-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 417 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

กล้วยหอม




หน้า: 2/2



รวมกลุ่มปลูกกล้วยหอมทองส่งออก

การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจภาคการเกษตร เพื่อความยั่งยืนและมั่นคงของเกษตรกรไทย ถือเป็นนโยบายหลักของรัฐบาล ภายใต้การขับเคลื่อนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 กระทรวงเกษตรฯ ได้ดำเนินการปรับโครงสร้างภาคการเกษตร ด้วยการจัดตั้ง “นิคมการเกษตร” เพื่อให้เกิดการบูรณาการการทำงานระหว่างหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงเกษตรฯ อย่างเป็นรูปธรรมและครบวงจร พร้อมกับเผยแพร่แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้แก่เกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเอง สร้างรายได้ ลดรายจ่าย และเกิดองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ในการประกอบอาชีพ


นายเฉลิมพร พิรุณสาร เลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) เปิดเผยว่า นิคมการเกษตรกล้วยหอมทองเพื่อการส่งออก อ.เมืองชุมพร จ.ชุมพร เป็นอีกหนึ่งความสำเร็จในการจัดตั้งนิคมการเกษตร ด้วยการสนับสนุนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยหนึ่งในหน่วยงานหลัก คือ สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกร และจังหวัดชุมพร ดังนั้น ส.ป.ก. จึงได้มอบนโยบายให้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดชุมพร เร่งดำเนินการในส่วนของนิคมการเกษตรกล้วยหอมเพื่อการส่งออก

นายกระแส จันทรังษี ปฏิรูปที่ดินจังหวัดชุมพร กล่าวว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้นิคมการเกษตรกล้วยหอมทองเพื่อการส่งออกประสบความสำเร็จ ได้นั้น สำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดชุมพรเข้ามาช่วยเหลือและเป็นตัวกลางในการประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อบูรณาการการทำงานร่วมกัน ทั้งในด้านการจัดรูปที่ดินการวิเคราะห์ดิน การจัดหาแหล่งน้ำ การจัดกลุ่มเกษตรกร และสาธารณูปโภคที่มีความจำเป็น ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ นอกจากนั้น ยังสนับสนุนแหล่งทุน ผ่านกองทุนปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกร ซึ่งในปี 2553 นี้ ได้ปล่อยกู้ให้แก่กลุ่มเกษตรกรภายในนิคมการเกษตรไปแล้วทั้งสิ้น 3 ล้าน เพื่อนำมาจัดสร้างโรงคัดแยกผลผลิตกล้วยหอมทองก่อนการส่งออกไปยังประเทศ ญี่ปุ่น

ก่อนหน้านี้แหล่งผลิตกล้วยหอมทองส่งออกไปญี่ปุ่นขนาดใหญ่จะอยู่ที่จังหวัดเพชรบุรี แต่เชื่อว่าอีกไม่กี่ปีข้างหน้ากลุ่มเกษตรกรในนิคมการเกษตรของจังหวัดชุมพรจะสามารถพัฒนาศักยภาพการผลิตได้ทัดเทียมกับจังหวัดเพชรบุรี ทั้งในด้านการปลูก การผลิต และการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อให้ได้กล้วยหอมทองคุณภาพและปลอดสารพิษ โดยจุดเด่นของ จ.ชุมพร คือ รสชาติของกล้วยหอมทองที่จัดจ้าน เนื่องจากปลูกในพื้นที่ดอน ในขณะที่จังหวัดเพชรบุรีเป็นพื้นที่ลุ่มผลผลิตกล้วยหอมทองที่ได้จะมีรสชาติอ่อนกว่า


ด้านนายดำรง แสงแก้ว หนึ่งในผู้ปลูกกล้วยหอมทอง กล่าวว่า เดิมชาวบ้านในพื้นที่ ต.ถ้ำสิงห์ ส่วนใหญ่จะปลูกไม้ผลจำพวก เงาะ มังคุด ทุเรียน เหมือนพื้นที่อื่น ๆ ทั่วไป แต่มักประสบปัญหาผลผลิตล้นตลาด และราคาตกต่ำ จนกระทั่งมีการจัดตั้งนิคมการเกษตร พร้อมกับได้รับการส่งเสริมจากสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรในการผลิตกล้วยหอมทองเพื่อการส่งออก

เกษตรกรในพื้นที่จึงได้รวมกลุ่มจัดตั้งเป็นกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตกล้วยหอมทอง เพื่อการส่งออก โดยกล้วยหอมทองที่ปลูกจะเลือกใช้พันธุ์กล้วยหอมทองกาบดำ มีการจัดการการผลิตในแบบปลอดสารพิษ ส่วนการปลูกนั้นจะมีทั้งการปลูกเป็นแปลงใหญ่และการปลูกแซมในพื้นที่สวนผลไม้ เดิมที่มีอยู่เพื่อเป็นรายได้เสริม ซึ่งปัจจุบันมีเกษตรกรเข้าร่วมกลุ่มแล้วประมาณ 100 ราย พื้นที่การผลิตประมาณ 1,500 ไร่ กำลังการผลิตเฉลี่ย 1-1.5 ตันต่อไร่ ส่วนการรับซื้อจะกำหนดราคาประกันอยู่ที่กิโลกรัมละ 12 บาท ซึ่งเกษตรกรจะได้กำไรโดยเฉลี่ยประมาณ 7,000-10,000 บาทต่อไร่ ซึ่งบางรายก็เป็นรายได้เสริมจากรายได้หลัก ถึงแม้จะเป็นเงินไม่มากนักแต่ก็ช่วยทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของคนในครอบครัวดีขึ้น

นิคมการเกษตรกล้วยหอมทองเพื่อการส่งออก อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร ถือเป็นหนึ่งในต้นแบบของนิคมการเกษตรที่ประสบความสำเร็จ และทำให้เห็นภาพของการบูรณาการและความร่วมมือกันทั้งในส่วนของภาครัฐและชุมชนที่จะช่วยกันในการพัฒนาภาคการเกษตรของไทยให้ก้าวหน้าต่อไปในอนาคต.


ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์

http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=346&contentID=69106



ปลูกกล้วยหอม

แหล่งปลูกที่เหมาะสมในการปลูกกล้วยหอมมีสภาพพื้นที่เป็นพื้นที่ที่น้ำไม่ท่วมขัง มีการระบายน้ำได้ดีมีแหล่งน้ำเพียงพอตลอดฤดูปลูก มีความอุดมสมบูรณ์ ความเป็นกรด-ด่าง 4.5-7.5  เป็นพื้นที่ที่ไม่มีลมแรง หรือเลือกพื้นที่ที่มีแนวกันลม อุณหภูมิเหมาะสมกับการเจริญเติบโต ประมาณ 25-30 องศาเซลเซียส ไม่ควรต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส และสูงกว่า 35 องศาเซลเซียส

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น ลำต้นเทียมสูง 2.5-3.5 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 20 เซนติเมตร ตามลำต้นด้านนอกมี ประดำเล็กน้อย ด้านในสีเขียวอ่อน และมีเส้นลายสีชมพู

ใบ : ก้านใบมีร่องค่อนข้างกว้าง และมีปีก เส้นกลางใบสีเขียว

ดอก : ก้านช่อดอกมีขนใบประดับรูปไข่ค่อนข้างยาว ปลายแหลม ด้านบนสีแดงอมม่วง มีไข ด้านในสีแดงซีด

ผล : เครือหนึ่งมี 4-6 หวี หวีละ 12-16 ผล ปลายผลมีจุกเห็นชัด เปลือกบาง เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองทอง แต่ที่ปลายจุกจะมีสีเขียว แล้วเปลี่ยนสีภายหลัง เนื้อสีเหลืองเข้ม กลิ่นหอม รสหวาน

พันธุ์
พันธุ์ที่นิยม คือ กล้วยหอมทอง (AAA Group) ให้ผลผลิตสูง รสชาติดี และผลโต



การปลูก

การเตรียมดิน :
ไถดะ 1 ครั้ง ตากดินแล้วไถพรวน 1-2 ครั้ง ให้ดินร่วนซุย ไม่มีวัชพืช ถ้ามีวัชพืชมากกว่าร้อยละ 20 ต้องไถพรวนใหม่

การเตรียมหลุมปลูก:
- ระยะปลูกระหว่างแถวและต้น 2x2 เมตร
- ขนาดหลุมปลูก กว้าง ยาว ลึก 30x30x30 เซนติเมตร
- รองก้นหลุมด้วยดินผสมปุ๋ยอินทรีย์ ด้วย 5 กิโลกรัมต่อหลุม

การเตรียมพันธุ์และการปลูก:
- ใช้หน่อพันธุ์ที่สมบูรณ์ ปราศจากศัตรูพืช มีความยาวหน่อ 25-35 เซนติเมตร มีใบแคบ 2-3 ใบ
- วางหน่อพันธุ์ที่ก้นหลุม จัดวางให้ด้านที่ติดต้นแม่อยู่ในทิศทางเดียวกัน เพื่อให้มีการออกดอกไปในทิศทางเดียวกัน และสะดวกในการดูแลรักษา
- กลบดินและกดดินบริเวณโคนต้นให้แน่น คลุมดินด้วยฟางข้าวหรือหญ้าแห้ง และรดน้ำให้ชุ่ม


การดูแลรักษา

การให้น้ำ:
ต้องให้น้ำอย่างสม่ำเสมอตลอดฤดูปลูก เมื่อหน้าดินแห้งต้องให้น้ำ (โดยเก็บตัวอย่างดินจากผิวดินลึก15 เซนติเมตร กำเป็นก้อน ถ้าแบมือแล้วแตกร่วงควรให้น้ำเพิ่มแก่ต้นกล้วย)

การให้ปุ๋ย:
- ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 1 และ 2 เมื่อกล้วยหอมอายุ 1 และ 3 เดือน ด้วยสูตร 20-10-10 หรือ 15-15-15 หรือสูตร ใกล้เคียงอัตรา 125-250 กรัมต่อต้นต่อครั้ง
- ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 3 และ 4 เมื่ออายุ 5 และ 7 เดือน ด้วยสูตร 13-13-21 หรือสูตรใกล้เคียง อัตรา 125-250 กรัมต่อต้นต่อครั้ง
- ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ (ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก) ปีละ 1-2 ครั้ง

การแต่งหน่อ:
หลังจากปลูกกล้วยประมาณ 5 เดือน ให้แต่งหน่อ เพื่อให้ต้นแม่มีความสมบูรณ์

การค้ำยันต้น:
ต้องใช้ไม้ค้ำยันหรือดามกล้วยทุกต้น ที่ออกปลีแล้ว เพื่อป้องกันลำต้นหักล้ม และตรวจดูการค้ำยันให้อยู่ในสภาพที่มั่นคงแข็งแรง

การหุ้มเครือ และตัดใบธง:
การหุ้มเครือกระทำหลังจากตัดปลีไม่เกิน 15 วัน เพื่อให้ผิวกล้วยสวย และป้องกันแมลงทำลายด้วยถุงพลาสติกสีฟ้า แบบเปิดด้านล่าง โดยหุ้มทั้งเครือ และหุ้มทุกเครือ ส่วนการตัดใบธง ตัดเมื่อใบธงเริ่มหักก่อนที่จะเสียดสีกับผิวกล้วย

โรคที่สำคัญ
โรคตายพราย (Panama disease)
เกิดจากเชื้อรา Fusarium oxysporum f. cubense

อาการ:
มักเป็นกับกล้วยที่มีอายุ 4-5 เดือนขึ้นไป ลักษณะอาการของกล้วยที่เพิ่งจะเป็นโรคนี้ สังเกตเห็นได้ยาก เนื่องจากเชื้อของโรคจะทำลายลำต้นด้านรากก่อน และเจริญอย่างรวดเร็วไปตามท่อน้ำของลำต้น อาการในช่วงนี้จะสังเกตเห็นเป็นทางสีเหลืองอ่อนตามก้านใบของใบล่างหรือใบแก่ ปลายหรือขอบใบจะเริ่มเหลืองและขยายไปอย่างรวดเร็วจะเหลืองหมดทั้งใบ ใบอ่อนจะมีสีเหลืองไหม้หรือตายนึ่ง และบิดเป็นคลื่นในที่สุดจะหักพับตรงบริเวณโคนก้านใบ ส่วนใบยอดอาจจะเหลืองตั้งตรงเขียวอยู่ในระยะแรก แต่ในที่สุดก็จะแห้งตายไปเช่นกัน

อาการที่บริเวณลำต้น โดยเฉพาะตรงส่วนโคนต้นหรือเหล้าของกล้วย เมื่อผ่าดูภายในจะพบแผลเน่าเป็นจุดสีเหลืองอ่อนจนถึงน้ำตาลแก่หรือแดงส้ม และมีกลิ่นเหม็น ส่วนบริเวณลำต้นที่เรียกว่า กาบกล้วย เมื่อนำมาตัดขวางจะพบเป็นรอยช้ำ เน่า สีน้ำตาลเข้มหรือดำ อาการดังกล่าวจะค่อย ๆ ลามเข้าไปข้างในต้นกล้วยจะยืนต้นแห้งตาย หากเป็นกล้วยที่ให้ผลแล้ว เครือจะเหี่ยวผลลีบเล็กไม่สม่ำเสมอ และแก่ก่อนกำหนด เนื้อจะจืดซีดและเปลี่ยนเป็นสีดำ

การป้องกันกำจัด:
- คัดเลือกหน่อพันธุ์กล้วยจากบริเวณที่ไม่เป็นโรคไปปลูก
- มีการปรับสภาพของดินที่เป็นกรดโดยการใส่ปูนขาว อัตราที่ใช้ประมาณไร่ละ 4-5 ตัน
- หมั่นทำความสะอาดแปลงปลูกและเครื่องมือเครื่องใช้อยู่เสมอ เนื่องจากเชื้อชนิดนี้สามารถแพร่ กระจายได้ง่าย
- ทำลายต้นกล้วยที่เป็นโรค โดยการสุมไฟเผาหรือขุดหลุมฝังให้ลึกอย่างน้อย 3-4 ฟุต
- หลักเลี่ยงการปลูกในหลุมเดิมที่เคยปลูกมาแล้ว
- ควรลดธาตุไนโตรเจนให้น้อยลง การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนมากจะทำให้พืชอ่อนแอเชื้อโรคเข้าทำลายได้ง่าย
- ทำความสะอาดโคนกอกล้วยอย่าให้เกิดรกรุงรัง และทำทางระบายน้ำให้ดี และราดโคนต้นให้ชุ่มด้วย สารเคมี เช่น แคปแทน 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร



โรคใบจุด
เกิดจากเชื้อราหลายชนิด เช่น Cecospora musae, Phyllosticma musarum, Guignardia musae ฯลฯ

ลักษณะอาการ:
เมื่อเริ่มเป็นจะเป็นจุดขนาดเล็ก สีเหลือง สีแดง ดำ หรือน้ำตาลขึ้นอยู่กับเชื้อสาเหตุ แล้วจะขยายใหญ่ขึ้น ทำให้กล้วยชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง ผลสุกก่อนกำหนด รสชาติหรือคุณภาพเสียไป

การป้องกันกำจัด:
ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น เบนโนมิล อัตรา 8 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือแคปแทน อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คาร์เบนดาซิม อัตรา 10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร เป็นต้น
ตัดใบที่เป็นโรคมากออกมาเผาทำลาย

โรคใบเหี่ยว (Bacterial wilt)
เกิดจากเชื้อบักเตรี Pseudomonas solanacearum จะอยู่ทั้งในดินบริเวณโคนต้นและในส่วนของกล้วยเป็นโรค จะแพร่กระจายไปกับน้ำและติดไปกับหน่อพันธุ์

ลักษณะอาการ:
ใบกล้วยจะเป็นสีเหลือง เหี่ยวเฉา และอาจห้อยลงมา แต่เมื่อพบเห็นอาการนี้โรคจะอยู่ในระยะรุนแรงมากแล้ว โดยทั่วไปเมื่อโรคเริ่มเป็น จะพบว่าเนื้อเยื่อของกาบลำต้น เหง้า (ลำต้นแท้) ก้านใบ ก้านเครือ มีท่อน้ำท่ออาการถูกทำลาย เป็นสีน้ำตาล เมื่อผ่าออกจะมีของเหลวเหนียวเป็นยางไหลออกมา โรคนี้จะทำให้ต้นกล้วยค่อย ๆ ตายไป ถ้าเป็นในระยะออกเครือจะทำให้ผลอ่อนสุกก่อนกำหนด ขนาดเล็กเท่านิ้วมือปะปนกับผลอ่อนที่ยังเขียวอยู่ เมื่อเป็นในระยะต้นอ่อน ใบจะเป็นสีเหลืองมีขอบใบแห้งอยู่โดยรอบ แคระแกรน ไม่เจริญเติบโต

การป้องกันกำจัด:
ทำความสะอวดเครื่องมือเกษตร เช่น มีด จอบ เสียม ต้องระมัดระวังอย่าใช้มีดที่ตัดแต่งจากกล้วยกอหนึ่งไปยังอีกกอหนึ่ง เพราะจะเพิ่มการระบาดของโรค กล้วยที่เป็นโรคต้องขุดทิ้ง นำไปเผาไฟ แล้วราดหลุมด้วยฟอร์มาลิน 5 เปอร์เซ็นต์  แช่หน่อพันธุ์ปลูกด้วยฟอร์มาลิน 5 เปอร์เซ็นต์


it.doa.go.th/vichakan/print.php?newsid=3 -










หน้าก่อน หน้าก่อน (1/2)


สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2009-07-16 (46839 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©