-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 294 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

แฟ้มงานวิจัย40





การเปรียบเทียบมาตรฐานพันธุ์ข้าวฟ่างหวาน
ช่วงปลายฤดูฝน


4. คณะผู้ดำเนินการ
หัวหน้าโครงการวิจัย กนกทิพย์ เลิศประเสริฐรัตน์ ศว.ร.สุพรรณบุรี
หัวหน้าการทดลอง กนกทิพย์ เลิศประเสริฐรัตน์ ศว.ร.สุพรรณบุรี
ผู้ร่วมงาน ชัยรัตน์ ดุลยพัชร์ ศว.ร.ขอนแก่น
รัชดา ปรัชเจริญวนิชย์ ศว.ร.นครราชสีมา
อานนท์ มลิพันธ์ ศบป.ลพบุรี
พินิจ กัลยาศิลปิน ศบป.ปราจีนบุรี

-------------------------



5. บทคัดย่อ
จากการปลูกข้าวฟ่าง จำนวน 10 พันธุ์ ตามแผนการทดลองแบบ RCB มี 3 ซ้ำ ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น ศูนย์วิจัยพืชไร่นครราชสีมา และศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี ศูนย์บริการพืชและปัจจัยการผลิตปราจีนบุรี และศูนย์บริการพืชและปัจจัยการผลิตลพบุรี ระหว่างเดือนมิถุนายน – สิงหาคม 2549 เพื่อประเมินศักยภาพการให้ผลผลิตและคุณภาพของข้าวฟ่างหวาน แต่ละพันธุ์ พบว่า ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี และศูนย์บริการพืชและปัจจัยการผลิตปราจีนบุรีให้ผลผลิตต้นสดเฉลี่ย (3.8 – 4.5 ตัน/ไร่) อยู่ในระดับใกล้เคียงกัน ส่วนที่ศูนย์วิจัยพืชไร่นครราชสีมา และศูนย์บริการพืชและปัจจัยการผลิตลพบุรีให้ผลผลิตต้นสดเฉลี่ย 8.9 และ 7.2 ตัน/ไร่ ตามลำดับ สำหรับค่าเฉลี่ยจากทุกสถานที่ทดลอง พบว่า ค่าบริกซ์อยู่ในระดับใกล้เคียงกัน ระหว่าง 16.62 – 18.78 % ยกเว้น ศูนย์วิจัยพืชไร่นครราชสีมาให้ค่าบริกซ์ต่ำสุด (13.29%) ข้าวฟ่างหวานทุกพันธุ์ให้ผลผลิตต้นสดเฉลี่ยอยู่ในระดับไม่แตกต่างกัน (5.0 – 6.2 ตัน/ไร่) พันธุ์ที่ให้ค่าบริกซ์เฉลี่ยสูงกว่า 17 % คือ Wray (18.7 %) Cowley (18.0 %) และ BJ 281 (17.7 %)



6. คำนำ
จากวิกฤตของราคาน้ำมันที่สูงขึ้น อาจแตะถึงลิตรละ 40 บาท และมลพิษจากสภาวะเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสภาพแวดล้อม จนทุกประเทศต้องเร่งวิจัยพัฒนาหาแหล่งพลังงานทดแทนจากพืช เช่น อ้อย มันสำปะหลัง ธัญพืช ซึ่งรัฐบาลก็มีนโยบายที่จะใช้แก๊สโซฮอล์แทนน้ำมันเบนซิล ตั้งแต่ 1 มกราคม 2550 แต่ปริมาณการผลิตเอทานอลจากกากน้ำตาลอ้อย หรือมันสำปะหลังที่มีพื้นที่ปลูกพืชวัตถุดิบแต่ละชนิดประมาณ 6 ล้านไร่ และต่างก็มีอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล หรือแป้งมันและอาหารสัตว์ที่ต้องใช้วัตถุดิบชนิดเดียวกัน ทำให้เกิดการขาดแคลนจนวัตถุดิบมีราคาสูงขึ้น ขณะนี้ หลายหน่วยงานต่างเร่งระดมคิดหางานวิจัยใหม่ ๆ ที่จะผลิตเอทานอลจากวัตถุดิบอื่น ๆ ข้าวฟ่างหวานก็เป็นพืชหนึ่งที่อยู่ในความสนใจที่จะใช้ศึกษาของหลายหน่วยงาน เพราะมีลักษณะทางการเกษตรและคุณสมบัติต่าง ๆ ใกล้เคียงกับอ้อย คือ ต้นสูง (เฉลี่ย 2.0 – 3.5 เมตร) ฉ่ำน้ำ ความหวานเฉลี่ย 18.22 องศาบริกซ์ สามารถไว้ตอได้ ทนแล้ง และมีข้อดีที่แตกต่างจากอ้อยอย่างเด่นชัด คือ อายุเก็บเกี่ยวสั้นกว่า ประมาณ 8 เดือน ต้องการน้ำและปุ๋ยน้อยกว่า 60 และ 75 % ตามลำดับ อัตราการขยายพื้นที่ปลูกสูงกว่าอ้อย 5 เท่า (ในพื้นที่ 1 ไร่ สามารถนำเมล็ดไปปลูกขยายต่อได้ 50 ไร่) และใช้ระยะเวลาการผลิตเมล็ดสั้นกว่าประมาณ 50 %



7. อุปกรณ์และวิธีการ
อุปกรณ์
1) เมล็ดข้าวฟ่าง 10 พันธุ์ ได้แก่ Cowley, BJ281, Thesis, Bailey, Rio, Wray, Keller, ICSV574, ICSV93046 และ UTIS23585
2) ปุ๋ยเคมีสูตร 16-20-0
3) ไม้วัดความสูง เวอร์เนีย ถุงตาข่าย เครื่องหีบ
4) ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์น้ำตาล / เครื่องวัดความหวาน (Hand refractometer) และ

อุปกรณ์อื่น ๆ ที่จำเป็น

วิธีการ
ปลูกข้าวฟ่างหวานพันธุ์ละ 8 แถว ๆ ยาว 6 เมตร ระยะห่างระหว่างแถว 0.50 เมตร ระยะ ห่างระหว่างหลุม 0.20 เมตร ปลูกด้วยเครื่องมือ (Jab) หยอดหลุมละ 4 – 6 เมล็ด เมื่อข้าวฟ่างงอกได้ 14 วัน ทำการถอนแยกให้เหลือไว้หลุมละ 2 ต้น พร้อมดายหญ้ากำจัดวัชพืช (ถามี) จนข้าวฟ่างอายุได้ 21 วัน ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16-20-0 อัตรา 25 กก./ไร่ โดยโรยข้างแถวห่างต้นข้าวฟ่างประมาณ 5 – 7 เซนติเมตร พูนโคนกลบปุ๋ย เมื่อเมล็ดข้าวฟ่างหวานสุกแก่ทางสรีรวิทยา (helum เปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีน้ำตาล) เก็บเกี่ยวช่อจาก 6 แถวกลาง ยกเว้นแถวริม 2 ข้าง โดยตัดให้มีก้านช่อติดมาประมาณ 2 – 3 เซนติเมตร พยายามอย่าให้ต้นหักล้ม หลังจากนั้นจึงริดใบ กาบใบ และตัดต้นชั่ง น้ำหนักสดต่อแปลงย่อย สุ่มต้น 20 ต้น/แปลงย่อย มาบันทึกลักษณะองค์ประกอบของผลผลิต คุณภาพ ปริมาณน้ำที่หีบได้ และน้ำหนักชาน บันทึกวันที่ปลูกและเก็บเกี่ยว ความสูง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางลำ ความยาวลำ จำนวนลำเก็บเกี่ยวต่อแปลงย่อย ผลผลิตต้นสดที่เก็บเกี่ยวช่อและริดใบ – กาบใบออกแล้ว ปริมาณน้ำที่หีบได้และชานอ้อย ค่าบริกซ์


8. ระยะเวลา (เริ่มต้น – สิ้นสุด)  มีนาคม 2549 – มกราคม 2550


9. สถานที่ดำเนินการ
ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี ศูนย์วิจัยพืชไร่นครราชสีมา ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น ศูนย์บริการพืชและปัจจัยการผลิตปราจีนบุรี ศูนย์บริการพืชและปัจจัยการผลิตลพบุรี


10. ผลการทดลองและวิจารณ์
สภาพปลูกทั่วไปในปีเพาะปลูก 2549/2550 ของทุกศูนย์ฯ จะพบกับสภาวะฝนทิ้งช่วงหลังข้าวฟ่างงอก ประมาณ 1 เดือน บางศูนย์ฯ เช่น ศวร.นครราชสีมา ศบ.ป.ปราจีนบุรี และ  ศบ.ป.ลพบุรี มีการให้น้ำช่วย 2 – 3 ครั้ง ในระยะก่อนดอกบาน ปริมาณฝนโดยเฉลี่ยตลอดฤดูปลูกอยู่ระหว่าง 300 – 560 มม. ลักษณะดินที่ปลูกส่วนใหญ่เป็นดินร่วนทราย ปลูกตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคม – ปลายเดือนสิงหาคม 2549 อายุเก็บเกี่ยวอยู่ระหว่าง 104 – 140 วันหลังปลูก โรค – แมลงที่พบส่วนใหญ่ ได้แก่ หนอนแมลงวันเจาะยอด ประมาณ 3 – 5 % โรคยอดบิด และมีการหักล้ม จากการขาดน้ำทำให้ต้นแห้งเร็วกว่าปกติ ปัญหาส่วนใหญ่จะเป็นนกที่ลงทำลายเมล็ดในระยะเป็นแป้งอ่อนจนถึงระยะเป็นแป้งแข็ง ทำให้ไม่สามารถประเมินผลผลิตเมล็ดได้


• ผลการทดลองที่ ศว.ร.นครราชสีมา ให้ผลผลิตต้นสดและน้ำตาลเฉลี่ย 8.9 และ 1.18 ตัน/ไร่ ตามลำดับ ข้าวฟ่างหวานแต่ละพันธุ์ให้ผลผลิตแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ตั้งแต่ 6.1 – 10.3 และ 0.62 – 1.50 ตัน/ไร่ ตามลำดับ มีข้าวฟ่างหวาน จำนวน 5 พันธุ์ คือ

ICSV574,
ICSV93046,
Wray, Bailey และ
Thesis

ที่ให้ผลผลิตต้นสดสูงอยู่ในระดับใกล้เคียงกัน (9.6 – 10.3 ตัน/ไร่) และสูงกว่าผลผลิตเฉลี่ย คิดเป็นร้อยละ 8 – 16 พันธุ์ที่ให้ผลผลิตต้นสดต่ำที่สุด คือ UTIS23585 (6.1 ตัน/ไร่)


ส่วนพันธุ์ที่ให้ผลผลิตน้ำตาลสูงสุด และสูงกว่าค่าเฉลี่ย ได้แก่ Cowley (1.5 ตัน/ไร่) Wray (1.4 ตัน/ไร่) และ BJ281 (1.36 ตัน/ไร่) คิดเป็นร้อยละ 15 – 27 โดยข้าวฟ่างหวานที่ให้ผลผลิตน้ำตาลสูงทั้ง 3 พันธุ์ เป็นข้าวฟ่างที่ให้ค่าบริกซ์เท่ากับ 16.48, 14.15 และ 16.18 % ตามลำดับ ซึ่งสูงกว่าค่าบริกซ์เฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 6 – 24


ปริมาณน้ำที่หีบได้และชานสดเฉลี่ยมีค่าเท่ากับ 53.6 และ 41.3 % ของน้ำหนักต้นสด ตามลำดับ Wray, Keller, Bailey และ Thesis ให้ปริมาณน้ำที่หีบได้ (56.8, 57.2, 57.8 และ 58.8 %) สูงอยู่ในระดับใกล้เคียงกัน และสูงกว่าค่าเฉลี่ย คิดเป็นร้อยละ 6 – 10 สำหรับน้ำหนักชานสดของข้าวฟ่างหวานทุกพันธุ์อยู่ในระดับไม่แตกต่างกัน ระหว่าง 38.5 – 45.3 % ของน้ำหนักต้นสด ส่วนเส้นผ่าศูนย์กลางลำ ความยาวลำ และจำนวนลำเก็บเกี่ยวเฉลี่ยเท่ากับ 1.45 ซม. 310 ซม. และ 24,160 ลำ/ไร่ ตามลำดับ ข้าวฟ่างหวานแต่ละพันธุ์มีความแปรปรวนของเส้นผ่าศูนย์กลางลำอยู่ระหว่าง 1.30 – 1.57 ซม. ความยาวลำ 269 – 361 ซม. และจำนวนลำเก็บเกี่ยวตั้งแต่ 21,600 – 25,760 ลำ/ไร่


• ผลการทดลองที่ ศว.ร.สุพรรณบุรี (Table 2) ให้ผลผลิตต้นสดและน้ำตาลเฉลี่ย 4.5 และ 0.76 ตัน/ไร่ ตามลำดับ ข้าวฟ่างหวานแต่ละพันธุ์ให้ผลผลิตแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ตั้งแต่ 3.3 – 5.9 และ 0.51 – 1.23 ตัน/ไร่ ตามลำดับ Wray ให้ผลผลิตต้นสด และน้ำตาลสูงสุด (5.9 และ 1.23 ตัน/ไร่ ตามลำดับ) และสูงกว่าค่าเฉลี่ย คิดเป็นร้อยละ 31 และ 45 ตามลำดับ ส่วนพันธุ์ที่ให้ผลผลิตต้นสดและน้ำตาลต่ำที่สุด คือ Thesis (3.3 และ 0.51 ตัน/ไร่ ตามลำดับ) พันธุ์ที่ให้ค่าบริกซ์สูงสุดอยู่ในระดับเดียวกัน ได้แก่ Wary และ Cowley ซึ่งสูงกว่าค่าบริกซ์เฉลี่ย คิดเป็นร้อยละ 12 พันธุ์ที่ให้ค่าบริกซ์ต่ำที่สุด คือ Thesis (15.23 %) ปริมาณน้ำที่หีบได้ และชานสดเฉลี่ยเท่ากับ 43.9-52.2 % ของน้ำหนักต้นสด ตามลำดับ Thesis ให้ปริมาณน้ำที่หีบได้สูงอยู่ในระดับเดียวกับ Keller#2 และ Wray ส่วน Rio ให้ปริมาณน้ำที่หีบได้ต่ำที่สุด 39.4 % ของน้ำหนักต้นสด


สำหรับน้ำหนักชานสด พบว่า Rio และ BJ281 ให้น้ำหนักชานสดสูงสุด 58.7 และ 55.4 % ของน้ำหนักต้นสด ตามลำดับ และสูงกว่าค่าเฉลี่ย คิดเป็นร้อยละ 6 – 12 Keller#1 ให้น้ำหนักชานสดต่ำสุด 47.3 % ของน้ำหนักต้นสด


ส่วนเส้นผ่าศูนย์กลางลำ ความยาวลำ และจำนวนลำเก็บเกี่ยวเฉลี่ยเท่ากับ 1.33 ซม. 250 ซม. และ 22,140 ลำ/ไร่ ตามลำดับ ข้าวฟ่างหวานแต่ละพันธุ์มีความแปรปรวนของเส้นผ่าศูนย์กลางอยู่ระหว่าง 1.20 – 1.56 ซม. ความยาวลำแปรปรวนตั้งแต่ 238 – 266 ซม. และจำนวนลำเก็บเกี่ยวอยู่ระหว่าง 17,370 – 25,380 ลำ/ไร่


• ผลการทดลองที่ ศบป.ปราจีนบุรี (Table 3) ให้ผลผลิตต้นสดและน้ำตาลเฉลี่ย 3.9 และ 0.65 ตัน/ไร่ ตามลำดับ ข้าวฟ่างหวานแต่ละพันธุ์ให้ผลผลิตต้นสดในระดับใกล้เคียงกัน อยู่ระหว่าง 3.5 – 4.4 ตัน/ไร่ และส่วนใหญ่ให้ผลผลิตน้ำตาลสูง ตั้งแต่ 0.63 – 0.8 ตัน/ไร่ ยกเว้น UTIS23585 และ ICSV574 ที่ให้ผลผลิตน้ำตาลต่ำสุด (0.48 ตัน/ไร่) และเป็นพันธุ์ที่ให้ค่าบริกซ์ต่ำที่สุด (13.15 และ 11.48 % ตามลำดับ)


ปริมาณน้ำที่หีบได้และชานสดเฉลี่ยเท่ากับ 40.5 และ 56.6 % ของน้ำหนักต้นสด Rio ให้ปริมาณน้ำที่หีบได้ต่ำที่สุด 28.4 % ของน้ำหนักต้นสด ให้ชานสดสูงสุด (67.8 % ของน้ำหนักต้นสด) และสูงกว่าค่าเฉลี่ย คิดเป็นร้อยละ 20


สำหรับเส้นผ่าศูนย์กลางลำ ความยาวลำ และจำนวนลำ/ไร่ เฉลี่ยเท่ากับ 1.27 ซม. 211 ซม. และ 25,680 ลำ/ไร่ โดยข้าวฟ่างหวานแต่ละพันธุ์จะมีขนาดลำ ความยาว และจำนวนลำ/ไร่ไม่แตกต่างกัน


• ผลการทดลองที่ ศบป.ลพบุรี (Table 4) ให้ผลผลิตต้นสดและน้ำตาลเฉลี่ย 7.2 และ 1.27 ตัน/ไร่ ข้าวฟ่างหวานแต่ละพันธุ์ให้ผลผลิตต้นสดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ตั้งแต่ 6.0 – 8.7 ตัน/ไร่ มีข้าวฟ่างหวานเพียง 3 พันธุ์ คือ Thesis, Cowley และ Keller # 2 ที่ให้ผลผลิตต้นสดสูง และสูงกว่าค่าเฉลี่ย คิดเป็นร้อยละ 4 – 21 ผลผลิตน้ำตาล พบว่า พันธุ์ข้าวฟ่างหวานส่วนใหญ่ให้ผลผลิตน้ำตาลสูงกว่าค่าเฉลี่ย คิดเป็นร้อยละ 1 – 29 พันธุ์ ที่ให้ค่าบริกซ์สูงอยู่ในระดับใกล้เคียงกัน 3 พันธุ์ คือ Wray (21.47 %) Cowley (20.45 %) และ BJ281 (19.23 %) ซึ่งสูงกว่าค่าบริกซ์เฉลี่ย (17.66 %) คิดเป็นร้อยละ 9 – 21 ส่วน UTIS23585 ให้ค่าบริกซ์ต่ำที่สุด (16.11 %)


ปริมาณน้ำที่หีบได้ และชานสดเฉลี่ยมีค่าเท่ากับ 52.0 และ 42.4 % ของน้ำหนักต้นสด ตามลำดับ Keller, ICSV574 และ Wray ให้ปริมาณน้ำที่หีบได้สูงอยู่ในระดับเดียวกัน (52.8 – 55.6 % ของน้ำหนักต้นสด) และสูงกว่าค่าเฉลี่ย คิดเป็นร้อยละ 1 – 7 ส่วนน้ำหนักชานสด พบว่า Rio, UTIS23585, BJ281 และ Cowley มีน้ำหนักชานสดสูงอยู่ในระดับใกล้เคียงกัน ตั้งแต่ 43.1 – 46.8 % ของน้ำหนักต้นสด และสูงกว่าค่าเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 2-10
สำหรับเส้นผ่าศูนย์กลางลำ ความยาวลำ และจำนวนลำเก็บเกี่ยวเฉลี่ย มีค่าเท่ากับ 1.88 ซม. 334 ซม. และ 16,640 ลำ/ไร่ ตามลำดับ ข้าวฟ่างหวานทุกพันธุ์มีความแปรปรวนของเส้นผ่าศูนย์กลางลำอยู่ระหว่าง 1.64 – 2.22 ซม. ความยาวลำ 307 – 384 ซม. และจำนวนลำเก็บเกี่ยวอยู่ระหว่าง 12,560 – 19,680 ลำ/ไร่


• ผลการทดลองที่ ศว.ร.ขอนแก่น (Table 5) ให้ผลผลิตต้นสดและน้ำตาลเฉลี่ย 3.8 และ 0.72 ตัน/ไร่ ตามลำดับ ข้าวฟ่างหวานแต่ละพันธุ์ให้ผลผลิตต้นสดและน้ำตาลในระดับใกล้เคียงกันอยู่ระหว่าง 2.8 – 4.8 และ 0.5 – 0.86 ตัน/ไร่ ตามลำดับ มีข้าวฟ่างหวานจำนวน 5 พันธุ์ที่ให้ผลผลิตต้นสดและน้ำตาลสูงกว่าค่าเฉลี่ย คือ Cowley (4.8 และ 0.8 ตัน/ไร่ ตามลำดับ) Thesis (4.60 และ 0.81 ตัน/ไร่ ตามลำดับ) Wray (4.3 และ 0.86 ตัน/ไร่ ตามลำดับ) UTIS23585 (4.3 และ 0.82 ตัน/ไร่ ตามลำดับ) และ Keller (3.9 และ 0.79 ตัน/ไร่ ตามลำดับ) คิดเป็นร้อยละ 3 – 26 และ 10 – 19 ตามลำดับ ด้านคุณภาพความหวานของข้าวฟ่างหวานทุกพันธุ์อยู่ในระหว่าง 15.9 – 20.57 องศา บริกซ์ ขณะที่ค่าบริกซ์เฉลี่ยเท่ากับ 18.78 %


สำหรับขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ความยาวลำ และจำนวนลำเก็บเกี่ยว เฉลี่ยเท่ากับ 1.25 ซม. 194 ซม. และ 16,880 ลำ/ไร่ ตามลำดับ ข้าวฟ่างหวานแต่ละพันธุ์มีเส้นผ่าศูนย์กลางลำแตกต่างกันตั้งแต่ 1.17 – 1.15 ซม. ขณะที่ความยาวลำ และจำนวนลำเก็บเกี่ยวนั้นอยู่ในระดับใกล้เคียงกัน คือ 179 – 213 ซม. และ 12,800 – 20,240 ลำ/ไร่ ตามลำดับ


จากค่าเฉลี่ยทั้ง 5 สภาพแวดล้อม พบว่า ที่ ศวร.นครราชสีมา และ ศบ.ป.ลพบุรี ให้ผลผลิตต้นสดและน้ำตาลสูงกว่าที่ ศวร.สุพรรณบุรี ศวร.ขอนแก่น ศบ.ป.ปราจีนบุรี และค่าดัชนีเฉลี่ยของสภาพแวดล้อม 5.7 และ 0.93 ตัน/ไร่) คิดเป็นร้อยละ 26 และ 56 ตามลำดับ (Fig 1a และ 1b) เป็นเพราะทั้งสองแห่งนี้ปลูกช่วงต้นฤดูฝน (มี.ค. – มิ.ย.) และมีการให้น้ำช่วยในระยะที่ฝนทิ้งช่วง ทำให้(มีการยึดต้นดี) ได้ความสูงลำต้นเฉลี่ยประมาณ 320 ซม. ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับที่ ศวร.ขอนแก่น ที่ปลูกในช่วงต้นฤดูฝน (พ.ค.) เช่นกัน แต่ไม่มีการให้น้ำช่วย มีความสูงลำต้นเฉลี่ยเพียง 194 ซม. และได้ผลผลิตต้นเฉลี่ย (3.8 ตัน/ไร่) ต่ำกว่าค่าดัชนีเฉลี่ยของสภาพแวดล้อมมากที่สุด 33 % (Fig 1a) แต่ให้ค่าบริกซ์เฉลี่ย (ประมาณ 18.8 องศาบริกซ์) อยู่ในระดับใกล้เคียงกับที่ ศวร.สุพรรณบุรี และสูงกว่าค่าดัชนีเฉลี่ยของสภาพแวดล้อม 10 % ส่วนที่ ศวร.นครราชสีมา ให้ค่าบริกซ์เฉลี่ยต่ำกว่าค่าดัชนีเฉลี่ย 22 % (Fig 1c) โดยผลผลิตน้ำตาลจะขึ้นอยู่กับผลผลิตของต้นสดมากกว่าค่าบริกซ์ ส่วนเปอร์เซ็นต์น้ำที่หีบได้ก็ขึ้นอยู่กับผลผลิตของต้นสดเช่นกัน


สำหรับพันธุ์ข้าวฟ่างหวานพบว่า ส่วนใหญ่ให้ผลผลิตต้นสดเฉลี่ยอยู่ในระดับเดียวกับค่าเฉลี่ยของแต่ละท้องถิ่น ส่วน ความหวานในรูปของค่าบริกซ์ พบว่า Wray Cowley BT281 Rio และ Keller เป็นพันธุ์ที่มีความหวานสูงกว่าค่าเฉลี่ยของทุกท้องที่ และสูงกว่าค่าดัชนีความหวานเฉลี่ยของสภาพแวดล้อม (19.03, 18.44, 17.15 และ 16.98 องศาบริกซ์ ตามลำดับ) ขณะที่พันธุ์อื่น ๆ จะมีค่าดัชนีความหวานอยู่ระหว่าง 13.92 – 16.20 องศาบริกซ์



11. สรุปผลการทดลอง
จากผลการทดลองครั้งนี้ พอจะสรุปได้ว่า การปลูกข้าวฟ่างหวานให้ได้ผลผลิตต้นสดสูง ควรจะต้องมีการให้น้ำช่วยในระยะที่ฝนทิ้งช่วง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะที่ข้าวฟ่างหวานอายุ 35 – 60 วัน หรือก่อนถึงระยะดอกบาน เพื่อให้มีการเจริญเติบโตทางลำต้นได้อย่างเต็มที่ พันธุ์ที่น่าจะมีศักยภาพทั้งด้านการให้ผลผลิตและมีความหวานดีที่จะนำไปศึกษา ทางด้านระบบการผลิต และความทนทานต่อโรคแมลงศัตรูที่สำคัญต่อไป จำนวน 4 พันธุ์ คือ Wray Cowley BJ281 และ Keller



12. การนำไปใช้ประโยชน์
แม้ว่า ณ ปัจจุบันจะมีหน่วยงานของภาครัฐ เช่น สถาบันการศึกษา หรือภาคเอกชน ได้นำข้างฟ่างหวานไปศึกษาประสิทธิภาพการผลิตเอทานอล (ในรูปของงานวิจัย) แต่ก็ยังไม่ปรากฏว่ามีการนำไปใช้อย่างชัดเจน อาจเป็นเพราะยังขาดความเชื่อมั่นทางด้านการลงทุนของภาคเอกชน และนโยบายที่ชัดเจนของภาครัฐ ดังนั้น จึงควรต้องมีการบูรณาการทั้งบุคลากร หน่วยงานต่าง ๆ ศึกษาประสิทธิภาพการผลิตเอทานอลจากข้าวฟ่างหวานในเชิงพาณิชย์อย่างครบวงจร และกำหนดนโยบายที่ชัดเจน เพื่อสร้างความมั่นใจในการลงทุนของทั้งภาคเอกชน และเกษตรกรผู้ที่จะต้องผลิตวัตถุดิบจึงจะนำไปสู่ความมั่นคง และยั่งยืนของแหล่งพลังงานทดแทนของชาติต่อไปได้

อย่างไรก็ตาม แม้จะยังไม่มีการนำไปใช้ในรูปของแหล่งพลังงาน (เชื้อเพลิง) ทดแทน สำหรับการขนส่ง แต่ก็ได้มีการใช้เป็นแหล่งพลังงานด้านเป็นอาหารหยาบ หรืออาหารหมัก ใช้เลี้ยงสัตว์ สำหรับในแหล่งที่มีปัญหา ขาดแคลน แหล่งอาหารหยาบกันบ้างแล้ว




ที่มา  :  กรมวิชาการเกษตร









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-13 (2267 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©