-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 531 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

เดือย





เดือย

เดือยเป็นพืชไร่ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจพืชหนึ่งของจังหวัดเลย มีพื้นที่ปลูกคิดเป็นประมาณร้อยละ 95 ของพื้นที่ปลูกทั้งประเทศ พื้นที่ปลูกเดือยส่วนใหญ่จะอยู่บนเนินเขา และที่ลาดเชิงเขา ซึ่งมีความ ลาดเอียงตั้งแต่ 3 - 45 องศา อำเภอที่ปลูกเดือยมากและปลูกต่อเนื่องกันมาเรื่อยๆ ได้แก่ อำเภอภูหลวง อำเภอวังสะพุง และอำเภอเมืองตามลำดับ ผลผลิตที่ได้ประมาณร้อยละ 85 - 90 จะส่งไปขายยังต่างประเทศ โดยตลาดที่สำคัญคือ ญี่ปุ่น และไต้หวัน ผลผลิตที่เหลือจะบริโภคภายในประเทศ ในแต่ละปี เดือยสามารถทำรายได้ เข้าจังหวัดเลยประมาณ 120 - 250 ล้านบาท สำหรับประเทศที่เป็นคู่แข่งทางการค้าของไทยคือ จีน และเวียดนาม เพื่อที่ จะรักษาตลาดเดือยในต่างประเทศ จึงจำเป็นที่จะต้องผลิตเดือยที่มีคุณภาพดี ตรงตามที่ตลาดต้องการ และ สามารถแข่งขันกับประเทศคู่แข่งได้

ชื่อสามัญ : Pearl barley Adlay Ma Yuen (จีน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Coix lacryma-jobi

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

• เดือยเป็นธัญพืชตระกูลหญ้า (Gramineae) มีโครโมโซม 2n = 20 ลักษณะการเจริญเติบโตคล้ายพืชในตระกูลเดียวกัน เช่น ข้าวหรือข้าวฟ่าง เดือยที่ปลูกจาก 1 เมล็ดจะแตกกอ เมื่ออายุประมาณ 2 เดือน ได้ 4-5 แขนง ต้นเดือยมีความสูงตั้งแต่ 1-3.5 เมตร
• ใบ
- ขนาด 20-45 x 2.5-5 เซนติเมตร
- ติดอยู่กับกาบใบที่หุ้มลำต้น ปลายใบเรียวแหลม แผ่นใบมีลักษณะ คล้ายใบหอก(lanceolate)
- เส้นกลางใบเป็นร่องยาวไปตามความยาวของใบ
• ช่อดอก
- แตกขึ้นไปจากซอกใบที่อยู่บริเวณของกิ่ง
- ช่อดอกยาว3-8 เซนติเมตร
- เดือยจะมีทั้งดอกตัวผู้และดอกตัวเมียบนช่อเดียวกัน
• ดอก
- โครงสร้างสลับซับซ้อน แปลกและน่าท่งกว่าดอกของพืชชนิดอื่นๆ
- ก้านดอกจะรองรับกระเปราะที่จะพัฒนาต่อไปเป็นที่บรรจุผล หรือเมล็ด
- ภายในกระเปาะบรรจุดอกตัวเมีย 1 ดอก และก้านชูเกสรตัวเมียสีแดงคล้ำ 2 อัน ซึ่งจะยื่นโผล่ออกมาจากกระเปาะ เพื่อรอรับการผสม
• กระเปาะ
- เป็นที่กำเนิดของก้านชูช่อดอกตัวผู้ที่โผล่ออกไปอยู่เหนือกระเปาะ ช่อดอกตัวผู้จะมีดอกตัวผู้อยู่ประมาณ 10 ดอก แต่ละดอกมีความยาว 7-8 เซนติเมตร รูปร่างคล้ายสีเหลี่ยมขนมเปียกปูนเรียวๆ
- ดอกจะร่วงเมื่อแก่ มักจะเกิดเป็นคู่ มีกาบดอกชั้นนอก (glume) 2 อัน ภายในมีกลีบดอกชนิดlemma 1 อัน และ palea ที่เล็กกว่า 1 อัน มีอับเกสร ตัวผู้ 3 อัน
• เมล็ด
- เกิดจากการผสมเกสร รังไข่จะเจริญไปเป็นผลปลอม (false fruit) หรือเมล็ด
- เมื่อมองด้านหน้าจะคล้ายรูปหัวใจ มองด้านบนจะคล้ายเมล็ดถั่ว ที่มีร่องเว้าเข้าไปตรงกลาง แต่ร่องจะลึกกว่า
- มีความยาว 8-12 มิลลิเมตร
- เนื้อของผลและเมล็ดจะหลอมเป็นเนื้อเดียวกันจนแยกไม่ออก (caryopsis)
- เยื่อหุ้มเมล็ดมีสีน้ำตาลแดง น้ำตาลเข้ม หรือน้ำตาลอ่อน
- เดือยส่วนใหญ่เป็นพืชที่ไวต่อช่วงแสง โดยจะออกดอกในช่วงที่มีแสงน้อยกว่า 12 ชั่วโมง ประมาณเดือนกันยายน ส่วนใหญ่จะผสมข้าม เนื่องจากดอกตัวผู้และดอกตัวเมียบานไม่พร้อมกัน

การปลูก
ช่วงปลูกที่เหมาะสม คือ กลางเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน

การเตรียมดิน
โดยใช้ผาน 3 หนึ่งครั้ง และผาน 7 อีกหนึ่่งครั้ง

ระยะปลูก
75 x 75 เซนติเมตร จำนวน 3-4 ต้นต่อหลุม

การปลูก
หยอดเมล็ดหลุมละ 6-10 เมล็ด แล้วถอนแยกให้เหลือ 3-4 ต้นต่อหลุมเมื่อเดือยอายุ 30 วัน

การดูแลรักษา

การใส่ปุ๋ย
ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 หรือ 16-20-0 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ โดยแบ่งใส่ครึ่งหนึ่งพร้อมปลูก และที่เหลือใส่เมื่อเดือยอายุ 30 วัน

โรคและการป้องกันกำจัด

โรคราเขม่าดำ (Smut)
เป็นโรคที่พบครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2524 เกิดจากเชื้อรา Ustilago cocii Bref.
ีโรคนี้ระบาดประปราย ในบางปีโรคนี้มีการระบาดรุนแรง ทำความเสียหาย จนไม่สามารถเก็บเกี่ยวได้
โรคนี้จะเกิดบนดอกและใบ ถ้าเกิดบนดอกจะมีสีเขียวแกมม่วง และต่อไป จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ปมมีลักษณะบิดเบี้ยว ภายในปมจะมีผงละเอียดสีดำของสปอร์ ถ้าเกิดบนใบ ใบที่หุ้มช่อดอกจะ เกิดมีปมดังกล่าว
วิธีป้องกันกำจัด :
• สำหรับการป้องกันโรคราเขม่าดำที่ติดมากับเมล็ดเดือย คือ การลวก เมล็ดด้วยน้ำร้อนที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส โดยต้มน้ำให้เดือด แล้วตั้งทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้องอย่างน้อย 10 นาที เพื่อให้น้ำเย็นลงที่อุณหภูมิ เท่าที่ต้องการ แล้วจึงนำเมล็ดพันธุ์มาแช่นาน 10 นาที ก่อนจะนำไปปลูก
• การหลีกเลี่ยงการใช้เมล็ดพันธุ์ที่มาจากแหล่งที่เป็นโรค วิธีการง่ายๆ เพื่อทดสอบว่า เมล็ดพันธุ์มีสปอร์ของเชื้อรา ติดมากับเมล็ดหรือไม่ โดยการล้วงมือเข้าไปในถุงเมล็ดพันธุ์ แล้วขยำเมล็ดหลายๆ ครั้ง หากมีสปอร์ติดอยู่ที่ผิวเมล็ด มือจะเปื้อนละอองสีดำของสปอร์รา
• การปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อสลับกับเดือยเป็นการป้องกันการระบาดของโรค
สารเคมีที่ใช้กำจัดโรคเขม่าดำ
ชื่อสามัญ : fenpiclonil carboxyl
ชื่อการค้า : Beret
อัตราการใช้ : 5 ซีซี. ต่อน้ำหนักเมล็ด 1 กก.
วิธีการใช้ : คลุกเมล็ดก่อนปลูก

ชื่อสามัญ : fenpiclonil carboxyl
ชื่อการค้า : Culator
อัตราการใช้ : 7 กรัมต่อน้ำหนักเมล็ด 1 กก.
วิธีการใช้ : คลุกเมล็ดก่อนปลูก

แมลงและการป้องกันกำจัด
ยังไม่พบว่ามีแมลงศัตรูพืชเดือยระบาดรุนแรง อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่ามี
ตั๊กแตน
การทำลาย :กัดกินใบ กิ่งก้าน ลำต้นอ่อน และช่อดอก
วิธีการป้องกันกำจัด : การไถพรวนดินและตากดินเพื่อทำลายไข่ตั๊กแตนก่อนปลูกเดือย

หนอนกระทู้
การทำลาย : ทำลายใบ และยอดอ่อน ในขณะที่ใบยังคลี่ไม่หมด
ทำให้แตกกอน้อยและลำต้น ไม่แข็งแรง
วิธีการป้องกันกำจัด :
• ใช้มือจับทำลายหนอน
• ใช้ คาโบฟูราน 3% หรือ ฟูราดาน 3% จี ในอัตรา 1/4 ช้อนชา หยอดยอดต้นเดือย
• ถ้าระบาดมากเกิน 70 ตัวต่อ 20 ต้น ใช้ กูซาไธออน 40% ในอัตรา 30-35 ซีซี ผสมน้ำ 1 ปี๊บฉีดพ่นทุก 7 วัน ประมาณ 2-3 ครั้ง

ปลวกและหนู
ทำลายช่วงติดเมล็ดแล้ว สำหรับปลวก ควรป้องกันกำจัดตั้งแต่ก่อนปลูก ส่วนหนูปราบโดยวิธีวางเหยื่อล่อ

การกำจัดวัชพืช
• เดือยเป็นพืชที่ปลูกตามเชิงเขาในจังหวัดเลย โดยใช้ระยะปลูกกว้าง เพื่อการ แตกกอ แต่ในระยะต้นกล้าประมาณ 3-6 สัปดาห์ เดือยเจริญเติบโตได้ช้ามาก วัชพืชจึงขึ้นในระหว่างแถวและในแถวของเดือย ได้นาน
• วัชพืชในเดือยทำให้ผลผลิตเดือยลดลง 60 เปอร์เซ็นต์
• วัชพืชสำคัญประเภทใบแคบและประเภทใบกว้าง ได้แก่ หญ้า ขจรจบดอกเล็ก หญ้าขจรจบดอกใหญ่ หญ้าปากควาย หญ้าตีนนก หญ้าตีนติด หญ้านกสีชมพู หญ้ายาง และถั่วลิสงนา
• กำจัดวัชพืชครั้งแรก โดยการพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดวัชพืช ก่อนงอกทันทีหลังปลูก และครั้งที่ 2 ใช้จอบดายเมื่อเดือยอายุ 30 วัน
การเก็บเกี่ยว
เก็บเกี่ยวเมื่อเดือยแก่จัด คือ เมื่อต้นเดือยเปลี่ยนเป็นสีฟางข้าว โดยจะตัดทั้งช่อแล้วตากแดดไว้ เพื่อรอเครื่องนวด เมื่อนวดเมล็ดออกจากช่อแล้ว ควรตากแดดประมาณ 2-3 แดด เพื่อให้เมล็ดแห้งจัดจงบรรจุกระสอบแล้วนำไปขาย

การใช้ประโยชน์
การใช้ประโยชน์เดือยอาจแบ่งได้เป็น 3 ประเภทคือ
เดือยหิน ใช้เป็นเครื่องประดับคล้ายลูกปัด เช่น ทำพวกสายสร้อย ตกแต่งเสื้อผ้า ซึ่่งเป็นที่นิยมปลูกกันในหมู่ชาวเขาทางภาคเหนือ เดือยประเภทนี้มีเปลือกหุ้มเมล็ดเป็นเงา หนา แข็ง และเหนียวมาก และมีหลายสี เช่น สีขาว หรือเทาอ่อน หรือมีหลายสี อ่อนแก่บนเมล็ดเดียวกัน น้ำหนักทั้งเปลือก 100 เมล็ด อยู่ระหว่าง 10.5-32.8 กรัม ต้นส่วนมากจะเตี้ยกว่าเดือยประเภทอื่น
เดือยขบ มักจะปลูกกันตามบ้านในปริมาณน้อย สำหรับเป็นของขบเคี้ยวในครอบครัว หรือจำหน่ายในตลาดของ ท้องถิ่นโดยจะตัดทั้งช่อและต้ม มักจะพบในชนบททั่วไป เมล็ดขนาดโตค่อนข้างกลม เปลือกค่อนข้างหนาและแข็งปานกลาง ในการบริโภคนั้นต้องใช้ฟันขบจึงเรียกว่า "เดือยขบ" เปลือกมีหลายสีปน กันบนเมล็ดเดียว เช่น คร่งหน่งสีครีมอีกคร่งหน่งสีน้ำตาลแก่ น้ำหนัก 100 เมล็ดทั้งเปลือกประมาณ 18.6 กรัม เดือยขบมีลำต้นสูงประมาณ 2 เมตร
เดือยการค้า เป็นเดือยที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ และ ปลูกมากที่สุด เมล็ดที่กะเทาะเอาเปลือกออกแล้วจะใช้บริโภคได้หลายรูปแบบ เดือยการค้า จะมีทั้งเดือยข้าวเจ้าและข้าวเหนียว เนื่องจากมีทั้งประเภท ที่เปลือกหนาค่อนข้างแข็งและประเภทเปลือกบางเปราะ ถ้าเป็นชนิดแรก ผิดเปลือกมักจะมันเป็นเงามีสีขาวปนเทาส่วนชนิดหลังผิดเปลือกจะด้านและมักมีสีเดียวล้วนๆ เช่น มีสีน้ำตาลอมเทา เมล็ดจะยาวรี น้ำหนัก 100 เมล็ดทั้งเปลือกอยู่ ระหว่าง 10.8-19.0 กรัม ต้นเดือยการค้าจะสูงพอๆ กับเดือยขบ

การแปรรูป

แป้งเดือย
เมื่อพิจารณาคุณภาพของแป้ง จะแบ่งเดือยได้เป็น 2 ประเภท คือ
เดือยข้าวเจ้า เมื่อนำเดือยประเภทนี้ไปต้ม แป้งและน้ำต้มเดือย จะไม่เหนียวลื่นหรือเป็นเมือก เมล็ดทั้งเปลือกค่อนข้างยาวขนาดเล็ก เปลือกสีน้ำตาลแก่ ค่อนข้างหนาและแข็ง เนื้อแป้งของเมล็ดจะค่อนข้างแข็ง โรงสีจะชอบเพราะสามารถเก็บเมล็ดเดือยไว้ได้นาน เดือยชนิดนี้มีต้นสูง และลำต้นสีเขียวนวลขนาดใหญ่
เดือยข้าวเหนียว เนื้อแป้งเมื่อหุงต้มจะนุ่มเป็นเมือกลื่นๆ คล้ายกับข้าวเหนียว หรือมีแป้งข้าวเหนียว (อะไมโลเพ็คติน)เป็นส่วนใหญ่ มีแป้งอะไมโลสเพียง 2-3 เปอร์เซ็นต์ ผู้บริโภคนิยมมากกว่าเดือยข้าวเจ้า เมล็ดทั้งเปลือกกลมสั้นโตกว่าเดือยข้าวเจ้าเปลือกเมล็ดสีเทาอ่อน บางและกรอบ บีบแตกง่าย เนื้อแป้งของเมล็ดจะค่อนข้างอ่อน ทำให้สีหรือกระเทาะได้น้ำหนักน้อยเพราะแตกหักง่าย แต่อาจทำให้ ได้รำมากข้น สีแล้วได้เนื้อเดือยมาก (เข้าใจว่าถ้าเมล็ดไม่แตกหัก) ต้นเตี้ยกว่าพันธุ์ข้าวเจ้า สีของลำต้นค่อนข้างเหลือง
2009-01-04

ที่มา  :  กรมวิชาการเกษตร


ประสบการณ์ตรง









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2009-07-16 (437 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©