-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 342 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

แฟ้มงานวิจัย47





ควบคุมแอนแทร็คโนสในพริกด้วยสารธรรมชาติ 


1. แผนงานวิจัย การศึกษาและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูป
2. โครงการวิจัย 72 ศึกษาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปสินค้าเกษตรเบื้องต้น
3. ชื่อการทดลอง (ภาษาไทย) 1.7.2 การควบคุมโรคแอนแทรคโนส (Collectotrichum capsici) ของพริกหลังการเก็บเกี่ยวด้วยสารธรรมชาติ

4. คณะผู้ดำเนินงาน
หัวหน้าโครงการวิจัย นางพรทิพย์ วิสารทานนท์ สังกัด สวป.
หัวหน้าการทดลอง นายชวเลิศ ตรีกรุณาสวัสดิ์ สังกัด สวป.
ผู้ร่วมงาน (การทดลอง) นางรัตตา สุทธยาคม สังกัด สวป.
นางสาวอารีรัตน์ การุณสถิตย์ชัย สังกัด สวป.




5. บทคัดย่อ
ได้ศึกษาพืชที่เหมาะสมในการนำมาใช้ควบคุมการเกิดโรคแอนแทรกโนสของพริกหลังการเก็บเกี่ยว พบว่าใบพลูมีสารออกฤทธิ์ในรูปสารระเหยที่สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อรา Collectotrichum capsici บนอาหารเลี้ยงเชื้อ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และได้ทำการศึกษาวิธีการใช้สารระเหยจากใบพลูในการควบคุมโรคแอนแทรคโนสของพริกหลังการเก็บเกี่ยวโดยเตรียมกระดาษชุบสารสกัดความเข้มข้นเท่ากับ 1.25 กรัม น้ำหนักแห้งใบพลู พบว่าปริมาณสารสกัดใบพลูที่เข้มข้นขึ้นดัชนีการเกิดโรคของพริกที่ทำการทดลองลดลงโดยลำดับ โดยที่สารสกัดปริมาณ 5 กรัมน้ำหนักแห้ง ซึ่งเป็นปริมาณสูงสุดที่ทำการทดลอง ให้ดัชนีการเกิดโรคต่ำที่สุดคือ 3.7 ขณะที่ control (0 กรัม) มีดัชนีการเกิดโรคสูงที่สุดคือ 7.7 แสดงให้เห็นว่าสารสกัดจากใบพลูมีฤทธิ์ในการควบคุมโรคแอนแทรกโนสได้ในระดับที่สามารถนำมาพัฒนาใช้ในด้านการควบคุมโรคหลังการเก็บเกี่ยวได้ อย่างไรก็ตาม รูปแบบที่จะนำไปใช้ต้องขึ้นอยู่กับภาชนะบรรจุผลิตผลที่สามารถเก็บกักสารน้ำมันหอมระเหยการสกัดสารออกฤทธิ์ที่มีความบริสุทธิ์และอยู่ในรูปที่ใช้งานได้ง่ายก็ยังมีความจำเป็นต้องพัฒนาต่อไป



6. คำนำ
พริก ถูกกำหนดเป็นพืชเป้าหมายที่ต้องมีการจดทะเบียนรับรองแหล่งผลิตตามระบบ GAP เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลที่กำหนดให้ปี 2547 เป็นปีแห่งความปลอดภัยด้านการอาหาร (Food Safety Year) ซึ่งจะได้มีการกำหนดค่าปริมาณสูงสุดของสารพิษตกค้าง (MRL) เพื่อยกระดับมาตรฐานให้เป็นที่ยอมรับในระบบสากล และเพื่อลดปัญหาการกีดกันทางการค้าเนื่องจากมีสารพิษตกค้างในผลิตผลหลังการเก็บเกี่ยว แต่ทราบกันดีว่าพริกเป็นพืชผักที่เสื่อมสลายง่าย (Perishable crops) เมื่อเก็บเกี่ยวจากแปลง จำเป็นต้องดูแลระมัดระวัง ซึ่งปัญหาการเน่าเสียหลังการเก็บเกี่ยวเนื่องจากเชื้อโรคพืชเข้าทำลาย โดยเฉพาะโรคแอนแทรกโนสของพริกหลังการเก็บเกี่ยว ซึ่งเกิดจากเชื้อรา Collectotrichum capsici พบเข้าทำลายอย่างรุนแรงและทำความเสียหายมาเป็นเวลานาน


ในการควบคุมโรคหลังการเก็บเกี่ยวอาจทำได้หลายวิธี แต่ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัยด้านการอาหาร การควบคุมโรคจึงควรคำนึงถึงความปลอดต่อผู้บริโภคด้วย นอกเหนือจากเป้าหมายด้านการยืดอายุการเก็บรักษาให้ยาวนานขึ้นและลดการสูญเสียเนื่องจากโรคและความผิดปกติทางสรีรวิทยา จำเป็นต้องหาวิธีการหรือแหล่งที่มาของการควบคุมโรคที่ปลอดภัยจากสารพิษตกค้าง ที่เป็นสารจากธรรมชาติ เช่น พืชสมุนไพร เครื่องเทศ และพืชท้องถิ่นบางชนิดที่รายงานไว้ ซึ่งหลายชนิดใช้บริโภคมาเป็นเวลานาน และไม่มีรายงานว่าเป็นอันตราย ถ้าพบว่ามีศักยภาพในการควบคุมการเกิดโรคหลังการเก็บเกี่ยวก็จะเป็นทางเลือกหนึ่งที่ใช้ยืดอายุการเก็บรักษาและลดการสูญเสียเนื่องจากโรคแอนแทรกโนสของพริกหลังการเก็บเกี่ยวที่ปลอดภัยจากสารพิษตกค้างได้ โดยที่รูปแบบของสารอาจอยู่ในรูปน้ำมันหอมระเหย (Volatile oils) หรือสารสกัดหยาบ (Crude extracts)


จากการใช้สารสกัดจากพืชสมุนไพร เนื่องพณิช และคณะ (2535) พบว่าสารสกัดจากประยงค์และหนุมานประสานกายที่ความเข้มข้น 0.5 เปอร์เซ็นต์สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อราโรคพืช เช่น Alternaria sp. Macrophomina sp. Fusarium sp. Phomopsis sp. Phytophthora sp. Colletotrichum sp. และ Sclerotium sp. สารสกัดจากเครื่องเทศในประเทศไนจีเรีย 5 ชนิดคือ กระเทียม ขิง Aframomum nuleguta Xylopia aethiopica และ Monodora myristica สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อรา Botryodiplodia theobromae Aspergillus niger A. flavus Mucor sp. Rhizopus stolonifer Penicillium sp. และ Fusarium sp. ที่แยกได้จากฝักกระเจี๊ยบเขียวที่เน่า โดยเติมในอาหารเลี้ยงเชื้อ และสารสกัดจากขิงและ M. myristica สามารถลดการเน่าเสียของฝักกระเจี๊ยบเขียวได้เมื่อใช้ร่วมกับความร้อนระดับต่ำ โดยมีการสูญเสียคาร์โบไฮเดรทเล็กน้อย (0.2 เปอร์เซ็นต์) หลังการเก็บรักษานาน 3 เดือน (Ejechi และคณะ, 1997)



7. อุปกรณ์และวิธีการ

7.1.ศึกษาพืชที่เหมาะสมในการนำมาใช้ควบคุมการเกิดโรคทำการทดลอง การยับยั้งการเจริญทางเส้นใยของเชื้อรา Collectotrichum capsici บนอาหารเลี้ยงเชื้อด้วยสารระเหยของพืชสมุนไพร
7.1.1 เลี้ยงเชื้อบนอาหาร PDA
7.1.2 ตัวอย่างพืชสมุนไพรที่แช่แข็งที่ -20 °C เพื่อดึงน้ำออก แล้วบด จำนวน 3 กรัม
7.1.3 วางตัวอย่างพืชในฝาเพลท เกลี่ยให้เรียบ แล้วคว่ำก้นเพลทที่มีอาหาร PDA และชิ้นวุ้นที่มีเชื้อราเจริญอยู่ลงปิดตัวอย่างพืชบด
7.1.4 วัดขนาดโคโลนีเชื้อราเป็นเวลา 7 วัน


7.2 ศึกษาวิธีการใช้สารระเหยจากพืชในการควบคุมโรคแอนแทรคโนสของพริกหลังการเก็บเกี่ยว
7.2.1 เตรียมสารสกัดจากใบพลูโดยใช้ใบพลูแห้งบดระเอียด นำมาสกัดด้วยเมธิลอัลกอฮอร์ 95 % แล้วกรองผ่านกระดาษกรอง โดยทำการสกัด 3 ครั้ง นำสารสกัดที่ได้มาลดปริมาตรด้วยโรตารีอีวาพอเลเตอร์ แล้วเตรียมเป็นกระดาษชุบสารสกัดโดยเจือจางสารสกัดให้ได้ปริมาตรที่เท่ากับกระดาษกรองขนาด 12 ซม. สามารถดูดซึมได้และมีความเข้มข้นเท่ากับ 1.25 กรัม น้ำหนักแห้งใบพลู เมื่อชุบสารสกัดแล้วนำกระดาษกรองมาผึ่งให้แห้งแล้วเก็บในภาชนะปิดสนิทที่อุณหภูมิ 5 °C
7.2.2 เตรียมผลพริกโดยล้างทำความสะอาดและผึ่งให้แห้ง นำมาใส่ในกล่องเก็บความชื้นที่มีน้ำหล่อเลี้ยงเพื่อเร่งการเกิดโรค แล้วนำกระดาษกรองชุบสารสกัดใบพลูที่ใส่ในถุงพลาสติกเจาะรูมาใส่ ในปริมาณ 0, 2, 3 และ 4 แผ่น (เท่ากับ 0, 2.5, 3.75 และ 5.0 กรัมน้ำหนักแห้งใบพลู ตามลำดับ)นำไปบ่มที่ 12 °C แล้วตรวจสอบการเกิดโรคที่ 7 วัน ทำการทดลอง 3 ซ้ำ



8. ระยะเวลา (เริ่มต้น ตุลาคม 2548 – สิ้นสุด กันยายน 2550)


9. สถานที่ดำเนินการ ห้องปฏิบัติการกลุ่มงานวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวผลิตผลเกษตรสำนักวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลเกษตร


10. ผลการทดลองและวิจารณ์

10.1 ศึกษาพืชที่เหมาะสมในการนำมาใช้ควบคุมการเกิดโรค
จากการทดสอบพืชตัวอย่างหลายชนิดพบว่าใบพลูมีสารออกฤทธิ์ในรูปสารระเหยที่สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อรา Collectotrichum capsici บนอาหารเลี้ยงเชื้อ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่พบการเจริญของเชื้อราจากชิ้นวุ้นบนอาหารเลี้ยงเชื้อ ขณะที่ control มีการเจริญเต็มเพลทและสารกำจัดเชื้อรา Imazalil ที่ใช้เป็นสารเปรียบเทียบมีการเจริญของเส้นใยเชื้อราให้เห็นได้ แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของสารน้ำมันหอมระเหยจากใบพลูในการควบคุมเชื้อรา Collectotrichum capsici สาเหตุโรคแอนแทรกโนสของพริก ในสภาพเลี้ยงเชื้อ


10.2 ศึกษาวิธีการใช้สารระเหยจากพืชในการควบคุมโรคแอนแทรคโนสของพริกหลังการเก็บเกี่ยวจากการทดลองพบว่าที่ปริมาณสารสกัดที่เข้มข้นขึ้นดัชนีการเกิดโรคของพริกที่ทำการทดลองลดลงโดยลำดับ โดยที่สารสกัดปริมาณ 5 กรัมน้ำหนักแห้ง ซึ่งเป็นปริมาณสูงสุดที่ทำการทดลอง ให้ดัชนีการเกิดโรคต่ำที่สุดคือ 3.7 ขณะที่ control (0 กรัม) มีดัชนีการเกิดโรคสูงที่สุดคือ 7.7 แสดงให้เห็นว่าสารสกัดจากใบพลูมีฤทธิ์ในการควบคุมโรคแอนแทรกโนสได้ในระดับที่สามารถนำมาพัฒนาใช้ในด้านการควบคุมโรคหลังการเก็บเกี่ยวได้ จากการที่สารออกฤทธิ์ที่เป็นสารน้ำมันหอมระเหยมีแนวทางการใช้งานที่สอดคล้องกับความปลอดภัยของผลิตผลที่เป็นอาหาร เนื่องจากไม่มีการสัมผัสโดยตรงกับอาหาร อย่างไรก็ตาม รูปแบบที่จะนำไปใช้ต้องขึ้นอยู่กับภาชนะบรรจุผลิตผลที่ต้องเอื้ออำนวยให้สามารถเก็บกักสารน้ำมันหอมระเหยนี้ไว้ด้วย อีกทั้งการพัฒนาด้านการสกัดสารออกฤทธิ์ที่มีความบริสุทธิ์และอยู่ในรูปที่ใช้งานได้ง่ายก็ยังมีความจำเป็นต้องพัฒนาต่อไป

การเกิดโรค สารสกัดพลู (กรัม น.น.แห้ง) Disease Index ผลของสารสกัดจากใบพลูที่ความเข้มข้นต่างๆ ต่อดัชนีการเกิดโรคของพริกระหว่างการเก็บรักษา


11. สรุปผลการทดลอง
- ใบพลูมีสารออกฤทธิ์ในรูปสารระเหยที่สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อรา Collectotrichum capsici บนอาหารเลี้ยงเชื้อ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ปริมาณสารสกัดใบพลูที่เข้มข้นขึ้นดัชนีการเกิดโรคของพริกที่ทำการทดลองลดลงโดยลำดับ


12. การนำไปใช้ประโยชน์ : ให้ระบุว่าผลงานที่สิ้นสุดได้นำไปใช้ประโยชน์ พัฒนาต่อหรือถ่ายทอดได้ในประเด็นอะไรบ้าง (ระบุเป็นข้อ ๆ) สารสกัดจากใบพลูมีฤทธิ์ในการควบคุมโรคแอนแทรกโนสได้ในระดับที่สามารถนำมาพัฒนาใช้ในด้านการควบคุมโรคหลังการเก็บเกี่ยวได้ ควรนำไปพัฒนาต่อภาชนะบรรจุผลิตผลที่ต้องเอื้ออำนวยและการสกัดสารออกฤทธิ์ที่มีความบริสุทธิ์และอยู่ในรูปที่ใช้งานได้ง่ายควรนำไปพัฒนาต่อ



13. เอกสารอ้างอิง
เนื่องพนิช สินชัยศรี, จิรายุพิน จันทร์ประสงค์, วิไล สันติโสภาศรี, สุดฤดี ประเทืองวงศ์, พัฒนา อนุรักษ์พงศ์ธร, อำไพวรรณ ภราดร์ณุวัฒน์, ดำริห์ รุ่งสุข, Izuru Yamamoto, Kanju Ohsawa และ Tadami Akatsuka. 2535. สารประกอบในพืชสมุนไพรบางชนิดที่มีฤทธิ์กำจัดศัตรูพืชในประเทศไทย, น. 1-1 – 1-37. ใน รายงานการวิจัยนิเวศวิทยาของสารเคมีที่ใช้ในการเกษตร. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, กรุงเทพฯ.




ที่มา  :  กรมวิชาการเกษตร









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-13 (3071 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©