-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 366 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

แฟ้มงานวิจัย55





"เกษตรอินทรีย์" แนวคิดเพื่อสังคม
จุดเริ่มต้น "ทำเพื่อไม่ต้องทำ"
   

เป้าหมายสูงสุดอย่างหนึ่งของการช่วยเหลือสังคม หรือรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร "ความยั่งยืน" ถือเป็นคำตอบ หากแต่ต้องไม่ลืมหลายโครงการที่สามารถเดินไปสู่ความยั่งยืนได้อย่างแท้จริงนั้น "ชุมชน" และ "คนในชุมชน" เป็นส่วนสำคัญในการทำให้โครงการช่วยเหลือสังคมขององค์กรสัมฤทธิผล


"ชุมชน" และ "ภูมิปัญญาของคนในชุมชน" ที่จะเป็นคำตอบ...ในการริเริ่มและดำเนินการโครงการต่างๆ ไปสู่ความยั่งยืน
ในทฤษฎีที่ว่าด้วยการทำ CSR ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรอย่างมีกลยุทธ์ บทหนึ่ง บอกไว้ว่า "การคิดทำโครงการช่วยเหลือสังคมในโครงการอาสาสมัครของพนักงานต้องเกิดจากความต้องการของพนักงาน องค์ความรู้ที่บริษัทมีและความต้องการของชุมชนควบคู่ไปด้วยกัน"


"เกษตรอินทรีย์" ในจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นหนึ่งในแบบตัวอย่างของการต่อยอดภูมิปัญญาที่ชุมชนมี โดยองค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่เขาสนับสนุนและนำไปสู่ความยั่งยืนของชุมชนในที่สุด


เริ่มต้นที่ภูมิปัญญาชาวบ้าน

"หมู่บ้านเห็ดอินทรีย์" ต.บางงาม อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี เป็นหนึ่งแบบตัวอย่าง "วิรัตน์ นิลละม่อม" ประธานคณะกรรมการหมู่บ้านเห็ดอินทรีย์ ที่เพิ่งเริ่มต้นโครงการเกษตรอินทรีย์เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา เล่าว่า "เมื่อก่อนเราต่างคนต่างทำและมีองค์ความรู้ในเรื่องการเพาะเห็ดอยู่แล้ว แต่เมื่อแยกกันทำตลาดและราคาเห็ดก็ไม่แน่นอน พ่อค้ากดราคา แต่เมื่อมีการรวมกลุ่ม ก็สามารถกำหนดราคาได้ ทั้งยังมีการเพิ่มมูลค่าเห็ดในรูปเห็ดตะกร้า เห็ดของขวัญ เห็ดมือถือ ที่ทำให้ขายได้ราคามากยิ่งขึ้น อย่างเห็ดของขวัญต้นทุน 5 บาท เราขายได้ 25 บาท"


การที่ภาครัฐลงมาช่วยเหลือทำให้เกิดการรวมกลุ่ม ขณะเดียวกันบริษัทเอกชนหลายรายเป็นผู้รับซื้อ อาทิ ฮ็อต พ็อต สาขาสุพรรณบุรี โรงแรมศรีสุพรรณ ทำให้ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ปัจจุบันสมาชิก 30 รายของหมู่บ้านสามารถผลิตเห็ดได้ 480 ก.ก.ต่อวัน ซึ่งสามารถสร้างรายได้เฉลี่ยได้ถึง 30 บาทต่อกิโลกรัม และมีรายได้รวม 1 รุ่น หรือ 90 วัน จากการเพาะเห็ด 60,000 ถุง จะสร้างรายได้สูงถึง 1,296,000 บาท


"ข้อดีของการรวมกลุ่มคือ ทำให้ประชาชนมีโอกาสรวมตัวกันและสามารถกำหนดราคาขายได้ และยังสามารถสร้างรายได้ในช่วงเวลาว่างจากการทำนา รวมถึงมีอาหารปลอดสารพิษบริโภคภายในชุมชน" วิรัตน์กล่าว


นี่เป็นโครงการเล็กๆ ที่ "ปรีชา พรหมโชติ" เจ้าหน้าที่ส่งเสริม สำนักงานเกษตร จ.สุพรรณบุรี บอกว่า "ต่อครัวเริ่มต้นอย่างมากก็ใช้เงินลงทุนราว 10,000 บาท ในการสร้างโรงเพาะเห็ด หรือบางบ้านใต้ถุนสูงอาจจะใช้ใต้ถุนบ้าน ค่อยๆ เรียนรู้ แต่ในที่สุดชาวบ้านจะมีรายได้เพิ่มเติมซึ่งบางทีอาจจะดีกว่ารายได้หลักเสียอีก"


ทำเพื่อไม่ต้องทำ
หากจะลงลึกถึงความหมาย "เกษตรอินทรีย์" ตามนิยามของกรมวิชาการเกษตร หมายถึงระบบการผลิตที่คำนึงถึงสภาพแวดล้อม รักษาสมดุลทางธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ โดยมีระบบการจัดการนิเวศวิทยาที่คล้ายคลึงกับธรรมชาติ และหลีกเลี่ยงการใช้สารสังเคราะห์ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยเคมี สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และฮอร์โมนต่างๆ ตลอดจนไม่ใช้พืชหรือสัตว์ที่เกิดจากการตัดต่อทางพันธุกรรม การทำเกษตรอินทรีย์จึงเน้นที่การใช้อินทรียวัตถุในการปรับปรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์เพื่อให้ต้นพืชแข็งแรงและสามารถต้านทานโรคและแมลงได้ด้วยตนเอง รวมถึงการนำภูมิปัญญาชาวบ้านมาใช้ประโยชน์ด้วย


หลายเหตุผลที่ทำให้คนมองว่า "เกษตรอินทรีย์" และภูมิปัญญาชาวบ้านทำให้เกิดความยั่งยืน เพราะที่ผ่านมาการใช้สารเคมีเป็นปัจจัยการผลิตสำคัญในทางการเกษตรทำให้เกิดการลงทุนที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ราคาผลผลิตในรอบ 20 ปีที่ผ่านมาไม่ได้สูงขึ้นตามสัดส่วนของต้นทุนและมีผลให้เกษตรขาดทุนและมีหนี้สินท่วมหัว "เกษตรอินทรีย์" จึงไม่ได้เป็นเพียงทางออกที่นำไปสู่การลดต้นทุน ในด้านมูลค่าเพิ่มที่ได้จากราคาผลผลิตของเกษตรอินทรีย์ทำให้รายได้เกษตรกรสูงขึ้นเช่นกัน
ที่โรงเรียนเกษตรกรของ "ลุงทองเหมาะ แจ่มแจ้ง" แห่ง อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี ตอบโจทย์ความยั่งยืนด้วยการ "ทำเพื่อไม่ต้องทำ"


"ทำเพื่อไม่ต้องทำ" ตามความหมายของ "ลุงทองเหมาะ" หมายถึง "ตอนที่ผมทำนาเคมีผมทำงานหนัก ซื้อปุ๋ยซื้อยามาใส่ทุกปี และทำอย่างนั้นมาตลอด แต่เกษตรชีวภาพผมทำแบบไม่ต้องซื้อยาฆ่าแมลง ทำปุ๋ยชีวภาพ ยาฆ่าแมลงชีวภาพขึ้นมาใช้เอง จึงเรียกว่าทำเพื่อไม่ต้องทำ"

ไม่เพียงใช้ภูมิปัญญาในการคิดค้นปุ๋ยชีวภาพ ยาฆ่าแมลง และคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ข้าว และกรรมวิธีคัดพันธุ์ข้าวและปลูกข้าวด้วยปุ๋ยอินทรีย์เพื่อให้ลืมสารเคมีซึ่งเป็นหัวใจสำคัญ


จากเคยทำนาเป็น 100 ไร่เมื่อสมัยก่อน และมีโรงสีข้าวที่สีเพื่อส่งออกจนสร้างหนี้ให้กับ "ลุงทองเหมาะ" กว่า 7 ล้าน ปัจจุบันเมื่อหันมาสู่เส้นทางเกษตรอินทรีย์ ที่นาเพียง 30 ไร่ โรงสีที่สีครั้งละ 10 ถัง ซึ่งใช้แรงงานเพียงตัวเองและภรรยา กลับทำให้เขาเริ่มที่จะหาเงินมาชำระหนี้ด้วย
"การขายข้าวอินทรีย์"   ที่ได้ราคาสูงกว่าราคาข้าวทั่วไป 
"เกษตรอินทรีย์ทำขายได้ เพียงแต่คนจะเข้าใจมั้ย ถ้าสามารถทำจุลินทรีย์เองได้ในปีแรกๆ ผลผลิตอาจจะได้สูง 60 ถังขึ้นไปถึง 80 ถัง แต่สิ่งที่จะได้กลับมาคืนกำไรด้านสุขภาพ"


การเริ่มต้นโครงการช่วยเหลือด้วยภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีอยู่ สามารถต่อยอดและสร้างความ "ยั่งยืน" ได้อย่างเหลือเชื่อ !!
 









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-16 (1334 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©