-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 164 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

เครื่องทุ่นแรง6







"เครื่องหยอด-หว่านข้าว" 3 รุ่น ทุ่นเวลาเพิ่มผลผลิตที่ทุ่งกุลา

นับเป็นข่าวดีสำหรับเกษตรกรที่ปลูก "ข้าวหอมดอกมะลิ 105" ในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ซึ่งครอบคลุมถึง 6 จังหวัดของภาคอีสาน ประกอบด้วย จ.ร้อยเอ็ด สุรินทร์ ยโสธร ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ และ จ.มหาสารคาม หลังจากที่กรมวิชาการเกษตรจับมือกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดำเนิน "โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตข้าวในเขตทุ่งกุลาร้องไห้" จนสามารถผลิต เครื่องหยอดข้าวและเครื่องหว่านข้าว ต้นแบบ จำนวน 3 รุ่น เหมาะสำหรับการใช้เพาะปลูกข้าวในสภาพดินร่วนปนทราย อย่างที่ทุ่งกุลาร้องไห้

เครื่องต้นแบบที่ว่านี้ ประกอบด้วย เครื่องหยอดข้าว 10 แถว ที่ใช้พ่วงกับรถแทรกเตอร์ขนาด 60 แรงม้าขึ้นไป มีอัตราการหยอดได้ 10-12 กก.ต่อไร่ ส่วนเครื่องหว่านข้าว เป็นเครื่องที่ติดตั้งบนผาน 7 (อุปกรณ์ติดท้ายรถแทรกเตอร์) สามารถกำหนดอัตราการหว่านเมล็ดข้าวได้สม่ำเสมอ มีความสามารถในการหว่านชั่วโมงละ 4-5 ไร่

นอกจากนี้ ยังมี เครื่องปลูกติดรถไถเดินตาม มี 2 แบบ ทั้งแบบหว่านข้าว 0.5 ไร่ต่อชั่วโมง และแบบหยอดข้าวได้ประมาณ 1 ไร่ต่อชั่วโมง ซึ่งการปลูกข้าวด้วยเครื่องมือทั้ง 3 รุ่นนี้ จะช่วยร่นระยะเวลาในการทำงานของเกษตรกรให้น้อยลง และยังประหยัดเมล็ดพันธุ์อีกด้วย

นายสัญชัย ตันตยาภรณ์ รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร เล่าถึงความเป็นมาของโครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตข้าวในเขตทุ่งกุลาร้องไห้ ว่า ในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้นั้น มีพื้นที่ปลูกข้าวหอมดอกมะลิ 105 ถึง 10 ล้านไร่ นับเป็นแหล่งปลูกข้าวหอมดอกมะลิ 105 ที่ดีที่สุดในเมืองไทย และมีปริมาณการผลิตข้าวป้อนตลาดทั้งในและต่างประเทศได้ปีละ 3.5 ล้านตัน

แต่ที่ผ่านมา เกษตรกรที่ปลูกข้าวในบริเวณนี้ ส่วนใหญ่จะใช้แรงงานคน ทำให้ประสบปัญหาแรงงานไม่เพียงพอ ดังนั้นเกษตรกรจึงใช้วิธีหว่านข้าวแห้ง ตั้งแต่ช่วงต้นฤดูฝนแทนการปักดำที่ใช้กันอยู่ทั่วไป ส่วนวิธีการหว่านนั้น จะใช้มือแล้วไถคลาดกลบ ซึ่งวิธีนี้เมล็ดข้าวจะถูกทำลายโดยศัตรูธรรมชาติ อย่าง นกและหนู ทำให้ข้าวในแปลงขึ้นไม่สม่ำเสมอ ส่งผลให้ผลผลิตต่ำ

จากปัญหานี้ ทางกรมวิชาการเกษตรได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทำโครงการดังกล่าวเมื่อปี 2546 ถึงขณะนี้ผลงานการวิจัยเครื่องหยอดข้าวและเครื่องหว่านข้าวที่ออกมา ถือว่าได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ทางกรมวิชาการเกษตรได้เตรียมเผยแพร่ข้อมูลให้แก่เกษตรกรรับทราบต่อไป

ด้าน นายสุรเวทย์ กฤษณะเศรณี ซึ่งเป็นหัวหน้าโครงการ บอกว่า เครื่องต้นแบบทั้ง 3 รุ่นนี้ มีคุณสมบัติแตกต่างกัน เพื่อให้เกษตรกรเลือกใช้งานได้ตามความเหมาะสมคือ เครื่องหยอดข้าว 10 แถว หยอดข้าวได้ 10-12 กก.ต่อไร่ จะมีอุปกรณ์เบิกร่องแบบจาน ทำให้สามารถใช้ในแปลงปลูกที่มีหญ้าตกค้างได้ และสามารถปรับความลึกได้ ราคาประมาณ 40,000.-50,000 บาท ส่วนเครื่องหว่านข้าว หว่านเมล็ดข้าวได้สม่ำเสมอในอัตราชั่วโมงละ 4-5 ไร่ ราคา 7,000-8,000 บาท และเครื่องปลูกติดรถไถเดินตาม ทั้งแบบหว่านข้าวและแบบหยอดข้าวนั้น ราคาประมาณ 6,000 บาท

"เราได้ทดลองนำเครื่องหยอดข้าว 10 แถว ไปทดลองปลูกข้าวเปรียบเทียบกับการปักดำของเกษตรกรในพื้นที่ อ.เมือง จ.ยโสธร ปรากฏว่า ข้าวที่ปลูกโดยเครื่องหยอดข้าว ให้ผลผลิต 430 กก.ต่อไร่ ส่วนข้าวที่แปลงปลูกด้วยวิธีปักดำได้ไร่ละ 434 กก. นับว่าใกล้เคียงกันมาก" นายสุรเวทย์ กล่าว

อย่างไรก็ตาม "เครื่องหยอดและหว่านข้าว" ต้นแบบทั้ง 3 รุ่นนี้ ทีมนักวิจัยระบุว่า ไม่ได้จดลิขสิทธิ์ หากบริษัทเอกชนต้องการนำไปผลิต ติดต่อขอแบบได้ที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ กรมวิชาการเกษตร โทร.0-2561-2825


ที่มา: หนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-23 (3190 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©