-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 340 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

แฟ้มงานวิจัย8





เกลือจิ้มเกลือ..
การจำกัดศัตรูพืชด้วยวิธีธรรมชาติของศูนย์ชีวินทรีย์
 
 
       วิธีเกลือจิ้มเกลือของศูนย์ชีวินทรีย์แห่งชาติ ด้วยการกำจัดศัตรูพืชโดยวิธีธรรมชาติ ใช้แมลงห้ำหั่นกันเองอันเป็นความรู้ในเชิงเกษตร ลดอันตรายจากการใช้สารเคมีและผลเสียที่ไม่คุ้มทุน ผลการศึกษาที่ไม่ขึ้นหิ้ง เช่น การปราบไมยราบยักษ์ด้วยด้วงหรือใช้ตัวอ่อนแมลงช้างกินเพลี้ยแป้ง 
      

        ปัญหาศัตรูพืชกับเกษตรกรเป็นไม้เบื่อไม้เมากันมาช้านาน การใช้สารเคมีดูจะเป็นการแก้ไขที่สร้างปัญหาอีกหลายเท่าตัวให้กับเกษตรกร ไม่ว่าจะเป็นต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากการซื้อสารเคมีกำจัดศัตรูพืชหรือสุขภาพที่ทรุดโทรมลงจากการสะสมของสารพิษ และสารตกค้างที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค แต่ทราบหรือไม่ว่าประเทศไทยมีหน่วยงานที่ศึกษาการขจัดผู้รบกวนผลผลิตเกษตรมาหลายสิบปีแล้ว
      
       โดยเมื่อวันที่ 9 พ.ย. 2514    คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ตั้งศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืชโดยชีวินทรีย์แห่งชาติ (National Biological Control Research Center - NBCRC) ซึ่งควบคุมศัตรูพืชไม่ว่าจะเป็นแมลงศัตรูพืชหรือศัตรูสัตว์ ด้วยการใช้ตัวห้ำ (predators) ตัวเบียน (parasites หรือ parasitoids) หรือเชื้อโรค (pathogens) ที่เลียนแบบธรรมชาติโดยเฉพาะอย่างยิ่งระดับสมดุลทางธรรมชาติ (natural equilibrium)
      
       ซึ่งไมยราบยักษ์ (Giant sensitive plant) คือตัวอย่างของศัตรูพืชที่ทางศูนย์ฯ ได้ใช้วิธีกำจัดทางชีวภาพ โดยสันนิษฐานว่าประมาณปี พ.ศ.2490 เกษตรกรได้นำเมล็ดพันธุ์จากอินโดนีเซียเข้ามาปลูกในไร่ยาสูบ จ.เชียงใหม่ เพื่อเป็นพืชคลุมดิน แต่ไมยราบยักษ์สามารถปรับตัวได้เป็นอย่างดี และแพร่กระจายอย่างรวดเร็วจนเป็นปัญหาไปทั่วประเทศ
      
       ทางศูนย์ฯ จึงได้นำด้วงเจาะเมล็ดไมยราบยักษ์ (Acanthoscelides spp.) เข้ามาทดลองปล่อยในพื้นที่ระบาดเมื่อปี พ.ศ.2527 และพบว่าสามารถกำจัดวัชพืชรุกรานนี้อย่างได้ผลโดยไม่มีผลกระทบต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังตัวอย่างการควบคุมศัตรูพืชด้วยวิธีอื่นๆ อีกเช่น การจำกัดเพลี้ยแป้งโดยใช้ตัวอ่อนของแมลงช้างปีกใส หรือการแมลงหางหนีบกำจัดแมลงศัตรูพืชอื่นๆ เป็นต้น ซึ่งตัวอย่างข้างต้นนั้น เป็นผลจากการศึกษาในทางการเกษตร และได้มีการพัฒนาตลอดเวลาเพื่อหาวิธีใหม่ๆ ในการกำจัดศัตรูพืช
      
       ทั้งนี้ศูนย์ฯ มีหน่วยงานย่อยในภาคต่างๆ ทั่วประเทศ 7 แห่งคือ

ศูนย์ฯ ภาคกลาง ม.เกษตรศาสตร์ กำแพงแสน,
ศูนย์ฯ ภาคเหนือตอนบน ม.แม่โจ้,
ศูนย์ฯ ภาคเหนือตอนล่าง ม.นเรศวร,
ศูนย์ฯ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ม.ขอนแก่น,
ศูนย์ฯ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ม.อุบลราชธานี ....... และ
ศูนย์ฯ ภาคใต้ ม.สงขลานครินทร์ โดยมีส่วนกลางอยู่ที่ ม.เกษตรศาสตร์ บางเขน









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-13 (1555 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©