-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 204 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

แฟ้มงานวิจัย13





เทคโนโลยียืดอายุผัก-ผลไม้ ฝีมือคนไทย ก้าวไปอีกขั้น 
  
  หลายคนที่ออกจ่ายตลาด คงเคยสักครั้งที่จะหัวเสียกับผัก-ผลไม้ของเรา ซึ่งดันมาชิงเน่าเสียก่อนที่เราจะเอามากิน ทั้งที่เราก็ตั้งใจเจียดเงินเจียดเวลาไปซื้อมา แต่นั่นก็เป็นเพียงตัวอย่างความเสียหายเล็กๆ น้อยๆ เท่านั้น เพราะคงไม่มีความเสียหายมากเท่าไรนัก
       
        กระนั้น ทราบไหมว่า ปีหนึ่งๆ ประเทศไทยต้องพบกับความสูญเสียเกี่ยวกับเรื่องผลิตผลเน่าเสียในภาคการส่งออกผัก-ผลไม้ถึงประมาณปีละ 10,000 ล้านบาททีเดียว เป็นตัวเลขที่ไม่น้อยเลยใช่ไหม
       
        หลายสถาบันทั้งภาครัฐ-เอกชน จึงตระหนักถึงความเสียหายที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นนี้ และช่วยกันพัฒนาองค์ความรู้เพื่อการเก็บรักษาผัก-ผลไม้ให้สามารถยืดอายุได้นานขึ้น โดย รศ.ดร.สมชาย กล้าหาญ จากภาควิชาพืชสวน คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง(สจล.) ก็เป็นหนึ่งในบุคคลเหล่านั้น
       
        ทั้งนี้ กลไกตามธรรมชาติที่สำคัญอันส่งผลต่อการแห้งเหี่ยว และเน่าเสียของผัก-ผลไม้ก็คือ เมื่อเราเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว เราไม่มักเอะใจว่า ผัก-ผลไม้ยังมีชีวิตเหมือนครั้งอยู่บนต้นหรือไม่ ซึ่งแท้ที่จริงแล้ว กระบวนการหายใจและคายน้ำของพืชยังคงมีอยู่ และในอัตราที่ไม่น้อยเลย
       
        คงจะพอนึกภาพออกใช่ไหม เวลาที่กล้วยหอมซึ่งเราแขวนไว้ในครัว ค่อยๆ เหลืองขึ้นเรื่อยๆ ผิวเริ่มเหี่ยวลง กลิ่นออกฉุน ไม่น่ากิน นั่นก็เป็นเพราะกระบวนการหายใจและคายน้ำของผัก-ผลไม้นั่นเอง
       
        เมื่อทราบดังนี้แล้ว รศ.ดร.สมชาย จึงพยายามหาวิธีหยุดยั้งขบวนการดังกล่าวของพืชให้อยู่ในระดับสมดุลที่สุดเท่าที่จะทำได้ ด้วยการควบคุมปริมาณก๊าซออกซิเจน ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซเอทธิลีน (ตัวเร่งให้เกิดการเน่าเสีย) และความชื้นภายในบรรจุภัณฑ์ เพื่อบรรเทาไม่ให้ผัก-ผลไม้เกิดความเสียหายมากเกินจำเป็น
       
        วิธีดังกล่าว คือ เมื่อใส่ผัก-ผลไม้ และสารดูดความชื้นและสารดูดก๊าซเอทธิลีนลงในถุงพลาสติกใสแบบโพลีเอทธิลีนแล้ว ก็นำมาผ่าน “เครื่องบรรจุสุญญากาศและเติมปริมาณก๊าซ” ที่ได้คิดค้นขึ้น เพื่อปรับสภาพอากาศภายในบรรจุภัณฑ์ให้เป็นสุญญากาศก่อน จากนั้นจึงเติมก๊าซออกซิเจนในปริมาณที่พอเหมาะคือ 5 psi และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 10 psi ลงไปแทน แล้วจึงให้เครื่องปิดผนึกปากถุงแบบอัตโนมัติอีกขั้นตอนหนึ่ง
       
        รศ.ดร.สมชาย กล่าวว่า วิธีนี้จะเป็นวิธีแก้ปัญหาการเน่าเสียที่รวดเร็วของผักและผลไม้สด ซึ่งมีค่าใช้จ่ายไม่มากนัก ไม่มีสารพิษตกค้าง สะดวก และสามารถยืดอายุการเก็บรักษาและอายุการวางขายได้นานกว่าปกติ 3-30 เท่า เช่น กล้วยไข่ เก็บได้นานถึง 45 วัน ที่อุณหภูมิ 15 องศาเซลเซียส กล้วยหอมทอง 60 วัน ที่ 15 องศาเซลเซียส มังคุด 25-30 วัน ที่ 13 องศาเซลเซียส และส้มเขียวหวาน 40 วัน ที่ 13 องศาเซลเซียส
       
        “เทคโนโลยีเพื่อการส่งออกและนำเข้านี้ ถ้ามีใช้กันอย่างกว้างขวางก็จะเป็นประโยชน์ต่อภาพรวมของประเทศมาก เช่น รัฐมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการเก็บภาษีเกษตรกรและผู้ส่งออก ผู้ผลิตสามารถขายผลผลิตได้ในราคาที่เหมาะสม ไม่ประสบปัญหาขาดทุน ธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เช่น การขนส่งและบรรจุภัณฑ์มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น จนในที่สุดคุณภาพชีวิคนไทยก็จะดีขึ้นหรือมีมาตรฐานที่ดีขึ้น ที่สำคัญ การส่งออกผัก-ผลไม้ที่มีคุณภาพดียังเป็นการสร้างชื่อเสียงและเงินตราให้ประเทศ จึงสนองนโยบายรัฐบาลที่จะผลักดันประเทศไทยเป็นครัวของโลกอีกด้วย”
       
        ด้านต้นทุนการผลิตเครื่องบรรจุสุญญากาศและเติมปริมาณก๊าซ รศ.ดร.สมชาย ระบุว่า มีต้นทุนอยู่ที่ประมาณชุดละ 100,000 บาท ขณะนี้มีหลายบริษัทได้มาติดต่อเพื่อซื้อไปใช้ในภาคการผลิต แต่เขายังไม่ได้ขายให้กับรายใด อย่างไรก็ตาม มีโครงการที่จะนำเทคโนโลยีนี้ไปใช้กับการเก็บรักษาดอกไม้ อาหารสด ขนม และอาหารทะเล
       
        เทคโนโลยีชิ้นนี้จึงมีความน่าสนใจไม่น้อย และสอดคล้องกับประเทศกสิกรรมอย่างประเทศไทยได้ดียิ่ง เพื่อเป็นการยืนหยัดได้ด้วยขาของตนเองบนฐานรากที่มั่นคง อีกทั้งยังสนองนโยบาย “ครัวของโลก” อีก จึงเป็นเทคโนโลยีที่ควรได้รับการส่งเสริมและพัฒนาต่อไป


ที่มา  :  สจล.









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-13 (1538 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©