-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 379 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

พุทรา




หน้า: 2/2


ผีเสื้อหนอนพุทรา แถบตรง

ผีเสื้อหนอนพุทราแถบตรง อยู่ในวงศ์ผีเสื้อสีน้ำเงิน จัดอยู่ในกลุ่มผีเสื้อที่มีจำนวนมากที่สุด พบได้มากถึง 400 ชนิด มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Straight Pierrot; Cas talius roxus ขนาดประมาณ 26-30 มิลลิ เมตร ส่วนใหญ่ผีเสื้อชนิดนี้ทั้งเพศผู้และเพศเมียเมื่อหุบปีกจะคล้ายกันมาก แทบแยกไม่ออกว่าตัวไหนเป็นเพศผู้หรือเพศเมีย แต่เมื่อกางปีกเราจะเห็นถึงความแตกต่าง เนื่องจากเพศผู้จะมีสีสันสดใสกว่าเพศเมีย สีสันบนลำตัวที่เราเห็นอยู่นี้เป็นผีเสื้อเพศเมีย พื้นปีกมีสีขาวนวลตัดกับสีดำ เพศเมียชอบวางไข่บนต้นไม้ซึ่งยังเป็นอาหารของตัวอ่อนได้อีกด้วย บางชนิดเมื่ออยู่ในช่วงวัยตัวหนอนจะอาศัยอยู่กับมด โดยมดจะช่วยคุ้มกัน ภัยและยังได้น้ำหวานจากมดนำมาเป็นอาหารได้อีกด้วย


พบผีเสื้อชนิดนี้ได้ทั่วไปตามบริเวณพุ่มไม้เตี้ย  หรือบริเวณทรายชื้น ขยายพันธุ์ตั้งแต่เดือน ก.พ.-พ.ย.



ที่มา  :  ข่าวสด




พุทราพันธุ์ มิ่งเฉา


หลายคนยังไม่ทราบว่าไต้หวันเป็นประเทศที่มีสายพันธุ์พุทราดี ๆ มากมายหลายสายพันธุ์มีเกษตรกรไทยนำพันธุ์พุทราจากไต้หวันมาปลูกในบ้านเราจนประสบผลสำเร็จหลายราย เนื่องจากพุทราไต้หวันมีขนาดของผลใหญ่มาก รสชาติดีและเป็นที่ต้องการของตลาด ในขณะเดียวกันที่ไต้หวันเองได้มีการพัฒนาสายพันธุ์พุทราอย่างต่อเนื่อง  

อย่างกรณีของพุทราพันธุ์ “มิ่งเฉา” ซึ่งเมื่อแปลเป็นภาษาไทยเรียกว่าพันธุ์ “น้ำผึ้ง” เป็นสายพันธุ์ที่มีการปลูกมากที่สุดในไต้หวันด้วยคุณภาพที่เนื้อหวานและกรอบ มีรูปทรงเป็นรูปกระสวย ขนาดของผลใหญ่มีน้ำหนักผลเฉลี่ย 5-6 ลูกต่อ 1 กิโลกรัมแตกต่างจากพันธุ์ซุปเปอร์จัมโบ้และพันธุ์นมสดที่มีปลูกอยู่ในบ้านเราในขณะนี้  

ในเรื่องวิธีการปลูกและบำรุงรักษาพุทราพันธุ์ “มิ่งเฉา” มีหลายเรื่องที่น่าสนใจที่นำมาประยุกต์ใช้ในบ้านเราได้ อาทิ อุณหภูมิของสภาพพื้นที่ปลูกเฉลี่ยไม่ควรสูงกว่า 35 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยจะต้องไม่เกิน 5 องศาเซลเซียส สภาพดินที่ใช้ปลูกพุทราที่ไต้หวันจะให้ความสำคัญในเรื่องของอินทรียวัตถุมากโดยเฉพาะการใส่ปุ๋ยคอก ค่าของความเป็นกรดและด่างของดินเฉลี่ย 6-6.5(pH=6-6.5) เหมาะสมที่สุด    

ต้นพุทราไม่ชอบสภาพดินเป็นกรด ถ้า สภาพดินมีค่า pH ต่ำกว่า 5 จะต้องใส่ปูนขาวก่อนปลูก นอกจากนั้นสภาพดินควรจะมีการระบายน้ำที่ดีถึงแม้จะเป็นสภาพที่ดอนควรจะทำแปลงแบบยกร่องลูกฟูก แปลงปลูกพุทราหลายแปลงที่มีพื้นที่ปลูกไม่มากจะมีการกางมุ้งเพื่อป้องกันแมลง เป็นที่สังเกตว่าการปลูกพุทราไต้หวันหลังจากที่เก็บ เกี่ยวผลผลิตเสร็จในแต่ละปี จะมีการตัดกิ่งทั้งหมดทิ้งให้เหลือเพียงต้นตอและกิ่งหลัก    

หลังจากนั้นจะมีการนำยอดหรือตาพันธุ์ดีมาเสียบใหม่ทุกปี สำหรับปุ๋ยเคมีที่ใช้ในการปลูกพุทราพันธุ์ “มิ่งเฉา” นั้นในช่วงแตกใบใหม่จะเน้นปุ๋ยที่มีธาตุไนโตรเจนและฟอสฟอรัส ในช่วง ติดผลจะเน้นธาตุโพแทสเซียม สำหรับการบริหารวัชพืชในแปลงปลูกพุทราจะไม่นิยมใช้สารป้องกันและกำจัดวัชพืชทุกชนิด จะใช้วิธีการตัดหญ้าเนื่องจากที่ผ่านมาการใช้ยาฆ่าหญ้ามีผลกระทบต่อต้นพุทรา    

การค้าขายผลผลิตพุทราพันธุ์นี้จะแบ่งออกเป็น 5 เกรด เกรดเอ มีน้ำหนักผลไม่ต่ำกว่า 150 กรัม และมีความหวานไม่ต่ำกว่า 13 เปอร์เซ็นต์บริกซ์, เกรดบี มีน้ำหนักผลเฉลี่ย 130-150 กรัม ความหวานเท่ากับเกรดเอ สำหรับเกรดซี มีน้ำหนักผลเฉลี่ย 110-130 กรัม, เกรดดี มีน้ำหนักผลเฉลี่ย 90-110 กรัม และเกรดสุดท้ายมีน้ำหนักผลต่ำกว่า 90 กรัมลงมา และทั้ง 3 เกรดจะต้องมีความหวานเฉลี่ยอยู่ที่ 12 เปอร์เซ็นต์ บริกซ์    

ช่วงเทศกาลตรุษจีนของทุกปีจะเป็นช่วงที่คนไต้หวันนิยมบริโภคพุทรามากที่สุดและในช่วงเวลานั้นพุทราพันธุ์ “มิ่งเฉา” จะมีราคาแพงที่สุด.



ทวีศักดิ์ ชัยเรืองยศ



http://www.2tik.com/%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B9%8C-%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%89%E0%B8%B2-%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%84/

www.2tik.com/
        
โดยปกติแล้วต้นพุทราจะสามารถออกดอกและติดผลได้ตลอดทั้งปี แต่จากการปฏิบัติจริงนั้นควรจะเลี้ยงผลให้แก่และเก็บเกี่ยวได้ในช่วงฤดูหนาว น่าจะเหมาะสมที่สุด โดยให้ผลผลิตพุทรารุ่นแรกแก่ในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนและไปเก็บเกี่ยวผลผลิต รุ่นสุดท้ายไม่ควรเกินกลางเดือนกุมภาพันธ์หรือเริ่มเข้าสู่ฤดูร้อน ไม่แนะนำให้มีการเลี้ยงผลและให้ผลผลิตแก่ในช่วงฤดูฝน เพราะจะพบปัญหาเรื่องแมลงวันทองเจาะทำลาย และจะใช้สารฆ่าแมลงในปริมาณมาก อีกทั้งผลผลิตพุทราที่เก็บเกี่ยวในช่วงฤดูฝนจะมีรสชาติไม่อร่อย

หัวใจสำคัญของการปลูกพุทราไต้หวันเกษตรกรจะต้องมีการตัดแต่งกิ่ง โดยตัดให้เหลือส่วนของต้นเหนือพื้นดินขึ้นมาอย่างน้อย 50 เซนติเมตร และควรจะตัดแต่งในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ของทุกปี บำรุงต้นด้วยปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมีอย่างเต็มที่ เพื่อให้ต้นมีความสมบูรณ์และแข็งแรง พร้อมต่อการให้ผลผลิตในฤดูกาลต่อไป การตัดแต่งแบบนี้จะช่วยลดการระบาดของแมลงวันทองได้เป็นอย่างดี

การขยายพันธุ์พุทราไต้หวัน

การทาบกิ่ง คือ การยกต้นตอพุทราป่าที่มีอายุ 8-9 เดือน (ขนาดเท่าไม้เสียบลูกชิ้นก็เริ่มนำมาใช้ได้) ขึ้นไปทาบบนต้นพุทราไต้หวันพันธุ์ดี เกษตรกรบางรายอาจจะใช้วิธีการนำไม้ค้ำต้นตอที่ขึ้นไปทาบหรืออาจใช้นั่งร้าน แขวนตุ้มต้นตอ การทาบกิ่งพุทราจะต้องใช้ฝีมือค่อนข้างประณีต เนื่องจากกิ่งพุทราพันธุ์ดีที่จะทาบจะมีขนาดเล็กและเหตุผลที่เลือกยอดพันธุ์ ที่มีขนาดเล็ก เพราะพุทราเจริญเติบโตเร็วมาก หากคัดเลือกยอดขนาดใหญ่ถึงแม้จะสะดวกต่อการทาบกิ่งก็จริง เมื่อถึงเวลาตัดกิ่งทาบลงมาจะได้พุทราที่มีขนาดของต้นใหญ่เกินไป ต้นตอจะรับน้ำหนักไม่ได้ วิธีการทาบกิ่งแบบยกต้นทาบนี้ใช้เวลานานประมาณ 1 เดือน แผลจึงจะเริ่มสนิทกันแน่น ก่อนตัดกิ่งทาบลงมาอนุบาลต่อจะต้องควั่นเตือนใต้กิ่งพุทราพันธุ์ดีก่อนที่จะ ตัด ประมาณ 1 สัปดาห์ จากนั้นนำไปพักฟื้นต้นไว้อย่างน้อย 2-3 สัปดาห์ ใต้ตาข่ายพรางแสงเมื่อเห็นว่าต้นพุทรามีความแข็งแรงดี ก็นำไปปลูกได้ สำหรับการขยายพันธุ์อีกวิธีหนึ่งคือ การขยายพันธุ์พุทราแบบต่อยอด เกษตรกรจะต้องคัดเลือกนำเอาต้นตอพุทราป่าที่มีอายุต้น ประมาณ 8-9 เดือน (ต้นตอที่มีขนาดใหญ่จะต่อยอดได้ง่าย) ถุงที่ใช้เพาะต้นตอไม่ควรใช้ถุงที่มีขนาดใหญ่เกินไป เพราะเมื่อนำมาอบในถุงพลาสติคจะได้ประหยัดถุงสำหรับอบ สำหรับยอดพันธุ์ดีพุทราไต้หวันจะต้องคัดเลือกยอดจากกิ่งกระโดง ไม่ควรใช้ยอดที่เกิดจากกิ่งแขนงที่ห้อย เนื่องจากเมื่อต่อติดแล้วนำไปปลูกในแปลงพบว่า ต้นจะเจริญเติบโตได้ช้ามาก ในกรณีที่มีต้นพันธุ์พุทราไต้หวันน้อยให้นำยอดพันธุ์มาตัดเป็นท่อนๆ ได้ ให้มีตาอย่างน้อยสัก 2 ตา หลังจากต่อยอดเสร็จ นำไปอบในถุงพลาสติคขนาดใหญ่ ใช้เวลาอบนานประมาณ 30-45 วัน มีข้อแนะนำว่าอย่ารดน้ำต้นตอจนแฉะเกินไป จะเกิดความชื้นในถุงอบมากเกินไป ทำให้เกิดเชื้อราเข้าแผลเน่า ส่งผลให้เปอร์เซ็นต์การติดน้อย ควรให้ดินของต้นตอมีความชื้นหมาดๆ ก็เพียงพอ สถานที่อบควรพรางแสงด้วยตาข่ายพรางแสง 70% หลังจากอบได้เวลา ค่อยๆ เปิดปากถุงทีละน้อย ในช่วงตอนเย็นทิ้งไว้อย่างนั้น 2-3 วัน จึงนำมาอนุบาลในตาข่ายพรางแสงต่อ

เทคนิคการเพาะเมล็ดพุทรา เพื่อใช้ในการขยายพันธุ์

เมล็ด พุทรา ที่แนะนำให้มาใช้เพื่อทำต้นตอแนะนำให้ใช้เมล็ดพุทราจะดีที่สุด เมื่อเกษตรกรได้เมล็ดพุทรา ถ้าต้องการให้งอกเร็ว "เกษตรกรจะต้องทุบเอาเมล็ดข้างใน ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับเมล็ดกระถิน" เมื่อนำมาเพาะใส่ในถุงดำ จะใช้เวลาประมาณ 7-10 วัน เท่านั้น เมล็ดจะเริ่มงอก แต่ถ้าเพาะเมล็ดที่ไม่ได้ทุบจะใช้เวลานานนับเดือนกว่าเมล็ดจะงอกออกมา สำหรับอีกวิธีหนึ่งในการเพาะเมล็ดพุทราป่า โดยใช้ภูมิปัญญาชาวบ้าน "เกษตรกรนำผลพุทราป่าที่สุกแล้วนำมาเป็นส่วนผสมของอาหารให้วัวหรือควายกิน เมื่อวัวและควายถ่ายมูลออกมา นำมูลที่มีเมล็ดพุทราติดมาไปหว่านในแปลงเพาะรดน้ำให้ชุ่มเมล็ดพุทราจะงอกออก มาภายใน 7 วัน" ต้นตอพุทราที่จะใช้ในการขยายพันธุ์จะต้องมีอายุ ประมาณ 8-9 เดือน

เทคนิคการฉีดพ่นสารเคมีในการปลูกพุทราไต้หวัน

สาร ปราบศัตรูพืชที่ใช้ในการฉีดพ่นให้กับพุทราไต้หวัน จะต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง ถูกต้องและเหมาะสม จึงจะได้ผลผลิตที่ดี คุ้มต่อการลงทุน ถึงแม้พุทราจะเป็นไม้ที่ทนทานต่อสารเคมี แต่ในช่วงออกดอกติดผลจนถึงเก็บเกี่ยวผลผลิต การใช้สารเคมีจะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ จะต้องฉีดพ่นสารเคมีให้ถูกต้อง หากเลือกใช้สารเคมีไม่ถูกจะมีผลทำให้พุทราได้รับผลกระทบเสียหายได้ เช่น ใบไหม้ ผลลาย ผิวดำ ผิวตกกระ เป็นขี้กลาก ผลเล็ก ผลบิดเบี้ยว และผลผลิตไม่ได้คุณภาพ เป็นต้น

ข้อควรระวังในการใช้สารเคมี

1. สารเคมีที่ใช้ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ย ฮอร์โมน และสารกำจัดศัตรูพืชที่ฉีดพ่นระยะพุทราออกดอกและติดผล ควรหลีกเลี่ยงยาที่เป็นน้ำสีดำหรือผสมน้ำแล้วเปลี่ยนเป็นสีดำ

2. หลีกเลี่ยงยาที่มีส่วนผสมของน้ำมัน หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า "ยาร้อน"

3. สารเพิ่มประสิทธิภาพ หรือที่เรียกว่า "สารจับใบ" ควรลดอัตราการใช้เหลือเพียงครึ่งหนึ่งของอัตราที่แนะนำ

4. หลีกเลี่ยงสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อผึ้งหรือแมลงที่มาช่วยผสมเกสรในช่วงออกดอก

5. ควรฉีดพ่นสารเคมีให้กับพุทราไต้หวันในตอนเช้า ในกรณีที่มีปุ๋ยทางใบและฮอร์โมนผสมด้วย ควรปรับหัวฉีดให้ฝอย แรงดันเหมาะสม หัวฉีดที่พ่นสารเคมีควรฉีดอยู่ห่างจากช่อดอก ประมาณ 1 เมตร ป้องกันการกระแทก ทำให้ดอกร่วง

6. ในช่วงฝนตกชุก โรคระบาดมาก ควรมีการฉีดพ่นตอนเย็น

สาร เคมีที่แนะนำให้ใช้ป้องกันและกำจัดแมลงในการปลูกพุทรา ในระยะออกดอกและติดผล ได้แก่ โปรวาโด, S-85 ฯลฯ สำหรับโรคสำคัญที่มักพบกับพุทรา ได้แก่ โรคแอนแทรกโนส ราดำ ฯลฯ ยาโรคพืชที่แนะนำให้ใช้ ได้แก่ ฟลิ้นท์-แอนทราโคล (โดยเฉพาะในช่วงออกดอกติดผล และมีฝนตกมาอย่างต่อเนื่อง การฉีดพ่นสารฟลิ้นท์+แอนทราโคล จะช่วยทำให้การติดผลดีขึ้นมาก และดอกสะอาด) เมเจอร์เบน คาร์เบนดาซิม ฯลฯ ควรงดยาเชื้อราที่เป็นน้ำมัน

ปัญหา พุทราช่วงระยะออกดอกมักพบปัญหาไม่ติดผล ออกดอกแล้วร่วง อาจเป็นเพราะต้นยังไม่สมบูรณ์ ฝนตกชุก โรคระบาดรุนแรง หรือไม่มีแมลงผสมเกสร ทางชมรมเผยแพร่ฯ มีเคล็ดลับในการดูแลรักษาให้พุทราติดผลและผลผลิตมีคุณภาพ ดังต่อไปนี้

1. หลังตัดแต่งกิ่ง ใส่ปุ๋ยขี้วัวเก่า 10-20 กิโลกรัม (อายุ 1 ปี ขึ้นไป) และให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ

2. ช่วงบำรุงเลี้ยงต้นให้สมบูรณ์ 1-2 เดือนครึ่ง หลังจากตัดแต่งกิ่งเสร็จ ใช้ปุ๋ยสูตรตัวหน้าสูง สลับกับสูตรเสมอ เช่น 25-7-7, 16-16-16 ฯลฯ พร้อมกับฉีดพ่นปุ๋ยทางใบหรือฮอร์โมนพวกสาหร่าย เช่น แอ๊กกรีนผสมกับปุ๋ยน้ำ สูตร 18-6-6, 28-0-0, 12-12-12 ฯลฯ

3. ช่วงบำรุงดอก ปุ๋ยทางดิน ใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 8-24-24, 10-26-26 ฯลฯ ปุ๋ยทางใบฉีดพ่น สะสมและบำรุงดอก เช่น เฟอร์ติไจเซอร์ สูตร 10-52-17, 5-20-25 ไบโฟลานเหลือง ฯลฯ

4. ช่วงติดผล ปุ๋ยทางดิน ใช้สูตรเสมอ เช่น 16-16-16, 19-19-19 ฯลฯ ทางใบฉีดพ่นปุ๋ยน้ำ สูตร 12-12-12 +แคลเซียมโบรอนอี เพื่อให้ผลติดมากขึ้นและขยายขนาดผลให้โต

5. เมื่ออายุผลพุทรา 60 วัน ขึ้นไป ปุ๋ยทางดิน ใช้สูตรที่มีตัวท้ายสูง เช่น สูตร 10-26-26, 13-13-21 ปุ๋ยทางใบใช้ปุ๋ยน้ำ สูตรเสมอ เช่น 12-12-12 ไฮโปส ก่อนเก็บเกี่ยว อายุ 3-4 เดือน ให้ฉีดพ่นโพแทสเซียมไนเตรต เพื่อเร่งความหวาน ปุ๋ยทางดินต้องใส่บ่อยครั้งขึ้นทุก 15 วัน เน้นปุ๋ยตัวท้ายสูงเพื่อเพิ่มความหวาน เช่น ปุ๋ยสูตร 13-13-21, 0-0-60 ฯลฯ

เป็น ที่สังเกตว่า การปลูกพุทราไต้หวันในประเทศไทยขณะนี้จะแบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์หลักคือ พันธุ์ซื่อมี่ หรือพันธุ์นมสด มีพื้นที่ปลูกมากในเขตภาคหนือตอนบน สำหรับพันธุ์ซุปเปอร์จัมโบ้ที่มี คุณวารินทร์ ชิตะปัญญา เป็นผู้บุกเบิกการปลูกและมีปลูกกระจายในหลายพื้นที่ของภาคกลาง การปลูกพุทราไต้หวันให้ประสบความสำเร็จนั้นจะต้องมีการจัดการสวนที่ถูกต้อง มีระบบการให้น้ำที่ดีและให้ปุ๋ยที่ถูกต้องถึงจะได้พุทราที่มีคุณภาพดี วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว โดยเก็บพุทราเข้าห้องเย็นที่ควบคุมอุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส เพื่อชะลอการขายเป็นเรื่องใหม่ที่เกษตรกรผู้ปลูกพุทราไต้หวันควรจะนำไป ปฏิบัติต่อได้

เอื้อเฟื้อข้อมูล เทคโนโลยีชาวบ้าน
http://www.nanagarden.com/Content.aspx?ContentID=10176
http://www.nanagarden.com/Content.aspx?ContentID=10354
                                                  







หน้าก่อน หน้าก่อน (1/2)


สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2009-07-16 (22822 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©