-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 434 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรกล้อมแกล้ม




หน้า: 1/2


           ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรกล้อมแกล้ม


       หลักการและเหตุผล
     - ในอินทรีย์วัตถุที่มาจากสัตว์และพืชมีธาตุอาหารพืชทั้งธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม ฮอร์โมนและอื่นๆ ที่พืชต้องการ เมื่อนำอินทรียวัตถุชนิดใดมาผ่านกรรมวิธีแปรสภาพด้วยการหมักโดยมีจุลินทรีย์เป็นตัวดำเนินการก็จะได้ธาตุอาหารตัวนั้น
     - การใช้อินทรีย์วัตถุหลากหลายชนิดมาแปรสภาพย่อมทำให้ได้ธาตุอาหารพืชหลากหลายชนิด หรือเท่าที่ชนิดและปริมาณของอินทรียวัตถุนั้นจะพึงมีธาตุอาหาร
     - คำว่า  “กล้อมแกล้ม”  เป็นภาษาไทยโบราณ แปลว่า  “อะไรก็ได้ ง่ายๆ ทำไปเถอะ”  แต่คำว่ากล้อมแกล้มในปุ๋ยน้ำชีวภาพจะถือหลักอะไรก็ได้ง่ายๆ ทำไปเถอะนั้นไม่ได้อย่างเด็ดขาด ทุกอย่างทุกขั้นตอนต้องมี “หลักเกณฑ์และหลักการ” บนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์


      
       วัสดุส่วนผสมหลัก : 

     1.พืชผักสด (5 กก.)ผักสวนครัว ได้แก่ ผักกาด. ผักคะน้า. ผักกวางตุ้ง. ยอดผักบุ้ง.
ยอดตำลึง. ยอดกระทกรก. ยอดฟักทอง. ใบฟักทองแก่จัด. ผักปรัง. หน่อไม้ฝรั่ง. ข้าวโพด
หวาน. ข้าวน้ำนม. ต้นหอม. ผักชี. กุยช่าย ฯลฯ ใช้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างๆละเท่าๆ
กัน สิ่งต้องการ คือ ความหลากหลาย จำนวน 2.5 กก.วัชพืช ได้แก่ ผักขม. ผักปอด. สาหร่าย.
แหนแดง ฯลฯ ใช้อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างๆ ละเท่าๆ กัน สิ่งต้องการ คือ ความหลากหลาย
จำนวน 2.5 กก.
        หมายเหตุ : 
      - ไม่ควรใช้พืชที่ใช้สำหรับทำสารสกัดสมุนไพรป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืช เพราะ
สารออกฤทธิ์ในพืชสมุนไพรจะเป็นตัวยับยั้งการเจริญพัฒนาของจุลินทรีย์
      - พืชที่เกิดหรือขึ้นเองตามธรรมชาติในฤดูกาลและอยู่มานานดีกว่าพืชที่ตั้งใจปลูก
      - สภาพสด ใหม่ สมบูรณ์ โตเต็มที่ อวบน้ำ ไม่มีโรคและแมลง ไม่มีสารเคมีปนเปื้อน
      - เก็บตอนเช้าตรู่ (ตี 5) มีน้ำค้างเกาะ ดีกว่าเก็บตอนสายแดดออกจนใบ/ต้นแห้งแล้ว
      - เก็บขึ้นมาแล้วบดละเอียดทันทีไม่ควรทิ้งไว้นาน
      - เก็บแบบถอนทั้งต้น (ยอดถึงราก) ไม่ต้องล้างเพียงแต่สลัดดินติดรากออกบ้างเท่านั้น
      - ใช้มากชนิดดีกว่าน้อยชนิด

    2.ผลสดดิบ+เมล็ด (5 กก.)ผลไม้กินได้มีเมล็ดมากๆ ทั้งอ่อนและแก่ ได้แก่ แตงกวา.
แตงโม. แตงไทย. แคนตาลูป. มะระ. มะเขือเทศดิบ. ฟักทอง. ฟักเขียว. ถั่วฝักยาว. ถั่ว
ลันเตา. ถั่วพู. ตำลึง ฯลฯ ใช้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างๆ ละเท่าๆ กัน สิ่งต้องการ คือ ความ
หลากหลาย จำนวน 2.5 กก.พืชหัวระยะแก่ใกล้เก็บเกี่ยว ได้แก่ ไชเท้า. แครอท. เผือก. มัน
เทศ. มันฝรั่ง. ถั่วเหลือง. ถัวลิสง. หอมหัวใหญ่ ฯลฯ ใช้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างๆ ละ
เท่าๆ กัน สิ่งต้องการ คือ ความหลากหลาย จำนวน 2.5 กก.
        หมายเหตุ :
      - ไม่ควรใช้ผลหรือหัวของพืชที่ใช้ทำสารสกัดสมุนไพรป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืช
เพราะสารออกฤทธิ์ในผลหรือหัวของพืชสมุนไพรจะเป็นตัวยับยั้งการเจริญพัฒนาของจุลินทรีย์
      - สภาพสด ใหม่ สมบูรณ์ โตเต็มที่ อวบน้ำ ไม่มีโรคและแมลง ไม่มีสารเคมีปนเปื้อน
      - เก็บตอนเที่ยงหรือบ่าย เก็บมาแล้วไม่ต้องล้างน้ำให้บดละเอียดทันที
      - ใช้มากชนิดดีกว่าน้อยชนิด

    3.ผลสุก+เมล็ด (5 กก.)ผลไม้รสหวานสนิท ได้แก่ ทุเรียน. มะละกอ. กล้วย. องุ่น.
ลิ้นจี่. เงาะ. ลำไย. ขนุน. ฝรั่ง. น้อยหน่า. ตำลึง ฯลฯ ใช้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างๆ
ละเท่าๆ กัน สิ่งต้องการ คือ ความหลากหลาย จำนวน 2.5 กก.ผลไม้รสเปรี้ยว ได้แก่ มะเขือเทศ
สุก. ส้ม. สับปะรด. มะปรางเปรี้ยว. มะขามเปรี้ยว ฯลฯ ใช้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างๆ ละ
เท่าๆ กัน สิ่งที่ต้องการ คือ ความหลากหลาย จำนวน 2.5 กก.
        หมายเหตุ : 
      - ไม่ควรใช้ผลไม้ที่ใช้ทำสารสกัดสมุนไพรป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืช เพราะ
สารออกฤทธิ์ในผลสมุนไพรจะเป็นตัวยับยั้งการเจริญพัฒนาของจุลินทรีย์
      - ใช้ผลไม้แก่จัดเริ่มสุกงอม มีกลิ่นหอมฉุน ใช้ทั้งเปลือก เนื้อ และเมล็ด
      - สภาพสมบูรณ์ โตเต็มที่ ไม่มีโรคและแมลง ไม่มีสารเคมีปนเปื้อน
      - ผลไม้ป่าหรือพันธุ์พื้นเมือง เกิดและให้ผลผลิตเองตามธรรมชาติดีกว่าผลไม้จากต้นที่ปลูก
      - ได้มาแล้วบดละเอียดทันที ไม่ต้องล้าง ใช้หลายอย่างดีกว่าน้อยอย่าง
      - ชาวสวนองุ่นในยุโรปนิยมเก็บผลองุ่นช่วงเดือนหงายหรือขึ้น 15 ค่ำ เพราะทำให้ได้น้ำ
องุ่นสำหรับทำเหล้าองุ่นที่มีคุณภาพดีกว่าองุ่นที่เก็บในช่วงอื่น 

    4.ซากสัตว์ (5 กก.)สัตว์ทั่วไป ได้แก่ ปลา. เครื่องใน. เลือด. เมือก. ราก. น้ำ
เชื้อ. ไข่ ฯลฯ ใช้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างๆ ละเท่าๆ กัน สิ่งต้องการ คือ ความหลากหลาย
รวม 2.5 กก.สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ได้แก่ เปลือกกุ้ง. กระดองปู. ปูนิ่ม. กิ้งกือ. ไส้เดือน.
ไรแดง. หอยพร้อมเปลือก. หนอน. แมลง. ปลิงทะเล/น้ำจืด. แมงกะพรุน. เปลือกกั้ง.
เคย. อาทิ เมีย. ลิ้นทะเล ฯลฯ ใช้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างๆ ละเท่าๆ กัน สิ่งที่ต้องการ คือ
ความหลากหลาย จำนวน 2.5 กก.
       หมายเหตุ :
     - สภาพสด ใหม่ สมบูรณ์ โตเต็มที่ ไม่มีโรค
     - สัตว์ในแหล่งธรรมชาติดีกว่าสัตว์ในฟาร์ม
     - ใช้หลายอย่างดีกว่าน้อยอย่าง
     - ใช้สัตว์มีชีวิตดีกว่าสัตว์ที่ตายแล้ว
     - ไม่ต้องล้าง บดละเอียดแล้วนำมาหมักทันที 

   5.วัสดุส่วนผสมเสริมจากอาหารคน ได้แก่ นมกล่อง. ผงชูรส. นมสัตว์สดรีดใหม่. นมเหลือง
แม่วัว. น้ำมันพืช. น้ำมันตับปลา. น้ำผึ้ง. น้ำสลัด. กระทิงแดง/ลิโพ. วิตามิน. อาหารเสริม
ฯลฯจากแหล่งอื่นๆ ได้แก่ น้ำมะพร้าวอ่อน. น้ำตาลสดจากมะพร้าว/ตาล/อ้อย. เมล็ดพืชเริ่มงอก.
อาหารสัตว์. ถั่วเน่า. สาหร่ายทะเล/น้ำจืด. สาหร่ายน้ำเงินแกมเขียว. เกลือสินธุ์เทา. ขี้เพี้ยใน
ไส้อ่อน ฯลฯเลือกใช้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างๆ ละเท่าๆ กัน โดยพิจารณาธาตุอาหารพืชหรือ
จุลินทรีย์ที่มีอยู่ในวัสดุส่วนผสมแต่ละชนิดเป็นหลัก และสิ่งที่ต้องการ คือ ความหลากหลายของธาตุ
อาหารพืช
  
     6.จุลินทรีย์จากอาหารคน ได้แก่ ยาคูลท์. โยเกิร์ต. นมเปรี้ยว. แป้งข้าวหมาก. ยีสต์
ทำขนมปัง ฯลฯจากพืช ได้แก่ เปลือกติดตาสับปะรด. เหง้าปรง. วัสดุเพาะเห็ดถุง. ฟางเห็ดฟาง.
จุลินทรีย์หน่อกล้วย. จุลินทรีย์อีแอบ. จุลินทรีย์ประจำถิ่น ฯลฯจากห้องปฏิบัติการ ได้แก่ พด.1-7
จุลินทรีย์ทั่วไป (ทำเอง/ท้องตลาด-แห้ง/น้ำ)เลือกใช้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างๆ ละเท่าๆ
กัน สิ่งที่ต้องการ คือ ความหลากหลายของจุลินทรีย์
       หมายเหตุ : 
     - สภาพสด ใหม่ ไม่มีเชื้อโรค
     - จุลินทรีย์จากห้องปฏิบัติการดีกว่าจุลินทรีย์ธรรมชาติ หรือควรใช้ทั้งสองอย่างร่วมกัน
     - อย่างไหนมาก่อนใส่หมักลงไปก่อน อย่างไหนได้มาทีหลังใส่หมักตามทีหลัง
     - แม้จะเป็นจุลินทรีย์ต่างชนิดกัน แต่เป็นจุลินทรีย์เพื่อการเกษตรเหมือนกันสามารถใช้ร่วมกันได้
     - เลือกใช้อย่างใดอย่างหนึ่งแต่ถ้าใช้หลายอย่างได้จะดีกว่าใช้น้อยอย่าง

       วิธีทำ
     1.บด  “วัสดุส่วนผสมหลัก”  ตามข้อ 1-4 ที่เป็นของแข็งทั้งหมดทีละอย่างหรือพร้อมกัน
ทุกอย่างก็ได้ บดหลายๆ รอบให้ละเอียดที่สุดเท่าที่จะละเอียดได้ น้ำที่ออกมาอย่าทิ้ง ใช้ทั้งน้ำและกาก
ได้มาแล้วบรรจุลงถังที่ไม่ใช่โลหะ
     2.นำ  “วัสดุส่วนผสมเสริม”  ที่เป็นของแข็งบดละเอียด อัตรา 1-5 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณ
วัสดุส่วนผสมหลักใส่ตามลงไป
     3.ใส่  “กากน้ำตาล”  พอท่วม.....เพื่อประกันความผิดพลาดที่อาจจะใส่กากน้ำตาล
มากเกินไปหรือน้อยเกินไป แนะนำให้ตวง  “วัสดุส่วนผสม”  กับ  “กากน้ำตาล”  ให้ได้ปริมาณ
อัตราส่วน 1:1 เสียก่อนจึงใส่ลงถัง
     4.ใส่  “วัสดุส่วนผสมเสริม”  ที่เป็นน้ำไม่จำกัดปริมาณเพื่อให้ได้ส่วนผสมเหลวมากๆ
     5.ใส่  “จุลินทรีย์”  มากหรือน้อยไม่จำกัด
     6.คนเคล้าให้เข้ากันดี ติด  “ปั๊มออกซิเจน”  เพื่อเติมอากาศให้แก่จุลินทรีย์ตลอดเวลา
     7.ปิดฝาภาชนะหมักพอหลวม เก็บในร่ม อุณหภูมิห้อง8. ระวังอย่าให้แมลงตอมเพราะจะทำ
ให้เกิดหนอนและอย่าให้มีวัสดุแปลกปลอมลงไป
     9.มีของหนักกดวัสดุส่วนผสมให้จมตลอดเวลา
    10.หมั่นคนบ่อยๆ เพื่อป้องกันวัสดุส่วนผสมนอนก้น
      หมายเหตุ :
    - ควบคุมอัตราส่วนของวัสดุส่วนผสมทุกอย่างให้ได้เท่าๆ กัน เพื่อให้ได้ธาตุอาหารเท่าๆ กัน
    - วัสดุส่วนผสมที่ได้มาไม่พร้อมกัน โดยได้อย่างไหนมาก่อนให้หมักลงไปก่อนและอย่างไหน
ได้มาทีหลังให้หมักลงตามหลังนั้น ระยะห่างไม่ควรนานเกิน 1-2 เดือน เพื่อให้กระบวนการย่อยสลาย
ดำเนินไปพร้อมๆ กันซึ่งจะส่งผลให้ได้ธาตุอาหารเท่ากัน
    - อัตราส่วนกากน้ำตาลที่ใช้ ถ้าใส่กากน้ำตาลมากเกินอัตราจะทำให้วัสดุส่วนผสมจับตัวแข็งเป็น
ก้อน แต่ถ้าใส่กากน้ำตาลน้อยจะทำให้วัสดุส่วนผสมบูดเน่า
    - อัตราส่วนกากน้ำตาลที่น้อยเกินไปนอกจากจะทำให้จุลินทรีย์มีประโยชน์ไม่เจริญพัฒนาแล้ว
ยังทำให้จุลินทรีย์มีโทษเกิดขึ้นอีกด้วย และอัตราส่วนของกากน้ำตาลที่มากเกินก็ทำให้จุลินทรีย์มี
ประโยชน์ไม่เจริญพัฒนาและจุลินทรีย์มีโทษเกิดขึ้นได้เช่นกัน
    - ในกากน้ำตาลใหม่มีสารเป็นพิษต่อพืช 16 ชนิด เมื่อให้ทางใบต่อเนื่องติดต่อกันเป็นระยะ
เวลานานๆ จะทำให้ใบลาย ใบมีขนาดเล็กลงและต้นโทรมได้ นอกจากนี้กากน้ำตาลใหม่ยังเป็นอาหาร
อย่างดีสำหรับเชื้อรา (เข้าทำลายใบ ดอก ผล ต้น) หลายชนิดอีกด้วยวิธีการดับพิษในกากน้ำตาล
สามารถทำได้โดยหมักปุ๋ยน้ำชีวภาพนานข้ามปีเพื่อให้จุลินทรีย์ย่อยสลายสารพิษนั้นหรือต้มกากน้ำตาล
ให้เดือดก่อนใช้ในการหมัก......หากใช้ทั้ง 2 วิธีนี้แล้วยังเกิดปัญหาแก่ต้นพืชอีกก็ต้องยกเลิกการ
ให้ทางใบแล้วให้ทางรากอย่างเดียว
    - ถ้าไม่มีกากน้ำตาลสามารถใช้น้ำตาลอื่นๆ เช่น น้ำตาลทรายแดง. น้ำตาลทรายขาว.
น้ำตาลปี๊บ. น้ำอ้อย อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างๆ ละเท่ากันแทนได้ แต่ต้องใช้ในอัตรามากกว่า
กากน้ำตาล 7 เท่าจึงจะได้ความหวานเข้มข้นเท่ากากน้ำตาล......การนำน้ำตาลอื่นๆ มาเคี่ยวจน
เป็นน้ำเชื่อมเพื่อเพิ่มความหวานจนหวานจัดแล้วใช้แทนกากน้ำตาลได้เช่นกัน
    - ในการหมักปุ๋ยน้ำชีวภาพไม่ควรใช้กลูโคส (ผงหรือน้ำ) เนื่องจากมีความหวานน้อยกว่ากาก
น้ำตาล จะทำให้เกิดการบูดเน่าแล้วแก้ไขไม่ได้
    - ใส่วัสดุส่วนผสม ½ หรือ ¾ ของความจุภาชนะหมัก เพื่อให้มีพื้นที่สำหรับอากาศหมุนเวียนดี
และสะดวกต่อการคน
    - หมักในภาชนะขนาดเล็ก ปากกว้าง จะช่วยให้กระบวนการหมักดีกว่าหมักในภาชนะขนาดใหญ่
ปากแคบ
    - วัสดุส่วนผสมที่ผ่านการบดละเอียดเหลวหรือเหลวมากๆ กระบวนการหมักจะดี มีประสิทธิภาพ
และใช้การได้เร็วกว่าวัสดุส่วนผสมชิ้นหยาบๆ และส่วนผสมที่ข้นมากๆ
    - ปุ๋ยน้ำชีวภาพกล้อมแกล้มไม่มีการใส่  “น้ำเปล่า”  เด็ดขาด เพราะในน้ำเปล่าไม่มีธาตุ
อาหารพืช หากต้องการให้วัสดุส่วนผสมเหลวมากๆ ให้ใส่วัสดุส่วนผสมเสริมที่เป็นน้ำ เช่น น้ำมะพร้าว
นมสด หรือจากพืชอวบน้ำ เช่น แตงโม แตงกวา ไชเท้า ฟัก ให้มากขึ้นหรือจนกว่าจะเหลวตามต้องการ
    - ไม่ใส่ปุ๋ยเคมีหรือฮอร์โมนวิทยาศาสตร์ใดๆ ในระหว่างการหมักทั้งสิ้น เพราะจะทำให้ได้ธาตุ
อาหารพืชจากปุ๋ยเคมีนั้นเพียงสูตรเดียว หรือได้ฮอร์โมนพืชเพียงชนิดเดียวแต่ให้ใส่ก่อนใช้งานจริงซึ่งจะ
ทำให้สามารถเลือกสูตรปุ๋ยเคมีและฮอร์โมนพืชได้ตรงตามความต้องการของพืช
    - วัสดุส่วนผสมที่อายุการหมักสั้น (น้อยกว่า 6 เดือน) มีความเป็นกรดจัดมาก (2.0-
3.0) หมักนาน 6 เดือน -1 ปี มีความเป็นกรด (4.0-5.0) และหมักนานข้ามปีมีความเป็นกรด
อ่อนๆ (5.0-6.0) โดยประมาณ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของวัสดุส่วนผสม โดยส่วนผสมที่เป็นซากสัตว์
จะเป็นกรดมากกว่าวัสดุส่วนผสมที่เป็นพืช
    - ธาตุอาหารพืชจากปุ๋ยน้ำชีวภาพที่อายุหมักนาน 3 เดือนจะได้แต่ธาตุอาหารหลัก....อายุ
การหมักนาน 6 เดือนจะได้ธาตุหลัก ธาตุรอง และฮอร์โมน.....อายุการหมักนาน 9 เดือนจะได้
ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม ฮอร์โมน และอื่นๆ เพิ่มขึ้นอีกวัสดุส่วนผสมที่หมักกับกากน้ำตาลหรือน้ำตาล
อื่นๆ ด้วยระยะเวลาการหมักเพียง 1 สัปดาห์ -1 เดือน นั้นจุลินทรีย์ยังไม่สามารถแปรสภาพ (ย่อย
สลาย) วัสดุส่วนผสมให้ธาตุอาหารพืชออกมาได้ เมื่อนำไปใช้จึงได้เพียงประโยชน์จากกากน้ำตาลหรือ
ตัวเสริมเปล่าๆ เท่านั้นเอง 

      วิธีเก็บรักษา ปรับปรุง และแก้ไข
    1.เก็บในร่ม อุณหภูมิห้อง ติดปั๊มออกซิเจนเติมอากาศให้จุลินทรีย์ตลอดเวลา ปิดฝาพอหลวม
คนบ่อยๆ เพื่อป้องกันการนอนก้นและป้องกันการจับก้อน ระวังอย่าให้ส่วนผสมลอย
    2.อายุหมัก 7 วันแรกให้ตรวจสอบด้วยการดมกลิ่น ถ้ามีกลิ่นบูดเปรี้ยว แสดงว่าอ่อนกากน้ำตาล
และจุลินทรีย์ แก้ไขด้วยการเติมกากน้ำตาล อัตรา ¼ ของที่ใส่ครั้งแรกพร้อมกับเพิ่มจุลินทรีย์และน้ำ
มะพร้าวลงไปอีก คนเคล้าให้เข้ากันดีแล้วดำเนินการหมักต่อไปตามปกติ  หลังจากนั้น 7 วันให้ตรวจ
สอบอีกครั้ง ถ้ายังมีกลิ่นบูดเปรี้ยวอยู่อีกก็ให้แก้ไขด้วยกากน้ำตาล ¼ ของที่ใส่เติมเพิ่มครั้งก่อนกับใส่
จุลินทรีย์และน้ำมะพร้าวอ่อนลงไปอีก ทำอย่างนี้เรื่อยๆ ไปพร้อมกับตรวจสอบทุก 7 วัน ถ้ายังมีกลิ่นบูด
เปรี้ยวอยู่ก็ให้แก้ไขด้วยวิธีการเดียวกันจนกว่าจะหายกลิ่นบูดเปรี้ยว และเมื่อหายจากบูดเปรี้ยวแล้วก็จะ
ไม่บูดเปรี้ยวอีก
    3.ใช้ถังหมักแบบ  “บด-ปั่น”  ที่มีมอเตอร์ทดรอบ (เกียร์มอเตอร์) ซึ่งจะทำหน้าที่ทั้งบด
และปั่นในเวลาเดียวกันตลอด 24 ชม.หรือตลอดอายุการหมัก อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่บดจะย่อยวัสดุส่วน
ผสมให้ละเอียดเล็กลงไปอีก ส่วนอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ปั่นจะช่วยเติมอากาศแก่จุลินทรียตลอดเวลา เช่น
กัน ส่งผลให้กระบวนการหมักดีและเร็วขึ้น
    4.ใช้ถังหมักแบบควบคุมอุณหภูมิภายในที่ใจกลางถังและขอบนอกของถังให้คงที่ ณ 40
องศาเซลเซียลสม่ำเสมอตลอดเวลาในระหว่างการหมักจะช่วยให้จุลินทรีย์เจริญพัฒนาและขยายพันธุ์
ได้ดีมาก
    5.ระหว่างการหมักถ้ามีฟองอากาศเกิดขึ้นแสดงว่าดีมีจุลินทรีย์มากและแข็งแรง และถ้ามีฝ้าสี
ขาวอมเทาเกิดขึ้นที่ผิวหน้าก็แสดงว่าดีเช่นกัน ฝ้าที่เกิดขึ้นคือจุลินทรีย์ที่ตายแล้วให้คนฝ้านั้นลงไปก็จะ
กลายเป็นอาหารอย่างดีแก่จุลินทรีย์ที่ยังไม่ตายต่อไป
    6.ปุ๋ยน้ำชีวภาพที่หมักไว้นานแล้วเกิดอาการ “นิ่ง-ไม่มีฟอง” แต่กลิ่น “หอม-หวาน-ฉุน” ดี ให้
ใส่น้ำมะพร้าวอ่อน นมสด หรือวัสดุส่วนผสมเสริม คนเคล้าให้เข้ากันดี ปุ๋ยน้ำชีวภาพที่เคยนิ่งจะเดือดมี
ฟองเกิดขึ้นมาทันที ช่วยทำให้ได้ประสิทธิภาพในกระบวนการหมักสูงขึ้นไปอีก
    7.ปุ๋ยน้ำชีวภาพที่ทำไว้นานแล้วด้วยวัสดุส่วนผสมน้อยอย่างหรือไม่หลากหลายนั้น สามารถ
แก้ไขได้โดยการใส่วัสดุส่วนผสมที่ยังขาดหรือไม่ได้ใส่ตามภายหลังแล้วหมักต่อไปด้วยวิธีการหมักปกติได้
    8.ปุ๋ยน้ำชีวภาพที่ทำไว้นานแล้ว วัสดุส่วนผสมจับตัวเป็นก้อนแข็ง หรือบูดเน่า หรือมีกลิ่นไม่พึง
ประสงค์ สามารถแก้ไขได้ด้วยการใส่ กากน้ำตาล จุลินทรีย์ น้ำมะพร้าวอ่อน ตัวเสริม อย่างใดอย่างหนึ่ง
หรือหลายอย่างตามความเหมาะสม จากนั้นหมักต่อไปตามปกติแล้วทุกอย่างจะดีขึ้น
    9.หนอนในปุ๋ยน้ำชีวภาพเกิดจากไข่ของแมลงที่ลอบเข้ามาวางไว้ ไม่มีผลเสียต่อปุ๋ยน้ำชีวภาพ
หนอนเหล่านี้จะไม่ลอกคราบและไม่สามารถเจริญเติบโตเป็นแมลงได้ ให้บดละเอียดหนอนลงหมักร่วม
ไปเลยจะได้ฮอร์โมนไซโตคินนินและอะมิโนโปรตีน
   10.ปุ๋ยน้ำชีวภาพที่ดีจะมีกลิ่น  “หอม-หวาน-ฉุน”  ชัดเจนอยู่ได้นานนับปีหรือหลายๆ ปี หรือ
ยิ่งหมักนานยิ่งดี
   11.ปุ๋ยน้ำชีวภาพที่หมักจนใช้การได้ดีแล้ว กรองกากออกเหลือแต่น้ำเพื่อนำไปใช้งาน ในน้ำที่
กรองออกมานั้นยังมีจุลินทรีย์ เมื่อปิดฝาขวดเก็บไว้นานๆ ขวดจะบวมจนระเบิดได้ ให้ยับยั้งการเจริญเติบ
โตของจุลินทรีย์ในขวดด้วยการใส่  “โซเดียมเมตตะไบร์ซัลไฟด์  หรือ  โปแตสเซียมเมตตะไบร์
ซัลไฟด์”  (อย่างใดอย่างหนึ่ง) อัตรา 250 พีพีเอ็ม. หรือ 250 ซีซี./1,000 ล. หรือ 25
ซีซี./100 ล. หรือ 2.5 ซีซี./10 ล.การยับยั้งจุลินทรีย์แบบพลาสเจอร์ไลท์ โดยนำน้ำปุ๋ยน้ำ
ชีวภาพที่ผ่านการกรองดีแล้วใส่ถังยกขึ้นตั้งไฟความร้อน 70-72 องศาเซลเซียส แล้วนำลงกรอกบรรจุ
ขวด ปิดฝาสนิทอย่าให้อากาศเข้าได้ แล้วใส่ลงในถังควบคุมความเย็นจัด (ถังน้ำแข็ง) ทันที เมื่อเก็บ
ในร่ม อุณหภูมิห้อง จะทำให้ขวดไม่บวมหรือไม่ระเบิด และอยู่ได้นานนับปี




หน้าถัดไป (2/2) หน้าถัดไป


Content ©