-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 245 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

พริก








***********************************************************************************************

การปรับปรุงพันธุ์พริกต้านทานโรคแอนแทรกโนส

โรคแอนแทรกโนส เป็นปัญหาสำคัญในพริก มีสาเหตุจากเชื้อราคอลลีโททริคัม(Colletotri
chum piperratum) ที่ระบาดในระยะที่ผลพริกกำลังเจริญเติบโต สภาพอากาศชื้นหรือฝนตก
ชุก การปรับปรุงพันธุ์พริกให้ต้านทานโรคแอนแทรกโนสโดยวิธีที่ใช้กัน เป็นการนำพันธุ์พริกที่มี
ลักษณะการค้าดีแต่อ่อนแอต่อโรคมาผสมกับพันธุ์ต้านทานโรคแอนแทรกโนส และคัดพันธุ์ผสมที่ต้านทาน โดยดูจากลักษณะภายนอกที่แสดงออก

ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สนับสนุน ดร. อรรัตน์ มงคลพร
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปรับปรุงพริกพันธุ์บางช้างที่นิยมปลูกในปัจจุบัน แต่อ่อนแอต่อโรค
แอนแทรกโนส ให้ทนต่อโรค โดยนำพริกบางช้างผสมกับพันธุ์ต้านทานที่ชื่อว่า PBC 932 ที่มี
ลักษณะอ้วนป้อม ต่างจากพันธุ์บางช้างที่มีผลยาว ดังนั้นจึงต้องนำลูกผสมที่ได้ในแต่ละรุ่นที่ทนต่อโรคแอนแทรกโนส แต่ยังมีลักษณะป้อมไปผสมกลับกับพันธุ์บางช้าง เพื่อให้ได้พริกที่มีรูปร่าง
เหมือนพันธุ์บางช้างมากที่สุดและยังทนทานต่อโรค จากการผสมถึงรุ่นที่ 4 ได้พริกที่มีลักษณะต้านทานโรค รูปร่างใกล้เคียงกับบางช้างมากขึ้นขณะนี้ได้ผสมกลับไปอีกรุ่นหนึ่ง และขยายเมล็ดพันธุ์ เพื่อปล่อยสายพันธุ์ต้านทานให้ภาคเอกชนและเกษตรกร นำไปผสมต่อยอดหรือใช้ประโยชน์ต่อไป

ในการคัดลูกผสมที่ทนต่อโรคโดยดูจากลักษณะภายนอก ใช้เวลานาน มีภาระการทำงานและ
ค่าใช้จ่ายในการดูแลพืชสูง มีการค้นพบว่าลักษณะความต้านทานต่อโรคแอนแทรกโนสมีความ
เกี่ยวพันกับยีนต้านทานที่อยู่บนดีเอ็นเอ ไบโอเทคได้สนับสนุนโครงการพัฒนาดีเอ็นเอเครื่อง
หมายเพื่อหาตำแหน่งของยีนต้านทาน เมื่อทราบตำแหน่งแล้ว สามารถนำมาใช้ตรวจหาลูกผสมที่มีความต้านทานต่อโรคได้ตั้งแต่ยังเป็นต้นอ่อน ทำให้ทุ่นระยะเวลาปรับปรุงพันธุ์ ขณะนี้กำลังทดสอบเครื่องหมาย ดีเอ็นเอ ที่ได้กับลูกผสมคู่ต่างๆระหว่างพันธุ์บางช้างกับ PBC 932 เพื่อดูความแม่นยำของเครื่องหมายดีเอ็นเอและความสัมพันธ์กับการต้านทานโรคของพริกและเพื่อเป็นการปรับปรุงพริกสายพันธุ์ต่างๆ ให้ต้านทานต่อโรคแอนแทรกโนสที่มาจากหลายแหล่งทางโครงการได้รวบรวมเชื้อพันธุกรรมพริกกว่า 1000 ชนิด นำมาแบ่งเป็นกลุ่มพริกโดยอาศัยลักษณะต่างๆ 16 ลักษณะ เป็นต้นว่า สี ลักษณะใบ สีของเกสรตัวผู้ และลักษณะผล โดยสามารถจัดกลุ่มพริกออกเป็น 7 กลุ่มใหญ่ๆ ขณะนี้ ได้ทำการประเมินพริกในกลุ่มเหล่านี้ในการทนทานต่อโรคแอนแทรกโนส โรคไวรัส และแมลงวันทอง เป็นต้น


ผลงานเด่น่นไบโอเทค
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติม : ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
113 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
โทรศัพท์ 0 2564 6700 โทรสาร 0 2564 6701


****************************************************************************************


โครงการจัดการเชื้อพันธุกรรม
และการพัฒนาพันธุ์พริกเผ็ด

ในปีเพาะปลูก 2549/2550 ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกพริกประมาณ 474,717 ไร่ พริกที่มีความ
สำคัญ 5 ชนิด คือ พริกขี้หนูเม็ดเล็ก พริกขี้หนูเม็ดใหญ่ พริกยักษ์ พริกหยวก และพริกใหญ่ ได้ผลผลิตสดรวม 333,672 ตัน/ปี พริกที่ปลูกมากที่สุด คือ พริกขี้หนูเม็ดเล็ก และพริกขี้หนูเม็ดใหญ่ มีแหล่งผลิตสำคัญอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากสถิติของกรมศุลกากร พบว่า ปี พ.ศ. 2549 ไทยส่งออกพริก ทั้งรูปผลสด ซอสพริก พริกแห้ง เครื่องแกงสำเร็จรูป และพริกบดหรือป่นเป็นมูลค่ารวม 2,161 ล้านบาท และส่งออกเมล็ดพันธุ์พริกเพื่อการค้าปีละกว่า 181 ล้านบาท


นอกจากใช้พริกประกอบอาหารแล้ว มีการนำสารเผ็ดของพริกที่ทำให้เกิดรสเผ็ดร้อน หรือแคปไซซินอยด์ (capsaicinoids) ที่อยู่ในไส้ของผลพริก ไปใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและยามากขึ้น เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่พริก ตัวอย่างเช่น ผลิตภัณฑ์ในรูปแคปซูล ใช้ฆ่าเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะอาหาร และผลิตภัณฑ์ในรูปโลชั่นและครีม ใช้เป็นยาทาภายนอกบรรเทาปวดเมื่อย ปวดตามข้ออักเสบ และยาฉีดพ่นเพื่อรักษาโรคไซนัส ตลอดจนเป็นผลิตภัณฑ์ป้องกันสัตว์กัดแทะสายไฟและไฟเบอร์ออปติกส์ต่าง ๆ ที่ฝังใต้ดิน เป็นต้น พริกแต่ละชนิดมีสารแคปไซซินอยด์ในปริมาณแตกต่างกัน มีรายงานว่าพริกขี้หนูจากประเทศไทยมีความเผ็ดอยู่ในช่วง 30,000-50,000 Scoville Heat Units (SHU) ในขณะที่พริกจากทั่วโลกมีความเผ็ดในช่วง 0-500,000 SHU

ในปี พ.ศ. 2549 ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สนับสนุน รศ. ดร. สุชีลา เตชะวงศ์เสถียร จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดทำโครงการจัดการเชื้อพันธุกรรมและการพัฒนาพันธุ์พริกให้มีปริมาณสารเผ็ดสูง ปัจจุบันโครงการรวบรวมพันธุ์พริกเผ็ดจากแหล่งเชื้อพันธุกรรมทั่วโลก และหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนในประเทศ จำนวน 752 พันธุ์ มีความเผ็ดตั้งแต่ 50 – 500,000 SHU และได้ทำการประเมินลักษณะประจำพันธุ์แล้ว 190 พันธุ์ โดยได้รับความร่วมมือจาก5 หน่วยงาน คือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตล้านนาน่าน ศูนย์วิจัยพืชสวนพิจิตร และ
ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ และได้คัดเลือกพันธุ์พริกชี้ฟ้า พริกขี้หนูเม็ดใหญ่ พริกขี้หนูเม็ดเล็กที่มี
ลักษณะดีความเผ็ดสูง มาสร้างประชากรพื้นฐานเพื่อปรับปรุงพันธุ์ให้ดีขึ้น และได้ถ่ายทอดเชื้อพันธุกรรมพริกเหล่านี้ จำนวน 11 พันธุ์ ให้แก่หน่วยงานภาครัฐ 5 หน่วยงานและภาคเอกชน 19 บริษัทในปี พ.ศ. 2550


ผลงานเด่น่นไบโอเทค
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติม : ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
113 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
โทรศัพท์ 0 2564 6700 โทรสาร 0 2564 6701-5


**************************************************************************************


พานิชย์ ยศปัญญา panit@matichon.co.th

สีหนาท พริกยักษ์ส่งโรงงานซอส คนสุโขทัยปลูกแล้วมีรายได้ดี

ถึงแม้ คำว่า "ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว" จะมีมานานแล้ว แต่ยังใช้ได้ดีอยู่กับจังหวัดสุโขทัย

ช่วงฤดูน้ำหลาก หากมีโอกาสได้นั่งรถที่ตัวถังทำด้วยไม้ จากต่างอำเภอเข้ามายังตัวเมืองสุโขทัย หรือที่เรียกว่า "ธานี" ชาวบ้านจะถือโอกาสนำปลามาจำหน่าย มีปลามากมายจริงๆ สิ่งที่ยืนยันได้ดีอีกอย่างหนึ่ง ที่อำเภอกงไกรลาศ เป็นแหล่งผลิตปลาร้าใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งในเมืองไทยมีไม่กี่แห่ง ที่เป็นของจริง นอกนั้นเหลือแต่ตำนาน ปลาที่ทำต้องนำเข้ามาจากเขมรกันทั้งนั้น เหตุที่ปลาของจังหวัดสุโขทัยมีมาก อาจจะเป็นเพราะสภาพแวดล้อมเหมาะสม ช่วงฤดูฝน น้ำท่วมเป็นบริเวณกว้าง เหมาะแก่การขยายพันธุ์สัตว์น้ำ อาหารในธรรมชาติก็มีมาก

ปูนา ที่จังหวัดสุโขทัย ก็ตัวใหญ่มาก เคยมีเพื่อนฝูงเป็นประมงอำเภอ ต้องการส่งเสริมชาวบ้านให้เลี้ยงปูนา ยังแนะนำเขาให้ไปหาพันธุ์ปูที่จังหวัดนี้

เส้นทางสายสุโขทัย-พิษณุโลก ระยะทางราว 60 กิโลเมตร สองข้างทางมีทุ่งนาพอสมควร หากมีโอกาสเข้าไปตามหมู่บ้านและตำบล ของอำเภอกงไกรลาศ มองไปทางไหนก็เห็นแต่ทุ่งข้าวเต็มไปหมด

ด้วยเหตุนี้เอง สุโขทัยจึงยังคงความอุดมสมบูรณ์ บางฤดูกาล ในนาแทนที่จะมีข้าว กลับมีพริก สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรเพิ่มขึ้นอีกมาก

สีหนาท พริกยักษ์ส่งโรงงาน

นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน เคยนำเสนอเรื่องพริกและแตงโมที่สุโขทัยมานานพอสมควรแล้ว

ในครั้งนั้น ผู้ดำเนินงานคือ คุณยศวัฒน์ ศิริอธิพันธ์ ห้างหุ้นส่วนจำกัด สุโขทัยการเกษตรภัณฑ์ อยู่เลขที่ 60-2 หมู่ที่ 12 ถนนสุโขทัย-บางระกำ ตำบลยางซ้าย อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย 64000 ทราบข่าวคุณยศวัฒน์หรือคุณต๊อก เป็นช่วงๆ เมื่อไม่นานมานี้ จึงได้มีโอกาสสัมภาษณ์พูดคุยกันจริงจังเสียทีหนึ่ง

แนวทางการทำงานของคุณต๊อกนั้น เขาจะส่งเสริมให้ชาวบ้านผลิตพืชผัก ผลไม้ จากนั้นติดต่อส่งขายให้ในราคาประกัน ที่ผ่านมาแตงโมยังทำอยู่ แต่ไม่เน้นมาก เนื่องจากการตลาดมีความมั่นคงสู้พืชที่ส่งโรงงานอุตสาหกรรมไม่ได้

พืชที่ส่งโรงงาน คือพริก สำหรับส่งไปผลิตซอส

"พริก ทำมา 7 ปีแล้ว เริ่มต้นจากไม่เท่าไหร่ ปัจจุบันพื้นที่ปลูกมีราว 800 ไร่ ผลผลิตปีละ 5 ล้านกิโลกรัม เกษตรกร 200 ราย เป้าหมายอีก 2-3 ปีข้างหน้า พื้นที่ปลูกที่ตั้งไว้ 1,500 ไร่ ผลผลิตราว 10 ล้านกิโลกรัม พื้นที่ปลูกนอกจากสุโขทัย อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร และตากแล้ว ตอนนี้เล็งไปที่อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย และอำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา" คุณต๊อก บอก

พริกที่ปลูกเพื่อส่งโรงงาน ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน คุณต๊อก บอกว่า มีการปรับเปลี่ยนและหาสิ่งดีๆ ให้กับเกษตรกรอยู่เสมอ

อย่างล่าสุดเป็นสายพันธุ์ "สีหนาท" เป็นพริกที่พัฒนาพันธุ์มาจากอินเดีย คุณสมบัติทนแล้งได้ดี จึงเหมาะสำหรับเป็นพริกเพื่ออนาคต ที่ทนต่อสภาวะโลกร้อน

พริกสีหนาท มีขนาด 25 ผล ต่อกิโลกรัม ใน 1 ต้น เก็บผลผลิตได้ราว 4 กิโลกรัม พื้นที่ปลูก 1 ไร่ ปลูกได้ 3,200 ต้น คุณต๊อกบอกว่า อาจจะถี่ไปหน่อย เดิมระยะปลูก 55 เซนติเมตร คูณ 1.20 เมตร หากให้ดีควรเป็น 70 เซนติเมตร คูณ 1.20 เมตร

พริกสีหนาทมีความเผ็ดน้อย จึงเหมาะกับการส่งโรงงานเพื่อทำซอสส่งออก โรงงานที่รับซื้อตอนนี้อยู่ที่ชลบุรี และกรุงเทพฯ

"โดยทั่วไป พริกเผ็ดราว 30,000-40,000 สโควิลล์ แต่สีหนาทเผ็ดราว 10,000 สโควิลล์ โรงงานผลิตน้ำจิ้มส่งออกขายให้ฝรั่ง ข้อดีของสีหนาทคือเมื่อสุกสีแดงสด เนื้อมาก น้ำในเมล็ดน้อย" คุณต๊อก บอก

นอกจากส่งโรงงาน พริกสีหนาท ยังใช้ปรุงอาหารได้ อย่างทำน้ำพริกหนุ่ม รวมทั้งอาหารอื่นๆ

เกษตรกรต่างก็รอคอยการปลูก

ฤดูกาลที่คุณต๊อกส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพริกจะอยู่ช่วงเดือนพฤศจิกายน ไปเก็บเกี่ยวผลผลิตราวกลางเดือนกุมภาพันธ์ เกษตรกรสามารถเก็บขายได้ราว 3 เดือน จากนั้นปริมาณก็ลดลง ประจวบเหมาะกับฝนลง ทำให้ต้นพริกมีปัญหา เพราะปลูกกันในนา หลังเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว

คุณต๊อก บอกว่า ช่วงฤดูกาลอื่นก็สามารถปลูกได้ แต่ต้องเป็นที่ดอน ดินระบายน้ำดี ช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิตไม่มีฝน เพราะหากฝนตก มีผลกระทบต่อผลผลิตแน่

พริกที่เก็บส่งโรงงาน สีต้องแดงสด ที่ผ่านมาเคยมีเกษตรกรที่ไม่เข้าใจ เมื่อเขาเข้าร่วมโครงการ เห็นตลาดข้างนอกดี เก็บพริกเขียวขาย หลังๆ ต้องชี้แจง ให้ขายเข้าโรงงาน เพราะต้องสร้างความเชื่อมั่น

โดยทั่วไปแล้ว พริกที่ปลูกจะได้ผลผลิต 8-10 ตัน ต่อไร่ ราคาที่คุณต๊อกซื้อจากเกษตรกรส่งโรงงาน เป็นราคาประกัน กิโลกรัมละ 11.50 บาท เขาบอกว่า เคยประกวดผู้ปลูกพริก พบว่าเกษตรกรรายหนึ่งปลูกพริก 5 ไร่ 3 งาน ได้เงิน 5 แสนบาท โดยทั่วไปแล้วต้นทุนการผลิตอยู่ที่ไร่ละ 2.5 หมื่นบาท ต่อไร่

เกษตรกรแต่ละรายจะผลิตพริกราว 3-5 ไร่ ส่วนใหญ่ทำกันหลังนา

ดูตัวเลขแล้ว เป็นงานเกษตรที่สร้างรายได้ดี ใช้เวลาไม่นานนัก แต่คุณต๊อกบอกว่า ต้องผลิตให้ได้ทั้งปริมาณและคุณภาพ

เรื่องปริมาณสำคัญ หากทางผู้ผลิต มีผลผลิตที่แน่นอน ทางโรงงานสามารถที่จะไปทำสัญญากับต่างประเทศได้ ในทางกลับกันหากปริมาณไม่พอ ความเชื่อถือก็จะไม่มี สิ่งที่เกิดขึ้นก็จะย้อนมายังเกษตรกร คือไม่มีรายได้

เรื่องของคุณภาพ ทุกวันนี้เกษตรกรที่คุณต๊อกดูแลอยู่ได้การรับรอง GAP จากสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2 จังหวัดพิษณุโลก กรมวิชาการเกษตร เรื่องของ GAP สำคัญ เพราะทางโรงงานจะนำส่วนนี้ไปขอ GMP อีกทีหนึ่ง

"เรามีแปลงทดลองที่เสิงสาง โคราช 30 ไร่ ผลผลิตดีมาก ปีหน้าหากรวมพื้นที่ได้ 300-500 ไร่ จะไปตั้งศูนย์ที่นั่น ศูนย์จะมีนักวิชาการคอยดูแล รวมทั้งซื้อผลผลิต ปัจจุบันเฉพาะพริกส่งโรงงาน ทำเงินให้สุโขทัยปีหนึ่งราว 50-60 ล้านบาท หากทำกันเต็มที่น่าจะได้ 100 ล้านบาท เรื่องของโรคแมลงมีแน่ แต่เรามีนักวิชาการเกษตรคอยดูแลอยู่ หากมีอาการก็รีบป้องกันกำจัด โรคแอนแทรกโนสมีบ้างแต่ไม่มาก 1-2 เปอร์เซ็นต์ สามารถเอาอยู่"

คุณต๊อก บอก และกล่าวอีกว่า

"โรงงานเขาต้องการพริกอีกมาก แต่ไม่ใช่ว่าจะทำส่งได้ง่ายนัก เพราะเกี่ยวกับคนด้วย ต้องคอยสร้างคน เรื่องของคนสำคัญมาก เป็นรองเทคโนโลยี เรื่องพันธุ์เรื่องเทคโนโลยีหาได้ไม่ยาก คนที่อยากเข้าร่วมโครงการต้องอยู่รอบๆ สุโขทัย หรือหากเป็นที่อื่น พื้นที่ปลูกต้อง 300-500 ไร่ ผู้สนใจโทร.มาคุยได้ ตั้งแต่ที่ผมเคยลงเทคโนโลยีชาวบ้าน ผมตกใจ คนจากอเมริกาโทร.มาคุยกับผม บอกว่ากลับมาเมืองไทยจะมาทำเกษตร คนรุ่นใหม่เดี๋ยวนี้เข้าใจเรื่องการเกษตร รู้จักพัฒนา มีการสื่อสารที่ดี หลักการทำงานของผม หนึ่ง...เกษตรกรต้องมีความสุข สอง...ผู้บริโภคต้องปลอดภัย เมื่อทำได้สองอย่างแล้ว ผลที่ตามมาประเทศชาติจะเจริญก้าวหน้า มีรายได้ เกษตรกรที่ร่วมงานกับผมตั้งแต่แรก มีรถปิคอัพกันเกือบทุกครัวเรือนแล้ว พวกเขารอกันเมื่อไหร่จะถึงเดือนพฤศจิกายน จะได้ปลูกพริกเสียที"

คุณต๊อก ย้ำว่า เรื่องเทคโนโลยีการผลิตนั้น ทุกวันนี้เป็นเรื่องไม่ยุ่งยาก แต่เรื่องความเข้าใจของคนเป็นสิ่งสำคัญมาก โดยเฉพาะเรื่องความซื่อสัตย์ เมื่อทางผู้ส่งเสริมวางแนวอย่างไร เมื่อปฏิบัติตามนั้นงานก็จะไปได้ดี

ผู้สนใจเรื่องราวของพริก ถามได้ตามที่อยู่ หรือ โทร. (055) 621-852 หรือ (089) 961-3423


ที่มา  :  เทคโนโลยีชาวบ้าน









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2009-07-16 (1014 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©