-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 286 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

แฟ้มงานวิจัย14





ปลูกปาล์มขาดน้ำมีสิทธิ์ 'เจ๊ง'
ชี้ฝนเหมาะสม 2,000 มม./ปี

นักวิจัยระบุชัดปาล์มน้ำมันเป็นพืชต้องการน้ำมาก ชี้หากปลูกในพื้นที่ปริมาณน้ำฝนต่ำกว่า 2,000ม.ม./ปี และฝนทิ้งช่วงติดต่อกันนาน3 เดือน ผลผลิตต่อไร่จะต่ำกว่าปกติ เกษตรกรมีสิทธิ์ เจ๊ง แนะจัดการระบบให้น้ำให้ปุ๋ยด้วยเทคโนโลยี

จากการที่ภาวะราคาน้ำมันในตลาดโลกได้ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อ 8 มิ.ย.47 ให้การใช้พลังงานทดแทนเป็นวาระแห่งชาติ ได้แก่พลังงานแสงอาทิตย์ แก๊ซโซฮอล์ และไบโอดีเซล โดยวัตถุดิบสำคัญที่จะใช้ผลิตไบโอดีเซลก็คือปาล์มน้ำมัน ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะได้วางแผนพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันปี 2548-52 เพื่อรองรับแผนส่งเสริมการใช้ไบโอดีเซลของรัฐบาลไว้แล้ว แต่ในซีกเกษตรกรเองนั้นปฏิเสธไม่ได้ว่าสนใจปลูกปาล์มกันทั่วทุกภาคของประเทศไทยตั้งแต่ภาคใต้จนถึงภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้หลายฝ่ายมีความวิตกว่าการปลูกปาล์มในพื้นที่น้ำน้อยอย่างภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะให้ผลผลิตไม่คุ้มค่า


นายธีระพงศ์ จันทรนิยม อาจารย์ประจำคณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งได้รับการสนับสนุนวิจัยโครงการผลของการให้น้ำต่อการเพิ่มผลผลิตปาล์มน้ำมัน จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ผลของการวิจัยระบุว่าปาล์มน้ำมันเป็นพื้นที่ต้องการน้ำฝนในปริมาณที่สูง หรือในสภาพพื้นที่ที่มีปริมาณน้ำฝนมากกว่า 2,000ม.ม./ปี และมีฝนตกทุกเดือน หากพื้นที่ที่มีปริมาณน้ำฝนต่ำกว่านี้ทั้งยังเกิดภาวะฝนทิ้งช่วงติดต่อกันประมาณ 3 เดือน จะทำให้ได้ผลผลิตปาล์มลดลงทันที


"พื้นที่ภาคอีสานสามารถปลูกปาล์มน้ำมันได้ แต่อาจจะไม่ใช่ทุกส่วนของพื้นที่ และถ้าหากมีการปลูกต้องมีการดูแลเรื่องน้ำอย่างดี เพราะหากต้นปาล์มขาดน้ำจะกระทบต่อ ผลผลิตต่อไร่ลดลง และน้ำหนักทะลายปาล์มลดลง 10-15% ซึ่ง เกษตรกรอาจจะประสบปัญหาขาดทุนได้ ดังนั้นการเลือกพื้นที่ปลูกปาล์มจึงมีความจำเป็นมาก เพราะต้นปาล์มมีอายุการเก็บเกี่ยวร่วม 20 ปี หากเลือกทำเลไม่เหมาะสมนั่นหมายความว่าจะสูญเสียโอกาสเป็นระยะเวลานาน "นายธีระพงศ์กล่าว และว่า
เรื่องของพันธุ์ปาล์มเป็นสิ่งสำคัญเช่นเดียวกัน พันธุ์ปาล์มที่ดีแต่ไปปลูกในพื้นที่ไม่เหมาะสมน้ำไม่เพียงพอผลผลิตต่อไร่อาจลดลง แต่เมื่อมีการเพิ่มปัจจัยของการให้น้ำจะทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นตามศักยภาพของพันธุ์


นายสมเกียรติ สีสนอง อาจารย์คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง ซึ่งได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับการจัดการระบบการให้น้ำและปุ๋ยทางระบบน้ำเพื่อเพิ่มผลผลิตปาล์มน้ำมัน ระบุว่าพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันที่มีการจัดการด้านการให้ปุ๋ย การให้น้ำ รวมทั้งการจัดการแปลงด้านอื่นที่เหมาะสม จะทำให้ได้ผลผลิตต่อไร่ที่สูงขึ้นที่ระดับ 4 ตัน/ไร่/ปี ต้นทุนการผลิตจะอยู่ที่ 0.72 บาท/กก. ขณะที่ผลผลิตเฉลี่ยของประเทศอยู่ที่ 2.72 ตัน/ไร่/ปี ต้นทุนการผลิตอยู่ที่ 1.52 บาท/กก. ส่วนผลผลิตเฉลี่ยทั้งประเทศของมาเลเซียอยู่ที่3.01ตัน/ไร่/ปี ต้นทุนการผลิตอยู่ที่ 0.70-1.00บาท/กก.


"ปาล์มน้ำมันเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ และพื้นที่ปลูกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ทั้งขยายจากพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการปลูก ไปจนถึงพื้นที่ที่มีข้อจำกัดตั้งแต่เล็กน้อย จนถึงพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมต่อการปลูก ดังนั้นพื้นที่ปลูกเพื่อให้ได้ผลผลิตต่อไร่สูงจะต้องมีการจัดการทั้งดิน น้ำและปุ๋ย ให้ครอบคลุมทุกส่วน ผลผลิตปาล์มน้ำมันจึงจะมีศักยภาพแข่งขันกับต่างประเทศได้"

นายสมเกียรติ ได้แนะวิธีการให้น้ำและปุ๋ยปาล์มน้ำมันแบบทางระบบน้ำ ซึ่งเป็นการให้ปุ๋ยที่สามารถละลายไปพร้อมกับน้ำ โดยใช้แบบหยดหรือมินิสปริงเกอร์ ซึ่งจะเป็นการช่วยลดการสูญเสียการชะล้างทำให้เกิดประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยและน้ำ และช่วยเพิ่มผลผลิตต่อไร่ในที่สุด
 

ที่มา  :  ม.สงขลานครินทร์









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-13 (1560 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©