-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 292 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

แตงโมไร้เมล็ด







ที่มา: http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=farasskyandsnowpink&date=20-05-2009&group=12&gblog=6



               แตงโมไร้เมล็ด 


              1. ปลูกแตงโม  พันธุ์ไร้เมล็ด สลับแถวหรือสลับต้นกับ  พันธุ์มีเมล็ด ลงไปก่อน  การบำรุงต้นทั้งสองสายพันธุ์ เช่น  เด็ดยอด - เลี้ยงยอด - ไว้ดอก   เหมือนกันตามปกติ
              2. เมื่อได้ดอกของทั้งสองสายพันธุ์แล้วให้นำ  เกสรดอกตัวผู้ของต้นพันธุ์มีเมล็ดไปผสมให้กับ  เกสรดอกตัวเมียของต้นพันธุ์ไร้เมล็ด  ด้วยวิธี  "ต่อดอก"  ตามปกติ
  
            3. เมื่อเกสรของดอกตัวเมียจากต้นพันธุ์ไร้เมล็ด ได้รับการผสมจากละอองเกสรตัวผู้ของต้นพันธุ์มีเมล็ดแล้ว  ผลที่เกิดมาจะไร้เมล็ดตามดอกต้นแม่
                
                 หมายเหตุ  :
                
              - แตงโมไร้เมล็ดมีเมล็ดพันธุ์โดยเฉพาะจำหน่าย  แต่ราคาแพงกว่าแตงโมมีเมล็ด
              - การปฏิบัติบำรุงทุกขั้นตอนต่อแตงโมไร้เมล็ดเหมือนแตงโมมีเมล็ดทุกประการ
 
             - แตงโมไร้เมล็ดไม่ได้หมายความว่าไม่มีเมล็ดเลยแม้แต่เมล็ดเดียว  เพียงมีเมล็ดสีน้ำตาลน้อยมากและขนาดเล็ก  เมล็ดส่วนใหญ่จะเป็นเมล็ดสีขาวอ่อนนิ่มเคี้ยวรับประทานได้เลย

                
              - การปฏิบัติบำรุงทุกขั้นตอนเหมือนแตงโมกินเนื้อทุกประการ
     






เทคนิค การผลิตแตงโมไร้เมล็ด
(Seedless watermelon)

รศ.นิพนธ์ ไชยมงคล

แตงโมไม่มีเมล็ดมีแนวโน้มความต้องการของตลาดค่อนข้างสูง เช่น ตลาดสหรัฐ
อเมริกา ญี่ปุ่น ไต้หวัน และฮ่องกง โดยเฉพาะตลาดฮ่องกง ไต้หวันจะส่งแตงโมไม่มีเมล็ดขายปีละกว่า 3,000 ตัน

วิธีการผลิตแตงโมไม่มีเมล็ด
1. ใช้ฮอร์โมนที่ช่วยในการติดผล (fruit setting regulator) โดยฉีดพ่นขณะที่ดอกบาน เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเจริญของผลโดยไม่มีการผสมเกสร ทำให้มีจำนวน เมล็ดน้อย

2. ใช้สารเคมี เช่น colchicine เพิ่มจำนวนโครโมโซมเป็นสองเท่า (2x เป็น 4x) เมื่อนำ 4x ไปผสมกับ 2x จะได้พันธุ์ใหม่ที่มีโครโมโซม 3x ซึ่งเป็นหมัน เมื่อนำ ไปปลูกและผสมกับ 2 x จะทำ ให้ผลไม่มีเมล็ด

3. ผ่านรังษี gramma เพื่อให้โครโมโซมผิดปกติ
วิธีที่นิยมใช้มากที่สุดในปัจจุบัน คือ การใช้สารเคมีเพิ่มจำนวนโครโมโซม ซึ่งแต่ละเซลล์มีโครโมโซม 2 ชุด (diploid, 2X) หรือ 22 แท่ง (1 ชุด = 11 แท่ง) การพัฒนาพันธุ์แตงโมไร้เมล็ด จำเป็นต้องสร้างแม่พันธุ์ใหม่โดยเพิ่มจำนวนโครโมโซมให้มีจำนวนมากกว่าปกติจำนวน 2 เท่า (tetraploid, 4 X) โดยใช้สารอัลคาลอยด์เรียก Colchicine หยดในระยะที่มีการแบ่งตัวแบบเมตาเพส (metaphase) ซึ่งเป็นระยะการแบ่งตัวหรือการเพิ่มจำนวนของเซลล์ โดยมีขั้นตอนการดำ เนินงานดังนี้คือ

1. เจือจาง colchicine ในแอลกอฮอล์ (ปริมาณเพียงเล็กน้อย) ผสมนํ้าลงไปให้ได้ความเข้มข้น 0.2% และ 0.4%

2. ในบางประเทศนิยมใช้ colchicine ผสมใน lanolin ให้ได้ความเข้มข้น 0.4%

3. ขลิบปลายยอดอ่อน (ในระยะที่ใบเลี้ยงเริ่มกางออก) ใช้สำลีปิดแผล หยดสารละลายที่เตรียมไว้บนยอดอ่อน ในไต้หวันจะหยดวันละหนึ่งครั้ง ในเวลา 10.00 น แต่บางแห่งอาจจะหยดวันละสองครั้ง (เช้า}เย็น) เป็นเวลา 4 วัน หรือใช้สารเคมีผสม lanolin ป้ายที่แผล

4. เมื่อได้ต้น 4x จะนำไปขยายพันธุ์โดยการเลี้ยงเนื้อเยื่อ เพื่อรักษาพันธุ์พืชที่ได้รับสารเคมีจะเพิ่มจำนวนโครโมโซมจาก 2x (diploid) เป็น 4x (tetraploid)
 
• หลังจากนั้นจะนำต้น 4x ไปปลูก และนำต้น 2x มาผสมโดยให้ 4x เป็นต้นแม่ และใช้เกสรตัวผู้จากต้น 2x

• ลูกผสมที่ได้จะเป็นหมัน มีโครโมโซม 3x ซึ่งหลายประเทศได้ผลิตเพื่อการค้า เมื่อนำไปปลูกจะใช้เกสรตัวผู้จากต้น 2x มาผสมเพื่อกระตุ้นให้ผลเจริญ ผลที่เกิดจากการผสมจะไม่มีเมล็ดหรืออาจจะมีเมล็ดที่ไม่สมบูรณ์สีขาว การรักษาพันธุ์ 4x อาจจะผสมพันธุ์เฉพาะดอกที่อยู่บนต้นเดียวกัน (self pollination) หรือเลี้ยงเนื้อเยื่อ ส่วนต้น 3x สามารถตัดเถาแขนงไปปักชำให้เกิดรากใหม่ หรือขยายพันธุ์โดยการเลี้ยงเนื้อเยื่อพันธุ์ที่จะนำมาผสมเพื่อสร้างสายพันธุ์ 4x จะต้องเป็นสายพันธุ์แท้ Henderson (1977) รายงานว่า จากการผสมข้ามกลับพ่อ-แม่ ของแตงโมสามสายพันธุ์ คือ C5, Sugar Baby, และ Florida Giant เมื่อเปรียบเทียบลูกผสม diploid (2x), triploid (3x), และ tetraploid (4x) พบว่า รังไข่ ผล เมล็ด ของสายพันธุ์ 3x, 4x จะกลมกว่า 2x อย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ แต่พันธุ์ Sugar Baby ซึ่งมีผลกลมจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง

การเพิ่มจำนวนโครโมโซม จะเป็นผลให้นํ้าหนักผลลดลง อาการไส้กลวงจะเกิดขึ้นมากแต่จะมีเปลือกหนา เมล็ดขนาดใหญ่ ความทนทานต่อโรค antracnose สูง

การผสมกลับพ่อ-แม่ เมื่อเปรียบเทียบระหว่าง C5 (4x) x Sugar Baby(2x) และ Sugar Baby(2x) x C5(4x) พบว่าลูกผสมจะมีความแตกต่างในด้านรังไข่ ผล ความทนทานต่อโรค antracnose อย่างมีนัยยะสำ คัญทางสถิติ นอกจากนี้การผสมกลับพ่อ-แม่ จะให้ลูกผสมที่มีความแตกตา่งในด้านน้ำหนักผล อาการไส้กลวง ความหนาของผล และรปู รา่งของเมลด็

การปลูกแตงโมไม่มีเมล็ด (Triploid Seedless Watermelon)
2X 4X
3X 2X
SEEDLESS
COLCHICINE

เนื่องจากแตงโมไม่มีเมล็ดเป็นลูกผสมเจริญได้ดีและให้ผลผลิตสูง ในสภาพอุณหภูมิสูงมีแสงสว่างพอเพียง ให้ผลที่มีคุณภาพสูง สามารถเก็บรักษาได้นาน ทนทานต่อการขนส่ง

การเพาะเมล็ด
เปลือกหุ้มเมล็ดของแตงโม 3x จะหนากว่าพันธุ์ 2x ส่วนอาหารสำรองในเมล็ดจะมี ขนาดเล็กกว่า ดังนั้นการเพาะตามปกติจะทำให้เมล็ดมีความงอกตํ่า จำเป็นต้องช่วยโดยขลิบปลายทั้งสองด้านหรือบีบเปลือกหุ้มเมล็ดให้แตก เพื่อให้เมล็ดดูดนํ้าได้ดีและใบเลี้ยงสามารถดันเปลือกหุ้มเมล็ดออกมาได้

การให้นํ้าระหว่างการเพาะเมล็ดไม่ควรให้นํ้ามากเกินไปจะทำ ให้เมล็ดเน่าหลังจากทำแผลที่เปลือกหุ้มเมล็ด นำไปแช่ในเบนเลท ผสมกับ เคปแทน อย่างละ 6 กรัมต่อนํ้า 1 ลิตร แช่เป็นเวลา 30 นาฑี ต่อจากนั้นนำเมล็ดออกมาล้าง เรียงเมล็ดในภาชนะที่มีกระดาษซับรองสองชั้น และปิดทับข้างบน 2 ชั้น ให้นํ้าพอชุ่มและเก็บไว้ในอุณหภูมิปกติหรืออุณหภูมิ 30-32 o ซ เมื่อเริ่มงอก นำไปเพาะในถุง บรรจุวัสดุปลูกที่มีส่วนผสม ดินดำ ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกและปุ๋ย ซูเปอร์ดับเบิ้ลฟอสเฟต หลังจากต้นกล้างอกขึ้นมา 15 วัน คัดต้นที่เจริญสมํ่าเสมอลง

ปลูกในแถวหรือแปลงเดียวกัน เพื่อความสดวกในการปฏิบัติดูแลรักษาแตงโม 3x จะมีลำต้น และใบขนาดใหญ ควรใช้ระยะปลูกห่าง การปลูกชิดจะทาํให้เถาปกคลุมดอก ยากแก่การเข้าไปผสม

การผสมเกสร
พันธุ์ 3x ไม่สามารถผสมตัวเองได้ จะต้องใช้ละอองเกสรตัวผู้จากต้น 2x ไปผสมกับเกสรตัวเมียของต้น 3x เกสรตัวผู้จะงอกท่อละอองเกสรไปตามท่อของก้านเกสรตัวเมีย หลังจากนั้นจะกระตุ้นให้เกิดการสร้างฮอร์โมนเพื่อช่วยในการเจริญของผล ควรปลูก 2x จำนวน 1 ต้นต่อต้น 3x จำนวน 5-8 ต้น เพื่อป้องกันการสับสนในขณะเก็บเกี่ยว ควรปลูกต้น 2x ที่มีลักษณะแตกต่างจากต้น 3x

การติดผล
ผลที่อยู่ใกล้ลำต้นมีจำนวนใบสร้างอาหารน้อย จะมีเปลือกหนา คุณภาพตํ่าควรใช้ดอกตัวเมียที่สองหรือสาม

สายพันธุ์
บริษัท Known You: Quality # 1, Quality # 2, Fengshan # 1, Seedless Yellow Baby

บริษัท Burpee : Tripple Sweet
บริษัท Mikado : Seedless Golden Fummy, MC 75225, Seedless Fummy

http://www.vegetweb.com/wp-content/download/seedless-wmelon.pdf
www.vegetweb.com/wp-content/download/seedless-wmelon.pdf




แตงโมไร้เมล็ด : ผลไม้ไฮเทค

มนุษย์อนาคตจะต้องพึ่งพาอาศัยวิทยาการการเกษตรที่ไฮเทคมาก เพราะอีก 50 ปีข้างหน้าจำนวนประชากรของโลกจะมีถึงหนึ่งหมื่นล้านคน ปัญหาการผลิตอาหารให้เพียงพอสำหรับคนจำนวนมหาศาลนั้นได้ผลักดันให้นักวิทยาศาสตร์คิดหาพืชและสัตว์ที่ให้ผลิตผลสูงและมีคุณภาพมาก เช่น มีนักวิทยาศาสตร์บางคนกำลังค้นหายาฉีดภูมิคุ้มกันให้ต้นไม้เจริญเติบโตโดยไม่ถูกแมลงรบกวนหรือกัดกิน นักชีววิทยาบางคนกำลังหาวิธีทำให้ผลไม้ มีชีวิตยืนนานโดยไม่เน่าสลายในเวลารวดเร็ว บางคนกำลังคิดหาวิธีทำต้นกาแฟที่ไร้กาเฟอีน เป็นต้น

ในสมัยโบราณเวลาเกษตรกรต้องการพืชที่มีคุณสมบัติเช่นไร เขาจะนำพืชที่มี
คุณสมบัติที่เขาประสงค์มาผสมพันธุ์กัน คุณสมบัติที่เด่นของพืชเก่าจะถ่ายทอดสืบต่อไปเป็นสมบัติของพืชใหม่ ข้อจำกัดด้านคุณภาพของการสร้างพืชโดยวิธีนี้คือคุณสมบัติของพืชที่เราต้องการนั้นจะต้องใช้พืชพันธุ์เดียวกัน เมื่อเป็นเช่นนี้ ในอดีตเราจึงไม่สามารถผสมพันธุ์ข้าวโพดกับถั่ว หรือขนุนกับมะขามได้เลย

แต่ในยุคปัจจุบัน วิทยาการด้านเทคโนโลยีชีวภาพได้ก้าวหน้าไปมาก นักวิทยาศาสตร์สามารถตัดต่อยีน (gene) จากสิ่งมีชีวิตหนึ่งแล้วนำไปใส่ลงในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง ทำให้เราได้พืชพันธุ์ใหม่และสัตว์พันธุ์แปลกที่เราๆ ไม่เคยคาดฝันว่าจะมี เช่น เราสามารถถ่ายยีนของจุลินทรีย์ลงในยีนของพืช และยีนของกุ้งสามารถรับยีนของหอยเม่นได้ เป็นต้น

นับตั้งแต่ G.J. Mendel ได้พบกฎทางพันธุกรรมเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษนี้ นักวิทยาศาสตร์ได้ใช้ผลการค้นพบของ Mendel สร้างความหลากหลายทางชีวภาพในปัจจุบันมากมาย

เช่นเมื่อเร็วๆ นี้ D.Gray นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัย Florida ในประเทศสหรัฐอเมริกาประกาศว่า เขาได้พัฒนาวิธีปลูกแตงโมที่ไร้เมล็ดได้สำเร็จแล้ว แตงโมไร้เมล็ดที่ว่านี้ มีคุณค่าสูงกว่าแตงโมมีเมล็ดมาก เพราะนอกจากจะมีชีวิตที่ยืนนานกว่า ติดผลมากกว่าแล้ว ยังสะดวกต่อการบริโภคดีกว่าอีกด้วย

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้ชี้ให้เห็นชัดว่าแตงโม (Citrullis vulgaris) เป็นผลไม้ที่มนุษย์รู้จักมานานแสนนาน ภาพวาดที่ปรากฎตามผนังพีระมิดแสดงให้เห็นว่า ชาวอียิปต์โบราณรู้จักปลูกแตงโมมาตั้งแต่สมัยฟาโรห์ คำว่า "แตงโม" ในภาษาอารบิก สันกฤต และสเปน มิได้มีรากศัพท์เดียวกันเลย ความจริงข้อนี้สื่อให้เราเห็นว่า แตงโมเป็นพืชที่แพร่หลาย และมีคนนิยมปลูกมากมายทั่วโลกมาตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว

แตงโมธรรมชาติมีขนาด รูปร่าง เนื้อ และสีต่างๆ กัน เนื้อแตงโมมีทั้งสีเหลือง แดง น้ำตาล ชมพู และดำ ในพื้นที่บางแห่งของแอฟริกาที่แห้งแล้ง นักท่องทะเลทรายมักจะนำแตงโมติดตัว ชาวรัสเซียนิยมดื่มเบียร์แตงโม คนอิรักบริโภคแตงโมเป็นอาหารหลัก คนเกาหลี ญี่ปุ่นนิยมดองเปลือกแตงโม และใช้เมล็ดแตงโมเป็นอาหารขบเคี้ยว

ปัจจุบันนี้เรามีองุ่นไร้เมล็ด คงอีกไม่นานเราก็จะมีแตงโมไร้เมล็ดกินกันมาก ดังนั้นคนที่นิยมเม็ดกวยจี้ คงต้องเตรียมหันไปนิยมพืชชนิดอื่นแทน ผมเรียนแจ้งเพื่อให้เตรียมตัวแล้วนะครับ


http://www.ipst.ac.th/thaiversion/publications/in_sci/melon.htm
www.ipst.ac.th/thaiversion/publications/in_sci/melon.htm -




                              ************************









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2009-07-16 (23662 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©