-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 456 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

สับปะรด




หน้า: 1/2


                  สับปะรด


       ลักษณะทางธรรมชาติ                
    * ประเทศไทยส่งออกสับปะรดกระป๋องมากที่สุดในโลก  มีทั้งที่ประทับตรา เมด อิน ไทย
แลนด์.โดยตรง  กับบรรจุกระป๋องส่งออกให้ต่างประเทศแล้วไปประทับตาของประเทศตนเอง
    * เกาะฮาวาย สหรัฐ มีการปลูกสับปะรดมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก  เป็นสับปะรดสำหรับบรรจุ
กระป๋อง  แต่เนื่องจากคุณภาพเมื่อครั้งเป็นผลสดไม่ดีจึงทำให้เมื่อบรรจุกระป๋องแล้วคุณภาพไม่ดีตาม
ไปด้วย  สุดท้ายกิจกรรมการปลูกสับปะรดบรรจุกระป๋องจึงเลิกไป
               
    * สับปะรดรับประทานผลสดจากประเทศไทยได้ชื่อว่ารสชาติและคุณภาพดีที่สุดในโลก
    * เป็นพืชเขตร้อนชื้น  สามารถปลูกได้ในทุกพื้นที่ ทุกภาค และทุกฤดูกาล  ชอบดินร่วนปน
ทรายมีอินทรีย์วัตถุมากๆ
               
    * เป็นพืชไร่ประเภทอวบน้ำ สังเกตจากต้น ใบ หัวหรือผลที่มีน้ำจำนวนมากเป็นส่วนประกอบ ดัง
นั้นสับปะรดจึงต้องการน้ำเพื่อสร้างน้ำในหัวหรือผลอย่างสม่ำเสมอ
               
    * เจริญเติบโตได้ดีทั้งพื้นที่แสงแดดส่องถึงร้อยเปอร์เซ็นต์ตลอดวัน และพื้นที่แสงแดดส่อง
รำไรๆ (แซมหรือแทรกระหว่างต้นไม้ผล) เพียงแต่พื้นที่แสงแดดมากจะให้ผลผลิตเร็วกว่าพื้นที่แสง
แดดน้อยเท่านั้น
               
    * ชาวสานยางพารา  เมื่อระยะยางพาราต้นเล็ก  นิยมปลูกสับปะรดแซมในแถวยางพารา 
เมื่อให้น้ำบำรุงพืชตัวใดอีกตัวหนึ่งก็จะพลอยได้รับไปด้วย  นอกจากนี้สับปะรดยังช่วยป้องกันวัชพืช
เจริญเติบโตได้อีกด้วย
                
    * เป็นพืชไร่ทนแล้งได้ดี แต่ไม่ได้หมายความว่าไม่ต้องการน้ำเสียเลย เพียงแต่ต้องการน้ำน้อย
หรือต้องการน้ำเพียงหน้าดินชื้น  เมื่อคิดจะปลูกสับปะรดให้ได้ผลผลิตดีจึงต้องมีแผนการให้น้ำเตรียม
ไว้ด้วย 
               
    * การกำหนดแผนหรือจังหวะให้  น้ำ + สารอาหาร + อื่นๆ  ทางใบ  ถ้ามีการปรับช่วง
ระยะเวลาในการปฏิบัติให้ตรงกับจังหวะให้น้ำทางดินจะช่วยประหยัดเวลา  แรงงาน  และเพิ่ม
ประสิทธิภาพของเนื้องานยังได้ผลผลิตที่มีคุณภาพสูงอีกด้วย
    * การติดตั้งระบบสปริงเกอร์นอกช่วยให้การปฏิบัติบำรุงทำได้ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของเนื้องานดีกว่าการทำงานด้วยมือหรือแรงงานคนแล้ว  ยังช่วยประหยัดเวลา  แรงงาน  และช่วยให้ได้ลผลผลิตที่คุณภาพดีอีกด้วย.....ทั้งนี้  สารอาหารทุกตัว  สามารถผ่านไปพร้อมกับน้ำในสปริงเกอร์ได้  ขึ้นอยู่กับชนิดและแบบของระบบสปริงเกอร์                
    * การเตรียมดินโดยใส่อินทรีย์วัตถุประเภทคงทน (แกลบดิบ แกลบเก่า เศษพืชบดป่น มูลสัตว์
ฯลฯ) ลงไปในดินลึก 50-80 ซม. อินทรีย์วัตถุเหล่านี้จะช่วยกักเก็บน้ำไว้ใต้ดิน (อินทรีย์วัตถุ 10
กก.อุ้มน้ำได้ 19.9 ล./จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ส่งผลให้สับปะรดได้รับน้ำอย่างสม่ำเสมอต่อ
เนื่องตลอดเวลานานๆ    
               
    * ระยะผลกำลังพัฒนา  ถ้าขาดน้ำหรือได้น้ำไม่สม่ำเสมอจะเกิดอาการไส้ดำในผล
    
* หลังจากปักดำหน่อพันธุ์ลงไปแล้วหว่านเมล็ดถั่วปรับปรุงบำรุงดิน อัตรา 1-2 กก./ไร่ จาก
นั้นบำรุงต้นถั่วคู่ไปกับบำรุงหน่อพันธุ์สับปะรด เมื่อต้นถั่วโตขึ้นหรือเริ่มออกดอกให้ล้มต้นถั่วลงคลุมหน้า
ดิน นอกจากจะช่วยบังแดดจัดไม่ให้เผาหน้าดินโดยตรงแล้วเมื่อเน่าสลายยังกลายเป็นปุ๋ยบำรุงดินอีกด้วย
               
    * หน่อพันธุ์ที่เกิดจากโคนต้นแม่ส่วนที่อยู่ใต้ดินเรียกว่า “หน่อดิน” ส่วนหน่อที่เกิดจากลำต้นแม่
ส่วนที่อยู่เหนือพื้นดินเรียกว่า  “หน่ออากาศ”  หน่อทั้งสองประเภทใช้ขยายพันธ์ได้
    * หน่อพันธุ์หลังจากขุดแยกออกมาจากต้นแม่แล้วนำมาตั้งรวมกองบนพื้นดินใต้ร่มไม้ใหญ่ รอ
การนำลงปลูกในแปลงจริงสามารถอยู่ได้นานนับเดือน  แต่มีข้อแม้ว่าต้องให้น้ำ สารอาหารและ
สารสกัดสมุนไพรป้องกันเชื้อราบ้างเป็นครั้งคราว
                
    
    * ธาตุอาหารมีผลต่อพัฒนาการของสับปะรดอย่างมาก 
                  
      - ซิลิก้า. ช่วยบำรุงให้เปลือกแข็งแกร่ง  ทนทานต่อการขนส่ง
      - โบรอน. ช่วยให้ตาที่เปลือกสดใสไม่ดำคล้ำ
                   
      - โมลิบดินั่ม. ช่วยบำรุงให้คุณภาพเนื้อดี  สีสวย  
                   
      - แม็กเนเซียม. ช่วยบำรุงให้ต้นสมบูรณ์แข็งแรง ส่งผลให้ได้ผลผลิตดี 
                
    * บำรุงต้น ดอก ผลและหน่อโดยให้จุลินทรีย์หน่อกล้วย, ฮอร์โมนบำรุงราก,  ไคโตซาน.
2-3 เดือน/ครั้ง  ผ่านไปกับน้ำตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวจะช่วยให้ต้นสมบูรณ์ดียิ่งขึ้น
 
   * สับปะรดที่ได้รับการสะสมไนโตรเจนมากๆ เมื่อนำไปบรรจุกระป๋อง ไนโตรเจนที่สะสมในเนื้อจะ
เปลี่ยนสภาพเป็นไนเตรททำให้ผนังด้านในของกระป๋องดำ ......แนวทางแก้ไข ให้ “น้ำ + นม
สด” 1-2 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 7-10 วัน ให้ครั้งสุดท้ายก่อนเก็บเกี่ยว 10-15 วัน จะช่วยลด
ปริมาณไนโตรเจนที่เป็นต้นเหตุของการเกิดไนเตรทได้ 
                
    * การหยอดแก๊ส  หรือฉีดพ่นฮอร์โมนเพื่อเปิดตาดอก จะได้ประสิทธิดีก็ต่อเมื่อต้นมีความ
สมบูรณ์ดี ลำต้นโตตั้งสะโพกหรือโคนใหญ่               
    * เนื่องจากงานหยอดแก๊สเพื่อเปิดตาดอกสับปะรดเป็นงานที่ยุ่งยาก สิ้นเปลืองเวลาและแรง
งานอย่างมาก  วิธีการบำรุงโดยให้สารอาหารสูตรสะสมตาดอกทั้งทางรากและทางใบอย่างสม่ำเสมอก็
ทำให้สับปะรดออกอกได้เช่นกัน
               
    * ผลที่รูปทรงแบนคล้ายพัด (สับปะรดพันตา) เป็นผลที่เกิดจากการผสมของเกสรดอกไม่
สมบูรณ์ เนื่องจากขาดสารอาหาร ผลแบบนี้บางครั้งเรียกว่า “สับปะรดพันตา” รับประทานไม่ได้แต่ยัง
จำหน่ายเป็นเครื่องเซ่นไหว้ได้ ส่วนสับปะรดที่ต้นเดียวมี 2-3 หัวขนาดใหญ่ (แฝด) บนขั้วเดียวกัน
เกิดจากความสมบูรณ์ของต้นมากเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์  หัวแฝดแบบนี้ใช้รับประทานได้
    * สับปะรดสำหรับส่งโรงงานทำสับปะรดกระป๋องที่คุณภาพดีต้องมีรูปทรงหัวถึงท้ายสม่ำเสมอ
เพราะเข้าเครื่องปอกได้พอดีตลอดหัว ส่วนหัวที่มีรูปทรงปลายแหลมโคนใหญ่จะเข้าเครื่องปอกเปลือก
ไม่ดี  ราคาตกเพราะโรงงานต้องเสียเนื้อส่วนหนึ่งไป
               
    * หัวโตขนาดเท่าไข่ให้แกะยอดที่จุกหัว (ผ่าหัว) เพื่อเร่งให้ผลโตเร็วๆ
    * หลังจากผ่าหัวแล้วให้ใช้เศษหญ้าหนาๆคลุมหัวบังแดดนอกจากช่วยป้องกันผลแตกแล้วยัง
ช่วยให้สีเปลือกสวย คุณภาพเนื้อดีขึ้นอีกด้วย...เกษตรกรไต้หวัน  ใช้วิธีตัดกระดาษแข็ง  ทำช่อง
สวมหัวเพื่อบังแดด  ซึ่งได้ผลดีกว่าการใช้เศษหญ้าแห้ง
                
    * ผลผลิตปีแรกจะได้ขนาดใหญ่  หลังเก็บผลชุดแรกแล้วถ้าไม่แยกหน่อ  แต่ปล่อยให้หน่อ
เจริญเติบโตเองเป็นหน่อสอง หน่อสามจะได้ขนาดผลเล็กลง แต่ถ้าแยกหน่อจากต้นแม่ออกมาปลูกใหม่
เป็นหน่อแรกก็จะได้ผลขนาดใหญ่เหมือนเดิม
               
    * อายุตั้งแต่เริ่มปลูกถึงเก็บเกี่ยว 13-15 เดือน
                

      สายพันธุ์นิยม
               
    - พันธุ์ปัตตาเวีย (ศรีราชา/พื้นเมืองตาดำศรีราชา). อินทรชิต. ขาว.  ภูเก็ต (สวี). 
ภูแล.  นางแล (น้ำผึ้ง).  ตราดสีทอง. 
               
    - ศรีราชาทนแล้งได้ดีที่สุด
                

      เตรียมดินและอินทรีย์วัตถุ  
               
    - ใส่ปุ๋ยคอก (มูลวัวเนื้อ/นม + มูลไก่ไข่/เนื้อ/นกกระทา...แห้งเก่าข้ามปี)ปีละ 2 ครั้ง
  
  - ให้ยิบซั่มธรรมชาติ  ปีละ 2 ครั้ง               
    - ให้กระดูกป่น  ปีละ 1 ครั้ง  
               
    - คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆเต็มพื้น
               
    - ให้ฮอร์โมนบำรุงราก และไคตินไคโตซาน 2-3 เดือน/ครั้ง 
               
    - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิงหรือจุลินทรีย์ 1-2 เดือน/ครั้ง
               
      หมายเหตุ : 
               
    - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพ (ทางใบ-ทางราก) บ่อยเกินไปจะทำให้ต้นหยุดการเจริญเติบโต ไม่แตก
ใบอ่อน  ผลหยุดขยายขนาดแล้วกลายเป็นผลแก่  การให้ทางใบอาจเป็นแหล่งอาศัยและแพร่ระบาด
ของเชื้อราได้  
               
    - ฮอร์โมนธรรมชาติและฮอร์โมนวิทยาศาสตร์จะให้ประสิทธิภาพเต็มร้อยก็ต่อเมื่อ ต้นมีสภาพ
ความสมบูรณ์สูง
                

      เตรียมดิน
                
    1.ใส่อินทรีย์วัตถุ (แกลบดิบหรือแกลบเก่า) ยิบซั่มธรรมชาติ กระดูกป่น ปุ๋ยคอก เศษพืชบด
ป่น ฯลฯ โดยหว่านเต็มพื้นที่ทั่วแปลงปลูก
                
    2.ไถด้วยผานระเบิดดินดาน (ริปเปอร์) หรือผานจาน 2 ส่งอินทรีย์วัตถุลงสู่ใต้ดินลึก 50-80
ซม. แล้วไถดะ-ไถแปรด้วยผานสาม  ปรับเรียบด้วยผานแปดเพื่อพรวนดินให้ละเอียด
    3.ชักร่องลูกฟูกด้วยผานชักร่อง                     

      เตรียมเครื่องมือให้น้ำ
               
    - ติดตั้งระบบสปริงเกอร์แบบโอเวอร์เฮดหรือท็อปกันด่วยเครื่องสูบฉีดน้ำแรงดันสูงๆ โดยการติด
ตั้งแบบประจำที่ได้การได้ตลอดไป   
               
    - ตัดเส้นทาง (ถนน) ผ่ากลางแปลงเพื่อให้รถไถลากรถพ่วงบรรทุกถังน้ำขนาดจุ 5,000-
10,000 ล. หรือมากว่าพร้อมเครื่องพ่น และหัวฉีดน้ำแรงดันสูง (เครื่องสูบน้ำดับเพลิง และหัวฉีด
ดับเพลิงสามารถฉีดพ่นน้ำได้ไกล 100-200 ม.) ฉีดพ่น 2 ด้านซ้ายขวาในเวลาเดียวกัน
   
                
      การขยายพันธุ์
               
    - ใช้ “หน่อ” ที่ขุดแยกออกมาจากส่วนโคนของต้นแม่หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว
    - ใช้ “ตะเกียง” เป็นหน่อที่ตัดแยกจากมาจากส่วนลำต้นของต้นแม่หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว
  
  - ใช้ “จุก” ที่เฉือนออกมาจากหัวโดยเฉือนให้ติดเนื้อเล็กน้อย                

      ระยะปลูก
               
      พื้นที่ 1 ไร่  ปลูกได้ 1,600 ต้น  การปลูกห่างจะช่วยให้ใบแผ่กางรับแสงแดดได้เต็มที่
ส่งผลให้ต้นพัฒนาเจริญเติบโตดีกว่าการปลูกแบบชิดที่ใบตั้งตรงรับแสงแดดได้น้อย
     
                
      เตรียมต้นพันธุ์
               
    - ตัดแยกหน่อพันธุ์จากต้นแม่ด้วยมีดคมๆเพื่อไม่ให้แผลช้ำมากจนเกินไป ได้หน่อพันธุ์มาแล้ว
นำลงแช่ใน “น้ำ 100 ล.+ ไคตินไคโตซาน 100-200 ซีซี.+ จุลินทรีย์หน่อกล้วย 100-200
ซีซี.” ทันทีนาน 12 ชม. ครบเวลาแล้วนำขึ้นผึ่งลม 24-48 ชม. เพื่อให้หน่อเครียดเล็กน้อยจึง
นำไปปลูกในแปลงจริงจะช่วยให้หน่อโตเร็วและให้ผลผลิตดีเมื่อโตขึ้น
  



               ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่อสับปะรด                

    1.ระยะต้นเล็ก
                     
      ทางใบ :
                      
    - ให้ “น้ำ 100 ล.+ ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร
250 ซีซี.”  ฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบลงถึงพื้น  ทุก 15-20 วัน 
    - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 3-5 วัน                       
      ทางราก :
                     
    - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 27-7-7 หรือ 30-10-10(1-2 กก.)/ไร่/เดือน
  
  - ช่วงแล้งจัดให้น้ำพอหน้าดินชื้น  ทุก 10-15 วัน
      หมายเหตุ :                    
    - หลังจากปักดำหน่อพันธุ์ใหม่ๆยังไม่ต้องให้ปุ๋ย ให้เฉพาะน้ำเปล่าก็พอ ปล่อยให้หน่อพันธุ์รับ
สารอาหารจากที่ใส่ไว้ช่วงเตรียมดินก็พอ เริ่มให้ปุ๋ยทั้งทางใบและทางรากจริงๆหลังจากหน่อพันธุ์แตกใบ
อ่อน 2-3 ใบแล้ว
                     
    - การให้ปุ๋ยทางรากอาจใช้วิธีหว่านบางๆ (บางที่สุด) บนพื้นระหว่างแถวปลูก หรือละลายน้ำ
แล้วฉีดราดด้วยสายยางไปตามระหว่างแถวปลูกก็ได้
                    
    - การบำรุงระยะต้นเล็กสำคัญมาก  ถ้าบำรุงดีได้น้ำ  สารอาหารและฮอร์โมนสม่ำเสมอ  จะ
ทำให้ต้นสูงใหญ่ซึ่งจะส่งผลไปถึงการออกดอกแล้วพัฒนาเป็นผลดีขึ้นตรงกันข้ามถ้าต้นขาดน้ำ สาร
อาหารและฮอร์โมน นอกจากต้นจะแคระแกร็นแล้วยังทำให้การเปิดตาดอกไปถึงผลผลิตไม่ดีอีกด้วย
        
    2.ระยะสะสมตาดอก
                
      ทางใบ :
                
    - ให้น้ำ 100 ล.+ 0-42-56(400 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + สาร
สกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ทุก 7-10 วัน ติดต่อกัน 2-3 รอบแล้วให้น้ำ 100 ล.+ เอ็นเอเอ.
25 ซีซี.+ ฮอร์โมนไข่ 25 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.สลับ 1 รอบ ฉีดพ่นให้เปียก
โชกทั้งใต้ใบบนใบลงถึงพื้น ติดต่อกัน 1-2 เดือน จะช่วยให้ต้นสมบูรณ์เต็มที่
  
  - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 3-5 วันช่วงหลังค่ำ                   
      ทางราก :
                
    - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 8-24-24 หรือ 9-26-26 สูตรใดสูตรหนึ่ง (2-4
กก.)/ไร่/เดือน
    - ช่วงแล้งจัดให้น้ำพอหน้าดินชื้น  ทุก 10-15 วัน                  
      หมายเหตุ :
                
    - ถ้าต้นสมบูรณ์ดีเริ่มให้เมื่ออายุต้น 4-5  เดือนเพื่อเปิดตาดอกในเดือนที่ 6   ถ้าต้นไม่
สมบูรณ์จริงเริ่มให้เมื่ออายุ 6-7 เดือนเพื่อเปิดตาดอกในเดือนที่ 8    
                
    - แนวทางบำรุงให้ต้นได้สะสมอาหารเพื่อการออกดอกไว้มากที่สุด ควรเตรียมแผนใช้เวลาบำรุง
2 เดือน  โดยให้กลูโคสหรือนมสัตว์สดรอบแรกเมื่อเริ่มลงมือบำรุง  และให้รอบสองห่างจากรอบ
แรก 20-30 วัน 
              
    - การให้ปุ๋ยทางรากอาจใช้วิธีหว่านบางๆ (บางที่สุด) บนพื้นระหว่างแถวปลูก หรือละลายน้ำ
แล้วฉีดราดด้วยสายยางไปตามระหว่างแถวปลูกก็ได้ 
                 

    3.ระยะเปิดตาดอก
                     
      วิธีที่ 1.....
หยอดด้วยแก๊ส  แคลเซียม คาร์ไบด์  บดเป็นผงละเอียด อัตราหยิบติดได้
ด้วยปลายนิ้วหัวแม่มือกับปลายนิ้วชี้ ลงบนยอดหรือจุก 2-3 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน  หรือใช้
แก๊สแคลเซียม คาร์ไบด์ อัตรา 200 กรัมผสมน้ำเย็น 75-100 ล. หยดหรือโรยลงบนยอดหรือจุก
ต้นละ 1-2 หยด และควรหยอดซ้ำอีกครั้งหลังจากหยดครั้งแรก 5-7 วัน การหยอดแก๊สแคลเซียม
คาร์ไบด์.จะได้ประสิทธิภาพสูงเมื่ออากาศเย็นอุณหภูมิ 20 องสาเซลเซียส และวิธีละลายน้ำแล้วหยด
ได้ประสิทธิภาพสูงกว่าการทำเป็นผงแล้วหยอดหรือโรย
  
    วิธีการที่เกษตรกรไทยหยอดแก๊สแคลเซียม คาร์ไบด์. เพื่อเปิดตาดอกสับปะรด มักทำกัน
ตอน ตี.3-4 เพื่ออาศัยน้ำค้างเป็นตัวสร้างความชื้น ถ้าหยอดช่วงกลางวันก็ต้องฉีดพ่นน้ำเพื่อให้ยอด
หรือจุดเปียกชื้นเสียก่อน  ซึ่งทั้งสองวิธีก็ใช้ได้ผลดี
                     
      วิธีที่ 2.....
ฉีดพ่นด้วยเอทีฟอน ชนิด 39.5 เปอร์เซ็นต์ (1.5 ซีซี.) + น้ำ 200
ล. สำหรับพื้นที่ 1 ไร่  ฉีดพ่นผ่านใบลงถึงพื้นหน้าหน้าดินเปียกชื้น 1 รอบ  ถ้าต้นสมบูรณ์ไม่เต็ม
ที่หรือมีทีท่าว่าจะไม่ออกดอกแน่ให้ฉีดพ่นซ้ำอีกรอบห่างจากรอบแรก 14-20 วัน แต่ไม่ควรให้ซ้ำรอบ
สองด้วยระยะเวลาห่างจากรอบแรกน้อยกว่า 7-10 วัน
  
    ในต่างประเทศนิยมใช้ อีเทฟอน 1.5 ซีซี. + ยูเรีย 6 กก. + น้ำ 100 ล.  ฉีดพ่น
ช่วงอากาศเย็นอุณหภูมิ 20 องสาเซลเซียส ได้ประสิทธิภาพสูงกว่าการไม่ใช้ยูเรียและฉีดพ่นช่วง
อากาศร้อน
                    
      หมายเหตุ :
                    
    - จากงานวิจัยระบุว่าเปิดตาดอกสับปะรดด้วยแคลเซียม คาร์ไบด์.ได้ผลดีกว่าการใช้เอเท
ฟอน.
                    
    - ปัจจุบันเกษตรไทยนิยมใช้เอทีฟอน.เนื่องจากปัญหาแรงงาน
                     
              
    4.บำรุงดอก
                     
      ทางใบ :
                     
    - ให้น้ำ 100 ล.+ 10-45-10(400 กรัม) หรือ 0-42-56(400 กรัม สูตรใด
สูตรหนึ่ง + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 กรัม + เอนเอเอ. 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250
กรัม   ฉีดพ่นผ่านใบลงถึงพื้นพอหน้าดินชื้น 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 10-15 วัน
    - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรพอเปียกใบ  ช่วงหลังค่ำ  ทุก 3-5 วัน
      ทางราก :                   
    - ให้ 8-24-24(2-4 กก.)/ไร่  
                   
    - ช่วงแล้งจัดให้น้ำพอหน้าดินชื้น  ทุก 10-15 วัน
      หมายเหตุ :                   
    - การให้ปุ๋ยทางรากต่อระยะนี้อาจไม่จำเป็น  ถ้าต้นสมบูรณ์แทงช่อดอกดีก็ไม่ต้องให้
 
   - การให้ปุ๋ยทางรากอาจใช้วิธีหว่านบางๆ (บางที่สุด) บนพื้นระหว่างแถวปลูก หรือละลายน้ำ
แล้วฉีดราดด้วยสายยางไปตามระหว่างแถวปลูกก็ได้
                
    - ช่วงดอกเริ่มแทงออกมาใหม่ๆให้แคลเซียม โบรอน.1 รอบ จะช่วยให้ดอกสมบูรณ์ผสมติด
ดี
            
    5.ระยะผลเล็ก
                     
      ทางใบ :
                     
      ให้น้ำ 100 ล.+ 15-45-15(400 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ สาร
สกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ฉีดพ่นผ่านใบลงถึงพื้นพอหน้าดินเปียกชื้น  ทุก 10-15  วัน
      ทางราก :                    
    - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 15-45-45(2-4 กก.)/ไร่ โดยละลายน้ำรดโคนต้น
    - ช่วงแล้งจัดให้น้ำพอหน้าดินชื้น  ทุก 10-15 วัน
 
     หมายเหตุ :                   
    - ระยะดอกแดง (ผล) ให้โมลิบดินั่ม อัตรา 25 มก./น้ำ 100 ล. โดยการฉีดพ่นพอ
เปียกใบ 1-2 รอบ  ห่างกันรอบละ 5-7 วันจะช่วยป้องกันอาการไส้เน่าและโรคเน่าในผลซึ่งอาการ
โรคนี้เกิดจากสารอาหารมาสมดุลอย่างรุนแรง
                    
    - เมื่อผลขนาดเท่าไข่ให้แกะจุก (ผ่าหัว) จะช่วยให้ผลเจริญเติบโตเร็วขึ้น  หลังจากแกะจุก
แล้วบำรุงด้วยปุ๋ยทางใบ 1 รอบก็พอ
                    
    - การให้ปุ๋ยทางรากอาจใช้วิธีหว่านบางๆ (บางที่สุด) บนพื้นระหว่างแถวปลูก หรือละลายน้ำ
แล้วฉีดราดด้วยสายยางไปตามระหว่างแถวปลูกก็ได้
            
   
    6.ระยะผลกลาง            
                 
      ทางใบ :
                    
    - ให้น้ำ 100 ล.+ 15-5-45(400 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 กรัม + ไคโต
ซาน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.  ฉีดพ่นผ่านใบลงถึงพื้นพอหน้าดินชื้น  ทุก
15-20 วัน
    - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรพอเปียกใบ ช่วงหลังค่ำ  ทุก 3-5 วัน
      ทางราก :                    
    - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 15-5-45(2-4 กก.)/ไร่/เดือน  โดยละลายน้ำรด
โคนต้น
    - ช่วงแล้งจัดให้น้ำพอหน้าดินชื้น  ทุก 10-15 วัน                  
      หมายเหตุ :
                
    - เริ่มลงมือบำรุงเมื่อนับตาแนวตั้งจากด้านขั้วผลถึงปลายผลได้ 5 ตา

    - การบำรุงระยะผลขนาดกลางต้องให้น้ำสม่ำเสมอแต่ต้องไม่ขังค้าง  ถ้าได้รับน้ำน้อยนอกจาก
จะทำให้ผลไม่โต   หากมีฝนตกหนักลงมาก็อาจจะทำให้ผลแตกผลร่วงได้
    - กรณีที่ไม่มี 15-5-45 ให้ใช้ 8-24-24 + 0-0-60 อัตรา 1 : 1/2 ผสมให้เข้ากันดีแทนได้
    - ให้ฮอร์โมนน้ำดำ กับ แคลเซียม โบรอน 1-2 รอบ โดยแบ่งให้ตลอดช่วงผลขนาดกลางจะ
ช่วยให้ต้นไม่โทรมเนื่องจากแบกภาระเลี้ยงผลจำนวนมากบนต้น
                
    - การให้ปุ๋ยทางรากอาจใช้วิธีหว่านบางๆ (บางที่สุด) บนพื้นระหว่างแถวปลูก หรือละลายน้ำ
แล้วฉีดราดด้วยสายยางไปตามระหว่างแถวปลูกก็ได้
          

    7.ระยะผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว
                    
      ทางใบ :
                    
    - ให้ 100 ล.+ 0-0-50(400 กรัม) หรือ 0-21-74(400 กรัม) สูตรใดสูตรหนึ่ง
+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 กรัม + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. หรือ น้ำ 100 ล.+ มูลค้าง
คาวสกัด 100 ซีซี.+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. 1-2 รอบ
ห่างกันรอบละ 5-7 วันก่อนเก็บเกี่ยว ฉีดพ่นทางใบให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบลงถึงพื้น

    - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรช่วงหลังค่ำ  ทุก 3-5  วัน                  
      ทางราก :                  
               
    - ให้ 13-13-21 หรือ 8-24-24 สูตรใดสูตรหนึ่ง (2-4 กก.)/ไร่
    - งดน้ำเด็ดขาด                 
      หมายเหตุ :
                 
    - ให้ปุ๋ยทางใบและทางราก 1 ครั้งก็พอ
               
    - การให้ปุ๋ยทางรากอาจใช้วิธีหว่านบางๆ (บางที่สุด) บนพื้นระหว่างแถวปลูก หรือละลายน้ำ
แล้วฉีดราดด้วยสายยางไปตามระหว่างแถวปลูกก็ได้
               
    - ให้สาหร่ายทะเล + แคลเซียม โบรอน. + เอ็นเอเอ. 2-3 ครั้ง  โดยแบ่งให้ตลอด
ช่วงผลกลาง ถึง ก่อนเก็บเกี่ยว  จะช่วยให้ผลมีคุณภาพดี  ต้นสมบูรณ์สดชื่นอยู่เสมอ
    - การให้นมสด 1-2 รอบ  ห่างกันรอบละ 10-15 วัน  โดยรอบสุดท้ายให้ก่อนเก็บเกี่ยว 10-15 วัน  จะช่วยลดปริมาณไนเตรทที่สะสมอยู่ในเนื้อได้

                
                     


ดูรูปประกอบและข้อมูลเพิ่มเติมที่  "กูเกิ้ล - สับปะรด"





หน้าถัดไป (2/2) หน้าถัดไป


Content ©