-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 452 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

จุลินทรีย์หน่อกล้วย





                               จุลินทรีย์หน่อกล้วย 




                เตรียมเชื้อจุลินทรีย์เริ่มต้น :
       1. เลือกหน่อกล้วยความสูง 1 ม.จากพื้นถึงยอด เป็นหน่อชนิดที่สมบูรณ์ แข็งแรง ไม่มี
โรค เกิดจากต้นแม่ที่สมบูรณ์แข็งแรงให้ผลผลิตดี ทั้งต้นแม่และหน่ออยู่ในบริเวณที่ดินมีค่ากรด-
ด่างเป็นกลางหรือเป็นกรดอ่อนๆ
       2. ขุดหน่อขึ้นมาให้มีเหง้าติดรากมากที่สุดเท่าที่จะมากได้ สลัดดินทิ้งไปให้เหลือติดราก
ไว้เล็กน้อย ไม่ต้องล้างน้ำ  
       3. สับเล็กหรือบดละเอียดทั้งต้น (ราก เหง้า ต้น ใบ) อัตราส่วน หน่อกล้วย 3 ส่วน :
กากน้ำตาล 1 ส่วน (3:1) เติมน้ำมะพร้าวอ่อนพอเหลว บรรจุในภาชนะที่ไม่ใช่โลหะ คลุกเคล้า
ให้เข้ากันดี เก็บในร่ม อุณหภูมิห้อง คนบ่อยๆ เพื่อเร่งอากาศให้แก่จุลินทรีย์ หมักนาน 7-10 วัน
กรองเอากากออก น้ำที่ได้คือ “น้ำหัวเชื้อจุลินทรีย์หน่อกล้วยเข้มข้น” พร้อมใช้งานขั้นตอนการ
หมัก การตรวจสอบ และการนำไปใช้เหมือนจุลินทรีย์ประจำถิ่น อายุการเก็บนาน 6 เดือนหลัง
จากหมดอายุแล้วนำมาขยายเชื้อด้วยจุลินทรีย์เริ่มต้นชุดใหม่ได้

          ประโยชน์ :

        - ใช้ในการหมักปุ๋ยน้ำชีวภาพ ฮอร์โมนพืช บ่มดิน ปรับปรุงดิน ฯลฯ
        - ราดลงดินช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดิน ทำให้ดินโปร่งร่วนซุย ช่วยกำจัดเชื้อโรคในดิน
        - ผสมกับปุ๋ยหมัก-ปุ๋ยคอก ให้ได้ความชื้น 50 เปอร์เซ็นต์ ช่วยเร่งให้ปุ๋ยหมัก-ปุ๋ยคอกใช้
งานได้เร็วและดีขึ้น
        - ช่วยย่อยสลายเศษซากอินทรีย์วัตถุที่ใส่ลงไปในดินช่วงปรับดินให้เกิด  “ฮิวมิค แอ
ซิด”  ได้เร็วและจำนวนมาก
        - ช่วยย่อยสลายฟางในนาข้าวที่ไถกลบช่วงทำเทือกให้เปื่อยยุ่ยเร็วขึ้น
        - ฉีดพ่นทางใบช่วยกำจัดเชื้อรา ทำให้หนอนไม่ลอกคราบไม่กินอาหาร (ทำลายพืช) ทำ
ให้ไข่ของแม่ผีเสื้อฝ่อจนฟักออกมาเป็นตัวหนอนไม่ได้ และขับไล่แม่ผีเสื้อไม่ให้เข้าวางไข่
        - กำจัดเชื้อโรคในน้ำในร่องสวน สระกักเก็บน้ำ และคอกปศุสัตว์

          หมายเหตุ :
        - ในหน่อกล้วยมีจุลินทรีย์กลุ่ม “แอ็คติโนมัยซิส” ซึ่งมีประสิทธิภาพในการย่อยสลายสูง
        - ฉีดพ่นจุลินทรีย์หน่อกล้วยทางใบให้ทั่วทรงพุ่มตอนกลาวันช่วงหลังฝนหยุด (ฝนต่อ
แดด) เพื่อล้างน้ำฝนออกจากต้นไม่ให้น้ำฝนแห้งคาต้นช่วยกำจัดเชื้อราแอนแทร็คโนส. ไม่ให้
เข้าทำลายใบ ยอด ดอก ผล และส่วนต่างๆ ของพืชได้.....ฉีดพ่นตอนเช้ามืดเพื่อล้างน้ำค้าง
และหมอกออกจากต้นก่อนที่น้ำค้างและหมอกจะแห้งคาต้น ช่วยกำจัดเชื้อราน้ำค้าง. ราแป้ง. รา
สนิม. ไม่ให้เข้าทำลายส่วนต่างๆ ของต้นพืชได้
        - จุลินทรีย์กลุ่มแอ็คติโนมัยซิส. มีประสิทธิภาพในการกำจัดจุลินทรีย์เชื้อโรคพืชประเภท
เชื้อราในดิน เช่น เชื้อไฟธอปเทอร่า. พิเทียม. ฟูซาเลียม. สเคลโรเทียม. และไรช็อคโธเนีย.
ได้ผลดีมาก
        - ถ้าไม่ใช้หน่อกล้วยทั้งหน่อ สามารถใช้เฉพาะส่วนลำต้นของต้นกล้วยแก่ตัดเครือใหม่ๆ
แทนก็ได้ ด้วยอัตราส่วนและวิธีการเดียวกัน


ตรวจสอบ : (สี.  กลิ่น.  กาก.  ฝ้า.  ฟอง.  รูป.  กรด-ด่าง)

สี...... น้ำตาลอ่อน ถึง น้ำตาลไหม้  แต่ไม่ถึงกับดำ  ขึ้นอยู่กับปริมาณกากน้ำตาล

กลิ่น... หมักใหม่ๆ มีกลิ่นหน่อกล้วยชัดเจน  เมื่อหมักไปนานๆกลิ่นหวานอมเปรี้ยว 
ออกฉุดนิดๆ  ดมแล้วไม่เวียนหัว  ไม่น่ารำคาญ  ถ้ามีกลิ่นเหม็นเน่า  นั่นคือ จุลินทรีย์
กลุ่มแบคทีเรีย (เชื้อโรค)


กาก... ส่วนที่อ่อนนิ่ม ถึง เละ จะนอนก้น  ส่วนที่แข็งหยาบจะลอยหน้า


ฝ้า..... สีขาวอมเทา  พวกนี้เป็นจุลินทรีย์กลุ่ม  "รา" ที่ตายแล้ว  เมื่อคนลงไปจะ
กลายเป็นสารอาหารของพวกที่ยังไม่ตาย


ฟอง... ปล่อยวางนิ่งๆ จะมีฟองเล็กๆ ละเอียดๆ ผุดขึ้นมาจากด้านล่างของภาชนะ
หมัก เกิดจากกระบวนการจจุลินทรีย์ (ไม่แน่ใจว่าจุลินทรีย์หายใจหรือเปล่า เพราะ
จุลินทรีย์ไม่มีปอด) ฟองผุดบ่อยๆ ฟองขนาดใหญ่ แสดงว่าจุลินทรีย์มากและแข็ง
แรง  ถ้าไมมีฟองก็แสดงว่าไม่มีจุลินทรีย์


รูปลักษณ์..... ขุ่น  ใส  มีตะกอนละเอียดแขวนลอย 


กรด-ด่าง......ค่า พีเอช  4.0- 6.0



ทดสอบ :

กรอกใส่ขวด  แล้วปิดปากขวดด้วยลูกโป่ง  ทิ้งไว้ในร่ม  อุณหภูมิห้อง  ไม่คนไม่
เขย่า  นาน 24 - 48 - 72  ชม.    สังเกตุ..... 


1..... ลูกโป่งพอโต  โตมากแสดงว่ามีจุลินทรีย์กลุ่มต้องการอากาศจำนวนมาก
แข็งแรง  พองน้อยจุลินทรีย์น้อย  ไม่พองเลยก็แสดงว่าไม่มีจุลินทรีย์ 


2.... ช่วงแรกที่ลูกโป่งพอโต ต่อมาลูกโป่งยุบแล้วถูกดูดเข้าไปในขวด  กรณีนี้เกิด
จากจุลินทรีย์กลุ่มไม่ต้องการอากาศ  ก็แสงดงว่าจุลินทรีย์กลุ่มต้องการอากาศตาย
หมดแล้ว  จุลินทรีย์กลุ่มไม่ต้องการอากาศเกิดขึ้นมาแทน 


3.... บรรจุขวดพลาสติกเปล่า  ปิดฝาสนิท  แน่น  วางทิ้งไว้  ถ้าขวดบวมพองออก
แสดงว่าเป็นจุลินทรีย์ดี  เป็นจุลินทรีย์กลุ่มต้องการอากาศ ถ้าขวดไม่บวมพองหรือ
บวมพองน้อยก็หมายถึงจุลินทรีย์เหมือนกัน  ก็ได้


4.... บรรจุขวดช่วงแรกขวดบวมพอง  ต่อมาขวดยุบบุบบู้บี้  แสดงว่า จุลินทรีย์กลุ่ม
ต้องการอากาศตายหมดแล้ว  จุลินทรีย์กลุ่มไม่ต้องการอากาศเกิดขึ้นมาแทน



หมายเหตุ :


- จุลินทรีย์ คือ สิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็กที่สุด  ได้แก่  รา-แบคทีเรีย-ไวรัส  วงจรชีวิต
ประกอบด้วย  เกิด-กิน-ถ่าย-ขยายพันธุ์-ตาย.....ประเภทต้องการอากาศ ต้องอยู่ใน
สภาวะแวดล้อมที่มีอากาศ  ถ้าไม่มีอากาศจะตาย.....ประเภทไม่ต้องการอากาศ
ต้องอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่ไม่มีอากาศ  ถ้ามีอากาศจะตาย


- การบรรจุในขวดปิดสนิทแน่น  อากาศเข้าไม่ได้  จุลินทรีย์ประเภทต้องการอากาศ
จะใช้อากาศที่พอมีอยู่ในขวดนั้นเพื่อการดำรงชีวิต  ช่วงนี้จุลินทรีย์ประเภทไม่ต้อง
การอากาศจะยังไม่เกิด  ครั้นเมื่ออากาศในขวดหมด  จุลินทรีย์ประเภทต้องการ
อากาศ เกิดอาการขาดอากาศจึงตาย  พร้อมกันนั้นจุลินทรีย์กลุ่มไม่ต้องการอากาศก็
เริ่มเกิดแล้วเจริญเติบโต


- จุลินทรีย์กลุ่มต้องการอากาศ อาศัยอยู่บริเวณผิวดินที่อากาศผ่านได้  ส่วนจุลินทรีย์
กลุ่มไม่ต้องการอากาศอาศัยอยู่ใต้ดินลึกบริเวณที่อากาศลงไปไม่ถึง.......จุลินทรีย์
กลุ่มไม่ต้องการอากาศมีพลังในการย่อยสลายสูงกว่าจุลินทรีย์กลุ่มต้องการอากาศ







***************************************************









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2009-07-16 (1106 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©