-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 266 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

จำปาดะ




หน้า: 1/2




ที่มา: http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=baandin&group=7&page=2



จำปาดะ

     ลักษณะทางธรรมชาติ

   * เป็นไม้ผลยืนต้นขนาดใหญ่ถึงใหญ่มาก  ปลูกได้ทุกพื้นที่ของประเทศ  เจริญเติบโตได้ดีใน
เขตภาคใต้ที่มีฝนตกชุก ดินดำร่วน เนื้อดินลึก มีอินทรีย์วัตถุมาก ระบายน้ำและอากาศถ่ายเทดี  ไม่
ทนต่อสภาพน้ำขังค้างนาน
               
   * เป็นพืชสกุลเดียวกันกับขนุนซึ่งสามารถทาบกิ่งหรือเปลี่ยนยอดไปมาซึ่งกันและกันได้
   * ออกดอกติดผลทั้งที่ลำต้นและใต้ท้องกิ่งแก่ขนาดใหญ่  ผลที่เกิดตามลำต้นคุณภาพดีกว่าผล
ใต้ท้องกิ่ง  ผลที่ลำต้นเกิดต่ำใกล้พื้นดินคุณภาพดีกว่าผลที่เกิดตามลำต้นแต่อยู่สูงขึ้นไป  และผลใต้
ท้องกิ่งอยู่ชิดโคนกิ่งมากกว่าจะคุณภาพดีกว่าผลที่อยู่ถัดไปทางปลายกิ่ง
               
   * รูปร่างภายนอกคล้ายขนุนมาก  จนบางครั้งเรียกว่า  “ขนุนจำปาดะ”   เพียงแต่จำปาดะ
ขนาดผลเล็กกว่า  เปลือกบางกว่า  หนามตื้นกว่า  
               
   * เนื้อพูหรือยวงจำปาดะค่อนข้างเหลวเละ  เหมือน  “ขนุนละมุดหรือ ขนุนปุด”
   * รับประทานโดยนำพูหรือยวงมาชุบแป้งทอด  เหมือนกล้วยแขก......นิยมรับประทานกัน
มากในหมู่คนไทยภาคใต้
               
   * วิธีการบำรุงต้นแบบให้มีสารอาหารกินตลอด 24 ชม.ต่อเนื่องกันหลายๆปีจนต้นสมบูรณ์เต็มที่
จะออกดอกติดผลดกมาก  การซอยผลออกเหลือเป็นผลเดี่ยวที่โคนกิ่งและโคนลำต้นแต่ละผลอยู่ห่าง
กันเพื่อให้ได้รับน้ำเลี้ยงสม่ำเสมอจะช่วยให้ได้ผลขนาดใหญ่และคุณภาพดี
               
   * ช่วงพักต้นต้องการน้ำน้อยแต่ช่วงออกดอกติดผลต้องการน้ำมากและสม่ำเสมอ  ถ้าช่วงมีดอก
ผลขาดน้ำจะไม่มียวงและเมล็ดเล็กลีบ
               
   * ตอบสนองต่อยิบซั่มธรรมชาติและกระดูกป่นดีมาก  จึงควรใส่ยิบซั่มธรรมชาติปีละ 2  ครั้ง
และกระดูกป่นปีละ 1 ครั้ง
               
   * ต้นที่ปลูกจากการเพาะเมล็ดให้ผลผลิตเมื่ออายุต้น 7-8 ปี  ส่วนต้นที่ปลูกจากกิ่งตอน.ทาบ
หรือเพาะเมล็ดเสริมรากเปลี่ยนยอดจะให้ผลผลิตเมื่ออายุ 3-4 ปี
               
   * ลักษณะทรงพุ่มเหมือนขนุนแต่กิ่งก้านมากกว่าและทรงพุ่มทึบกว่า
               
   * ผลขั้วเดียวตรงขนาดใหญ่จะมีคุณภาพดีกว่าผลเป็นพวงมีขั้วเดียว
               
   * ผลแก่เก็บเกี่ยวลงมาแล้วบ่มเหมือนขนุนจะไม่สุก  ดังนั้นจึงต้องเก็บผลแก่ที่สุกคาต้นเท่านั้น
   * จำปาดะมีกลิ่นจัดมากจึงกลายเป็นตัวล่อให้แมลงวันผลไม้และแมลงวันทองเข้าหา วิธีป้องกัน
ต้องห่อผลด้วยทางมะพร้าวหรือถุงปุ๋ยเมื่อผลใกล้สุกเท่านั้น
               
   * ผลสุกสีเปลือกมีสีเหลืองชัดเจน
                

     สายพันธุ์
               
     จำปาดะขนุน :
   
     เนื้อนิ่มเหลว  สุกงอมแล้วรสหวานเข้มกลิ่นจัด  ยวงมักไม่เต็มผล (ผลแป้ว)  แกะยวง
จากเปลือกค่อนข้างยาก  ติดผลตลอดปีแบบไม่มีรุ่น  ขนาดผลโตกว่าจำปาดะบ้าน
   
  จำปาดะบ้าน :     
     ขนาดต้นใหญ่กว่าขนุนจำปาดะ  ออกดอกช่วงหน้าแล้งและติดผลปีละรุ่น  มียวงเต็มผลหรือ
ไม่แป้ว  ติดผลดกมากบางครั้งติดผลเต็มรอบลำต้น  เปลือกหนาแต่ฉีกหรือแกะจากยวงได้ง่าย รส
หวาจัดกลิ่นแรง  เนื้อเหลว  เมล็ดกลมและต้มสุกแล้วรับประทานอร่อยกว่าจำปาดะขนุน
     ทั้งสองสายพันธุ์ยังแยกเป็นพันธุ์มีเมล็ดและพันธุ์ไร้เมล็ดด้วย
          
                
     การขยายพันธุ์
               
     ตอน.  ทาบกิ่ง.  เสียบยอด.  เพาะเมล็ด (กลายพันธุ์).  เพาะเมล็ดเสริมรากเสียบ
ยอด (ดีที่สุด).
                

     ระยะปลูก
               
    - ระยะปกติ  6 X 6 ม. หรือ  6 X 8 ม.
               
    - ระยะชิด   4 X 4 ม. หรือ  4 X 6 ม.
                

      เตรียมดินและอินทรีย์วัตถุ  
               
    - ใส่ปุ๋ยคอก (มูลวัวเนื้อ/นม + มูลไก่ไข่/เนื้อ/นกกระทา (แห้งเก่าข้ามปี) ปีละ 2 ครั้ง
  
  - ให้ยิบซั่มธรรมชาติ  ปีละ 2 ครั้ง               
    - ให้กระดูกป่น  ปีละ 1 ครั้ง  
               
    - คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆเต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่มล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
    - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิงหรือจุลินทรีย์ 1-2 เดือน/ครั้ง               
      หมายเหตุ :
               
    - การฝังซากสัตว์ เช่น หอยเชอรี่  ปลาสด  เป็นชิ้นเท่าลูกมะนาวหรือบดละเอียด ที่ชายเขต
ทรงพุ่ม 4-5 หลุม/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม. ฝังปีเว้นปี เพื่อให้ต้นมีสารอาหารกินตลอด 24 ชม. ต่อ
เนื่องหลายๆปีจะทำให้ต้นมีความสมบูรณ์สูงพร้อมต่อการบำรุงทุกขั้นตอน  
               
    - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพ (ทางใบ-ทางราก) บ่อยเกินไปจะทำให้ต้นหยุดการเจริญเติบโต ไม่แตก
ใบอ่อน  ผลหยุดขยายขนาดแล้วกลายเป็นผลแก่  การให้ทางใบอาจเป็นแหล่งอาศัยและแพร่ระบาด
ของเชื้อราได้  
                
  
  - ฮอร์โมนธรรมชาติและฮอร์โมนวิทยาศาสตร์จะให้ประสิทธิภาพเต็มร้อยก็ต่อเมื่อ ต้นมีสภาพ
ความสมบูรณ์สูง
                

      เตรียมต้น 
               
      ตัดแต่งกิ่ง :
               
    - จำปาดะออกดอกติดผลที่ลำต้นและใต้ท้องกิ่งขนาดใหญ่  ดกมากหรือดกน้อยขึ้นอยู่กับสาย
พันธุ์และการปฏิบัติบำรุง
               
    - ไม่ว่าสายพันธุ์ใดจะออกดอกติดผลที่ส่วนใดของต้นมากก็ตาม  ทุกสายพันธุ์ไม่ควรมีกิ่ง
ขนาดเล็กภายในทรงพุ่ม  การตัดแต่งกิ่งให้ตัดแล้วเรียกใบชุดใหม่เฉพาะปลายกิ่งเท่านั้น  ช่วงตัด
แต่งกิ่งควรตัดให้เหลือใบประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์และเมื่อใบอ่อนชุดใหม่ออกมาแล้วให้มีใบประมาณ
80 เปอร์เซ็นต์จะช่วยให้การผลิดอกติดผลดี      
               
    - ตัดกิ่งที่บังแสงแดดต่อกิ่งอื่นออก ทำให้ทรงพุ่มโปร่งจนแสงแดดสามารถส่องได้ถึงทุกกิ่งทั่ว
ทรงพุ่ม  กิ่งที่ได้รับแสงแดดจะสมบูรณ์ดีกว่ากิ่งที่ไม่ได้รับแสงแดดหรือได้รับแสงแดดน้อย
    - ตัดกิ่งกระโดง  กิ่งในทรงพุ่ม  กิ่งคดงอ  กิ่งชี้ลง  กิ่งไขว้  กิ่งหางหนู  กิ่งเป็นโรค
และกิ่งที่ออกดอกติดผลแล้วเพื่อเรียกยอดใหม่สำหรับออดอกติดผลในรุ่นปีต่อไป การตัดแต่งกิ่งภายใน
ทรงพุ่มควรให้โปร่งจนแสงส่องผ่านลงไปถึงโคนต้นได้
               
    - ตัดแต่งกิ่งปกติควรตัดให้เหลือใบประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์และเมื่อใบอ่อนชุดใหม่ออกมาแล้ว
ให้มีใบประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์จะช่วยให้การผลิดอกติดผลดี      
               
    - ตัดยอดกิ่งประธาน (ผ่ากบาล) ณ ความสูงต้นตามต้องการ  นอกจากช่วยทำให้แสงแดด
ผ่านจากยอดเข้าสู่ภายในทรงพุ่มได้อย่างทั่วถึงแล้วแสงแดดที่ร้อนยังช่วยกำจัดเชื้อราได้เป็นอย่างดี
และเพื่อควบคุมขนาดความสูงทรงพุ่มอีกด้วย
               
    - นิสัยการออกดอกของจำปาดะไม่จำเป็นต้องกระทบหนาว  แต่ถ้าตัดแต่งกิ่ง-เรียกใบอ่อน
ช่วงต้นหน้าฝนแล้วเข้าสู่ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่อไปตามลำดับอย่างถูกต้อง และสม่ำเสมอจะทำให้ต้น
มีความสมบูรณ์เต็มที่ดีกว่าการตัดแต่งกิ่งในช่วงอื่น 
               
      ตัดแต่งราก :
                 
    - จำปาดะระยะต้นอายุยังน้อยไม่ควรตัดแต่งรากแต่ถ้าต้องการสร้างรากใหม่ให้มีประสิทธิภาพใน
การหาอาหารดียิ่งขึ้นใช้วิธีล่อรากด้วยการพูนโคนต้นด้วยดิน 3 ส่วนกับอินทรีย์วัตถุ 1 ส่วน
    - ต้นอายุหลายปี  ระบบรากเก่าและแก่มาก  ให้พิจารณาตัดแต่งรากส่วนปลายออก 1 ใน
4 ด้วยการพรวนดินรอบทรงพุ่มลึก 10-15 ซม. หลังจากให้ฮอร์โมนบำรุงรากไปแล้วต้นจะแตกราก
ใหม่จำนวนมากขึ้นและมีประสิทธิภาพในการดูดซับสารอาหารได้ดีกว่าเดิม
  



               
ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่อจำปาดะ        

    1.เรียกใบอ่อน
   
               
      ทางใบ :    
               
    - ให้น้ำ 100 ล.+ 46-0-0 หรือ 25-5-5(สูตรใดสูตรหนึ่ง)200 กรัม + จิ๊บเบอ
เรลลิน 10 ซีซี.+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ฉีดพ่นพอเปียก
ใบ  ทุก 5-7 วัน 
               
      ทางราก :
               
    - ให้น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง + 25-7-7(½-1) กก./ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
 
   - ให้น้ำเปล่า  ทุก 3-5 วัน               
      หมายเหตุ : 
               
    - ใบอ่อนเมื่อออกมาแล้วเร่งต้องระวังโรคและแมลงศัตรูเข้าทำลายเพราะหากใบอ่อนชุดใดชุด
หนึ่งถูกลายเสียหายจะต้องเริ่มเรียกชุดที่ 1 ใหม่  ซึ่งจะทำให้เสียเวลาและกำหนดระยะการออกดอก
ติดผลต้องเลื่อนออกไปอีกด้วย  
               
    - เรียกใบอ่อนโดยการใส่ปุ๋ยทางรากสูตร  25-7-7  จะช่วยให้ได้ใบที่มีขนาดใหญ่หนา 
มีพื้นที่หน้าใบสังเคราะห์อาหารมาก  และคุณภาพดีกว่าใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ
               
    - หลังจากให้ทางใบไปแล้ว 5-7 วัน ถ้าแตกใบอ่อนน้อยกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ให้ฉีดพ่นซ้ำ
รอบสองด้วยอัตราและวิธีการเดิม
               
    - จำปาดะต้องการใบอ่อน 2 ชุด  ถ้าต้นสมบูรณ์ดี มีการเตรียมดินและปรับปรุงบำรุงดินสม่ำ
เสมอต่อเนื่องมาหลายๆปีแล้ว  หลังจากใบอ่อนชุดแรกเพสลาดแล้วให้เรียกใบอ่อนชุด 2 ต่อได้เลย
ใบชุด  2 นี้อาจจะออกไม่พร้อมกันทั้งต้นเหมือนชุดแรกแต่ก็จะออกห่างกันไม่เกิน 7-10 วัน และ
หลังจากใบอ่อนชุด 2 เพสลาดก็ให้เข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงต่อไปตามปกติ.......ถ้าต้นแตกใบอ่อน
ไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้นจะส่งผลเสียหลายอย่างตั้งแต่การเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่  การสะสมอาหารเพื่อ
การออก  การปรับ ซี/เอ็น เรโช.  การเปิดตาดอก  ซึ่งจะออกดอกไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้น  และ
เมื่อดอกออกไม่พร้อมกันก็กลายเป็นผลไม่พร้อมกันทำให้ยุ่งยากต่อการปฏิบัติบำรุงตามขั้นตอนอย่าง
มาก.....แก้ไขโดยบำรุงเรียกใบอ่อนให้ออกมาเป็นชุดเดียวพร้อมกันทั้งต้นให้ได้ 
        

     2.เร่งใบอ่อนเป็นใบแก่
                  
       ทางใบ :  
               
     - ให้น้ำ 100 ล.+ 0-21-74 หรือ 0-39-39 สูตรใดสูตรหนึ่ง (200 กรัม) +
ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100
ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.  ฉีดพ่นพอเปียกใบ 1-2 รอบ 
ห่างกันรอบละ 3-5 วัน 
               
     - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน
               
       ทางราก :
               
     - ให้น้ำปกติ  ทุก 2-3 วัน
               
       หมายเหตุ :
               
     - ลงมือบำรุงเมื่อใบอ่อนชุดแรกอกมาเริ่มแผ่กาง
               
     - วัตถุประสงค์เพื่อเร่งใบชุดใหม่ให้สามารถสังเคราะห์อาหาร และเร่งระยะเวลาเรียกใบอ่อนชุด
ต่อไปได้เร็วขึ้นกับทั้งเพื่อให้ใบอ่อนรอดพ้นจากทำลายของแมลงปากกัดปากดูด
     - สารอาหารในกลุ่มเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่ (ฟอสฟอรัส.และโปแตสเซียม.) ช่วยเสริมประ
สิทธิภาพขั้นตอนสะสมอาหารเพื่อการออกดอกได้ด้วย
         

     3.สะสมอาหารเพื่อการออกดอก    
               
       ทางใบ :
               
     - ให้น้ำ 100 ล.+ 0-42-56(200 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ สาร
สกัดสมุนไพร 250 ซีซี.  ทุก 5-7 วัน  ติดต่อกัน 2-3 รอบแล้วให้น้ำ 100 ล.+ ฮอร์โมนไข่ 25 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. สลับ 1 รอบ
ฉีดพ่นพอเปียกใบ  ติดต่อกัน 1-2  เดือน จะช่วยให้ต้นสมบูรณ์เต็มที่
  
   - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน               
       ทางราก :
               
     - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 8-24-24 หรือ 9-26-26 สูตรใดสูตรหนึ่ง (1-2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน
               
     - ให้น้ำเปล่าปกติทุก 2-3 วัน
                
       หมายเหตุ :
               
     - เริ่มปฏิบัติหลังจากใบอ่อนชุดสุดท้ายเพสลาด
               
     - ปริมาณ 8-24-24  หรือ 9-26-26  ใส่มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณการติดผลใน
รุ่นที่ผ่านมา  กล่าวคือ  ถ้ารุ่นที่ผ่านมาติดผลดกมาก  ผลผลิตมีคุณภาพดีมาก  ให้ใส่ในปริมาณที่
มากขึ้น  แต่ถ้ารุ่นที่ผ่านมาติดผลดกน้อยหรือไม่ติดผลเลย  ให้ใส่ในปริมาณปานกลาง
     - แนวทางบำรุงให้ต้นได้สะสมอาหารเพื่อการออกดอกไว้มากที่สุดควรเตรียมแผนใช้เวลา
บำรุง 2 เดือน ในห้วง 2 เดือนนี้ให้กลูโคสผงหรือนมสัตว์สด 2 รอบ โดยรอบแรกให้เมื่อเริ่มลงมือ
บำรุงและให้รอบสองห่างจากรอบแรก 20-30 วัน 
               
     - การเพิ่มปริมาณปุ๋ยให้มากขึ้น  หมายถึง  การให้อัตราเดิมแต่ระยะเวลาให้ถี่ขึ้น  เช่น
จากเคยให้ 15 วัน/ครั้งก็ให้เปลี่ยนเป็น 10 วัน/ครั้ง   
               
     - ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงขั้นต่อไป คือ ปรับ ซี/เอ็น เรโช. ให้ทบทวนความทรงจำเมื่อ
ครั้งเรียกใบอ่อนแล้วใบอ่อนออกมาพร้อมกันเป็นชุดเดียวทั่วทั้งต้นหรือไม่ ถ้าใบอ่อนออกมาพร้อมกันดี
ทั่วทั้งต้นให้ปรับ ซี/เอ็น เรโช.ต่อไปได้เลย  แต่ถ้าใบอ่อนออกมาไม่พร้อมกันเป็นชุดเดียวทั่วทั้งต้น
และค่อนข้างต่างรุ่นกันมากก็ให้บำรุงสะสมอาหารเพื่อการออกดอกต่อไปอีก 2-3 รอบ เพื่อรอให้ใบ
อ่อนชุดหลังสะสมอาหารจนอั้นตาดอกดีเท่ากับใบอ่อนชุดแรกจากนั้นจึงลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช.  ทั้ง
นี้วัตถุประสงค์เพื่อทำให้มีดอกออกมาพร้อมกันเป็นชุดเดียวกันทั่วทั้งต้นนั่นเอง
      

     4.ปรับ  ซี/เอ็น  เรโช  
               
       ทางใบ : 
               
     - ในรอบ 7 วันให้น้ำ 100 ล.+ 0-42-56(200 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100
ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. 1-2 รอบ  ห่างกันรอบละ 5-7 วัน  ฉีดพ่นพอเปียกใบ
 
    - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน                
       ทางราก
               
     - เปิดหน้าดินโคนต้น
               
     - งดน้ำเด็ดขาด
                 
       หมายเหตุ :               
               
     - วัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มปริมาณ ซี.(อาหารกลุ่มสร้างดอก-บำรุงผล) และลดเอ็น.
(อาหารกลุ่มสร้าง
ใบ-บำรุงต้น) ซึ่งจะส่งผลให้ต้นออกดอกหลังการเปิดตาดอก
     - ก่อนลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช  จะต้องติดตามข่าวพยากรณ์อากาศให้มั่นใจว่าระหว่างปรับ
ซี/เอ็น เรโช จะต้องไม่มีฝนตก  เพราะถ้ามีฝนตกลงมา  มาตรการงดน้ำก็ต้องล้มเหลว
     
- ต้นที่มีอาการอั้นตาดอกดีจนพอใจแล้วไม่ต้องฉีดพ่นกลูโคสหรือนมสัตว์สดเพิ่มอีกแต่ถ้าต้น
มีอาการอั้นตาดอกไม่ดีหรือยังไม่น่าพอใจ แนะนำให้ฉีดพ่นกลูโคสหรือนมสัตว์สดทางใบอีกซ้ำอีก 1
รอบ
 โดยเว้นระยะเวลาให้ห่างจากที่เคยให้เมื่อช่วงสะสมอาหารไม่น้อยกว่า 30-45 วัน
  
   - ขั้นตอนการปรับอัตราส่วน  ซี/เอ็น  เรโช. จะสมบูรณ์ดีหรือไม่ให้สังเกตจากต้น ถ้าต้น
เกิดอาการใบสลดแสดงว่าในต้นมีปริมาณ ซี.มากส่วนปริมาณ เอ็น.เริ่มลดลง และความพร้อมของต้น
ก่อนลงมือเปิดตาดอก   สังเกตได้จากลักษณะใบใหญ่หนาเขียวเข้ม  กิ่งช่วงปลายและใบกรอบ
เปราะ  ข้อใบสั้น  หูใบอวบอ้วน ตาดอกโชว์เห็นชัด
               
     - การให้สารอาหารทางใบซึ่งมีน้ำเป็นส่วนผสมนั้น  อย่าให้โชกจนตกลงถึงพื้นเพราะจะ
กลายเป็นการให้น้ำทางราก  แนวทางปฏิบัติ คือ ให้บางๆเพียงเปียกใบเท่านั้น
     - เมื่องดน้ำ (ไม่รดน้ำ) แล้วต้องควบคุมปริมาณน้ำใต้ดินโคนต้นไม่ให้มากเกินไปโดยการทำ
ร่องระบายน้ำใต้ดินหรือร่องสะเด็ดน้ำด้วย
                
     - กรณีสวนยกร่องน้ำหล่อต้องใช้ระยะเวลาในการงดน้ำนานกว่าสวนพื้นรายยกร่องแห้งจึงจะ
ทำให้ใบสลดได้  อาจส่งผลให้แผนการผลิตที่กำหนดไว้คลาดเคลื่อน  ดังนี้จึงจำเป็นต้องสูบน้ำออก
ตั้งแต่ก่อนปรับ ซี/เอ็น เรโช  โดยกะระยะให้หน้าดินโคนต้นแห้งถึงขนาดแตกระแหงและมีความชื้นไม่
เกิน 10 เปอร์เซ็นต์ตรงกับช่วงปรับ ซี/เอ็น เรโช  พอดี 
        

     5.เปิดตาดอก
               
       ทางใบ :
               
       สูตร 1
....
ให้น้ำ 100 ล.+ สาหร่ายทะเล 100 ซีซี.+ ฮอร์โมนไข่ 100 ซีซี.+
ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.
       สูตร 2....ให้น้ำ 100 ล.+ 13-0-46(500 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100
 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.
     
  เลือกใช้สูตรใดสูตรหนึ่งหรือทั้งสองสูตรแบบสลับครั้งกัน  ห่างกันครั้งละ 5-7 วัน  ด้วย
การฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบ
               
     - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน  
               
       ทางราก :
               
     - ให้ 8-24-24(½ กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
               
     - ให้น้ำปกติทุก 2-3 วัน
               
       หมายเหตุ :
               
     - เลือกใช้ให้ทางใบด้วยสูตรใดสูตรหนึ่งหรือใช้ทั้งสองสูตรแบบสลับครั้งกันก็ได้
     
- หลังจากเปิดตาดอกแล้ว ถ้าดอกออกมาไม่มากพอ สาเหตุมาจากตั้งแต่ช่วงเรียกใบอ่อนแล้ว
ใบอ่อนออกมาไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้น ระหว่างที่ดอกชุดแรกยังเป็นดอกตูมอยู่นั้น ให้เปิดตาดอกซ้ำอีก
1-2 รอบด้วยสูตรเดิม หรือจนกระทั่งดอกชุดแรกบานแล้วจึงยุติการเปิดตาดอกซ้ำ
       

    6.บำรุงดอก
               
      ทางใบ :
                
    - ให้น้ำ 100 ล.+ 15-45-15(200 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ เอ็นเอ
เอ.100 ซีซี.+ ฮอร์โมนไข่ 25 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ทุก 5-7 วัน
ฉีดพ่นพอเปียกใบ   
               
    - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 3 วัน    
               
      ทางราก :
                 
    - ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้นเช่นเดิม   
               
    - ให้ 8-24-24( ½-1 กก)./ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
               
    - ให้น้ำพอหน้าดินชื้น
               
      หมายเหตุ :
                
    - ช่วงดอกตั้งแต่เริ่มแทงออกมาให้เห็นหรือระยะดอกตูม  บำรุงด้วยฮอร์โมน เอ็นเอเอ. 1-2
รอบ จะช่วยบำรุงเกสรทั้งตัวผู้และตัวเมียให้สมบูรณ์พร้อมรับผสม แต่ต้องใช้ด้วยระมัดระวังเพราะถ้าให้
เข้มข้นเกินไปจะเกิดความเสียหายต่อดอกและถ้าให้อ่อนเกินไปก็จะไม่ได้ผล
              
    - ช่วงดอกตูมควรฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรให้บ่อยขึ้น เพื่อป้องกันกำจัดโรคและแมลงไปจนถึง
ช่วงดอกบาน
               
    - ช่วงดอกบานควรงดการฉีดพ่นทางใบโดยเฉาะช่วงกลางวัน (08.00-12.00 น.)
เพราะอาจทำให้เกสรเปียกจนผสมไม่ติดได้  หากจำเป็นต้องฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรให้ฉีดพ่นช่วง
หลังค่ำ
                
    - ระยะดอกบานถ้าตรงกับช่วงฝนชุกเกสรจะเปียกชื้นทำให้ผสมไม่ติด แก้ไขโดยกะระยะเวลา
บำรุงให้ดอกออกมาแล้วไม่ตรงกับช่วงฝนชุกเท่านั้น  แต่ถ้าดอกออกมาตรงกับช่วงแล้งอากาศร้อนมาก
เกสรจะฝ่อทำให้ผสมไม่ติดเช่นกัน แก้ไขโดยสร้างความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศและที่พื้นดินในทั้งใน
แปลงปลูกและรอบๆแปลงปลูก......มาตรการบำรุงต้นและดอกให้สมบูรณ์อย่างแท้จริงอยู่เสมอจะ
ช่วยลดความสูญเสียได้เป็นอย่างมาก 
                
    - เพื่อความมั่นใจในเปอร์เซ็นต์หรือประสิทธิภาพของฮอร์โมนเอ็นเอเอ. แนะนำให้ใช้ฮอร์โมน
เอ็นเอเอ.วิทยาศาสตร์แทนฮอร์โมน เอ็นเอเอ.ทำเองจะได้ผลกว่า
               
    - ฉีดพ่นสารอาหารเพื่อบำรุงดอกด้วยเครื่องมือฉีดพ่นที่มีแรงลมพ่นเบาที่สุดตามความเหมาะสม
เพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนต่อส่วนต่างๆของดอก  ฉีดพ่นที่ช่อดอกโดยตรงพอเปียกหรือฉีดพ่นให้ทั่ง
ทรงพุ่มพอเปียกใบก็ได้
               
    - บำรุงดอกช่วงฝนชุกให้เน้น  “สังกะสี และ แคลเซียม โบรอน”  โดยให้เมื่อดอกออกมา
แล้วหรือให้แบบสะสมล่วงหน้าตั้งแต่ช่วงเปิดตาดอก ด้วยวิธีให้เดี่ยวๆหรือผสมรวมไปกับธาตุอาหารอื่นๆ
ก็ได้
               
    - การไม่ใช้สารเคมีเลยติดต่อกันเป็นเวลานานๆจะมีผึ้งและแมลงธรรมชาติอื่นๆจำนวนมากเข้ามา
ช่วยผสมเกสรส่งผลให้กระท้อนติดผลดกขึ้น
        

   7.บำรุงผลเล็ก
               
     ทางใบ : 
               
   - ให้น้ำ 100 ล.+ 21-7-14(200)ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ ฮอร์โมนไข่ 25 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.   ฉีดพ่นพอเปียกใบ ทุก 7-10 วัน
  
 - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน
     ทางราก : 
   - นำอินทรีย์วัตถุกลับเข้าคลุมโคนต้นให้เหมือนเดิม                 
   - ใส่ยิบซั่มธรรมชาติ 10 เปอร์เซ็นต์ของอัตราการใส่เมื่อช่วงเตรียมดิน
 
  - ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 25-7-7(1/2-1 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
   - ให้น้ำปกติทุก 2-3 วัน               
     หมายเหตุ :               
               
     เริ่มปฏิบัติหลังจากกลีบดอกร่วง หรือขนาดผลเท่าเมล็ดถั่วเขียว
        

    8.บำรุงผลกลาง    
               
      ทางใบ :
                
    - ให้น้ำ 100 ล.+ 14-7-21(200 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ ไคโต
ซาน 100 ซีซี.+ แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.  ทุก 7-10
วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ
    - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน               
      ทางราก :
               
    - ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 21-7-14(1/2-1 กก)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./
ครั้ง/เดือน
 
   - ให้น้ำปกติ  ทุก 2-3 วัน               
      หมายเหตุ :
               
    - เริ่มปฏิบัติเมื่อเมล็ดเริ่มเข้าไคล  การที่จะรู้ว่าผลเริ่มเข้าไคลแล้วหรือยังต้องใช้วิธีสุ่มเก็บผล
มาผ่าดูเมล็ดภายใน
                
  
  - ถ้าต้นติดผลดกมากควรให้แม็กเนเซียม 1-2 รอบ โดยแบ่งให้ตลอดระยะผลกลางจะช่วยให้
ต้นไม่โทรมเนื่องจากรับภาระเลี้ยงผลมาก
       

   9.บำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว   
               
     ทางใบ :
               
   - ให้น้ำ 100 ล.+ 0-0-50(200 กรัม)หรือ 0-21-74(400 กรัม)สูตรใดสูตรหนึ่ง
+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ ฮอร์โมนไข่ 25 ซีซี.+ กลูโคสหรือนมสัตว์สด 100 ซีซี.+
สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. หรือ น้ำ 100 ล.+ มูลค้างคาวสกัด 100 ซีซี.+ ธาตุรอง/ธาตุ
เสริม 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.ฉีดพ่นพอเปียกใบ  1-
2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วันก่อนเก็บเกี่ยว
   
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน                
     ทางราก :
               
   - เปิดหน้าดินโคนต้นแล้วงดน้ำ
               
   - ให้ 13-13-21 หรือ 8-24-24 สูตรสูตรหนึ่ง (1 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
     หมายเหตุ :               
   - เริ่มปฏิบัติก่อนเก็บเกี่ยว 10-20 วัน
               
   - ถ้ามีฝนตก หลังจากหมดฝนแล้วให้บำรุงด้วยสูตรเดิมและวิธีเดิมต่อไปอีก 5-10 วัน  จาก
นั้นให้สุ่มเก็บลงมาผ่าพิสูจน์ภายในจะรู้ว่าสมควรลงมือเก็บเกี่ยวได้แล้วหรือต้องบำรุงต่อไปอีกระยะหนึ่ง
จึงเก็บเกี่ยว
                
   - การบำรุงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวโดยให้ทางรากด้วย 8-24-24 เหมาะสำหรับต้นที่มีผลหลายรุ่น
ซึ่งหลังจากเก็บเกี่ยวผลแก่รุ่นแรกไปแล้วจะช่วยบำรุงผลชุดหลังต่อ นอกจากนี้ยังทำให้ต้นไม่โทรม
เหมาะสำหรับการเตรียมความพร้อมต้นต่อการปฏิบัติบำรุงรุ่นปีต่อไปอีกด้วย
        





หน้าถัดไป (2/2) หน้าถัดไป


Content ©