-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 381 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

มะเขือเทศ








***************************************************************************************

มะเขือเทศพันธุ์ต้านทนโรค

มะเขือเทศเป็นพืชแปรรูปบรรจุกระป๋องอันดับ 1 ของโลก การปลูกมะเขือเทศของไทยร้อยละ
80 เป็นการปลูกเพื่อส่งโรงงานแปรรูป อุตสาหกรรมแปรรูปสำคัญที่ใช้มะเขือเทศเป็นวัตถุดิบ เช่น ซอสมะเขือเทศและน้ำมะเขือเทศ โดยเฉพาะซอสมะเขือเทศ มีความต้องการในโรงงานปลากระป๋องมาก ปัจจุบันมีโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปมะเขือเทศ 23 โรงงาน ต้องการมะเขือเทศ 116,755 ตัน/เดือน โดยเฉพาะภาคตะวันออก-เฉียงเหนือมีโรงงานอุตสาหกรรมมะเขือเทศ 9 โรงงาน ต้องการมะเขือเทศมากถึง 109,660 ตัน/เดือนแหล่งผลิตมะเขือเทศที่สำคัญจึงอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จ.สกลนคร นครพนม และหนองคายส่วนแหล่งผลิตมะเขือเทศในภาคเหนือ ได้แก่ จ.ตาก เชียงราย และเชียงใหม่ เป็นการผลิตมะเขือเทศเพื่อบริโภคสด
การปลูกมะเขือเทศของประเทศไทยให้ผลผลิตมะเขือเทศเพียง 3-4 ตัน/ไร่ ซึ่งต่ำกว่าประเทศอื่นๆ (อิสราเอล 16 ตัน/ไร่นิวซีแลนด์ 14 ตัน/ไร่ สหรัฐอเมริกา 12 ตัน/ไร่ และจีน 12 ตัน/ไร่)


ปัญหาสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้มีผลผลิตต่อไร่ต่ำคือ ปัญหาโรคและแมลง เช่น เชื้อ ไวรัส
แบคทีเรีย รา และไส้เดือนฝอย


ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สนับสนุน ดร.จุลภาค คุ้นวงศ์
จาก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิจัยและพัฒนาพันธุ์มะเขือเทศต้านทานโรค โดยนำเทคนิค ดีเอ็นเอ เครื่องหมาย มาใช้คัดเลือกพันธุ์มะเขือเทศ ร่วมกับการปรับปรุงพันธุ์ด้วยวิธีปกติ เพื่อช่วยคัดเลือกพันธุ์มะเขือเทศที่มีลักษณะตามต้องการได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ ทำให้ใช้เวลาในการปรับปรุงพันธุ์ลดลงลดภาระการทำงาน รวมถึงค่าใช้จ่ายในการดูแลพืชผลงานจากการวิจัยได้มะเขือเทศ 36 สายพันธุ์ แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มพันธุ์สีดาทิพย์ 3กลุ่มพันธุ์ P502 และกลุ่มพันธุ์ CLN399 (พันธุ์บริโภคสด) ที่ต้านทานโรคสำคัญต่างๆคือ โรคเหี่ยวเขียว (เป็นปัญหาสำคัญในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) โรคใบไหม้ (เป็นปัญหาในเขตภาคเหนือที่มีอากาศเย็นและชื้น) โรคที่เกิดจากไส้เดือนฝอย โรคเหี่ยวที่เกิดจากเชื้อราฟูซาเรียม โรคราแป้งโรคใบจุดที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียซูโดโมแนส และโรคไวรัสที่เกิดจากเชื้อทีเอ็มวี (ไวรัสใบด่างมะเขือเทศ)


มะเขือเทศพันธุ์ต้านทานโรค ช่วยลดความเสียหายให้กับเกษตรกรที่ปลูกมะเขือเทศ และเพิ่ม
ผลผลิตมะเขือเทศต่อไร่ให้สูงขึ้น ขณะนี้ ไบโอเทคได้ถ่ายทอดสายพันธุ์มะเขือเทศต้านทานโรค
ให้กับบริษัทเมล็ดพันธุ์ เพื่อนำไปปรับปรุงพันธุ์ให้มีลักษณะอื่นที่ต้องการเพิ่มขึ้น โดยขณะนี้มี
บริษัทฯ ที่รับถ่ายทอดแล้วจำนวน 3 รายคือ บริษัท Hortigenetics Research จำกัด บริษัท
แอ็ดว้านซ์ ซีดส์ จำกัดและบริษัทนามธารี ซีดส์ (ประเทศไทย) จำกัด นอกจากนี้ได้มีความร่วมมือกับบริษัทเมล็ดพันธุ์ 7 บริษัท ในการทดสอบสายพันธุ์มะเขือเทศจำนวน 16 สายพันธุ์ที่มีความต้านทานต่อโรคเหี่ยวเขียว โดยการทดสอบมี 2 ระดับ คือ การทดสอบระดับต้นกล้า และการทดสอบระดับไร่นา ตามสถานีทดลองของบริษัทต่างๆซึ่งกระจายอยู่ตามจังหวัดต่างๆ และแปลงของเกษตรกร


สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติม : ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
113 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
โทรศัพท์ 0 2564 6700 โทรสาร 0 2564 6701-5

************************************************************









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2009-07-16 (567 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©