-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 439 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

แคนตาลูป




หน้า: 2/2



         ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่อแคนตาลูป         

      
        1. ระยะต้นกล้า
            ทางใบ  :
            - ให้น้ำ 100 ล.+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + จิ๊บเบอเรลลิน 10 กรัม + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.   ฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบลงถึงพื้น  ทุก 5-7 วัน
            - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน
              ทางราก  :
            - ให้น้ำสม่ำเสมอพอหน้าดินชื้นด้วยระบบน้ำหยด
              หมายเหตุ  :
            - ช่วงกล้าตั้งแต่เริ่มงอก ถึง ได้ใบ 4-5 คู่ ยังไม่จำเป็นต้องให้ปุ๋ยทางราก  ปล่อยให้ต้นรับสารอาหารจากดินปลูกที่เตรียมไว้ก็พอ
 
           -  หลุมที่หยอด 2 เมล็ด ถ้างอกเป็นต้นทั้ง 2 เมล็ดให้ตัดออก 1 ต้น โดยใช้กรรไกตัดโคนต้น  ไม่ควรถอนเพราะจะทำให้กระทบกระเทือนรากของต้นที่เหลือ

        2. ระยะต้นเล็ก
            ทางใบ  :
            - ให้น้ำ 100 ล. + 25-5-5 (200 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.   ฉีดพ่นพอเปียกใบ  ทุก 5-7 วัน
            - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน
  
          ทางราก  :
            -ให้น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง + 25-7-7  โดยการผ่านไปกับระบบน้ำหยดหรือฉีดพ่นบริเวณโคนต้น
            - ให้น้ำสม่ำเสมอพอหน้าดินชื้นด้วยระบบน้ำหยด
            หมายเหตุ  :
            - เริ่มให้ปุ๋ยทั้งทางรากและทางใบหลังจากต้นโตได้ใบ 4-5 คู่แล้ว
 
           - แคนตาลูปเป็นพืชเลื้อยไม่มีมือเกาะ  เมื่อเถาเริ่มยาว (สูง) ขึ้นให้ใช้เชือกผูกเข้ากับหลักหรือไม้ค้าง พร้อมกับใช้เชือกอีกเส้นหนึ่งผูกหลวมๆที่ยอดแล้วยกขึ้นเพื่อนำยอดขึ้นสูง  เมื่อเถายาวขึ้นก็ให้ยกยอดสูงตามขึ้นไปเรื่อยๆ   พยายามรักษาให้เถาตรงอยู่เสมอ
            - ผลจาการเตรียมดินดีทำให้ได้ใบและเถาขนาดใหญ่  ซึ่งจะส่งผลไปถึงผลผลิตที่คุณภาพดีอีกด้วย

              การตัดยอดเพื่อเอาผล
              ปลูกขึ้นค้างแบบ  2 กิ่งแขนง  :
            - หลังจากต้นกล้าโตได้ใบ 5-7 ใบแล้วให้เด็ดยอดเหนือข้อของใบสูงสุดประมาณ ½ ซม. ทาแผลรอยด้วยปูนกินหมากเพื่อป้องกันเชื้อโรค
  
          - หลังจากตัดยอดแล้วให้ปุ๋ยทางราก 25-7-7 อัตรา 1-2 ช้อนชา/ต้น  โดยละลายน้ำรดหรือโรยแล้วรดน้ำตามโชกๆเพื่อละลายปุ๋ยก็ได้.........จากนั้นต้นจะแตกยอดใหม่จากข้อใต้รอยตัด 2-3 ยอด เรียกว่า  ยอดแขนง
            - พิจารณาตัดทิ้งยอดแขนงที่ไม่สมบูรณ์ออกแล้วเก็บยอดแขนงที่สมบูรณ์ไว้ 2 ยอด  ซึ่งยอดแขนงนี้ คือ ยอดที่จะเอาผลในอนาคต  เริ่มจัดระเบียบยอดแขนงให้เลื้อยไปในทิศทางที่จะไม่ชิดกับกิ่งแขนงข้างเคียงจนผลเบียดกันและเพื่อให้ใบทุกใบได้รับแสงแดดด้วย
            - เมื่อยอดแขนงทั้งสองโตจะแตกยอดพร้อมกับดอกออกมาใหม่ตามข้อ (ที่ข้อมีใบ) ทุกข้อ  ให้เด็ดยอดและดอกตั้งแต่แรกล่างสุดถึงยอดที่ 9 ทิ้งทั้งหมดแต่ให้คงเหลือใบไว้ วิธีเด็ดยอดและดอกทิ้งเหลือแต่ใบนี้วัตถุประสงค์หลัก คือ การไว้เถาและใบสำหรับเลี้ยงผลนั่นเอง
            - หลังจากเด็ดยอดครบทั้ง  9 ยอดแล้วให้เก็บดอกระหว่างข้อที่ 10 ถึงข้อที่ 13 ไว้  รอจนกระทั่งดอกพัฒนาเป็นผลจึงพิจารณาตัดทิ้งผลไม่สมบูรณ์ออก 2 ผลแล้วเก็บผลที่สมบูรณ์ไว้เพียง 1 ผล..........จากเถาต้นตอ  1 เถาหรือ  1 ต้นแล้วแตกแขนงเป็น  2 แขนง  ใน  1 แขนงไว้ผล  1 ผล  จึงเท่ากับเถาต้นตอ  1 ต้นหรือ  1 เถาได้ผล  2 ผลนั่นเอง
 
      
       ปลูกให้เลื้อยไปกับพื้นแบบ 2 กิ่งแขนง :
            - การบำรุงระยะกล้า.  การเด็ดยอดกับดอก.  การไว้ผล.  ปฏิบัติเหมือนการปลูกแบบขึ้นค้าง
            - ระยะที่เถาเจริญเติบโตเลื้อยไปกับพื้นนั้น  ให้จัดระเบียบเถาไม่ให้ทับซ้อนกัน
            - แคนตาลูปพันธุ์เบา (ซันเลดี้.เรดควีน.) ไว้ผลกิ่งแขนงละ 2 ผลได้ โดยให้แต่ละผลห่างกัน 8-10 ข้อใบ
            - หลังจากติดเป็นผลแล้ว ให้จัดหาวัสดุรองรับผลไม่ให้ผิวสัมผัสพื้นโดยตรง พร้อมกับห่อผลเพื่อรักษาสีผิวให้สวย
             ปลูกขึ้นค้างแบบ  3 กิ่งแขนง  :
            - การปฏิบัติเหมือนการปลูกให้เลื้อยไปกับพื้นแบบ 2 กิ่งแขนง  ต่างกันที่ให้ไว้กิ่งแขนงที่เกิดจากการตัดยอดครั้งแรก  3 กิ่ง
            - ไว้ผลจากกิ่งแขนงทั้ง  3 นี้ ณ ข้อใบที่ 13-14  กิ่งแขนงละ  1 ผล  เท่ากับเถาต้นตอ  1 เถาได้ 3 ผล
            หมายเหตุ  :
            - สายพันธุ์ติดผลดกสามารถไว้ผลมากกว่า  1 ผล/1 กิ่งแขนงได้  โดยไว้ผลที่  2 สูงหรือห่างจากผลแรก 8-10 ข้อใบ  ทั้งนี้จะต้องเลี้ยงเถาให้มีความยาวรอไว้ก่อน
            
- หลังจากได้จำนวนผลไว้ตามต้องการแล้ว  ให้หมั่นเด็ดยอดแตกใหม่จากข้อที่อยู่สูงกว่าผลขึ้นไปทุกยอดเพื่อไม่ให้เกิดดอกจนเป็นผลซ้อนขึ้นมาอีก และเมื่อเถาโตจนถึงใบที่ 24-25 ก็ให้ตัดยอดเพื่อหยุดการเติบโตของเถา  และเพื่อบังคับให้ต้นส่งธาตุอาหารไปเลี้ยงผลที่ไว้อย่างเต็มที่
            - แคนตาลูปมีช่วงพัฒนาการทุกช่วงค่อนข้างสั้น  การให้สารอาหารต่างๆผ่านทางใบนั้นให้ได้เพียง 1-2 ครั้งเท่านั้นซึ่งอาจจะไม่พอเพียง  แนวทางแก้ไขคือ  เตรียมสารอาหารต่างๆให้พร้อมไว้ในดินหรือวัสดุปลูกก่อนลงมือปลูก  ทั้งนี้สารอาหารที่แคนตาลูปต้องใช้จริงจำนวน  3 ใน  4  ส่วนได้จากดินหรือวัสดุปลูก  กับ 1 ใน 4  ส่วนได้จากทางใบ

       3.  ระยะออกดอก
            ทางใบ  :
            - ให้น้ำ 100 ล. + 15-45-15 (200 กรัม)  + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + ฮอร์โมนไข่ 25 ซีซี. + เอ็นเอเอ. 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.   ทุก 5-7 วัน   ฉีดพ่นพอเปียกใบ
   
            - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก  3  วัน
            ทางราก  :
   
            - ให้  8-24-24 (1-2 กก.)/ไร่
   
            - ให้น้ำสม่ำเสมอพอหน้าดินชื้นด้วยระบบน้ำหยด
            หมายเหตุ  :
            - ธรรมชาติของแคนตาลูปออกดอกเองเมื่อโตได้อายุโดยไม่ต้องเปิดตาดอก  ก่อนถึงช่วงออกดอก 7-10 วัน  ถ้าได้รับสารอาหารทางใบกลุ่มสะสมอาหารเพื่อการออกดอก (0-42-56 หรือ กลูโคส  หรือ นมสัตว์สด อย่างใดอย่างหนึ่ง + ธาตุรอง/ธาตุเสริม) เพียง 1 รอบเท่านั้นก็จะช่วยให้ดอกที่ออกมาสมบูรณ์ดีกว่าไม่ได้ให้เสียเลยหรือปล่อยให้ออกแบบตามมีตามเกิด  นอกจากนี้ต้น (เถา) ยังเขียวเข้มอวบอ้วนและเตี้ยทำให้ง่ายต่อการเข้าไปทำงานอีกด้วย
   
         - ฉีดพ่นสารอาหารเพื่อบำรุงดอกด้วยเครื่องมือฉีดพ่นที่มีแรงลมพ่นเบาที่สุดตามความเหมาะสมเพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนต่อส่วนต่างๆของดอก  ฉีดพ่นที่ดอกโดยตรงพอเปียกหรือฉีดพ่นให้ทั่งทรงพุ่มพอเปียกใบก็ได้
            - บำรุงดอกช่วงฝนชุกให้เน้น  “สังกะสี และ แคลเซียม โบรอน”  โดยให้เมื่อดอกออกมาแล้วหรือให้แบบสะสมล่วงหน้าตั้งแต่ช่วงเปิดตาดอก ด้วยวิธีให้เดี่ยวๆหรือผสมรวมไปกับธาตุอาหารอื่นๆก็ได้
            - การช่วยผสมเกสรด้วยมือโดยเด็ดดอกตัวผู้  ตัดกลีบดอกออกทิ้งเหลือแต่ก้านเกสรตัวผู้ นำไปผสมกับเกสรตัวเมียของดอกที่คงไว้จะช่วยให้ดอกนั้นพัฒนาเป็นผลคุณภาพดี

       4.  ระยะผลเล็ก
            ทางใบ  :
             ให้น้ำ 100 ล. + 21-7-14 (200 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100  ซีซี. + ไคโตซาน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร  250  ซีซี.  ทุก  7-10 วัน ฉีดพ่นพอปียกใบ
   
          - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรทุก  2-3  วัน
  
            ทางราก  :
             - ให้ยิบซั่มธรรมชาติ 10 เปอร์เซ็นต์ของอัตราการให้เมื่อช่วงเตรียมดิน
 
            - ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง +  25-7-7 (½-1 กก.) ละลายน้ำแล้วผ่านไปกับระบบน้ำหยดหรือฉีดพ่นบริเวณโคนต้น
            หมายเหตุ  :
            - ให้ยิบซั่มธรรมชาติ 10 เปอร์เซ็นต์ของอัตราการใส่เมื่อช่วงเตรียมดิน
            - ให้แคลเซียม โบรอน,  เอ็นเอเอ.,  ฮอร์โมนไข่,  1-2 รอบ  ห่างกันรอบละ 20-30 วัน โดยแบ่งให้ตลอดช่วงผลเล็ก  เมื่อผลใหญ่ขึ้นจะมีคุณภาพดี

       5.  ระยะผลกลาง
            ทางใบ  :
            - ให้   น้ำ 100 ล, + 21-7-14 (200 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม  100 ซีซี. + เอ็นเอเอ. 25 ซีซี. + แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี. + ไคโตซาน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.    ฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบลงถึงพื้น   ทุก 5-7 วัน
            - ให้สารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน
 
           ทางราก  :
            ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 21-7-14  สลับกับ  8-24-24  ทุก 15-20 วัน  โดยผ่านไปกับระบบน้ำหยดหรือฉีดพ่นบริเวณโคนต้น
            หมายเหตุ  :
         
   - ถ้าติดผลดกมากควรให้ฮอร์โมนน้ำดำ กับ แคลเซียม โบรอน  1-2 รอบ  ห่างกันรอบละ 20-30 วัน โดยแบ่งให้ตลอดช่วงผลกลางจะช่วยให้ต้นไม่โทรมเนื่องจากแบกภาระเลี้ยงผลและทำให้ผลมีคุณภาพดี
            - ให้กลูโคสหรือนมสัตว์สด 1 รอบ (ไม่ควรมากกว่านี้) เมื่ออายุผลได้ 50 เปอร์เซ็นต์
            - ให้ฮอร์โมนสมส่วน 1-2 รอบ  ห่างกันรอบละ 20-30 วันเพื่อขยายขนาดผล

       6.  ระยะผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว
        
    ทางใบ  :
            - ให้น้ำ  100  ล. + 0-21-74 (200 ซีซี.) หรือ 0-0-50 (200 ซีซี.) สูตรใดสูตรหนึ่ง + แคลเซียม โบรอน 100  ซีซี. + กำมะถัน 25 กรัม + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.  หรือ  น้ำ100 ล.+ มูลค้างคาวสกัด 100 ซีซี.+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.(เน้น กำมะถัน) + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.  1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน ก่อนเก็บเกี่ยว  ฉีดพ่นพอเปียกใบ
 
            - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
  
           ทางราก  :
             - เปิดหน้าดินโคนต้น
  
           - ให้ 13-13-21 ละลายน้ำแล้วผ่านไปกับระบบน้ำหยด
 
            หมายเหตุ  :
             - ถ้าการบำรุงดีถูกต้องสมบูรณ์แบบจริงๆ  อายุผลตามสายพันธุ์ของแคนตาลูปจะไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก  นั่นคือ  สามารถเก็บเกี่ยว ณ วันครบอายุได้เลย
            - มาตรการงดน้ำก่อนเก็บเกี่ยวมีความสำคัญมากต่อคุณภาพ (เนื้อ กลิ่น รส)ของแคนตาลูป  กรณีที่ให้น้ำผ่านระบบน้ำหยดจะต้องหยุดให้ก่อนเก็บเกี่ยว 5-7 วัน ขั้นตอนนี้อาจเปิดหน้าดินโคนต้นเสริมด้วย
 
            - แคนตาลูปไม่ใช่ผลไม้รสหวานจัด ดังนั้นการให้ปุ๋ยเพื่อเร่งหวานทั้งทางใบและทางรากจะช่วยให้รสหวานจัดขึ้น
             - ให้กำมะถัน 1 รอบจะช่วยบำรุงให้กลิ่นดีขึ้น
 
            - พิสูจน์คุณภาพผลด้วยการดมกลิ่น  ถ้ามีกลิ่นหอมแสดงว่าดี  ถ้าไม่มีกลิ่นหอมแม้จะเก็บเกี่ยวมาแล้วหลายวันก็ไม่กลิ่น
    
         - ฮอร์โมนธรรมชาติและฮอร์โมนวิทยาศาสตร์จะให้ประสิทธิภาพเต็มร้อยก็ต่อเมื่อ ต้นมีสภาพความสมบูรณ์สูง




 

                            *************************


[--PAGEBREAK--]

แคนตาลูป


ผู้บันทึกเรื่องราว: admin


สถานการณ์ทั่วไป

แคนตาลูปหรือแตงเทศเป็นพืชตระกูลแตง ประเทศไทยมีโอกาสขยายตัวได้อีกมาก เนื่องจากกำลังเป็นที่นิยมในตลาดทั่วไปและตลาดซุปเปอร์มาเก็ต มีเนื้อหนา กลิ่นหอม และความหวานสูง สามารถเก็บรักษาผลสุกไว้ได้นาน ขนส่งได้ในระยะทางไกลได้โดยไม่เสียหายมากนัก มีราคาค่อนข้างแพง ทั้งนี้เพราะพื้นที่ปลูกภายในประเทศยังมีปลูกอยู่น้อย เนื่องจากเมล็ดพันธุ์ที่ใช้ปลูกอยู่เป็นพันธุ์ลูกผสมของต่างประเทศที่มีราคาแพง และหาซื้อได้ยาก



ลักษณะทั่วไปของพืช

แคนตาลูปมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cucumis melo มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปอัฟริกา เป็นพืชที่ต้องดูแลรักษาเป็นอย่างดี จึงจะได้คุณภาพของผลตามที่ตลาดต้องการ และได้ราคาดี สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี และช่วงหลังฤดูการทำนา ชนิดที่ปลูกกันมากและเป็นที่รู้จักกันดี แบ่งออกตามลักษณะการมีร่างแหหรือขึ้นลายที่ผิวของผลได้เป็น 2 ชนิด คือชนิดที่มีร่างแหที่ผิวของผล ( netted type ) และชนิดที่มีผิวเรียบ ( non – netted type )


พันธุ์ที่ส่งเสริม

พันธุ์เนื้อสีเขียวหรือขาว ได้แก่ พันธุ์ไข่มุกลาย, ฮันนี่ดิว ( Honey dew ), เจดดิว ( Jaed dew )
พันธุ์เนื้อสีส้ม ได้แก่ ซันเลดี้ , ทอปมารค์ , นิวเซนจูรี


พื้นที่ปลูก

พื้นที่ปลูกที่สำคัญ ได้แก่ จังหวัด เชียงใหม่ เชียงราย เพชรบุรี ปราจีนบุรี ประจวบคีรีขันธ์


การปลูก

การเพาะกล้า เมื่อกล้ามีอายุ 12 – 15 วัน สามารถย้ายปลูกลงแปลง ซึ่งสามารถปลูกได้ 2 วิธี คือ

1. การปลูกแบบขึ้นค้าง สามารถควบคุมคุณภาพของผลได้ดีและสม่ำเสมอ ขนาดแปลงหน้ากว้าง 80 เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างต้น 20 เซนติเมตร มีร่องทางเดินระหว่างแปลงประมาณ 60 เซนติเมตร จากนั้นรดน้ำบริเวณแปลงให้ชุ่มคลุมแปลงด้วยพลาสติก 2 หน้า ๆ หนึ่งมีสีดำและอีกหน้ามีสีเงินที่ใช้สำหรับคลุมแปลงปลูกแตงโดยเฉพาะ

2. การปลูกแบบปล่อยเลื้อยบนดิน แปลงปลูกจะกว้าง 3.5 เมตร ปลูกเป็นแถวเดี่ยวตรงขอบแปลงด้านในทั้งสองข้างของแปลง
ระยะห่างระหว่างหลุมประมาณ 50 เซนติเมตร จำนวนต้น /ไร่ 8,500 – 9,000 ต้น / ไร่

การให้น้ำ
แตงแคนตาลูปเป็นพืชที่ต้องการน้ำสม่ำเสมอ แต่ไม่มากเกินไป วิธีให้น้ำควรปฏิบัติคือ การปล่อยน้ำตามร่อง ในแนวกลางระหว่างแถวปลูกและทางเดิน ปล่อยน้ำ 3 – 5 วัน / ครั้ง



การปฏิบัติอื่นๆ

1. การเด็ดตาข้าง จะปล่อยให้แตงเลื้อยเฉพาะเถาหลัก จะเด็ดตั้งแต่ข้อที่ 1 – 7 สำหรับทุกพันธุ์ เพื่อไม่ให้แตกแขนง

2. การเด็ดยอด เมื่อเถายาวประมาณ 170 เซนติเมตร หรือมีใบประมาณ 25 – 26 ใบ




ปฏิทินการปฏิบัติดูแลรักษา


อายุ

สูตรปุ๋ย

อัตรา

21 วัน หรือหลังย้ายปลูก 5-7วัน

46-0-0

2 ช้อนแกง / น้ำ 20 ลิตร

28 วัน

13-13-13 , 15-15-15

1 : 1 ครึ่งช้อนแกง / หลุม

45 วัน

46-0-0 , 13-13-21

1 : 1 ครึ่งช้อนแกง / หลุม

55 วัน

โปรแตสเซียมไนเตรท
ฉีดพ่นจนเก็บ

สูตร 13-0-46




โรคและแมลง

โรค
1. โรคราน้ำค้าง เริ่มเป็นจุดสีเหลืองบนใบ แผลจะขยายออกเป็นเหลี่ยมในระหว่างเส้นใบ และลามไปทั้งใบ ทำให้ใบแห้งตาย ใต้ใบตรงตำแหน่งของแผลมีเส้นใยสีขาวเกาะเป็นกลุ่มและมีสปอร์เป็นผงสีดำ ควรฉีดพ่นด้วยสารริโดมิลเอ็มแซด หรือ วามีเอส

2. โรคเหี่ยวที่เกิดจากเชื้อรา จะพบมากในตอนติดลูกและเกิดการขาดน้ำ อาการจะเริ่มเหี่ยวเพียงเถาเดียวจากนั้นจะเหี่ยวตายทั้งต้น ใช้เทอร์ราคลอละลายน้ำราดบริเวณหลุมที่เป็นโรคหรือใช้เชื้อจุลินทรีย์ราเขียว รองก้นหลุม คลุกเคล้าผสมกับดินปลูก


แมลง
1. เพลี้ยไฟ จะดูดน้ำเลี้ยงจากใบ ดอกอ่อนและยอดอ่อนทำให้ใบม้วนหงิกงอ ผิดปกติสีซีดสลับเขียวเป็นทาง ใช้ยาฟูราดาน 3 จี จำนวน 1 ช้อนชา / หลุม ใส่พร้อมกับหยอดเมล็ด

2. แมลงวันแตง ตัวเมียจะเจาะวางไข่ที่ผล ตั้งแต่ระยะที่เป็นดอกหรือวางไข่ที่ขั้วและกันของผล แล้วฟักออกมากัดกินเนื้ออยู่ภายในทำให้ผลเน่าเสีย การป้องกันโดยเก็บผลที่ร่วงฝังดิน เพื่อลดการระบาด หรือห่อผลด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์


ศัตรูอื่นๆ
1. ปลวกและเสี้ยนดิน จะกัดกินเปลือกและเจาะผลในบริเวณที่ผลสัมผัสหรือติดดินทำให้ผลเป็นแผลป้องกันโดยการแขวนผลไม่ให้ผลสัมผัสดิน

ปัญหาและอุปสรรค
1. เมล็ดพันธุ์มีราคาแพง
2. การปลูกแตงแคนตาลูป จำเป็นต้องใช้วิธีการที่ซับซ้อน และยุ่งยากต้องดูแลรักษามาก จึงจะได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดี


แนวทางการส่งเสริม

1. ไม่ควรปลูกซ้ำพื้นที่เดิม ที่เคยปลูกผักตระกูลแตงชนิดอื่นๆ
2. ช่วงเวลาที่ปลูก ควรเลือกช่วงที่ปลอดฝนในระยะเก็บเกี่ยว



202.28.48.140/isaninfo/?p=156




ปลูกแตงเทศโดยไม่ใช้ดิน

      คำนำ

     งานวิจัยการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินได้เริ่มมานานแล้วในภาควิชาปฐพีวิทยา ตั้งแต่อยู่ที่วิทยาเขตบางเขน และในปี พ.ศ.2513 Dr.C.J. Asher จากมหาวิทยาลัยควีนสแลนด์ ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งได้มาช่วยงานที่ภาควิชาฯ เป็นระยะเวลาประมาณ 1 ปี ในฐานะ Visiting Professor ของ SEATO ก็นำวิธีการปลูกพืชในสารละลายธาตุอาหารมาแนะนำให้ผู้ที่เรียนวิชา Plant Nutrition ในขณะนั้นใช้เป็นวิธีการที่ทำให้รู้จักและคุ้นเคยกับอาการขาดธาตุอาหารพืชธาตุต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี ทำให้เกิดมีกลุ่มอาจารย์จำนวนหนึ่งได้นำเทคนิคดังกล่าวมาดัดแปลงให้มีความเหมาะสมที่ใช้เป็นเกษตรทางเลือก และได้นำออกไปปฏิบัติจริงในลักษณะของการสาธิตในพื้นที่เกษตรกรหลายตำบลภายใต้โครงการอีสานเขียวเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2533 และต่อมาก็ได้มีการจัดทำรายงานที่แสดงให้เห็นว่า การปลูกโดยวิธีดังกล่าวนี้สามารถนำไปใช้ได้ในเชิงการค้าอีกด้วย ในด้านของการผลิตนักวิจัยรุ่นใหม่นั้น เทคนิคการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินได้ถูกนำไปใช้เป็นวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาในระดับปริญญาโทอีกหลายคนเช่นกัน นอกจากนั้นยังมีการนำเสนอในที่ประชุมสัมมนาระหว่างชาติที่ประเทศมาเลเซียในปี พ.ศ. 2533 รวมทั้งเมื่อเร็ว ๆ นี้ (พ.ศ. 2546) ยังมีผลการวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารดินและปุ๋ยอีกจำนวน 2 เรื่องด้วยกัน


     สำหรับข้อเขียนที่นำเสนอในครั้งนี้ มีความประสงค์ที่จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการปลูกแตงเทศโดยไม่ใช้ดิน เพื่อเป็นเกษตรทางเลือกแก่ผู้สนใจที่อยากทำการเกษตร แต่มีพื้นที่จำกัด หรือมีพื้นที่ที่ดินมีปัญหา หากจะทำการปรับปรุงแก้ไขต้องใช้เงินลงทุนสูง

     ต้นไม้ที่นิยมขุดย้ายต้นใหญ่มาขายนั้น ต้องมีคุณสมบัติร่วมกันบางอย่าง เช่น เป็นที่นิยมหรือต้องการของลูกค้า มีขึ้นอยู่แล้วตามธรรมชาติ (ส่วนใหญ่เป็นต้นไม้พื้นเมืองของไทย) มีความแข็งแรงทนทานต่อการตัดแต่งและขุดย้ายได้ดี จากคุณลักษณะต่าง ๆ ดังกล่าวนี้ ผู้เขียนพบว่ามีต้นไม้ชนิดหนึ่งกำลังเป็นที่นิยมของผู้มีอาชีพขุดย้ายต้นไม้ใหญ่จากธรรมชาติและลูกค้ามากขึ้นเรื่อย ๆ นั่นคือต้นตีนเป็ด

วิธีการปลูก
     1. การเตรียมกล้า นำเมล็ดแตงเทศคลุกกับยากันเชื้อราแล้วนำไปบ่มในถาดเพาะเมล็ดนาน 36 ชั่วโมง คัดเลือกเฉพาะเมล็ดที่มีรากงอกยาวประมาณ 0.2 เซนติเมตร ปลูกในถ้วยเพาะที่บรรจุขุยมะพร้าว รดด้วยสารละลายธาตุอาหารพืชที่มีความเข้มข้นเพียงครึ่งหนึ่งของความเข้มข้นที่แสดงไว้ในข้อ 2 หลังการหยอดเมล็ดแล้ว 14 วัน จะได้กล้าของแตงเทศที่พร้อมจะย้ายปลูกต่อไป


การเพาะกล้าแตงเทศในถาดเพาะเมล็ด

    2. การย้ายปลูก นำกล้าแตงเทศ (ข้อ 1) ย้ายลงปลูกในวัสดุปลูกที่มีส่วนผสมของขุยมะพร้าวและแกลบสดในอัตราส่วน 1:1 โดยปริมาตร ที่บรรจุอยู่ในถุงพลาสติกขนาดความจุ 15 ลิตร ถุงละ 1 ต้น ให้สารละลายธาตุอาหารพืชที่มีความเข้มข้นของแต่ละธาตุดังนี้คือ (มก.ต่อลิตร) N 168, P 24.8, K 172, Ca 160, Mg 38M S 52, Fe 7, Mn 1.1, Zn 0.4, Cu 0.2, B 0.4 และ Mo 0.04 ตามลำดับ (Asher, 1975) สารละลายธาตุอาหารพืชดังกล่าวจะบรรจุในถังพลาสติกขนาดจุ 100 ลิตร ที่วางอยู่สูงจากพื้น 2 เมตร และจะถูกปล่อยให้กับต้นพืชแต่ละต้น โดยระบบน้ำหยดที่ควบคุมด้วยประตูเปิด-ปิดที่ถังสารละลายร่วมกับหัวน้ำหยด ดังแสดงในภาพที่ 1 และ 2 การให้สารละลายดังกล่าวจะกระทำในช่วงเวลาประมาณ 8.00-17.00 น. ของทุกวัน ตลอดฤดูปลูกโดยมีปริมาณที่ให้เฉลี่ยแต่ละวันเท่ากับ 1 ลิตรต่อต้น

ถังใส่สารละลายธาตุอาหาร

ผลการทดลอง


     1. การเจริญเติบโต หลังการย้ายปลูก แตงเทศมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เริ่มออกดอกตัวผู้ดอกแรกที่อายุ 17 วัน และสามารถช่วยผสมเกสรให้ดอกตัวเมียดอกแรกที่ 27 วันหลังย้ายปลูก การเก็บเกี่ยวผลสามารถกระทำได้ภายใน 31-39 วันหลังการผสม

     2. ผลผลิตและคุณภาพ น้ำหนักของผลแตงเทศที่เก็บเกี่ยวได้มีค่าความแปรปรวนอยู่ระหว่าง 908-1391 กรัมต่อผล โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1162 กรัมต่อผล ในขณะที่ค่าความหวานวัดเป็นองศา Brix มีค่าอยู่ระหว่าง 9.8-13.0 โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 10.7 องศา Brix

      3. การแต่งเถาและไว้ลูก ตัดแต่งเถาตามวิธีมาตรฐานสำหรับแตงเทศ แต่ละต้นไว้ลูกเพียง 1 ลูก ในตำแหน่งของข้อที่อยู่ระหว่างข้อที่ 12 ถึงข้อที่ 15

     3. มูลค่าการผลิต (1 ต้นต่อฤดูปลูก) จากการเก็บรวบรวมข้อมูลปริมาณสารละลายธาตุอาหารพืชที่แต่ละต้นใช้ตลอดฤดูปลูก ปรากฎว่ามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 70.7 ลิตรต่อต้น ดังนั้น หากจะเตรียมสารละลายที่มีความเข้มข้นตามที่ระบุไว้ในข้อ 2 ของวิธีการปลูก โดยใช้ข้อมูลของสุรเดชและคณะที่รายงานไว้เมื่อปี 2535 ที่เตรียมสารละลายธาตุอาหารพืชดังกล่าวจำนวน 100 ลิตร โดยนำปุ๋ยเคมีต่าง ๆ ดังนี้คือ 12-60-0, 13-0-46, 15-0-0, 21-0-0, 46-0-0, unilateFe, combined unilate และดีเกลือ มาผสมกันในสัดส่วนที่เหมาะสม ปรากฎว่าต้นทุนเฉพาะปุ๋ยเคมีมีมูลค่าเพียง 5.66 บาท ฉะนั้นต้นทุนปุ๋ยสำหรับแตงเทศ 1 ต้นในการทดลองครั้งนี้จะมีมูลค่าเพียง 4.00 บาทเท่านั้น

www.ku.ac.th/e-magazine/january48/agri/melons.html -
http://www.ku.ac.th/e-magazine/january48/agri/melons.html







หน้าก่อน หน้าก่อน (1/2)


สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2009-07-16 (16210 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©