-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 434 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

สมรภูมิเลือด








“ วีรกรรมกองพันพยัคฆ์น้อยในสมรภูมิเกาหลี ”



1. กล่าวนำ
ในสังคมของมุนษย์ซึ่งอยู่ร่วมกันในโลกนี้ย่อมมีความแตกต่างกันในเชื้อชาติ ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมของแต่ละชาติ ยามใดที่ต่างฝ่ายต่างสร้างสายสัมพันธ์ อันมีเยื่อใยต่อกัน แม้ต่างเชื้อชาติ ต่างภาษาก็สามารถก่อให้เกิดสัมพันธ์ไมตรีอันดีต่อกันได้ แต่ถึงแม้ว่าจะเชื้อชาติและ ภาษาเดียวกันก็ตาม หากอุดมการณ์และแนวคิดแตกต่างกัน ก็อาจนาไปสู่ความขัดแย้ง และเกิดเป็น สงครามได้ในที่สุด

ประเทศเกาหลี ซึ่งตั้งอยู่ในคาบสมุทรเกาหลี เป็นประเทศหนึ่งซึ่งเป็นดินแดนแห่ง อารยธรรมโบราณ สืบทอดกันมาเป็นระยะเวลานาน ชนชาติเกาหลีมีขนมธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมที่สวยงาม มีความเข้มแข็งอดทน ตลอดจนมีสภาพภูมิประเทศ และทรัพยากร ธรรมชาติต่าง ๆ เป็นสิ่งซึ่งทาให้ประเทศเกาหลีมีความสาคัญยิ่งในภูมิภาคนี้




2. เริ่มเกิดภาวะสงครามในประเทศเกาหลี
ทางด้านยุทธศาสตร์ คาบสมุทรเกาหลีเป็นจุดยุทธศาสตร์สาคัญ ของภูมิภาคตะวันออกไกล ซึ่งมีอาณาเขตล้อมรอบด้วยแมนจูเรีย , รัสเซีย และญี่ปุ่นเกาหลีจึงเป็นเส้นทางผ่านที่ญี่ปุ่น จะส่งกาลังทหารขึ้นไปโจมตีจีน และรัสเซียได้โดยง่าย ในทางกลับกันจีนและรัสเซีย ก็สามารถใช้เกาหลีเป็นเส้นทางผ่านเพื่อส่งกองทัพไปรุกรานรานญี่ปุ่นได้เช่นกัน ดังนั้นเกาหลี จึงต้องเผชิญกับอิทธิพลรอบด้านที่พยายามจะเข้ามาครอบครองเกาหลี เพื่อผลในทางภูมิรัฐศาสตร์ และยุทธศาสตร์ของชาติตนเสมอมา จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ไม่สงบขึ้นภายในเกาหลี จีนและญี่ปุ่นต่างส่งกองกาลังทหารเข้าไปในเกาหลี และเกิดการปะทะจนกลายเป็นสงคราม ญี่ปุ่นเป็นฝ่ายชนะ ต่อมาในวันที่ 29 สิงหาคม พุทธศักราช 2453 ญี่ปุ่นได้ให้เกาหลี ลงนามใน สนธิสัญญา ผนวกดินแดนทาให้เกาหลี ต้องตกเป็นดินแดน ในความปกครองของญี่ปุ่นโดยเด็ดขาด จนกระทั่งในปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพญี่ปุ่นเริ่มประสบความปราชัยในการยุทธหลายบริเวณ ทาให้รัสเซียเตรียม กาลังทหารพร้อมที่จะเข้าครอบครองเกาหลี ต่อมาเมื่อสหรัฐอเมริกาทิ้งระเบิดปรมณู ที่เมืองฮิโรซิมา และเมืองนางาซากิของญี่ปุ่น เมื่อเดือน สิงหาคม พุทธศักราช 2488 จึงทาให้รัสเซียได้ประกาศสงครามกับญี่ปุ่น พร้อมกันนั้นได้ส่งกาลังทหารเข้าไปในเกาหลีทันที และเมื่อกาลังทหารเคลื่อนที่เข้าไปในเกาหลีห่างจากแนวชายแดนได้ประมาณ 100 กิโลเมตรในวันที่ 13 สิงหาคม พุทธศักราช 2488 ผู้บัญชาการกองกาลังสหภาพโซเวียตภาคตะวันออกไกล ก็ได้ประกาศปลดปล่อยเกาหลีให้เป็นอิสระทันที ขณะเดียวกันผู้นาฝ่ายสัมพันธมิตร ได้ยื่นคาขาดให้ญี่ปุ่นยอมแพ้ และในวันที่ 15 สิงหาคม พุทธศักราช 2488 รัฐบาลญี่ปุ่นได้ประกาศยอมจานนโดยไม่มีเงื่อนไข และสั่งให้กองทหารญี่ปุ่นทุกยุทธบริเวณยุติการสู้รบ ต่อมาสหรัฐอเมริกาได้ตกลงใจที่จะยอมรับการจานนของญี่ปุ่นในเกาหลีในพื้นที่ใต้เส้นขนานที่ 38 ลงมา และจัดให้มีการเลือกตั้งในความกากับดูแลของ สหประชาชาติ เป็นรัฐบาล สาธารณรัฐเกาหลี หรือเกาหลีใต้ และให้รัสเซียเป็นฝ่ายรับการยอมจานนในพื้นที่เหนือเส้นขนานที่ 38 ขึ้นไปและสหภาพโซเวียต ได้จัดตั้งกรรมการร่างรัฐธรรมนูญขึ้น และได้รับความเห็นชอบ จากคณะกรรมาธิการประชาชนเกาหลีเหนือ ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาประชาชนสูงสุดแห่งเกาหลี และได้จัดตั้งรัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี หรือเกาหลีเหนืออีกประเทศหนึ่ง ต่อมาสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ ได้มีมติเป็นเอกฉันท์รับรองฐานะของรัฐบาลสาธารณรัฐเกาหลี หรือเกาหลีใต้ ว่าเป็นรัฐบาลที่ชอบธรรมเพียงรัฐบาลเดียวในประเทศเกาหลี




3.เริ่มการสู้รบระหว่างเกาหลีเหนือ – เกาหลีใต้
เส้นขนานที่ 38 นี้เป็นเพียงเส้นสมมุติไม่ใช่แนวแบ่งเขตทางภูมิศาสตร์ หรือเชื้อชาติ ทั้งสหรัฐอเมริกา และรัสเซีย ต่างก็มีความพยายามที่จะรวมประเทศเกาหลี ทั้ง 2 ฝ่าย ให้เป็นประเทศ เดียวกัน แต่ด้วยความขัดแย้งทางแนวความคิดของฝ่ายโลกเสรี และฝ่ายคอมมิวนิสต์ ในขณะนั้นจึงเป็นอุปสรรคต่อการรวมชาติเกาหลีเป็นอย่างยิ่ง และมีแนวโน้มที่จะนา ไปสู่ภาวะสงครามในที่สุด ในเดือน กรกฎาคม พุทธศักราช 2490 เกาหลีเหนือส่งกาลังหน่วย รักษาความปลอดภัย ไปประจาอยู่ตามแนวเส้นขนานที่ 38 มีกาลังทหาร 3 กองพลน้อย สร้างที่มั่นแข็งแรงบนภูมิประเทศ ตามแนวเส้นขนานที่ 38 และเตรียมใช้กาลังทหาร เมื่อสหรัฐอเมริกาถอนตัวออกจากเกาหลีใต้ ส่วนทางฝ่ายเกาหลีใต้นั้น ได้จัดกาลังทหารร่วมกับ กาลังตารวจกึ่งทหาร เข้าทาหน้าที่รักษาความปลอดภัยตามแนวเส้นขนานที่ 38 แทนกาลังทหาร ของสหรัฐอเมริกาที่ถอนตัวออกไปเมื่อปลายเดือน มกราคม พุทธศักราช 2492 จากการวางกาลังของทั้งสองฝ่าย ตามแนวเส้นขนานที่ 38มีการปะทะกันอยู่เสมอเป็นช่วงระยะสั้น ๆ บ่อยครั้งด้วยกาลังขนาดเล็ก และได้ขยายวงกว้าง เป็นการปะทะอย่างรุนแรงเริ่มขึ้นหลายแห่ง เช่น บริเวณคาบสมุทรอองจิน (ONG–JIN) ทางฝั่งตะวันตก ใต้เส้นขนานที่ 38 ลงมาเกาหลีเหนือใช้กาลัง 1 กองพัน เข้าตีครั้งแรกในเดือน พฤษภาคม เกาหลีเหนือสามารถ ยึดชัยภูมิที่ได้เปรียบไว้ส่วนหนึ่ง และในเดือนสิงหาคม ได้ใช้กาลัง 2 กองพันสนับสนุน การยิงด้วยปืนใหญ่ เข้าโจมตีอย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้นยังคงใช้กาลังกองโจรเคลื่อนไหวปฏิบัติการ บริเวณเทือกเขาทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และในที่สุดได้นาไปสู่ ความขัดแย้ง ทางทหาร และเกิดสงครามครั้งร้ายแรงที่สุดอย่างหลีกเลี่ยงมิได้ โดยในเช้าตรู่ของวันที่ 25 มิถุนายน พุทธศักราช 2493 เวลา 04.00 น. กองทัพเกาหลีเหนือเริ่มเปิดฉากสงครามด้วยการใช้กาลังทหาร ประมาณ 10 กองพล มีกาลังประมาณ 60,000 คน ได้บุกรุกผ่านเส้นขนานที่ 38 ลงมายัง ฝ่ายเกาหลีใต้ซึ่งถูกจู่โจมโดยไม่ทันรู้ตัว และมีกาลังทหารในแนวหน้าน้อยกว่า ฝ่ายเกาหลีเหนือ กาลังทหารของเกาหลีใต้ ได้ทาการต่อสู้อย่างสุดกาลัง แต่ไม่สามารถยับยั้งข้าศึกได้ ในที่สุดฝ่ายเกาหลีเหนือได้ยึดกรุงโซล นครหลวงของสาธารณรัฐเกาหลีได้เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พุทธศักราช 2493 เวลา 01.00 น.



4. องค์การสหประชาชาติร้องขอสมาชิกเข้าร่วมรบ
คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ได้ประชุมเป็นการด่วน เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พุทธศักราช 2493 และมีมติให้ทั้งสองฝ่ายหยุดรบทันที และให้ฝ่ายเกาหลีเหนือถอน กาลังกลับขึ้นไปอยู่เหนือเส้นขนานที่ 38 และได้ลงมติให้ประเทศที่เป็นสมาชิกของ สหประชาชาติส่งทหารไปร่วมรบ เพื่อผลักดันกองกาลังเกาหลีเหนือ ประเทศไทยในฐานะสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ ได้รับการร้องขอความช่วยเหลือ เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พุทธศักราช 2493 รัฐบาลไทยในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยการนาของ ฯพณฯ จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น ได้ตอบรับคาร้องขอ ขององค์การสหประชาชาติเป็น ประเทศแรก โดยในขั้นต้นได้ให้ความช่วยเหลือ ทางด้านอาหารโดยได้ส่งข้าว ให้กับเกาหลีใต้ และต่อมาเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พุทธศักราช 2493 สภาป้องกันราชอาณาจักรของไทย ได้มีมติเป็นเอกฉันท์ เสนอเรื่องให้คณะรัฐมนตรีรับหลักการ ให้ความช่วยเหลือทางทหารเฉพาะ กาลังทหารทาง พื้นดินในสงครามเกาหลี ด้วยกาลัง 1 กรมผสมและคณะรัฐมนตรีได้มีมติ อนุมัติอย่างเป็นเอกฉันท์ รัฐบาลไทยได้นาความกราบบังคับทูล เพื่อขอรับพระบรมราชานุมัติจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ เพื่อส่งกาลังทหารไปร่วมรบในประเทศ เกาหลี ตามคาร้องขอของ องค์การสหประชาชาติ และได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ส่งกาลังทางภาคพื้นดินไปร่วมรบ ในสงครามเกาหลี เมื่อวันที่ 22 เดือน กันยายน พุทธศักราช 2493 และต่อมา เมื่อวันที่ 29 กันยายน พุทธศักราช 2493 ได้มีพระบรมราชโองการ ให้ส่งกาลังทางเรือ และทางอากาศไปร่วมรบ ในสงครามเกาหลีด้วย



5. การจัดกาลังทางบกเข้าร่วมรบในสงครามเกาหลี
หลังจากที่รัฐบาลไทยได้ตกลงใจ ที่จะส่งกาลังทหารบก 1 กรมผสม มีกาลังพลประมาณ 4,000 คน ไปร่วมรบกับสหประชาชาติในเกาหลี ตามความเห็นชอบ ของรัฐบาลแล้ว ได้มอบหมายให้กระทรวงกลาโหม ดาเนินการดังนี้

- วันที่ 30 กรกฎาคม พุทธศักราช 2493 กระทรวงกลาโหม ประกาศรับสมัครทหาร อาสาไปช่วยสหประชาชาติ
- วันที่ 21 สิงหาคม พุทธศักราช 2493 กระทรวงกลาโหม ได้แต่งตั้งให้ พันเอก บริบูรณ์ จุละจาริตต์ เป็นผู้บังคับการกรมผสมที่ 21 ที่จะไปร่วมรบกับสหประชาชาติ ณ สมรภูมิประเทศเกาหลี และเปิดที่ทาการ กองบังคับการกรมผสมที่ 21 ชั่วคราวขึ้น ณ ห้องสมุดในศาลาว่าการกระทรวงกลาโหม และทางราชการได้ประกาศพระราชกฤษฎีกา จัดวางระเบียบราชการกองทัพบกในกระทรวงกลาโหม (ฉบับที่ 5) พุทธศักราช 2493 เพิ่มกรมผสมที่ 21 เข้าเป็นส่วนกาลังรบขึ้นตรงกองทัพบก โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระชัยนาทนเรนทร ผู้สาเร็จราชการแทนพระองค์ ฯ ได้ลงพระนามประกาศตั้ง กรมผสมที่ 21 เมื่อวันที่ 22 กันยายน พุทธศักราช 2493 เวลา 11 นาฬิกา 30 นาที จึงนับได้ว่า กรมผสมที่ 21 ได้กาเนิดตั้งขึ้นเป็นทางการแล้วตั้งแต่บัดนี้ และต่อมาได้มีพิธีพระราชทานธงชัยเฉลิม แก่กรมผสมที่ 21 โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระชัยนาทนเรนทร ผู้สาเร็จราชการแทนพระองค์ ฯ ในพระบรมมหาราชวัง และได้จัดให้มีพิธีสวนสนามของกรมผสมที่ 21 อย่างสมเกียรติ



6. การจัดหน่วยกาลังรบของกองพันทหารไทย
วันที่ 2 ตุลาคม พุทธศักราช 2493 กองทัพบกแต่งตั้งให้ พันโท เกรียงไกร อัตตะนันทน์ เป็นผู้บังคับกองพันที่ 1 (อิสระ) กรมผสมที่ 21 ไปปฏิบัติการร่วมรบกับสหประชาชาติ ณ สมรภูมิประเทศเกาหลี ในวันที่ 10 ตุลาคม พุทธศักราช 2493 กาลังส่วนล่วงหน้าของกรมผสมที่ 21 จานวน 31 นาย โดยการนาของ พันตรี สุรกิจ มัยลาภ เสนาธิการกรมผสมที่ 21 ได้ออกเดินทางโดยเครื่องบิน เพื่อไปเตรียมการรับกาลังส่วนใหญ่ และในวันที่ 22 ตุลาคม พุทธศักราช 2493 กาลังทหารไทยในกรมผสมที่ 21 ทั้งหมดในรุนแรก ได้ออกเดินทางจากท่าเรือกรุงเทพ ฯ สู่ประเทศเกาหลี เพื่อร่วมรบกับสหประชาชาติต่อไป และได้เดินทางถึงประเทศเกาหลี เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2493 แล้วเดินทางโดยรถไฟเข้าสู่ค่ายพักของศูนย์ทหารสหประชาชาติ ณ เมืองเตกู




7.
วีรกรรมของทหารไทยในสมรภูมิเกาหลี
กรมผสมที่ 21 ของไทยได้ขึ้นสมทบกับกองทัพที่ 8 ของสหรัฐอเมริกา โดยมี พลโท วอล์คเกอร์ เป็นแม่ทัพ และกาลังทหารบกไทยได้ปฏิบัติหน้าที่ในยุทธภูมิภายใต้ธงสหประชาชาติ เทียมบ่าเทียมไหล่พันธมิตร ด้วยความองอาจกล้าหาญและอดทน นอกจากจะต้องต่อสู้ข้าศึก ที่มีกาลังและอาวุธเหนือกว่าแล้ว ในฤดูหนาวทหารไทยต้องกัดฟัน ต่อสู้กับอากาศที่หนาวจัด อย่างทารุณ และในภูมิประเทศอันทุรกันดาร แต่ทหารไทยก็ได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเข้มแข็ง และมีวินัยมั่นคง โดยเฉพาะอย่างยิ่งทหารไทยผลัดแรก หลังจากรับการฝึกและรับอาวุธ ยุทโธปกรณ์ตามอัตราแล้ว 3 สัปดาห์ ก็ได้รับคาสั่งให้ขึ้นสมทบกับกรมผสมที่ 187 (กรมทหารพลร่มของสหรัฐอเมริกา) เป็นหน่วยแรก และได้รับภารกิจให้เคลื่อนที่ไปปฏิบัติภารกิจถึง กรุงเปียงยาง เมืองหลวงของเกาหลีเหนือ เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2493 ทั้งนี้เพราะ จอมพล แม็คอาเธอร์ ต้องการจะเผด็จศึก ให้เสร็จสิ้นในเดือน ธันวาคม พุทธศักราช 2493 ก่อนที่อากาศจะหนาวจัดยิ่งขึ้น นอกจากนั้นกาลังทหารไทยในผลัดที่ 1นี้ ยังได้รับมอบ ภารกิจจากกองทัพสหประชาชาติให้ปฏิบัติอีกในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะที่เมืองอุยจองบู ซึ่งกาลังทหารไทย ได้ยึดเมืองอุยจองบู กลับคืนมาให้เกาหลีใต้ ได้ทาให้ชาวเกาหลีมีความ ซาบซึ้ง และชื่นชมทหารไทยเป็นอย่างมาก จนเป็นที่เล่าลือกันทั่วไป และเวลาทหารไทย ปรากฏกายที่ใด ประชาชนชาวเกาหลี มักจะกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า  “THAILAND NUMBER ONE”  และด้วยอัธยาศัยไมตรี และการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีของทหารไทย ได้ให้ความเป็นกันเอง และช่วยเหลือชาวเกาหลีในพื้นที่การรบ และพื้นที่ใกล้เคียง จนเกิดเป็นความผูกพัน และเป็นความรักที่ดีต่อกัน ตลอดมา

ทหารไทยทุกคนต่างปฏิบัติหน้าที่ด้วยความกล้าหาญอดทน และได้รับคาชมเชยอย่างมากจาก ทุกฝ่าย พลตรี ชาลส์ ดี ปาล์เมอร์ ผู้บัญชาการกองพลทหารม้าที่ 1 ของสหรัฐอเมริกา ได้จัดสร้างอนุสาวรีย์คอนกรีตอย่างสวยงาม เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งเกียรติประวัติแก่ชาติและทหารไทย ณ เส้นขนานที่ 38 โดยมีอักษรจารึกเป็นใจความว่า “ การข้ามเส้นขนานที่ 38 ครั้งที่ 3 โดยทหารอเมริกัน ทหารไทย ทหารกรีก “


ขณะที่กองพันทหารไทยผลัดที่ 1 ยังปฏิบัติการอยู่ในเกาหลีนั้น กองทัพบกได้แต่งตั้งให้ พันโท ประยูร นุทกาญจนกุล ดารงตาแหน่งผู้บังคับกองพันที่ 1 กรมผสมที่ 21 เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พุทธศักราช 2493 ซึ่งต่อมามีคาสั่งเปลี่ยนชื่อหน่วย เป็นกองพันทหารราบ (อิสระ) กรมผสมที่ 21


การปฏิบัติการของกองพันทหารราบ (อิสระ) กรมผสมที่ 21 ผลัดที่ 2 นี้ สังกัดในกรมทหารม้าที่ 8 สหรัฐอเมริกา ได้รับภารกิจในการยึดที่มั่นตั้งรับ โดยเฉพาะการปฏิบัติการ ในแนว เจมส์ ทาวน์ และเหตุการณ์สาคัญยิ่ง ของการรบในสงครามเกาหลี ผลัดที่ 2 ของกองพันทหารไทย เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2494 ที่หน้าเขาทีโบน ทหารไทยได้จัดส่งหมวดปืนเล็ก ไปทาหน้าที่หมวดคอยเหตุ โดยให้ ร้อยโท ดารง อยู่โพธิ์ เป็นผู้บังคับหมวดคอยเหตุ จนกระทั่งเวลา 22.00 น. ฝ่ายข้าศึกได้ระดมยิงด้วยกระสุนปืนใหญ่ และอาวุธทุกชนิด ขนาดหนัก มาตกบริเวณแนวต้านทานหลักบนที่มั่นใหญ่ และที่หมวดคอยเหตุ ทหารไทยยิงโต้ตอบด้วยอาวุธหนัก เช่นเดียวกัน จนผ่านไปประมาณ 1 ชั่วโมง การยิงขิงข้าศึกสงบลง หมวดคอยเหตุได้รับความเสียหายมาก มีทหารล้มตายและบาดเจ็บมาก จนกระทั่งเวลาใกล้รุ่ง ฝ่ายข้าศึกได้นากาลังเข้าตะลุมบอน ร้อยโท ดารง อยู่โพธิ์ ได้สั่งการให้ทหารทาการต่อสู้จนถึงที่สุด แต่เนื่องจากข้าศึกมากกว่าหลายเท่า แม้จะถูกยิงขัดขวางล้มตายลงหน้าแนวหมวดคอยเหตุเป็น จานวนมาก แต่ข้าศึกส่วนที่เหลือ คงหนุนเนื่องเข้ามาจนถึงตัวและเข้าตะลุมบอน ทหาร ในหมวดคอยเหตุ ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตเป็นจานวนมาก ร้อยโท ดารง อยู่โพธิ์ และ ทหารประมาณ ครึ่งหมวดเสียชีวิตในการรบ ต่อมากองพันได้จัดกาลัง ไปทดแทนเพื่อปฏิบัติหน้าที่ ต่อไป และได้ตรวจสอบพบว่า กาลังข้าศึกบาดเจ็บและ ล้มตายเป็นจานวนมากเช่นเดียวกัน จากวีรกรรมอันกล้าหาญครั้งนี้ ทาให้ทหารไทยได้รับการสดุดี และเป็นที่รู้จักในหมู่พันธมิตร และประชาชนชาวเกาหลีมากยิ่งขึ้น


จนกระทั่งถึงวันที่ 6 มกราคม พุทธศักราช 2495 กองทัพบกได้มีคาสั่งแต่งตั้ง พันโท อ่อง โพธิกนิษฐ์ เข้ารับหน้าที่เป็นผู้บังคับกองพันผลัดที่ 3 ของกองทัพทหารไทย ซึ่งได้ย้ายสังกัดมาขึ้นกับ กรมทหาราบที่ 9 กองพลทหารราบที่ 2 กองทัพน้อยที่ 9 สหรัฐอเมริกา ณ หมู่บ้านชองกองนิ (CHNGGONG–NI) วีรกรรมที่เป็นเกียรติประวัติของกองทหารไทย ณ ที่นี้ก็คือ การมีวินัย กล้าหาญ และความเข้มแข็งอย่างต่อเนื่อง จนได้รับการขนานนาม เพื่อเป็นเกียรติว่า  “Little Tiger”  หรือ  “ กองพันพยัคฆ์น้อย”  ซึ่งเป็นชื่อที่สืบทอดต่อ ๆ มาตลอดทุกรุ่นการปฏิบัติของกองพันทหารไทย ผลัดที่ 3 หลังจากผลัดเปลี่ยนกาลังแล้ว ตั้งแต่เดือน กรกฎาคม พุทธศักราช 2495 ได้เคลื่อนย้ายไปยังเขตปฏิบัติการตั้งรับ ณ หมู่บ้าน ซันตานิ ( Sontani ) เมือง ชอร์วอน และได้ขึ้นผลัดเปลี่ยน ณ แนวตรงหน้าเขาทีโบน ขณะที่มีการสับเปลี่ยนอยู่นี้ ข้าศึกได้ระดมยิงรบกวนอย่างหนัก ทาให้ทหารไทยเสียชีวิต 5 คน และเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พุทธศักราช 2495 พันโท อ่อง โพธิกนิษฐ์ ผู้บังคับกองพันทหารไทย ผลัดที่ 3 ได้เดินทางไปศึกษาต่อ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา กองทัพบกจึงแต่งตั้งให้ พันตรี เกรียงศักดิ์ ชนะนันท์ เป็นผู้บังคับกองพันต่อไป และจากการปฏิบัติการรบของทหารไทย ผลัดที่ 3 นี้เอง ที่ได้สร้างวีรกรรม การรบที่ห้าวหาญ จนเป็นที่เลื่องลือในหมู่ประเทศพันธมิตร และทหารไทยได้รับการ ยกย่องชมเชยอย่างมากที่สุด ซึ่งวีรกรรมครั้งนี้ ได้แก่ “การรบที่เขาพอร์คชอป”



ฝ่ายคอมมิวนิสต์พยายาม ที่จะเข้ายึดหน่วยคอยเหตุสาคัญ ๆ ในแนวหน้าของกองกาลังสหประชาชาติหลายครั้งหลายหน โดยฉพาะแนวรบด้านภูเขาพอร์คชอป ซึ่งกองพันทหารไทย ได้รับคาสั่งให้ขึ้นประจาแนวด้านพอร์คชอปพอร์คชอปแม้จะเพียงที่มั่นรักษาด่านรบ แต่ก็มีความสาคัญไม่น้อยไปกว่าแนวต้านทานหลัก เพราะเป็นภูมิประเทศสาคัญ ที่ปิดกั้นเส้นทาง ที่ข้าศึกสามารถเคลื่อนที่เข้าสู่ที่มั่น ของกองกาลังสหประชาชาติได้หลายทาง และภูเขานี้เป็นพื้นที่สูง สามารถจับความเคลื่อนไหวของข้าศึกได้เป็นอย่างดี การยึดพอร์คชอปไว้ได้ ย่อมหมายถึงความ ปลอดภัยของแนวต้านทานหลัก ของฝ่ายกองกาลังสหประชาชาติ

ด้วยเหตุผลดังกล่าว พอร์คชอปจึงมีความสาคัญอย่างมาก ในทางยุทธวิธี และกองพันทหารไทยได้รับคาสั่งจาก กรมทหารราบที่ 9 สหรัฐอเมริกาว่า “ กองพันทหารไทยจะต้อง รักษาที่มั่นพอร์คชอปไว้ให้ได้ หากถูกข้าศึกเข้าตีและยึดครองไป จะต้องดาเนินการตีโต้ตอบ เพื่อแย่งยึดกลับคืนทันที ” 
เมื่อได้รับคาสั่งจากหน่วยเหนือ พันตรี เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ผู้บังคับกองพันทหารไทย ได้สั่งการอย่างเฉียบขาดกับหน่วยที่ปฏิบัติอยู่ ณ ที่มั่นพอร์คชอปว่า “ จะถอนตัวได้เฉพาะ เมื่อได้รับคาสั่งจากผู้บังคับกองพันเท่านั้น ” และได้วางแผนจัดกาลังป้องกันที่มั่นพอร์คชอป โดยจัดกาลัง 1 หมวดปืนเล็ก จากกองร้อยที่ 1 ซึ่งมี ร้อยเอก จวน วรรณรัตน์ เป็นผู้บังคับกองร้อย เพิ่มเติมกาลังด้วย 1 ชุดตรวจการณ์หน้าของปืนใหญ่ และอาวุธหนัก อีกจานวนหนึ่ง และวางยามคอยเหตุอีก 2 หมู่ ไว้ที่เขาสนุ๊ก ซึ่งอยู่ห่างจากพอร์คชอป ไปทางทิศตะวันออกประมาณ 100 เมตร ภายในที่มั่นหลักได้ดัดแปลงให้มีเครื่องกีดขวางลวดหนาม 3-4 ชั้น และได้วางแผนขอรับการสนับสนุนจากหน่วยปืนใหญ่ของสหรัฐอเมริกา และเครื่องยิงลูกระเบิดหนัก จากกองพันของไทยให้เตรียมการยิงฉาก และยิงคุ้มครองเป็นรูปวงแหวน โดยรอบที่มั่นพอร์คชอป อย่างรัดกุม และเรียกฉากการยิงนี้ว่า  “วงแหวนเหล็ก”  และประการที่สาคัญ ได้จัดกองหนุน โดยใช้หมวดลาดตระเวนพิเศษ ที่จัดตั้งขึ้นจากพวกอาสาสมัคร ในกองพันเอง โดยมี ร้อยโท เฉลิม ศิริบุญ เป็นผู้บังคับหมวด และกาลังพลทุกคนภายในหมวด มีอาวุธยิงเร็วทุกคน เพื่อให้มีอานาจการยิงสูงกว่า หมวดปืนเล็กธรรมดา


8. การโจมตีของฝ่ายคอมมิวนิสต์
กองกาลังของฝ่ายคอมมิวนิสต์ ได้เคลื่อนย้ายมายังด้านหน้าแนว เพื่อทาการ ยึดเขาพอร์คชอปด้วยกาลังที่มากกว่าฝ่ายไทยหลายเท่า โดยได้จัดกาลังในแนวหน้าถึง 2 กองพัน มีปืนใหญ่สนับสนุนเต็มอัตรา และตั้งอยู่บนภูมิประเทศที่สูงข่ม พร้อมที่จะเคลื่อนที่เข้ายึด เขาพอร์คชอปได้ตลอดเวลา ต่อมากองกาลังจีนคอมมิวนิสต์ ได้เข้าตีหยั่งกาลังจานวน 2 ครั้ง และแล้วในคืนวันที่ 1 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2495 ฝ่ายจีนคอมมิวนิสต์ ได้ส่งกาลังเข้าตีพอร์คชอปเป็นครั้งแรก โดยได้ระดมยิงปืนใหญ่ขนาด 155 มม. และเครื่องยิงลูกระเบิดทุกชนิดอย่างหนักติดต่อกันกว่า 4 ชั่วโมง ทาให้ที่มั่นตั้งรับของฝ่ายไทย เสียหายอย่างหนัก ทหารไทยได้รับบาดเจ็บ และเสียชีวิตหลายนายแต่ยังมีขวัญและกาลังใจดีมาก ร้อยเอก จวน วรรณรัตน์ ผู้บังคับกองร้อย ได้อานวยการ และควบคุมสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และได้พยายามจัดระเบียบที่มั่น และเสริมความมั่นคงให้ดีขึ้น แต่ยังไม่ทันเรียบร้อย ฝ่ายคอมมิวนิตส์ได้ส่งกาลังประมาณ 2 กองร้อย เพิ่มเติมกาลังเข้าตีพอร์คชอปถึง 2 ทาง ทหารไทยในที่มั่นพอร์คชอป มิได้ท้อถอยทุกคนยืนหยัดต่อสู้กับข้าศึกด้วยความห้าวหาญ ถึงขั้นตะลุมบอน ด้วยดาบปลายปืน ร้อยเอก จวน วรรณรัตน์ ผู้บังคับกองร้อย ได้รับบาดเจ็บ ทางกองพันจึงได้ให้ ร้อยโท เฉลิม ศิริบุญ นาหมวดกองหนุนขึ้นไปช่วย ทาให้สามารถผลักดันข้าศึก ให้ถอยไปได้ ผลจากการสู้รบครั้งนี้ กาลังพลเสียชีวิต 8 นาย บาดเจ็บ 14 นาย ที่กาบังถูกยิงเสียหายยับเยิน 11 แห่ง ข้าศึกทิ้งศพไว้ 50 ศพ และต่อมาเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2495 ฝ่ายคอมมิวนิสต์ได้เข้าตีพอร์คชอปอีก เป็นครั้งที่ 2 แต่ฝ่ายไทยได้ร้องขอการยิงสนับสนุนจากปืนใหญ่ ทาการยิงฉากวงแหวนเหล็กอย่างรุนแรง จนทาให้ฝ่ายข้าศึกประสบความล้มเหลวอีกครั้ง

แม้จะประสบความล้มเหลวจากการโจมตีถึง 2 ครั้งแล้วก็ตาม กองกาลังฝ่ายคอมมิว นิสต์ก็ยังไม่ละความพยายาม ได้ทุ่มเทกาลังมากที่สุด เพื่อโจมตีและยึดพอร์คชอปเป็นครั้งที่ 3 โดยได้ใช้เวลาเตรียมการอยู่ถึง 4 วัน จนถึงคืนวันที่ 10 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2495 เวลาประมาณ 19.00 น. ฝ่ายข้าศึกได้ใช้วิธีลวง โดยได้ระดมยิงปืนใหญ่และเครื่องยิงลูกระเบิด อย่างหนัก ไปยังกองพันทางขวา และได้ส่งกาลังอีก กองพันหนึ่ง เข้าตีกระหน่ากองพันฝ่ายเรา ทางด้านซ้าย ในขณะเดียวกันได้ส่งกาลังอีก 1 กองพัน เพิ่มเติมมุ่งเข้าสู่พอร์คชอปทันที จนถึงเวลา 23.00 น. ข้าศึกได้ระดมยิงปืนใหญ่เข้ามาทุกระยะ และได้บุกเข้าโจมตีที่ฟังการณ์ของพอร์คชอป ในระยะประชิด และได้เคลื่อนที่ผ่านเครื่องกีดขวาง เข้ามาทุกทิศทาง ฝ่ายไทยได้ขอให้ปืนใหญ่ยิงฉาก วงแหวนเหล็กรอบๆ ที่มั่นพอร์คชอป และมีการทิ้งระเบิดอย่างหนักตามเส้นทางทุกสายที่ฝ่ายข้าศึก เคลื่อนที่เข้ามา แต่ก็ไม่สามารถสกัดกั้นข้าศึกที่เล็ดลอดเข้ามาได้ บนยอดพอร์คชอป ฝ่ายข้าศึกบางส่วนได้บุกถึงที่มั่นฝ่ายเรามีการตะลุมบอนสู้รบอย่างนองเลือด มีการขว้างระเบิดมือ และต่อสู้แบบประชิดตัวด้วยดาบปลายปืน ในขณะเดียวกันผู้บังคับกองพันทหารไทย ได้สั่งให้หมวดลาดตระเวนพิเศษ ขึ้นสมทบกับกาลังบนพอร์คชอปทันที การสู้รบเป็นไปอย่างชลมุน ทหารไทยบนพอร์คชอปต่อสู้อย่างทรหดกล้าหาญ เพื่อต้านทานข้าศึก และรักษาที่มั่นไว้จนถึงที่สุด ไม่มีการถอนตัวก่อนได้รับคาสั่ง จนถึงเวลา 01.30 น. ฝ่ายคอมมิวนิสต์เห็นว่าไม่สามารถที่ จะเอาชนะความแข็งแกร่งของทหารไทยได้ จึงถอนตัวกลับไปและกาลังฝ่ายสหประชาชาติ ได้ระดมยิงปืนใหญ่ สกัดเส้นทางการถอนตัวทุกเส้นทางจนฝ่ายข้าศึกได้รับความเสียหายอย่างยับเยิน ผลการสู้รบครั้งนี้ ทหารไทยเสียชีวิต 16 นาย บาดเจ็บ 57 นาย พบศพฝ่ายข้าศึก 204 ศพ เช้าวันรุ่งขึ้น พลโท พอล เคนดัล แม่ทัพน้อยที่ 1 สหรัฐอเมริกา และ พลตรี เจมส์ ซี ฟราย ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 2 สหรัฐอเมริกา ได้มาเยี่ยมและแสดงความยินดีแก่กองพันทหารไทย ในชัยชนะที่น่าภาคภูมิใจ และ พลตรี เจมส์ ซี ฟราย ได้กล่าวแก่ผู้บังคับกองพันทหารไทย ต่อหน้านายทหารทั้งหลายว่า “ ข้าพเจ้า ไม่มีอะไร สงสัยในจิตใจ แห่งการต่อสู้ของ ทหารไทยอีกแล้ว ”



9.พิธีสดุดีทหารทหารไทย
จากการต่อสู้อย่างทรหด เข้มแข็ง กล้าหาญ การมีจิตใจมั่นคงต่อการรักษาเกียรติยึดมั่น ในระเบียบวินัยของทหารไทย จนบังเกิดผลดีให้แก่กองกาลังฝ่ายสหประชาชาติ เพื่อทดแทนความดีนี้กองทัพที่ 8 สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นหน่วยบังคับบัญชา จึงได้มอบเหรียญตรา เพื่อเป็นเกียรติประวัติ ในการรบของนายทหารสัญญาบัตร นายทหารประทวน และพลทหารของไทย ในสังกัดกองพันทหารราบที่ 1(อิสระ) ผลัดที่ 3 ที่ได้ร่วมรบ ณ ที่มั่นบริเวณพอร์คชอป รวม 39 เหรียญ คือ

- ลีเยี่ยนออฟเมอริท 1 เหรียญ
- ซิลเวอร์สตาร์ 12 เหรียญ
- บรอนซ์สตาร์ 26 เหรียญ

และจากวีรกรรมที่พอร์คชอปนี้ ทาให้กองกาลังสหประชาชาติได้รู้จัก และขนานนาม กองพันทหารไทยว่า
“พยัคฆ์น้อย“  ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา และกองพันทหารบกไทย ส่งกาลังผลัดเปลี่ยนเข้าร่วมรบในสมรภูมิเกาหลีอย่างต่อเนือง จนถึงการเจรจาเพื่อสงบศึก ที่ปันมุนจอม เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พุทธศักราช 2496 เมื่อเวลา 22.00 น. รวมเป็นกาลังทั้งสิ้น 23 ผลัด มีกาลังพลทั้งสิ้น 11,786 นาย


10. การแปรสภาพของกรมผสมที่ 21
จากเกียรติประวัติอันดีเด่น ที่เหล่าทหารหาญไทยในกรมผสมที่ 21 ได้กระทาให้สหประชาชาติ ประจักษ์ว่า ทหารไทยเป็นนักรบที่มีความเด็ดเดี่ยว กล้าหาญ จนได้รับสมญานามว่า “ พยัคฆ์น้อย “ ณ สมรภูมิเกาหลี ต่อมาเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พุทธศักราช 2502 กรมผสมที่ 21 ได้แปรสภาพเป็น กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรม ราชินีนาถ ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ ณ จังหวัดพระนคร และได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ พระราชทานยศทหารให้ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เป็นพันเอกหญิง ตาแหน่ง ผู้บังคับการพิเศษกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ ฯ และเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2511 ได้ย้ายที่ตั้งจาก กรุงเทพมหานคร เข้าที่ตั้งใหม่ที่จังหวัดชลบุรี พร้อมด้วยหน่วยขึ้นตรงอีก 3 กองพันทหารราบตามลาดับ และเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2519 สานักเลขาธิ การคณะรัฐมนตรีได้แจ้งว่า สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ในฐานะที่ทรงดารง ตาแหน่งผู้บังคับการกรมพิเศษ ของกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ ฯ ได้ทรงพระกรุณา โปรดเกล้า ฯ พระราชทานชื่อค่ายทหารของกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ ฯ ว่า  “ค่ายนวมินทราชินี”  เพื่อเป็นศิริมงคลแก่ค่ายทหารกับพระราชทานสมญาของ กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ ฯ ว่า “กรมทหารเสือนวมินทราชินี”  ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา


11.การสร้างอนุสาวรีย์ทหารผ่านศึกเกาหลี
จากเกียรติประวัติการรบอันกล้าหาญ และเด็ดเดี่ยวของทหารไทย ที่ได้สร้างวีรกรรม ไว้เป็นที่ประจักษ์ต่อสายตาชาวโลก ในสมรภูมิเกาหลี รัฐบาลไทยโดยกองทัพบก จึงได้อนุมัติให้จัดสร้างอนุสาวรีย์ทหารผ่านศึกขึ้นในกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ ฯ เมื่อปี 2530 ซึ่งรูปแบบของอนุสาวรีย์แห่งนี้ ได้จาลองแบบก่อสร้างมาจากอนุสาวรีย์ ซึ่งสาธารณรัฐเกาหลี ได้สร้างขึ้นเป็นอนุสรณ์แก่ทหารไทย ณ เมือง อุนชอนนิ อนุสาวรีย์แห่งนี้ จึงเปรียบเสมือนมรดกอันล้าค่า และเป็นสิ่งที่ภาคภูมิใจของเหล่าทหารเสือนวมินทราชินีทุกผู้ทุกนาม ที่จะยึดถือเป็นแบบอย่างแห่งความกล้าหาญเด็ดเดี่ยวและเสียสละของบรรพบุรุษ และยังเป็น อนุสรณ์สถาน สาหรับให้อนุชนรุ่นหลังของไทย ที่จะได้ระลึกถึงวีรกรรมของทหารไทย ผู้เป็นบรรพชน ซึ่งได้สร้างเกียรติประวัติการรบ จนได้สมญาว่า  “พยัคฆ์น้อย”  อันหมายถึงนักรบร่างเล็ก แต่เต็มไปด้วยเขี้ยวเล็บ ซึ่งชื่อนี้จะจดจาตลอดไปชั่วนิรันดร


http://www.21inf.org/data/phayuknioy.pdf
www.21inf.org/data/phayuknioy.pdf









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-09-20 (8405 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©