-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 431 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ชมพู่




หน้า: 2/3


                   ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่อชมพู่
                               (ทุกสายพันธุ์)        

     1. เรียกใบอ่อน                     
         ทางใบ :                     
         ให้น้ำ 100 ล. + 46-0-0 (200 กรัม)  หรือ  25-5-5 (400 กรัม) สูตรใดสูตรหนึ่ง
+ จิ๊บเบอเรลลิน 10 ซีซี. + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.
 ฉีดพ่นพอเปียกใบ  ทุก  5-7  วัน                
          ทางราก :               
        - ให้น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง + 25-7-7 (½-1) กก./ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
        - ให้น้ำเปล่า  ทุก  3-5  วัน                
    
          หมายเหตุ :                
        - ใบอ่อนเมื่อออกมาแล้วต้องระวังโรคและแมลงศัตรูเข้าทำลายใบเพราะหากใบอ่อนชุด
ใดชุดหนึ่งถูกทำลายเสียหายจะต้องเริ่มเรียกชุดที่ 1 ใหม่ ซึ่งจะทำให้เสียเวลาและกำหนดระยะ
การออกดอกติดผลต้องเลื่อนออกไปอีกด้วย                 
        - เรียกใบอ่อนโดยการใส่ปุ๋ยทางรากสูตร  25-7-7  จะช่วยให้ได้ใบที่มีขนาดใหญ่  มี
พื้นที่หน้าใบสังเคราะห์อาหารมาก  และคุณภาพดีกว่าใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ               
        - หลังจากให้ทางใบไปแล้ว 5-7 วัน ถ้าแตกใบอ่อนน้อยกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ให้ฉีดพ่น
ซ้ำรอบสองด้วยอัตราและวิธีการเดิม               
        - ชมพู่ต้องการใบอ่อน 2 ชุด  ถ้าต้นสมบูรณ์ดี มีการเตรียมดินและปรับปรุงบำรุงดินสม่ำ
เสมอต่อเนื่องมาหลายๆปีแล้ว  หลังจากใบอ่อนชุดแรกเพสลาดแล้วให้เรียกใบอ่อนชุด 2 ต่อได้
เลย  ใบชุด  2 นี้อาจจะออกไม่พร้อมกันทั้งต้นเหมือนชุดแรกแต่ก็จะออกห่างกันไม่เกิน 7-10
วัน และหลังจากใบอ่อนชุด 2 เพสลาดให้เข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงต่อไปตามปกติ..........ถ้าต้น
แตกใบอ่อนไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้นจะส่งผลเสียหลายอย่างตั้งแต่การเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่  การ
สะสมอาหารเพื่อการออก  การปรับ ซี/เอ็น เรโช.  การเปิดตาดอก  ซึ่งจะออกดอกไม่พร้อมกัน
ทั่วทั้งต้น  และเมื่อดอกออกไม่พร้อมกันก็กลายเป็นผลไม่พร้อมกันทำให้ยุ่งยากต่อการปฏิบัติ
บำรุงตามขั้นตอนอย่างมาก.....แก้ไขโดยบำรุงเรียกใบอ่อนให้ออกมาเป็นชุดเดียวพร้อมกันทั้ง
ต้นให้ได้           

       2. เร่งใบอ่อนเป็นใบแก่                  
           ทางใบ :                                  
         - ให้น้ำ 100 ล.+ 0-21-74 (200 กรัม) หรือ 0-39-39 (200 กรัม) สูตรใดสูตรหนึ่ง +
ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร  250 ซีซี.   ฉีดพ่นพอเปียกใบ  1-2 รอบห่าง
กันรอบละ 3-5 วัน                 
         - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน               
           ทางราก :                
         - ให้  8-24-24 (1/2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.               
         - ให้น้ำปกติ  ทุก  2-3 วัน               
           หมายเหตุ :               
         - ลงมือบำรุงเมื่อใบอ่อนชุดแรกอกมาเริ่มแผ่กาง                 
         - วัตถุประสงค์เพื่อเร่งใบชุดใหม่ให้สามารถสังเคราะห์อาหารได้ และเร่งระยะเวลาเรียก
ใบอ่อนชุดต่อไปได้เร็วขึ้น  กับทั้งเพื่อให้ใบอ่อนรอดพ้นจากทำลายของแมลงปากกัดปากดูด
         - สารอาหารในกลุ่มเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่มีฟอสฟอรัส.และโปแตสเซียม.) นอกจากช่วย
เร่งใบอ่อนเป็นใบแก่แล้วยังช่วยเสริมประสิทธิภาพขั้นตอนสะสมอาหารเพื่อการออกดอกได้ด้วย        

        3. สะสมอาหารเพื่อการออกดอก                 
            ทางใบ :               
          - ให้น้ำ 100 ล. + 0-42-56 (200 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + แคล
เซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.  ทุก 5-7 วัน  ติดต่อกัน 2-3 รอบแล้ว
ให้น้ำ 100 ล. + ฮอร์โมนไข่  25 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.  สลับ 1 รอบ ฉีดพ่น
พอเปียกใบ  ติดต่อกัน 1-2  เดือน                
          - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน               
             ทางราก :                
          - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 8-24-24 (1-2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน
          - ให้น้ำปกติทุก 2-3 วัน               

             หมายเหตุ :               
           - เริ่มปฏิบัติหลังจากใบอ่อนชุดสุดท้ายเพสลาด               
           - ปริมาณ 8-24-24  หรือ 9-26-26  ใส่มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณการติดผล
ในรุ่นที่ผ่านมา  กล่าวคือ  ถ้ารุ่นที่ผ่านมาติดผลดกมาก  ผลผลิตมีคุณภาพดีมาก  ให้ใส่ใน
ปริมาณที่มากขึ้น  แต่ถ้ารุ่นที่ผ่านมาติดผลดกน้อยหรือไม่ติดผลเลยให้ใส่ในปริมาณปานกลาง
           - แนวทางบำรุงให้ต้นได้สะสมอาหารเพื่อการออกดอกไว้มากที่สุดควรเตรียมแผนใช้
เวลาบำรุง 2-2  เดือนครึ่ง ในห้วงนี้ให้กลูโคสหรือนมสัตว์สด 2 รอบ โดยรอบแรกให้เมื่อเริ่มลง
มือบำรุงและให้รอบสองห่างจากรอบแรก 20-30 วัน                
           - การเพิ่มปริมาณปุ๋ยให้มากขึ้น  หมายถึง  การให้อัตราเดิมแต่ระยะเวลาให้ถี่ขึ้น 
เช่น  จากเคยให้ 15 วัน/ครั้งก็ให้เปลี่ยนเป็น 10 วัน/ครั้ง                  
           - ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงขั้นต่อไป คือ ปรับ ซี/เอ็น เรโช. ให้ทบทวนความทรง
จำเมื่อครั้งเรียกใบอ่อนแล้วใบอ่อนออกมาพร้อมกันเป็นชุดเดียวทั่วทั้งต้นหรือไม่ ถ้าใบอ่อนออก
มาพร้อมกันดีทั่วทั้งต้นให้ปรับ ซี/เอ็น เรโช.ต่อไปได้เลย  แต่ถ้าใบอ่อนออกมาไม่พร้อมกันเป็น
ชุดเดียวทั่วทั้งต้นและค่อนข้างต่างรุ่นกันมากก็ให้บำรุงสะสมอาหารเพื่อการออกดอกต่อไปอีก
2-3 รอบ เพื่อรอให้ใบอ่อนชุดหลังสะสมอาหารจนอั้นตาดอกดีเท่ากับใบอ่อนชุดแรกจากนั้นจึง
ลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช.  ทั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อทำให้มีดอกออกมาพร้อมกันเป็นชุดเดียวกันทั่ว
ทั้งต้นนั่นเอง      

       4. ปรับ  ซี/เอ็น  เรโช                 
           ทางใบ :               
         - ให้น้ำ  100  ล. + 0-42-56 (200 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + สารสกัด
สมุนไพร 250 ซีซี. 1-2 รอบ  ห่างกันรอบละ 5-7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ 
         - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน                 
           ทางราก :              
         - เปิดหน้าดินโคนต้น               
         - งดน้ำเด็ดขาด                  

           หมายเหตุ :               
         - วัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มปริมาณ ซี. (อาหารกลุ่มสร้างดอก-บำรุงผล) และลดปริมาณ
เอ็น. (อาหารกลุ่มสร้างใบ-บำรุงต้น) ซึ่งจะส่งผลให้ต้นออกดอกหลังการเปิดตาดอก 
         - ต้นที่มีอาการอั้นตาดอกดีจนพอใจแล้วไม่ต้องฉีดพ่นกลูโคสหรือนมสัตว์สดเพิ่มอีกแต่
ถ้าต้นมีอาการอั้นตาดอกไม่ดีหรือยังไม่น่าพอใจ  แนะนำให้ฉีดพ่นกลูโคสหรือนมสัตว์ทางใบอีก
ซ้ำอีก 1 รอบ  โดยเว้นระยะเวลาให้ห่างจากที่เคยให้เมื่อช่วงสะสมอาหารไม่น้อยกว่า 30-45 วัน                 
         - ก่อนลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช  จะต้องติดตามข่าวพยากรณ์อากาศให้มั่นใจว่าระหว่าง
ปรับ ซี/เอ็น เรโช จะต้องไม่มีฝนตก  เพราะถ้ามีฝนตกลงมา  มาตรการงดน้ำก็ต้องล้มเหลว 
         - ขั้นตอนการปรับอัตราส่วน  ซี/เอ็น  เรโช. จะสมบูรณ์ดีหรือไม่ให้สังเกตจากต้น  ถ้า
ต้นเกิดอาการใบสลดแสดงว่าในต้นมีปริมาณ ซี.มากส่วนปริมาณ เอ็น.เริ่มลดลง และความ
พร้อมของต้นก่อนลงมือเปิดตาดอก สังเกตได้จากลักษณะใบใหญ่หนาเขียวเข้ม  กิ่งช่วงปลาย
และใบกรอบเปราะ  ข้อใบสั้น  หูใบอวบอ้วน               
         - การให้สารอาหารทางใบซึ่งมีน้ำเป็นส่วนผสมนั้น  อย่าให้โชกจนตกลงถึงพื้นเพราะจะ
กลายเป็นการให้น้ำทางราก  แนวทางปฏิบัติ คือ ให้บางๆเพียงเปียกใบเท่านั้น                -
เมื่องดน้ำ (ไม่รดน้ำ) แล้วต้องควบคุมปริมาณน้ำใต้ดินโคนต้นไม่ให้มากเกินไปโดยการทำร่อง
ระบายน้ำใต้ดินหรือร่องสะเด็ดน้ำด้วย               
         - กรณีสวนยกร่องน้ำหล่อต้องใช้ระยะเวลาในการงดน้ำนานมากกว่าจึงจะทำให้ใบสลด
ได้  อาจส่งผลให้แผนการผลิตที่กำหนดไว้คลาดเคลื่อน ดังนี้จึงจำเป็นต้องสูบน้ำออกตั้งแต่
ก่อนปรับ ซี/เอ็น เรโช  โดยกะคะเนให้ดินโคนต้นแห้งถึงขนาดแตกระแหงและมีความชื้นไม่เกิน
10 เปอร์เซ็นต์ตรงกับช่วงปรับ ซี/เอ็น เรโช  พอดี        

       5. สำรวจความพร้อมของต้น               
           - เนื้อใบหนาเขียวเข้มส่องแดดไม่ทะลุ  เส้นใบนูนเด่น  หูใบอวบอ้วน  ข้อใบสั้น  ใบ
คู่สุดท้ายปลายกิ่งแก่จัด  กิ่งช่วงปลายกลมเปราะหักง่าย  มองจากภายนอกระยะไกลๆเห็นความ
สมบูรณ์ทางทรงพุ่มชัดเจน                
           - ผิวเปลือกตามลำต้นสดใสมีอาการแตกปริ                 
           - รากใหญ่จำนวนมาก  ปลายราก (หมวกราก) ยาวอวบอ้วนสดใส      

        6. ตรวจสอบสภาพอากาศ               
            ก่อนลงมือเปิดตาดอกให้ตรวจสอบข่าวสภาพอากาศให้แน่ใจว่าในอีก 15-20 วัน
ข้างหน้าหรือวันที่ช่อดอกเริ่มแทงออกมานั้นจะต้องไม่มีฝนตกหรือมีสภาพอากาศปิด (ครึ้มฟ้า
ครึ้มฝน) เพราะสภาพอากาศปิดหรือมีฝนต้นชมพู่จะเปิดตาดอกไม่ออก แม้จะอั้นตาดอกดีเพียง
ใดก็ตาม แต่กลับแทงใบอ่อนออกมาแทน กรณีนี้ให้ระงับการเปิดตาดอกไว้ก่อนแล้วบำรุงต้นด้วย
สูตร  สะสมอาหารเพื่อการออกดอก  ต่อไปจนกว่าจะมั่นใจว่าในวันที่ช่อดอกออกมานั้นไม่มีฝน
หรืออากาศเปิดแน่จึงลงมือเปิดตาดอก               
            ชมพู่บางสายพันธุ์ไม่ค่อยมีปัญหาต่อการเปิดตาดอกช่วงอากาศปิด  แม้ว่าหลังจาก
เปิดตาดอกแล้วมีฝนตกจนต้นแตกใบอ่อนออกมาก็ให้ถือใบอ่อนนั้นเป็นการเริ่มบำรุงขั้นตอนที่ 1
ใหม่  รอจนกระทั่งใบอ่อนเพสลาดให้ใส่ปุ๋ยทางราก 8-24-24 หรือ 9-26-26 (1/2-1 กก.)/
ต้นทรงพุ่ม 5 ม.ควบคู่กับการฉีดพ่นปุ๋ยทางใบ 0-42-56 + แคลเซียมโบรอน จำนวน 1-2
รอบห่างกันรอบละ 5-7 วัน ชมพู่สายพันธุ์ที่ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องอากาศปิดนั้นก็จะแทงช่อดอก
ออกมาให้ปรากฏได้  ถ้าให้ทางใบด้วย 0-42-56 ไปแล้ว 2 รอบยังไม่ออกดอกก็ให้เปิดตาดอก
ด้วย 13-0-46 ต่ออีก 1-2 รอบ   คราวนี้ถ้ายังไม่ออกอีกก็ต้องรอให้อากาศเปิดแล้วจึงเปิด
ตาดอก        

        6. เปิดตาดอก               
           
ทางใบ :               
            สูตร 1
 ....... ให้น้ำ 100 ล. + สาหร่ายทะเล 100 ซีซี. + ฮอร์โมนไข่  100 ซี
ซี. +ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.               
            สูตร 2 ....... ให้น้ำ 100 ล. +13-0-46 (500 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100
ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. 
            เลือกใช้สูตรใดสูตรหนึ่งหรือทั้งสองสูตรแบบสลับครั้งกัน  ห่างกันครั้งละ 5-7 วัน 
ฉีดพ่นพอเปียกใบ                                 
            ทางราก :               
          - ให้ 8-24-24 หรือ 9-26-26  สูตรใดสูตรหนึ่ง (½ กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
          - ให้น้ำปกติทุก 2-3 วัน                 

            หมายเหตุ :               
          - เลือกใช้ให้ทางใบด้วยสูตรใดสูตรหนึ่งหรือใช้ทั้งสองสูตรแบบสลับครั้งกันก็ได้
          - ต้นที่มีอาการอั้นตาดอกดีและสภาพอากาศพร้อมสำหรับเปิดตาดอกให้เปิดตาดอก
ด้วย 13-0-46  ถ้าอั้นตาดอกดีแต่ไม่แน่ใจว่าสภาพอากาศจะอำนวยหรือไม่ก็ให้เปิดตาดอก
ด้วย 0-42-56                       
          - หลังจากเปิดตาดอกแล้ว ถ้าดอกออกมาไม่มากพอ ระหว่างที่ดอกชุดแรกยังเป็นดอก
ตูมอยู่นั้น  ให้เปิดตาดอกซ้ำอีก 1-2 รอบด้วยสูตรเดิม หรือจนกระทั่งดอกชุดแรกบานแล้วจึงยุติ
การเปิดตาดอกซ้ำ        

       6. บำรุงดอก               
           ทางใบ :              
         - ให้น้ำ  100 ล. + 15- 45-15 (200 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม  100  ซีซี. + เอ็น
เอเอ. 100 ซีซี. + ฮอร์โมนไข่ 25 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.  ทุก 5-7 วัน  ฉีดพ่น
ใบพอเปียกใบ                  
         - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก  3  วัน                   
           ทางราก :                
         - ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้นเช่นเดิม                   
         - ให้  8-24-24 หรือ 9-26-26  สูตรใดสูตรหนึ่ง (½-1 กก)./ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
         - ให้น้ำพอหน้าดินชื้น               

           หมายเหตุ :               
         - ให้ฮอร์โมนจิ๊บเบอเรลลินเดี่ยวๆรอบที่ 1 เมื่อเห็นว่าดอกออกมามากจนพอใจแล้ว
         - ถ้ามีดอกออกมาแล้วมีใบออกมาด้วย  ให้ใช้ 0-42-56  แทน 15-45-15 เพื่อกดใบอ่อน                 
         - ฉีดพ่นสารอาหารเพื่อบำรุงดอกด้วยเครื่องมือฉีดพ่นที่มีแรงลมพ่นเบาที่สุดตามความ
เหมาะสมเพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนต่อส่วนต่างๆของดอก  ฉีดพ่นที่ช่อดอกโดยตรงพอเปียก
หรือฉีดพ่นให้ทั่งทรงพุ่มพอเปียกใบก็ได้               
         - บำรุงดอกช่วงฝนชุกให้เน้น  “สังกะสี และ แคลเซียม โบรอน”  โดยให้เมื่อดอกออก
มาแล้วหรือให้แบบสะสมล่วงหน้าตั้งแต่ช่วงเปิดตาดอก ด้วยวิธีให้เดี่ยวๆหรือผสมรวมไปกับธาตุ
อาหารอื่นๆก็ได้               
         - การไม่ใช้สารเคมีมาเป็นเวลานานๆจะทำให้มีผึ้งหรือแมลงธรรมชาติอื่นๆเข้ามาช่วย
ผสมเกสรหรือมีสายลมช่วยพัดละอองเกสรตัวผู้ (ต่างต้น) ไปผสมกับเกสรตัวเมีย ก็จะช่วยให้ติด
ผลดกขึ้น        

         7. บำรุงผลเล็ก               
             ทางใบ :                
           - ให้น้ำ 100 ล. + 21-7-14 (200 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ แคลเซียม
โบรอน 100 ซีซี. + ฮอร์โมนไข่ 25 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.  ฉีดพ่นพอเปียกใบ ทุก 5-7 วัน
           - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน               
             ทางราก :               
           - นำอินทรีย์วัตถุกลับเข้าคลุมโคนต้นให้เหมือนเดิม                 
           - ใส่ยิบซั่มธรรมชาติ 10 เปอร์เซ็นต์ของอัตราการใส่เมื่อช่วงเตรียมดิน
           - ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 25-7-7 (1 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./ครั้ง/เดือน
                 
           - ให้น้ำปกติทุก 2-3 วัน                
             
             หมายเหตุ :                 
           - เริ่มปฏิบัติหลังจากกลีบดอกร่วง  หรือขนาดผลเท่าเมล็ดถั่วเขียว     

        8. บำรุงผลกลาง                   
            ทางใบ :               
          - ให้น้ำ 100 ล. + 21-7-14 (200 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + ไคโตซาน
100 ซีซี.+ แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.  ทุก 7-10 วัน  ฉีดพ่นพอเปียกใบ
          - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน               
            ทางราก :               
          - ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง +  21-7-14  (1/2 กก)/ต้น/ครั้ง/เดือน
          - ให้น้ำปกติ  ทุก 2-3 วัน                
   
            หมายเหตุ :               
          - เริ่มปฏิบัติเมื่อเมล็ดเริ่มเข้าไคล การที่จะรู้ว่าผลเริ่มเข้าไคลแล้วจะต้องใช้วิธีสุ่มเก็บ
ผลมาผ่าดูเมล็ดภายใน                
          - ถ้าต้นติดผลดกมากควรให้ฮอร์โมนน้ำดำ กับ แคลเซียม โบรอน 1-2 รอบ โดยแบ่ง
ให้ตลอดระยะผลกลางจะช่วยให้ต้นไม่โทรมเนื่องจากรับภาระเลี้ยงผลมาก       

       9. บำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว                  
           ทางใบ :               
         - ให้น้ำ 100 ล. + 0-21-74 (200 กรัม)  หรือ  0-0-50 (200 กรัม) + ธาตุรอง/
ธาตุเสริม 100 ซีซี. + ฮอร์โมนไข่  25 ซีซี. + แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัด
สมุนไพร 250 ซีซี. หรือ น้ำ 100 ล. + มูลค้างคาวสกัด 100 ซีซี. + ธาตุรอง/ธาตุเสริม
100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.  1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วันก่อนเก็บเกี่ยว 
ฉีดพ่นพอเปียกใบ                 

        - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน               
          ทางราก :               
        - เปิดหน้าดินโคนต้นแล้วงดน้ำ               
        - ให้  13-13-21  หรือ  8-24-24 สูตรใดสูตรหนึ่ง (1 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
               
          หมายเหตุ :               
        - เริ่มปฏิบัติก่อนเก็บเกี่ยว 10-20 วัน                                               
        - การบำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยวช่วง  “หน้าแล้ง”  โดยให้ 0-0-50 หรือ 0-21-74 ทาง
ใบ  กับให้ 13-13-21 หรือ 8-24-24 ทางราก  จะทำให้ชมพู่มีรสหวานจัดมาก  ดังนั้นช่วง
หน้าแล้งจึงไม่จำเป็นต้องให้ทางใบ  ให้เฉพาะทางรากอย่างเดียวก็พอ  แต่ถ้าให้ทั้งทางใบและ
ทางรากรสจะหวานจัดจนแสบคอ               
        - การบำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยวช่วง  “หน้าฝน”  ควรให้ทางทางรากและทางใบคู่กัน โดย
ให้ทางใบด้วย 0-0-50 หรือ 0-21-74  กับให้ทางรากด้วย 8-24-24  หรือ  9-26-26  ให้
ไปเรื่อยๆ  จนกว่าจะหมดฝน  และเมื่อหมดฝนแล้วให้งดน้ำพร้อมกับบำรุงต่อไปอีก 10-15 วัน 
ก็จะได้รสหวานพอดี             
        - การบำรุงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวโดยให้ทางรากด้วย 8-24-24 หรือ 9-26-26  เหมาะ
สำหรับต้นที่มีผลหลายรุ่นซึ่งหลังจากเก็บเกี่ยวผลแก่รุ่นแรกไปแล้วจะช่วยบำรุงผลชุดหลังต่อ
นอกจากนี้ยังทำให้ต้นไม่โทรมเหมาะสำหรับการเตรียมความพร้อมต้นต่อการปฏิบัติบำรุงรุ่นปีต่อ
ไปอีกด้วย  









หน้าก่อน หน้าก่อน (1/3) - หน้าถัดไป (3/3) หน้าถัดไป


Content ©