข้างหน้า ดังนั้น ทั้ง 3 ประเทศในนามบริษัทร่วมทุนยางพาราระหว่างประเทศและสภาความร่วมมือด้านยางระหว่างประเทศ จึงได้ประชุมหารือถึงสถานการณ์ดังกล่าวเพื่อแก้ไขปัญหาราคายางตกต่ำอย่างเร่งด่วน” นายธีระชัย แสนแก้ว รมช.เกษตรฯ กล่าว
 
โดยมติที่ประชุมได้กำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาไว้ 4 มาตรการ ทั้งมาตรการระยะสั้นและระยะยาว ดังนี้

1.เร่งรัดการปลูกแทนต้นยางเก่าที่มีอายุมากกว่า 20 ปี ซึ่งทั้งสามประเทศได้ตกลงที่จะเพิ่มพื้นที่ปลูกแทนในปี 2552 จากปกติที่เคยปลูกแทนปีละ 7 แสนไร่ เป็น 1.06 ล้านไร่ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 51 จากพื้นที่ปลูกแทนเดิม ซึ่งจะทำให้ผลผลิตหายไปจากตลาด 2.15 แสนตัน สำหรับประเทศไทยจะปลูกแทนในพื้นที่ 4 แสนไร่ ทำให้ผลผลิตลดลง 1 แสนตันในปี 2552

มาตรการที่ 2 คือการควบคุมพื้นที่ปลูกยางใหม่ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมเพื่อไม่ให้เกิดภาวะยางล้นตลาดในอนาคต โดยไทยจะสนับสนุนให้มีการเปลี่ยนพื้นที่ปลูกยางในภาคใต้ไปปลูกพืชอื่นที่มีความเหมาะสมกว่า ส่วนอินโดนีเซียจะใช้วิธีควบคุมโดยการจดทะเบียน ขณะที่มาเลเซียจะไม่ขยายพื้นที่ปลูกใหม่อยู่แล้ว
 
มาตรการที่ 3 การชะลอการกรีดยางและการขายยาง ทั้งสามประเทศจะโน้มน้าวให้เกษตรกรใช้ระบบกรีดที่มีความถี่น้อยลง เช่น ใช้ระบบกรีด 1 วัน เว้น 2 วัน แทนระบบกรีดแบบวันเว้นวัน และมาตรการสุดท้ายทางสมาคมผู้ค้ายางฯ ของทั้งสามประเทศจะให้ความร่วมมือในการไม่ลดราคายางที่มีการตกลงไว้กับผู้ซื้อในช่วงที่ราคายางสูง และไม่บิดพลิ้วสัญญา ร่วมกับฟื้นความเชื่อมั่นทางการตลาดให้กลับมาโดยเร็ว
 
นอกจากมาตรการแก้ไขปัญหาระยะเร่งด่วนทั้งสี่มาตรการข้างต้น ทางกระทรวงเกษตรฯยังได้เตรียมการแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่องโดยจะมีการติดตามและประเมินสถานการณ์ยางโลกในระยะยาวอีก 10-12 ปี ข้างหน้า ประกอบกับจัดทำแผนยุทธศาสตร์พัฒนายางพาราเป็นระยะ เพื่อให้การผลิตสอดคล้องกับความต้องการใช้ในประเทศและการส่งออก โดยเน้นการเพิ่มผลผลิตแทนการขยายพื้นที่ปลูก ที่สำคัญจะลดการส่งออกยางธรรมชาติในรูปที่เป็นวัตถุดิบ แต่จะสนับสนุนให้มีการผลิตอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางแปรรูปส่งออก เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มแทน พร้อมกันนี้จะหาทางจัดตั้งกองทุนยางพาราเพื่อเก็บค่าธรรมเนียมจากการส่งออกยางและผลิตภัณฑ์ยาง เพื่อนำเงินไว้ใช้แก้ปัญหาในกรณีที่ยางราคาตกต่ำ
 
ภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยในขณะนี้มีนักวิเคราะห์คาดว่าจะกินเวลาอย่างน้อยถึงสิ้นปี 2552 ส่งผลให้ความต้องการใช้ยางธรรมชาติจะขยายตัวลดลงจากปกติ จึงควรปรับปริมาณการผลิตยางให้สมดุลกับความต้องการใช้เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาวิกฤติราคายางขึ้นอีก รวมทั้งควรเพิ่มการใช้ยางภายในประเทศทั้งในงานก่อสร้างถนน งานด้านวิศวกรรม หรือแม้กระทั่งส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์ยาง เพื่อลดปริมาณยางที่ส่งออกในรูปวัตถุดิบ ที่สำคัญยังเพิ่มมูลค่าให้กับยางได้อีกด้วย ที่สำคัญไปกว่านั้นถ้าราคายางดีชาวสวนยางจะมีกำลังใจในการพัฒนาสวนยางและยังช่วยให้ครอบครัวได้อยู่พร้อมหน้าพร้อมตาไม่ต้องอพยพไปเป็นแรงงานรับจ้างที่อื่น เป็นการรักษาวัฒนธรรมท้องถิ่นของคนจำนวนไม่น้อยของประเทศ
 
ผลจากมาตรการความร่วมมือของทั้งสามประเทศในการแก้ปัญหาราคายางพาราตกต่ำ ปรากฏว่าราคายางพาราเริ่มปรับตัวดีขึ้นมาในระดับหนึ่ง จากกิโลกรัมละ 48.89 บาท ขึ้นมาอยู่ที่กิโลกรัมละ 60-65 บาท และมีแนวโน้มจะปรับสูงขึ้นในอีกไม่ช้า ซึ่งหวังว่าราคายางพาราจะปรับตัวสูงขึ้นมาในระดับที่เกษตรกรพอใจโดยเร็ว เพื่อความมั่นคงในอาชีพและความเป็นอยู่ของเกษตรกรไทยในอนาคต.




มาเลเซีย คู่แข่งที่น่าจับตามอง ของไทย
ภาวะวิกฤติเศรษฐกิจของโลก ที่ปรากฏกันอยู่ในปัจจุบัน เป็นภาวะที่หนักหนาสาหัส ในระดับดลก ทำให้หลายประเทศมีการออกมาตรการการปกป้องทางการค้า ทั้งนี้เพื่อสงวนการจับจ่ายใช้สอยในการซื้อสินค้าการผลิตภายในประเทศของตน เพื่อให้ประชาชนของตนเองได้มีงานทำ เป็นการบรรเทาผลกระทบ ต่อภาวะถดถอยทางระบบเศรษฐกิจ และในอีกด้านหนึ่งก็คือการเร่งการใช้จ่าย และการลงทุน ของทั้งภาครัฐและภาคเอกชน

หลายท่านที่ได้สังเกตุข่าวสารที่ปรากฏอย่างต่อเนื่องนับแต่กลางปี2008 ที่ผ่านมาต่างกล่าวกันว่า ประเทศไทยของเราควรหันมาพิจารณาใช้ นโยบายเศรษฐกิจ และอุตสาหกรรม เพื่ออำนวยประโยชน์และปกป้องความเสียหายที่กำลังจะเกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจของประเทศเรา อาทิเช่น รัฐบาลควรมุ่งส่งเสริมกิจกรรมต่างๆเพื่อให้การซื้อสินค้าจากผลผลิตของ “ผู้ผลิตในประเทศ” โดยใช้มาตรการต่างๆ และการเร่งสร้างบรรยากาศเพื่อส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในประเทศ

มาเลเซียซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านของเรา มีประสบการณ์ยาวนานในการใช้นโยบายเศรษฐกิจ บทเรียนของมาเลเซียจึงน่าสนใจและมีความหมายต่อประเทศไทย บทความนี้จะรายงานแนวคิดการใช้นโยบายเศรษฐกิจ นโยบายการเกษตร และ อุตสาหกรรมแบบ ของมาเลเซีย เพื่อเป้นตัวอย่างหนึ่ง ในการพิจาณา ดังที่ปราชญ์หลายท่านกล่าวไว้ว่า ....รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง....

ตัวอย่างที่ หนึ่ง
ในเดือนมีนาคม 2552 มาเลเซียจะมีการประกาศใช้มาตรฐานการนำเข้าสินค้าเกษตรที่จะนำเข้าไปยังมาเลเซียที่มีความเข้มงวดในเรื่องมาตรฐานความปลอดภัยทางด้านอาหาร

ตัวอย่างที่ สอง
รัฐบาลอินโดนีเซียกับรัฐบาลมาเลเซียได้ใช้มาตรการกีดกันหรือห้ามการนำเข้าน้ำตาลจากประเทศไทยจากการประมูลครั้งล่าสุด โดยรัฐบาลอินโดนีเซียใช้นโยบายที่จะลดการนำเข้าน้ำตาลทรายขาว หรือ refined sugar ไปจนกระทั่งถึงห้ามนำเข้าน้ำตาลทรายขาวจากประเทศไทย ในขณะที่รัฐบาลมาเลเซียสั่งห้ามมิให้น้ำตาลทรายดิบที่ผลิตจากประเทศไทยเข้าร่วมในการประมูลครั้งล่าสุด ด้วยการระบุไว้ในหลักเกณฑ์การประมูลอย่างชัดเจน โดยทั้ง 2 ประเทศอ้างว่าน้ำตาลทรายที่ผลิตจากประเทศไทยนั้น "คุณภาพไม่ดีพอ"

ตัวอย่างที่สาม
ข้อบังคับในอุตสาหกรรมรถยนต์ของมาเลเซียที่ มีการอนุญาตให้เจ้าของกิจการที่มีเชื้อสายมาเลย์เท่านั้น ที่สามารถดำเนินธุรกิจนำเข้ารถยนต์ได้

เป็นที่เข้าใจได้ว่า นโยบายเหล่านี้ที่ทางผู้บริหารประเทศต่างๆในโลก ได้ทยอยกันออกมาเป็นระลอกแล้วระลอกเล่า ทั้งนี้ก้เพื่อปกป้อง ประชาชนของตนเองให้มีงานทำจากการผลิตภายในประเทศ ....... ซึ่งไม่เฉพาะแต่มาเลเซียเท่านั้น หากทั้งในสหรัฐอเมริกา แคนนาดา อินเดีย เวียตนาม ต่างๆเหล่านี้ ก็มีการทยอยกันออกมาตรการในแนวนี้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

แม้นแต่สหภาพยุโรปเอง ที่เคยมีจุดยืน ในเรื่องการค้าเสรี และคัดค้านการปกป้องทางการค้ามาโดยตลอด ล่าสุดก็ยังมีท่าทีที่ลังเลต่อการกำหนดมาตรการต่างๆ เพื่อปกป้องเศรษฐกิจของตนเองเช่นกัน .....

ประเทศไทยของเรา ต้องจับตามองเขา ..... แล้วคงต้องหันมามองตนเองเช่นกันในระยะนี้


ที่มาของข้อมูล บางส่วนจาก :
http://www.depthai.go.th




ปัญหา"ยางพารา" ไทยผลิตได้มากที่สุดในโลก มาเลเซียได้เงินมากกว่า

สุธีระ ประเสริฐสรรพ์ เขียนบทความเรื่อง "แนวทางการพัฒนายางให้เป็นเครื่องจักรเศรษฐกิจของประเทศ"

ตีพิมพ์เป็นเรื่องนำในจดหมายข่าวราย 2 เดือน "ประชาคมวิจัย" ฉบับที่ 54 (เดือนมีนาคม-เมษายน 2547) ของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ซึ่งจัดทำเป็นฉบับพิเศษว่าด้วย


"ยางไทย วิจัยไปถึงไหน ?"


"มติชนสุดสัปดาห์" เห็นว่ารายละเอียดของบทความนำเรื่องของ สุธีระ ประเสริฐสรรพ์ มีข้อมูลและแนวทางเกี่ยวกับ "ยางพารา" น่าสนใจ จึงได้ตัดทอนและเรียบเรียงเอาเฉพาะประเด็นร้อนที่แหลมคม


โปรดอ่านและพิจารณา ดังนี้

ประเทศไทยผลิตยางมากที่สุดในโลก คือ ประมาณปีละ 2.5 ล้านตัน คิดเป็นถึง 1 ใน 3 ของผลผลิตยางทั่วโลก

เปรียบเทียบกับมาเลเซียมีผลผลิตยางมากกว่ามาเลเซียถึง 4 เท่า แต่กลับมีรายได้เข้าประเทศจากยางพาราน้อยกว่ามาเลเซียถึงปีละประมาณ 2,000 ล้านบาท (สถิติปี 2544)


ทั้งนี้เพราะยางพาราเป็นพืชเกษตรของประเทศที่ไม่มีพัฒนาการอุตสาหกรรมรองรับมากนัก ยางพาราจึงปรากฏแต่เพียงวัตถุดิบส่งต่อให้ประเทศอุตสาหกรรม และก็เป็นวัตถุดิบราคาถูกเพราะไม่มีเทคโนโลยีที่จะพัฒนาให้มีคุณภาพสูง

เป็นที่น่าสังเกตว่า ไทยเป็นผู้ส่งออกยางแผ่นรมควันรายใหญ่ที่สุดของโลก ในขณะที่มาเลเซียเป็นผู้ส่งออกยางแท่งที่มีระดับเทคโนโลยีการผลิตสูงกว่ายางแผ่นรมควัน


โรงงานยางแท่งในประเทศไทยล้วนแต่เป็น turnkey จากมาเลเซีย และบางแห่งบริหารด้วยคนมาเลเซียด้วยซ้ำไป สะท้อนให้เห็นว่า อุตสาหกรรมแปรรูปขั้นต้นพื้นฐานมากๆ ประเทศไทยก็ไม่ได้พัฒนาเทคโนโลยีขึ้นมาเอง

อาจกล่าวได้ว่า ที่ไม่มีเทคโนโลยีขั้นสูงในการรมยางก็เพราะไม่มีประเทศอื่นผลิตนอกจากประเทศไทย อุตสาหกรรมเคยรมกันอย่างไรในอดีตเมื่อ 100 ปีก่อนก็รมกันเช่นนั้นในวันนี้


จากการรวบรวมงานวิจัยของ 5 หน่วยงานหลักระหว่างปี 2543-2548 คือ สถาบันวิจัยยาง สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) ทบวงมหาวิทยาลัย และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) พบว่า


มีการลงทุนวิจัยที่เกี่ยวกับยางพาราทั้งหมด 43 ล้านบาท ถือว่ายังต่ำมากเมื่อเทียบกับมูลค่ายางพาราที่ทำรายได้ให้ประเทศกว่าแสนล้านบาทต่อปี



งานวิจัยส่วนใหญ่เป็นงานด้านเกษตรและการวิจัยขั้นพื้นฐาน

หากเทียบกับมาเลเซียแล้วจะพบว่า มีการลงทุนวิจัยประมาณ 727 บาทต่อตันวัตถุดิบที่เขาผลิตได้ แต่สำหรับประเทศไทย งบประมาณจากหน่วยงานหลักทั้งหมดคิดได้เพียง 58 บาทต่อตันวัตถุดิบเท่านั้น ความแตกต่างถึง 12 เท่านี้ทำให้แม้ว่าไทยจะผลิตยางได้มากกว่ามาเลเซียถึง 4 เท่าก็ยังทำให้การลงทุนวิจัยเกี่ยวกับยางพาราของไทยน้อยกว่ามาเลเซียถึง 3 เท่า ผลที่เกิดมาตามมา คือ ผลิตภัณฑ์ยางของมาเลเซียมีมูลค่าสูงกว่าไทย แม้แต่ยางดิบส่งออกของมาเลเซียก็ได้ราคาดีกว่าไทยเพราะเกิด country brand ในหมู่ผู้ซื้อ



ปี 2544 ไทยส่งออกยางดิบแปรรูปเบื้องต้นถึง 90% ของผลผลิต สร้างรายได้ 46,700 ล้านบาท และใช้เพียง 40% ผลิตผลิตภัณฑ์ใช้เองในประเทศและเหลือส่งออกสร้างรายได้ (เฉพาะที่ส่งออก) 48,500 ล้านบาท

จึงกล่าวได้ว่า การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ยางนั้นสร้างมูลค่าเพิ่มได้ถึง 10 เท่า


เมื่อคำนึงถึงความจริงที่ว่า น้ำยางทุกหยดจากต้นไม่สามารถใช้งานได้โดยตรงล้วนต้องแปรรูปทั้งสิ้น ดังนั้น การที่เราส่งออกเป็นยางดิบจำนวนมาและไม่แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ในประเทศ คือ การปล่อยให้โอกาสทางเศรษฐกิจหลุดออกไป

หากเราเพิ่มการใช้ยาง 20% เราจะมีรายได้เพิ่มขึ้นถึงปีละเกือบ 50,000 ล้านบาท


ช่องว่างอันใหญ่หลวงของยางพาราไทย คือ การใช้ยางผลิตผลิตภัณฑ์เพียง 10% เมื่อคำนึงถึงยางทุกหยดต้องแปรรูปก็หมายความว่า ในทางอุดมคติแล้วเราสามารถเพิ่มการแปรรูปได้ถึงปีละ 2.5 ล้านตัน แทนที่จะเป็นปีละ 250,000 ตันอย่างปัจจุบัน


หากทำได้เช่นนั้นจริงประเทศไทยจะมีรายได้จากยางพาราถึงปีละ 480,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเกือบ 5 เท่าตัว





สาเหตุที่มาเลเซียเจริญพัฒนากว่าไทย !!! จากกระทู้ "
ประเทศไทยกำลังพัฒนาไปผิดทาง..หรือไม่
http://www.pantip.com/cafe/wahkor/topic/X8921278/X8921278.html   

สาเหตุที่มาเลเซียเจริญพัฒนากว่าไทย !!!

คัดจากหนังสือ ' คิดเป็น รวยก่อน ' หน้า 271-274 โดย กรพจน์ อัศวินวิจิตร
( อดีตรมช.กระทรวงพาณิชย์ สมัยรัฐบาลชวน ๒ , อดีตผู้แทน การค้าระหว่ารงประเทศ รัฐบาลทักษิณ , กรรมการผู้จัดการ ธนาคาร....ในปัจจุบัน)


.......' เมื่อ 15 ปี ก่อน ผมไปเจรจาการค้าที่ประเทศมาเลเซีย ผมประเมินด้วยสายตา มาเลเซียล้าหลังกว่าเรา 20 ปี เป็นอย่างน้อย ปัจจุบันนี้ ผมไปมาเลเซียอีกครั้ง ผมตกใจ เขาทำท่าจะแซงหน้าเราซะแล้ว มหาเธร์ใช้เวลา 15 ปี ทำให้มาเลเซียที่ล้าหลังกว่าเราประมาณ 20 ปีกลับมาตีคู่กับเราได้ ต้องยอมรับว่าเก่งมาก ....

ประเด็นสำคัญประการหนึ่งที่ทำ ให้มาเลเซียพัฒนาได้เร็วมากก็คือ การเมืองของมาเลเซีย...นิ่ง.. รัฐบาลมีเสถียรภาพมาก มีคะแนนเสียงในสภาสูง มีฝ่ายค้านน้อย ทำให้มีเวลาทำงานเต็มที่ สามารถแก้กฏหมายสำคัญๆ ได้อย่างรวดเร็ว สามารถวางแผนระยะยาวได้ ที่สำคัญคือ มีโอกาสทำงานต่อเนื่องถึง 20 ปี ทำให้ทุกโครงการถูกสานต่อจนเสร็จและเกิดโครงการใหม่ที่ต่อเนื่องสอดรับกับ โครงการเก่า เสร็จไปแล้วหลายรุ่น

ผมได้พูดคุยกับนักธุรกิจชาวมา เลย์ ก็พูดจาชมเชยเขาว่า คนมาเลย์เป็นคนฉลาด คิดเก่ง ถึงสามารถพัฒนาประเทศให้เจริญได้อย่างรวดเร็ว เขาบอกว่า ไม่จริง คนไทยฉลาด และคิดเก่งกว่าคนมาเลย์เยอะ ผมก็งง ไม่เข้าใจ คนไทยฉลาด กว่า คิดเก่งกว่าคนมาเลย์ แล้วทำไมประเทศไทยถึงทำท่าจะเจริญช้ากว่ามาเลย์ล่ะ

เขาหัวเราะแล้วอธิบายว่า เขายอมรับว่า คนไทยเป็นคนฉลาด มีความคิดดี ประเทศไทยมีคนคิดโครงการดีๆ เยอะแยะมากมาย แต่ค่อนข้างโชคร้ายที่มีฝ่ายค้านและสื่อมวลชนที่เก่งเกินไป และขยันเกินไป

ผมยังไม่เข้าใจ เขาอธิบายว่า เวลามีโครงการดีๆ เป็นประโยชน์ต่อประเทศมหาศาลถูกเสนอเข้ามา ฝ่ายค้าน นักวิชาการ NGO ประชาชนนักประท้วง สื่อมวลชน จะร่วมกันคัดค้าน ถกเถียงกันไปมา ทะเลาะเบาะแว้งกัน ไม่มีใครยอมใคร เก่งหมดทุกคน กว่าจะหาข้อสรุปได้ก็ใช้เวลา 20 ปี

คนมาเลย์เนี่ยเป็นคนโง่ คิดอะไรไม่ค่อยเป็น แต่เรารู้ตัวว่าเราโง่ เราจึงร่วมมือกันทำงาน ร่วมมือกันวางแผน มีความคิดเห็นไปในทิศทางเดียวกัน ที่ประชุมสรุปยังไงเราทำยังงั้น ที่ประชุมสรุปว่า เมื่อเราโง่ เราไม่ต้องคิด เสียเวลา ให้ใช้วิธีคอยชะเง้อมองประเทศไทย ดูว่าไทยกำลังคิดอะไร ใครเสนอความคิดอะไรแปลกๆ ใหม ่ๆ เป็นโครงการที่ดี มีประโยชน์ต่อประเทศชาติ คนมาเลย์จะเอาโครงการนั้นมาทำทันที

มาเลย์ทำจนเสร็จ ใช้งานได้แล้ว ประเทศไทยยังทะเลาะกัน ยังถกเถียงกันไม่เสร็จเลย นี่คือเหตุผลว่า ทำไมมาเลเซียถึงเจริญเร็วกว่า พูดเสร็จ ก็หัวเราะลั่นห้องน้ำหูน้ำตาไหล

ผมหัวเราะไม่ออก แต่หน้าชา เพราะพอหลับตาก็เห็นภาพสนามบินหนองงูเห่า เพื่อนเห็นผมทำหน้าไม่ดีก็หยุดหัวเราะ แล้วหันมาขอโทษ บอกว่า ยูอย่าซีเรียส นี่เป็นโจ๊ก ไม่ใช่เรื่องจริง เป็นเรื่องเล่าคลายเครียดในหมู่นักธุรกิจชาวมาเลย์ 
ประเทศเกาหลีเป็นประเทศที่ยากจนมากๆในปี 1984 เกาหลีใช้เวลาเพียง 60 ปีเพื่อพัฒนาตนเองอย่างน่าอัศจรรย์ จนกลายเป็นประเทศผู้นำทางเศรษฐกิจเป็นอันดับที่ 13 ของโลก อะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้เกาหลีใต้ก้าวมาสู่จุดนี้ได้ เพื่อเป็นการเฉลิมฉลอง วันประกาศอิสรภาพของเกาหลีใต้เมื่อวันศุกร์ที่ 15 ส.ค. Chosun Ilbo เผยเคล็ดลับ ความสำเร็จของประเทศเกาหลีใต้


EDUCATION FEVER
เกาหลีใต้ได้รับอิสรภาพจากญี่ปุ่นในปี 1945 ในช่วงนั้นมีชาวเกาหลีเหนือเข้ามาอาศัยที่เกาหลีใต้เป็นจำนวนมาก ทำให้จำนวนประชากรในเกาหลีใต้เพิ่ม ขึ้นอย่างมาก และอยู่กันอย่างหนาแน่น ประกอบกับสงครามเกาหลีในช่วงปี 1950-1953 การศึกษาและทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพดูจะเป็นสิ่งเดียวที่ทำให้เกาหลีพัฒนาได้ ประชากรเกาหลี จึงพยายามทุกวิถีทางเพื่อให้บุตรมีการศึกษาที่ดี พวกเขาคิดว่า การศึกษาคือเครื่องมือที่แม่นยำที่สุดที่จะพลิกฐานะ และสถานภาพของคนให้ก้าวสู่อีกระดับหนึ่ง นอกจากนี้การศึกษาที่ดียังเป็น การสร้างบุคลกรที่มีคุณภาพมาพัฒนา เศรษฐกิจของชาติ อาจกล่าวได้ว่า เบื้องหลังของความสำเร็จของชาวเกาหลีก็คือ ความรักและ ความเสียสละของ พ่อแม่ที่ลงทุนทางการศึกษาเพื่ออนาคตของลูกๆ เพื่อตอบสนองต่อโลกยุคปัจจุบันที่ต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์ รูปแบบของการศึกษาใน ยุคนี้จึงแตกต่างจากยุคก่อน

LEADERSHIP
บทบาทของผู้นำเป็นสิ่งสำคัญมากในช่วงที่กำลังสร้างชาติ โดยเฉพาะในช่วงสงครามเย็น ผู้นำที่แข็งแกร่งเท่านั้นที่ จะนำพาชาติไปสู่การพัฒนาได้ YiSeungman ประธานาธิบดีคนแรกของเกาหลีใต้ดูแล ประเทศด้วยการคุมกองทัพ และตำรวจ รวมทั้งสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับสหรัฐอเมริกา ผู้นำที่เข็มแข็งอีกคนที่ชื่อ ParkChunghee แม้ว่าจะมี เหตุการณ์เกิดขึ้นมากมาย เขาก็นำพาประเทศข้ามผ่านความยากจนได้

HOPE & COURAGE
60 ปีที่ผ่านมาไม่ใช่ว่าจะไม่มีอุปสรรคหรือวิกฤตการณ์ในเกาหลี แต่ชาวเกาหลีสามารถเอาชนะวิกฤตการณ์ต่างๆมาได้ หลายคนกล่าวว่าชาวเกาหลีมียีนส์พิเศษที่เปลี่ยนโชคร้ายให้กลายเป็นโชคดีได้ บางคนกล่าวว่ากล่มมิชชั่นนารีนิกาย โปแตสแตนท์ที่เข้ามาช่วย พัฒนาประเทศเกาหลีประกอบกับแรงงานชาวเกาหลีที่ขยันขันแข็ง ทำให้เกาหลี สามารถ ยืนหยัดอยู่ในโลกทุนนิยมได้

HIGH SPIRITS
ตั้งแต่ ปี 1960 ชาวเกาหลีเอาชนะความยากลำบากของตนเองด้วยทัศนคติ Can-Do ทัศนคตินี้ทำให้ชาวเกาหลีมี ความเชื่อมั่น ในตัวเอง และมีพลังในการมุ่งไปสู่เป้าหมาย ทุกสิ่งทุกอย่างจะ เป็นไปได้หากเราพยายาม เป็นคำพูดที่ คุ้นเคยของชาวเกาหลี

SOLIDARITY
แม้ ว่าชาวเกาหลีส่วนมากจะมีความเป็นปัจเจกบุคคลสูง แต่เพื่อประเทศชาติแล้วก็สามารถเกื้อกูลเป็นหนึ่งเดียวได้ ในปี 1988 ที่โซลเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาโอลิมปิค ชาวเกาหลีต่างพากันทำความดี เพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยว รวมทั้งให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีกับการรณรงค์งดขับรถ เพื่อแก้ปัญหาจราจรติดขัดในช่วงกีฬาโอลิมปิค ต่อมาใน ช่วงวิกฤตการณ์การเงินในปี 1997-1998 ชาวเกาหลีต่างพากันออกมาบริจาคทองและเครื่องประดับเพื่อแก้วิกฤต และเมื่อมีวิกฤตการณ์น้ำมันรั่วที่ฝั่งตะวันตกของประเทศ ชาวเกาหลีจำนวนมากต่างรีบไปที่เกิดเหตุเพื่อช่วยกันเต็มที่

QUICK-QUICK CULTURE
빨 리 빨리 แปลว่า เร็วๆ เป็นคำพูดติดปากที่คุ้นเคยของชาวเกาหลี ความรีบเร่งของชาวเกาหลีกับทุกสิ่งทุกอย่าง แม้กระทั่งเรื่อง เล็กๆน้อยๆ เช่นการรอกาแฟจากตู้กาแฟ ชาวเกาหลีจะเตรียมหยิบถ้วยและหยิบทันทีที่กาแฟถูกริน จนเต็ม สิ่งนี้เป็นแรงผลักดันให้ชาวเกาหลีโลดแล่นอยู่อย่างผู้นำในโลกอุตสาหกรรมและ เทคโนโลยี


แปลและเรียบเรียงมาจาก
http://english.chosun.com


ดูข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนที่เกาหลีwww.korea-ed.com
Posted by : Korea_Education_Plus


จากคุณ : โลกร้อน 




หน้าถัดไป (2/2) หน้าถัดไป


Content ©