-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 320 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

แฟ้มงานวิจัย12





"เกษตรอินทรีย์" แนวคิดเพื่อสังคม
จุดเริ่มต้น "ทำเพื่อไม่ต้องทำ"
   


เป้าหมายสูงสุดอย่างหนึ่งของการช่วยเหลือสังคม หรือรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร "ความยั่งยืน" ถือเป็นคำตอบ หากแต่ต้องไม่ลืมหลายโครงการที่สามารถเดินไปสู่ความยั่งยืนได้อย่างแท้จริงนั้น "ชุมชน" และ "คนในชุมชน" เป็นส่วนสำคัญในการทำให้โครงการช่วยเหลือสังคมขององค์กรสัมฤทธิผล 
"ชุมชน" และ "ภูมิปัญญาของคนในชุมชน" ที่จะเป็นคำตอบ...ในการริเริ่มและดำเนินการโครงการต่างๆ ไปสู่ความยั่งยืน ในทฤษฎีที่ว่าด้วยการทำ CSR ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรอย่างมีกลยุทธ์ บทหนึ่ง บอกไว้ว่า "การคิดทำโครงการช่วยเหลือสังคมในโครงการอาสาสมัครของพนักงานต้องเกิดจากความต้องการของพนักงาน องค์ความรู้ที่บริษัทมีและความต้องการของชุมชนควบคู่ไปด้วยกัน"


"เกษตรอินทรีย์" ในจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นหนึ่งในแบบตัวอย่างของการต่อยอดภูมิปัญญาที่ชุมชนมี โดยองค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่เขาสนับสนุนและนำไปสู่ความยั่งยืนของชุมชนในที่สุด


เริ่มต้นที่ภูมิปัญญาชาวบ้าน

"หมู่บ้านเห็ดอินทรีย์" ต.บางงาม อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี เป็นหนึ่งแบบตัวอย่าง "วิรัตน์ นิลละม่อม" ประธานคณะกรรมการหมู่บ้านเห็ดอินทรีย์ ที่เพิ่งเริ่มต้นโครงการเกษตรอินทรีย์เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา เล่าว่า "เมื่อก่อนเราต่างคนต่างทำและมีองค์ความรู้ในเรื่องการเพาะเห็ดอยู่แล้ว แต่เมื่อแยกกันทำตลาดและราคาเห็ดก็ไม่แน่นอน พ่อค้ากดราคา แต่เมื่อมีการรวมกลุ่ม ก็สามารถกำหนดราคาได้ ทั้งยังมีการเพิ่มมูลค่าเห็ดในรูปเห็ดตะกร้า เห็ดของขวัญ เห็ดมือถือ ที่ทำให้ขายได้ราคามากยิ่งขึ้น อย่างเห็ดของขวัญต้นทุน 5 บาท เราขายได้ 25 บาท"


การที่ภาครัฐลงมาช่วยเหลือทำให้เกิดการรวมกลุ่ม ขณะเดียวกันบริษัทเอกชนหลายรายเป็นผู้รับซื้อ อาทิ ฮ็อต พ็อต สาขาสุพรรณบุรี โรงแรมศรีสุพรรณ ทำให้ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ปัจจุบันสมาชิก 30 รายของหมู่บ้านสามารถผลิตเห็ดได้ 480 ก.ก.ต่อวัน ซึ่งสามารถสร้างรายได้เฉลี่ยได้ถึง 30 บาทต่อกิโลกรัม และมีรายได้รวม 1 รุ่น หรือ 90 วัน จากการเพาะเห็ด 60,000 ถุง จะสร้างรายได้สูงถึง 1,296,000 บาท


"ข้อดีของการรวมกลุ่มคือ ทำให้ประชาชนมีโอกาสรวมตัวกันและสามารถกำหนดราคาขายได้ และยังสามารถสร้างรายได้ในช่วงเวลาว่างจากการทำนา รวมถึงมีอาหารปลอดสารพิษบริโภคภายในชุมชน" วิรัตน์กล่าว


นี่เป็นโครงการเล็กๆ ที่ "ปรีชา พรหมโชติ" เจ้าหน้าที่ส่งเสริม สำนักงานเกษตร จ.สุพรรณบุรี บอกว่า "ต่อครัวเริ่มต้นอย่างมากก็ใช้เงินลงทุนราว 10,000 บาท ในการสร้างโรงเพาะเห็ด หรือบางบ้านใต้ถุนสูงอาจจะใช้ใต้ถุนบ้าน ค่อยๆ เรียนรู้ แต่ในที่สุดชาวบ้านจะมีรายได้เพิ่มเติมซึ่งบางทีอาจจะดีกว่ารายได้หลักเสียอีก"

ทำเพื่อไม่ต้องทำ


หากจะลงลึกถึงความหมาย "เกษตรอินทรีย์" ตามนิยามของกรมวิชาการเกษตร หมายถึงระบบการผลิตที่คำนึงถึงสภาพแวดล้อม รักษาสมดุลทางธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ โดยมีระบบการจัดการนิเวศวิทยาที่คล้ายคลึงกับธรรมชาติ และหลีกเลี่ยงการใช้สารสังเคราะห์ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยเคมี สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และฮอร์โมนต่างๆ ตลอดจนไม่ใช้พืชหรือสัตว์ที่เกิดจากการตัดต่อทางพันธุกรรม การทำเกษตรอินทรีย์จึงเน้นที่การใช้อินทรียวัตถุในการปรับปรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์เพื่อให้ต้นพืชแข็งแรงและสามารถต้านทานโรคและแมลงได้ด้วยตนเอง รวมถึงการนำภูมิปัญญาชาวบ้านมาใช้ประโยชน์ด้วย


หลายเหตุผลที่ทำให้คนมองว่า "เกษตรอินทรีย์" และภูมิปัญญาชาวบ้านทำให้เกิดความยั่งยืน เพราะที่ผ่านมาการใช้สารเคมีเป็นปัจจัยการผลิตสำคัญในทางการเกษตรทำให้เกิดการลงทุนที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ราคาผลผลิตในรอบ 20 ปีที่ผ่านมาไม่ได้สูงขึ้นตามสัดส่วนของต้นทุนและมีผลให้เกษตรขาดทุนและมีหนี้สินท่วมหัว "เกษตรอินทรีย์" จึงไม่ได้เป็นเพียงทางออกที่นำไปสู่การลดต้นทุน ในด้านมูลค่าเพิ่มที่ได้จากราคาผลผลิตของเกษตรอินทรีย์ทำให้รายได้เกษตรกรสูงขึ้นเช่นกัน


ที่โรงเรียนเกษตรกรของ "ลุงทองเหมาะ แจ่มแจ้ง" แห่ง อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี ตอบโจทย์ความยั่งยืนด้วยการ "ทำเพื่อไม่ต้องทำ"


"ทำเพื่อไม่ต้องทำ" ตามความหมายของ "ลุงทองเหมาะ" หมายถึง "ตอนที่ผมทำนาเคมีผมทำงานหนัก ซื้อปุ๋ยซื้อยามาใส่ทุกปี และทำอย่างนั้นมาตลอด แต่เกษตรชีวภาพผมทำแบบไม่ต้องซื้อยาฆ่าแมลง ทำปุ๋ยชีวภาพ ยาฆ่าแมลงชีวภาพขึ้นมาใช้เอง จึงเรียกว่าทำเพื่อไม่ต้องทำ"

ไม่เพียงใช้ภูมิปัญญาในการคิดค้นปุ๋ยชีวภาพ ยาฆ่าแมลง และคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ข้าว และกรรมวิธีคัดพันธุ์ข้าวและปลูกข้าวด้วยปุ๋ยอินทรีย์เพื่อให้ลืมสารเคมีซึ่งเป็นหัวใจสำคัญ


จากเคยทำนาเป็น 100 ไร่เมื่อสมัยก่อน และมีโรงสีข้าวที่สีเพื่อส่งออกจนสร้างหนี้ให้กับ "ลุงทองเหมาะ" กว่า 7 ล้าน ปัจจุบันเมื่อหันมาสู่เส้นทางเกษตรอินทรีย์ ที่นาเพียง 30 ไร่ โรงสีที่สีครั้งละ 10 ถัง ซึ่งใช้แรงงานเพียงตัวเองและภรรยา กลับทำให้เขาเริ่มที่จะหาเงินมาชำระหนี้ด้วย "การขายข้าวอินทรีย์" ที่ได้ราคาสูงกว่าราคาข้าวทั่วไป


"เกษตรอินทรีย์ทำขายได้ เพียงแต่คนจะเข้าใจมั้ย ถ้าสามารถทำจุลินทรีย์เองได้ในปีแรกๆ ผลผลิตอาจจะได้สูง 60 ถังขึ้นไปถึง 80 ถัง แต่สิ่งที่จะได้กลับมาคืนกำไรด้านสุขภาพ"

การเริ่มต้นโครงการช่วยเหลือด้วยภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีอยู่ สามารถต่อยอดและสร้างความ "ยั่งยืน" ได้อย่างเหลือเชื่อ !!

ที่มา  :  ผู้จัดการ

********************************************************************************************************************

"เกษตรอินทรีย์" แนวคิดเพื่อสังคม จุดเริ่มต้น "ทำเพื่อไม่ต้องทำ"

"เกษตรแบบอินทรีย์นำ-เคมีเสริม-ตามความเหมาะสม" 
สู่แนวทาง "ลงทุนเพื่อลดต้นทุน"



ความเหมือนที่แตกต่าง

จุดมุ่งหมายของการทำเกษตรกรรมในกลุ่มผู้ปลูกพืช  ย่อมมีความแตกต่างกันออกไป คือ ปลูกกิน ปลูกขาย (ส่งออกหรือในประเทศ) การนำเอาองค์ความรู้ของการเกษตรมาปรับใช้กับตนเองย่อมมีความแตกต่างเช่นเดียวกัน ใช่หรือไม่


"เกษตรอินทรีย์" เป็นแนวทางหนึ่งที่ได้รับกระแสการส่งเสริมของทางภาครัฐ และผู้บริโภคผู้รักสุขภาพ เกษตรกรผู้ไม่มีความเข้าใจในพืชที่ตนเองเพาะปลูก  จึงหันหน้าเข้าสู่เกษตรอินทรีย์กันแบบผิดๆ


"ปราชญ์ชาวบ้าน-เกษตรกรดีเด่น"  คุณคือผู้ได้รับการยกย่องว่าดีเด่นในเรื่องของการทำเกษตร แต่คุณไม่มีความรู้ในเรื่องของเกษตร  คุณไม่เคยรู้ตัวเอง  แล้วคุณก็ได้แต่เที่ยวไปสอนบุคคลทั่วไปว่าแบบนี้มันดี  มันถูกต้อง  มันใช้ได้ สุ  ดท้ายก็หนีไม่พ้น "สุนัขหางด้วน"  เช่น  น้ำหมักชีวภาพที่เต็มไปด้วยหนอน  คุณก็บอกว่าดี  ถ้าไม่มีหนอนแสดงว่าใช้ไม่ได้  หนอนมีโปรตีน ไม่เห็นบอกวิธีการแก้ไขที่ถูกต้อง 

เช่น .... ส่งเสริมการทำไบโอดีเซล  แบบเขย่าขวดใช้เองในครัวเรือน  พอผมย้อนถามว่ารถยนต์คุณกล้าเติมหรือเปล่า  กับอึกอักๆ บอกว่ามันยังไม่บริสุทธิ์พอที่จะใช้   ใช้ได้แต่เครื่องยนต์สูบเดียว  สุดท้ายก็แอบเห็น  หยิบแกลลอนน้ำมันดีเซลไปเติมเครื่องสูบน้ำในสวน 


เช่น .... ส่งเสริมการทำสบู่  แชมพู  น้ำยาล้างจานใ  ช้เอง เพื่อให้เกษตรกรลดรายจ่าย  ผมเห็นก็คุณให้แต่ผู้ที่มาอบรมนั่นแหละใช้   แต่ห้องน้ำส่วนตัว ในครัวของคุณ  คุณก็ซื้อในท้องตลาดมาใช้ทั้งนั้น


เช่น .... โครงการ 5 ไร่แก้จน  โดยการกู้เงิน ธกส. มาซื้อที่ดินในราคา 1 ล้านบาท แล้วคุณบอกคุณจะทำเกษตรอินทรีย์บนที่แห่งนี้  เอามาใช้หนี้ ธกส.  โดยไม่เอาเงินนอกมาช่วย  ผมอยากบอกว่าถ้าคุณไม่มีค่าวิทยากร  เก็บค่าอบรมผู้มาเรียนรู้  หรือมีงบช่วยเหลือจากหน่วยงานรัฐ  ไม่มีทางเป็นไปได้ โดนยึดตั้งแต่ปีแรกแล้ว


เช่น .... ฯลฯ


แล้วทั้งหมดทั้งปวงนี้  ทำไปเพื่ออะไร   มันก็เป็นแค่เพียงการสร้างภาพอิงกระแส ให้เกิดความดูดีใช่หรือไม่


เมื่อประมาณอาทิตย์ก่อน  เกษตรตำบลติดต่อเข้ามาหาผม   บอกว่าจะส่งผมเข้าประกวดเป็น  "เกษตรกรดีเด่น ประจำอำเภอ"   ผมรู้ตัวเองดีว่า  ผมไม่มีอะไร  แล้วจะส่งผมไปประกวดทำไม  ได้แต่ภาวนาในใจว่าอย่าได้ติดอันดับเลยนะ  เพราะถ้าได้ขึ้นมาละก้อ... คุณลองคิดดู  ผมมีความรู้เรื่องการเกษตรแค่หางอึ่ง  ยังจะได้เป็นเกษตรกรดีเด่น  แล้วพวกที่มีตำแหน่งเป็น  "เกษตรกรดีเด่น-ปราชญ์ชาวบ้าน"  ในปัจจุบันน่ะ  มีอะไร  


กลับมาตั้งสติดีๆ เถอะครับพวกเรา   เริ่มต้นที่ตัวเราก่อน  จะเดินไปสู่หนทางไหน ที่ผ่านมาผมไม่มีความรู้  ผมก็เข้าใจว่ามันถูกต้อง   แต่มาวันนี้มันไม่ใช่แล้วครับ   ผมค้นพบสิ่งที่มัน  "ใช่กว่า-ถูกต้องกว่า-เหนือกว่า"   อยู่ในการทำเกษตรแบบ "อินทรีย์นำ-เคมีเสริม-ตามความเหมาะสม" .... "ลงทุนเพื่อลดต้นทุน"



ott_club

************************************************************************************************************************


ก็เคยเจอเหมือนกันนะ....


เป็นคณะมาที่ชมรมสีสันชีวิตไทย สี่แยกบางแพ  ราชบุรี  แนะนำตัวเองซะโก้ว่าเป็น เกษตรกรดีเด่นระดับชาติ  เป็นปราชญ์ชาวบย้าน.....มาขอสูตร  "ยูเรก้า"  ลุงคิมบอก  "ไม่เคยหวง"  ว่าแล้วก็แกะฉลากข้างแกลลอนยูเรก้า.ที่วางขายให้ไปเลย..... ปราชญ์ชาวบ้านรับไปอ่าน  ซักครู่ถามออกมาว่า  "แมกเนเซียม คือ อะไร ?" 


ลุงคิมได้ยินคำถามแล้วออกจะงงๆ  เลยถามย้อนไปว่า  "เฮ่..  คุณเป็นถึงปราชญ์ชาวบ้าน  เป็นเกษตรกรดีเด่นระดับชาติ  แต่คุณไม่รู้จักแม็กเนเซียม..."  ก็ไม่ได้ตอบไปหรอกว่าแม็กเนเซียม คือ อะไร


เมื่อคราวไปบรรยายที่ อ.โพธิ์ทะเล จ.พิจิตร.  ที่นั่นก็มี  "ปราชญ์ชาวบ้าน-เกษตรกรดีเด่น" (ผู้จัดแนะนำ) ของจังหวัดมาฟังด้วย..... ช่วงบรรยายหนึ่งพูดถึง  "กรด + ด่าง = เกลือ + น้ำ"  มีการกล่าวนำตามหลักวิชาเคมีเบื้องต้นเล็กน้อยก่อนแล้วจึงแปลภาษาวิชาการเป็นภาษาชาวบ้าน  พร้อมกับใช้หลักการสอนแบบ  "ปฎิบัตินำทฤษฎี"  บอกวิธีปรับสภาพน้ำก่อนแบบง่ายๆ  เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านว่า....ให้ใส่น้ำส้มสายชูชนิด 5 %  อัตรา 1 ซีซี./น้ำ 1 ล.  ถ้าน้ำ 100 ล.ก็ใส่น้ำส้มสายชูลงไป 100 ซีซี.  ใส่แล้วคนให้เข้ากัน ......  ปราชญ์ชาวบ้านบอกว่า  หลักวิชาการนี้สูงมาก ชาวบ้านรับไม่ได้  ปรับตัวไม่ทัน  ..... ลุงคิมหัวเราะ แล้วตอบไปว่า  ไม่สูงหรอก  วิชาการทุกวิชามันสูงเท่าเดิม  เพียงแต่เราเรียนไม่ถึงเองต่างหาก  คุณเป็นปราชญ์ ปราชญ์แปลว่า  ผู้รู้  ในเมื่อคุณไม่อ่านหนังสือ  แล้วคุณจะเป็นผู้รู้ได้ไง  สอนแบบวิชาการแล้วไม่เข้าใจก็เปลี่ยนการสอนมาเป็นแบบปฏิบัติ  ทำให้เห็นกับตา แบบนี้ชาวบ้านคนไหนไม่เข้าใจบ้าง  ..... ไม่มีใครบอกไม่เข้าใจ  ทั้งๆที่ไม่รู้เรื่อง


อีกคราวที่ไร่กล้อมแกล้ม  ยื่นนามบัตรแนะนำตัวเองให้ลุงคิมรู้จัก  นามบัตรใบนั้นใส่ตำแหน่งสารพัด  ตั้งแต่ 

เกษตรดีเด่นระดับจังหวัด....
ปราชญ์ชาวบ้าน....
หมอดินอาสา....
ผู้นำการเกษตรแบบผสมผสานหมู่บ้าน....
อสม. ...
คนดีศรีจังหวัด ฯ ....
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ....
สมาชิก อบต. ....
กรรมการศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีประจำตำบล ....
วิทยากรพิเศษ....
ผู้จัดการสวนเกษตรทฤษฎีใหม่....

จำได้แค่นี้ (ว่ะ)


วันนั้นโปรแกรมสอนให้รู้จัก  "ธาตุอาหารพืช"  ว่าที่จริงก็คือ  "ปุ๋ยสำหรับพืช"  เมื่อเราจะทำปุ๋ยก็ต้องให้ได้ธาตุอาหารสำหรับให้พืชกิน  ก่อนเริ่มสอนวิธีทำ  "ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง"  ......ประเด็นอยู่ที่คำถาม  คนสารพัดตำแหน่งถามว่า  "ทำไมธาตุอาหารพืช ถึงได้เยอะจัง  ใครจะจำได้หวาดไหว....?"  ลุงคิม (ขำในใจ) ไม่รู้จะอธิบายยังไง  ก็เลยยกตัวอย่างเปรียบเทียบกับ  "อาหารคน"  ว่ามี  กี่อย่าง  กี่ตัว


แม้แต่ที่โครงการคลื่นลูกใหม่ ที่ ม.ธรรมศาสตร์ รุ่นหลังสุด 1,000 คน  ระหว่างแนะนำ  "ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง"  ลุงคิมถามในห้องว่า  "ใครทำน้ำหมักแล้วเกิดอาการเหม็นเน่า  ชนิดเหม็นแปดบ้านบ้าง  ?  กว่าครึ่งห้องยกมือ   ลุงคิมถามต่อ  "ใครสอนให้ทำ"  คำตอบเดียวกันว่า  "เกษตร"  ซึ่งคงหมายถึงเจ้าหน้าที่ส่งเสริมเกษตร  ซึ่งก็นั่งอยู่ข้างๆ นั่งติดก้นนั่นแหละ

ลุงคิม (ส่ายหัว) แล้วว่า  เกษตรกรขวนขวาย อยากรู้ อยากเรียน อันนี้ต้องชมเชย  แต่ที่สงสัย คือ คนสอน  เอาอะไรไปสอนเขา  ทำแล้วเน่าเหม็นแปดบ้าน  นั่นมันเชื้อโรค ไม่ใช่ปุ๋ย  ขี้วัว ขี้ควายยังไม่เหม็นอย่างนี้.....คุณมี  "ขีด" บนบ่า  ผมมี  "ดาว"  บนบ่า  เราเป็นราชการเหมือนกัน มีเป้าหมายอยู่ที่เกษตรกรเหมือนกัน  ผมเป็นรุ่นพี่คุณ  คุณพิจารณาตัวเองว่า  คุณเอาอะไรไปสอนเขา


ยังมีอีกหลากหลายตัวอย่าง  นี่เฉพาะชาวบ้าน ตาสี ตาสา ยายมา ยายแม้น  เท่านั้นนะ  ยังไม่รวมปัญญาชนระดับ  ปวช.  ปวส. ปริญญาตรี  ที่กำลังศึกษาด้านการเกษตรอยู่ด้วย



ลุงคิมครับผม

***********************************************************************************************************************









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-13 (2366 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©