-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 278 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

แฟ้มงานวิจัย48





ควคุมการเน่าของหัวขิงด้วยสารธรรมชาติ


แบบรายงานเรื่องเต็ม ผลการวิจัยที่สิ้นสุด ปีงบประมาณ 2550
1. แผนงานวิจัย การศึกษาและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูป
2. โครงการวิจัย 72 ศึกษาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปสินค้าเกษตรเบื้องต้น
กิจกรรม วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
กิจกรรมย่อย วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวผัก
3. ชื่อการทดลอง (ภาษาไทย) 1.7.1 การควบคุมการเน่าเสียของขิงระหว่างการเก็บรักษาที่เกิดจากเชื้อราโดยวิธีสมานบาดแผล

4. คณะผู้ดำเนินงาน
หัวหน้าโครงการวิจัย นางพรทิพย์ วิสารทานนท์ สังกัด สวป.
หัวหน้าการทดลอง นายชวเลิศ ตรีกรุณาสวัสดิ์ สังกัด สวป.
ผู้ร่วมงาน (การทดลอง) นางสุภา อโนธารมณ์ สังกัด สวป.
นางสาวอารีรัตน์ การุณสถิตย์ชัย สังกัด สวป.




5. บทคัดย่อ
ได้ทำการทดลองการควบคุมโรคเน่าระหว่างการเก็บรักษาของขิง (Zingiber officiginale Roscae.) โดยการเร่งการสมานบาดแผลในสภาพต่างๆพบว่า ขิงที่ผ่านกระบวนการสมานบาดแผลในสภาพชื้นสามารถยับยั้งการเกิดโรคได้ขณะที่ขิงที่ผ่านการสมานบาดแผลในสภาพแห้งไม่ต้านทานโรคโดยมีสภาพชื้นเป็นปัจจัยสำคัญ และทำการทดสอบสารเพื่อหาสารทดแทนสารกำจัดเชื้อราในการลดการเน่าเสียของขิง พบว่าการชุบด้วยสารสกัดน้ำจากใบพลู 4 % มีแนวโน้มที่จะสามารถพัฒนาเพื่อใช้ทดแทนสารกำจัดเชื้อราได้ อย่างไรก็ตาม สารสกัดน้ำใบพลูมีสารอาหารที่เหมาะสมกับเชื้อราปนอยู่ด้วยทำให้เชื้อราสามารถเจริญได้จึงควรหาวิธีสกัดสารออกฤทธิ์โดยไม่มีสารอาหารเจือปนออกมาด้วย



6. คำนำ
ขิง (Zingiber officiginale Roscae.) ถูกนำมาใช้ประโยชน์มาตั้งแต่สมัยโบราญ เป็นทั้งพืชผักเป็นพืชสมุนไพรหรือเครื่องเทศ การผลิตขิงในประเทศไทย มีภาคเหนือเป็นแหล่งผลิตที่สำคัญ รองลงมาคือภาคใต้ ภาคตะวันตก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้านการส่งออกขิงของประเทศไทย เริ่มมีการส่งออกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 เป็นต้นมา จนปัจจุบันปริมาณการส่งออกในปี พ.ศ. 2540 มีปริมาณ 13,977 ตันต่อปี มูลค่า 377 ล้านบาท ปี พ.ศ. 2541 มีปริมาณ 28,770 ตันต่อปี มูลค่า 408 ล้านบาท ปี พ.ศ. 2542 มีปริมาณ 25,583 ตันต่อปี มูลค่า 455 ล้านบาท และปี พ.ศ. 2543 มีปริมาณ 27,780 ตันต่อปี มูลค่า 735 ล้านบาท โดยส่งออกไปยังประเทศต่างๆ ดังนี้ สหรัฐอาหรับอามิเรทส์ อัลบาเนีย บาห์เรน แคนาดา เยอรมัน ฝรั่งเศส อังกฤษ ฮ่องกง ญี่ปุ่น คูเว็ต มาเลย์เซีย เนเธอแลนด์ ปากีสถาน ซาอุดิอาระเบีย สิงคโปร์ และสหรัฐอเมริกา (กรมศุลกากร, 2544) ปัญหาที่พบในการส่งออกโดยเฉพาะในขิงสดคือ โรคเน่าของแง่งขิงที่เกิดจากเชื้อราและแบคทีเรียระหว่างการเก็บรักษาหรือการขนส่ง ซึ่งพบว่ามีการเข้าทำลายตั้งแต่ผลผลิตยังอยู่ในแปลง ศศิธร และคณะ (2529) ได้รายงานการสำรวจโรคขิงถึงโรคเน่าของแง่งขิงที่เกิดจากเชื้อรา Pythium sp., Sclerotium sp. และ Fusarium sp. พบในแปลงปลูกบางแหล่ง แต่การระบาดไม่รุนแรงมากเท่าโรคเน่าที่เกิดจากแบคทีเรีย


การควบคุมโดยการชุบด้วยสารเคมีพบว่าสารเคมียังคงเหลือตกค้างอยู่บนแง่งขิงนานถึง 120 วัน ที่ผ่านมาการควบคุมโรคหลังการเก็บเกี่ยวมีการใช้สารสังเคราะห์มาตลอด แต่ช่วง 10 ปีที่มานี้ความปลอดภัยของผู้บริโภคถูกนำมาพิจารณาเป็นอันดับต้นๆ โดยเฉพาะในการผลิตพืชอาหาร ในสหรัฐอเมริกามีการยกเลิกการใช้สารกำจัดราหลายชนิดกับผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยว ซึ่งหลายประเทศในแถบยุโรปก็จะสั่งยกเลิกในลักษณะเดียวกันในไม่ช้า จึงจำเป็นต้องพัฒนาวิธีการควบคุมโรคหลังการเก็บเกี่ยวที่มีประสิทธิภาพขึ้นมาทดแทน โดยคำนึงถึงการรักษาสภาพแวดล้อมและสุขภาพของผู้บริโภค วิธีการควบคุมทางชีวภาพอาจเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยให้สามารถควบคุมได้ (Chalutz และ Droby, 1998)



7. อุปกรณ์และวิธีการ

7.1 การทดลองการการสมานบาดแผลของขิงต่อการเกิดโรคหลังการเก็บเกี่ยว
ทำการทำการทดลองบ่มขิงที่สภาพความชื้นสูง (90-100 % RH) และสภาพความชื้นปกติที่ระดับอุณหภูมิต่างๆ (15 ºc , อุณหภูมิห้อง และ 32 ºc ) เป็นเวลา 48 ชั่วโมง เพื่อเร่งให้เกิดการสมานบาดแผลของขิง จากนั้นนำมาปลูกเชื้อรา Fusarium oxysporum ซึ่งเป็นเชื้อราสาเหตุโรคเน่าระหว่างการเก็บรักษาขิง โดยพ่นด้วยสารแขวนลอยของสปอร์ แล้วบ่มในกล่องเก็บความชื้นเพื่อตรวจสอบผลต่อการต้านทานการเกิดโรคของขิง


7.2 การทดลองการควบคุมโรคขิงด้วยสารระเหยและสารสกัดด้วยน้ำจากใบพลูทำการทดลองโดยเตรียมขิงตามกรรมวิธีดังภาพที่ 1 โดยทำการทดลองเก็บขิงในกล่องกระดาษลูกฟูกขนาดบรรจุ 1 กก. โดยมี 8 ทรีตเม้นต์ ทำการทดลอง 3 ซ้ำ จากนั้นนำไปบ่มที่ 13 C เป็นเวลา 7 สัปดาห์ แล้วนำออกมาบันทึกผลการทดลองทุก สัปดาห์ โดยให้ระดับการเกิดโรคเป็น 0 – 9 โดย 0 = ปกติ 9 = เป็นโรคทั้งหมด ล้างขิง ชุบสารสกัดด้วยน้ำจากพลู รมพลูบด ชุบ Imazalil 500 ppm 1 ml/l พลูบด 0 กรัม ชุบสารสกัดพลู 1 % (10 กรัม นน.สด/ น้ำ 1 ล.) พลูบด 2 กรัม ชุบสารสกัดพลู 2 % (20 กรัม นน.สด/ น้ำ 1 ล.) พลูบด 4 กรัม ชุบสารสกัดพลู 4 % (40 กรัม นน.สด/ น้ำ 1 ล.) พลูบด 8 กรัม ผึ่ง 24 ชม. ใส่กล่องสวมถุงพลาสติก ใส่กล่องเจาะรู เก็บที่ 13 °C


7.3 การทดลองการควบคุมโรคขิงโดยการเร่งการสมานบาดแผลร่วมกับสารสกัดด้วยน้ำจากใบพลู ทำการทดลองโดยเตรียมขิงที่ผ่านการบ่มเพื่อเร่งการสมานบาดแผลที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 48 ชั่วโมงในสภาพความชื้นสูง นำมาทำการทดลองเปรียบเทียบกับขิงที่ไม่ผ่านกรรมวิธีดังกล่าว และใช้สารสกัดน้ำจากใบพลูเป็นสารเปรียบเทียบกับสารกำจัดเชื้อรา Imazalil ทำการทดลองในกล่องกระดาษขนาดบรรจุ 10 กก. และมรการสวมถุงพลาสติกในทรีตเม้นต์ที่ไม่ผ่านการเร่งการสมานบาดแผลเพื่อจำลองสภาพการสมานบาดแผลระหว่างการเก็บที่อุณหภูมิด้วย หลังจากเสร็จสิ้นการทดลองนำขิงมาคัดแยกส่วนที่เป็นโรคแล้วชั่งน้ำหนัก หา % ความเสียหายของขิง โดยเก็บขิงที่อุณหภูมิ 13 C เป็นเวลา 6 สัปดาห์



8. ระยะเวลา (เริ่มต้น ตุลาคม 2548 – สิ้นสุด กันยายน 2550)


9. สถานที่ดำเนินการ ห้องปฏิบัติการกลุ่มงานวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวผลิตผลเกษตรสำนักวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลเกษตร



10. ผลการทดลองและวิจารณ์ (พร้อมภาพประกอบ)


10.1 การทดลองการการสมานบาดแผลของขิงต่อการเกิดโรคหลังการเก็บเกี่ยว
พบว่าขิงที่ผ่านกระบวนการสมานบาดแผลในสภาพชื้นสามารถยับยั้งการเกิดโรคได้ขณะที่ขิงที่ผ่านการสมานบาดแผลในสภาพแห้งไม่ต้านทานโรค ดังภาพที่ 2 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าขิงที่ผ่านการสมานบาดแผลไม่พบการเจริญของเชื้อราบริเวณบาดแผลขณะที่ขิงที่ถูกบ่มในสภาพแห้งมีการเจริญของเชื้อราบริเวณบาดแผล ลักษณะดังกล่าวบ่งชี้ถึงความต้านทานโรคที่เกิดขึ้นจากกระบานการสมานบาดแผลโดยมีสภาพชื้นเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้กระบวนการสมานบาดแผลเกิดขึ้นได้


10.2 การทดลองการควบคุมโรคขิงด้วยสารระเหยและสารสกัดด้วยน้ำจากใบพลูจากผลการทดลอง แสดงให้เห็นว่าทรีตเม้นต์ที่ชุบด้วยสารกำจัดเชื้อรา Imazalil สามารถควบคุมโรคได้ดีที่สุด รองลงมาคือการชุบด้วยสารสกัดน้ำจากใบพลู 4 % และการรมด้วยใบพลูบด 8 กรัม แสดงให้เห็นว่าการชุบด้วยสารสกัดน้ำจากใบพลู 4 % มีแนวโน้มที่จะสามารถพัฒนาเพื่อใช้ทดแทนสารกำจัดเชื้อราได้ เนื่องจากสามารถเตรียมได้ง่ายกว่าการรมด้วยใบพลูบด


การเน่าเสีย สัปดาห์หลังการทดลองดัชนีโรคImazalilสารสกัดพลู 1 %สารสกัดพลู 2 %สารสกัดพลู 4 %พลูบด 0 กรัมพลูบด 2 กรัมพลูบด 4 กรัมพลูบด 8 กรัม ผลของสารสกัดน้ำจากใบพลูและใบพลูบด ที่ระดับต่างๆ ต่อการลดการเน่าเสียของขิงระหว่างการเก็บที่ 13 °C เป็นเวลา 6 สัปดาห์ เปรียบเทียบกับสารกำจัดรา Imazalil


10.3 การทดลองการควบคุมโรคขิงโดยการเร่งการสมานบาดแผลร่วมกับสารสกัดด้วยน้ำจากใบพลูจากการทดลองการเร่งการสมานบาดแผลร่วมกับการชุบด้วยสารสกัดน้ำจากใบพลู พบว่าทรีตเม้นต์ที่มีเปอร์เซ็นต์ความเสียหายของขิงน้อยที่สุดคือการชุบด้วยสารกำจัดเชื้อรา Imazalil รองลงมาคือการบ่มเร่งการสมานบาดแผลอย่างเดียว ขณะที่การบ่มเร่งการสมานบาดแผลร่วมด้วยการชุบสารสกัดน้ำจากใบพลูให้เปอร์เซ็นต์ความเสียหายของขิงสูงกว่า control (ไม่บ่ม non_treat) ทั้งนี้อาจเป็นผลจากสารสกัดน้ำใบพลูมีสารอาหารที่เหมาะสมกับเชื้อราปนอยู่ด้วยทำให้เชื้อราสามารถเจริญได้ดีกว่า อาจต้องทำการทดสอบเพิ่มเติมเพื่อหาวิธีสกัดสารออกฤทธิ์โดยไม่มีสารอาหารเจือปนออกมาด้วย


ผลของการเร่งการสมานบาดแผลร่วมกับการชุบด้วยสารสกัดน้ำจากใบพลู ต่อการเน่าเสียของขิงระหว่างการเก็บรักษาที่ 13 °C เป็นเวลา 6 สัปดาห์ เปรียบเทียบกับสารกำจัดรา Imazalil



11. สรุปผลการทดลอง
- ขิงที่ผ่านกระบวนการสมานบาดแผลในสภาพชื้นสามารถยับยั้งการเกิดโรคได้ขณะที่ขิงที่ผ่านการสมานบาดแผลในสภาพแห้งไม่ต้านทานโรคโดยมีสภาพชื้นเป็นปัจจัยสำคัญ
- การชุบด้วยสารสกัดน้ำจากใบพลู 4 % มีแนวโน้มที่จะสามารถพัฒนาเพื่อใช้ทดแทนสารกำจัดเชื้อราได้
- สารสกัดน้ำใบพลูมีสารอาหารที่เหมาะสมกับเชื้อราปนอยู่ด้วยทำให้เชื้อราสามารถเจริญได้จึงควรหาวิธีสกัดสารออกฤทธิ์โดยไม่มีสารอาหารเจือปนออกมาด้วย



12. การนำไปใช้ประโยชน์ : ให้ระบุว่าผลงานที่สิ้นสุดได้นำไปใช้ประโยชน์ พัฒนาต่อหรือถ่ายทอดได้ในประเด็นอะไรบ้าง (ระบุเป็นข้อ ๆ)
- ขิงที่ผ่านกระบวนการสมานบาดแผลในสภาพชื้นสามารถยับยั้งการเกิดโรคได้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ หรือถ่ายทอดได้
- วิธีสกัดสารออกฤทธิ์จากใบพลู สามารถนำมาพัฒนาต่อได้




ที่มา  :  กรมวิชาการเกษตร 









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-13 (2412 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©