-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 304 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

แฟ้มงานวิจัย32





ทดสอบชุดเทคโนโลยีเฉพาะด้านเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในการผลิตกล้วยไม้ลูกผสมสกุลหวายตัดดอกให้ได้คุณภาพมาตรฐาน

คณะผู้ดำเนินงาน
หัวหน้าการทดลอง นางสาวศรีสุดา โท้ทอง สถาบันวิจัยพืชสวน
ผู้ร่วมงาน นายนิยมรัฐ ไตรศรี สถาบันวิจัยพืชสวน
นางจงวัฒนา พุ่มหิรัญ สถาบันวิจัยพืชสวน



บทคัดย่อ
ในการสำรวจปัญหาของเกษตรกรในการปลูกกล้วยไม้สกุลหวายตัดดอกในภาคกลางพบปัญหาศัตรูพืชที่สำคัญและทำความเสียหายกระทบต่อผลผลิต คือ โรคปื้นเหลือง ซึ่งเกิดจากเชื้อรา Pseudocercospora dendrobii Goh & W.H. Hsieh ในช่วงเดือนตุลาคม-มีนาคม เป็นช่วงที่มีการระบาดของโรคปื้นเหลือง ดังนั้นจึงควรเตือนภัยให้เกษตรกรผู้เลี้ยงกล้วยไม้ให้ระมัดระวังการระบาดของโรคเพื่อที่จะได้ทำการป้องกันก่อนที่จะเกิดความเสียหาย พร้อมทั้งให้สังเกตระดับอุณหภูมิอากาศซึ่งถ้าต่ำกว่า 25-30 องศาเซลเซียสจะทำให้โรคแสดงอาการรุนแรง ทำให้ใบร่วงทั้งกอ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการแตกช่อดอกของกล้วยไม้



คำนำ
กล้วยไม้สกุลหวายเป็นไม้ตัดดอกที่มีศักยภาพในการผลิต พื้นที่ปลูกประมาณ 16,000 ไร่ ผลผลิต 25,000 ตันต่อปี การส่งออกต่างประเทศทำรายได้เข้าประเทศได้ 1,000-2,000 ล้านบาทต่อปี แต่ปัจจุบันกล้วยไม้ตัดดอกสกุลหวายมีปัญหาในด้านการส่งออก การแข่งขันทางการตลาดและผลผลิตกล้วยไม้ที่ด้อยคุณภาพ ดังนั้นจึงต้องพัฒนาศักยภาพการผลิตให้ได้มาตรฐาน และมีการจัดการผลผลิตที่มีประสิทธิภาพ ต้นทุนการผลิตต่ำ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางการตลาด


ในการผลิตกล้วยไม้สกุลหวายพบว่าแมลงโรคพืช สัตว์ ศัตรูกล้วยไม้เป็นปัญหาสำคัญที่มีผลกระทบต่อปริมาณคุณภาพผลผลิตและต้นทุนการผลิต ดังนั้นเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในการผลิตกล้วยไม้จึงได้ทดสอบชุดเทคโนโลยีเฉพาะด้านเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในการผลิตกล้วยไม้ลูกผสมสกุลหวายตัดดอกไม่ให้ได้รับความเสียหายอันเนื่องมาจากศัตรูพืชและปลอดจากศัตรูพืช ตามข้อกำหนดคุณภาพขั้นต่ำของมาตรฐานกล้วยไม้ ให้ผลผลิตสูง คุ้มค่าการลงทุน

ขบวนการผลิตจะต้องปลอดภัยต่อเกษตรกร ผู้บริโภค มีการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีความยั่งยืนทางการเกษตรและไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งผลการทดลองจะทำให้ได้แนวทางในการทดสอบด้านต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นให้กับเกษตรกร ได้วิธีการที่มีประสิทธิภาพอย่างน้อย 80 เปอร์เซ็นต์ที่มีผลต่อการเพิ่มคุณภาพผลผลิตที่คุ้มค่าต่อการลงทุนและสามารถใช้ร่วมหรือผสมผสานกับเทคโนโลยีด้านอื่นๆ และได้วิธีการหรือเทคโนโลยีเฉพาะด้านต่างๆที่เหมาะสมสำหรับแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในการผลิตกล้วยไม้ ซึ่งจะได้ใช้เป็นคำแนะนำให้แก่เกษตรกรต่อไป



อุปกรณ์และวิธีการ
มีขั้นตอนการดำเนินงานดังนี้
1) สำรวจปัญหาของเกษตรกรในจัดการด้านการผลิตกล้วยไม้สกุลหวายตัดดอกของเกษตรกรในแหล่งปลูกภาคกลาง
2) สรุปปัญหาจากข้อมูลการสำรวจและตั้งประเด็นที่จะต้องทำการทดสอบเพื่อแก้ปัญหาที่สำคัญของเกษตรกรให้ทันเหตุการณ์
3) ทำการทดสอบในแปลงปลูกกล้วยไม้โดยวางแผนการทดลองตามวิธีการต่าง ๆ และนำวิธีการที่ได้ผลดีมาทดสอบซ้ำอีกครั้งในรูปแบบแปลงสาธิตเพื่อยืนยันผลว่าสามารถแก้ไขปัญหาให้เกษตรกรได้ดี มีต้นทุนต่ำ
4) จัดทำคำแนะนำและเผยแพร่วิธีการการแก้ไขปัญหาให้เกษตรได้ทราบ



ผลการทดลองและวิจารณ์
จากการสำรวจสวนปลูกกล้วยไม้สกุลหวายเพื่อตัดดอกในสายพันธุ์ต่างๆที่ปลูกเป็นการค้า พบปัญหาศัตรูพืชที่สำคัญและทำความเสียหายกระทบต่อผลผลิต คือ โรคปื้นเหลืองซึ่งพบว่าสวนกล้วยไม้ประมาณ 85% เป็นโรคปื้นเหลืองและแสดงอาการของโรครุนแรงและส่งผลกระทบต่อการผลิตกล้วยไม้ในช่วงตั้งแต่เดือนตุลาคม-มีนาคม แต่รุนแรงมากโดยทำให้ใบร่วงทั้งกอ ในเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ โดยเฉพาะพันธุ์เอียสกุลซึ่งนิยมปลูกเป็นการค้าในปัจุจบัน สำหรับสวนกล้วยไม้ที่มีการเก็บเศษใบพืชในแปลงนำมาเผาทำลายและมีการใช้สารเคมี cholothalonil กับ carbendazim ในรูปเดี่ยวหรือสารผสมเป็นประจำ พบว่าสวนกล้วยไม้สกุลหวายไม่แสดงอาการของโรคที่รุนแรงและไม่มีผลกระทบต่อผลผลิต


จากการเก็บตัวอย่างใบพืชมาตรวจสอบหาเชื้อสาเหตุพบว่าเกิดจากเชื้อรา Pseudocercospora dendrobii Goh & W.H. Hsieh

จากการรายงานของนิยมรัฐและคณะ (2542) พบว่าอุณหภูมิเป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการเกิดขยายความรุนแรงของโรคปื้นเหลือง อุณหภูมิลดลง ทำให้ความรุนแรงของโรคสูงขึ้น ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่า 30 องศาเซลเซียส จะมีผลทำให้การเกิดโรครุนแรงมากกว่า 25% และ Kwun Jin-Hyuk and Park Chang-Suk (2002) รายงานว่าอุณหภูมิที่เหมาะสมกับการเจริญของเชื้อราคือ 25 องศาเซลเซียส



สรุปผลการทดลอง
ช่วงเดือนตุลาคม-มีนาคม เป็นช่วงที่มีการระบาดของโรคปื้นเหลือง และจะเป็นโรครุนแรงมากในเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ โดยทำให้ใบร่วงทั้งกอ ซึ่งควรที่จะได้การเก็บเศษใบพืชในแปลงนำมาเผาทำลายเป็นประจำควบคู่กับการใช้สารเคมีในช่วงที่มีการระบาดก่อนที่จะเกิดความเสียหายให้กับกล้วยไม้



การนำไปใช้ประโยชน์ พัฒนาต่อ หรือถ่ายทอดได้
เนื่องจากในปี 2550 ไม่ได้งบประมาณในการดำเนินงานต่อ ดังนั้นจึงสรุปผลการดำเนินงานในปี 2549 ซึ่งนำมาใช้ในการเตือนภัยให้เกษตรกรผู้เลี้ยงกล้วยไม้ได้ทราบว่าการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้สกุลหวายมีโรคปื้นเหลืองเป็นศัตรูพืชที่สำคัญที่อาจส่งผลกระทบต่อผลผลิตอย่างมาก และตั้งแต่เดือนตุลาคมให้ระมัดระวังการระบาดของโรคเพื่อที่จะได้ทำการป้องกันก่อนที่จะเกิดความเสียหาย พร้อมทั้งให้สังเกตระดับอุณหภูมิอากาศซึ่งถ้าต่ำกว่า 25-30 องศาเซลเซียสซึ่งจะทำให้โรคแสดงอาการรุนแรงและให้ป้องกันกำจัดโดยใช้สารเคมีเป็นประจำ




ที่มา  :  กรมวิชาการเกษตร









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-13 (2248 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©