-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 201 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ชมพู่




หน้า: 1/3




ที่มา: http://www.chollada.in.th/smf/index.php?topic=598.0



ชมพู่(ทุกสายพันธุ์)               


         ลักษณะทางธรรมชาติ               
      * เป็นพืชเขตร้อนและกึ่งร้อน ปลูกได้ดีในทุกภาค ทุกพื้นที่ และทุกฤดูกาล  ชอบดินดำ
ร่วนหรือดินปนทรายร่วนมีอินทรีย์วัตถุมากๆ ระบายน้ำดี เนื้อดินไม่ลึกนัก ระบบรากหากินที่
บริเวณผิวดินจึงไม่ค่อยทนต่อสภาพน้ำขังค้างนาน ต้องการความชื้นสูงทั้งในดินและความชื้น
สัมพัทธ์ในอากาศ  ช่วงพักต้นต้องการน้ำน้อยแต่ช่วงออกดอกติดผลต้องการน้ำสม่ำเสมอ

      * ปลูกง่ายโตเร็ว  ให้ผลผลิตได้ตั้งแต่อายุ 4 เดือนหลังปลูก (กิ่งตอน/ทาบ/ติดตา ) บาง
สายพันธุ์ให้ผลตลอดปี (ไม่มีรุ่นหรือทยอยออกตลอดปี) แบบไม่มีฤดูกาล   บางสายพันธุ์ให้ปี
ละ 2 รุ่น                

      * เป็นพืชไม้ผลอายุยืนกว่า 50 ปี ส่วนมากต้นที่ตายมักตายก่อนอายุขัยเนื่องจากสภาพ
แปลงปลูกไม่   น้ำในดินโคนต้นมากทำให้รากแช่น้ำตลอดเวลา   ต้นโทรมเนื่องจากได้รับธาตุ
อาหาร (ธาตุหลัก-รอง-เสริม-ฮอร์โมน) ไม่สมดุล  ในขณะที่ต้นถูกเร่งเร้าในการออกดอกติดผล
ตลอดปีและอีกหลายปัจจัยที่บั่นทอนให้ต้นอ่อนแอ                

      * การใช้ต้นตอพันธุ์พื้นเมืองหรือเพชรทูลเกล้าแล้วเปลี่ยนยอดเป็นพันธุ์ดีตามต้องการ
พร้อมกับมีการเสริมรากจะช่วยให้ต้นมีรากมากขึ้น ส่งผลให้ต้นได้รับสารอาหารมากกว่าการมี
เพียงรากเดียว เมื่อต้นได้รับสารอาหารมากขึ้นสภาพต้นย่อมแข็งแรง สมบูรณ์ ผลดกคุณภาพดี
และอายุต้นยืนนานยิ่งขึ้นอีกด้วย                

      * มีดอกสมบูรณ์เพศ (เกสรตัวผู้-ตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน) ออกดอกที่ซอกใบใต้ท้องกิ่ง
แก่ ลำต้น หรือแม้แต่ที่โคนต้น และรากที่พ้นพื้นดินก็ออกดอกติดผลได้หากต้นมีความสมบูรณ์สูง                

      * ไม่ออกดอกติดผลจากปลายกิ่งหรือกิ่งเกิดใหม่ในปีนั้น แต่จะออกดอกติดผลจากกิ่งแก่
อายุไม่น้อยกว่า 6 เดือนหรือมากกว่า การตัดปลายกิ่งทิ้งเหลือเฉพาะส่วนโคนซึ่งเหมาะสำหรับ
ออกดอกติดนอกจากเป็นการควบคุมขนาดทรงพุ่มให้กว้างเกินไปได้แล้วยังเป็นการเสริมให้ออก
ดอกติดผล การลำเลียงน้ำเลี้ยง ไปยังกิ่งนั้นดีอีกด้วย                

      * ลักษณะต้นที่จะให้ผลผลิตดีและดกนั้น ช่วง เรียกใบอ่อน-เปิดตาดอก ควรมีใบประมาณ
30 เปอร์เซ็นต์  ช่วงติดผลแล้วควรมีใบประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ และตลอดทุกช่วงที่มีดอกผล
ภายในทรงพุ่มไม่ควรมีใบใหม่ หรือยอดอ่อนเกิดขึ้นเลย  โดยเด็ดทิ้งตั้งแต่ออกมาเป็นยอดผัก
หวาน

      * การเปิดภายในทรงพุ่มให้โปร่งด้วยการตัดยอดประธาน (ผ่ากะบาล) จนแสงแดดช่วง
เที่ยงวันส่องผ่านลำต้นและกิ่งภายในทรงพุ่มได้อย่างทั่วถึง   จะทำให้เปลือกลำต้นและเปลือก
กิ่งสะอาดไม่มีเชื้อราจับ ส่งผลให้ตาดอกซึ่งอยู่ใต้เปลือกสมบูรณ์พร้อมที่จะออกมาได้ทุกเวลา
เมื่อถูกกระตุ้น หรือเปิดตาดอก                

      * ทรงพุ่มโปร่งแสงแดดส่องทั่วภายใน นอกจากช่วยป้องกันเชื้อราแพร่ระบาดได้แล้วยังทำ
ให้แม่ผีเสื้อไม่เข้าวางไข่อีกด้วยเพราะความร้อนภายในทรงพุ่มทำให้ไข่แม่ผีเสื้อฝ่อไม่อาจฟัก
ออกมาเป็นตัวหนอนได้                 

      * เป็นไม้ผลประเภทตอบสนองต่อ  ปุ๋ยและฮอร์โมน  เร็วมากไม่ว่าจะให้ทางรากหรือทาง
ใบ ช่วงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวหากให้ 13-13-21 (ทางราก) ควบคู่กับให้ 0-0-50  หรือ 0-21-
74  (ทางใบ) จะทำให้รสหวานจัดราวกับแช่ในขันทศกร  เมื่อรับประทานถึงกับแสบคอเลยทีเดียว                

      * ระหว่างต้นกำลังออกดอก-ติดผล ตัดแต่งกิ่งได้จะไม่กระทบกระเทือนต่อดอกหรือผลบน
ต้นเหมือนไม้ผลอื่นๆ แนะนำให้เด็ดยอดแตกใหม่ตั้งแต่ยังเป็นยอดเล็กๆ (ยอดผักหวาน ) โดย
การใช้ปลายนิ้วสะกิดเบาๆยอดอ่อนก็จะหลุดออก  วิธีนี้จะไม่ทำให้เกิดเป็นแผลขนาดใหญ่ให้เชื้อ
โรคเข้าได้                

      * สารกำจัดวัชพืชหรือยาฆ่าหญ้าเป็นอันตรายต่อชมพู่อย่างมาก ละอองสารกำจัดวัชพืชที่
ปลิวลอยไปกระทบส่วนใบจะทำให้ใบกร้านหรือไหม้แล้วแห้งไปในที่สุด ส่วนสารกำจัดวัชพืชที่
ซึมแทรกในเนื้อวัชพืชนั้นเมื่อวัชพืชถูกย่อยสลาย  สารกำจัดวัชพืชก็จะเข้าไปปนเปื้อนอยู่ในเนื้อ
ดิน  สร้างความเสียหายแก่ระบบรากได้เช่นกัน จึงไม่ควรกำจัดวัชพืชด้วยสารเคมีแต่ใช้วิธีถอน
หรือตัดและไม่แนะนำให้ใช้วิธีถากหรือขุดเพราะจะกระทบกระเทือนปลายราก (ชมพู่มีรากตื้น)
พร้อมกันนั้นควรมีเศษซากพืชคลุมพื้นดินทั่วบริเวณทรงพุ่มและรอบนอกห่างออกไป 1-2 ม.
เพื่อสร้างความชุ่มชื้นหน้าดินและให้เป็นแหล่งอาศัยของจุลินทรีย์                

      * ดอกชมพู่เป็นดอกสมบูรณ์เพศ (กระเทย) ที่มีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอก
เดียวกัน ผสมกันเองหรือผสมกับต่างดอกได้                

      * เกสรตัวผู้หรือเกสรตัวเมียอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างไม่สมบูรณ์เกิดจากขาด
สารอาหาร/ฮอร์โมนหรือสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม (อากาศร้อนหรือฝนตกชุก) แล้วผสมกัน
แล้วพัฒนาเป็นผลจะเป็นผลไม่สมบูรณ์ ไม่โต รูปทรงบิดเบี้ยว                

      * ช่วงเริ่มแทงช่อดอกออกมาให้บำรุงด้วยฮอร์โมนจิบเบอเรลลิน. เพื่อเตรียมขยายขนาด
ผลให้มีขนาดใหญ่ยาวและสมส่วน โดยฉีดพ่น 3 รอบ                

        รอบแรก     ช่วงตาดอกเริ่มโผล่ออกให้เห็น               
        รอบสอง     ช่วงหลังดอกบาน               
        รอบสาม     ช่วงติดผลขนาดเล็ก ( หมวกเจ๊ก ) ฉีดพ่นให้ทั่วทั้งต้นและเน้นที่ดอก/ผลโดยตรง......

       การผสมอัตราส่วน  จิบเบอเรลลิน  สำคัญมาก  เพราะแต่ละยี่ห้อกำหนดความเข้มข้นใน
การใช้ไม่เท่ากัน  ดังนั้นต้องอ่านรายละเอียดแล้วใช้ให้ตรงตามเกณฑ์กำหนดของแต่ละยี่ห้อ
จริงๆ  การใช้ในอัตราน้อยเกินไปจะทำให้ไม่ได้ผล  การใช้ในอัตราเข้มข้นเกินทำให้รูปทรงผล
บิดเบี้ยวและไม่โต                       

     * ช่วงดอกตูมนี้หากพื้นดินโคนต้นถ้าได้เปิดไว้หรือได้นำเศษพืชคลุมหน้าดินออก (ช่วงงด
น้ำ) ก็ให้นำกลับเข้าคลุมโคนต้นอย่างเดิม     พร้อมกับให้น้ำโดยเริ่มจากให้น้อยๆ พอหน้าดิน
ชื้นก่อนแล้วจึงค่อยๆ เพิ่มปริมาณมากขึ้นเมื่อผลมีขนาดใหญ่ขึ้นตามลำดับ                 

     * ธรรมชาติของชมพู่เมื่อดอกรุ่นแรกออกมาแล้วมักจะมีดอกรุ่นที่สอง-สาม-สี่-ออกตามมา
เรื่อยๆ จนมีดอกหลายรุ่นแล้วกลายเป็นผลหลายรุ่นหลายขนาดในต้นเดียวกัน ทำให้ค่อนข้างยุ่ง
ยากต่อการปฏิบัติบำรุงโดยเฉพาะการให้ฮอร์โมนสำหรับผลต่างระยะหรือต่างอายุกัน...........
แนวทางแก้ไข คือ                
       1. จำนวนดอกทั้งหมดที่ออกไล่เลี่ยกันมาตลอดทั้งปีนั้น ตั้งเป้าเอาไว้เพียง 3 รุ่น/ปี เป็น
อย่างมาก                
       2. สำรวจจำนวนดอกที่ออกมาแต่ละรุ่นในรอบ 7 วันว่าปริมาณดอกระหว่าง 2 วันแรกกับ
2 วันท้ายของ 7 วันนั้นช่วงไหนน้อยกว่ากัน  ถ้าช่วง 2 วันแรกน้อยกว่าช่วง 2 วันท้ายให้เด็ด
ดอกชุด 2 วันแรกทิ้ง  หรือถ้าช่วง 2 วันท้ายน้อยกว่า  2 วันแรกก็ให้เด็ดชุด 2 วันท้ายทิ้ง  ให้
เหลือดอกที่ออกติดต่อกัน 5 วันใน 1 รุ่นก็จะได้ผลที่มีขนาดและอายุใกล้เคียงกันหรือเรียกว่า
พร้อมกันก็ได้ หลังจากได้ดอกรุ่นที่ต้องการให้เป็นผลรุ่นเดียวกันเรียบร้อยแล้วให้เด็ดดอกที่ออก
ต่อมาตลอดระยะเวลา 3 เดือนทิ้งทั้งหมด               
          ระหว่าง 3 เดือนที่เด็ดดอกทิ้งนี้ดอกรุ่นแรกจะพัฒนาเป็นผลโตขึ้นเรื่อยๆ และเมื่อครบ
กำหนด  3 เดือนแล้วก็ให้เตรียมการเก็บดอกรอบใหม่อีกด้วยวิธีการเดิม                
          วิธีจัดรุ่นแบบ 3 เดือนเด็ดดอกทิ้งกับ 5 วันเก็บดอกไว้นี้ ปฏิบัติอย่างนี้ไปเรื่อยๆ  จะทำ
ให้อายุผลชมพู่แต่ละรุ่นที่อยู่บนต้นต่างกัน 3 เดือน  หลักการเดียวกันนี้หากจัดรุ่นแบบ 1 หรือ 2
เดือนเด็ดดอกทิ้งกับ 5 วันเก็บดอกไว้ ก็จะได้อายุผลแต่ละรุ่นต่างกัน  1 เดือน  สรุปก็คือ ช่วง
ระยะเวลาเด็ดดอกทิ้ง คือ ช่วงต่างอายุของผลบนต้นนั่นเอง.......ทั้งหมดทั้งสิ้นนี้จะประสบ
ความสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อต้นมีความสมบูรณ์อย่างแท้จริงเท่านั้น  ทั้งนี้เพราะธรรมชาติของชมพู่
ออกดอกติดผลได้ตลอดปีแบบไม่มีรุ่นอยู่แล้ว                

      * ชมพู่เพชรวันนี้เปลี่ยนชื่อเป็น เพชรสายรุ้ง เป็นชมพู่ที่ตลาดนิยมและมีราคาแพงมาก
เป็นชมพู่ที่รัฐบาลใช้เป็นผลไม้รับรองการประชุมผู้นำอาเซียน  ต้นสมบูรณ์เต็มที่จะมีผลผลิต
ตลอดปี ถ้ามีการจัดรุ่นสามารถทำได้ถึงละถึง 6 รุ่น คือ......รุ่น 1 ออกดอก ธ.ค.เก็บเกี่ยว ก.
พ.  (ราคาแพงสุด)........รุ่น  2 ออกดอกเดือน ม.ค.เก็บเกี่ยว มี.ค. ...........รุ่น 3 ออก
ดอกเดือน ก.พ.เก็บเกี่ยว เม.ย. ..........รุ่น 4 ออกดอก มี.ค.เก็บเกี่ยว พ.ค. ...........รุ่น 5
ออกดอก เม.ย.เก็บเกี่ยว มิ.ย. ..........และรุ่น 6 ออกดอก พ.ค.เก็บเกี่ยว ก.ค.   หลังจากนั้น
พักต้นเพื่อเตรียมสร้างผลผลิตรุ่นปีต่อไป                  

       * ระยะพัฒนาตั้งแต่ดอกถึงเป็นผล ได้แก่  ดอกตูม-ดอกบาน-ผสมติด-หมวกเจ๊ก-
กระโถน-ระฆัง  ทุกระยะของการพัฒนาต่างต้องการวิธีปฏิบัติบำรุงที่แตกต่างกัน ต้องการสาร
อาหารต่างกัน  การให้สารอาหารผิดระยะพัฒนาการจะทำให้ส่วนกลางทรงผล (เอว) คอดหรือ
เล็ก แต่ส่วนล่างของผล (สะโพก) ใหญ่  ลักษณะทรงผลแบบนี้ไม่มีราคา                

       * การห่อผลเป็นสิ่งจำเป็นละเว้นไม่ได้ เริ่มห่อผลเมื่อขนาดผลเริ่มขึ้นรูป (ทรงกระโถน)
โดยใช้ถุงพลาสติกกร๊อบแกร๊บมีหูหิ้ว เจาะรูก้นถุง 2-3 รูขนาดเท่านิ้วหัวแม่มือหรือใหญ่กว่าเพื่อ
ระบายอากาศ  กรณีห่อผลที่เป็นพวงหลายๆผล ควรใช้ถุงขนาดใหญ่กว่าปกติ  ห่อแล้วมัดปาก
ถุงโดยรวบหูหิ้วเข้าด้วยกันให้แน่นพอประมาณ                

       * หยดน้ำ (เหงื่อ) ในถุงกร๊อบแกร๊บเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงปริมาณน้ำในต้น กล่าวคือ  ช่วงเช้า
หากในถุงมีหยดน้ำเกาะจนกระทั่งสายแสงแดดเริ่มร้อนหยดน้ำที่เกาะระเหยหายไป   แสดงว่าต้น
ชมพู่ได้รับน้ำอย่างเพียงพอ ในทางกลับกันหากช่วงเช้าไม่มีหยดน้ำเกาะในถุงเลย  ก็แสดงว่าต้น
ได้รับน้ำไม่เพียงพอ ต้องเพิ่มปริมาณน้ำให้มากขึ้น                

       * การให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพที่มีส่วนผสมของกากน้ำตาลโดยการฉีดพ่นทางใบ    ไม่เหมาะกับ
ชมพู่เนื่องจากกากน้ำตาลในปุ๋ยน้ำชีวภาพรัดผลทำให้ผลเล็ก แม้ว่าคุณภาพภายในผลจะดีแต่
จำหน่ายไม่ได้ราคาเพราะตกขนาด ดังนั้นจึงควรให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพเฉพาะทางรากเท่านั้น โดยรด
โคนต้นบริเวณทรงพุ่มและในร่องระหว่างแถวปลูก วิธีการนี้ช่วยให้ดินดี ร่วนซุย อากาศและน้ำ
ผ่านสะดวก ต้นชมพู่จะสมบูรณ์กว่าการใช้ปุ๋ยเคมีอย่างเดียวเดี่ยวๆ หากต้องการให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพ
ทางใบแก่ชมพู่จะต้องทำปุ๋ยน้ำชีวภาพด้วยกลูโคสเท่านั้น                          

       * การควบคุมความสูงของต้นชมพู่สามารถทำได้หลายระดับความสูง แล้วแต่ความ
สะดวกหรือความพร้อมสำหรับการเข้าไปทำงาน กล่าวคือ หากต้องการยืนบนพื้นดินทำงานก็ให้
ตัดยอดคุมความสูงที่ 2-2.5 เมตร หากสูงกว่านี้ต้องใช้ไม้ทำนั่งร้านแบบถาวร ซึ่งสามารถขึ้น
ไปยืนบนนั่งร้านนั้นทำงานได้ มีชาวสวนหลายคนปล่อยให้ต้นชมพู่สูง 7-10 ม. เป็นการเพิ่ม
ขนาดของต้นทางสูงเพื่อสร้างปริมาณผลผลิต ความสูงระดับนี้ให้ทำนั่งร้านถาวรภายในทรงพุ่ม
หลายๆ ชั้นซ้อนกันขึ้นไป ความสูงชั้นละประมาณ 1-1.5 เมตรซึ่งก็ได้ผลดี ทั้งนี้ผลของชมพู่ไม่
ว่าจะอยู่ ณ ความสูงระดับใดของต้น สามารถได้รับน้ำเลี้ยงไปบำรุงผลให้มีคุณภาพดีเหมือนกัน
ทั่วทั้งต้น                       
        การควบคุมความสูงให้ตัดยอดประธานโดยตรง ณ ระดับความสูงตามต้องการ  หลังจาก
นั้นให้หมั่นตัดยอดที่แตกใหม่ออกเสมอๆ..........การควบคุมขนาดทรงพุ่มที่แผ่ขยายออกทาง
ข้าง ให้ตัดปลายกิ่งประธาน ณ รัศมีความกว้างตามต้องการ หลังจากตัดปลายกิ่งประธานไปแล้ว
ต้นจะแตกยอดกลายเป็นกิ่งใหม่ก็ให้คอยตัดกิ่งใหม่นี้ออกคงเหลือไว้เท่าที่จำเป็น โดยกิ่งแตก
ใหม่นี้จะไม่ออกดอกติดผลเพราะเป็นกิ่งอายุยังน้อยแต่จะออกดอกติดผลในกิ่งแก่หรือกิ่ง
ประธาน                       
        เทคนิคการควบคุมขนาดทรงพุ่ม (ทางสูงและทางข้าง) หลังจากตัดปลายกิ่งกับยอด
ประธานแล้ว จะมีกิ่งแตกออกมาใหม่ ให้เลี้ยงกิ่งแตกใหม่ทั้งหมดไว้ก่อนจนได้ความยาว 50-80
ซม. หลังจากนั้นแบ่งกิ่งชุดนี้เป็น 2 ส่วนๆหนึ่งตัดทิ้งครึ่งหนึ่ง  อีกส่วนหนึ่งปล่อยตามปกติ   กิ่ง
ที่ถูกตัดจะแตกยอดใหม่จึงทำให้มีใบที่ปลายกิ่ง 2 ชุด คือ ชุดที่เกิดจากกิ่งถูกตัดกับชุดอยู่กับกิ่ง
เดิมซึ่งไม่ได้ตัด.........เมื่อมีใบถึงสองชุดปกคลุมต้นด้านนอกอาจจะทึบเกินไปก็ให้ลิดออก
บ้าง เหลือไว้ประมาณ 50-70 เปอร์เซ็นต์ก็พอ  ขณะเดียวกันหากมียอดหรือกิ่งเกิดขึ้นใหม่ภาย
ในทรงพุ่มให้เด็ดออกทิ้งตั้งแต่ยังเล็กเท่ายอดผักหวาน ไม่ควรปล่อยไว้จนโตเพราะจะทำให้ภาย
ในทรงพุ่มทึบ  มีความชื้นสูง เป็นแหล่งอาศัยของแมลงศัตรูพืช และทำให้เกิดเชื้อรากินเปลือกได้                        

       * อายุต้น 5-6 ปีขึ้นไปให้ผลผลิตมาแล้วตลอด  4 ปี สภาพต้นเริ่มโทรมให้ผลผลิตน้อย
และคุณภาพด้อยลง  แก้ไขด้วยการตัดแต่งกิ่งแบบทำสาวโดยตัดกิ่งย่อยและกิ่งแขนงออกทั้ง
หมด  คงเหลือกิ่งย่อยติดใบไว้เพียง 5-10 เปอร์เซ็นต์  และตัดแต่งรากช่วงปลายทิ้ง 1 ใน  4
จากนั้นบำรุงเรียกใบอ่อนและบำรุงเรียกรากใหม่ ประมาณ 1  ปีก็จะกลับมาให้ผลผลิตใหม่ที่ดี
เหมือนเดิมได้                              

       * ฮอร์โมน เอ็นเอเอ. ช่วยเสริมอ๊อกซินธรรมชาติที่ต้นชมพู่อาจขาดแคลนเนื่องจาก
ความสมบูรณ์ของดินและอินทรียวัตถุ  ให้ฉีดพ่นฮอร์โมน เอ็นเอเอ.ทางใบ 2-3 รอบ ตั้งแต่
ระยะผลทรงกระโถนถึงเก็บเกี่ยวโดยแบ่งช่วงเวลาให้ จะให้เอ็นเอเอ.เดี่ยวๆหรือผสมร่วมกับ
แคลเซียมโบรอนและธาตุอาหารเสริมอื่นๆพร้อมกันเลยก็ได้จะช่วยให้ขั้วผลเหนียว  ป้องกันผล
ร่วงผลแตก ขยายขนาดผล รูปทรงดี สีสวย และคุณภาพดี                        

       * การใช้สารยับยั้งการเจริญเติบโต (พาโคลบิวทาโซล) ในชมพู่สามารถทำได้ ความมุ่ง
หมายเพื่อบังคับชมพู่ให้ออกนอกฤดูหรือในช่วงที่ต้องการ    ซึ่งได้ผลเหมือนกับการใช้ใน
มะม่วงและทุเรียน.......วิธีการให้กับชมพู่ต้นใหญ่หรืออายุต้นมากๆใช้วิธีฉีดพ่นทางใบ กับชมพู่
ต้นเล็กหรืออายุต้นยังน้อยใช้วิธีราดโคนต้น  ทั้งนี้ก่อนให้สารยับยั้งการเจริญเติบโต ต้นชมพู่จะ
ต้องได้รับการบำรุงให้สมบูรณ์แข็งแรงจริงๆ มิฉะนั้นอาจทำให้ต้นโทรมหรือตายได้
           การปฏิบัติบำรุงต่อผลชมพู่ต่างอายุกันไม่ยุ่งยาก  เนื่องจากชมพู่เป็นพืชไม้ผลที่ตอบ
สนองต่อปุ๋ยและฮอร์โมนเร็วอยู่แล้ว หลังจากให้ปุ๋ยหรือฮอร์โมนไปแล้วจะเห็นผลการเปลี่ยน
แปลงได้ภายใน 2-3 วัน                          
          ช่วงบำรุงผลแก่ใกล้เก็บ ถ้าให้ปุ๋ยทางรากด้วย 13-13-21 กับให้ทางใบด้วย 0-21-
74 หรือ 0-0-50 ผลเล็กขนาดรองลงมาจะชะงักการเจริญเติบโต แก้ไขด้วยการให้ทางรากด้วย
8-24-24 หรือ 9-26-26 แทน ส่วนทางใบไม่ต้องให้                        
           หลังจากเก็บเกี่ยวผลแก่ไปแล้วกลับมาให้ปุ๋ยทางรากด้วย 21-7-14 ควบคู่กับให้ทาง
ใบด้วยธาตุรอง/ธาตุเสริม (เน้น แคลเซียม โบรอน)  ก็จะสามารถขยายผลรุ่นต่อมาให้ใหญ่ขึ้น
ได้.........อีกทางเลือกหนึ่งก็คือ ให้ปุ๋ยทางรากด้วย 21-7-14 สลับครั้งกับ  8-24-24  กับให้
ธาตุรอง/ธาตุเสริม (เน้นแคลเซียม โบรอน) ทางใบ ยืนพื้นไว้แบบให้ประจำๆ ก็ได้  เมื่อผลชุด
ใดแก่ก็เก็บเกี่ยวไป  ผลที่ยังไม่แก่ก็รอเก็บเกี่ยวรอบหลัง  ซึ่งก็จะทำให้มีผลผลิตให้เก็บเกี่ยวได้
ตลอดปี                           

        * ช่วงผลแก่ใกล้เก็บมีฝนตกชุกมักทำให้ชมพู่ผลร่วงแตก  ฉ่ำน้ำ  รสเปรี้ยว  เนื้อไม่
แน่น  ไม่กรอบ  สาเหตุมาจากไนโตรเจนเกิน แก้ไขด้วยการใส่ปุ๋ยทางรากด้วย  8-24-24 หรือ
9-26-26 ไม่ควรใส่ 13-13-21 ควบคู่กับให้ทางใบด้วย 0-21-74 หรือ 0-0-50 + ธาตุ
รอง/ธาตุเสริม (เน้น แคลเซียม โบรอน) ควบคู่กับงดน้ำเด็ดขาด  เปิดหน้าดินโคนต้น  ทำช่อง
ทางระบายน้ำและอย่าให้น้ำขังค้างโคนต้น                        

        * ระยะติดดอกติดผลชมพู่จะขาดน้ำไม่ได้เลย ถ้าขนาดน้ำช่วงออกดอกๆจะร่วง  เกสร
ผสมไม่ติด  และถ้าขาดน้ำช่วงติดผลจะเกิดอาการเนื้อบางหลวม  ไส้กลวง  เมล็ดใหญ่ รูปทรง
ไม่สมบูรณ์  ผลสั้นบิดเบี้ยว เนื้อแข็ง  เปลือกแข็ง                          

        * การมีน้ำในดินโคนต้นมากเกินไปจะทำให้ต้นแตกใบอ่อนไม่หยุด  ดังนั้นจึงต้องควบ
คุมปริมาณน้ำโดยเฉพาะในดินโคนต้นให้อยู่ในระดับความชื้น 50-80 เปอร์เซ็นต์ตลอดฤดูที่มี
ผลอยู่บนต้น.........การปรับสภาพโครงสร้างดิน ไม่เป็นดินเหนียวจัดและไม่เป็นดินทรายจัด
แต่ให้มีส่วนผสมของอินทรียวัตถุกับเนื้อดิน  1 : 3   ที่สุด                        

        * ชมพู่ทนต่อน้ำท่วมโคนต้นได้นานนับเดือนแต่ต้องเป็นน้ำสะอาด  เพื่อไม่ให้ต้นที่อยู่
ในระหว่างน้ำท่วมโทรมมากเกินไปให้พิจารณาตัดกิ่งออกบ้างเพื่อลดการคายน้ำ ควบคู่กับฉีดพ่น
ธาตุอาหารหลัก/รอง/เสริม  ทางใบ  ทุก 3-5 วัน                        

          สายพันธุ์
                       
          พันธุ์ทั่วไป :
    มะเหมี่ยว.    แก้มแหม่ม.  กะหลาป๋า.   ซาลาเปา.   น้ำหอมหรือน้ำ
                           ดอกไม้.    พลาสติก.    สาแหรก.
          พันธุ์นิยม   :   ทับทิมจันทร์.  ทูลเกล้า.   เพชรชมพูพล.  เพชรสายรุ้ง. 
                           เพชรสามพราน.
                                                                          
          ปัจจุบันมีชมพู่สายพันธุ์ที่มีผู้นำเข้ามาจากต่างประเทศจำนวนมาก แต่ละสายพันธุ์
ต่างมีข้อเด่นและข้อด้อยแตกต่างกัน  การตัดสินใจว่าสายพันธุ์ไหนดีกว่ากันนั้น   ต้องถือหลัก
ความนิยมของผู้บริโภคเป็นหลัก                        

          การขยายพันธุ์                       
        - ทาบกิ่ง (ดีที่สุด).  ชำกิ่ง.  ตอน.  เสียบเปลือก.  เปลี่ยนยอด.
        - ใช้รากแก่ของชมพู่พันธุ์อะไรก็ได้ขนาดเท่าดินสอดำ ตัดแต่งรากฝอยออกบ้างเล็กน้อย
ใส่ถุงขุยมะพร้าวเป็นตุ้มทาบแทนตอจากเพาะเมล็ด ทำปากฉลามแล้วทาบกับกิ่งชมพู่พันธุ์ดีที่
ต้องการด้วยวิธีทาบปกติ รากแก่ในถุงขุยมะพร้าวจะมีรากงอกใหม่เองพร้อมกับแผลทาบติดได้
เหมือนการทาบด้วยตอจากเพาะเมล็ดทุกประการ                         

          เตรียมแปลง                       
          จัดแปลงแบบยกร่องแห้งลูกฟูก สันลูกฟูกสูง 50-80 ซม.โค้งหลังเต่า กว้าง 4-5 ม.
ยาวตามความเหมาะสม  ร่องระหว่างลูกฟูกลึก 20-30 ซม.  กว้าง 1 ม.  ก้นสอบ 30-50 ซม.
                          

          ระยะปลูก                       
        - ระยะปกติแถวเดี่ยวกลางสันแปลง 4 X 5 ม.                       
        - ระยะชิดแถวคู่สลับฟันปลาที่ริมแปลง 3 X 4 ม.                                       

           เตรียมดินและอินทรีย์วัตถุ                         
        - ใส่ปุ๋ยคอก (มูลวัวเนื้อ/นม + มูลไก่ไข่/เนื้อ/นกกระทา (แห้งเก่าข้ามปี) ปีละ 2 ครั้ง
        - ให้ยิบซั่มธรรมชาติ  ปีละ 2 ครั้ง                       
        - ให้กระดูกป่น  ปีละ 1 ครั้ง                         
        - คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆเต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่ม  ล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม                        
        - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิงหรือจุลินทรีย์ 1-2 เดือน/ครั้ง                       

          หมายเหตุ :                       
       - การฝังซากสัตว์ เช่น หอยเชอรี่  ปลาสด  เป็นชิ้นเท่าลูกมะนาวหรือบดละเอียด ที่ชาย
เขตทรงพุ่ม 4-5 หลุม/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม. ฝังปีเว้นปี เพื่อให้ต้นมีสารอาหารกินตลอด 24 ชม.
ต่อเนื่องหลายๆปีจะทำให้ต้นมีความสมบูรณ์สูงพร้อมต่อการบำรุงทุกขั้นตอน
       - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพ (ทางใบ-ทางราก) บ่อยเกินไปจะทำให้ต้นหยุดการเจริญเติบโต ไม่
แตกใบอ่อน  ผลหยุดขยายขนาดแล้วกลายเป็นผลแก่  การให้ทางใบอาจเป็นแหล่งอาศัยและ
แพร่ระบาดของเชื้อราได้                         
       - ให้กลูโคสหรือนมสัตว์สดเฉพาะช่วงสำคัญ เช่น เร่งใบอ่อนเป็นใบแก่  สะสมอาหาร 
บำรุงผลกลาง ช่วงละ 1-2 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 20-30 วัน........ถ้าให้บ่อยเกินไปจะทำให้ต้น
เกิดอาการนิ่ง ไม่ตอบสนองต่อสารอาหารหรือฮอร์โมนใดๆทั้งสิ้น                       
       - ฮอร์โมนธรรมชาติและฮอร์โมนวิทยาศาสตร์จะให้ประสิทธิภาพเต็มร้อยก็ต่อเมื่อ ต้นมี
สภาพความสมบูรณ์สูง                        

        
เตรียมต้น                        
        
ตัดแต่งกิ่ง :                       
         ชมพู่ออกดอกติดผลที่ลำต้น ใต้ท้องกิ่งขนาดใหญ่ และซอกใบปลายกิ่งที่เริ่มแก่แล้ว
ช่วงเตรียมต้นสะสมอาหารไม่ควรมีใบมากแต่เมื่อเริ่มออกดอกจนกลายเป็นผลแล้วจึงให้มีใบมาก
ได้ หรือระหว่างที่มีดอก-ผลอยู่นั้น ภายนอกทรงพุ่มควรทึบเพื่อป้องกันแสงแดด ลม  และสัง
เคราะห์อาหาร แต่ภายในต้องโปร่งเพื่อให้อากาศถ่ายเทสะดวก                       
         การตัดแต่งกิ่งครั้งแรกควรตัดให้เหลือใบประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ เมื่อใบอ่อนชุดใหม่
ออกมาแล้วให้มีใบประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์จะช่วยให้การออกดอกติดผลดี
       - ตัดกิ่งที่บังแสงแดดต่อกิ่งอื่นออก ทำให้ทรงพุ่มโปร่งจนแสงแดดส่องได้ถึงทุกกิ่งทั่ว
ภายในทรงพุ่ม  กิ่งได้รับแสงแดดจะสมบูรณ์ดีกว่ากิ่งไม่ได้รับแสงแดดหรือได้รับแสงแดดน้อย
       - ตัดกิ่งกระโดง  กิ่งในทรงพุ่ม  กิ่งคดงอ  กิ่งชี้ลง  กิ่งไขว้  กิ่งหางหนู  กิ่งเป็นโรค และ
กิ่งที่ออกดอกติดผลแล้วเพื่อเรียกยอดใหม่สำหรับออกดอกติดผลรุ่นใหม่ของปีต่อไป การตัด
แต่งกิ่งภายในทรงพุ่มควรให้โปร่งจนแสงส่องผ่านลงไปถึงพื้นดินโคนต้นได้ 20-30 เปอร์
เซ็นต์
       - ตัดยอดกิ่งประธาน (ผ่ากบาล) ณ ความสูงต้นตามต้องการ  นอกจากช่วยทำให้แสง
แดดผ่านจากยอดเข้าสู่ภายในทรงพุ่มลงถึงพื้นได้อย่างทั่วถึงแล้ว แสงแดดที่ร้อนยังช่วยกำจัด
เชื้อราได้เป็นอย่างดีและยังควบคุมความสูงทรงพุ่มได้อีกด้วย                       
       - นิสัยการออกดอกของชมพู่ไม่จำเป็นต้องกระทบหนาว  แต่ถ้าตัดแต่งกิ่ง-เรียกใบอ่อน
ช่วงต้นหน้าฝนแล้วเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงต่อไปตามลำดับอย่างถูกต้องสม่ำเสมอ ย่อมทำให้ต้น
มีความสมบูรณ์เต็มที่ดีกว่าการตัดแต่งกิ่งในช่วงอื่น                         
         ตัดแต่งราก :                                                 
         ระยะอายุต้นยังน้อยไม่ควรตัดแต่งราก แต่ถ้าต้องการสร้างรากใหม่ให้มีประสิทธิภาพใน
การหาอาหารดียิ่งขึ้นใช้วิธีล่อรากด้วยการพูนโคนต้นด้วยดิน 3 ส่วนกับอินทรีย์วัตถุ 1
ส่วน........ส่วนต้นอายุมากหรือต้นแก่ที่ผลผลิตเริ่มลดให้ตัดแต่งรากได้พร้อมกับตัดแต่งกิ่งแบบทำสาว




หน้าถัดไป (2/3) หน้าถัดไป


Content ©