-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 318 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

หลากหลายวิธีไม่เผาฟาง





                          หลากหลายวิธีไม่เผาฟาง               


           หลักการและเหตุผล  :
               
           ฟาง คือ อินทรีย์วัตถุประเภทเศษซากพืชที่มีราคาประหยัดที่สุด และมีประโยชน์ต่อต้นข้าวมากที่สุด   กล่าวคือ   ฟางคือต้นข้าว  ในต้นข้าวย่อมมีสารอาหารที่ต้นข้าวต้องใช้พัฒนา
ตัวเอง  เมื่อฟางถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์  สารอาหารที่เคยมีในฟางก็จะออกมากลายเป็นสาร
อาหารพืชสำหรับข้าวต้นใหม่
 นอกจากเป็นสารอาหารพืชแล้ว ฟางยังมีคุณสมบัติที่ดีต่อการ
เจริญเติบโตของต้นข้าวอีกหลายประการ อาทิ   เป็นแหล่งอาหารจุลินทรีย์   ทำให้ดินโปร่ง
ร่วนซุย  น้ำและอากาศผ่านสะดวก   ช่วยซับหรืออุ้มน้ำไว้ใต้ดินโคนต้น   เป็นต้น
 
          ต้นข้าวในแปลงปลูกที่ดินมีความความชื้นสูง (ดินแฉะ)  จะเจริญเติบโต แตกกอ  สม บูรณ์แข็งแรง  มีภูมิต้านทานสูงและให้ผลผลิตดีกว่าต้นข้าวในแปลงปลูกที่ดินมีน้ำขังท่วม
           มาตรการทำให้ดินมีความชื้นสูง    มีน้ำใต้ผิวดินมากๆ     ทั้งๆ ที่หน้าดินแห้งจนแตก
ระแหง ก็คือ  การให้มีอินทรีย์วัตถุ (เศษซากพืช  เศษซากสัตว์ และจุลินทรีย์)  อยู่ในเนื้อดิน
มากๆ  ถึงอัตราส่วน 1 : 1  สะสมต่อเนื่องติดต่อกันมานานหลายๆปี
              
               
           แนวทางปฏิบัติ  :        
               
           หลังจากรถเกี่ยวข้าวออกไปแล้ว ให้ดำเนินการส่งฟาง และ/หรือ เศษซากพืช-อินทรีย์
วัตถุอื่นๆ ลงไปอยู่ใต้ผิวดิน  ผสมคลุกกับเนื้อดินให้เข้ากันดี  ตามขั้นตอน หรือ ลัดขั้นตอน   ก็
ได้  ดังนี้
 
               
       1. ตากฟาง-ไม่ตากฟาง   วัตถุประสงค์คือ ต้องการให้ฟางแห้ง เพื่อให้จุลินทรีย์ช่วยย่อย
สลายทำให้ฟางเปื่อยได้เร็วขึ้น อันที่จริงนั้น จุลินทรีย์สามารถย่อยสลายได้ทั้งฟางสดและฟาง
แห้ง เพียงแต่การย่อยสลายฟางแห้งทำได้ง่ายและเร็วกว่าฟางสดเท่านั้นเอง ดังนั้น การตากฟาง
หรือไม่ตากก่อนไถกลบจึงไม่ต่างกันนัก  ก็ให้พิจารณาตามความเหมาะสม 
 
               
       2.  เกลี่ยฟาง-ไม่เกลี่ยฟาง    วัตถุประสงค์คือ    ต้องการให้ฟางกระจายตัวเท่าๆกันทั่ว
แปลง และแห้งเร็วๆ เมื่อไถกลบลงไปในดินแล้วเนื้อดินผสมกับฟางสม่ำเสมอกันซึ่งจะส่งผลให้
ดินมีคุณภาพเท่าๆกันทั้งแปลงนั่นเอง...........ล้อรถเกี่ยวข้าวเป็นสายพานตีนตะขาบ  ขณะที่
รถเกี่ยววิ่งไปนั้น     ตอซังที่ถูกสายพานตีนตะขาบเหยียบย่ำจะแบนราบแนบติดพื้น  ส่วนตอซัง
ที่อยู่บริเวณใต้ท้องรถเกี่ยวจะไม่ถูกเหยียบย่ำ ยังคงเป็นตอตั้งตรงเหมือนเดิม  นอกจากนี้เศษ
ฟางที่รถเกี่ยวพ่นออกมา ซึ่งรถเกี่ยวข้าวบางรุ่นพ่นเศษฟางให้ฟุ้งแผ่กระจายไปทั่วได้ แต่รถเกี่ยว
บางรุ่นพ่นเศษฟางตรงๆลงทับบนตอซังกลายเป็นกองเศษฟาง  กรณีนี้  ถ้าต้องการให้ฟางแผ่
กระจายก็ให้ใช้ไม้เขี่ยฟางที่เป็นกองออก แต่ถ้าไม่ต้องการให้ฟางแผ่กระจายก็ไม่จำเป็นต้องเขี่ย
ออก  เพราะช่วงที่รถไถผานโรตารี่เข้าทำเทือกนั้น ผานโรตารี่ก็จะช่วยกระจายฟางไปในตัวเอง
ได้แต่อาจจะไม่กระจายดีกับการเกลี่ยก่อนเท่านั้น
  
              
       3. ย่ำฟาง-ไม่ย่ำฟาง วัตถุประสงค์คือ ทำให้ฟาง   ฉีก-ขาด-ช้ำ   เพื่อเป็นช่องทางให้
จุลินทรีย์ผ่านเข้าไปง่ายๆแล้วย่อยสลายฟาง   ปฏิบัติโดยการใช้รถไถเดินตามล้อเหล็กวิ่งย่ำไป
บนเศษฟางให้ทั่วแปลง วิ่งย่ำซ้ำหลายๆรอบ ฟางที่ถูกล้อเหล็กย่ำจะ ฉีก-ขาด-ช้ำ เกิดเป็นบาด
แผลช่วยให้จุลินทรีย์ย่อยสลายฟางให้เปื่อยยุ่ยได้เร็วกว่าฟางที่ยังคงเป็นชิ้นๆอยู่
  
              
       4. หมักฟาง   วัตถุประสงค์คือ  เพื่อให้ฟางเปื่อยยุ่ยโดยเร็ว   ไม่ว่าฟางในแปลงนาจะ
ตากแห้งแล้วหรือยังสด  เกลี่ยกระจายแล้วหรือยังเป็นกลุ่มกอง  ย่ำให้เป็นแผลช้ำแล้วหรือยัง
เป็นชิ้นเดิมๆ  ทุกสภาพของฟางไม่อาจรอดพ้นฝีมือของจุลินทรีย์ไปได้  เริ่มด้วยการปล่อยน้ำ
เข้าแปลงพร้อมกับใส่จุลินทรีย์ 2-5 ล./ไร่ รักษาระดับน้ำให้ลึกราว 20-30 ซม. ทิ้งไว้ราว 10-
20 วัน  น้ำจะเปลี่ยนสีเป็นสีชาอ่อนๆ  สภาพของฟางเริ่มเปื่อยยุ่ย 
  เมื่อเดินย่ำลงไปจะมีฟอง
เกิดขึ้น ให้สังเกตฟอง  ถ้ามีกลิ่นเหม็นแสดงว่าจุลินทรีย์เป็นพิษให้  
ระบายน้ำออกทั้งหมดแล้ว
เติมน้ำใหม่     พร้อมกับจุลินทรีย์ชุดใหม่เข้าไปแทน แล้วเริ่มหมักใหม่อีกรอบ........ถ้าฟองนั้น
ไม่มีกลิ่นเหม็นแสดงว่าจุลินทรีย์ดี ให้หมักต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าฟางจะเปื่อยยุ่ยได้ที่ตามต้องการ
แล้วจึงลงมือทำเทือก
                
          ถ้าหมักฟางยังไม่ได้ที่หรือยังมีกลิ่นเหม็น (แก๊ส) จะมีผลต่อต้นข้าวระยะกล้า (ต้น
เหลืองโทรม) เรียกว่า  “เมาตอซัง”  กรณีนี้แก้ไขโดยระบายน้ำเก่าออกพร้อมๆกับส่งน้ำใหม่เข้า
ไปแทนที่หรือใช้น้ำดีไล่น้ำเสีย  จากนั้นบำรุงต้นกล้าด้วยฮอร์โมนทางด่วน 2-3 รอบ  ห่างกัน
รอบละ 3-5 วัน
  
              
       5. ไถกลบฟาง   วัตถุประสงค์คือ  การส่งฟางลงไปคลุกเคล้ากับเนื้อดินจนเป็นเนื้อเดียว
กันแล้วให้จุลินทรีย์ย่อยสลายจนเปื่อยยุ่ยกลายเป็นปุ๋ยฟางที่อยู่ในแปลงนานั้นจะตากหรือไม่
ตาก  เกลี่ยหรือไม่เกลี่ย  ย่ำหรือไม่ย่ำ หมักหรือยังไม่หมัก   สามารถไถกลบลงดินได้ทั้งสิ้น 
เพียงแต่แบบไหนจะยากง่ายกว่ากัน  ด้วยเครื่องมือต่างๆ ดังนี้.........     
                
       - ไถด้วยรถไถจอบหมุนโรตารี่ เป็นรถไถขนาดกลางนั่งขับ ขณะไถมักมีฟางพันผาน 
แก้ไขโดยการเดินหน้าสลับกับถอยหลังเพื่อสลัดฟาง หรือยกผานขึ้น ใส่เกียร์ถอยหลังแล้วเร่ง
เครื่องแรงๆ   ผานจะหมุนฟรีแล้วสลัดฟางออกเองได้     
                
       - ไถด้วยรถไถเดินตาม (ควายเหล็ก) ผานเดี่ยว (ผานหัวหมู) ขณะไถมักมีฟางพันผาน 
แก้ไขโดยต่อใบผานให้ยาวขึ้น 10-12 นิ้ว หรือมากกว่า เพื่อส่งขี้ไถและฟางให้ตกห่างจาก
ผานมากๆ                 
               
       - ย่ำด้วยลูกทุบ (อีขลุบ) ลากด้วยควายเหล็ก   ลูกทุบจะย่ำฟางให้ยุบลงแนบกับเนื้อดิน
บริเวณผิวหน้าดินเท่านั้นไม่ได้ลงไปคลุกหรือจมลงไปในเนื้อดิน  เมื่อหว่านเมล็ดข้าวลงไป
เมล็ดพันธุ์ส่วนหนึ่งจะติดค้างอยู่บนหญ้าที่หน้าดิน ช่วงที่เมล็ดเริ่มงอก ระบบรากยังแทงไม่ทะลุ
กองหญ้าลงไปถึงเนื้อดินด้านล่างได้ ครั้นเมื่อปล่อยน้ำเข้าแปลง ฟางจะลอยขึ้นพร้อมกับยกต้น
กล้าข้าวให้ลอยตามขึ้นมาด้วย  กรณีนี้แก้ไขโดย  ปล่อยให้รากต้นข้าวเจริญยาวลงไปถึงเนื้อดิน
ล่างดีแล้วจึงปล่อยน้ำเข้า หรือนำเส้นฟางออกเหลือแต่เหง้ากับรากต้นข้าวแล้วย่ำ.......วิธีการ
หมักฟางนานๆจนเปื่อยยุ่ยดี  แล้วย่ำด้วยอีขลุบหลายรอบ  ให้มากรอบที่สุดเท่าที่จะมากได้ 
ฟางที่เปื่อยยุ่ยแล้วถูกย่ำด้วยล้อเหล็กจนแหลกละเอียดจะคลุกเคล้าผสมกับเนื้อดินบริเวณผิวหน้า
ดิน  กรณีนี้แม้ต้นกล้าข้าวจะงอกบนเศษฟางเปื่อย  เมื่อปล่อยน้ำเข้าก็จะไม่ยกต้นกล้าข้าวให้
ลอยตามขึ้นมา
  นาข้าวที่ผ่านการไถกลบฟางมา 2-3 รุ่น  จนขี้เทือกลึกระดับครึ่งหน้าแข้งแล้ว  การทำนารุ่นใหม่ไม๋จำเป็นต้องไถอีก    แต่ให้ปล่อยน้ำเข้าเพื่อหมักฟางหรือล่อให้วัชพืชขึ้นจาก
นั้นหมักทิ้งไว้ 10-15 วัน จนแน่ใจว่าฟางเปื่อยยุ่ย  ไม่มีกลิ่นเหม็นเน่าและเมล็ดวัชพืชงอกขึ้น
มาจนหมดแล้วก็ให้ลงมือย่ำด้วย “อีขลุบหรือลูกทุบ” ได้เลย ทั้งนี้ลูกทุบหรืออีขลุบจะช่วยคลุก
เคล้าเนื้อดินกับฟางและวัชพืชให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกันได้  ซึ่งจะช่วยให้ประหยัดต้นทุนค่าไถลง
ได้
 
               
       6. ไม่ไถ   หลังจากรถเกี่ยวเสร็จสิ้นภารกิจ  ในแปลงมีตอซังและเศษฟาง  แนวทางการ
ทำเทือกโดยไม่ต้องไถ  ไม่ว่าจะเป็นการไถด้วยรถไถใหญ่ผานจาน  3 หรือผาน 7    รถไถเดิน
ตามผานจานเดี่ยวรือคู่   รถไถโรตารี่  สามารถทำได้โดยจัดการกับตอซังและเศษฟาง  ตาก
ฟางหรือไม่ตาก  เกลี่ยหรือไม่เกลี่ยก็ได้  แล้วเริ่มด้วยการสูบน้ำเข้าให้ลึกประมาณ 30 ซม.  ใส่
จุลินทรีย์หน่อกล้วยหรือกากน้ำตาล 5-10 ล./ไร่ สาดให้ทั่วแปลง  ทิ้งไว้ 7-10 วัน จนน้ำ
เปลี่ยนสีเป็นสีชาอ่อนๆ  จากนั้นให้ลงมือย่ำด้วย  อีขลุบ  หรือ  ลูกทุบ  ได้เลย  ย่ำหลายๆรอบ
จนกว่าตอซังและเศษฟางรวมทั้งเศษซากต้นวัชพืชแหลกละเอียดลงไปคลุกกับเนื้อดิน  เสร็จ
แล้วทิ้งไว้อีก 7-10 วัน ก็ให้ลงมือย่ำรอบสองด้วยวิธการเดิม  แล้วทิ้งไว้อีก 7-10 วัน ตรียม
การย่ำต่อรอบสามเป็นรอบสุดท้าย  ก่อนลงมือย่ำรอบสามให้ใส่  อินทรีย์วัตถุ และ ปุ๋ย  สำหรับ
นาข้าวตามปกติ  เสร็จแล้วให้ลงมือปลูก(ดำหรือหว่าน)  ข้าวได้เลย
   ถ้าเป็นนาข้าวที่เตรียม
แปลงแบบไม่เผาฟางหรือไถกลบฟางครั้งแรก  จะพบว่าชี้เทือกลึกเหนือกว่าตาตุ่มอย่างชัดเจน
ซึ่งถือว่าเพียงต่อการเพาะปลูกข้าวแล้วทั้งดำและหว่าน...........หากเป็นนาที่เคยไม่เผาฟางแต่
ไถกลบมาหลายรุ่นแล้ว  การย่ำเพียงรอบแรกรอบเดียวก็จะได้ขี้เทือกลึกถึงระดับครึ่งหน้าแข้ง

           ประโยชน์ที่ได้จากการย่ำเทือกหลายๆ รอบที่เห็นชัดที่สุด คือ  นอกจากได้กำจัด
วัชพืชโดยไม่ต้องพึ่งสารเคมีกำจัดวัชพืชแล้วยังได้ปุ๋ยอินทรีย์จากเศษซากพืชอีกด้วย
     
                
         หมายเหตุ :
                
       - ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือแบบใด ที่ด้านหน้ารถดัดแปลงให้มีตะแกงสำหรับตั้งถังขนาดจุ
20-50 ล.  เจาะรูก้นถัง 2-3 รู มีก๊อกปรับอัตราการไหลช้า/เร็วได้  ในถังใส่ปุ๋ยน้ำชีวภาพหรือ
จุลินทรีย์น้ำ   แล้วปล่อยให้ไหลออกมาช้าๆ  ขณะที่รถไถวิ่งไปนั้นก็จะปล่อยปุ๋ยน้ำชีวภาพหรือ
จุลินทรีย์หยดลงพื้นที่ด้านหน้า แล้วถูกผานด้านหลังไถผสมลงไปคลุกผสมกับเนื้อดินเอง
       
- การทำนาแบบไถกลบฟางลงดินรุ่นแรก  หมักฟางนานๆจนเปื่อยยุ่ยดี  แล้วย่ำซ้ำหลายๆ
รอบ    จะทำ
ให้ได้  “ขี้เทือก”  ลึก 20-30 ซม. (ครึ่งหน้าแข้ง)  ในขณะที่การทำเทือกแบบ
เผาฟางก่อนนั้นจะได้ขี้เทือกลึกน้อยกว่ามาก 
                
       - นาข้าวแบบไถกลบฟาง   จากรุ่นแรกที่ไถกลบนั้นจะมีฟางลงไปอยู่ในเนื้อดินราว 1
ตัน  ต่อมารุ่นที่ 2 ก็จะมีฟางชุดใหม่ลงไปสมทบอีก 1 ตัน  ทำนาข้าวรุ่น  3 ก็มีอีก 1 ตัน และ
จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆแบบรุ่นต่อรุ่น ทั้งนี้เนื่องจากฟางรุ่นแรกๆ แม้จะเปื่อยยุ่ยดีแล้วแต่ก็ยังคงมีเศษ
ซากหลงเหลืออยู่ ยิ่งมีเศษซากฟางอยู่ในดินมากเท่าใดยิ่งทำให้ได้ขี้เทือกลึกมากเท่านั้น
 
        จากประสบการณ์ตรงพบว่า  การทำเทือกแบบไถกลบฟางสี่รุ่นติดต่อกัน  ปรากฏว่าได้ขี้
เทือกลึกถึงหัวเข่าซึ่งถือว่ามากเกินไป  ผลเสียคือ เดินเข้าไปสำรวจแปลงได้ยาก  ก่อนเกี่ยวซึ่ง
ต้องงดน้ำ 7-10 วันเพื่อให้หน้าดินแห้งทำไม่ได้  และทำให้รถเกี่ยวเข้าทำงานไม่ได้อีกด้วย
         
แนวแก้ไข คือ ไถกลบฟาง 2 รุ่นติดต่อกันไปก่อน เมื่อจะทำนารุ่น 3 ให้นำฟางออก
เหลือแต่เหง้ากับรากในดินก็พอ  ต่อมาเมื่อจะทำนารุ่น 4 ก็ให้วิเคราะห์ปริมาณเศษซากฟางใน
ดินก่อนว่า   สมควรนำฟางของนารุ่น 3 ออก  แล้วเหลือแต่เหง้ากับราก   หรือต้องไถกลบฟาง
รุ่นใหม่เติมลงไปอีก ทั้งนี้ความลึกของขี้เทือกจะเป็นตัวชี้บอก  ประเด็นสำคัญก็คือ    จะต้อง
“ไม่เผา” อย่างเด็ดขาด.ตามเกณฑ์ของการเตรียมดินปลูกข้าว ควรมีอินทรีย์วัตถุประเภทเศษ
ซากพืช 2-3  ตัน/ไร่/รุ่น
               
       - ฟางข้าวในนาข้าว คือ อินทรีย์วัตถุหรือปุ๋ยพืชสดที่มีราคาต่ำที่สุดและมีประโยชน์มากที่
สุด   ฟางข้าวเป็นทั้งแหล่งสารปรับปรุงบำรุงดิน  บำรุงจุลินทรีย์  และเป็นแหล่งสารอาหาร
สำหรับต้นข้าวทั้งรุ่นปัจจุบัน รุ่นหน้า และรุ่นต่อๆไป    นอกจากฟางแล้วควรจัดหาแหล่งเศษ
ซากพืชอื่นๆเสริมเพื่อเพิ่มปริมาณอินทรีย์วัตถุให้มากขึ้น 
      
                
         เกษตรกรชาวนาและชาวไร่ของสหรัฐอเมริกา  หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตในนาหรือในไร่
แล้วไม่มีการเผาทิ้งหรือนำออก    แต่ใช้วิธีการไถกลบด้วยรถไถกลบขนาดใหญ่   ซึ่งขณะไถ
กลบนั้นก็จะเติมอินทรีย์วัตถุ สารปรับปรุงบำรุงดิน จุลินทรีย์  และสารอาหารอื่นๆไปพร้อมๆกัน 
เพื่อประหยัดเวลา  แรงงาน และให้เกิดความหลากหลายตามธรรมชาติ


  
                                                





                                        **************************
 












สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2009-07-16 (1229 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©