-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 170 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

แฟ้มงานวิจัย26





ใช้ระบบ GAP วิจัยห่วงโซ่สินค้าเกษตรนำร่อง "พริก"
รับเปิดการค้าเสรี
 
 
...เพื่อให้ผลิตผลทางการเกษตรสามารถส่งออกได้อย่างฉลุย ในยุคเปิดการค้าเสรี (Free Trade Agreement : FTA) อาจารย์วีระ ภาคอุทัย สังกัดภาควิชาเศรษฐศาสตร์การเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ทำการวิจัย "การขยายและการพัฒนาเครือข่ายการจัดการห่วงโซ่อุปทานพริกสดปลอดภัย อำเภอเกษตรสมบูรณ์ และอำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ" ขึ้น โดยฝ่ายเกษตร สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สนับสนุนทุนวิจัย

อาจารย์ วีระ ภาคอุทัย


อาจารย์วีระ เปิดเผยว่า...พริกเป็นพืชเกษตรที่สร้างรายได้ เชื่อมโยงระดับคุณภาพชีวิตตั้งแต่พื้นที่ชุมชนเล็กๆ ไปจนถึงขั้นการส่งออก ทั้งนี้ ปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่เพาะปลูกประมาณ 474,717 ไร่/ปี ส่วนใหญ่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดย แหล่งที่ปลูกมากอยู่ในแถบจังหวัดนครราชสีมา รองลงมาคือจังหวัดชัยภูมิ มีพื้นที่การปลูกประมาณ 53,463 ไร่ ซึ่ง ผลผลิตส่วนใหญ่มุ่งส่งออกไปที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย อังกฤษ ฟิลิปปินส์ และ ญี่ปุ่น

การเก็บคัด เลือกพริก.


เพื่อเป็นการยกระดับผลผลิตทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ อีกทั้งสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภค ทีมวิจัยจึงได้ดำเนินงานศึกษาเพื่อหาแนวทางเพื่อสร้างขีดความสามารถในการผลิต "พริกสด" ในพื้นที่ อำเภอเกษตรสมบูรณ์ และ อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ โดยทำการวิเคราะห์หารูปแบบการจัดการผลผลิต เครือข่าย และช่องทางตลาดที่เหมาะสม พร้อมทั้งขยายและสร้างความเชื่อมโยงระหว่างกลุ่มเครือข่ายผู้ผลิตพริกในพื้นที่ ตลอดจนสนับสนุนการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตพริกปลอดภัยภายใต้ระบบ GAP (Good Agricultural Practice)


สำหรับการวิจัย เริ่มจาก วิเคราะห์หารูปแบบ ขั้นตอนในการผลิต ด้วยการให้เกษตรกรใช้น้ำจากแหล่งที่สะอาดปราศจากสารพิษ ปรับปรุงดินไม่มีเชื้อโรค และสารพิษตกค้างสำหรับปลูกพืช ทำปุ๋ยหมักปุ๋ยชีวภาพใช้เอง เก็บและใช้สารเคมีอย่างถูกต้องตามคำแนะนำที่ปลอดภัย สำรวจศัตรูพืชและป้องกันกำจัดอย่างถูกต้อง อบรมวางแผนควบคุมความเสี่ยงเพื่อให้ผลผลิตมีความปลอดภัยได้คุณภาพ เก็บเกี่ยวผลผลิตถูกเวลาและถูกวิธี ขนย้ายและเก็บรักษาผลผลิตสะอาดและปลอดภัย และจดบันทึกการปฏิบัติทุกขั้นตอน เพื่อง่ายต่อการตรวจสอบ เป็นการยกระดับด้านปริมาณและคุณภาพ สร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภค


ผลผลิตที่ได้ คุณภาพปลอดสารตกค้าง.

...หลังสิ้นสุดโครงการวิจัย พบว่า เกษตรกรเข้าใจความต้องการของตลาด เห็นถึงความสำคัญการผลิตในระบบปลอดภัย ซึ่งวัดได้จากการเกิดเครือข่ายกลุ่มเกษตรกร ผู้ปลูกพริกปลอดภัยเพิ่มขึ้นรวม 271 ราย ได้รับเครื่องหมายรับรองมาตรฐาน Q จำนวน 141 ราย (52 เปอร์เซ็นต์) เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการสามารถผลิตพริกปลอดภัยที่ได้มาตรฐาน GAP (Good Agricultural Practice) เพิ่มขึ้นไร่ละ 50 กิโลกรัม สามารถขายพริกสดในช่วงฤดูแล้ง สายพันธุ์ลูกผสม ได้ราคาที่สูงกว่าพริกทั่วไปประมาณกิโลกรัมละ 3-8 บาท ที่สำคัญ ตลาดแถบอเมริกา ยุโรป และอาเซียนหลายประเทศ ต่างให้ความสนใจพริกสดคุณภาพจากพื้นที่จังหวัดชัยภูมิมากขึ้น


การวิจัยพัฒนาเครือข่ายห่วงโซ่ฯ นอกจากช่วยให้เกษตรกรสามารถผลิตสินค้าเกษตรตอบสนองความต้องการกลุ่มผู้บริโภคได้อย่างปลอดภัย ยังเป็นการยกระดับให้มีคุณภาพมาตรฐานสามารถแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านได้ในยุคการค้าเสรี.

เพ็ญพิชญา เตียว



แหล่งที่มา :  ม.ขอนแก่น









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-13 (1448 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©