-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 218 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

พริกไทย





พริกไทย

พริกไทย เป็นพืชสมุนไพรเครื่องเทศที่มีความสำคัญอันดับหนึ่งของพืชในกลุ่มนี้ เนื่องจากมีคุณสมบัติที่เป็นทั้งเครื่องเทศ คือช่วยปรุงแต่งกลิ่นรสอาหาร ป้องกันอาหารเน่าเสีย ในด้านของสมุนไพรช่วยย่อยอาหาร ขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ทำให้การไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น ปัจจุบันได้มีการนำพริกไทย มาใช้ในรูปของอาหารเสริมสุขภาพมากขึ้น

ปัญหา ข้อจำกัด และโอกาส
• ต้นทุนการผลิตสูง โดยเฉพาะ ค่าแรงงาน และ ค่าเสาค้าง ทำให้ไม่สามารถเพิ่มกำลังการผลิตให้สูงขึ้น เพื่อมีอำนาจต่อรองในตลาดโลก และทำให้เสียโอกาสในการแข่งขันในด้านการค้าในตลาดโลก
• การแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่ามีจำกัดและปริมาณน้อย เนื่องจากวัตถุดิบไม่เพียงพอและต้นทุนสูงกว่าประเทศผู้ผลิตรายใหญ่ ราคาพริกไทยไม่มีเสถียรภาพ ขึ้นอยู่กับราคาในตลาดโลก

พันธุ์พริกไทย

พันธุ์ซาราวัค หรือพันธุ์คุชซิ่ง
พันธุ์ที่ชาวสวนพริกไทยจังหวัดจันทบุรี นิยมเรียกพันธุ์มาเลเซียนั่นเอง เป็นพันธุ์ที่นิยมปลูกกันมาก เป็นพันธุ์ที่นำมาจากรัฐซาราวัค ประเทศมาเลเซียสามารถต้านทานโรครากเน่าได้ดีกว่าพันธุ์จันทบุรี ซึ่งปลูกอยู่แต่เดิม เจริญเติบโตได้เร็วและให้ผลผลิตสูงกว่า ถ้าต้นสมบูรณ์จะให้ผลผลิตน้ำหนักสดเฉลี่ย ประมาณ 9-12 กิโลกรัมต่อค้างต่อปี หรือไร่ละประมาณ 3,600-4,800 กิโลกรัมต่อปี แต่ส่วนใหญ่ การเจริญเติบโตในแต่ละพื้นที่จะแตกต่างกัน ผลผลิตก็แตกต่างกันไป
ลักษณะประจำพันธุ์
ลำต้น
ลำต้นอายุ 4 ปี มีขนาดของเส้นรอบวงลำต้นเฉลี่ย 9.98 เซนติเมตร ความยาวปล้องของลำต้น เฉลี่ย 8.07 เซนติเมตร ความยาวเฉลี่ยของปล้องของกิ่งแขนงแรก 9.66 เซนติเมตร ความยาวเฉลี่ยของปล้องสุดท้ายของกิ่งแขนง ที่สาม 2.48 เซนติเมตร ความกว้างเฉลี่ยทรงพุ่ม 162.20 เซนติเมตร
ใบ
ใบเป็นพวกใบเดี่ยว ปลายใบแหลมแบบ acuminate แต่งอเล็กน้อยฐานใบเป็นแบบ obtuse ขอบใบเรียบ ใบค่อนข้างเรียว ใบมีสีเขียวเป็นมัน ค่อนข้างหนาใบมีขนาดกว้างเฉลี่ย 4.88 เซนติเมตร ยาวเฉลี่ย 10.24 เซนติเมตร ก้านใบยาวเฉลี่ย 1.22 เซนติเมตร มีร่องที่ก้านใบ มีเส้นใบประมาณ 5-7 เส้น
ดอก
ช่อดอกเป็นแบบ spike ไม่มีก้านดอก ช่อดอกเกิดที่ช่องตรงข้ามกับใบ ในแต่ละข้ออาจมีช่อดอกได้ 1-2 ช่อ แต่ส่วนใหญ่จะเกิดเพียงช่อเดียว ช่อดอกมีลักษณะห้อยลงดินดอกเกิดสับหว่างกันไปเป็นชั้นในแต่ละช่อดอก ช่อดอกยาวเฉลี่ย 6.34 เซนติเมตร ก้านช่อดอกยาวเฉลี่ย 0.67 เซนติเมตร ช่อดอกหนึ่งช่อมีจำนวนเฉลี่ย 64 ดอก ความกว้างของยอดเกสรตัวเมีย (แฉกรูปดาว) เฉลี่ยได้ 0.88 เซนติเมตร รังไข่เป็นแบบ superior ใบมี 1 เซล อับละอองเรณูมีขนาดกว้างเฉลี่ย 0.33 มิลลิเมตร ก้านชูอับละอองเรณูเป็นรูปทรงกระบอก
ผล
ผลมีลักษณะเป็นช่อ ไม่มีก้านผล ความยาวช่อผลรวมทั้งก้านช่อเฉลี่ย 9.10 เซนติเมตร ความยาวก้านช่อผลเฉลี่ย 0.75 เซนติเมตร ช่อผลหนึ่งช่อมีจำนวนเฉลี่ย 49 ผล ผลมีลักษณะค่อนข้างกลมมีขนาดเล็กกว่าพันธุ์จันทบุรี แต่ใหญ่กว่าพันธุ์ปะเหลี่ยนขนาดของผลด้านแป้นเฉลี่ย 5.69 มิลลิเมตร ด้านกลมเฉลี่ย 5.62 มิลลิเมตร น้ำหนักช่อผลหนึ่งช่อเฉลี่ย 6 กรัม น้ำหนักผลสดต่อ 100 ผล เฉลี่ย 14.43 กรัม ผลเมื่อสุกจะมีสีส้มเป็นส่วนใหญ่
เมล็ด
มีลักษณะค่อนข้างกลมขนาดของเมล็ดยาวด้านแป้นเฉลี่ย 0.43 เซนติเมตร ด้านกลมเฉลี่ย 0.42 เซนติเมตร น้ำหนักของเมล็ดแห้งขาวต่อ 100 เมล็ดหนักเฉลี่ย 5.19 กรัมขนาดของเมล็ดแห้งดำด้านแป้น เฉลี่ย 0.50 เซนติเมตร ด้านกลมเฉลี่ย 0.46 เซนติเมตร น้ำหนักของเมล็ดแห้งดำต่อ 100 เมล็ด เฉลี่ย 6.46 กรัม

พันธุ์ซีลอนยอดแดง
เป็นพันธุ์พริกไทยที่นำมาจากประเทศศรีลังกา นิยมปลูกเพื่อขายเป็นพริกไทยสด มากกว่าทำพริกไทยดำหรือขาวลักษณะของยอดจะออกสีน้ำตาลแดง จึงเรียกกันว่า "ซีลอนยอดแดง"
ลักษณะประจำพันธุ์
ลำต้น
ลำต้นอายุ 4 ปี มีขนาดของเส้นรอบวงลำต้นประมาณ 11-86 เซนติเมตร ความยาวของปล้องของลำต้นเฉลี่ย 8.2 เซนติเมตร ความยาวของปล้องของกิ่งแขนงแรก 9.82 เซนติเมตร ความยาวเฉลี่ยของปล้องของกิ่งแขนงที่สาม 7.28 เซนติเมตร ความยาวเฉลี่ยของปล้องสุดท้ายของกิ่งแขนงที่สาม 3.24 เซนติเมตร ความกว้างเฉลี่ยทรงพุ่ม 180.60 เซนติเมตร
ใบ
เป็นพวกใบเดี่ยวปลายใบแหลมแบบ acuminate ฐานใบเป็นแบบ obtuse ขอบใบเรียบ ใบค่อนข้างกว้าง สีเขียวเข้มค่อนข้างหนา ใบมีขนาดกว้างเฉลี่ย 7.22 เซนติเมตร ยาวเฉลี่ย 12.62 เซนติเมตร ก้านใบยาวเฉลี่ย 1.42 เซนติเมตร มีร่องที่ก้านใบมีเส้นใบ ประมาณ 5-7 เส้น
ดอก
ช่อดอกลักษณะเช่นเดียวกับพันธุ์ซาราวัค ช่อดอกยาวประมาณ 15-17 เซนติเมตรก้านช่อดอกยาวเฉลี่ย 1.12 เซนติเมตร ช่อดอกหนÖ่งช่อมีจำนวนดอกเฉลี่ย 106 ดอก
ผล ผลมีลักษณะเป็นช่อไม่มีก้านผล ผลมีขนาดใกล้เคียงพันธุ์จันทบุรี มีลักษณะค่อนข้างกลมขนาดของผลด้านแป้นเฉลี่ย 6 มิลลิเมตร ด้านกลมเฉลี่ย 6.24 มิลลิเมตร ผลสดสีเขียวเข้ม ผลสุกมีสีแดงเข้ม ความยาวช่อผลประมาณ 16-19 เซนติเมตร
เมล็ด
เมล็ดมีขนาดใกล้เคียงกับพันธุ์ซาราวัค

พันธุ์ซีลอนยอดขาว
เป็นพันธุ์พริกไทยที่นำมาจากประเทศศรีลังกา เช่นเดียวกันกับพันธุ์ซีลอนยอดแดง พริกไทยพันธุ์นี้ความจริงเป็นพริกไทยพันธุ์ PANIYUR-1 ซึ่งเป็นพริกไทยพันธุ์ลูกผสมของประเทศอินเดีย ระหว่างพ่อพันธุ์ Uthirankota กับแม่พันธุ์ Cheriyakaniyakadan (John.K.Ghanara tham, 1994) พริกไทยพันธุ์นี้จะมีลักษณะเถาอ่อน สีจะเขียวอ่อนเกือบขาวโดยเฉพาะที่ยอดอ่อน จึงนิยมเรียกว่า "ซีลอนยอดขาว" เนื่องจากมีผู้นำพันธุ์มาจากประเทศศรีลังกา (ซีลอน) ลักษณะต่าง ๆ จะคล้ายกับพันธุ์ศรีลังกาที่แตกต่างกันชัดเจนก็คือส่วนยอด ช่อผลจะยาวกว่าพันธุ์ศรีลังกาเล็กน้อย การเจริญเติบโตเร็วกว่าพันธุ์ซาราวัค ผลสดจะมีลักษณะโตกว่าพันธุ์ซาราวัค นิยมปลูกเพื่อจำหน่ายเป็นพริกไทยสด เพื่อส่งโรงงานทำพริกไทยดอง

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
• พื้นที่ไม่มีน้ำท่วมขัง สูงจากระดับน้ำทะเล 0-1200 เมตร
• มีความลาดเอียง 0-25 องศา แต่ถ้าลาดเอียงมากกว่า 15 องศา ควรทำขั้นบันได เพื่อป้องกันการพังทะลายของหน้าดิน
• ดินร่วน ดินร่วนปนทราย หรือดินร่วนเหนียว มีความอุดมสมบูรณ์สูง ระบายน้ำได้ดี
• ความลึกของหน้าดินมากกว่า 50 เซนติเมตร
• ความเป็นกรดด่างอยู่ระหว่าง 5.5-6.5
• พื้นที่อยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 20 องศาเหนือและใต้ อุณหภูมิ 10-30 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝน 1,200-2,500 มิลลิเมตร
• มีแหล่งน้ำที่สะอาดปราศจากสารพิษเจือปน มีความเป็นกรดด่างอยู่ระหว่าง 5.0-6.5

การเตรียมดิน
• ป่าเปิดใหม่ ต้องขุดตอ เก็บรากไม้เศษหญ้าออกให้หมดเสียก่อนขุดดิน ตากดินทิ้งไว้ 15 วัน แล้วจึงไถพรวน แล้วปรับหน้าดิน
• พื้นที่ลาดชันเกิน 15 องศาต้องปรับพื้นที่แบบขั้นบันได

วิธีการปลูก
การเตรียมกิ่งพันธุ์ ทำได้ 2 วิธี คือ
• ตัดจากค้างที่สมบูรณ์ เหนือพื้นดิน 50 เซนติเมตร ตัดเป็นท่อนยาว 5-6 ข้อ ตัดกิ่งแขนง ข้อที่ 1-3 ดอก แล้วนำไปปลูกหลุมละ 20 กิ่ง
• นำกิ่งพันธุ์ที่ตัดเป็นท่อนแล้ว ปักชำในถุงพลาสติก ขนาด 9x14 นิ้ว ประมาณ 2-3 เดือน พริกไทยจะงอกรากและแตกยอด จึงย้ายปลูกในแปลง

ระยะปลูก
• พันธุ์ซาราวัค (มาเลเซีย) ใช้ระยะ 2x2 เมตร
• พันธุ์ซีลอน ใช้ระยะปลูก 2.25 x 2.25 หรือ 2.25 x 2.5 เมตร

การปักค้าง
ใช้ค้างไม้แก่นหรือค้างปูนซีเมนต์ ขนาด 4x4x4 เมตร ฝังลึก 50-60 เซนติเมตร กลบดินให้แน่น หลังจากนั้น ขุดหลุมขนาด 40x60 เซนติเมตร ลีก 40 เซนติเมตร ค้างละ 1 หลุม ห่างจากโคนค้าง 15 เซนติเมตร ผสมดินกันปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 1:1 แล้วใส่ในหลุมประมาณครี่งหลุม นำยอดพันธุ์ที่เตรียมไว้ปลุกหลุมละ 2 กิ่ง ให้ปลายยอดเอนเข้าหาค้าง กลบดินให้แน่นรดน้ำให้ชุ่ม ใช้วัสดุพลางแสง ประมาณ 3-6 เดือน จนกว่าพริกไทยจะตั้งตัวได้

การตัดแต่ง
• ปีที่ 1 เหลือยอดที่สมบูรณ์ไว้ ค้างละ 4-6 ยอด ใช้เถาวัลย์หรือเชือกฟางผูกยอด ให้แนบติดกับค้างโดยผูกขอเว้นข้อ จนกระทั่งพริกไทยอายุ 1 ปี ตัดเถาให้เหลือ 50 เซนติเมตร จากระดับผิวดิน
• ปีที่ 2 ตัดแต่งเช่นเดียวกับปีแรก จนกว่าพริกไทยจะสูงเลยค้างไปประมาณ 30 เซนติเมตร ให้ผูกไว้บนยอดค้าง และใช้เชือกไนล่อนผูกทับเถาวัลย์เดิมเป็นเปลาะ ๆ ห่างกัน 40-50 เซนติเมตร
• ปีที่ 3 ตัดไหลและปรางบริเวณโคนต้น ปลิดใบที่ลำต้นออก เพื่อให้โคนโปร่ง ถ้าพริกไทยยังไม่ถึงยอดค้าง เด็ดช่อดอกออกให้หมด เพราะจะทำให้พริกไทยเจริญเติบโตช้า

การใส่ปุ๋ย
• ใส่ dolomite หรือปูนขาว ปีละ 2 ครั้ง ครั้งละ 400-500 กรัม/ค้าง ก่อนใส่ปุ๋ยเคมี 2-4 สัปดาห์ โดยเฉพาะในกรณีที่ดินมีสภาพเป็นกรด
• ใส่ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยหมัก อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง อัตรา 2-5 กิโลกรัม/ค้าง หรือแบ่งใส่ปีละ 2-3 ครั้ง
• ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 หรือ 8-24-24 หรือ 12-12-12 +2Mg ดังนี้
ปีที่ 1 สูตร 15-15-15 หรือ 12-12-17+2Mg อัตรา 400-500 กรัม/ค้าง
ปีที่ 2 สูตร 15-15-15 หรือ 12-12-17+2Mg อัตรา 800-1,000 กรัม/ค้าง แบ่งใส่ 3-4 ครั้ง
ปีที่ 3 และปีต่อ ๆ ไป
ครั้งที่ 1 ใช้สูตร 15-15-15 อัตรา 400-500 กรัม/ค้าง ใส่หลังเก็บเกี่ยว
ครั้งที่ 2 สูตร 8-24-24 อัตรา 400-500 กรัม/ค้าง ประมาณเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน
ครั้งที่ 3 สูตร 12-12-17+2 Mg อัตรา 400-500 กรัม/ค้าง ประมาณเดือนกันยายน-ตุลาคม

การให้น้ำ
ควรให้แบบ mini sprinkler
ระยะเวลาการให้น้ำ หลังปลูกควรรดน้ำทุกวันหรือวันเว้นวัน เมื่อพริกไทยตั้งตัวได้ ลดเหลือ 2-3 วัน/ครั้ง พริกไทยที่ให้ผลผลิตแล้วควรให้ 3-4 วัน/ครั้งตามสภาพดินฟ้าอากาศ

แมลงศัตรูพริกไทย

มวนแก้ว
วางไข่เป็นกลุ่ม ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดน้ำเลี้ยงจากช่อดอก ทำให้ช่อดอกแห้งเป็นสีน้ำตาล ไม่ติดเมล็ด ผลผลิตลดลง ป้องกันโดยการเก็บตัวอ่อนเผาทำลาย ถ้าระบาดรุนแรงฉีดพ่นด้วย มาลาไธออน 50% EC
ลักษณะและการทำลาย :
ตัวอ่อนมีลักษณะสีเหลืองใส มีหนามแหลมสีดำตามลำตัว ตัวเต็มวัยมีลักษณะสีดำ ขนาดยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ส่วนอกยื่นยาวออกนอกลำตัว ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากช่อดอก ทำให้ช่อดอกแห้งเป็นสีน้ำตาล ไม่ติดเมล็ด ผลผลิตลดลง
การป้องกันกำจัด :
แมลงจำพวกมวน รวมทั้งมวนแก้ว มีพฤติกรรมวางไข่เป็นกลุ่ม เมื่อฟักมาใหม่ ๆ ตัวอ่อนจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ๆ ถ้าพบกลุ่มของตัวอ่อนมวนแก้วให้เก็บเผาทำลาย ถ้ามีการระบาดรุนแรง ให้ใช้สารป้องกันกำจัดตามคำแนะนำ
• คาร์บาริล (85 % ดับเบิลยู พี) อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือมาลาไทออน (57 % อีซี) อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นให้ทั่วค้างพริกไทย เมื่อพบมวนแก้วระบาดรุนแรง หยุดพ่นก่อนการเก็บเกี่ยว 7 วัน

ด้วงงวงเจาะเถาพริกไทย
ตัวอ่อนเจาะทำลายเถาพริกไทย ทำใหเถาแห้งตาย ส่วนตัวเต็มวัยจะกันกินใบและผลพริกไทย ป้องกันโดยเผาทำลาย เถาพริกไทยที่พบรอยเจาะของหนอนด้วงงวง ถ้าระบาดรุนแรงฉีดพ่นด้วย คาร์บาริล 85% WP
ลักษณะและการทำลาย :
เป็นด้วงงวงขนาดเล็ก ลำตัวยาวประมาณ 0.5 เซนติเมตร ลำตัวสีน้ำตาลสลับเหลือง ตัวอ่อนจะเจาะทำลายเถาพริกไทย ทำให้เถาแห้งตาย ส่วนตัวเต็มวัยจะกัดกินตามใบ และผลพริกไทย
การป้องกันกำจัด :
สำรวจแปลงพริกไทย ถ้าพบเถาพริกไทยเหี่ยวเฉา และพบรอบเจาะของหนอนด้วงงวง ให้ตัดเผาทำลาย ถ้ามีการระบาดรุนแรง ให้ใช้สารป้องกันกำจัดตามคำแนะนำ
• คาร์บาริล (85 % ดับเบิลยู พี) อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นให้ทั่วค้างพริกไทย เพื่อป้องกันด้วงงวง และเมื่อพบมีการระบาดรุนแรง หยุดพ่นก่อนการเก็บเกี่ยว 7 วัน
2009-01-05

ที่มา  :  กรมวิชาการเกษตร









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2009-07-16 (1038 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©