-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 535 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ตะขบป่า







ที่มา: http://suanlukchan.net/topic.php?suan_topic_id=1305



                                              ตะขบป่า

 
           ลักษณะทางธรรมชาติ
           
       * เป็นไม้ป่าพุ่มขนาดกลาง กิ่งยาวเหมือนเลื้อย เจริญเติบโตได้ดีในสภาพดินลูกรัง ดินเสื่อมโทรมขาดอินทรีย์วัตถุ ไม่ทนต่อสภาพน้ำขังค้างนาน
           
       * ออกดอกติดผลได้ตลอดปีจากซอกใบกิ่งแก่  เป็นดอกสมบูรณ์เพศผสมตัวเองหรือต่างดอกต่างต้นได้  ขนาดผลโตเท่าเหรียญห้าบาท  รสหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย  ผลสีน้ำตาลดำ  กลิ่นหอมเฉพาะตัว   เนื้อสีเหลืองอมเขียว  เมล็ดเล็ก
           
       * ปัจจุบันไม่มีใครปลูกเป็นไม้ผลเศรษฐกิจนอกจากปลูกแซมแทรกไว้ตามพื้นที่ว่างในสวนเท่านั้น
            

          สายพันธุ์
           
          ตะขบป่า.  ตะขบบ้าน.  ตะขบยักษ์ไร้หนาม (ผลใหญ่ขนาดลูกปิงปอง).
                       
          การขยายพันธุ์
           
          ตอน.  แยกหน่อ (ดีที่สุด).  เพาะเมล็ด (กลายพันธุ์).
                        

          เตรียมดินและอินทรีย์วัตถุ  
           
        - ใส่ปุ๋ยคอก (มูลวัวเนื้อ/นม + มูลไก่ไข่/เนื้อ/นกกระทา (แห้งเก่าข้ามปี) ปีละ 2 ครั้ง
  
      - ให้ยิบซั่มธรรมชาติ  ปีละ 2 ครั้ง           
        - ให้กระดูกป่น  ปีละ 1 ครั้ง  
           
        - คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆเต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่ม  ล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
            
        
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิงหรือจุลินทรีย์ 1-2 เดือน/ครั้ง           
           หมายเหตุ :
            
        - การฝังซากสัตว์ เช่น หอยเชอรี่  ปลาสด  เป็นชิ้นเท่าลูกมะนาวหรือบดละเอียด ที่ชายเขตทรงพุ่ม 4-5 หลุม/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม. ฝังปีเว้นปี เพื่อให้ต้นมีสารอาหารกินตลอด 24 ชม. ต่อเนื่องหลายๆปีจะทำให้ต้นมีความสมบูรณ์สูงพร้อมต่อการบำรุงทุกขั้นตอน  
           
        - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพ (ทางใบ-ทางราก) บ่อยเกินไปจะทำให้ต้นหยุดการเจริญเติบโต ไม่แตกใบอ่อน  ผลหยุดขยายขนาดแล้วกลายเป็นผลแก่  การให้ทางใบอาจเป็นแหล่งอาศัยและแพร่ระบาดของเชื้อราได้ 
            
      
 - ฮอร์โมนธรรมชาติและฮอร์โมนวิทยาศาสตร์จะให้ประสิทธิภาพเต็มร้อยก็ต่อเมื่อ ต้นมีสภาพความสมบูรณ์สูง             

          เตรียมต้น
            
          ตัดแต่งกิ่ง :
           
        - ตะขบออกดอกติดผลที่ซอกใบส่วนปลายกิ่งแก่อายุข้ามปี  การตัดแต่งกิ่งควรตัดให้เหลือใบประ
มาณ 50 เปอร์เซ็นต์และเมื่อใบอ่อนชุดใหม่ออกมาแล้วให้มีใบประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์จะช่วยให้การผลิดอกติดผลดี                 
        - ตัดกิ่งที่บังแสงแดดต่อกิ่งอื่นออก ทำให้ทรงพุ่มโปร่งจนแสงแดดสามารถส่องได้ทั่วถึงทุกกิ่ง  กิ่งที่ได้รับแสงแดดจะสมบูรณ์ดีกว่ากิ่งที่ไม่ได้รับแสงแดดหรือได้รับแสงแดดน้อย
        - นิสัยการออกดอกของตะขบไม่จำเป็นต้องกระทบหนาว  แต่ถ้าตัดแต่งกิ่ง-เรียกใบอ่อนช่วงต้นหน้าฝนแล้วเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงต่อไปตามลำดับอย่างถูกต้องสม่ำเสมอจะทำให้ต้นมีความสมบูรณ์เต็มที่ดีกว่าการตัดแต่งกิ่งในช่วงอื่น
 
            
          ตัดแต่งราก :
           
        - ตะขบระยะที่ต้นอายุยังน้อยไม่ควรตัดแต่งรากแต่ถ้าต้องการสร้างรากใหม่ให้มีประสิทธิภาพในการหาอาหารดียิ่งขึ้นใช้วิธีล่อรากด้วยการพูนโคนต้นด้วยดิน 3 ส่วนกับอินทรีย์วัตถุ 1 ส่วน
           
        -  ต้นที่อายุหลายปี  ระบบรากเก่าและแก่มาก  ให้พิจารณาตัดแต่งรากส่วนปลายออก 1 ใน 4 ด้วยการพรวนดินรอบทรงพุ่มลึก 10-15 ซม. หลังจากให้ฮอร์โมนบำรุงรากไปแล้วต้นจะแตกรากใหม่จำนวนมากขึ้นและมีประสิทธิภาพในการดูดซับสารอาหารได้ดีกว่าเดิม
    


                        
   ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่อตะขบ       

        1.เรียกใบอ่อน
            
           
           ทางใบ :  
               
           ให้น้ำ  100 ล. + 46-0-0 (200 กรัม) หรือ 25-5-5 (200 กรัม) สูตรใดสูตรหนึ่ง + จิ๊บเบอเรลลิน 10 ซีซี. + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.    ฉีดพ่นพอเปียกใบ  ทุก  5-7  วัน
 
                
           ทางราก :
               
         - ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 25-7-7 (½-1) กก./ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน
         - ให้น้ำเปล่า  ทุก  3-5  วัน                
           หมายเหตุ  : 
               
         - ใบอ่อนเมื่อออกมาแล้วต้องระวังโรคและแมลงศัตรูเข้าทำลายใบเพราะหากใบอ่อนชุดใดชุดหนึ่งถูกลายเสียหายจะต้องเริ่มเรียกชุดที่ 1 ใหม่  ซึ่งจะทำให้เสียเวลาและกำหนดระยะการออกดอกติดผลต้องเลื่อนออกไปอีกด้วย
  
                
         - เรียกใบอ่อนโดยการใส่ปุ๋ยทางรากสูตร 25-7-7 จะช่วยให้ได้ใบที่มีขนาดใหญ่ มีพื้นที่หน้าใบสังเคราะห์อาหารมาก  และคุณภาพดีกว่าใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ
           
         - หลังจากให้ทางใบไปแล้ว 5-7 วัน  ถ้าต้นใดแตกใบอ่อนน้อยกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ให้ฉีดพ่นซ้ำรอบสองด้วยอัตราและวิธีการเดิม
          

       2.เร่งใบอ่อนเป็นใบแก่
                  
          ทางใบ :  
               
        - ให้น้ำ 100 ล.+ 0-21-74 (200 กรัม) หรือ 0-39-39 (200 กรัม) สูตรใดสูตรหนึ่ง + ธาตุรอง/ธาตุเสริม  100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร  250  ซีซี. 1-2 รอบ  ห่างกันรอบละ 5-7 วัน  ฉีดพ่นพอเปียกใบ 
               
        - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน
               
          ทางราก :
           
          ให้  8-24-24 (1/2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
               
        - ให้น้ำปกติ  ทุก  2-3 วัน
               
          หมายเหตุ :
               
        - ลงมือบำรุงเมื่อใบอ่อนชุดแรกอกมาเริ่มแผ่กาง
                 
        - วัตถุประสงค์เพื่อเร่งใบชุดใหม่ให้สามารถสังเคราะห์อาหารและเร่งระยะเวลาเรียกใบอ่อนชุดต่อไปได้เร็วขึ้น  กับทั้งเพื่อให้ใบอ่อนรอดพ้นจากทำลายของแมลงปากกัดปากดูด
       
        3.สะสมอาหารเพื่อการออกดอก  
           
           ทางใบ :
               
         - ให้น้ำ 100 ล.+ 0-42-56 (200 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250
 ซีซี. ทุก 5-7 วัน  ติดต่อกัน 2-3 รอบแล้วให้น้ำ 100 ล. + เอ็นเอเอ. 25 ซีซี. + ฮอร์โมนไข่  25 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. สลับ 1 รอบ  พ่นพอเปียกใบ  ติดต่อกัน 1-2  เดือน จะช่วยให้ต้นสมบูรณ์เต็มที่
  
       - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน               
           ทางราก :
           
         - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 8-24-24  หรือ  9-26-26 สูตรใดสูตรหนึ่ง (1-2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน
               
         - ให้น้ำเปล่าปกติทุก 2-3 วัน
               
           หมายเหตุ :
               
         - เริ่มปฏิบัติหลังจากใบอ่อนชุดสุดท้ายเพสลาด
               
         - แนวทางบำรุงให้ต้นได้สะสมอาหารเพื่อการออกดอกไว้มากที่สุดควรเตรียมแผนใช้เวลาบำรุง 2 เดือน โดยให้กลูโคสหรือนมสัตว์สดรอบแรกเมื่อเริ่มลงมือบำรุง   และให้รอบสองห่างจากรอบแรก 20-30 วัน 
               
         - ปริมาณ 8-24-24  หรือ 9-26-26  ใส่มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณการติดผลในรุ่นที่ผ่านมา กล่าวคือ ถ้ารุ่นที่ผ่านมาติดผลดกมาก  ผลผลิตมีคุณภาพดีมาก  ให้ใส่ในปริมาณที่มากขึ้น  แต่ถ้ารุ่นที่ผ่านมาติดผลดกน้อยหรือไม่ติดผลเลย  ให้ใส่ในปริมาณปานกลาง
                      

        4.ปรับ  ซี/เอ็น  เรโช  
           
           ทางใบ 
               
         - ในรอบ  7  วันให้น้ำ 100 ล. + 0-42-56 (200 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. จำนวน 1 ครั้งกับให้น้ำ 100 ล. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.  อีก 1 รอบ  ฉีดพ่นพอเปียกใบ
  
         ทางราก           
         - เปิดหน้าดินโคนต้น
               
         - งดน้ำเด็ดขาด
                 
           หมายเหตุ :
               
         - วัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มปริมาณ ซี. (อาหารกลุ่มสร้างดอก-บำรุงผล) และลดปริมาณ เอ็น. (อาหารกลุ่มสร้างใบ-บำรุงต้น) ซึ่งจะส่งผลให้ต้นออกดอกหลังการเปิดตาดอก
           
         - ต้นที่มีอาการอั้นตาดอกดีจนพอใจแล้วไม่ต้องฉีดพ่นกลูโคสหรือนมสัตว์สดเพิ่มอีกแต่ถ้าต้นมีอาการอั้นตาดอกไม่ดีหรือยังไม่น่าพอใจ  แนะนำให้ฉีดพ่นกลูโคสหรือนมสัตว์ทางใบอีกซ้ำอีก 1 รอบ โดยเว้นระยะเวลาให้ห่างจากที่เคยให้เมื่อช่วงสะสมอาหารไม่น้อยกว่า 30-45 วัน
  
       - ขั้นตอนการปรับอัตราส่วน  ซี/เอ็น  เรโช. จะสมบูรณ์ดีหรือไม่ให้สังเกตจากต้น ถ้าต้นเกิดอาการใบสลดแสดงว่าในต้นมีปริมาณ ซี.มากส่วนปริมาณ เอ็น.เริ่มลดลง และสังเกตความพร้อมของต้นได้จากลักษณะใบใหญ่หนาเขียวเข้ม  กิ่งช่วงปลายและใบกรอบเปราะ  ข้อใบสั้น  หูใบอวบอ้วน ตาดอกโชว์เห็นชัด               
         - การให้สารอาหารทางใบอย่าให้โชกจนตกลงถึงพื้นเพราะจะกลายเป็นการให้น้ำทางราก  ควรให้บางๆเพียงเปียกใบเท่านั้น
               
         - เมื่องดน้ำ (ไม่รดน้ำ) แล้วต้องควบคุมปริมาณน้ำใต้ดินโคนต้นไม่ให้มากเกินไปโดยการทำร่องระบายน้ำใต้ดินหรือร่องสะเด็ดน้ำด้วย
                          

        6.เปิดตาดอก
           
           ทางใบ :
               
           ให้น้ำ 100 ล. + สาหร่ายทะเล 100 ซีซี. + ฮอร์โมนไข่ 100 ซีซี. +ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. 1-2 รอบ  ห่างกันรอบละ 5-7 วัน   ฉีดพ่นพอเปียกใบ
               
           ทางราก :
                
         - ให้  8-24-24 (½ กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
               
         - ให้น้ำปกติทุก 2-3 วัน
           
           หมายเหตุ :               
               
           ตะขบเป็นไม้ป่าออกดอกง่าย   หากต้นสมบูรณ์จริงๆก็ออกดอกเองได้โดยไม่ต้องเปิดตาดอก
      

        6.บำรุงดอก
           
           ทางใบ
           
         - ให้น้ำ 100 ล. + 15-45-15 (200 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม  100  ซีซี. + เอ็นเอเอ. 100 ซีซี. + ฮอร์โมนไข่  25  ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.     ทุก  5-7  วัน   ฉีดพ่นพอเปียกใบ  
               
         - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก  3  วัน    
               
           ทางราก
             
         - ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้นเช่นเดิม   
               
         - ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 8-24-24 (½-1 กก)./ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
         - ให้น้ำพอหน้าดินชื้น               
           หมายเหตุ :
               
         - ช่วงดอกตั้งแต่เริ่มแทงออกมาให้เห็นหรือระยะดอกตูม  บำรุงด้วยฮอร์โมน เอ็นเอเอ. 1-2 รอบ จะช่วยบำรุงเกสรทั้งตัวผู้และตัวเมียให้สมบูรณ์พร้อมรับผสม แต่ต้องใช้ด้วยระมัดระวังเพราะถ้าให้เข้มข้นเกินไปจะเกิดความเสียหายต่อดอกและถ้าให้อ่อนเกินไปก็จะไม่ได้ผล
         - ช่วงดอกตูมควรฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรให้บ่อยขึ้น เพื่อป้องกันกำจัดโรคและแมลงจนถึงช่วงดอกบาน               
         - ช่วงดอกบานควรงดการฉีดพ่นทางใบโดยเฉาะช่วงกลางวัน (08.00-12.00 น.) เพราะอาจทำให้เกสรเปียกจนผสมไม่ติดได้  หากจำเป็นต้องฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรให้ฉีดพ่นช่วงหลังค่ำ
               
         - ระยะดอกบานถ้าตรงกับช่วงฝนชุกเกสรจะเปียกชื้นทำให้ผสมไม่ติด ต้องแก้ไขด้วยกะระยะเวลาบำรุงให้ดอกออกมาแล้วไม่ตรงกับช่วงฝนชุกเท่านั้น  แต่ถ้าดอกออกมาตรงกับช่วงแล้งอากาศร้อนมากเกสรจะฝ่อทำให้ผสมไม่ติดเช่นกัน แก้ไขด้วยการสร้างความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศและที่พื้นดินในทั้งในแปลงปลูกและรอบๆแปลงปลูก.......มาตรการบำรุงต้นและดอกให้สมบูรณ์อย่างแท้จริงอยู่เสมอจะช่วยลดความสูญเสียได้เป็นอย่างมาก 
               
         - เพื่อความมั่นใจในเปอร์เซ็นต์หรือประสิทธิภาพของฮอร์โมน เอ็นเอเอ. แนะนำให้ใช้ฮอร์โมนเอ็นเอเอ.วิทยาศาสตร์แทนฮอร์โมน เอ็นเอเอ.ทำเองจะได้ผลกว่า
               
         - ฉีดพ่นสารอาหารเพื่อบำรุงดอกด้วยเครื่องมือฉีดพ่นที่มีแรงลมพ่นเบาที่สุดตามความเหมาะสมเพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนต่อส่วนต่างๆของดอก  ฉีดพ่นที่ช่อดอกโดยตรงพอเปียกหรือฉีดพ่นให้ทั่งทรงพุ่มพอเปียกใบก็ได้
               
         - บำรุงดอกช่วงฝนชุกให้เน้น  “สังกะสี และ แคลเซียม โบรอน”  โดยให้เมื่อดอกออกมาแล้วหรือให้แบบสะสมล่วงหน้าตั้งแต่ช่วงเปิดตาดอก ด้วยวิธีให้เดี่ยวๆหรือผสมรวมไปกับธาตุอาหารอื่นๆก็ได้
               
         - การไม่ใช้สารเคมีเลยติดต่อกันเป็นเวลานานๆ จนมีผึ้งหรือมีแมลงธรรมชาติอื่นๆจำนวนมาก  แมลงเหล่านี้จะช่วยผสมเกสรส่งผลให้กระท้อนติดผลดกขึ้น
        

       7.บำรุงผลเล็ก
           
          ทางใบ :              
               
        - ให้ น้ำ 100 ล. + 21-7-14 (200 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี. + ฮอร์โมนไข่  25 ซีซี. + สารสกัดสมุน
ไพร 250 ซีซี.   ฉีดพ่นพอเปียกใบ ทุก 5-7 วัน
  
      - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน               
          ทางราก :
               
        - นำอินทรีย์วัตถุกลับเข้าคลุมโคนต้นให้เหมือนเดิม  
               
        - ใส่ยิบซั่มธรรมชาติ 10 เปอร์เซ็นต์ของอัตราการใส่เมื่อช่วงเตรียมดิน
 
                
        - ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 25-7-7 (1/2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน
        - ให้น้ำปกติทุก 2-3 วัน           
          หมายเหตุ :               
               
        - เริ่มปฏิบัติหลังจากกลีบดอกร่วง  หรือขนาดผลเท่าเมล็ดถั่วเขียว
                               
       8.บำรุงผลกลาง    
           
          ทางใบ :
                
        - ให้น้ำ 100 ล. + 21-7-14 (200 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + ไคโตซาน 100 ซีซี. + แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.    ทุก 7-10
วัน  ฉีดพ่นพอเปียกใบ
        - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน               
          ทางราก :
               
        - ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 21-7-14 (1/2 กก)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./ครั้ง/เดือน 
               
        - ให้น้ำปกติ  ทุก 2-3 วัน
               
          หมายเหตุ :
               
        - เริ่มปฏิบัติเมื่อเมล็ดเริ่มเข้าไคลการที่จะรู้ว่าผลเริ่มเข้าไคลแล้ว
                
       
 - ถ้าต้นติดผลดกมากควรให้ฮอร์โมนน้ำดำ กับ แคลเซียม โบรอน 1-2 รอบ ตลอดระยะผลกลางจะช่วยให้ต้นไม่โทรมเนื่องจากรับภาระเลี้ยงผลมาก
       

       9.บำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว   
           
          ทางใบ :
               
        - ให้น้ำ 100 ล.+ มูลค้างคาวสกัด 100 ซีซี. + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ ฮอร์โมนไข่  25 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.  1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วันก่อนเก็บเกี่ยว  ฉีดพ่นพอเปียกใบ
   
     - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน               
          ทางราก :
               
       - เปิดหน้าดินโคนต้นแล้วงดน้ำ
               
       - ให้  13-13-21 หรือ  8-24-24 สูตรใดสูตรหนึ่ง (1/2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
         หมายเหตุ :               
       - เริ่มปฏิบัติก่อนเก็บเกี่ยว 10-20 วัน
               
       - การบำรุงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวโดยให้ทางรากด้วย 13-13-21 จะทำให้ต้นโทรม  หลังเก็บเกี่ยวผลสุดท้ายไปจากต้นแล้วต้องเร่งบำรุงเพื่อฟื้นฟูสภาพต้นเรียกความสมบูรณ์กลับคืนมาทันที
               
       - การบำรุงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวโดยให้ทางรากด้วย 8-24-24 เหมาะสำหรับต้นที่มีผลหลายรุ่นซึ่งหลังจากเก็บเกี่ยวผลแก่รุ่นแรกไปแล้วจะช่วยบำรุงผลชุดหลังต่อ  นอกจากนี้ยังทำให้ต้นไม่โทรมเหมาะสำหรับการเตรียมความพร้อมต้นต่อการปฏิบัติบำรุงรุ่นปีต่อไปอีกด้วย  


         บำรุงตะขบให้ออกดอกติดผลตลอดปี
  
         ตะขบออกดอกติดผลได้แบบไม่มีรุ่น หลังจากที่ต้นได้อายุเริ่มให้ผลผลิตแล้วใช้วิธีบำรุงแบบให้มีสารอาหารกินตลอด 24 ชม.ต่อเนื่องติดต่อกันหลายๆปี และหมั่นตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่งเสมอก็จะมี ดอก + ผลหลายรุ่น  ในต้นเดียวกัน  จากนั้นให้ปฏิบัติบำรุง  ดังนี้
 
        ทางใบ :
               
       - ให้น้ำ  100 ล. + ฮอร์โมนไข่ 100 ซีซี. + แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 200 ซีซี.   ฉีดพ่นพอเปียกใบ  ทุก 7-10 วัน
                
       - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 3-5 วัน   
               
         ทางราก :
               
       - ใส่ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 8-24-24 (1/2  กก.) 1 รอบ สลับกับ  21-7-14 (1/2 กก.) 1 รอบ ห่างกันรอบละ 20-30 วัน 
               
       - ให้น้ำปกติ  ทุก 2-3 วัน
               
         หมายเหตุ :
               
       - ให้แคลเซียม โบรอน. และฮอร์โมนน้ำดำ. 1-2 เดือน/ครั้ง    ฉีดพ่นพอเปียกใบ
       - ใส่ปุ๋ยคอก (มูลวัวเนื้อ/วัวนม + มูลไก่ไข่/ไก่เนื้อ + มูลค้างคาว)+ ยิบซั่มธรรมชาติ  6 เดือน/ครั้ง               
       - ใส่กระดูกป่นปีละ 1 ครั้ง
               
       - สวนยกร่องน้ำหล่อให้ลอกเลนก้นร่องขึ้นพูนโคนต้นปีละ 1 ครั้ง
       





ตะขบยักษ์ไร้หนาม

ผู้ อ่านไทยรัฐ จำนวนมากสงสัยว่า "ตะขบยักษ์ไร้หนาม" เป็นต้นเดียวกับต้น ตะขบป่าไร้หนาม หรือไม่ ขอยืนยันว่า เป็นต้นเดียวกัน ซึ่งตะขบป่าที่พบตามป่าธรรมชาติในบ้านเรามี 2 สายพันธุ์คือ ตะขบป่าไร้หนาม หรือ "ตะขบยักษ์ไร้หนาม" กับ ตะขบป่าลำต้นมีหนาม ทั้ง 2 ชนิด จะมีผลโตเหมือนกัน มีรสหวานหอม คนเดินป่าสมัยโบราณนิยมเก็บเอาผลไปวางขายในตลาดตัวเมืองได้รับความนิยมรับ ประทานอย่างแพร่หลาย ผมเองสมัยเป็นเด็กบ้านนอก พบเห็นตามป่าจนชินตา เวลาติดผลดกทั้งต้น กิ่งจะโค้งงอ สีของผลมีทั้งสีเขียว และสีม่วงคล้ำสวยงามน่าชมยิ่ง ซึ่งตะขบทั้ง 2 ชนิด เคยแนะนำในคอลัมน์ไปแล้ว แต่เมื่อมีผู้อ่านสงสัย ประกอบกับพบว่า "ตะขบยักษ์ไร้หนาม" หรือ ตะขบป่าไร้หนาม ใกล้จะสูญพันธุ์ พบตามป่าธรรมชาติน้อยมากแล้ว และทราบว่ามีผู้ตอนกิ่งออกวางขาย แต่ไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร จึงรีบไขข้อสงสัยให้แฟนคอลัมน์ได้รู้ พร้อมกับรณรงค์ให้ช่วยกันปลูกก่อนที่จะสูญพันธุ์ไม่ได้ พบเห็นอีกทันที

ตะขบ ยักษ์ไร้หนาม หรือ ตะขบป่าไร้หนาม มีชื่อวิทยาศาสตร์คือ FLACOURTIA INDICA (BURMF) MERR PLACHNELLA SIAMENSIS อยู่ในวงศ์ FLACOURTIACEAE เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง 2-10 เมตร กิ่งก้านมีข้อ ซึ่งชนิดที่แนะนำในคอลัมน์วันนี้เป็นชนิดไม่มีหนาม พบตามป่าธรรมชาติน้อยมาก น้อยกว่าชนิดที่ต้นมีหนาม เวลาติดผลคนเดินป่าเก็บผลไปขายประจำ จนทำให้ชนิดที่มีหนาม หนามทู่ไม่แหลมคมอีก ใบเป็นใบเดี่ยว ออกสลับ รูปไข่กลับ

ดอก ออกเป็นช่อกระจะที่ซอกใบและปลายกิ่ง มีดอกย่อยไม่มากนัก เป็นดอกแยกเพศอยู่คนละต้น ไม่มีกลีบดอก มีเกสรสีเหลืองปนขาวจำนวนมาก "ผล" ของ "ตะขบยักษ์ไร้หนาม" หรือ ตะขบป่าไร้หนาม เป็นรูปทรงกลม ผลโตเต็มที่เกือบเท่าผลมะนาว หรือลูกปิงปอง ผลดิบสีเขียว สุกเป็นสีแดงคล้ำ หรือ สีม่วงดำ เนื้อรสหวานหอม มีเมล็ด 5-8 เมล็ด คนโบราณก่อนกินเอาผลสุกไปคลึงให้ผลพอน่วมจะเพิ่มรสชาติให้หวานหอมอร่อยยิ่ง ขึ้น ติดผลทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด และตอนกิ่ง มีชื่อเรียกอีกคือ ตาลเสี้ยน, มะเกว๋นนก, มะเกว๋นป่า ใครต้องการกิ่งตอนไปปลูก ติดต่อ "คุณปราโมทย์" โทร.08-9069-5556 หรือไปดูต้นและผลจริงได้ที่งาน "บ้านและสวนแฟร์" เมืองทองธานี ระหว่างวันที่ 27 ต.ค.-1 พ.ย.นี้ ราคาสอบถามกันเอง ส่วนสรรพคุณทางยา ที่เด่นๆ ราก 1 กำมือ ต้มน้ำพอท่วมดื่ม 3-5 ครั้ง แก้ไตพิการ ทั้งต้น หรือราก ต้มน้ำอาบ แก้โรคผิวหนังที่เกิดจากประดงดีมากครับ.


ไทยรัฐออนไลน์
โดย นายเกษตร

http://kaewpanya.rmutl.ac.th/2552/index.php?option=com_content&view=article&id=1327%3Aqq-&catid=13%3A2009-07-22-02-38-10&Itemid=22
 


- ตะขบไทย มี 2 ชนิดครับ
1. ตะขบป่า มีหนามที่กิ่ง ถ้าผมเดินป่าอีกคครั้งเจอจะเก็บมาฝาก
2. ตะขบไทย กิ่งไม่มีหนามผมแจกไปแล้ว และเพาะหมดแล้ว ถ้าเอาไม่มากอาจจะรอต้นกล้าครับ ผมเพาะได้ราวๆ 100 กล้า
ส่วนตะขบควายลูกใหญ่ที่เขาขายตามตลาด ผมคิดว่าอาจจะไม่มีใครขายกล้าเพราะไม่ค่อยมีใครนิยมปลูก ผมกำลังเพาะอยู่ครับ ยังไม่งอกเลยครับ
ตะขบทั้ง 3 ชนิด เพาะง่ายครับ ใช้เวลาราวๆ 1 เดือนหลังจากเพาะก็งอกแล้วครับ

http://www.212cafe.com/freewebboard/viewcomment.php?aID=14076331&user=khundong&id=808&page=2&page_limit=50

                     *********************************
 









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2009-07-16 (7371 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©