-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 440 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

น้อยหน่า




หน้า: 1/2




ที่มา : http://www.rakbankerd.com/agriculture/wb/show.php?Category=agriculture&No=12744&page=2



                  น้อยหน่า


        ลักษณะทางธรรมชาติ
      * เป็นพืชเมืองร้อน ปลูกได้ทุกภาค ทุกพื้นที่ และทุกฤดูกาล เจริญเติบโตดีในพื้นที่ค่อนข้างแห้งแล้งหรือพื้นที่ลาดเชิงเขา ชอบดินร่วนปนทรายหรือดินลูกรัง  มีอินทรีย์วัตถุมากๆ  ระบายน้ำได้ดี ไม่ทนต่อน้ำขังค้าง  ปลูกและเจริญเติบโตได้ดีในทุกภูมิภาค                        

     * กิ่งตอนหรือกิ่งทาบเริ่มให้ผลผลิตเมื่ออายุ 2-3 ปี              

     * ช่วงพักต้นและช่วงพัฒนาดอก-ผลต้องการน้ำพอหน้าดินชื้น แต่ช่วงปรับ ซี/เอ็น เรโช.ต้องการความแห้งแล้ง                        

     * ต้องการแสงแดด 100 เปอร์เซ็นต์  สังเกตต้นที่ปลูกอยู่ริมศาลพระภูมิได้รับแสงจากหลอดไฟศาลพระภูมิทุกคืน  ตลอดคืน  และเป็นระยะเวลายาวนาน  เมื่อตัดกิ่งแก่กิ่งใดกิ่งแก่กิ่งนั้นจะแตกยอดใหม่จากข้อใต้รอยตัดแล้วออกดอกติดผลเองโดยไม่ต้องบำรุงเป็นกรณีพิเศษแต่อย่างใด  แสดงว่าแสงไฟทำให้น้อยหน่าออกดอกติดผลได้เหมือนแก้วมังกร
                        

     * ออกดอกพร้อมกับยอดที่เกิดใหม่หลังการตัดแต่งกิ่งเหมือนฝรั่ง 
                         

     * ต้นสมบูรณ์เต็มที่เพราะได้รับการบำรุงแบบให้มีสารอาหารกินตลอด 24 ชม. ต่อเนื่องหลายๆปีติดต่อกัน เมื่อดอกชุดแรกออกจากช่วงปลายของกิ่งแก่แล้ว  ดอกชุด 2 และชุด 3 ยังสามารถออกจากโคนของกิ่งแก่เดียวกันนั้นได้อีกด้วย                       

     * ออกดอกติดผลได้ทั้งกิ่งชายพุ่มและกิ่งภายในทรงพุ่มที่แสงแดดส่องถึง
                       
     * ดอกสมบูรณ์เพศ ผสมกันเองภายในดอกเดียวกัน หรือต่างดอกต่างต้นได้
                       
     * เกสรตัวผู้หรือเกสรตัวเมียอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างไม่สมบูรณ์เกิดจากขาดสารอาหาร/ฮอร์โมน หรือสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม (อากาศร้อนหรือฝนตกชุก) ผสมกันแล้วพัฒนาเป็นผลจะเป็นผลไม่สมบูรณ์ ไม่โต รูปทรงบิดเบี้ยว                       

     * แม้ไม่ตัดแต่งกิ่งก็ออกดอกติดผลได้แต่ดอกที่ออกมาจะไม่พร้อมกันเป็นชุดใหญ่ ไม่ดก และคุณภาพผลก็ไม่ดีเท่ากับดอกผลที่เกิดจากกิ่งที่ได้รับการตัดแต่ง 
                           

     * ระยะ  ดอก – ผลเล็ก – ผลกลาง – ผลแก่  ถ้าต้นได้รับน้ำและสารอาหารสม่ำเสมอจะช่วยให้ผลสมบูรณ์ โตเร็ว  ขนาดผลใหญ่  แม้ผลไม่แก่จัดแล้วเก็บไปบ่มให้สุก  กลิ่นและรสชาติก็ยังดีเหมือนผลแก่จัด  ในทางตรงกันข้าม  ถ้าต้นขาดน้ำและสารอาหารหรือได้รับน้ำมากเกินไปจะทำให้ผลเล็กแคระแกร็น ผลที่แก่ไม่จัดเก็บไปบ่มจนสุกแล้วกลิ่นและรสชาติจะไม่ดีด้วย  
                               

       สายพันธุ์          
     1.น้อยหน่าพื้นเมือง
             
       ฝ้ายหรือฝ้ายเขียว :             
       ขนาดผลใหญ่ที่สุดในบรรดาพันธุ์พื้นเมืองทั้งหมด สีผิวเปลือกเขียวอ่อนหรือเขียวนวล  ร่องตาตื้น   เนื้อเป็นทราย  สีขาว  กลิ่นหอมรสหวานจัด  เปลือกกับเนื้อไม่ล่อน 
                       
       ครั่งหรือฝ้ายครั่ง :                
       ขนาดผลเล็กกว่าฝ้ายเขียว   สีผิวเปลือกม่วงเข้ม  เนื้อสีขาวอมชมพู  เนื้อเละยุ่ย  กลิ่นหอมรสหวานจัด  เปลือกกับเนื้อไม่ล่อน      
     2.น้อยหน่าหนัง                       
       หนังเขียว :
                            
       เป็นสายพันธุ์ที่นำเข้ามาจากเวียดนาม เมื่อเทียบกับพันธุ์พื้นเมืองขนาดผลใหญ่กว่า สีผิวเปลือกเขียวนวลเหมือนกัน ตานูนน้อยกว่า ร่องตาตื้นกว่าแต่กว้างกว่า เนื้อขาวละเอียดมากกว่า กลิ่นหอมน้อยกว่า รสหวานกว่า จำนวนเมล็ดน้อยน้อยกว่า เนื้อล่อนจากเปลือก 
                       
       หนังทอง :                             
       กลายพันธุ์มาจากหนังเขียว ผิวเปลือกสีเขียวจางจนเกือบขาว เนื้อละเอียด เนื้อมาก  กลิ่นหอม  รสหวานไม่จัด  จำนวนเมล็ดน้อย   เปลือกล่อนไม่ติดเนื้อ
                        
       หนังครั่ง :                              
       กลายพันธุ์มาจากหนังเขียว  ผิวเปลือกสีม่วงเข้ม  ตานูน  ร่องสีชมพู  เนื้อขาวอมชมพู  เนื้อไม่เละ  กลิ่นหอม รสหวานไม่จัด  จำนวนเมล็ดน้อย  เปลือกล่อนไม่ติดเนื้อ
         
     3.พันธุ์ลูกผสม                          
       เป็นพันธุ์ที่ผสมขึ้นมาใหม่ระหว่างพันธุ์พื้นเมืองกับพันธุ์ต่างประเทศที่คุณสมบัติดี     พันธุ์ลูกผสมใหม่ที่ได้รับความนิยม  ได้แก่  อาติมัวร์ย่า.  เพชรปากช่อง (นิยมมากที่สุด).  เนื้อทอง.  ฯลฯ 
                      
       หมายเหตุ :
                       
       พันธุ์ลูกผสมใหม่ในกลุ่มเดียวกันกับเพชรปากช่องมีทั้งสิ้นมากกว่า 20 สายพันธุ์ที่ยังไม่ได้ตั้งชื่อพันธุ์  ปัจจุบันอยู่ระหว่างรอให้สายพันธุ์นิ่ง  ในเบื้องต้นทราบผลว่าบางสายพันธุ์มีคุณสมบัติเหนือกว่าเพชรปากช่องและเนื้อทอง                        

       การขยายพันธุ์                       
       ทาบกิ่งเสียบยอดติดตาบนตอพื้นเมือง.  ตอน.  เพาะเมล็ด (กลายพันธุ์).  เพาะเมล็ดเสริมรากเสียบยอด (ดีที่สุด).                         

       เตรียมดินและอินทรีย์วัตถุ                         
     - ใส่ปุ๋ยคอก (มูลวัวเนื้อ/นม + มูลไก่ไข่/เนื้อ/นกกระทา (แห้งเก่าข้ามปี) ปีละ 2 ครั้ง
     - ให้ยิบซั่มธรรมชาติ  ปีละ 2 ครั้ง                       
     - ให้กระดูกป่น  ปีละ 1 ครั้ง                         
     - คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆเต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่ม  ล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
     - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบืดเถิดเทิงหรือจุลินทรีย์ 1-2 เดือน/ครั้ง 
                       

       หมายเหตุ :                       
     - การฝังซากสัตว์ เช่น หอยเชอรี่  ปลาสด  เป็นชิ้นเท่าลูกมะนาวหรือบดละเอียด ที่ชายเขตทรงพุ่ม 4-5 หลุม/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม. ฝังปีเว้นปี เพื่อให้ต้นมีสารอาหารกินตลอด 24 ชม. ต่อเนื่องหลายๆปีจะทำให้ต้นมีความสมบูรณ์สูงพร้อมต่อการบำรุงทุกขั้นตอน
                          
     - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพ (ทางใบ-ทางราก) บ่อยเกินไปจะทำให้ต้นหยุดการเจริญเติบโต ไม่แตกใบอ่อน  ผลหยุดขยายขนาดแล้วกลายเป็นผลแก่  การให้ทางใบอาจเป็นแหล่งอาศัยและแพร่ระบาดของเชื้อราได้
     - ให้กลูโคสเฉพาะช่วงสำคัญ เช่น เร่งใบอ่อนเป็นใบแก่  สะสมอาหาร  บำรุงผลกลาง ช่วงละ 1-2 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 20-30 วัน.....ถ้าให้บ่อยเกินไปจะทำให้ต้นเกิดอาการนิ่ง ไม่ตอบสนองต่อสารอาหารหรือฮอร์โมนใดๆทั้งสิ้น                       
     - ฮอร์โมนธรรมชาติและฮอร์โมนวิทยาศาสตร์จะให้ประสิทธิภาพเต็มร้อยก็ต่อเมื่อ  ต้นมีสภาพความสมบูรณ์สูง                        

       เตรียมต้น                       
     
  ตัดแต่งกิ่งเพื่อเรียกใบอ่อน :
       หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตหมดต้นแล้วให้ตัดแต่งกิ่งกระโดง  กิ่งคด  กิ่งงอ  กิ่งไขว้  กิ่งชี้ลง  กิ่งชี้เข้าในทรงพุ่ม  กิ่งหางหนู  กิ่งแห้ง  กิ่งเป็นโรค โดยตัดชิดลำต้นหรือชิดกิ่งประธานเพื่อทำให้ทรงพุ่มโปร่ง  ขั้นตอนนี้ยังไม่ตัดปลายกิ่งและยังไม่ริดใบทิ้ง  คงปล่อยให้อยู่กับต้นอย่างเดิม  จากนั้นเริ่มบำรุงด้วยสูตร  เรียกใบอ่อน  ทั้งทางใบและทางราก
                        
       ตัดแต่งกิ่งเพื่อเปิดตาดอก :                      
       บำรุงใบอ่อนที่ได้หลังจากตัดแต่งกิ่งครั้งแรกตามขั้นตอน จนถึงขั้นตอนสะสมอาหารเพื่อการออกดอกไว้ก่อน เมื่อเห็นว่าต้นแสดงอาการอั้นตาดอกเต็มที่แล้วจึงลงมือตัดแต่งกิ่ง โดยตัดแต่งกิ่งกระโดง  กิ่งคด  กิ่งงอ  กิ่งไขว้  กิ่งชี้ลง  กิ่งชี้เข้าในทรงพุ่ม  กิ่งหางหนู  กิ่งเป็นโรค  อีกครั้ง และตัดปลายกิ่งพร้อมกับริดใบทิ้งทั้งหมดจนโกร๋นเหลือแต่ต้น  แล้วงดน้ำเด็ดขาดเพื่อให้ต้นเกิดความเครียด  จากนั้นจึงลงมือเปิดตาดอก ต้นที่ถูกงดน้ำมาระยะหนึ่งแล้วก็จะแตกยอดใหม่พร้อมกับมีดอกออกตามมาด้วย                       
       ต้นสมบูรณ์จริงๆจะมีดอกออกมาพร้อมกับยอดแตกใหม่ทั่วทั้งกิ่ง แม้แต่โคนกิ่งแก่ก็ออกดอกแล้วพัฒนาเป็นผลคุณภาพดีได้  ทั้งๆที่ไม่มีการแตกยอดนำออกมาก่อน
                        
       ตัดแต่งกิ่งเพื่อปรับทรงพุ่ม :                           
     - ตัดกิ่งบังแสงแดดต่อกิ่งอื่นออก ทำให้ทรงพุ่มโปร่งจนแสงแดดสามารถส่องได้ทั่วถึงทุกกิ่ง  กิ่งที่ได้รับแสงแดดจะสมบูรณ์ดีกว่ากิ่งที่ไม่ได้รับแสงแดดหรือได้รับแสงแดดน้อย
     - ตัดยอดกิ่งประธาน (ผ่ากบาล) ณ ความสูงต้นตามต้องการ  นอกจากช่วยทำให้แสงแดดผ่านจากยอดเข้าสู่ภายในทรงพุ่มได้อย่างทั่วถึงแล้วแสงแดดที่ร้อนยังช่วยกำจัดเชื้อราได้เป็นอย่างดีและเพื่อควบคุมขนาดความสูงทรงพุ่มอีกด้วย                        
       ตัดแต่งราก :                         
     - น้อยหน่าระยะต้นอายุยังน้อยไม่ควรตัดแต่งราก แต่ถ้าต้องการสร้างรากใหม่ให้มีประสิทธิ
ภาพในการหาอาหารดียิ่งขึ้นใช้วิธีล่อรากด้วยการพูนโคนต้นด้วยดิน 3 ส่วนกับอินทรีย์วัตถุ 1 ส่วน 
     - ต้นอายุหลายปี  ระบบรากเก่าและแก่มาก  ให้พิจารณาตัดแต่งรากส่วนปลายออก 1 ใน 4 ด้วยการพรวนดินรอบทรงพุ่มลึก 10-15 ซม.หลังจากให้ฮอร์โมนบำรุงรากไปแล้วต้นจะแตกรากใหม่จำนวนมากขึ้นและมีประสิทธิภาพในการดูดซับสารอาหารได้ดีกว่าเดิม
 




หน้าถัดไป (2/2) หน้าถัดไป


Content ©