-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 312 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

แฟ้มงานวิจัย17





ปลูกถั่วแทนการเผาซากอ้อย ลดโลกร้อน เพิ่มรายได้

หนุนชาวไร่เลิกเผาซากอ้อย หันปลูกถั่วให้เมล็ดแทน ผลวิจัยชี้ ดินอุดมสมบูรณ์ขึ้น ชาวไร่มีรายได้เพิ่ม ประหยัดค่าปุ๋ย ลดภาวะโลกร้อน 


         การปลูกอ้อยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยจะปลูกในช่วงเดือนตุลาคม–เดือนธันวาคม และจะเก็บเกี่ยวในช่วงเดือนธันวาคม–เดือนเมษายน ภายหลังการเก็บเกี่ยว เกษตรกรจะทำการเผาซากอ้อย ซึ่งจะทำให้พื้นที่ปลูกถูกปล่อยว่างไว้เป็นเวลา 6-8 เดือน แล้วจึงจะเริ่มปลูกอ้อยใหม่อีกครั้งในเดือนตุลาคม


         เนื่องจากการเผาซากอ้อยส่งผลกระทบด้านลบต่อความอุดมสมบูรณ์ของดิน ทำให้ดินสูญเสียอินทรียวัตถุและธาตุอาหารบางชนิด และยังเป็นการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่สิ่งแวดล้อม จึงมีการรณรงค์ให้เกษตรกรงดการเผาซากอ้อยในช่วงปล่อยแปลงว่าง ควบคู่ไปกับการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชตระกูลถั่วสำหรับทำเป็นปุ๋ยพืชสดแทน


         อย่างไรก็ดี แต่เดิมพืชตระกูลถั่วที่ปลูกในแปลงอ้อย เช่น ครามขน โสนอาฟริกัน ปอเทือง ส่วนใหญ่เป็นพืชที่ใช้ทำปุ๋ยพืชสด ซึ่งปลูกแล้วไถกลบ จึงไม่ช่วยเพิ่มรายได้ และไม่เป็นที่ยอมรับในเกษตรกรรายย่อยที่มีรายได้น้อย การปลูกพืชตระกูลถั่วที่ให้เมล็ด เช่น ถั่วลิสง และถั่วเหลืองจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง เพราะสามารถสร้างรายได้เสริมให้แก่เกษตรกร ช่วยปรับปรุงคุณภาพดิน ทำให้สามารถลดค่าใช้จ่ายในการซื้อปุ๋ยเคมีได้อีกด้วย


          น.ส. เสาวคนธ์ เหมวงษ์ นักศึกษาปริญญาเอกสาขาพืชไร่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และนักศึกษาโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.) รุ่นที่ 4 ภายใต้การดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษา อ.ดร. บรรยง     ทุมแสน ศึกษาพบว่า การงดเผาซากอ้อยควบคู่ไปกับการปลูกพืชตระกูลถั่วในช่วงรอปลูกอ้อยใหม่ เป็นการช่วยเพิ่มผลผลิตอ้อยเมื่อเทียบกับวิธีการที่เกษตรกรปฏิบัติอยู่เดิม คือปล่อยแปลงว่างและไถพรวนเป็นระยะๆ นอกจากนี้การปลูกพืชตระกูลถั่วยังทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ขึ้นกว่าเดิม เพราะทำให้ดินมีไนโตรเจนสูง ทำให้เกษตรกรลดรายจ่ายในการซื้อปุ๋ยเคมี เพราะสามารถลดจำนวนการใส่ปุ๋ยเคมีให้อ้อยจาก 2 ครั้งเหลือเพียง 1 ครั้งโดยที่ผลผลิตไม่ลดลง


          “หลังจากใส่ซากถั่วเหลืองหรือถั่วลิสงลงไปในแปลงขณะเพาะปลูกอ้อย เราพบว่าอ้อยในช่วงอายุ 6 เดือนแรกเติบโตใกล้เคียงกับการใส่ปุ๋ยเคมีไนโตรเจน แต่ให้ผลดีกว่าในด้านการบำรุงรักษาดิน เนื่องจากการใส่ปุ๋ยเคมีจะทำให้ดินสูญเสียไนโตรเจนได้ง่าย โดยเฉพาะดินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งเป็นดินทราย” น.ส.เสาวคนธ์ กล่าว


         “โอกาสในการนำงานวิจัยไปใช้มีความเป็นไปได้สูงหากได้รับการส่งเสริมและมีการพัฒนาเครื่องมือตัดใบอ้อยและไถพรวนซากใบอ้อยและซากถั่ว และได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชนในการรณรงค์ลดการเผาซากอ้อย ควบคู่ไปกับส่งเสริมการปลูกพืชเศรษฐกิจชนิดอื่นในช่วงรอปลูกอ้อยใหม่ โดยเฉพาะถั่วเหลืองและถั่วลิสงที่มีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมอาหาร ทั้งคนและสัตว์ ที่ยังไม่เพียงพอต่อการบริโภค” นักวิจัยกล่าว



แหล่งที่มา :  ฝ่ายสื่อสารสังคม-ม.ขอนแก่น









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-13 (1801 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©