-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 184 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ตาล




หน้า: 2/2




 
 
 
   
 
 
 
 
 
   
 
 
 
 
 
   
 
 
 
 
       
 
     
 


ตาลโตนด

ลักษณะทั่วไป

           
ต้นตาลโตนด  มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า  Borassus  flabellifer  Linn.  มีชื่อสามัญภาษาอังกฤษว่า  Palmyra  Palm  หรือ Lontar  หรือ  Fan  Palm  ในประเทศไทยมีชื่อหลายชื่อคือในภาคกลางเรียกว่า  “ ต้นตาลโตนด ”  หรือเรียกสั้นๆ ว่า  “ ต้นตาล ”  ภาคใต้เรียกว่า  “ ตาลโตนด ”  หรือ  “ ต้นโหนด ”  ชาวจังหวัดยะลาหรือปัตตานีเรียกว่า  “ ปอเก๊าะตา ” 

           
ตาลโตนดเป็นพืชตระกูลปาล์มใบพัดชนิดหนึ่ง  ชอบอากาศร้อน  ชอบขึ้นในดินทรายหรือดินปนทราย   และดินเหนียวแต่ในที่เปียกแฉะ  เช่น  ตามทุ่งนาตาลโตนดก็เจริญงอกงามดีในที่ดินทรายน้ำกร่อยขึ้นถึง  ก็จะยิ่งโตเร็วและมีน้ำหวานจัด  นอกจากนี้ยังชอบขึ้นในที่ไม่มีพืชปกคลุม  เป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ดีในสภาพค่อนข้างแห้งแล้งไม่ชอบดินกรดแต่ก็เจริญเติบโตในที่ชุ่มชื้นได้

            
ตาลโตนดเป็นพืชที่มีดอกแบบไม่สมบูรณ์เพศ  มีดอกตัวผู้และดอกตัวเมีย  ต้นเพศผู้และต้นเพศเมียแยกคนละต้น  ดอกอยู่บนช่อดอกที่มีกิ่งก้านแขนงช่อดอกใหญ่ยาวแทงออกจากต้นระหว่างกาบใบโค้งงอปลายค่อนข้างแหลมคล้ายงวงช้าง      เรียกว่า  “ งวงตาล ”  หรือ  “ ปลีตาล ”   ผลมีขนาดใหญ่เป็นทะลาย  ผลกลมมีขนาด  6-8  นิ้ว  ผลอ่อนมีสีเขียวอ่อน  ผลแก่มีสีม่วงแก่ผลสุกเต็มที่มีสีม่วงแก่เกือบดำหรือดำ  ผิวเป็นมันภายในผลมีเมล็ดขนาดใหญ่แข็งประมาณ  1-4  เมล็ด  ส่วนใหญ่มี  3 เมล็ด   มีเปลือกหุ้มเป็นเส้นใยละเอียด  เมื่อสุกจะมีสีเหลืองสด  ประกอบด้วยแป้งและน้ำตาล    เนื้อนุ่มมีกลิ่นหอมใช้ปรุงแต่งสีและกลิ่นในขนมหวานและเค้กภายในเมล็ดมีเนื้อสีขาวขุ่น    เมล็ดแบนกลม 

           
ตาลโตนดมีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกาตะวันออก  ต่อมาได้แพร่พันธุ์เข้าไปในอินเดีย  ศรีลังกา  และกลุ่มประเทศในแถบเอเชีย  ปัจจุบันมีมากในแถบทวีปเอเชีย  อินเดีย  ศรีลังกา  พม่า  กัมพูชา  มาเลเซีย  อินโดนีเซีย  และไทย  สำหรับประเทศไทยพบมากในพื้นที่เขตภาคกลางในแถบจังหวัดเพชรบุรี  สุพรรณบุรี  นครปฐม  และภาคใต้แถบจังหวัดสงขลา  เป็นต้น  

            
ตาลโตนดเป็นพืชที่มีมาแต่ดึกดำบรรพ์    ตาลโตนดปัจจุบันเป็นพันธุ์ที่ได้รับการคัดเลือกโดยธรรมชาตินับเป็นเวลาหลายล้านปีมาแล้ว  การคัดเลือกพันธุ์โดยมนุษย์มีน้อยมาก  ตาลโตนดเป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ดีในสภาพที่ค่อนข้างแห้งแล้งไม่ชอบดินที่มีสภาพเป็นกรดโดยเฉพาะในที่ชุ่มชื้น



ลักษณะทางสรีรวิทยาและนิเวศวิทยาของตาลโตนด

หลวงสมานวกิจ  (2477)  ได้บรรยายลักษณะทั่วไปของตาลโตนดไว้ว่าเป็นพืชที่ชอบอากาศร้อนชอบขึ้นในพื้นดินทรายและดินเหนียว  แต่ในที่เปียกแฉะเช่น  ตามทุ่งนาตาลโตนดก็เจริญงอกงามดี ในที่ดินทรายน้ำกร่อยขึ้นถึงจะยิ่งโตเร็ว  และมีน้ำหวานจัดชอบขึ้นมากที่ไม่มีพันธุ์ไม้ปกคลุม 

           
ลำต้นตาลโตนดเป็นพืชลำต้นเดี่ยว (Single Stem)  เป็นพืชที่มีลำต้นจากพื้นดินเพียงต้นเดียวไม่มีหน่อ   ลำต้นมีขนาดใหญ่มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ  2 ½  ฟุต  ลำต้นตรงกลมผิวดำเกรียมเป็นเส้นแข็งเหนียว   ไม่หักง่ายเนื้อแข็งอยู่ภายนอกแล้วค่อย ๆ อ่อนเข้าสู่ภายในลำต้นเป็นพันธุ์ไม้ที่เจริญภายในส่วนที่งอกเติบโตอยู่ภายในลำต้น

           
ตาลโตนดเป็นพันธุ์ปาล์มที่มีลักษณะลำต้นสูงชะลูดลำต้นมีความสูงโดยปกติ  18 – 25  เมตร  (บางต้นอาจสูงถึง 30  เมตร)   ลำต้นตรงหรือโค้งเล็กน้อย    โคนต้นอวบใหญ่วัดโดยรอบได้ประมาณ  1  เมตร เมื่อวัดที่ความสูงจากพื้นดินตั้งแต่ความสูงประมาณ 4  เมตร  ลำต้นจะเริ่มเรียวลงและวัดโดยรอบได้ประมาณ 40  เซนติเมตร  ที่ระยะความสูงประมาณ  10  เมตร   นับจากพื้นดินลำต้นจะเริ่มขยายออกใหม่จนวัดได้โดยรอบได้ประมาณ  50  เซนติเมตร   และคงขนาดนี้ไปจนถึงยอด    เปลือกลำต้นขรุขระและมีสีขี้เถ้าเป็นวงซ้อน ๆ กัน   ลำต้นจะมีใบที่บริเวณเกือบถึงยอด


           
ใบ
ลักษณะใบตาลโตนดว่ามีลักษณะยาวใหญ่   เป็นรูปพัด  (Flobellate หรือ Fan Leaf หรือ Palmate Leaf)  ใบจะมีใบย่อย  เรียกว่า  Segment ซึ่งจะแตกออกจากจุดๆ  เดียวกันที่ปลายก้านใบ ตามขอบทางจะมีหนามทู่สีดำติดอยู่

          
ยอด
ตาลประกอบด้วย ใบตาลประมาณ  25 – 40  ใบ ซึ่งขึ้นอยู่กับอายุตาล    ใบมีสีเขียวเข้มเป็นรูปวงกลม  รัศมีประมาณ 4  เมตร  ถ้าตาลต้นใดไม่ได้ใช้ใบเป็นประโยชน์ปล่อยไปทิ้งไว้จนกระทั่งใบแก่มีสีน้ำตาลอ่อน และจะห้อยแนบลำต้น คลุมบริเวณคอตาลเป็นรัศมีครึ่งวงกลม  ความกว้างของใบวัดได้  50 – 70  เซนติเมตร  ใบแต่ละใบอายุไม่เกิน  3  ปี ตาลโตนดต้นหนึ่งๆ สามารถให้ใบตาลได้ 12 – 15 ใบ ต่อปี  ส่วนที่เป็นทางตาลบางทีอาจยาวถึง 2  เมตร ทางตาลนี้จะหนาโค้งตามความยาวมีหนามแหลมรอบทั้งสองด้าน ลักษณะเป็นฟันเลื่อยขนาดไม่สม่ำเสมอกัน   ตาลโตนดจะผลิตใบได้ 1 ใบ ใช้เวลาประมาณ 2 เดือน

       
ราก
ตาลหาอาหารได้มากรากเป็นเสี้ยนกลมยาว เป็นกระจุกคล้ายมะพร้าวแต่หยั่งลึกลงไปในดินและไม่แผ่ไปตามผิวดินเหมือนรากมะพร้าว ฉะนั้นจึงไม่รบกวนต้นข้าว   เมื่อปลูกลงบนคันนา  รากของตาลโตนดสามารถหยั่งลงไปในดินได้ลึกมาก   จึงยึดกับดินได้ดี โอกาสที่จะโค่นล้มหรือถอนรากเป็นไปได้ยาก  จึงได้ปลูกเพื่อเป็นหลักในการแบ่งเขตของคันนาหรือเพื่อเสริมความแข็งแรงให้กับดินในบริเวณทำการทดน้ำเข้านา

       
ดอก
ตาลโตนดเป็นพืชที่ต้นผู้กับต้นเมียแยกกัน   ช่อดอกของต้นผู้แตกแขนงออกเป็น   2 – 4  งวงต่อก้านช่อยาวงวงละประมาณ 30 – 40  เซนติเมตร   ในแต่ละงวงจะมีดอกเล็กๆ   ต้นผู้ต้นหนึ่งๆ จะมีช่อดอก 3 – 9  (ในเขตอำเภอสทิงพระส่วนใหญ่ออกช่อดอกในเดือน ธันวาคม)   ตัวเมียจะออกช่อดอกหลังตัวผู้เล็กน้อย   มีประมาณ 10 กว่าช่อขนาดเล็กและชุ่มหวานมากกว่า   ในแต่ละช่อจะมีดอกน้อยกว่าตัวผู้ (ประมาณ 10 ดอก ในช่อกลุ่มที่มีงวง 3 งวง)   ทั้งต้นผู้และต้นเมียจะทยอยออกช่อดอกเรื่อย ๆ แม้จะมีจำนวนน้อยแต่ก็สามารถเก็บรองน้ำตาลได้ตลอดปี


        
ผล
ตาลโตนดจะให้ดอกให้ผลหลายครั้งจนกว่าจะแก่ตายไป ผลอ่อนมีสีเขียวติดอยู่บนทะลายคล้ายมะพร้าว    ผลแก่จัดมีสีน้ำตาลเข้มหรือสีดำเป็นมัน      ผลโตขนาดเท่าผลส้มโอภายในเป็นเส้นละเอียดเมื่อสุกจะเป็นสีเหลืองแก่  เนื้อประกอบด้วยแป้งและน้ำตาล ทะลายหนึ่งมีประมาณ     10 – 15  ผล  ผลหนึ่งจะมีเมล็ด 1 – 4   เมล็ด  อยู่ภายใน จะมีลักษณะแบนๆ ยาวประมาณ  3  นิ้ว กว้าง  2  นิ้ว และหนาประมาณ  ½  นิ้ว


ส่วนประกอบของผลแบ่งออกเป็น 3 ส่วน   คือ

1. Exocarp  เป็นเปลือกชั้นนอก

2. Mesocarp  เป็นส่วนประกอบของเส้นใยสด

3. Endocarp  เป็นเปลือกหรือกะลาแข็งหุ้มเมล็ดไว้

      

ตาลโตนดสืบพันธุ์จากเมล็ดอย่างเดียวทำได้โดยนำเมล็ดแก่ที่ตกอยู่ตามโคนต้นมาฝังดิน  ลึกประมาณ 10  เซนติเมตรหลังจากนั้น 2 – 3  เดือนก็จะเริ่มงอกในระยะปีแรกๆ  การเจริญเติบโตของตาลโตนดจะเป็นไปอย่างช้า ๆ   โดยเฉลี่ยแล้วปีหนึ่งจะมีใบใหม่เพิ่มขึ้นเพียง 1 ใบเท่านั้น เมื่อตาลโตนดอายุ 5 – 6 ปี ลำต้นจะสูงเพียง 1  เมตร  หลังจากระยะนี้จะเป็นลำต้นยืดตัวสูงขึ้นปีละ 1  เมตร หลังจากระยะนี้จะเป็นลำต้นยืดตัวจะสูงขึ้นปีละ 30 เซนติเมตร  ดังนั้นตาลโตนดอายุ 10–15 ปี จะสูงเพียง 4–5  เมตร ถือว่าเป็นระยะเริ่มให้ดอก    ผลนักวิจัยเชื่อว่าตาลโตนดให้ผลครั้งแรกอายุ 15–20 ปี แต่ชาวบ้านเชื่อว่าตาลโตนดจะให้ผลครั้งแรก เมื่ออายุ 15 ปี บางที่ลดลงมาเหลือ 12 ปี ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากความอุดมสมบูรณ์ของดิน

     
การงอกเยื่อหุ้มเมล็ดหรือหน่อ (Opocolon) จะเจริญข้างล่างขณะที่ใบแรกของผลจะงอกออกมา  จากนั้นส่วนที่สะสมอาหารภายในเมล็ดก็จะถูกย่อยเป็นคาร์โบโฮเดรตอย่างง่าย  โดยส่วนที่สะสมอาหารของใบเลี้ยงและคาร์โบไฮเดรตก็จะถูกนำไปสร้าง Plunule และรากแขนงให้เจริญเติบโตขึ้น

     
แมนโนเซลลูโลส (Mannocellulose) ของส่วนที่สะสมอาหารภายในเมล็ด จะมาจาก   การเปลี่ยนรูปของน้ำตาลกลูโคสโดยอาศัยน้ำตาลแมนโนสเข้าช่วยแต่การทดลองนี้ได้กระทำระหว่างที่วิทยาการเกี่ยวกับแอนไซน์ไม่เจริญก้าวหน้า   จึงควรกระทำการยืนยันผลอีกครั้งหนึ่ง โดยใช้เทคนิคสมัยใหม่

     
กีย์  เทรบุลย์ (2526) กล่าวว่าตาลโตนดเป็นพันธุ์ไม้ที่สามารถปรับตัวได้กับสภาพอากาศ และภูมิอากาศแทบทุกชนิดแม้ในเขตละติจุดสูงๆ เราสามารถพบตาลโตนดเจริญอยู่   แม้จะเป็นจำนวนน้อยก็ตาม ในที่ๆมีปริมาณน้ำฝน 400 – 700 มิลลิเมตรต่อปี  หรือในเขตชุ่มชื้นมีระดับน้ำฝนมากกว่า 3,000 มิลลิเมตรต่อปี  ก็สามารถขึ้นได้  จึงไม่อาจสรุปได้ว่าอุณหภูมิระดับใดเป็นข้อจำกัดการเจริญเติบโตของตาลโตนด   อย่างไรก็ตาม พันธุ์ไม้นี้เป็นพืชที่ชอบแสง จึงงอกงามไม่ดีในเขตที่ร่มหรือป่า         รากแขนงที่แตกกระจายหนาแน่น จะช่วยให้ตาลโตนดต้านลมได้ดี   ถ้ามีพายุใหญ่ลำต้นจะโค่นหักกลาง แต่ไม่ถึงกับถอนรากถอนโคน

      
ปัจจุบันยังไม่มีผู้ใดทราบสาเหตุการตายของตาลโตนด และกล่าวสนับสนุนว่าตาลโตนดตายเนื่องจากลำต้นของมันเองอย่างไรก็ตามยังไม่ทราบลักษณะทางสรีรวิทยาของตาลโตนดที่เข้าสู่ระยะแก่  หรือเสื่อมสลายนั้นเป็นอย่างไร

     
กีย์ เทรบุลย์ (2526) รายงานว่า  มีการใช้ลำต้นไปทำเครื่องใช้  เครื่องเรือน  การก่อสร้าง  เชื้อเพลิง  แป้งสาคู  กาว และใช้ทำที่เกาะของหอยนางรม   รากใช้เป็นยาขับปัสสาวะ และตาลขโมย   ทางตาลใช้เป็นเส้นใยทำเชือก เครื่องจักสานและใช้ทำรั้วคอกสัตว์เชื้อเพลิง  ใบตาลใช้ทำเครื่องพัด จักสาน ใช้เป็นปุ๋ยพืชสด หรือเผาเป็นเถ้าใช้ในแปลงนาเนื่องจากมีธาตุโพแทสเซียมสูงช่อดอกใช้ผลิตน้ำหวานนำมาทำเป็นน้ำผึ้ง  น้ำตาลปึก น้ำตาลแว่น เครื่องดื่ม น้ำส้มสายชู  ผลอ่อนใช้ทำอาหารคาว   ผลแก่ใช้บริโภคสด เชื่อมบรรจุกระป๋อง  ผลแก่ส่วนเนื้อ (Mesocarp) มีสีเหลืองสดนำมาคั้นเอาเส้นใยออก  มีกลิ่นหอมใช้ปรุงขนมหวาน  เมล็ดใช้เฉพาะจาวตาลหรือใช้เป็นอาหารสัตว์ตากแห้งทำเชื้อเพลิง  และเมื่อตาลโตนดมีอายุ 12 – 15 ปี สามารถเริ่มรองน้ำหวานมาทำน้ำตาลโตนดอาจเริ่มปาดตาลเมื่อมีดอกเป็นปีแรก  แต่จะได้น้ำหวานในปริมาณน้อยปริมาณความหวานอยู่ระหว่าง 9 – 16.5 เปอร์เซ็นต์     ตาลต้นหนึ่งรองน้ำหวานได้ติดต่อกันนาน 22 เดือน เป็นอย่างน้อย   และรองน้ำหวานได้ทุกปีติดต่อกัน 3 – 4 ช่วงอายุคนหรือประมาณ 80 ปี



คุณค่าทางโภชนาการจากตาลโตนด

      ผลการศึกษาของกนก   ติระวัฒน์ และคนอื่นๆ (2531) รายงานว่า น้ำตาลโตนดสด   มีค่าปริมาณของแข็งที่ละลายได้ 116  องศาบริกซ์ Ph ปริมาณน้ำตาลทั้งหมด ประมาณ 16.8 เปอร์เซ็นต์ น้ำตาลรีดิวซิ่ง 1.8  เปอร์เซ็นต์ และน้ำตาลซูโครส 15.0 เปอร์เซ็นต์  นอกจากน้ำตาลโตนดสด ยังมีองค์ประกอบดังนี้  ความถ่วงจำเพาะที่ 29  องศาเซลเซียส ประมาณ 1.058 – 1.077 ปริมาณของแข็งทั้งหมด ประมาณ 15.–19.7 กรัม / 100 มิลลิลิตร เถ้า ประมาณ 0.11– 0.41  กรัม / 100 มิลลิลิตร

โปรตีน (N * 6.25 ) ประมาณ 0.23– 0.32  กรัม / 100 มิลลิลิตร



องค์ประกอบทางเคมีของเนื้อตาลโตนดสุก

      เนื้อตาลโตนดเมื่อสุก ประกอบด้วยแป้งและน้ำตาลเป็นจำนวนมากและแคโรทีนอยด์ ให้สีเหลือง   ใช้แต่งสีขนมต่างๆ เช่นขนมตาล ขนมเค้ก ขนมขี้หนู และไอศกรีม

     
แคโรทีนอยด์  เป็นกลุ่มสีธรรมชาติที่มีการใช้อย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมอาหารเป็นเมล็ดสีที่ใช้สีเหลืองจนถึงสีแดงพบมากที่สุดในธรรมชาติทีทั้งพืชและสัตว์ เช่น มะเขือเทศ แครอท ไข่แดง เนย  มะม่วง แคนตาลูป  มะละกอ ลุกพลับ ท้อพืชตระกูลส้ม พริกหยวกสีแดง – เหลือง สับปะรด และแตงโม

     
แคโรทีนอยด์  เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอน   กลุ่มอะลิฟาติก หรือกลุ่มอะลิฟาติก  อะลิไซคลิก  ประกอบด้วย  หมู่ไอโซบรีน 8 หมู่  เมททิล 2 หมู่



ผลผลิตของตาลโตนด

      ต้นตาลจะเริ่มเก็บเกี่ยวผลได้เมื่ออายุประมาณ 12 – 15 ปี ขึ้นไป การเก็บเกี่ยวสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้จากการผลิตหลักได้แก่ ลอนตาลสด น้ำตาลสด จาวตาล และผลิตภัณฑ์แปรรูป จากน้ำตาลโตนด (เช่น หัวตาลสด ใบตาล ฯลฯ) เป็นต้น  ดังรายละเอียดดังต่อไปนี้

     
ลูกตาลสด  คือ ผลตาล เป็นส่วนของผลสามารถเก็บเกี่ยวหลังจากออกจั่นแล้ว  2 ½ - 3 เดือน นำมาเฉาะเอาเมล็ดข้างในที่ยังอ่อนอยู่ออกมา  เรียกว่า ลอนตาล ในลูกตาล 1 ลูก จะมีลอนตาลประมาณ   3 ลอน  (ยุม)  ลอนตาลอ่อนเมื่อปลอกเปลือกหุ้มเมล็ดออก จะเป็นเนื้อสีขาว  อ่อนนุ่มมีรสหวานมัน   ใช้บริโภคหรือนำไปเชื่อม   ต้นตาลโตนด 1 ต้น สามารถให้ลูกตาลสด เฉลี่ย 10 – 13 ทะลาย / ปี ใน  1 ทะลาย จะมีผลเฉลี่ย  5 – 10 ผล 

ขึ้นอยู่กับฤดูกาลแทงช่อดอก

       การจำหน่าย  การเฉาะเอาเฉพาะลอนตาลใส่ถุงพลาสติก  ประมาณ   10  ลอน  (ยุม)   ต่อถุง  จำหน่ายราคาถุงละ  6 – 10 บาท   หรือราคาประมาณกิโลกรัมละ 8 – 15 บาท ขึ้นอยู่กับปริมาณของลูกตาลในแต่ละฤดูกาล แต่จะมีพ่อค้ามารับถึงชุมชนหรือบางราย  นำไปจำหน่ายเองตามเส้นทางสัญจร


     
น้ำตาลสด ได้จากช่อดอกของตัวผู้ซึ่งเรียกว่า  งวงตาล และช่อดอกของตัวเมีย เนื่องจากต้นตาลโตนดเป็นพืชที่แยกกันระหว่างตัวผู้กับตัวเมีย    มีกรรมวิธีการทำหลายขั้นตอน      กล่าวคือ ขั้นตอนแรกต้องใช้   “ไม้คาบตาล” นวดงวงตาล  (ส่วนของช่อดอกตัวผู้ และตัวเมีย)  วิธีการนวดมีวิธีคล้าย ๆ กัน   จะแตกต่างกันเฉพาะไม้นวดช่อดอกของต้นตัวผู้จะใช้ไม้นวดที่แบนและสั้นกว่าส่วนของต้นตัวเมียจะใช้ไม้กลมและยาวกว่า   ขั้นตอนที่ 2 ใช้  “มีดปาดตาล”  ปาดบาง ๆ ทุกวัน วันละ 2 ครั้ง คือ   ช่วงเช้า แล้วรอให้น้ำหวานหยดใส่ภาชนะที่รองรับไว้   อาจจะเป็นกระบอกไม้ไผ่   ทุ่นอวนลอยหรือแกลลอน  ประมาณ 8 – 10 ชั่วโมง   แล้วขึ้นไปเก็บพร้อมกับใช้มีดปาดใหม่อีกครั้ง   และไปเก็บตอนเย็นวนเวียนอยู่อย่างนี้จนกว่าช่อดอกที่ปาดจะหมดหรือปริมาณน้ำตาลลดลงมากจะนานประมาณ 20 – 40  ลิตร (2ครั้ง) น้ำตาลสดสามารถแปรรูปได้หลายอย่าง  เช่น  น้ำผึ้ง  น้ำตาลแว่น น้ำส้ม  กระแช่  หรือจะบริโภคสดก็ได้รสชาติที่หอมหวานอีกด้วย

      

ความเป็นมา   (ตาลเมืองเพชร   สำนักงานเกษตรจังหวัดเพชรบุรี ปี  2545 : 2) ระบุว่า  ตาลโตนดจัดเป็นไม้ตระกูลเก่าแก่ตระกูลหนึ่งในโลกซึ่งมีมากกว่า  4,000  ชนิด  (Species) เป็นต้นไม้ที่มีอายุยืนนับเป็นร้อยปี  และอยู่กับจังหวัดเพชรบุรีมาตั้งแต่โบราณกาลและมีผลผลิตจากต้นตาลโดยเฉพาะน้ำตาลโตนดยังเป็นส่วนผสมที่สำคัญในการทำขนมหวานเมืองเพชรซึ่งมีชื่อเสียงตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน  ดังคำสวดสุบินกุมารที่มีอายุมากกว่าร้อยปีกล่าวว่า 

โตนดเต้าแลจาวตาล    เป็นเครื่องหวานเพชรบุรี

กินกับน้ำตาลปี   ของมากมีมาช่วยกัน

   

จากตำนานของจังหวัดเพชรบุรีกล่าวว่าในปี  พ.ศ.  2134  สมเด็จพระนเรศวรมหาราชและสมเด็จพระเอกาทศรถ  ได้เสด็จมาประทับแรม  ณ  พระตำหนักโตนดหลวง  (อยู่ในเขตตำบลบางเก่า  อำเภอชะอำ)  เพื่อประพาสทางทะเล

     
นักชีววิทยามีความเห็นว่าตาลโตนดน่าจะมีถิ่นกำเนิดทางฝั่งตะวันออกของอินเดียขยายไปสู่ศรีลังกา  สหภาพเมียนม่าร์  ไทย  อินโดนีเซีย  กัมพูชา  ส่วนในประเทศไยพบมากที่จังหวัดเพชรบุรี   สุพรรณบุรี  นครปฐม  ส่วนภาคใต้พบมากที่อำเภอสทิงพระ  อำเภอระโนด  จังหวัดสงขลา  การแพร่กระจายของตาลโตนดนั้นนักวิชาการบางท่านให้ความเห็นว่า  การแพร่กระจายของตาลโตนดนั้นสัตว์ก็มีส่วนด้วยเหมือนกันเช่นเวลาช้างกินเมล็ดตาลโตนดจะกลืนทั้งเมล็ด  และช้างจะเดินทางไกลนับเป็นร้อยๆ  กิโลเมตรทำให้ตาลโตนดแพร่กระจายจากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่งได้เช่นกัน    ตรงข้ามกับวัวควาย  ซึ่งชอบเมล็ดตาลโตนดสุกเหมือนกัน  แต่วัวควายได้แต่แทะและดูดกินส่วนของเส้นใยของเมล็ดตาลพอหมดรสหวานก็จะทิ้งไว้ใกล้เคียงบริเวณเดิมไม่แพร่กระจายไปสู่ถิ่นอื่น
 

พันธุ์ตาลโตนด 
    พันธุ์ตาลโตนด  (สำนักงานเกษตรจังหวัดเพชรบุรี ปี  2545 : 5-6)   ที่นิยมปลูกมี  3  พันธุ์ด้วยกันคือ

1. ตาลพันธุ์หม้อ  
เป็นตาลที่มีลำต้นแข็งแรงถ้าดูจากลำต้นภายนอกไม่สามารถแยกได้ว่าเป็นตาลพันธุ์อะไร  นอกจากต้นนั้นจะให้ผลแล้ว  ตาลหม้อเป็นตาลที่ให้ผลใหญ่ผิวดำเป็นมันเรียบแทบจะไม่มีสีอื่นปน  เวลาผลแก่มีรอยขีดตามแนวยาวของผลเปลือกหนาในผลจะมี  2-4  เมล็ด  ใน  1  ทะลายจะมีประมาณ  10-20  ผล  ส่วนใหญ่จะให้ผลเมื่ออายุ  10  ขึ้นไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน


ภาพตาลพันธุ์หม้อ

 2. ตาลพันธุ์ไข่  
ลำต้นแข็งแรงลูกมีขนาดเล็กสีค่อนข้างเหลืองแบ่งออกเป็น  2  ชนิดด้วยกัน
           
ไข่เล็ก  ผลค่อนข้างเล็กใน  1  ทะลายจะมีผล  20-30  ผล เนื่องจากผลเล็ก  จึงทำให้เต้ามีขนาดเล็กตามไปด้วย  จะให้ผลเมื่ออายุ  10  ปีขึ้นไป
           
ไข่ใหญ่  ผลมีขนาดใหญ่กว่าไข่เล็ก  สีค่อนข้างเหลืองใน  1 ทะลายจะมีผล 10-20  ผล  เต้ามีขนาดใหญ่กว่าไข่เล็ก  1  ผล  จะมี  2-3  เต้า  จะให้ผลเมื่ออายุ  10  ปีขึ้นไป


ภาพตาลพันธุ์ไข่

           

3.   ตาลพันธุ์ลูกผสม 
ลำต้นตรงใหญ่แข็งแรง  ลูกค่อนข้างใหญ่เกือบเท่าตาลพันธุ์หม้อ   สีดำผสมน้ำตาล   (เหลืองดำ)   ในผลจะมี  2-3  เต้า  ให้ผลประมาณ 15-20  ผลต่อทะลายเป็นตาลที่มีจำนวนมากที่สุดในจังหวัดเพชรบุรี  ส่วนใหญ่จะไห้ผลเมื่ออายุ  15  ปีขึ้นไป     


ภาพตาลพันธุ์ลูกผสม

          

ตาลโตนดเป็นไม้ที่ปรากฏอยู่ในวรรณคดีไทยหลายเรื่องดังที่ปรากฏผลงานในนิราศ เมืองเพชรของ  “สุนทรภู่”  ไว้หลายตอน  ตอนหนึ่งว่า

          
พอแดดร่มลมชายสบายจิต..............เที่ยวชมทิศทุกอย่างกลางวิถี
ทั่วประเทศเขตแคว้นแดนพริบพรี........เหมือนจะชี้ไม่พ้นแต่ต้นตาล
ที่พวกทำน้ำโตนดประโยชน์ทรัพย์.......มีดสำหรับเหน็บข้างอย่างทหาร
พะองยาวก้าวตีนปีนทะยาน...............กระบอกตาลแขวนก้นคนละพวง
ที่พวกทำน้ำโตนดประโยชน์ทรัพย์........มีดสำหรับเหน็บข้างอย่างทหาร
พะองยาวก้าวตีนปีนทะยาน................กระบอกตาลแขวนก้นคนละพวง


 
 
http://www.raisathon.com/otop/otop_detail.php?otop_id=00000000004 

                  



 







หน้าก่อน หน้าก่อน (1/2)


สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2009-07-16 (4796 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©