-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 606 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

แฟ้มงานวิจัย44





การป้องกันกำจัดผีเสื้อมวนหวาน
ในสวนลองกองโดยใช้กรงกับดัก
 


บุญแถม ถาคำฟู กฤชพร ศรีสังข์
จตุรภัทร รัตนวิสาลนนท์ นิสิต บุญเพ็ง
บุญเลิศ สะอาดสิทธิศักดิ์ อรสา ยงยุทธวิชัย
กุลธิดา ดอนอยู่ไพร ณัฐ เทศัชบุตร
สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2 จังหวัดพิษณุโลก
__________________________________________




บทคัดย่อ
ผีเสื้อมวนหวานเป็นแมลงศัตรูที่สำคัญชนิดหนึ่งของลองกอง ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืนขนาดใหญ่ทำลายผลลองกองโดยใช้งวงปากที่แข็ง เจาะดูดกินน้ำหวานในผลลองกองสุก ลักษณะการทำลายมีรอยเป็นวงสีน้ำตาล ต่อมามีน้ำเยิ้มออกมาบริเวณรอยเจาะ ส่งผลให้เกิด abscission layer บริเวณขั้วผล ทำให้ผลลองกองเน่าและร่วงหล่นลงดินเก็บผลผลิตไม่ได้


การใช้กรงกับดักเป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถกำจัดผีเสื้อมวนหวานได้ การทดลองครั้งนี้ได้พัฒนา
กรงกับดัก จากแบบวางพื้นขนาด 50 X 50 X 50 ซม. (กว้าง X ยาว X สูง) พบว่า ผีเสื้อเข้าไปกินเหยื่อและบินย้อนกลับออกด้านกรวยทางเข้าได้ มีผีเสื้อเข้ากรงน้อย และไม่สะดวกในการใช้งาน ได้ปรับปรุงเป็นแบบใช้แขวน ขนาด 35 X 40 ซม. (เส้นผ่าศูนย์กลาง X สูง) พบผีเสื้อย้อนออกทางเข้าได้และไม่สะดวกในการใช้งาน จึงปรับเปลี่ยนเป็นกรงขนาดเล็กลง 15 X 25 ซม. (เส้นผ่าศูนย์กลาง X สูง) ส่วนปลายของกรวยทางเข้ามีฝาปิดแบบหลวมๆ ให้ผีเสื้อดันเข้าไปได้แต่ดันออกไม่ได้ เป็นสิ่งประดิษฐ์คิดค้นใหม่ โดยปรับโครงสร้างให้สามารถพับยุบได้เพื่อสะดวกในการเก็บให้ไม่เปลืองที่เก็บ วางแผนการทดลองแบบRandomized Complete Block มี 3 ซ้ำ 5 วิธีการ ประกอบด้วย ระดับความสูง 1.5 2.5 และ 3.5 เมตร


ดำเนินการที่สวนลองกองของเกษตรกร 2 ราย ห่างกันประมาณ 5 กม. ผลการทดลองทั้งสองสวนเป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือ จำนวนผีเสื้อมวนหวานที่เข้ากรงกับดักมากที่สุด เป็นกรงกับดักวางไว้ระดับ 2.5 เมตรซึ่งแตกต่างกับทางสถิติกับกรงที่ระดับ 1.5 และ 3.5 เมตร โดยที่จำนวนผีเสื้อมวนหวานเฉลี่ยวันแรก (10 วันก่อนเก็บเกี่ยว) 3 ตัว/กรง ทั้ง 2 แปลง รองลงมา คือ กรงกับดักระดับ 1.5 เมตร มีจำนวนเฉลี่ย 1.8 ตัว/กรง  ในแปลงที่ 1 และ 2 ตัว/กรง ในแปลงที่สอง จำนวนผีเสื้อมวนหวานเฉลี่ยสูงสุดในกรงกับดักวันที่ 6 (5 วันก่อนการเก็บเกี่ยว) ที่ระยะ 2.5 เมตร เฉลี่ย 3.6 ตัว/กรง ในแปลงที่ 1 3.2 ตัว/กรง ในแปลงที่ 2 รองลงมา คือ ที่ระดับ 1.5 เมตร มีผีเสื้อมวนหวานเข้ากรงเฉลี่ย 2.2 ตัว/กรง ในแปลงที่ 1 และ 2.4 ตัว/กรง ในแปลงที่ 2


หลังจากนั้นผีเสื้อมวนหวานเข้ากรงน้อยลง จนกระทั่งหลังวันเก็บเกี่ยวมีผีเสื้อมวนหวานเข้ากรงเฉลี่ยที่ระดับ 2.5 เมตร 1 ตัว/กรง ในแปลงที่ 1 และ 0.8 ตัว/กรง ในแปลงที่ 2 ส่วนที่ระดับ 1.5 เมตร ผีเสื้อมวนหวานเฉลี่ย 0.3 ตัว/กรง ในแปลงที่ 1 และ 0.4 ตัว/กรง ในแปลงที่ 2 ส่วนที่ระดับ 3.5 เมตร ไม่มีผีเสื้อเข้ากรงกับดักเลย



คำนำ
ลองกองเป็นผลไม้เมืองร้อนที่ขึ้นได้ดีในสภาพพื้นที่ร้อนชื้น อุณหภูมิที่เหมาะสมระหว่าง 20 – 30O Cความชื้นในอากาศ 70 – 80% ปริมาณน้ำฝน 2,000 – 3,000 มม./ปี ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลน้อยกว่า 600 เมตร ขึ้นได้ดีในดินร่วนปนทรายที่มีอินทรียวัตถุสูง ระบายน้ำได้ดี และประการสำคัญที่สุดต้องมีแหล่งน้ำสะอาดเพียงพอ ลองกองเป็นพืชที่มีระบบรากตื้นที่มีรากฝอยขึ้นมาหาอาหารบริเวณผิวดิน อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นแหล่งหนึ่งของประเทศไทยที่ผลิตลองกองได้ดีมีคุณภาพ ลองกองสุกแก่เก็บเกี่ยวได้ตั้งแต่เดือนมิถุนายน – สิงหาคม ในช่วงลองกองเริ่มสุกแก่ แมลงศัตรูที่สำคัญ คือ ผีเสื้อมวนหวาน ตัวเต็มวัยใช้งวงปากที่แข็งเจาะผลลองกองเพื่อดูดกินน้ำหวาน ผลที่ถูกผีเสื้อเจาะทำลายมักมีรอยเป็นวงสีน้ำตาล มีน้ำเยิ้มออกมาจากรอยเจาะ ต่อมาผลเน่าและร่วงลงดิน ทำให้เก็บผลไม่ได้


การป้องกันกำจัดผีเสื้อมวนหวาน ทำได้หลายวิธี เช่น การทำลายพืชอาหารของตัวหนอนผีเสื้อมวนหวาน ได้แก่ ต้นข้าวสาร บอระเพ็ด และย่านาง การป้องกันตัวเต็มวัยอาจใช้วิธีห่อผล การใช้แสงจากหลอด Black Light ล่อให้ตัวเต็มวัยบินมาเล่นไฟและตกลงมาจมน้ำสบู่ที่วางใต้ฐานหลอด อาจใช้เหยื่อ เช่น สับปะรด กล้วยสุกหั่นแว่นจุ่มสารเคมีนำไปแขวนเป็นจุดๆ ในสวน


การป้องกันกำจัดโดยไม่ใช้สารเคมีอีกวิธีหนึ่ง คือ การใช้กรงดักจับตัวเต็มวัย เพื่อลดปริมาณ
ของผีเสื้อมวนหวาน โดยปรับเปลี่ยนกรงกับดักแบบตั้งบนพื้น เป็นกรงกับดักขนาดเล็กและนำไปแขวนไว้บนต้นลองกอง โดยภายในกรงแขวนสับปะรดหั่นแว่นไว้เพื่อล่อผีเสื้อมวนหวาน ดำเนินการในสวนเกษตรกร อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ 2 สวน โดยมีเกษตรกรมีส่วนร่วม เพื่อเป็นแนวทางในการกำจัดผีเสื้อมวนหวานให้เกษตรกร และถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ชาวสวนนำไปปรับใช้ต่อไป



วิธีการดำเนินงาน

อุปกรณ์
1. กรงกับดักโครงลวด หุ้มด้วยตาข่ายไนล่อน ขนาด 15 X 25 ซม. (ก X ส) ด้านล่างของกรงมีกรวย ขนาดฐาน 7 ซม. ด้านบนอยู่ภายในกรงมีแผ่นตาข่ายปิดไว้หลวมๆ
2. สับปะรดผลสุก
3. ลวดแขวน

วิธีการ
1. หั่นผลสับปะรดตามขวางเป็นแว่นๆ หั่นแบ่งเป็น 4 ส่วน
2. ใช้ลวดเกี่ยวเนื้อติดเปลือกสับปะรด นำไปแขวนในกรง ให้อยู่เหนือกรวยทางเข้าด้านในกรง
3. ใช้แผ่นตาข่ายปิดปากกรงด้านในกรงไว้หลวมๆ ให้ผีเสื้อดันเข้าไปได้แต่เปิดออกไม่ได้
4. นำกรงกับดักแขวนบนต้นลองกอง 3 ระดับ คือ 1.5 2.5 และ 3.5 เมตร ช่วงเวลา 17.00 - 18.00 น.
5. เวลา 23.00 น. บันทึกจำนวนผีเสื้อมวนหวานในกรงแต่ละกรง
6. ดำเนินการซ้ำจนเก็บเกี่ยวผลลองกอง โดยเปลี่ยนเหยื่อทุกๆ วัน



แผนการทดลอง
วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block 5 Reps 3 Treatments ได้แก่

Treatment 1 แขวนกรงกับดักบนต้นที่ความสูง 1.5 เมตร
Treatment 2 แขวนกรงกับดักบนต้นที่ความสูง 2.5 เมตร
Treatment 3 แขวนกรงกับดักบนต้นที่ความสูง 3.5 เมตร




ผลการทดลองและวิจารณ์

1. จำนวนผีเสื้อมวนหวานเฉลี่ยในกรงกับดัก 10 วันก่อนการเก็บเกี่ยว จำนวนผีเสื้อมวนหวาน
เฉลี่ยสูงสุด ที่ระดับ 2.5 เมตร 3.0 ตัว/กรง แตกต่างกับทางสถิติกับจำนวนผีเสื้อมวนหวาน ที่ระดับ 1.5 เมตรและ 3.5 เมตร คือ 1.8 และ 1.6 ตัว/กรง ตามลำดับ


2. จำนวนผีเสื้อมวนหวานเฉลี่ยในกรงกับดัก 9 วันก่อนการเก็บเกี่ยว จำนวนผีเสื้อมวนหวาน
เฉลี่ยสูงสุด 3.2 ตัว/กรง ที่ระดับ 2.5 เมตร แตกต่างกับทางสถิติกับจำนวนผีเสื้อมวนหวานเฉลี่ยในกรงที่ระดับ 1.5 และ 3.5 เมตร คือ 1.8 และ 1.4 ตัว/กรง ตามลำดับ


3. จำนวนผีเสื้อมวนหวานเฉลี่ยในกรงกับดัก 8 วันก่อนการเก็บเกี่ยว จำนวนผีเสื้อมวนหวาน
เฉลี่ยสูงสุด 3 ตัว/กรง ที่ระดับ 2.5 เมตร ไม่แตกต่างกับทางสถิติกับกรงกับดักที่ระดับ 1.5 และ 3.5 เมตร คือ 2 และ 1 ตัว/กรง ตามลำดับ


4. จำนวนผีเสื้อมวนหวานเฉลี่ยในกรงกับดัก 7 วันก่อนการเก็บเกี่ยว จำนวนผีเสื้อมวนหวาน
เฉลี่ยสูงสุด 3.2 ตัว/กรง ที่ระดับ 2.5 เมตร ไม่แตกต่างกับทางสถิติกับกรงกับดักที่ระดับ 1.5 และ 3.5 เมตร ที่มีผีเสื้อมวนหวาน จำนวน 2 และ 1.4 ตัว/กรง


5. จำนวนผีเสื้อมวนหวานเฉลี่ยในกรงกับดัก 6 วันก่อนการเก็บเกี่ยว จำนวนผีเสื้อมวนหวาน
เฉลี่ยสูงสุด 3.2 ตัว/กรง ที่ระดับ 2.5 เมตร ไม่แตกต่างกับทางสถิติกับที่ระดับ 1.5 และ 3.5 เมตร คือ มีผีเสื้อมวนหวานเฉลี่ย 2 และ 1.4 ตัว/กรง


6. จำนวนผีเสื้อมวนหวานเฉลี่ยในกรงกับดัก 5 วันก่อนการเก็บเกี่ยว จำนวนผีเสื้อมวนหวาน
เฉลี่ยสูงสุด 3.6 ตัว/กรง ที่ระดับ 2.5 เมตร แตกต่างกับทางสถิติกับกรงกับดักที่ 1.5 และ 3.5 เมตร คือ มีผีเสื้อมวนหวานเฉลี่ย 2.2 และ 1.8 ตัว/กรง ตามลำดับ


7. จำนวนผีเสื้อมวนหวานเฉลี่ยในกรงกับดัก 4 วันก่อนการเก็บเกี่ยว จำนวนผีเสื้อมวนหวาน
เฉลี่ยสูงสุด 2.6 ตัว/กรง ที่ระดับ 2.5 เมตร แตกต่างกับทางสถิติกับที่ระดับ 1.5 และ 3.5 เมตร คือ 1.4 และ 1.2 ตัว/กรง ตามลำดับ


8. จำนวนผีเสื้อมวนหวานเฉลี่ยในกรงกับดัก 3 วันก่อนการเก็บเกี่ยว จำนวนผีเสื้อมวนหวาน
เฉลี่ยสูงสุด 2.6 ตัว/กรง แตกต่างกับทางสถิติกับที่ระดับ 1.5 และ 3.5 เมตร คือ 1.4 และ 1.2 ตัว/กรง ตามลำดับ


9. จำนวนผีเสื้อมวนหวานเฉลี่ยในกรงกับดัก 2 วันก่อนการเก็บเกี่ยว จำนวนผีเสื้อมวนหวาน
เฉลี่ยสูงสุด 2.4 ตัว/กรง แตกต่างกับทางสถิติกับระดับ 1.5 และ 3.5 เมตร มีจำนวนผีเสื้อมวนหวานเฉลี่ย 1.2 และ 0.8 ตัว/กรง ตามลำดับ


10. จำนวนผีเสื้อมวนหวานเฉลี่ยในกรงกับดัก 1 วันก่อนการเก็บเกี่ยว จำนวนผีเสื้อมวนหวาน
เฉลี่ยสูงสุด 2.2 ตัว/กรง แตกต่างกับทางสถิติกับที่ระดับ 1.5 และ 3.5 เมตร คือ 1.0 และ 0.6 ตัว/กรง ตามลำดับ


11. จำนวนผีเสื้อมวนหวานเฉลี่ยในกรงกับดัก 1 วันหลังเก็บเกี่ยว จำนวนผีเสื้อมวนหวานเฉลี่ยสูงสุด 1 ตัว/กรง ไม่แตกต่างกับทางสถิติกับที่ระดับ 1.5 เมตร มีจำนวนผีเสื้อมวนหวานเข้ากรงเฉลี่ย 0.2 ตัว/กรง ส่วนที่ระดับ 3.5 เมตร ไม่มีผีเสื้อมวนหวานเข้ากรงกับดัก




สรุป
1. การใช้กรงกับดักผีเสื้อมวนหวานในสวนลองกอง ทั้ง 2 แปลง ผีเสื้อมวนหวานเฉลี่ยสูงสุด คือ กรงกับดักที่ระดับ 2.5 เมตร เพราะเป็นระดับที่มีผลลองกองส่วนใหญ่อยู่ที่ระดับนี้ รองลงมา คือ ที่ระดับ 1.5 เมตรเพราะมีผลลองกองอยู่บางส่วน และที่ระดับ 3.5 เมตร เป็นระดับปลายยอดมีผลลองกองค่อนข้างน้อย


2. จำนวนผีเสื้อมวนหวานเฉลี่ยสูงสุดทั้ง 3 ระดับ ที่วางกับดัก (1.5 2.5 และ 3.5 เมตร) ทั้ง 2 แปลงเป็นไปในแนวเดียวกัน คือ ระยะ 5 วันก่อนเก็บเกี่ยว เพราะระยะนั้นลองกองสุกแก่ส่งกลิ่นหอมดึงดูดผีเสื้อมวนหวาน


3. การวางกล่องกับดัก หรือวางเหยื่อพิษ ควรแขวนไว้ที่ระดับที่มีผลลองกองมากที่สุด เพราะ
ผีเสื้อมวนหวานมักบินตามกลิ่นของผลลองกอง


4. เหยื่อที่ใช้ในกรงกับดัก ต้องเป็นสับปะรดซึ่งมีกลิ่นแรงและมีรสหวาน ใช้ได้ผลดีกว่ากล้วยน้ำว้าสุกและผลลองกองสุก


5. กรงกับดัก ต้องมีฝาปิดโดยปิดไว้หลวมๆ ให้ผีเสื้อมวนหวานดันเข้าไปในกรงกับดักได้
แต่ดันออกไม่ได้


6. กรงกับดัก ควรพัฒนาใช้ลวดเป็นโครงสร้างในแนวนอน ส่วนแนวตั้งควรพัฒนาเป็นเชือก
เพื่อสะดวกในการเก็บรวบรวมเพราะสามารถวางทับซ้อนกันได้


7. ควรใช้หลายๆ วิธีในการป้องกันกำจัด เช่น กำจัดต้นพืชอาศัยของหนอนผีเสื้อมวนหวาน เช่น
ต้นข้าวสาร ต้นย่านาง และบอระเพ็ด ใช้แสงไฟจากหลอดแบล็คไลท์ ใต้หลอดไฟวางถาดน้ำมันหรือถาดบรรจุน้ำผงซักฟอก ให้ตัวแก่บินมาเล่นไฟตกลงมาจมน้ำตาย หรือใช้เหยื่อพิษโดยใช้สับปะรด จุ่มในสารคาร์บาริล แขวนไว้เป็นจุดๆ ในสวน


8. บริเวณแปลงปลูก ควรเลือกพื้นที่แปลงให้ห่างไกลจากป่า เพราะป่าเป็นที่อาศัยของผีเสื้อมวนหวานและควรตัดแต่งกิ่งไม่ให้ต้นหนาทึบ และควรตัดส่วนยอดให้ต้นเตี้ยลงเพื่อสะดวกต่อการดูแลรักษา


9. วิธีการป้องกันผีเสื้อมวนหวานที่ดีที่สุด คือ การห่อผลด้วยกระดาษถุงปูน หรือกระดาษ
หนังสือพิมพ์ โดยการห่อเป็นรูปกรวยสามเหลี่ยม ห่อให้เลยปลายช่อ 20 – 25 ซม. และเปิดปลายช่อผลไว้ป้องกันการเกิดความร้อนในช่อผลอาจส่งผลให้ผลลองกองเน่าได้


10. ไม่ควรใช้พลาสติกห่อผล เพราะทำให้เกิดความร้อน ทำให้ผลเน่าเสีย


11. หมั่นตรวจแปลงสม่ำเสมอ หากมีมดดำซึ่งเป็นพาหะนำเพลี้ยแป้งและเพลี้ยหอยขึ้นไปเลี้ยง
ไว้บนช่อผลให้ใช้น้ำสบู่เจือจาง (0.5%) พ่นกำจัดมด



ข้อเสนอแนะ
1. ควรใช้หลายๆ วิธีในการป้องกันกำจัด เช่น กำจัดต้นพืชอาศัยของหนอนผีเสื้อมวนหวาน เช่น
ต้นข้าวสาร ต้นย่านาง และบอระเพ็ด ใช้แสงไฟจากหลอดแบล็คไลท์ ใต้หลอดไฟวางถาดน้ำมันหรือถาดบรรจุน้ำผงซักฟอก ให้ตัวแก่บินมาเล่นไฟ ตกลงมาจมน้ำตาย หรือใช้เหยื่อพิษโดยใช้สับปะรด จุ่มในสารคาร์บาริล แขวนไว้เป็นจุดๆ ในสวน


2. บริเวณแปลงปลูก ควรเลือกพื้นที่แปลงให้ห่างไกลจากป่า เพราะป่าเป็นที่อาศัยของผีเสื้อมวนหวานและควรตัดแต่งกิ่งไม่ให้ต้นหนาทึบ และควรตัดส่วนยอดให้ต้นเตี้ยลง เพื่อสะดวกต่อการดูแลรักษา


3. วิธีการป้องกันผีเสื้อมวนหวานที่ดีที่สุด คือ การห่อผลด้วยกระดาษถุงปูน หรือกระดาษ
หนังสือพิมพ์ โดยการห่อเป็นรูปกรวยสามเหลี่ยมห่อให้เลยปลายช่อ 20 – 25 ซม. และเปิดปลายช่อผลไว้ป้องกันการเกิดความร้อนในช่อผล อาจส่งผลให้ผลลองกองเน่าได้


4. ไม่ควรใช้พลาสติกห่อผล เพราะทำให้เกิดความร้อน ทำให้ผลเน่าเสีย


5. หมั่นตรวจแปลงสม่ำเสมอ หากมีมดดำซึ่งเป็นพาหะนำเพลี้ยแป้งและเพลี้ยหอยขึ้นไปเลี้ยง
ไว้บนช่อผล ให้ใช้น้ำสบู่เจือจาง (0.5%) พ่นกำจัดมด




ที่มา  :  กรมวิชาการเกษตร











สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-13 (2513 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©