-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 188 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

แฟ้มงานวิจัย19





 เทคนิคการให้ปุ๋ยสูตรสั่งตัด 

รศ.ดร.พีระเดช  ทองอำไพ เขียนในคอลัมน์ เกษตรยุคใหม่ ว่า

          
ยุคที่ปุ๋ยแพงอย่างวันนี้ ก็เลยมีหลายหน่วยงานออกมาทำหน้าที่ให้คำแนะนำต่างๆ เพื่อเป้าหมายในการลดอัตราการใช้ปุ๋ยลง มีทั้งแบบที่เอาผลงานเก่าๆ หลายปีมาแล้วมาปัดฝุ่นใหม่ หรือบางทีละเลยการสร้างองค์ความรู้ด้านนี้ไปนาน แล้วก็พยายามใช้แนวคิดเก่าๆ มาแนะนำเพื่อให้ไม่ตกกระแส แต่ทั้งหมดนี้ ไม่น่าจะนำไปสู่การแก้ปัญหาได้อย่างแท้จริง  
         
มีงานส่วนหนึ่งที่ทำโดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เริ่มมาเมื่อ 2 ปีที่แล้ว โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนวิจัยแห่งชาติ (สกว.) มี ศ.ดร.ทัศนีย์ อัตตะนันทน์ เป็นหัวหน้าโครงการ นั่นก็คือการจัดการธาตุอาหารของข้าว โดยอาศัยค่าการวิเคราะห์ดินเป็นหลัก หรือจะให้เข้าใจง่ายขึ้นก็คือ แนวคิดของการใช้ปุ๋ยตามความต้องการของพืชในดินแต่ละชนิด หากมองเปรียบเทียบกับเรื่องของเสื้อผ้า ก็เหมือนการพัฒนาวิธีการให้ปุ๋ยแบบเดียวกับการสั่งตัดเสื้อผ้าให้ตรงตามขนาดของผู้ใช้นั่นเอง แทนที่จะทำแบบเดิมคือ ตัดเสื้อโหล แล้วให้ทุกคนใส่ได้หมด ซึ่งในความเป็นจริงของโลกแล้ว ไม่ได้เป็นอย่างนั้น 
         
หลังจากที่แนวคิดนี้ได้ผ่านการพิสูจน์มาแล้วในแปลงของเกษตรกรหลายจังหวัด ก็เลยได้ข้อสรุปที่น่าสนใจคือ เราสามารถลดการใช้ปุ๋ยบางตัวลงได้ และเพิ่มธาตุอาหารบางตัวเข้าไป ปรากฏว่าต้นทุนค่าปุ๋ยลดลงไปมาก แต่ขณะเดียวกันผลผลิตกลับเพิ่มขึ้น แสดงว่าที่ผ่านมาเราใช้ปุ๋ยผิดวิธีมาโดยตลอด ทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายไปโดยเปล่าประโยชน์ แต่เมื่อก่อนปุ๋ยยังไม่แพงเหมือนปัจจุบัน ก็เลยไม่ค่อยมีใครสนใจวิธีการลดปุ๋ยแบบนี้เท่าไรนัก 
         
มาวันนี้ แนวคิดดังกล่าวเริ่มได้รับความสนใจมากขึ้น เพราะว่าได้มีการพิสูจน์มาแล้วว่าได้ผลดี ในที่สุดทางสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม  (ส.ป.ก.) จึงได้รับแนวคิดนี้ไปขยายผลในพื้นที่นาในเขตทุ่งกุลาร้องไห้ โดยตั้งเป้าหมายไว้ 2 แสนไร่ โดยใช้ความรู้ที่ได้จากการวิจัย ที่จะให้มีการวิเคราะห์ดินนาก่อน แล้วจึงใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินที่ได้สำหรับดินแต่ละชนิด ฟังดูแล้วเหมือนกับว่ายาก และชาวนาคงไม่มีทางทำได้
         
อย่าเพิ่งไปดูถูกชาวนาครับ เพราะว่าทางโครงการนี้ได้พัฒนาวิธีการต่างๆ ที่ง่ายและสามารถทำได้ด้วยตัวเกษตรกรเอง โดยไม่ต้องส่งไปให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาช่วยให้คำแนะนำ ดังนั้นเริ่มตั้งแต่เกษตรกรสามารถใช้เครื่องมือวิเคราะห์ดินอย่างง่ายและรู้ผลเร็วภายในไม่เกินครึ่งชั่วโมง ประกอบกับตารางคำแนะนำอัตราการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินที่ได้ และมีคู่มือช่วยในการบอกชุดดินอีกว่า ดินที่นำมาวิเคราะห์นั้นอยู่ในชุดดินอะไร และยิ่งไปกว่านั้น ตอนนี้ถึงขั้นที่เกษตรกรโทรสอบถามได้แล้วว่าดินของตัวเองเป็นดินชุดอะไรผ่านทางโทรศัพท์มือถือ ซึ่งเอาไว้วันหลังจะเล่าให้ฟังครับ
         
หลังจากที่ได้เริ่มโครงการขยายผลที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ปรากฏว่าทาง ส.ป.ก.เห็นลู่ทางขยายผลต่อไปอีก จึงได้เปิดโครงการเพิ่มผลผลิตข้าวและลดต้นทุนการผลิตในเขตพื้นที่ของ ส.ป.ก. ในภาคกลางและภาคเหนือตอนล่าง โดยรวมแล้วมีพื้นที่เป้าหมาย 1 ล้านไร่ โดยที่จะให้มีการลดต้นทุน 2-3 อย่าง คือเรื่องของเมล็ดพันธุ์ ลดการเผาฟาง และที่สำคัญคือการจัดการปุ๋ยโดยอาศัยค่าวิเคราะห์ดินตามองค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยของ ศ.ดร.ทัศนีย์เป็นหลัก ร่วมกับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ต่างๆ โดยที่โครงการนี้จะเริ่มเปิดตัวในวันที่ 23 พฤษภาคมนี้ ที่ จ.สุพรรณบุรี
          
หลังจากนั้นอีกไม่นาน เราก็จะได้ทราบกันว่าในพื้นที่ 1 ล้านไร่นี้ จะลดต้นทุนทั้งค่าปุ๋ยและค่าเมล็ดพันธุ์ และเพิ่มผลผลิตได้คิดเป็นเงินแล้วมากขนาดไหน เพื่อที่จะได้ขยายผลไปที่อื่นๆ อีกต่อไป คิดง่ายๆ จากข้อมูลเดิมที่มีอยู่ ในบางพื้นที่ภาคกลางสามารถลดต้นทุนได้ไร่ละกว่า 500 บาท ดังนั้นถ้าทำถึง 1 ล้านไร่ ก็คาดได้ว่าต้นทุนน่าจะลดได้ถึง 500 ล้านบาทเป็นอย่างต่ำครับ
          
สนใจการให้ปุ๋ยแบบสั่งตัด ไปฟังได้ครับ ที่ห้องสุธรรม อารีกุล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) บางเขน ในวันที่ 2 มิถุนายนนี้ ทางสมาคมสื่อมวลชนเกษตรแห่งประเทศไทยร่วมกับ มก.และสมาคมปุ๋ยฯ จัดสัมมนาขึ้นมาทั้งวัน งานนี้ฟังฟรีครับ แจ้งชื่อได้ที่โทร.0-2940-5425-6


ที่มา  :  ม.เกษตร บางเขน









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-13 (1686 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©