-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 323 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

แฟ้มงานวิจัย7





เคลือบเมล็ดข้าวด้วยแร่ธาตุ


"ข้าวสาร" ที่เรากินอยู่ทุกวันนี้ ส่วนใหญ่เป็นข้าวที่ขัดสีจนขาว นั่นก็หมายความว่าได้มีการขัดเอาส่วนที่ดีมีประโยชน์ทิ้งไปหมดก่อน ไม่ว่าจะเป็น วิตามิน ธาตุอาหารหรือโปรตีน ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ว่าในระยะหลังมานี้ คนไทยอีกกลุ่มหนึ่งก็หันมานิยมข้าวกล้อง หรือข้าวซ้อมมือ ที่มีการขัดสีน้อยลง และเหลือส่วนที่เป็นประโยชน์มากขึ้น
ซึ่งคนที่กินข้าวกล้องแบบนี้ ส่วนใหญ่มีสองพวก คือ พวกแรกเป็นชาวนาที่ผลิตข้าวเองและสีเอง กับคนในเมืองที่เห็นความสำคัญของสุขภาพมากกว่าความอร่อยและน่ากินเพียงอย่างเดียว แต่ไม่ว่าจะเป็นข้าวกล้อง หรือข้าวที่สีจนขาวก็ตาม ถ้าปลูกในแหล่งที่ต่างกัน ก็อาจมีธาตุอาหารบางอย่างแตกต่างกันไป

และธาตุที่สำคัญมากสำหรับการเจริญเติบโตของคนเรามีหลายตัวด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นธาตุเหล็ก สังกะสี และไอโอดีน แต่ถ้าจะว่าไปแล้ว ธาตุเหล่านี้ส่วนใหญ่ก็ไม่ได้มาจากข้าว เพราะว่าแหล่งใหญ่ของธาตุเหล่านี้มักอยู่ในเนื้อสัตว์ ในอาหารทะเลและอาหารประเภทอื่น


ทว่า คนไทยบางกลุ่มมีโอกาสบริโภคเนื้อสัตว์ หรืออาหารทะเล น้อยกว่าคนที่มีฐานะทางการเงินดี หรือกลุ่มคนที่อยู่ในเมือง อย่างเช่นคนในชนบท และโดยเฉพาะอย่างยิ่งคนไทยในภาคอีสาน ซึ่งอยู่ห่างทะเล ดังนั้นโอกาสที่จะขาดธาตุไอโอดีน จึงมีมากกว่าคนกลุ่มอื่น เพราะฉะนั้น จึงได้มีการให้ธาตุเหล่านี้ทดแทน อย่างเช่นเกลือที่ใช้ปรุงอาหาร ก็มีการเสริมไอโอดีนเข้าไป ซึ่งก็เป็นทางหนึ่งที่จะช่วยลดปัญหาการขาดไอโอดีนได้ระดับหนึ่ง


นอกจากนี้ ก็ยังมีเทคโนโลยีต่างๆ ที่ก้าวหน้ามากขึ้น เช่นการเพิ่มไอโอดีนเข้าไปในไข่ไก่ โดยคาดหวังว่าคนที่กินไข่ไก่จะได้มีโอกาสรับไอโอดีนเพิ่มขึ้นไปด้วย แต่ว่าตอนนี้มีวิธีใหม่ที่จะให้ธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายเสริมไปกับเม็ดข้าวสารโดยตรง เพราะว่าคนไทยเรากินข้าวเป็นประจำทุกวันอยู่แล้ว ดังนั้น หากกินข้าวที่เคลือบธาตุเหล่านี้เข้าไปด้วย โอกาสที่จะขาดธาตุก็ไม่มีอีกต่อไป


นั่นก็หมายความว่า การแก้ปัญหาเรื่องสุขภาพของคนในชนบทก็น่าจะทำได้ดีขึ้น และประหยัดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลลงได้มาก นอกจากการเคลือบธาตุไอโอดีนบนเม็ดข้าวสารแล้ว ยังสามารถเคลือบธาตุอื่นที่สำคัญได้เหมือนกัน อย่างเช่นธาตุเหล็ก ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของเม็ดเลือด


ดังนั้น ถ้าคนขาดธาตุนี้ ก็มีโอกาสที่จะเป็นโรคโลหิตจาง(โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้หญิงมีโอกาสขาดธาตุนี้มากกว่าผู้ชาย) เพราะว่าต้องมีการสูญเสียเลือดในแต่ละเดือนตามธรรมชาติและธาตุนี้มีมากในเนื้อสัตว์ ซึ่งคนในภาคอีสานส่วนใหญ่บริโภคเนื้อสัตว์ค่อนข้างน้อย จึงมีโอกาสขาดธาตุนี้มากกว่ากลุ่มอื่น ดังนั้น ถ้าสามารถเคลือบธาตุเหล็กบนเม็ดข้าวได้ ก็น่าจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องนี้ได้อย่างมาก


เรื่องการเคลือบธาตุอาหารที่จำเป็นสำหรับคนเข้าไปบนเม็ดข้าวสารนี้ เป็นผลงานวิจัยของ รศ.ดร.วรรณา ตุลยธัญและคณะ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งแนวคิดก็คือ ทำ อย่างไรจึงจะเคลือบธาตุอาหารที่จำเป็นลงบนเม็ดข้าวสารได้ โดยที่ไม่เสียคุณภาพและรสชาติของข้าว รวมทั้งเมื่อนำไปหุงแล้วต้องยังคงเหลือติดอยู่บนเม็ดข้าว ไม่ได้สูญหายไปกับน้ำที่ใช้หุง
และโจทย์ใหญ่ที่เป็นประเด็นสำคัญ คือ คนในภาคอีสาน รวมทั้งคนภาคเหนือด้วย บริโภคข้าวเหนียวเป็นหลัก และการหุงข้าวเหนียวก็มักจะใช้วิธีการแช่เม็ดข้าวค้างคืนไว้ก่อนที่จะนำไปหุง ดังนั้น กรรมวิธีการเคลือบเม็ดข้าวดังกล่าว ต้องสามารถทำให้ธาตุอาหารติดอยู่บนเม็ดข้าวได้ โดยไม่หายไปกับน้ำที่แช่


ซึ่งในที่สุดคณะนักวิจัยกลุ่มนี้ก็ทำได้สำเร็จ และได้จดอนุสิทธิบัตรในนามของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) โดยได้รับอนุมัติเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ตอนนี้อยู่ในขั้นที่ว่า จะใช้ประโยชน์จากอนุสิทธิบัตรดังกล่าวอย่างไร


ไว้คราวหน้าผมจะมาเล่าให้ฟังว่า เทคโนโลยีการเคลือบที่ค้นพบใหม่นี้ทำอย่างไร และดีกว่าวิธีการเดิมอย่างไร หลายคนอาจสงสัยว่า งานชิ้นนี้จะเป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยรวม ทำไมจึงต้องนำไปจดอนุสิทธิบัตรด้วย แล้วผมจะเฉลยให้ฟังในคราวหน้าครับ
 

ที่มา :  ม.จุฬาลงกรณ์-สกว.









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-13 (1378 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©