-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 437 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ทุเรียน




หน้า: 2/13



       สายพันธุ์

     - มีหลายร้อยสายพันธุ์แต่สายพันธุ์ที่นิยมอันดับ 1 จริงๆในปัจจุบันชนิดที่ใครก็ไม่อาจปฏิเสธ ได้แก่ หมอนทอง.ก้านยาว. ลวง. กบ. ชะนี. หลงลับแล. นกกระจิบ.
พวงมณี. ฯลฯ
     - สายพันธุ์เก่าแก่ที่วันนี้เหลือน้อยมากแต่ก็ยังพอมีให้หารับประทานได้ เช่น  กบชายน้ำ.  กบแม่เฒ่า. กบฟักทอง. กบมังกร. กบสีนวล. กบสีนาค. อีรวก. อินทรชิต.  กำปั่นเนื้อขาว. นมสด. กระดุมเขียว. ลำเจียก. ซ่อนกลิ่น. กระเทยขั้วสั้น. ชายมะไฟ. บางขุนนนท์.ทูลถวาย. ทองย้อยฉัตร. ปิ่นทอง. กำปั่นสีทอง. กำปั่นพวง. พวงมณี. ก้านสั้น (สาวน้อยเรือนงาม). ชะนี.  น้ำตาลทราย.  แดงสาวน้อย.   ย่ามแม่หวด.   ทองใหม่. ทองแดง.  ฯลฯ

------------------------------------------------------
     
      กลุ่มกบ

      มีลักษณะรูปทรงใบเป็นแบบรูปไข่ขอบขนาน (oval-oblong) ลักษณะปลายใบเป็นแบบแหลมโค้ง (acuminate-curve) ลักษณะฐานใบเป็นแบบกลมมน (rounded-obtuse) และลักษณะทรงผลของกลุ่มกบนี้จะกระจายอยู่ใน ๓ ลักษณะคือกลม (rounded) กลมรี (oval) กลมแป้น (oblate) รูปร่างของหนามผลมีลักษณะโค้งงอ (hooked)

รายชื่อทุเรียนพันธุ์ต่างๆที่จำแนกให้อยู่ ในกลุ่มกบมี ๔๖ พันธุ์ ได้แก่ ๑.กบแม่เฒ่า  ๒.กบเล็บเหยี่ยว  ๓.กบตาขำ  ๔.กบพิกุล  ๕.กบวัดกล้วย  ๖.กบชายน้ำ  ๗.กบสาวน้อย (กบก้านสั้น) ๘.กบสุวรรณ  ๙.กบเจ้าคุณ   ๑๐.กบตาท้วม (กบดำ)  ๑๑.กบตาปุ่น  ๑๒.กบหน้าศาล   ๑๓.กบจำปา (กบแข้งสิงห์)  ๑๔.กบเบา   ๑๕.กบรัศมี   ๑๖.กบตาโห้   ๑๗.กบตาแจ่ม ๑๘.กบทองคำ   ๑๙.กบสีนาค   ๒๐.กบทองก้อน   ๒๑.กบไว   ๒๒.กบงู   ๒๓.กบตาเฒ่า   ๒๔.กบชมพู   ๒๕.กบพลเทพ   ๒๖.กบพวง   ๒๗.กบวัดเพลง   ๒๘.กบก้านเหลือง  
๒๙.กบตานวล   ๓๐.กบตามาก   ๓๑.กบทองเพ็ง   ๓๒.กบราชเนตร  
๓๓.กบแก้ว   ๓๔.กบตานุช  ๓๕.กบตามิตร  ๓๖.กลีบสมุทร ๓๗.กบตาแม้น  ๓๘.การะเกด   ๓๙.กบซ่อนกลิ่น   ๔๐.กบตาเป็น   ๔๑.กบทองดี   ๔๒.กบธีระ ๔๓.กบมังกร  ๔๔.กบลำเจียก  ๔๕.กบหลังวิหาร  ๔๖.กบหัวล้าน 

กลุ่มลวง
มีลักษณะรูปทรงใบ ป้อมกลางใบ (elliptical) ลักษณะปลายใบเรียวแหลม(acuminate-acute) ลักษณะฐานใบแหลม (acute) และมน (obtuse) ลักษณะทรงผลกระจายอยู่ใน ๒ ลักษณะ คือ ทรงกระบอก (cylindroidal) และรูปรี (elliptic) รูปร่างของหนามผลมีลักษณะเว้า (concave)

รายชื่อทุเรียนพันธุ์ต่างๆที่จำแนกให้อยู่ ในกลุ่มลวงมี ๑๒ พันธุ์ ได้แก่  ๑.ลวง   ๒.ลวงทอง  ๓.ลวงมะรุม   ๔.ชะนี   ๕.ชะนีกิ่งม้วน   ๖.ชมพูศรี ๗.ย่ำมะหวาด  ๘.สายหยุด  ๙.ชะนีก้านยาว  ๑๐.ชะนีน้ำตาลทราย  ๑๑.มดแดง  ๑๒.สีเทา  


        กลุ่มก้านยาว
       มีลักษณะรูปทรงใบแบบป้อมปลายใบ (obovate-lanceolate) ลักษณะปลายใบเรียวแหลม (acuminate) ลักษณะฐานใบเรียว (caunate acute) ลักษณะทรงผลเป็นรูปไข่กลับ (obovate) และกลม (rounded) รูปร่างของหนามผลมีลักษณะนูน (convex)

รายชื่อทุเรียนพันธุ์ต่างๆ ที่จำแนกให้อยู่ในกลุ่มก้านยาวมี ๘  พันธุ์  ได้แก่ ๑.ก้านยาว ๒.ก้านยาววัดสัก (เหลืองประเสริฐ)   ๓.ก้านยาวสีนาค   ๔.ก้านยาวพวง   ๕.ก้านยาวใบด่าง   ๖.ทองสุก   ๗.ชมภูบาน   ๘.ต้นใหญ่ 

กลุ่มกำปั่น
มีลักษณะรูปทรงใบ ยาวเรียว (linear-oblong) ลักษณะปลายใบเรียวแหลม (caudate-acuminate) ลักษณะฐานใบแหลม (acute) ลักษณะทรงผลเป็นทรงขอบขนาน (oblong) รูปร่างของหนามผลมีลักษณะแหลมตรง (pointed)

รายชื่อทุเรียนพันธุ์ต่างๆที่จำแนกให้อยู่ ในกลุ่มกำปั่นมี ๑๓ พันธุ์ ได้แก่  ๑.กำปั่นเดิม(กำปั่นขาว) ๒.กำปั่นเหลือง(เจ้ากรม)  ๓.กำปั่นแดง  ๔.กำปั่นตาแพ ๕.กำปั่นพวง  ๖.ชายมะไฟ   ๗.ปิ่นทอง   ๘.เม็ดในกำปั่น  ๙.เห-รา  ๑๐.หมอนเดิม  ๑๑.หมอนทอง  ๑๒.กำปั่นบางสีทอง  ๑๓.ลุงเกตุ  



กลุ่มทองย้อย
มีลักษณะรูปทรงใบแบบป้อมปลายใบ (obovate-lanceolate) ลักษณะปลายใบเรียวแหลม (acuminate) ลักษณะฐานใบมน (obtuse) ลักษณะทรงผลเป็นรูปไข่ (ovate) รูปร่างของ หนามผลมีลักษณะนูนปลายแหลม (pointed-convex)

รายชื่อทุเรียนพันธุ์ต่างๆที่จำแนกให้อยู่ในกลุ่มทองย้อยมี ๑๔ พันธุ์ ได้แก่ ๑.ทองย้อยเดิม  ๒.ทองย้อยฉัตร  ๓.ฉัตร   ๔.ฉัตรสีนาค   ๕.ฉัตรสีทอง   ๖.พวงฉัตร   ๗.ทองใหม่  ๘.นมสวรรค์   ๙.ทับทิม   ๑๐.ธรณีไหว   ๑๑.นกหยิบ   ๑๒.แดงรัศมี   ๑๓.อีอึ่ง  ๑๔.อีทุย
 
กลุ่มเบ็ดเตล็ด
ทุเรียนที่จัดอยู่ใน กลุ่มนี้มีลักษณะไม่แน่ชัด บางลักษณะอาจเหมือนกับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งใน ๕ กลุ่มแรก ขณะเดียวกันก็มีลักษณะที่ผันแปรออกไป เช่น ลักษณะรูปทรงใบจะมีลักษณะป้อมกลางใบ (elliptical) หรือรูปไข่ขอบขนาน (oval-oblong) ลักษณะปลายใบเรียวแหลม (acuminate-acute หรือ cuspidate-acuminate) ลักษณะฐานใบแหลม (acute) หรือมน (obtuse) ลักษณะทรงผลกระจายกันอยู่ใน ๓ ลักษณะ คือ กลมแป้น (oblate) กลมรี (oval) และทรงกระบอก (cylindroidal) รูปร่างของหนามผลมีลักษณะเว้าปลายแหลม (pointed-concave) หรือนูนปลายแหลม (pointed-convex)

รายชื่อทุเรียนพันธุ์ต่างๆ ที่จำแนกให้อยู่ในกลุ่มเบ็ดเตล็ดมี ๘๑ พันธุ์  ได้แก่  ๑.กะเทยเนื้อขาว  ๒.กะเทยเนื้อแดง   ๓.กะเทยเนื้อเหลือง ๔.กระดุมทอง ๕.กระดุมสีนาค    ๖.กระโปรงทอง    ๗.กระปุกทอง (กระปุกทองดี)  ๘.ก้อนทอง  ๙.เขียวตำลึง
๑๐.ขุนทอง  ๑๑.จอกลอย  ๑๒.ชายมังคุด ๑๓.แดงช่างเขียน  ๑๔.แดงตาน้อย  ๑๕.แดงตาเผื่อน  ๑๖ แดงสาวน้อย
๑๗.ดาวกระจาย  ๑๘.ตะพาบน้ำ  ๑๙.ตะโก (ทองแดง)
๒๐.ตุ้มทอง ๒๑.ทศพิณ ๒๒.ทองคำตาพรวด  ๒๓.ทองม้วน   ๒๔.ทองคำ ๒๕.นกกระจิบ ๒๖.บาตรทองคำ(อีบาตร) 
๒๗.บางขุนนนท์  ๒๘.เป็ดกบ  ๒๙.ฝอยทอง ๓๐.พวงมาลัย
๓๑.พวงมณี ๓๒.เม็ดในยายปราง ๓๓.เม็ดในบางขุนนนท์ 
๓๔.ยินดี ๓๕.ลำเจียก ๓๖.สีทอง ๓๗.สีไพร ๓๘.สาวชมเห็ด  ๓๙.สาวชมฟักทอง(ฟักทอง) ๔๐.หางสิงห์  ๔๑.เหรียญทอง ๔๒.ไอ้เข้ ๔๓.อินทรชิต ๔๔.อีล่า ๔๕.อีลีบ ๔๖.อียักษ์
๔๗.อีหนัก  ๔๘.ตอสามเส้า ๔๙.ทองนพคุณ  ๕๐.ทองหยอด
๕๑.ทองหยิบ ๕๒.นมสด ๕๓.เนื้อหนา ๕๔.โบราณ 
๕๕.ฟักข้าว ๕๖.พื้นเมืองเกาะช้าง ๕๗.มะนาว ๕๘.เม็ดในกระดุม  ๕๙.เม็ดในก้านยาว  ๖๐.เม็ดในลวง   ๖๑.เมล็ดพงษ์พันธุ์  ๖๒ เมล็ดเผียน ๖๓.เมล็ดลับแล  ๖๔.เมล็ดสม 
๖๕.เมล็ดอารีย์  ๖๖.ย่ามแม่วาด  ๖๗.ลวงเพาะเมล็ด  ๖๘.ลุงไหล ๖๙.ลูกหนัก  ๗๐.สาเก ๗๑.สาวใหญ่  ๗๒.หมอนข้าง
๗๓.หมอนละอองฟ้า   ๗๔.หลงลับแล   ๗๕.ห้าลูกไม่ถึงผัว  ๗๖.เหมราช    ๗๗.เหลืองทอง  ๗๘.อีงอน  ๗๙.ไอ้เม่น  ๘๐.ไอ้ใหม่  ๘๑.กะเทยขั้วสั้น 

ที่มา (กลุ่มสายพันธุ์) : สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 28
----------------------------------------------------  
                          
       
การขยายพันธุ์                         
        วิธีขยายพันธุ์ :
                         
        ตอน .  ตุ้มเล็ก.  ตุ้มใหญ่.  ทาบกิ่ง.   ติดตา.   เสียบยอด.   เสียบข้าง. และเพาะเมล็ดเสริมรากเสียบยอด (ดีที่สุด).
                        
        เลือกกิ่งพันธุ์ :                          
        เลือกต้นกล้าพันธุ์ที่ขยายพันธุ์จากกิ่งกระโดง ลำต้นกลางอ่อนกลางแก่เปล้า
สูงตรง ผ่านการอนุบาลในถุงดำมานานจนแผลทาบติดสนิทดี เคยแตกใบอ่อนในถุงดำมาแล้ว 1-2 ชุด มีรากแก่สีน้ำตาลดำแทงทะลุออกมานอกถุง และรอบๆรากแก่มีรากอ่อนหรือรากฝอยสีเหลืองน้ำตาลอ่อนจำนวนมาก
        กิ่งพันธุ์อยู่ในถุงดำเป็นเวลานานๆจนมีรากบางส่วนแทงออกมานอกถุง แสดงว่าภายในถุงยังมีรากอีกจำนวนมาก ซึ่งรากส่วนหนึ่งหมุนวนอยู่ที่ก้นถุง ถ้านำลงหลุมปลูกทันทีเลยรากก็จะหมุนวนอยู่ในหลุมทำให้ต้นไม่โต เรียกว่า นั่งหลุม หรือ รากวน วิธีแก้ไขคือ หลังจากถอดต้นออกจากถุงแล้วก่อนนำลงหลุมให้จัดรากที่หมุนวนนั้นให้ชี้เหยียดตรงดีเสียก่อน หรือตัดดินปลูกพร้อมกับรากส่วนก้นถุงออกทิ้งไป 1 ใน 4 แล้วจึงนำลงปลูกตามปกติ เมื่อกล้ายืนต้นได้ก็จะมีรากชุดใหม่ออกมาแทน
        วิธีตอนกิ่งทุเรียนให้ออกรากดี ให้โน้มกิ่งประธานหรือกิ่งขนาดใหญ่ลงระนาบกับพื้นแล้วตัดยอด ริดกิ่งแขนงออกให้หมด ริดใบออกเหลือประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ จากนั้นบำรุงต้นตามปกติ ไม่นานจะมียอดแตกออกตามข้อหรือตา ยอดเหล่านี้จะพัฒนาเป็นกิ่งกระโดงมีลักษณะเหมาะสมต่อการทำกิ่งตอนหรือกิ่งทาบอย่างมาก โดยเมื่อกิ่งกระโดงนี้โตขึ้นก็ให้ลงมือตอนหรือทาบด้วยวิธีการปกติ  
        การตอนหรือทาบจากกิ่งข้าง กิ่งในทรงพุ่ม หรือกิ่งชี้ลง จะออกรากไม่รอบรอยควั่น ออกจำนวนน้อย และไม่แข็งแรง                          

       ระยะปลูก                           
     - ระยะปกติ   6 X 8 ม. หรือ  8 X 10 ม.
     - ระยะชิดพิเศษ  4 X 6 ม. หรือ  6 X 6 ม.
                               

       เตรียมดินและอินทรีย์วัตถุ                         
     - ใส่ปุ๋ยคอก (มูลวัวเนื้อ/นม + มูลไก่ไข่/เนื้อ/นกกระทา (แห้งเก่าข้ามปี) ปีละ 2 ครั้ง
     - ให้ยิบซั่มธรรมชาติ ปีละ 2 ครั้ง                       
     - ให้กระดูกป่น ปีละ 1 ครั้ง                         
     - คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆเต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่ม ล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
     - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิงหรือจุลินทรีย์ 1-2 เดือน/ครั้ง
                        
       หมายเหตุ :                       
     - การฝังซากสัตว์ เช่น หอยเชอรี่  ปลาสด  เป็นชิ้นเท่าลูกมะนาวหรือบดละเอียด ที่ชายเขตทรงพุ่ม 4-5 หลุม/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม. ฝังปีเว้นปี เพื่อให้ต้นมีสารอาหารกินตลอด 24 ชม. ต่อเนื่องหลายๆปีจะทำให้ต้นมีความสมบูรณ์สูงพร้อมต่อการบำรุงทุกขั้นตอน
     - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพ (ทางใบ-ทางราก)บ่อยเกินไปจะทำให้ต้นหยุดการเจริญเติบโต ไม่แตกใบอ่อน ผลหยุดขยายขนาดแล้วกลายเป็นผลแก่ และการให้ทางใบอาจเป็นแหล่งอาศัยแพร่ระบาดของเชื้อราได้
     - ให้กลูโคสเฉพาะช่วงสำคัญ เช่น เร่งใบอ่อนเป็นใบแก่ สะสมอาหาร บำรุงผลกลาง ช่วงละ 1-2 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 20-30 วัน.....ถ้าให้บ่อยเกินไปจะทำให้ต้นเกิดอาการนิ่ง ไม่ตอบสนองต่อสารอาหารหรือฮอร์โมนใดๆทั้งสิ้น
                         

      
เตรียมต้น                       
       ตัดแต่งกิ่ง :
                       
       ระยะที่ 1...ตัดแต่งกิ่งหลังเก็บเกี่ยวผลผลิต ตัดกิ่งแห้ง กิ่งแขนง กิ่งเป็นโรค กิ่งที่ไม่มีประโยชน์ และเก็บผลที่หลงเหลืออยู่บนต้นลงให้หมด เพื่อให้ทุเรียนแตกใบอ่อนชุดใหม่
       ระยะที่ 2....ตัดแต่งกิ่งช่วงปลายฝน ตัดกิ่งตะขาบ กิ่งน้ำค้าง กิ่งกระโดง กิ่งเป็นโรค  เพื่อไม่ให้สิ้นเปลืองน้ำเลี้ยง                         
       ระยะที่ 3....ตัดแต่งกิ่งหลังจากติดผลแล้วประมาณ 30-45 วัน ตัดเฉพาะกิ่งเกิดใหม่ (กิ่งใบขิง) ตัดแต่งผลอ่อน เพื่อไม่ให้ทรงพุ่มทึบและสิ้นเปลืองน้ำเลี้ยง
                         
       หมายเหตุ :                       
       ลักษณะทรงพุ่มที่ดีต้องเป็นทรงฉัตร มีกิ่งขนาดพอดี (กิ่งใหญ่เส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 8 นิ้ว.....กิ่งเล็กเส้นผ่าศูนย์กลางเล็กว่า 5 นิ้ว) จำนวนเหมาะสมกับขนาดต้น มีจำนวนใบจำนวนมาก ขนาดใบใหญ่หนาเขียวเข้มเป็นมันวาว
                               
       ตัดแต่งราก :                        
     - ทุเรียนระยะต้นอายุยังน้อยไม่ควรตัดแต่งราก แต่ถ้าต้องการสร้างรากใหม่ให้มีประสิทธิภาพในการหาอาหารดียิ่งขึ้นใช้วิธีล่อรากด้วยการพูนโคนต้นด้วยดิน 3 ส่วนกับอินทรีย์วัตถุ 1 ส่วน
     - ต้นอายุหลายปี ระบบรากเก่าและแก่มาก ให้พิจารณาตัดแต่งรากส่วนปลายออก 1 ใน 4 ด้วยการพรวนดินรอบทรงพุ่มลึก 10-15 ซม. หลังจากให้ฮอร์โมนบำรุงรากไปแล้วต้นจะแตกรากใหม่จำนวนมากขึ้น  และมีประสิทธิภาพในการดูดซับสารอาหารได้ดีกว่าเดิม

                         

       ประสบการณ์ตรง :           
       สวนทุเรียนหมอนทองที่ อ.เขาคิฌกูฏ จ.จันทบุรี อายุต้น 5-10 ปี ให้ผลผลิตแล้ว เตรียมดินโดยการใส่ยิบซั่ม กระดูกป่น มูลวัว+มูลไก่ ทุก 6 เดือน คลุมหน้าดินบริเวณโคนต้นด้วยเศษใบไม้แห้ง ใบหญ้า หนาประมาณประมาณ 50 ซม. เต็มพื้นที่ทรงพุ่ม ปีละครั้ง....บำรุงต้นตามขั้นตอนทุกประการ ปรากฏว่าต้นสมบูรณ์มากเมื่อแหวกเศษพืชคลุมโคนต้นออกดู พบว่ามีรากจำนวนมากชอนไชขึ้นจากพื้นดินมาอยูในเศษพืชแห้งนั้น รากอวบใหญ่ยาวสวยมาก....หลังจากให้ผลผลิตรุ่นนั้นแล้ว หมอนทองต้นนั้นออกดอกต่อ แล้วก็ออกต่อเรื่อยๆ จนกลายเป็นทุเรียนทะวายออกดอกติดผลไม่มีรุ่น  ทำให้การบำรุงยุ่งยากมาก จึงตัดสินใจ “ลุย” บำรุงด้วยสูตร “สะสมตาดอก – บำรุงผล – ฮอร์โมนน้ำดำ – สาหร่าย + ไคตินไคโตซาน + แคลเซียม โบรอน”  ทั้ง 4 สูตรสลับกันสูตรละอาทิตย์(ตอนนั้นยังไม่มีฮอร์โมนไข่)....ผลจากการบำรุงด้วยสูตร “ขยายขนาด-หยุดเมล็ด-สร้างเนื้อ” ทำให้ได้ผลขนาดใหญ่กว่า 8-10 กก. และไม่สามารถบำรุงด้วยสูตร “ปรับปรุงคุณภาพก่อนเก็บเกี่ยว หรือ เร่งหวาน” ได้  ทุเรียนทำท่าจะไม่มีคุณภาพ
แนวทางแก้ไข คือ ขายทุเรียนดิบ สำหรับทำทุเรียนทอดกรอบ คนซื้อนอกจากเหมารุ่นนี้หมดสวนแล้วยังจองรุ่นหน้าและรุ่นต่อๆไปอีกด้วย  

        วงรอบในการปฏิบัติบำรุงต่อทุเรียน                       
        พ.ค.–มิ.ย. ตัดแต่งกิ่ง.  ฟื้นฟูสภาพต้น. เรียกใบอ่อนชุดที่ 1.
        ก.ค.–ส.ค. เรียกใบอ่อนชุดที่ 2
        ก.ย.–ต.ค. ตัดแต่งกิ่ง. เรียกใบอ่อนชุดที่ 3. สะสมอาหาร.
        พ.ย.– ธ.ค. ปรับ ซี/เอ็น เรโช. เปิดตาดอก. บำรุงดอก. ผสมเกสร.
        ม.ค.– เม.ย. ตัดแต่งกิ่ง.  บำรุงผลเล็ก-กลาง-แก่ก่อนเก็บเกี่ยว 





หน้าก่อน หน้าก่อน (1/13) - หน้าถัดไป (3/13) หน้าถัดไป


Content ©