-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 550 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

แฟ้มงานวิจัย34






ประสิทธิภาพของสารป้องกันกำจัดโรคพืชเพื่อ
ป้องกันกำจัดโรคแอนแทรคโนสขององุ่น

ศรีสุข พูนผลกุล วุฒิศักดิ์ บุตรธนู
พรพิมล อธิปัญญาคม ศรีสุรางค์ ลิขิตเอกราช
สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
--------------------------------------------------



บทคัดย่อ
การทดสอบประสิทธิภาพของสารป้องกันโรคพืช 13 ชนิด ในท้องที่อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี โดยพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช แต่ละชนิด ทุก 7 วัน หลังการตัดแต่งกิ่งองุ่น 15 วัน จำนวน 4 ครั้ง ประเมินผลการควบคุมโรคแอนแทรคโนสบนใบของยอดองุ่นจำนวน 20 ใบ ก่อนการพ่นสารทดลองทุกครั้งและหลังการพ่นสารทดลองครั้งสุดท้าย 7 วัน ผลการเปรียบเทียบสารป้องกันกำจัดโรคพืช 13 ชนิด กับการไม่พ่นสารทดสอบพบว่าสารป้องกันกำจัดโรคพืชทุกชนิดได้ผลในการควบคุมโรคแอนแทรคโนสได้ดีกว่าการไม่ใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืช การใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืชชนิดสัมผัส captan สลับกับการใช้สารป้องกันโรคพืชชนิดดูดซึม 3 ชนิด ได้แก่ tetraconazole, flutriafol และ azoxystrobin โดยพ่นสารชนิดสัมผัสทุก 4 วัน สลับการพ่นสารชนิดดูดซึมทุก 3 สัปดาห์ ให้ผลในการควบคุมโรคแอนแทรคโนสบนผลที่เกิดจากเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides เช่นเดียวกับการใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืชชนิดสัมผัสทุก 4 วัน



คำนำ
โรคแอนแทรคโนสขององุ่นเกิดจากเชื้อรา Sphaceloma ampelinum เข้าทำลายยอดอ่อน ใบ กิ่งก้าน เถา และผลองุ่นให้เกิดความเสียหาย โดยเฉพาะผลผลิตองุ่นในช่วงฤดูฝน เกษตรกรผู้ปลูกองุ่นมีความชำนาญในการดูแลรักษาและอิทธิพลของระบบการค้าสารเคมีทำให้เกษตรกรใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืชมากเกินความจำเป็น จากการสำรวจและประเมินการเกิดโรคในท้องที่ปลูกองุ่น ของประเทศไทยระหว่างปี 2548-2549 พบว่าเกษตรกรพ่นสารป้องกันกำจัดโรค 45-50 ครั้งต่อฤดู (ศรีสุข, 2550) จึงเสียค่าใช้จ่ายในการป้องกันกำจัดโรคนี้ปีละหลายล้านบาท อีกทั้งยังทำให้สารพิษตกค้างในผลองุ่นสดเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคและปนเปื้อนในไวน์ ในขบวนการป้องกันกำจัดโรคของเกษตรกรยังพบว่าเกษตรใช้สารป้องกันกำจัดโรคไม่ถูกต้องทั้งชนิดของสารเคมี อัตราการใช้และช่วงเวลาที่ทำการใช้สารเคมี จึงทำให้การป้องกันกำจัดไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ  ป้องกันโรคชนิดใหม่ที่มีประสิทธิภาพและช่วงเวลาของการพ่นสารป้องกันกำจัดโรคจะช่วยลดความเสียหายของโรคและป้องกันการปนเปื้อนในผลผลิตองุ่นได้ เมื่อนำความรู้เหล่านี้มาร่วมกันเพื่อปรับใช้และแนะนำต่อเกษตรกรจะช่วยให้เกษตรกรยอมรับเทคโนโลยีเหล่านี้ได้ง่ายขึ้น


การศึกษาเบื้องต้นเพื่อการคัดเลือกสารป้องกันกำจัดโรคที่มีประสิทธิภาพ 13 ชนิด ในการป้องกันโรคแอนแทรคโนสบนใบ พบสารป้องกันกำจัดโรคพืช 4 ชนิด ได้แก่ Captan, Tetraconazole, Flutriafol และ Azoxystrobin จึงนำมาทดลองพ่นสลับระหว่างสารป้องกันกำจัดชนิดดูดซึมและชนิดสัมผัส เพื่อหาช่วงเวลาที่เหมาะสมในการพ่นสารที่ลดค่าใช้จ่ายและได้ผลดี



วิธีดำเนินการ

อุปกรณ์
1. แปลงองุ่นพันธุ์ไวท์มะละกา อำเภอนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี
2. สารป้องกันกำจัดโรคพืช 13 ชนิด
3. สารกำจัดแมลง สารกำจัดวัชพืช ป้ายแสดงกรรมวิธีการทดลอง
4. ถังพ่นสารป้องกันโรคพืชสะพายหลังแบบแรงดันน้ำต่ำ


วิธีการ
1.1 การทดสอบสารป้องกันกำจัดโรคพืชเพื่อการคัดเลือกสารชนิดที่ดีที่สุด
แปลงทดสอบสารป้องกันกำจัดโรคแอนแทรคโนสขององุ่น ขนาด 4 X 6 ตารางเมตร วางแผน

การทดลองแบบ RCBD มี 14 กรรมวิธี 4 ซ้ำ ดังนี้
1. Trifloxystrobin (Flint 50%WG) อัตรา 5 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
2. Benthiovalicarb isopropyl + Chlorotalonil 5% +50 % (KIF 230) อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
3. Chlorotalonil 50% SC (Daconil) อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
4. Azoxystrobin 25 % SC (Amista) อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
5. Difenoconazole 25 %EC (Score ) อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลตร
6. Tetraconazole 4 % EW (Dumark) อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
7. Prochloraz 45%EC (Jerade) อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
8. Flusilazole 40% EC (Nustar) อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
9. Flutriafol อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
10. Dithianon 50% SC (Delan ) อัตรา 15 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
11. Kresoxim-methyl 50%WG (Stroby) อัตรา 8 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
12. Iminoctadine 30% FL (Bellkute) อัตรา 10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
13. Captan 50%WP (ออโธไซท์) อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
14. ไม่ใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืช พ่นน้ำเปล่าปริมาตรเท่ากับปริมาตรน้ำที่พ่นสารทดสอบ

ตัดแต่งกิ่งองุ่นเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2549 สุ่มกิ่งองุ่น 20 กิ่งต่อแปลงย่อยโดยใช้ป้ายแสดงกรรมวิธีผูกติดกับกิ่งที่ให้คะแนนการเกิดโรค พ่นสารทดลองครั้งแรกวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2549 และพ่นสารทดลองทุก 7 วัน รวม 4 ครั้ง ตรวจสอบคะแนนการเกิดโรคเป็นเปอร์เซ็นต์ของการเกิดโรคบนใบและช่อดอกครั้งแรกก่อนพ่นสารทดลองครั้งที่ 1 และตรวจสอบให้คะแนนการเกิดโรคก่อนการพ่นสารทุกครั้ง และ 7 วัน หลังการพ่นสารทดลองครั้งสุดท้าย บันทึกความผิดปกติอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นหลังการพ่นสารทดลอง จัดทำระดับความรุนแรงของโรค ก่อนวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติตามแผนการทดลอง เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยโดยวิธี DMRT ให้ระดับความรุนแรงของโรคดังนี้


ระดับ 1 = การเกิดโรค 0 %
ระดับ 2 = การเกิดโรค 1 – 10 %
ระดับ 3 = การเกิดโรค 11 - 25 %
ระดับ 4 = การเกิดโรค 26 - 50 %
ระดับ 5 = การเกิดโรคมากกว่า 50 %


1.2 ช่วงเวลาการพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช
แปลงทดสอบสารป้องกันกำจัดโรคแอนแทรคโนสขององุ่น ขนาด 4 X 6 ตารางเมตร วางแผน

การทดลองแบบ RCBD มี 6 กรรมวิธี 4 ซ้ำ ดังนี้
1. Captan 50%WP (ออโธไซท์) อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 4 วัน หยุดพ่นสารก่อนเก็บเกี่ยว 15 วัน
2. Captan 50%WP (ออโธไซท์) อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 7 วันและพ่น
Tetraconazole 4 % EW (Dumark) อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร สลับ ทุก 3 สัปดาห์ จำนวน 3 ครั้ง หยุดพ่นสารก่อนเก็บเกี่ยว 15 วัน
3. Captan 50%WP (ออโธไซท์) อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 7 วัน และพ่น Flutriafol อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร สลับ ทุก 3 สัปดาห์ จำนวน 3 ครั้ง หยุดพ่นสารก่อนเก็บเกี่ยว 15 วัน
4. Captan 50%WP (ออโธไซท์) อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 7 วันและพ่น Azoxystrobin 25 % SC (Amista) อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร สลับ ทุก 3 สัปดาห์ จำนวน 3 ครั้ง หยุดพ่นสารก่อนเก็บเกี่ยว 15 วัน
5. กรรมวิธีที่เกษตรกรปฏิบัติ หยุดพ่นสารก่อนเก็บเกี่ยว 15 วัน
6. ไม่ใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืช พ่นน้ำเปล่าปริมาตรเท่ากับปริมาตรน้ำที่พ่นสารทดสอบ

ตัดแต่งกิ่งองุ่นเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2550 พ่นสารป้องกันกำจัดโรค Flusilazole (นูสตาร์ ) อัตรา 5 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อกำจัดเชื้อโรคพืชบนกิ่งและเถาองุ่นก่อนองุ่นแตกตา เมื่อองุ่นแทงตาดอก สุ่มช่อดอก 20 ช่อ ต่อแปลงย่อยโดยใช้ป้ายแสดงกรรมวิธีผูกติดกับช่อดอกที่ให้คะแนน


การเกิดโรค พ่นสารทดลองครั้งแรกวันที่ 20 มิถุนายน 2550 และพ่นสารทดลองตามกรรมวิธี รวม 4 ครั้ง ให้คะแนนการเกิดโรคเป็นเปอร์เซ็นต์บนช่อดอกครั้งแรกก่อนพ่นสารทดลองครั้งที่ 1 และให้คะแนนการเกิดโรคก่อนการพ่นสารทุกครั้ง และ 7 วัน นับผลองุ่นที่เป็นโรคแอนแทรคโนสคำนวนเป็นเปอร์เซ็นต์ของผลเน่าและผลดีหลังการเก็บเกี่ยว วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติตามแผนการทดลอง เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยโดยวิธี Lease significance difference ( LSD )



ผลและวิจารณ์ผลการทดลอง
1.1 การทดสอบสารป้องกันกำจัดโรคพืชเพื่อการคัดเลือกสารชนิดที่ดีที่สุด

การทดสอบประสิทธิภาพของสารป้องกันโรคพืช 13 ชนิด ดำเนินงานระหว่างเดือน มกราคม – พฤษภาคม 2549 โดยพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช แต่ละชนิด ทุก 7 วัน หลังการตัดแต่งกิ่งองุ่น 15 วัน จำนวน 4 ครั้ง ประเมินผลการควบคุมโรคแอนแทรคโนสบนใบของยอดองุ่นจำนวน 20 ใบ ก่อนการพ่นสารทดลองทุกครั้งและหลังการพ่นสารทดลองครั้งสุดท้าย 7 วัน

ก่อนการพ่นสารกำจัดโรคพืชครั้งที่ 1 พบโรคบนใบและยอดอ่อนขององุ่นไม่แตกต่างกันทางสถิติ โดยพบการเป็นโรคระหว่าง 0-0.02 %


ก่อนการพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชครั้งที่ 2 พบโรคบนใบและยอดอ่อนองุ่นระหว่าง 0-6 % (ตารางที่ 2) มีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ โดยพบว่า สารป้องกันกำจัดโรคที่ดีที่สุดคือ Benthiovalicarb isopropyl + Chlorotalonil และ Captan ม่พบการระบาดของโรค สารป้องกันกำจัดเชื้อรา Trifloxystrobin, Difenoconazole, Tetraconazole, Prochloraz, และ Dithianon ควบคุมโรคได้ดีและไม่แตกต่างกัน พบการเป็นโรคระดับ 1.25, 1.00, 1.25, 1.50, 1.50 และ 1.50 ตามลำดับ (ตารางที่ 1) สารป้องกันกำจัดโรค Chlorotalonil, Azoxystrobin, Tetraconazole, Prochloraz, Flusilazole, Flutriafol, Dithianon Kresoxim-methyl และ Iminoctadine ควบคุมโรคแอนแทรคโนสได้แต่ไม่แตกต่างกับการไม่ใช้สารป้องกันกำจัดโรค
ก่อนการพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชครั้งที่ 3 พบโรคบนใบและยอดอ่อนองุ่นระหว่าง0-20.38 % มีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง โดยพบว่าสารป้องกันกำจัดเชื้อราที่ดีที่สุดคือ Benthiovalicarb isopropyl + Chlorotalonil มีโรคระบาด 0.00% สารป้องกันกำจัดเชื้อรา Difenoconazole, Tetraconazole, Prochloraz, Flutriafol, Dithianon Iminoctadine และ Captan ให้ผลการควบคุมไม่แตกต่างกันทางสถิติ โดยควบคุมการเกิดโรคเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 1.50,1.75, 1.50, 1.75,1.50, 1.50 และ 1.50 ตามลำดับ และไม่แตกต่างจาก Trifloxystrobin, Chlorotalonil, Azoxystrobin, และ Flusilazole, ซึ่งพบโรคระดับ 2.00, 2.00, 2.00 และ 2.00 แต่แตกต่างจาก Kresoxim-methyl และการไม่ใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืช พบโรคที่ระดับ 2.25 และ 3.0


ก่อนการพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชครั้งที่ 4 พบโรคบนใบและยอดอ่อนองุ่นระหว่าง 0-37.45 % มีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง โดยพบว่า สารป้องกันกำจัดเชื้อรา  Benthiovalicarb isopropyl + Chlorotalonil, Difenoconazole, Prochloraz, Iminoctadine และ Captan ให้ผลในการป้องกันกำจัดโรคได้ดี ไม่แตกต่างกันทางสถิติ มีการเกิดโรคเฉลี่ยที่ระดับ 1.25, 1.50,1.50,1.75 และ 1.25 ตามลำดับ สารป้องกันกำจัดโรคพืช Chlorotalonil, Azoxystrobin, Tetraconazole, Flusilazole, Flutriafol, และ Dithianon ให้ผลการควบคุมโรคไม่แตกต่างกันที่ระดับ 2.00 และไม่แตกต่างกัน แต่แตกต่างจากการใช้สารป้องกันกำจัดโรค Kresoxim-methyl และการไม่ใช้สารป้องกันกำจัดโรค ซึ่งให้ผลการเกิดโรคระดับ 3.25 และ 3.75 ตามลำดับ


หลังการพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชครั้งที่ 4 พบโรคบนใบและยอดอ่อนองุ่นระหว่าง 0-46.35 % มีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง โดยพบว่า สารป้องกันกำจัดเชื้อรา Benthiovalicarb isopropyl + Chlorotalonil, Prochloraz, และ Captan ให้ผลไม่แตกต่างทางสถิติ โดยสามารถควบคุมโรคที่ระดับ 1.25, 1.50 และ 1.50ตามลำดับ และไม่แตกต่างจากสารป้องกันกำจัดโรคพืช Chlorotalonil, Azoxystrobin, Difenoconazole, Tetraconazole, Flusilazole, Flutriafol, และ Iminoctadine โดยสามารถควบคุมโรคที่ระดับ และ 2.00, 2.00, 1.75, 2.00,2.00,2.00, และ 1.75 ตามลำดับ สารป้องกันกำจัดโรค Dithianon ให้ผลการควบคุมโรคระดับ 2.50 แตกต่างจากสารป้องกันกำจัดโรค Trifloxystrobin, Kresoxim-methyl และการไม่ใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืช โดยควบคุมโรคที่ระดับ 4.00, 3.25 และ 4.25 ตามลำดับ


1.2 ช่วงเวลาการพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช
ผลการบันทึกการเป็นโรคแอนแทรคโนสบนใบพบว่าตลอดฤดูไม่พบการเป็นโรค เนื่องจาก
การใช้สารป้องกันกำจัดโรค Flusilazole (นูสตาร์ ) ได้ผลดีในการกำจัดเชื้อโรคที่อยู่ข้ามฤดูบนกิ่งและเถาองุ่น และฤดูที่ทำการทดลองอากาศค่อนข้างแห้งแล้ง ดังนั้นจึงพบโรคแอนแทรคโนสบนผลองุ่นเมื่อผลองุ่นเริ่มสุก (ประมาณ 1 เดือนก่อนเก็บเกี่ยว) เปอร์เซ็นต์ผลเป็นโรคของทุกกรรมวิธีที่มีการใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืช มีค่า 1.3 – 1.9 % และไม่แตกต่างกัน แต่แตกต่างกับการไม่พ่นสารป้องกันโรค ซึ่งมีเปอร์เซ็นต์ผลเน่า 4.48 % หลังจากนั้นอีก 10 วัน (ประมาณ 20 วันก่อนเก็บเกี่ยว) เปอร์เซ็นต์ผลเป็นโรคของทุกกรรมวิธีที่มีการใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืช มีค่าระหว่าง 5.05 – 11.28 % และไม่แตกต่างกัน แต่แตกต่างกับการไม่พ่นสารป้องกันโรค ซึ่งมีเปอร์เซ็นต์ผลเน่า 22.58 % ก่อนวันเก็บเกี่ยวผลผลิต 10 วันพบ (และหยุดการพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชแล้ว) เปอร์เซ็นต์ผลเป็นโรคของทุกกรรมวิธีการใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืช Captan ทุก 4 วัน และกรรมวิธีใช้สาร Captan ทุก 7 วันและ Azoxystrobin สัปดาห์ที่ 3, 6, และ 9 มีค่า 41.02 % และ 45.47 % ตามลำดับแตกต่างจากกรรมวิธีการใช้ Captan ทุก 7 วัน และ Flutriafol สัปดาห์ที่ 3, 6, และ 9 กรรมวิธีการใช้ Captan ทุก 7 วัน และ Flutriafol สัปดาห์ที่ 3, 6, และ 9 และกรรมวิธีของเกษตรกรที่มีเปอร์เซ็นต์ผลเป็นโรคแอนแทรคโนส 59.77%, 60.77% และ 69.15 % ตามลำดับ ส่วนกรรมวิธีที่ไม่มีการใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืช (พ่นน้ำเปล่า) พบเปอร์เซ็นต์ผลเป็นโรคแอนแทรคโนส 89.7 %



สรุปผลการทดลอง
ผลการเปรียบเทียบสารป้องกันกำจัดโรคพืช 13 ชนิด กับการไม่พ่นสารทดสอบพบว่าสารป้องกันกำจัดโรคพืชทุกชนิดได้ผลในการควบคุมโรคแอนแทรคโนสที่เกิดจากเชื้อรา Sphaceloma ampellinum บนใบได้ดีกว่าการไม่ใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืช

การใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืชชนิดสัมผัสทุก 7 วัน สลับกับการใช้สารป้องกันโรคพืชชนิดดูดซึม ทุก 21 วัน ให้ผลในการควบคุมโรคแอนแทรคโนสบนผลที่เกิดจากเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides เช่นเดียวกับการใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืชชนิดสัมผัสทุก 4 วัน




ที่มา  :  กรมวิชาการเกษตร









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-13 (3071 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©