-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 492 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

แฟ้มงานวิจัย31





การผลิตพริกให้มีคุณภาพเพื่อการส่งออก


ผู้ดำเนินงาน
หัวหน้าโครงการวิจัย พัชรี เนียมศรีจันทร์ สังกัด สวพ.2
หัวหน้าการทดลอง ศักดิ์ดา เสือประสงค์ สังกัด สวพ.5
ผู้ร่วมงาน นิทัศน์ กาญจนภา สังกัด สวพ.5
สุชาติ เจริญรัตน์ สังกัด สวพ.5
สงัด ดวงแก้ว สังกัด สวพ.5
บุญศรี อินทร์น้อย สังกัด กผง.
ศิริจันทร์ อินทร์น้อย สังกัด ศบป.ชัยนาท




บทคัดย่อ
การผลิตพริกให้มีคุณภาพเพื่อการส่งออกในเขตพื้นที่ภาคตะวันตกจังหวัดสุพรรณบุรีและจังหวัดกาญจนบุรี โดยมีเกษตรกรเข้ามามีส่วนร่วมวางแผนการทดสอบ ซึ่งเกษตรกรเป็นผู้ลงมือปฏิบัติร่วมกับนักวิชาการเกษตร การทดสอบครั้งนี้ เป็นการพัฒนาการผลิตพริกให้มีคุณภาพปลอดภัยจากสารพิษตกค้าง ดำเนินงานในปี 2549 และปี 2550 รวม 2 ปี


ปีแรกเน้นการใช้สารเคมีอย่างถูกต้องและเหมาะสมใช้ตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร ในการสุ่มตัวอย่างพริกส่งวิเคราะห์ หาสารพิษตกค้าง พบว่า จังหวัดสุพรรณบุรี ไม่พบสารพิษตกค้างทั้งระบบเกษตรกรและระบบทดสอบ จังหวัดกาญจนบุรี ไม่พบสารพิษตกค้างแต่พบสารพิษไม่เกินค่า MRL ทั้งระบบเกษตรกรและระบบทดสอบ แสดงว่า เกษตรกรมีความเข้าใจในการนำสารเคมีไปใช้และ


ปีที่ 2 เน้นความสมบูรณ์ของพริกหรือให้พริกมีความแข็งด้วยการกำหนดการใช้ปุ๋ยหมักแห้งชีวภาพ อัตรา 200 กิโลกรัม/ไร่ ผสมหรือใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 25 กิโลกรัม/ไร่ โดยใช้อัตราดังกล่าว ใส่จำนวน 6 ครั้ง และให้ธาตุอาหารเสริมจากน้ำหมักชีวภาพสูตรผลไม้สุก และสูตรปลาหมัก ป้องกันกำจัดแมลง พ่นพริกตั้งแต่แรกจนสิ้นสุดการเก็บเกี่ยว พบว่า จังหวัดสุพรรณบุรี ไม่พบสารพิษตกค้างแต่พบสารพิษตกค้างไม่เกินค่า MRL ทั้งระบบ

เกษตรกรและระบบทดสอบ

แต่ในระบบทดสอบด้านผลผลิตความยาวของผลพริกสูงกว่าระบบเกษตรกรการลงทุนหรือต้นทุนระบบเกษตรกรสูงกว่าระบบเกษตรกร พบว่า จังหวัดกาญจนบุรี ไม่พบสารพิษตกค้าง แต่พบสารพิษตกค้างไม่เกินค่า MRL ทั้งระบบเกษตรกรและระบบทดสอบ แต่ในระบบทดสอบ ด้านผลผลิตความยาวของผลพริกสูงกว่าระบบเกษตรกร การลงทุนหรือต้นทุนระบบเกษตรกรกับระบบทดสอบไม่แตกต่างกันแสดงให้เห็นว่า  การดำเนินงานในปีที่ 2 ระบบทดสอบมีประสิทธิภาพช่วยลดการใช้สารเคมีและลดต้นทุนการผลิต  ในขณะที่ผลพริกมีความปลอดภัยจากสารพิษตกค้างมีพบแต่ไม่เกินค่า MRL



คำนำ
พริกเป็นพืชที่ให้ความสำคัญในทางเศรษฐกิจของประเทศไทยและเพื่อการส่งออกจากที่รัฐบาลไทยประกาศเป็นครัวของโลกปี 2547 เป็นต้นมา การผลิตพริกเพื่อการส่งออกจึงจำเป็นต้องมีการตรวจรับรองระบบการจัดการคุณภาพ “GAP” โดยกรมวิชาการเกษตร ระบบจึงเป็นไปตามขั้นตอนก่อนการส่งออก ดังนั้น เกษตรกรผู้ผลิตพริกจำเป็นต้องได้รับรู้วิธีการผลิตพริก และได้ผลผลิตพริกที่ปลอดภัยจากสารพิษตกค้าง โดยอาศัยหลักการเกษตรดีที่เหมาะสม พร้อมมีการลดการใช้สารเคมี ฉะนั้น ในการทดสอบการผลิตพริกให้มีคุณภาพเพื่อการส่งออกในเขตพื้นที่ภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี และจังหวัดกาญจนบุรี ได้ทำการทดสอบปี 2549 และปี 2550 รวมเป็นเวลา 2 ปี การดำเนินงานเป็นการนำระบบเกษตรกรเปรียบเทียบกับระบบทดสอบ จากนั้นสุ่มผลผลิตพริกทั้งสองระบบส่งวิเคราะห์หาสารพิษตกค้างในผลผลิต การทดสอบครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อการพัฒนาการผลิตพริกให้มีคุณภาพคือปลอดภัยจากสารพิษตกค้างและทำให้เกษตรกรที่เข้าร่วมทดสอบมีความมั่นใจกับวิธีการของระบบทดสอบด้วยเกษตรกรเป็นผู้ปฏิบัติเองทั้งสองระบบ



อุปกรณ์และวิธีการ

อุปกรณ์
1. การผลิตพริกปฏิบัติตามระบบ GAP พริก
2. ปุ๋ยหมักแห้งชีวภาพ อัตรา 1,200 กิโลกรัม/ไร่ (แบ่งใส่ 6 ครั้ง)
3. ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 150 กิโลกรัม/ไร่ (แบ่งใส่ 6 ครั้ง)
4. ธาตุอาหารเสริม ได้แก่ น้ำหมักชีวภาพ สูตรผลไม้สุก และสูตรปลาหมัก
5. สมุนไพรไล่แมลงสกัดด้วยแอลกอฮอล์
6. สารเคมีป้องกันกำจัดโรคและแมลงใช้เมื่อมีความจำเป็น


วิธีการ
การทดสอบเป็นการนำผลงานวิชาการ และ GAP พริกเข้าร่วมกับภูมิปัญญาชาวบ้านในลักษณะแบบผสมผสานโดยเกษตรกรเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหา สาเหตุของสารพิษตกค้างในผลผลิตพริก การดำเนินงานมีเกษตรกรเป็นผู้ปฏิบัติในแปลงร่วมกับนักวิชาการเป็นการเปรียบเทียบระหว่างระบบเกษตรกร กับระบบทดสอบ ด้วยการนำอุปกรณ์ที่กำหนดไว้มาแก้ไขปัญหาสาเหตุ ดังนี้


จังหวัดสุพรรณบุรี พื้นที่ปลูกสภาพร่องสวน ระบบเกษตรกร ปลูกพักประเภทเถาเลื้อยร่วมกับพริกจินดา โดยมีพริกจินดาเป็นพืชประธาน การเตรียมดินปลูกใส่ปุ๋ยคอก (มูลวัว) 200 กิโลกรัม/ไร่ พ่นสารเคมีป้องกันโรคและแมลง เริ่มออกดอก 3 – 4 ครั้ง/เดือน และช่วงเก็บเกี่ยว 2-3 ครั้ง/เดือน ใส่ปุ๋ยเคมี อัตรา 30 กิโลกรัม/ไร่ สูตร 15-15-15 , 25-7-7 ขึ้นอยู่กับงบประมาณของเกษตรกรและจะใช้อัตราดังกล่าวนี้ประมาณ 6 ครั้ง ปี 2549 ระบบทดสอบ นำระบบ GAP พริกเข้ามาดำเนินการทดสอบเน้นการใช้สารเคมีอย่างถูกต้องและเหมาะสมและ ปี 2550 ระบบทดสอบ เน้นความแข็งแรงของพริกจินดาโดยอาศัยภูมิปัญญาชาวบ้านร่วมผสมผสานเริ่มการปลูกพริกโดยโรยเมล็ดปลูกเป็นแถวใส่ปุ๋ยหมักแห้งชีวภาพ อัตรา 1,200 กิโลกรัม/ไร่ แบ่งใส่ 6 ครั้ง ๆ ละ 200 กิโลกรัม/ไร่ ช่วงถอนแยก ช่วงก่อนออกดอก ช่วงเก็บเกี่ยว (เก็บเกี่ยว 4 ครั้ง ใส่ปุ๋ยห่างกันประมาณ 1 เดือน) ส่วนปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ใช้ร่วมกับปุ๋ยหมักแห้งชีวภาพดังกล่าว โดยใส่อัตราครั้งละ 25 กิโลกรัม/ไร่ รวม 6 ครั้ง ธาตุอาหารเสริมได้แก่ น้ำหมักชีวภาพสูตรผลไม้สุก และสูตรปลาหมัก อัตราอย่างละ 30-40 ซีซี. นำมาผสมรวมกันเป็นสูตรผสมใช้พ่นพริก อัตรา 30-40 ซีซี/ น้ำ 20 ลิตร ใช้พ่นร่วมกับสมุนไพรไล่แมลงสกัดด้วยแอลกอฮอล์ อัตรา 30-40 ซีซี ด้วยการพ่นอาทิตย์ละครั้ง จนสิ้นสุดการเก็บเกี่ยว


จังหวัดกาญจนบุรี พื้นที่ปลูกสภาพไร่ ระบบเกษตรกรปลูกข้าวโพดฝักสดตามด้วยการปลูกพริกชี้ฟ้าด้วยการเพาะกล้าพริกก่อนแล้วจึงย้ายลงปลูกในแปลง การเตรียมดินปลูกใส่ปุ๋ยคอก(มูลวัว) อัตรา 50-100 กิโลกรัม/ไร่ พ่นสารเคมีป้องกันกำจัดโรคและแมลงเริ่มพริกอายุ 30 วัน ออกดอก 2-3 ครั้ง/เดือน และช่วงเก็บเกี่ยว 1-2 ครั้ง/เดือน ใส่ปุ๋ยเคมี อัตรา 20-50 กิโลกรัม/ไร่ สูตร 15-15-15 , 46-0-0 , 25-7-7 , 16-20-0 ขึ้นอยู่กับงบประมาณของเกษตรกรและจะใช้อัตราดังกล่าวนี้ประมาณ 6 ครั้ง ปี 2549 ระบบทดสอบ นำระบบ GAP พริก เข้ามาดำเนินการทดสอบเน้นการใช้สารเคมีอย่างถูกต้องและเหมาะสม และปี 2550 ระบบทดสอบ เน้นความแข็งแรงของพริกชี้ฟ้า โดยอาศัยภูมิปัญญาชาวบ้านร่วมผสมผสานเริ่มการปลูกพริก โดยย้ายกล้าพริกลงปลูก ใส่ปุ๋ยหมักแห้งชีวภาพ อัตรา 1,200 กิโลกรัม/ไร่ แบ่งใส่ 6 ครั้ง ๆ ละ 200 กิโลกรัม/ไร่ ช่วงปลูก ช่วงก่อนออกดอก ช่วงเก็บเกี่ยว (เก็บเกี่ยว 4 ครั้ง ใส่ปุ๋ยห่างกันประมาณ 1 เดือน) ส่วนปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ใช้ร่วมกับปุ๋ยหมักแห้งชีวภาพดังกล่าว โดยใส่อัตราครั้งละ 25 กิโลกรัม/ไร่ รวม 6 ครั้ง ธาตุอาหารเสริมได้แก่ น้ำหมักชีวภาพสูตรผลไม้สุก และสูตรปลาหมัก อัตราอย่างละ 30-40 ซีซี นำมาผสมรวมกันเป็นสูตรผสมใช้พ่นพริก อัตรา 30-40 ซีซี/ น้ำ 20 ลิตร ใช้พ่นร่วมกับสมุนไพรไล่แมลงสกัดด้วยแอลกอฮอล์ อัตรา 30-40 ซีซี ด้วยการพ่นอาทิตย์ละครั้ง จนสิ้นสุดการเก็บเกี่ยว



การบันทึกข้อมูล
1. ต้นทุนการผลิต รายได้ รายได้สุทธิ
2. ผลผลิตและคุณภาพปลอดภัยจากสารพิษตกค้าง
3. การวิเคราะห์สารพิษตกค้าง


ผลการทดลองและวิจารณ์
ผลการทดสอบการผลิตพริกให้มีคุณภาพเพื่อการส่งออกในเขตพื้นที่ภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี และจังหวัดกาญจนบุรี วัตถุประสงค์ ต้องการผลผลิตพริกที่มีความปลอดภัยจากสารพิษตกค้าง มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการทดสอบ จังหวัดละ 5 ราย ๆ ละ 1 ไร่ รวม 10 ไร่

จังหวัดสุพรรณบุรี พบว่า ระบบเกษตรกรและระบบทดสอบปี 2549 ระบบเกษตรกรได้ผลผลิต 1,774 กิโลกรัม/ไร่ ผลตอบแทน 24,113 บาท/ไร่ ขนาดความยาวผล 3.82 เซนติเมตร การวิเคราะห์สารพิษตกค้างไม่พบสารพิษตกค้าง จากการทดลองปีแรกเน้นการใช้สารเคมีอย่างถูกต้องและเหมาะสมเป็นการใช้ตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร จึงเห็นชัดว่า เกษตรกรมีความเข้าใจในการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดโรคและแมลงตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร และระบบ GAP พริก ทำให้ผลการวิเคราะห์สารพิษตกค้างไม่พบสารพิษตกค้างทั้งระบบเกษตรกรและระบบทดสอบ ส่วนผลผลิตระบบเกษตรกรสูงกว่าระบบทดสอบนั้น เป็นเพราะปีแรกยังไม่เน้นความแข็งแรงของพริก การให้ปุ๋ยเหมือนกันทั้ง 2 ระบบ แต่การใส่ปุ๋ยเคมียังขึ้นอยู่กับงบประมาณของเกษตรกรการให้ปุ๋ยจึงไม่สม่ำเสมอ ซึ่งสังเกตจากขนาดความยาวผลพริก แต่จะเห็นเด่นชัดมากขึ้นของปี 2550 เนื่องจากระบบทดสอบพริกมีความแข็งแรง หรือพริกมีความสมบูรณ์


จังหวัดกาญจนบุรี พบว่า ระบบเกษตรกรและระบบทดสอบปี 2549 ระบบเกษตรกรได้ผลผลิต 1,187.60 กิโลกรัม/ไร่ ผลตอบแทน 20,389.80 บาท/ไร่ ขนาดความยาวผล 5.14 เซนติเมตร การวิเคราะห์สารพิษตกค้างพบสารพิษตกค้างไม่เกินค่า MRL ได้แก่ Triazophos 1.44 mg/kg Cypermethrin 0.03 mg/kg และ Chlorpyrifos 0.03 mg/kg ส่วนระบบทดสอบได้ผลผลิต 1,255.60 กิโลกรัม/ไร่ ผลตอบแทน 20,388.80 บาท/ไร่ ขนาดความยาวผล 5.88 เซนติเมตร การวิเคราะห์สารพิษตกค้างพบสารพิษตกค้างไม่เกินค่า MRL ได้แก่ Triazophos 1.41 mg/kg Chlorpyrifos 0.03 mg/kg จากการทดลองปีแรกเน้นการใช้สารเคมีอย่างถูกต้องและเหมาะสมเป็นการใช้ตาม


คำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร จึงเห็นชัดว่า เกษตรกรมีความเข้าใจในการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดโรคและแมลงตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร และระบบ GAP พริก ทำให้ผลการวิเคราะห์สารพิษตกค้างมีพบแต่ไม่เกินค่า MRL ทั้ง 2 ระบบ ส่วนในด้านผลผลิตและขนาดความยาวผลพริก ถึงแม้ว่าระบบทดสอบผลออกดีกว่าระบบเกษตรกร แต่ปีแรกยังไม่เน้นความแข็งแรงหรือความสมบูรณ์ของพริก การให้ปุ๋ยแก่พริก จึงเหมือนกันทั้ง 2 ระบบ การให้ปุ๋ยยังขึ้นอยู่กับงบประมาณของเกษตรกร ทำให้พริกได้ปุ๋ย ไม่สม่ำเสมอ แต่จะเห็นเด่นชัดขึ้นของปี 2550 เนื่องจากระบบทดสอบพริกมีความแข็งแรง หรือพริกมีความสมบูรณ์




จังหวัดสุพรรณบุรี ปี 2550 พบว่า ระบบเกษตรกรและระบบทดสอบ ระบบเกษตรกรได้ผลผลิต 1,406.20 กิโลกรัม/ไร่ ผลตอบแทน 12,220.96 บาท/ไร่ เปอร์เซ็นต์ผลผลิตดี 99.7 ขนาดความยาวผล 3.82 เซนติเมตร การวิเคราะห์สารพิษตกค้างพบสารพิษตกค้างไม่เกินค่า MRL ได้แก่ Chlorpyrifos 0.01 mg/kg Dimethoate 0.02 mg/kg ส่วนระบบทดสอบได้ผลผลิต 1,513 กิโลกรัม/ไร่ ผลตอบแทน 16,044.40 บาท/ไร่ เปอร์เซ็นต์ผลผลิตดี 99.9 ขนาดความยาวผล 4.09 เซนติเมตร การวิเคราะห์สารพิษตกค้างพบสารพิษตกค้างไม่เกินค่า MRL ได้แก่ Chlorpyrifos 0.01 mg/kg Dimethoate 0.02 mg/kg จากการทดลองปีที่ 2 เน้นความแข็งแรงของพริก หรือความสมบูรณ์ของพริกด้วยกำหนดให้มีการใส่ปุ๋ยหมักแห้งผสมกับปุ๋ยเคมี และการให้ธาตุอาหารเสริมจากน้ำหมักชีวภาพ (อุปกรณ์และวิธีการ) ทำให้ผลผลิตระบบทดสอบมีผลผลิตและเปอร์เซ็นต์ผลผลิตดีสูงกว่าระบบเกษตรกร และยังมีผลให้ขนาดความยาวผลของระบบทดสอบมีความยาวกว่าระบบเกษตรกรอย่างเห็นได้ชัดทั้งนี้ เนื่องมาจากความสมบูรณ์ของพริกแต่การวิเคราะห์สารพิษตกค้างในระบบทดสอบมีพบแต่ไม่ เกินค่า MAL ซึ่งเกษตรกรบางรายนำเข้ามาใช้ และเมื่อพิจารณาดูจากการสอบถามเกษตรกรทราบว่า ไม่มั่นใจในสมุนไพรไล่แมลง แต่บางรายมีความมั่นใจปานกลางแต่มีความมั่นใจในน้ำหมักชีวภาพสูตรผลไม้สุก และสูตรปลาหมัก




จังหวัดกาญจนบุรี ปี 2550 พบว่า ระบบเกษตรกรและระบบทดสอบ ระบบเกษตรกรได้ผลผลิต 1,557.80 กิโลกรัม/ไร่ ผลตอบแทน 15,073 บาท/ไร่ เปอร์เซ็นต์ผลผลิตดี 99.6 ขนาดความยาวผล 4.50 เซนติเมตร การวิเคราะห์สารพิษตกค้างพบสารพิษตกค้างไม่เกินค่า MRL ได้แก่ Triazophos 0.02 , 0.10 และ 0.18 mg/kg ส่วนระบบทดสอบได้ผลผลิต 1,658.20 กิโลกรัม/ไร่ ผลตอบแทน 17,737 บาท/ไร่ เปอร์เซ็นต์ผลผลิตดี 99.9 ขนาดความยาวผล 6.20 เซนติเมตร การวิเคราะห์สารพิษตกค้างพบสารพิษตกค้างไม่เกินค่า MRL ได้แก่ Triazophos 0.15 , 0.02 และ 0.37 mg/kg จากการทดลองปีที่ 2 เน้นความแข็งแรงของพริก หรือความสมบูรณ์ของพริกด้วยกำหนดให้มีการใส่ปุ๋ยหมักแห้งผสมกับปุ๋ยเคมี และการให้ธาตุอาหารเสริมจากน้ำหมักชีวภาพ (อุปกรณ์และวิธีการ) ทำให้ผลผลิตระบบทดสอบมีผลผลิตและเปอร์เซ็นต์ผลผลิตดีสูงกว่าระบบเกษตรกร และยังมีผลให้ขนาดความยาวผลของระบบทดสอบมีความยาวกว่าระบบเกษตรกรอย่างเห็นได้ชัดทั้งนี้ เนื่องมาจากความสมบูรณ์ของพริกแต่การวิเคราะห์สารพิษตกค้างในระบบทดสอบมีพบแต่ไม่ เกินค่า MAL ซึ่งเกษตรกรบางรายนำเข้ามาใช้ และเมื่อพิจารณาดูจากการสอบถามเกษตรกรทราบว่า ไม่มั่นใจในสมุนไพรไล่แมลง แต่บางรายมีความมั่นใจปานกลางแต่มีความมั่นใจในน้ำหมักชีวภาพสูตรผลไม้สุก และสูตรปลาหมัก




สรุปผลการทดลอง
ผลการทดสอบการผลิตพริกให้มีคุณภาพ คือ ปลอดภัยจากสารพิษตกค้าง จากการดำเนินงานปี 2549 เน้นให้เกษตรกรใช้สารเคมีอย่างถูกต้องและเหมาะสมใช้ตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร มีผลให้ผลผลิตมีความปลอดภัย แต่พบสารพิษตกค้างไม่เกินค่า MRL ทั้งระบบเกษตรกรและระบบทดสอบ จังหวัดสุพรรณบุรี ไม่พบสารพิษตกค้าง ทั้งระบบเกษตรกรและระบบทดสอบ จังหวัดกาญจนบุรี พบสารพิษตกค้างไม่เกินค่า MRL ระบบเกษตรกร ได้แก่ Triazophos 1.44 mg/kg Cypermethrin 0.03 mg/kg และ Chlorpyrifos 0.03 mg/kg ระบบทดสอบ ได้แก่ Triazophos 1.41 mg/kg และ Chlorpyrifos 0.03 mg/kg จากการดำเนินงานปี 2550 เน้นความแข็งแรงของพริกหรือความสมบูรณ์ของพริก (อุปกรณ์และวิธีการ) มีผลให้ผลผลิตมีความปลอดภัยแต่พบสารพิษตกค้างไม่เกินค่า MRL


จังหวัดสุพรรณบุรี
ระบบเกษตรกร ได้แก่
Chlorpyrifos 0.01 mg/kg
Dimethoate 0.02 mg/kg
ระบบทดสอบ ได้แก่
Chlorpyrifos 0.01 mg/kg
Dimethoate 0.02 mg/kg



จังหวัดกาญจนบุรี
ระบบเกษตรกร ได้แก่
Triazophos 0.02 , 0.10 และ 0.18 mg/kg
ระบบทดสอบ ได้แก่
Triazophos 0.15 , 0.02 และ 0.37 mg/kg

นอกจากนี้ผลผลิตที่ได้ปลอดภัยจากสารพิษตกค้าง การลงทุนหรือต้นทุนระบบเกษตรกรสูงกว่าระบบทดสอบผลผลิตระบบเกษตรกรต่ำกว่าระบบทดสอบ และขนาดความยาวผลพริกระบบเกษตรกรมีความยาวน้อยกว่าระบบทดสอบ




การนำไปใช้ประโยชน์
ถ่ายทอดสู่เกษตรกรร่วมกับสำนักงานเกษตรอำเภอ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น เพื่อผลิตพริกปลอดภัยจากสารพิษตกค้าง




เอกสารอ้างอิง
กรมวิชาการเกษตร. 2546. ศัตรูของพริกและการป้องกันกำจัดเกษตรดีที่เหมาะสมสำหรับพริก
และมะเขือเทศ กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หน้า 10-16

กรมส่งเสริมการเกษตร. 2542. พริกขี้หนู คำแนะนำการปลูกผักสวนครัวเอกสารคำแนะนำการปลูกพืชผักเลี้ยงสัตว์และประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

สำนักงานเกษตรจังหวัดนครปฐม. พืชสมุนไพรกำจัดแมลง. กรมส่งเสริมการเกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ออมทรัพย์ นพอมรบดี และคณะ . 2547. การควบคุมโรคพืช. เอกสารวิชาการลำดับที่ 3/2547 ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์น้ำหมักชีวภาพ (ตอนที่ 1) กองทุนสนับสนุนงานวิจัยด้านการเกษตร กรมวิชาการเกษตร ISBN: 974 – 436-334-7. หน้า 24




ที่มา  :  กรมวิชาการเกษตร









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-13 (2566 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©