-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 326 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ขนุน




หน้า: 2/3


                      
ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่อขนุน     

      1. เรียกใบอ่อน                     
         ทางใบ :               
         ให้น้ำ 100 ล. + 46-0-0 (200 กรัม) หรือ  25-5-5 (200 กรัม) สูตรใดสูตรหนึ่ง + จิ๊บเบอเรลลิน 10 ซีซี.+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร  250  ซีซี.    ฉีดพ่นพอเปียกใบ  ทุก  5-7  วัน
                 
         ทางราก :               
      - ให้น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง + 25-7-7 (½-1) กก./ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
      - ให้  น้ำเปล่า  ทุก  3-5  วัน               

        หมายเหตุ :               
      - การบำรุงต่อขนุนปี (ออกดอกติดผลปีละ 1 รุ่น) ควรเรียกใบอ่อน 2 ชุด
                
      - ใบอ่อนเมื่อออกมาแล้วควรเร่งให้เป็นใบแก่เร็วๆ   และต้องระวังโรคและแมลงศัตรูเข้าทำลายใบให้ดี  เพราะหากใบอ่อนชุดใดชุดหนึ่งถูกลายเสียหายก็ต้องเริ่มเรียกชุดที่ 1 ใหม่  ซึ่งจะทำให้เสียเวลาและกำหนดระยะการออกดอกติดผลต้องเลื่อนออกไปอีกด้วย                 
      - เรียกใบอ่อนโดยการใส่ปุ๋ยทางรากสูตร  25-7-7  จะช่วยให้ได้ใบขนาดใหญ่หนา มีพื้นที่หน้าใบสังเคราะห์อาหารมาก และคุณภาพดีกว่าใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ
                
      - หลังจากให้ทางใบไปแล้ว 5-7 วันถ้าต้นใดแตกใบอ่อนน้อยกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ให้ฉีดพ่นซ้ำรอบสองด้วยอัตราและวิธีการเดิม  เพราะถ้าต้นแตกใบอ่อนไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้นจะส่งผลเสียหลายอย่างตั้งแต่การเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่  การสะสมอาหารเพื่อการออก  การปรับ ซี/เอ็น เรโช.  การเปิดตาดอก  ซึ่งจะออกดอกไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้น  และเมื่อดอกออกไม่พร้อมกันก็กลายเป็นผลไม่พร้อมกันทำให้ยุ่งยากต่อการปฏิบัติบำรุงตามขั้นตอนอย่างมาก....แนวทางแก้ไข คือ ต้องบำรุงเรียกใบอ่อนให้ออกมาเป็นชุดเดียวพร้อมกันทั้งต้นให้ได้
                 
      - ขนุนต้องการใบอ่อน 2 ชุด  ถ้าต้นสมบูรณ์ดี  มีการเตรียมดินและปรับปรุงบำรุงดินสม่ำเสมอต่อเนื่องมาหลายๆปีแล้ว  หลังจากใบอ่อนชุดแรกเริ่มๆเพสลาดแล้วให้เรียกใบอ่อนชุดที่ 2 ต่อได้เลย  ใบชุดที่ 2 นี้อาจจะออกไม่พร้อมกันทั้งต้นเหมือนชุดแรกแต่ก็ไม่ควรออกห่างกันไม่เกิน 7-10 วัน และหลังจากใบอ่อนชุดที่ 2 เริ่มเพสลาดก็ให้เข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงต่อไปตามปกติ        

     2. เร่งใบอ่อนเป็นใบแก่                  
         ทางใบ :                 
       - ให้น้ำ 100 ล. + 0-21-74 (200 กรัม) หรือ 0-39-39 (200 กรัม) สูตรใดสูตรหนึ่ง + ธาตุรอง/ธาตุเสริม  100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร  250  ซีซี.    ฉีดพ่นพอเปียกใบ 1-2 รอบ  ห่างกันรอบละ 3-5 วัน                
       - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน               
         ทางราก :                
       - ให้  8-24-24 (1/2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.               
       - ให้น้ำปกติ  ทุก  2-3 วัน               

        หมายเหตุ :               
      - ลงมือบำรุงเมื่อใบอ่อนชุดแรกอกมาเริ่มแผ่กาง               
      - วัตถุประสงค์เพื่อเร่งใบชุดใหม่ให้สามารถสังเคราะห์อาหารได้ และเร่งระยะเวลาเรียกใบอ่อนชุดต่อไปได้เร็วขึ้น  กับทั้งเพื่อให้ใบอ่อนรอดพ้นจากทำลายของแมลงปากกัดปากดูด
      - สารอาหารในกลุ่มเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่มีฟอสฟอรัส.และโปแตสเซียม.) นอกจากช่วยเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่ได้แล้วยังช่วยเสริมประสิทธิภาพขั้นตอนสะสมอาหารเพื่อการออกดอกได้อีกด้วย        

    3. สะสมอาหารเพื่อการออกดอก                 
        ทางใบ :              
      - ให้น้ำ 100 ล.+ 0-42-56 (200 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ทุก 5-7 วัน  ติดต่อกัน 2-3 รอบแล้วให้น้ำ 100 ล. + ฮอร์โมนไข่ 25 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.  สลับ 1 รอบ  ฉีดพ่นพอเปียกใบ  ติดต่อกัน 1-2  เดือน
                  
      - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน                 
        ทางราก :              
      - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 8-24-24 (½-1 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน
      - ให้น้ำปกติทุก 3-5  วัน                

        หมายเหตุ :               
      - เริ่มลงมือบำรุงเมื่อใบอ่อนชุด  2 เพสลาด
                                        
      - แนวทางบำรุงให้ต้นได้สะสมอาหารเพื่อการออกดอกไว้มากที่สุดควรเตรียมแผนใช้เวลาบำรุง 2-2  เดือนครึ่ง  ในห้วงนี้ให้กลูโคสหรือนมสัตว์สด 2 รอบ โดยรอบแรกให้เมื่อเริ่มลงมือบำรุงและให้รอบ 2ห่างจากรอบแรก 20-30 วัน                  
      - ขั้นตอนนี้มีความสำคัญอย่างมากต่อการออกดอก  ควรเน้นสารอาหารทั้งกลุ่มสร้างดอกบำรุงผล หรือ ซี.(คาร์บอน-คาร์โบไฮเดรท)  และสารอาหารกลุ่มสร้างใบบำรุงต้น หรือ เอ็น. (ไนโตรเจน) ให้มากที่สุดทั้ง 2 อย่างเท่าที่จะมากได้               
      - ถ้าสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวยให้งดน้ำหรือปรับ ซี/เอ็น เรโช. เช่น ฝนตกชุกหรือยังไม่ถึงกำหนดทำให้ออกดอกแล้วเป็นผลรุ่นใหญ่ทั้งต้นที่เก็บเกี่ยวได้ตรงกับช่วงที่ตลาดต้องการก็ให้บำรุงต้นด้วยสูตร   “กดใบอ่อน-สะสมอาหาร” ต่อไปอีก                  
      - ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงขั้นต่อไป คือ ปรับ ซี/เอ็น เรโช. ให้ทบทวนความทรงจำเมื่อครั้งเรียกใบอ่อนแล้วใบอ่อนออกมาพร้อมกันเป็นชุดเดียวทั่วทั้งต้นหรือไม่ ถ้าใบอ่อนออกมาพร้อมกันดีทั่วทั้งต้นให้ปรับ ซี/เอ็น เรโช.ต่อไปได้เลย  แต่ถ้าใบอ่อนออกมาไม่พร้อมกันเป็นชุดเดียวทั่วทั้งต้นและค่อนข้างต่างรุ่นกันมากก็ให้บำรุงสะสมอาหารเพื่อการออกดอกต่อไปอีก 2-3 รอบ เพื่อรอให้ใบอ่อนชุดหลังสะสมอาหารจนอั้นตาดอกดีเท่ากับใบอ่อนชุดแรกจากนั้นจึงลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช. ทั้งนี้ วัตถุประสงค์เพื่อทำให้มีดอกออกมาพร้อมกันเป็นชุดเดียวกันทั่วทั้งต้นนั่นเอง      

     4. ปรับ  ซี/เอ็น  เรโช                 
        ทางใบ :               
      - ในรอบ  7-10  วันให้น้ำ  100  ล. + 0-42-56 (200 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม  100  ซีซี. + แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. 1 รอบกับให้น้ำ 100 ล.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.    อีก 1 รอบ  ฉีดพ่นพอเปียกใบ 
        ทางราก :              
      - เปิดหน้าดินโคนต้น               
      - งดน้ำเด็ดขาด                 

        หมายเหตุ :                                
      - วัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มปริมาณ ซี. (อาหารกลุ่มสร้างดอก-บำรุงผล) และลดปริมาณ เอ็น. (อาหารกลุ่มสร้างใบ-บำรุงต้น) ซึ่งจะส่งผลให้ต้นเกิดอาการอั้นตาดอกดี                
      - ก่อนลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช  จะต้องติดตามข่าวพยากรณ์อากาศให้มั่นใจว่าระหว่างปรับ ซี/เอ็น เรโช นั้นจะต้องไม่มีฝนตก  เพราะถ้ามีฝนตกลงมามาตรการงดน้ำก็ต้องล้มเหลว
      - ขั้นตอนการปรับอัตราส่วน  ซี/เอ็น  เรโช. จะได้ผลสมบูรณ์ดีหรือไม่ให้สังเกตจากต้น ถ้าต้นเกิดอาการใบสลดแสดงว่าในต้นมีปริมาณ ซี.มากขึ้นส่วนปริมาณ เอ็น.เริ่มลดลง และความพร้อมของต้นก่อนเปิดตาดอกสังเกตได้จากลักษณะใบใหญ่หนาเขียวเข้ม  ใบคู่สุดท้ายปลายกิ่งแก่จัด กิ่งช่วงปลายและใบกรอบเปราะ ข้อใบสั้น หูใบอวบอ้วน ตาดอกโชว์เห็นชัด
      - การให้สารอาหารทางใบซึ่งมีน้ำเป็นส่วนผสมนั้นอย่าให้โชกจนลงถึงพื้นเพราะจะกลายเป็นการให้น้ำทางราก  แนวทางปฏิบัติ คือ ให้บางๆเพียงเปียกใบเท่านั้น               
      - เมื่องดน้ำ (ไม่รดน้ำ) แล้วต้องควบคุมปริมาณน้ำใต้ดินโคนต้นไม่ให้มากเกินไปโดยการทำร่องระบายน้ำใต้ดินหรือร่องสะเด็ดน้ำด้วย               
      - กรณีสวนยกร่องน้ำหล่อต้องใช้ระยะเวลาในการงดน้ำนานมากกว่าสวนพื้นราบยกร่องแห้งจึงจะทำให้ใบสลดได้ซึ่งอาจจะส่งผลให้แผนการผลิตที่กำหนดไว้คลาดเคลื่อน ดังนี้จึงจำเป็นต้องสูบน้ำออกตั้งแต่ก่อนปรับ ซี/เอ็น เรโช. โดยกะระยะเวลาให้หน้าดินโคนต้นแห้งถึงขนาดแตกระแหงและมีความชื้นไม่เกิน 10 เปอร์เซ็นต์ตรงกับช่วงปรับ ซี/เอ็น เรโช  พอดี
        
    6. เปิดตาดอก               
        ทางใบ :               
        สูตร 1......ให้น้ำ 100 ล. + สาหร่ายทะเล 50 กรัม + ฮอร์โมนไข่  100 ซีซี. + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.
        สูตร 2..... ให้น้ำ 100  ล. +13-0-46 (500 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.                   
      เลือกใช้สูตรใดสูตรหนึ่งหรือทั้งสองสูตรแบบสลับครั้งกัน  ห่างกันครั้งละ 5-7 วัน  ฉีดพ่นพอเปียกใบ                 
      ทางราก :               
    - ให้  8-24-24 (½ กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.               
    - ให้น้ำปกติทุก 2-3 วัน               

      หมายเหตุ :               
    - เลือกใช้ให้ทางใบด้วยสูตรใดสูตรหนึ่งหรือใช้ทั้งสองสูตรแบบสลับครั้งกันก็ได้
    - ให้ 8-24-24   โดยละลายน้ำราดโคนต้นจะได้เร็วกว่าการหว่านแล้วตามด้วย
    - หลังจากเปิดตาดอกแล้ว ถ้าดอกออกมาไม่มากพอ  ระหว่างที่ดอกชุดแรกยังเป็นดอกตูมอยู่นั้น ให้เปิดตาดอกซ้ำอีก 1-2 รอบด้วยสูตรเดิม  หรือจนกระทั่งดอกชุดแรกบานแล้วจึงยุติการเปิดตาดอกซ้ำ         

   6. บำรุงดอก               
      ทางใบ  :             
    - ให้น้ำ  100  ล. + 15-45-15 (200 กรัม) + แคลเซียม โบรอน. 100  ซีซี. + เอ็นเอเอ. 100 ซีซี. + ฮอร์โมนไข่ 25 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.   ทุก 5-7  วัน  ฉีดพ่นพอเปียกใบ                  
    - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก  3  วัน                   
      ทางราก :                
    - ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้นเช่นเดิม                   
    - ให้   8-24-24 (½-1 กก)./ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน               
    - ให้น้ำพอหน้าดินชื้น               

      หมายเหตุ :               
    - ดอกตัวผู้กับดอกตัวเมียอยู่ในต้นเดียวกันแต่คนละดอก  บางสายพันธุ์ผสมกันเองแล้วติดเป็นผลดีแต่บางสายพันธุ์ผสมกันเองแล้วติดผลไม่ดีนัก ก็ให้ช่วยผสมเกสรด้วยมือมือโดยนำช่อดอกตัวผู้พร้อมผสมสายพันธุ์เดียวกันหรือต่างสายพันธุ์จากต่างต้นมาเคาะเบาๆ   ใส่ช่อดอกตัวเมียพร้อมรับผสมของต้นที่ต้องการให้ติดผล  ช่วงเช้า (08.30-12.00 น.) จะช่วยให้การติดเป็นผลดีขึ้น
                
    - ช่วงดอกตั้งแต่เริ่มแทงออกมาให้เห็นหรือระยะดอกตูม  บำรุงด้วยฮอร์โมน เอ็นเอเอ. 1-2 รอบ จะช่วยบำรุงเกสรทั้งตัวผู้และตัวเมียให้สมบูรณ์พร้อมรับผสม แต่ต้องใช้ด้วยระมัดระวังเพราะถ้าให้เข้มข้นเกินไปจะเกิดความเสียหายต่อดอกและถ้าให้อ่อนเกินไปก็จะไม่ได้ผล
     - ช่วงดอกเริ่มแทงออกมาใหม่ๆให้แคลเซียม โบรอน.  1 รอบ  จะช่วยให้ดอกสมบูรณ์ผสมติดดี               
     - ช่วงดอกตูมควรฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรให้บ่อยขึ้น เพื่อป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืชจนถึงช่วงดอกบาน               
     - ช่วงดอกบานควรงดการฉีดพ่นทางใบโดยเฉาะช่วงกลางวัน (08.00-12.00 น.) เพราะอาจทำให้เกสรเปียกจนผสมไม่ติดได้  หากจำเป็นต้องฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรให้ฉีดพ่นช่วงหลังค่ำ               
     - ระยะดอกบานถ้าตรงกับช่วงฝนชุกเกสรจะเปียกชื้นทำให้ผสมไม่ติด แก้ไขโดยกะระยะเวลาให้ดอกออกมาแล้วไม่ตรงกับช่วงฝนชุกเท่านั้น  แต่ถ้าดอกออกมาตรงกับช่วงแล้งอากาศร้อนมากเกสรจะฝ่อทำให้ผสมไม่ติดได้เช่นกัน แก้ไขโดยสร้างความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศและที่พื้นดินในทั้งในแปลงปลูกและรอบๆแปลงปลูก..........มาตรการบำรุงต้นและดอกให้สมบูรณ์อย่างแท้จริงอยู่เสมอจะช่วยลดความสูญเสียได้เป็นอย่างมาก                
     - เพื่อความมั่นใจในเปอร์เซ็นต์หรือประสิทธิภาพของฮอร์โมน เอ็นเอเอ. แนะนำให้ใช้ฮอร์โมนเอ็นเอเอ.วิทยาศาสตร์แทนฮอร์โมน เอ็นเอเอ.ทำเองจะได้ผลกว่า               
     - ฉีดพ่นสารอาหารเพื่อบำรุงดอกด้วยเครื่องมือฉีดพ่นที่มีแรงลมพ่นเบาที่สุดตามความเหมาะสมเพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนต่อส่วนต่างๆของดอก  ฉีดพ่นที่ช่อดอกโดยตรงพอเปียกหรือฉีดพ่นให้ทั่งทรงพุ่มพอเปียกใบก็ได้               
     - บำรุงดอกช่วงฝนชุกให้เน้น  “สังกะสี และ แคลเซียม โบรอน”  โดยให้เมื่อดอกออกมาแล้วหรือให้แบบสะสมล่วงหน้าตั้งแต่ช่วงเปิดตาดอก ด้วยวิธีให้เดี่ยวๆหรือผสมรวมไปกับธาตุอาหารอื่นๆก็ได้               
     - การไม่ใช้สารเคมีเลยติดต่อกันเป็นเวลานานๆจะมีผึ้งหรือมีแมลงธรรมชาติอื่นๆจำนวนมากเข้ามาช่วยผสมเกสรส่งผลให้ติดผลดกขึ้น      

   7. บำรุงผลเล็ก                 
       ทางใบ :              
     - ให้น้ำ 100 ล. + 21-7-14 (200 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + เอ็นเอเอ. 25 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ทุก 5-7 วัน  ฉีดพ่นพอเปียกใบ
     - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรทุก  2-3  วัน                 
       ทางราก :              
     - ให้ยิบซั่มธรรมชาติ 10 เปอร์เซ็นต์ของอัตราการให้เมื่อช่วงเตรียมดิน
                 
     - ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 25-7-7 (½-1 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน
     - ให้น้ำปกติ  ทุก  3-5  วัน               
     - คลุมโคนต้นหนาๆด้วยเศษพืชแห้ง                
 
       หมายเหตุ :               
     - การให้น้ำต้องค่อยๆเพิ่มปริมาณเพื่อให้ต้นปรับตัวทันจนกระทั่งถึงอัตราปกติ
     - ระยะผลเล็ก ถ้าถูกแมลงปากกัด/ปากดูด (เพลี้ย  ไร) เข้าทำลายจะทำให้รูปทรงผลและคุณภาพภายในผลเสียไปจนกระทั่งเป็นผลใหญ่               
     - พิจารณาตำแหน่งติดผลแล้วตัดแต่งช่อผลโดยเลือกผลตัดทิ้งหรือคงไว้
         

   8. บำรุงผลกลาง                   
       ทางใบ :               
     - ให้น้ำ 100 ล. + 21-7-14 (200 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 กรัม + ไคโตซาน 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.  ทุก 7-10 วัน  ฉีดพ่นพอเปียกใบ
     -  ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน               
       ทางราก :               
     - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 21-7-14 (1/2 กก)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน
     - ให้น้ำปกติ  ทุก 2-3 วัน                
 
       หมายเหตุ :               
     - เริ่มปฏิบัติเมื่อเมล็ดเริ่มเข้าไคล การที่จะรู้ว่าผลเริ่มเข้าไคลแล้วต้องใช้วิธีสุ่มเก็บผลมาผ่าดูเมล็ดภายใน                
     - การบำรุงระยะผลขนาดกลางต้องให้น้ำมากสม่ำเสมอแต่ต้องไม่ขังค้าง  ถ้าได้รับน้ำน้อยผลจะแคระแกร็น  หากมีฝนตกหนักลงมากระทันหันอาจจะทำให้ผลแตกผลร่วงได้              
     - ให้ฮอร์โมน เอ็นเอเอ. ฮอร์โมนไข่  1-2 รอบ โดยแบ่งให้ตลอดช่วงผลกลางจะช่วยให้ต้นเขียวสดอยู่เสมอ               
     - ถ้าต้นติดผลดกมากควรให้ฮอร์โมนน้ำดำ กับ  แคลเซียม โบรอน. 1-2 รอบ โดยแบ่งให้ตลอดระยะผลกลางจะช่วยให้ต้นไม่โทรมเนื่องจากรับภาระเลี้ยงผลมาก       

   9. บำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว                 
       ช่วงหน้าแล้ง :               
       ทางใบ :
               
     - ให้น้ำ  100  ล. + 0-21-74 (200 กรัม) หรือ  0-0-50 (200 กรัม) สูตรใดสูตรหนึ่ง + แคลเซียม โบรอน 100  ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.  หรือน้ำ 100 ล. + มูลค้างคาวสกัด 100 ซีซี. + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.   1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วันก่อนเก็บเกี่ยว  ฉีดพ่นพอเปียกใบ                 
       ทางราก :               
     - เปิดหน้าดินโคนต้น                 
     - ให้ 13-13-21 หรือ 8-24-24 สูตรใดสูตรหนึ่ง (1/2-1 กก.)/ต้น
                  
     - ให้น้ำเพื่อละลายปุ๋ยแล้วงดน้ำจนเก็บเกี่ยว                
 
       หมายเหตุ :               
     - การให้ปุ๋ยเร่งหวาน (0-21-74  หรือ  0-0-50) ทางใบช่วงฝนแล้งจะทำให้มีรสหวานจัดขึ้นไปอีก  จนเรียกได้ว่า  “หวานทะลุองศาบริกซ์”
                
     - การให้   “มูลค้างคาวสกัด”  ในอัตราเข้มข้นเกินไปอาจทำให้ผลแตกได้   ดังนั้น  ช่วงบำรุงผลขนาดกลางจะต้องสร้างเปลือกให้หนาไว้ก่อนด้วยปุ๋ยทางรากสูตร 21-7-14  ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาปุ๋ยแรงจนผลแตกได้
                          
     - หากต้องการให้รสหวานพอดีๆ หรือแน่ใจว่าบำรุงเร่งหวานทางรากดีแล้ว    ก็ไม่จำเป็นต้องเร่งหวานด้วยปุ๋ยทางใบอีกก็ได้ ทั้งนี้ให้พิจารณาตามความเหมาะสม               
     - ขนุนที่ให้ผลผลิตเป็นรุ่นเดียวทั้งต้น  (อายุผลเท่ากันทุกผล)  ถ้าให้  13-13-21 ต้นจะโทรมจนเห็นได้ชัดเจน หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วต้องเร่งบำรุงฟื้นฟูสภาพต้นเรียกความสมบูรณ์กลับคืนมาทันที  เพื่อเตรียมการบำรุงสร้างผลผลิตรุ่นต่อไป    แต่ถ้าให้ทางรากด้วย  8-24-24  คู่กับให้ทางใบด้วย  0-21-74  ต้นจะไม่โทรม                 
     - ในต้นที่มีผลหลายรุ่น  (ผลไหนแก่ก่อนเก็บก่อน-ผลไหนแก่ทีหลังเก็บทีหลัง) แนะนำให้ทางรากด้วย 8-24-24 คู่กับทางใบ 0-21-74 ระหว่างนี้ผลแก่จะหวาน ในขณะที่ผลรองลงมาจะชะงักการเจริญเติบโตแต่ไม่มีปัญหาเพราะหลังจากเก็บเกี่ยวผลแก่ไปแล้วให้กลับมาบำรุงผลที่เหลือต่อไปตามปกติ
                

        ช่วงหน้าฝน :               
        ทางใบ :                                     
      - ให้น้ำ 100 ล. + มูลค้างคาวสกัด 100 ซีซี. หรือ  0-21-74 (200 กรัม)หรือ  0-0-50  (200 กรัม) สูตรใดสูตรหนึ่ง + แคลเซียม โบรอน 100  ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร  250  ซีซี.  1-2 รอบ  ห่างกันรอบละ 5-7 วัน  ฉีดพ่นพอเปียกใบ  ระวังอย่าให้โชกลงถึงพื้นเพราะกระทบกระเทือนต่อการงดน้ำ
                
      - ให้สารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน                   
        ทางราก :               
      - เปิดหน้าดินโคนต้น                
      - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 8-24-24 (½-1 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
      - งดการให้น้ำเด็ดขาดพร้อมกับควบคุมปริมาณน้ำใต้ดินโคนต้นโดยทำช่องทางระบายน้ำฝนที่ตกลงมาให้ได้               

        หมายเหตุ :               
      - ในน้ำฝนและน้ำที่รดมีไนโตรเจน  ส่งผลกระทบต่อผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวอย่างมาก  กล่าวคือ   ทำให้แก่ช้าหรืออายุเก็บเกี่ยวต้องยืดออกไป.   รสชาติไม่หวานหรืออมเปรี้ยว.   กลิ่นเนื้อในยวงเหม็น.  เมล็ดงอก.  ผลแตก.  ผลร่วง.   เปลือกหนา.   ซังเหนียว.   เนื้อเหนียวและเสี้ยนมาก.                          
      - การปรับปรุงคุณภาพผลช่วงแก่จัดใกล้เก็บเกี่ยวแล้วตรงกับช่วงที่มีฝนชุกเป็นสิ่งที่ทำได้ยากมาก  ดังนั้นทุกครั้งก่อนเปิดตาดอกจะต้องคำนวณวันที่ผลแก่เก็บเกี่ยวได้ไม่ควรให้ตรงกับช่วงฝนชุก และเตรียมมาตรการควบคุมปริมาณน้ำใต้ดินโคนต้นให้ดีก่อนเสมอ               
      - การเลือกสายพันธุ์ที่ไม่มีผลกระทบในเรื่องของคุณภาพผลเมื่อผลแก่จัดใกล้เก็บเกี่ยวแล้วมีฝนชุก เช่น   ทองสุดใจ.  เหรียญทอง. หรือเลือกปลูกขนุนสายพันธุ์ทะวายแล้วควบคุมการปฏิบัติบำรุงให้ผลแก่ไม่ตรงกับช่วงฝนชุก  ถือเป็นทางออกที่ดีที่สุด                
      - หลังจากหมดฝนแน่นอนแล้วให้บำรุงด้วยสูตร  “บำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว” แบบเดิมต่อไปอย่างน้อย 15-20 วัน  จากนั้นตรวจสอบด้วยการสุ่มเก็บมาผ่าดูภายในซึ่งก็จะรู้ว่าสมควรเก็บเกี่ยวได้แล้วหรือยัง                     


         วิธีทำขนุนนอกฤดู :                         
       - ราคาดีในช่วงเดือน ธ.ค.- ม.ค. เนื่องจากมีผลไม้ยอดนิยมออกสู่ตลาดน้อย
       - ขนุนเป็นไม้ผลที่ไม่ตอบสนองต่อสารพาโคลบิวทาโซลหรือสารบังคับใดๆให้ออกนอกฤดูทั้งสิ้น นอกจากไม่ตอบสนองแล้วยังเป็นอันตรายต่อต้นจนถึงตายได้อีกด้วย     ดังนั้นการทำขนุนให้ออกนอกฤดูกาลจึงต้องทำจากขนุนสายพันธุ์ทะวายเท่านั้น แม้แต่ขนุนทะวายสายพันธุ์เดียวกันแต่เป็นคนละต้น ยังมีนิสัยออกดอกติดผลไม่พร้อมกันหรือไม่เหมือนกันอีกด้วย แต่นิสัยที่เหมือนกันอย่างหนึ่งคือออกดอกปีละ 2 รุ่นหรือมากกว่าเสมอ  ดังนั้น เมื่อจะทำขนุนให้ออกนอกฤดูก็ต้องเรียนรู้เกี่ยวกับนิสัยการออกดอกของขนุนต้นที่ปลูกให้ละเอียดลึกซึ้งถึงขนาดรู้ว่าต้นไหนออกดอกเดือนไหนของปีบ้าง ซึ่งอาจต้องมีการจดบันทึกไว้เพื่อป้องกันความผิดพลาดเรื่องการกะเก็งระยะเวลา และเมื่อรู้แน่แล้วว่าดอกแต่ละชุดซึ่งเป็นดอกนอกฤดูจะออกเมื่อใดก็ให้เริ่มบำรุงตามขั้นตอนดังนี้
                        
        - ขนุนสายพันธุ์ทะวายต้นนั้นมีนิสัยออกดอกปีละ 2 รุ่น  โดยรุ่นใดรุ่นหนึ่งตรงกับขนุนปีแล้วอีกรุ่นหนึ่งจะไม่ตรงกับขนุนปี ดอกรุ่นที่ออกมาตรงกับขนุนปีให้เด็ดทิ้งทั้งหมด จากนั้นให้เริ่มลงมือบำรุงตามขั้นตอนตั้งแต่เรียกใบอ่อน
        – สะสมอาหารเพื่อการออกดอก
        - ปรับ ซี/เอ็น เรโช.
        - เปิดตาดอก  ซึ่งอาจต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 2-3 เดือนจึงจะมีดอกออกมาให้เห็น ทั้งนี้ขนุนสายพันธุ์ทะวายมักออกดอกติดผลง่ายเป็นทุนเดิมอยู่แล้วกับยิ่งถ้าได้รับการบำรุงแบบให้มีสารอาหารกินตลอด 24 ชม.ต่อเนื่องติดต่อกันมานานนับหลายปีด้วยแล้วจะออกดอกติดผลได้ไม่ยากนัก
                       
         เมื่อปรับช่วงการออกดอกในขนุนทะวายครั้งแรกสำเร็จจะส่งผลไปถึงการออกดอกติดผลของรุ่นที่ 2 ด้วย นั่นคือ ขนุนต้นนั้นจะออดอกในช่วงระยะเวลาที่ปรับไว้แล้วตลอดไปตราบเท่าที่ต้นยังสมบูรณ์  
                         
   
    

     บำรุงขนุนออกดอกไม่เป็นรุ่นหรือมีผลหลายรุ่นในต้นเดียวกัน


        ทางใบ :                                 
      - ให้น้ำ 100 ล.+ ฮอร์โมนไข่ 100 ซีซี.+ แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี. + เอ็นเอเอ.25 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.ฉีดพ่นพอเปียกใบ ทุก 7-10 วัน 
      - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรทุก 2-3 วัน
                        
        ทางราก :                       
      - ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 8-24-24 สลับกับ 21-7-14(½-1 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน
      - ให้น้ำสม่ำเสมอ  ทุก 2-3 วัน
                        

        หมายเหตุ :                         
      - ขนุนที่มีผลหลายรุ่นในต้นเดียวกันนั้นค่อนข้างยุ่งยากต่อการบำรุง  แนวทางแก้ไขอย่างหนึ่ง คือ เก็บผลไว้ 2 รุ่นกับดอก 1 รุ่น ส่วนผลที่โตระหว่างรุ่นแรกกับรุ่น 2 ให้เก็บจำหน่ายเป็นขนุนอ่อนหรือจัดรุ่นโดยเด็ดดอกทิ้งตั้งแต่เริ่มแทงออกมาให้เห็นก็ได้
      - ให้ฮอร์โมนเอ็นเอเอ. ฮอร์โมนไข่. 1-2 รอบ/2-3 เดือน
      - ถ้าต้นติดผลดกมากควรให้ฮอร์โมนน้ำดำ กับ แคลเซียม โบรอน.1-2 รอบ/ 3-4 เดือน จะช่วยให้ต้นไม่โทรมเนื่องจากรับภาระเลี้ยงผลมาก
                         

       วิธีเก็บเกี่ยวขนุน:   
    1. ตรวจอายุผล  ลักษณะผล และสุ่มเก็บลงมาผ่าผลตรวจภายในก็จะรู้ว่าผลชุดนั้นสมควรเก็บเกี่ยวได้แล้วหรือยัง                        
    2. ตัดผลลงมาจากต้นแล้ววางผลเอียงลงบนพื้นให้น้ำยางในผลไหลออกมาตามขั้วจนหมด จากนั้นจึงนำไปบ่มตามปกติ ระหว่างการบ่มถ้าต้องการเร่งให้ผลสุกเร็วขึ้นให้ใช้ไม้ปลายแหลม ขนาดเล็ก 1 ใน 4 ของขั้วผล แทงเข้าไปในขั้วผลจนสุดขั้วและลึกถึงแกนในพอประมาณ แล้วนำไปบ่มตามปกติ การใช้ไม้แทงขั้วผลแบบนี้แม้ขนุนผลนั้นแก่ไม่จัดจริงก็สุกได้เหมือนกันแต่รสชาติอาจไม่เต็มร้อยเท่าผลแก่จัด
    3. ตัดผลลงมาจากต้นแล้ววางผลเอียงไล่ยางออกจากผลจนหมด ตัดขั้วทางขวางแล้วใช้ฮอร์โมน อีเทฟอน ชนิดเดียวกันกับที่ใช้เร่งให้ทุเรียนสุก (ผลแก่ไม่จัดก็สุก) หรือใช้เร่งสับปะรดเพื่อให้เนื้อฉ่ำ (แต่เปรี้ยว) ทาบนขั้วที่รอยตัด จากนั้นนำไปบ่มตามปกติ ขนุนก็สุกได้เหมือนกัน
   




หน้าก่อน หน้าก่อน (1/3) - หน้าถัดไป (3/3) หน้าถัดไป


Content ©