-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 306 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

เทคโนฯ เกษตร





กำลังปรับปรุงครับ


งานวิจัยการให้ปุ๋ยเคมีในระบบน้ำกับไม้ผลเมืองร้อนบางชนิด 

ปัญจพร  เลิศรัตน์
สถาบันวิจัยพืชสวน  กรมวิชาการเกษตร 

              
งานวิจัยและพัฒนาการให้ปุ๋ยเคมีในระบบน้ำกับไม้ผลเมืองร้อนนี้เป็นส่วนหนึ่งของแผนงานวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตไม้ผลให้มีประสิทธิภาพ โดยมีจุดมุ่งหมายในการเพิ่มผลผลิต คุณภาพผลผลิต และลดต้นทุนการผลิต รองรับสถานการณ์การตลาดที่มีการแข่งขันการผลิตเพิ่มมากขึ้น  และเนื่องจากในระยะ 3-5 ปีที่ผ่านมา สวนผลไม้ประสบกับปัญหาการขาดแคลนแรงงานในการจัดการสวนที่มีประสิทธิภาพ จึงได้นำเทคโนโลยีระบบน้ำและวิธีการให้ปุ๋ยเคมีในระบบน้ำมาประยุกต์ใช้เพื่อลดแรงงานการจัดการปุ๋ยและน้ำไปพร้อมๆกัน แต่อย่างไรก็ตามการให้ปุ๋ยเคมีในระบบน้ำกับไม้ผลเมืองร้อน เช่น เงาะ ทุเรียน มังคุด มะม่วง ยังขาดข้อมูลการใช้ให้เหมาะสมอยู่มาก จึงได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพและพัฒนาการให้ปุ๋ยเคมีในระบบน้ำให้เหมาะสมกับไม้ผลเมืองร้อนบางชนิด เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการสวนผลไม้ให้มีประสิทธิภาพการผลิตเพิ่มมากขึ้นต่อไป

           
การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพวิธีการให้ปุ๋ยเคมีทางดินแบบหว่างทางดิน และการให้ปุ๋ยเคมีในระบบน้ำ ได้ทำการประเมินโดยอ้อมจากผลการตอบสนองของการเจริญเติบโตของต้น การพัฒนาการ  การออกดอก ปริมาณผลผลิต คุณภาพผลผลิตและผลตอบแทนการผลิตของไม้ผลทั้ง 4 ชนิด คือ เงาะพันธุ์โรงเรียน ทุเรียนพันธุ์หมอนทอง มะม่วงพันธุ์เขียวเสวยและมังคุด พบว่าการให้ปุ๋ยเคมีในระบบน้ำมีประสิทธิภาพมากกว่าการให้ปุ๋ยเคมีแบบหว่านทางดิน เนื่องจากมีการให้ธาตุอาหารปริมาณน้อยลง แต่ยังคงมีการเจริญเติบโต การออกดอก การให้ผลผลิต และคุณภาพของผลผลิตได้ดีไม่น้อยไปกว่าการให้ปุ๋ยเคมีแบบหว่านทางดิน  และในพืชบางชนิด เช่น ทุเรียนและมะม่วง ยังมีแนวโน้มที่ให้คุณภาพการบริโภคที่ดีขึ้น   โดยเฉพาะสีเนื้อ ความหนาเนื้อและรสชาด นอกจากนั้นยังไม่ทำให้สถานะของธาตุอาหารพืชในดินและในใบพืชลดต่ำลงกว่าการให้ปุ๋ยเคมีแบบหว่านทางดิน ดังจะเห็นได้จากการตอบสนองของไม้ผลเมืองร้อนที่ทำการทดลองทั้ง 4 ชนิด คือ เงาะ           

จากการศึกษาผลของการให้ปุ๋ยเคมีทางดินและในระบบน้ำต่อการเจริญเติบโต พัฒนาการและผลผลิตเงาะพันธุ์โรงเรียนตั้งแต่อายุ 3 ปี ติดต่อกันนาน 3 ปี โดยทำการให้ปุ๋ยเคมีในระบบน้ำในสัดส่วนของ N – P2O5 – K2O ต่อต้นต่อปี เช่นเดียวกับการให้ปุ๋ยเคมีทางดิน แต่ลดปริมาณการให้ปุ๋ยเคมีในระบบน้ำลงต่ำกว่าอัตราทางดิน พบว่า ต้นเงาะทดลองที่ทำการให้ปุ๋ยเคมีในระบบน้ำ อัตรา 50% ของอัตราทางดิน หรือ 0.5-0.5-0.7 กก. ของ N–P2O5–K2O ต่อต้นต่อปี มีการเจริญเติบโตของต้น การออกดอก การพัฒนาการของผล ปริมาณผลผลิต    และคุณภาพการบริโภคของผลผลิตไม่ด้อยไปกว่าการให้ปุ๋ยเคมีทางดินอัตรา 100% อีกทั้งยังมีแนวโน้มที่ให้ผลผลิตเฉลี่ยทั้ง 3 ปี สูงกว่าการให้ปุ๋ยเคมีทางดินเพิ่มขึ้นอีก 15% และจากการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงสถานะของธาตุอาหารพืชหลัก NPK ในดินและใบพืชทดลองทั้ง 3 ฤดูกาลผลิต ก็ไม่พบการเปลี่ยนแปลงที่ลดต่ำลงกว่าเกณฑ์มาตรฐานและไม่แตกต่างจากการให้ปุ๋ยเคมีทางดิน ในด้านผลตอบแทนการผลิตนั้น ถึงแม้ว่าปุ๋ยเคมีในระบบน้ำจะมีราคาต่อหน่วยสูงกว่าปุ๋ยเคมีหว่านทางดิน แต่มีปริมาณการใช้ลดลงและสามารถคงระดับปริมาณผลผลิต คุณภาพผลผลิตไว้ได้ จึงยังคงมีผลตอบแทนมากกว่าการให้ปุ๋ยเคมีทางดินประมาณ 18% ตารางที่ 1 การเจริญเติบโตของต้น การออกดอก ปริมาณผลผลิต คุณภาพผลผลิตและผลตอบแทนของเงาะพันธุ์โรงเรียนที่ทำการให้ปุ๋ยเคมีทางดินและในระบบน้ำ



  วิธีการ

ขนาดทรงพุ่มที่เพิ่มขึ้น

(ตร.ม.)
จำนวนช่อดอกต่อพื้นที่ผิว 1 ตร.ม.(ช่อ) ปริมาณผลผลิตต่อต้น(กก.)(เฉลี่ย 3 ปี ) คุณภาพผลผลิต ผลตอบแทน(บาท/ไร่/ปี) 
สัดส่วนที่บริโภคได้ (%) ความหวาน ( ° Brix)
1. การให้ปุ๋ยเคมีทางดินอัตรา100%(1.0-1.3-1.6 กก.ของN–P2O5– K2O ต่อต้นต่อปี)  131 %   11  28  49  18.8  100%
2. การให้ปุ๋ยเคมีในระบบน้ำ อัตรา 50% ของทางดิน (0.5-0.5-0.7 กก.ของ N – P2O5 – K2O ต่อต้นต่อปี)   125%   14   32   50   19.0   118%
   

มังคุด
           
มังคุดที่ได้รับปุ๋ยเคมีในระบบน้ำอัตรา 50% ของอัตราการหว่านทางดิน (0.5-0.5-0.8 กก. ของ N–P2O5–K2O ต่อต้นต่อปี) ติดต่อกันนาน 3 ฤดูกาลผลิต มีการตอบสนองทางด้านการเจริญเติบโตของต้น เช่น ขนาดทรงพุ่ม ขนาดใบไม่แตกต่างจากการให้ปุ๋ยเคมีทางดิน แต่มีผลตอบสนองต่อการออกดอกได้ดีขึ้นอีก 10-22% มีอัตราการพัฒนาการของผลอ่อนสูงขึ้น ทำให้ได้รับผลมังคุดที่มีขนาดผลและน้ำหนักผลเพิ่มมากขึ้น  โดยมีปริมาณผลขนาดใหญ่พิเศษ (> 100 กรัม/ผล) มากกว่าต้นมังคุดที่ได้รับปุ๋ยเคมีทางดิน 20% ในด้านคุณภาพการบริโภคนั้นยังคงให้คุณภาพที่ดีทั้งรสชาดและสัดส่วนที่บริโภคได้ และมีผลตอบแทนการผลิตเพิ่มมากกว่าการให้ปุ๋ยเคมีทางดินประมาณ 15% 



ตารางที่
2   การเจริญเติบโตของต้น การออกดอก ปริมาณผลผลิต คุณภาพผลผลิตและผลตอบแทน ของมังคุดที่ทำการให้ปุ๋ยเคมีทางดินและในระบบน้ำ เฉลี่ย 3 ฤดูกาลผลิต (2539 – 2542)
 
  วิธีการ

ขนาดทรงพุ่มที่เพิ่มขึ้น

(ตร.ซม.)
จำนวนดอก/ต้น ปริมาณผลผลิตต่อต้น(กก.)(เฉลี่ย 3 ปี) คุณภาพผลผลิต ผลตอบแทน(บาท/ไร่/ปี) 
สัดส่วนที่บริโภคได้ (%) ความหวาน ( ° Brix)
1. การให้ปุ๋ยเคมีทางดินอัตรา 100% (1.0-1.3-1.5 กก.ของ N – P2O5 – K2O ต่อต้นต่อปี)  123 %   1544  61.8  35.7  17.8  100%
2. การให้ปุ๋ยเคมีในระบบน้ำ อัตรา 50% ของทางดิน (0.5-0.5-0.8 กก.ของ N – P2O5 – K2O ต่อต้นต่อปี)   121%   1883   67.7   35.7   17.5   115%



ทุเรียน           
การตอบสนองของทุเรียนพันธุ์หมอนทองที่ทำการให้ปุ๋ยเคมีในระบบน้ำติดต่อกันนาน 3 ปีนั้น โดยทั่วไปแล้วมีการเจริญเติบโตของต้นได้ดี แตกใบใหม่ได้รวดเร็ว มีขนาดใบ น้ำหนักแห้งของใบค่อนข้างสูงกว่าต้นทดลองที่ทำการให้ปุ๋ยเคมีทางดิน ปริมาณการออกดอก ปริมาณผลผลิตต่อต้นใกล้เคียงกับกรรมวิธีเปรียบเทียบ นอกจากนั้นยังช่วยให้คุณภาพการบริโภค เช่น สีเนื้อ ความหนาเนื้อ รสชาดดีขึ้นมาก แต่ในขณะเดียวกันผลทุเรียนที่ได้รับปุ๋ยเคมีในระบบน้ำมักมีผลขนาดใหญ่ เปลือกค่อนข้างหนา ซึ่งทำให้สัดส่วนการบริโภคลดลง จึงควรพิจารณาปัจจัยแวดล้อมที่ส่งเสริมการออกดอก ติดผลได้มากขึ้น เพื่อให้ได้ทุเรียนที่มีคุณภาพดียิ่งขึ้น มะม่วง           

การศึกษาผลของการให้ปุ๋ยเคมีในระบบน้ำต่อการเจริญเติบโต พัฒนาการ ผลผลิตและคุณภาพผลผลิตมะม่วงพันธุ์เขียวเสวย ได้ดำเนินการในสวนเกษตรกร อ.โป่งน้ำร้อน จ.จันทบุรี เป็นเวลาติดต่อกันนาน 3 ปี เช่นกัน ต้นมะม่วงทดลองที่ทำการให้ปุ๋ยเคมีในระบบน้ำอัตรา 40% ของอัตราทางดิน (0.4 –0.6– 0.7 กก. ของ N–P2O5–K2O ต่อต้นต่อปี) มีการเจริญเติบโต ขยายขนาดทรงพุ่มได้รวดเร็ว ไม่แตกต่างจากการให้ปุ๋ยเคมีทางดินอัตรา 100% ส่วนปริมาณผลผลิตและคุณภาพผลผลิตมีแนวโน้มที่ให้ทั้งปริมาณและคุณภาพการบริโภคที่ดีขึ้น โดยเฉพาะรสชาดที่ตรวจสอบจากอัตราส่วนของความหวานต่อปริมาณกรดซิตริกในเนื้อมะม่วง มีปริมาณสูงกว่าผลมะม่วงที่ได้รับปุ๋ยเคมีทางดินอย่างเห็นได้ชัดเจนในทางสถิติ และจากการวิเคราะห์ความเข้มข้นธาตุอาหารพืชหลัก NPK ในดินและในพืชทดลอง พบว่า ต้นทดลองมีความเข้มข้นธาตุอาหารไม่แตกต่างกัน และยังคงมีระดับที่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของพืชได้ตามเกณฑ์มาตรฐานทั่วไปได้ดี




ตารางที่
3   การเจริญเติบโตของต้น การออกดอก ปริมาณผลผลิต คุณภาพผลผลิตและผลตอบแทน ของทุเรียนพันธุ์หมอนทอง ที่ทำการให้ปุ๋ยเคมีทางดินและในระบบน้ำ (2539 – 2542)

 
  วิธีการ  การเจริญเติบโตของต้น  ปริมาณดอก/ต้น ปริมาณผลผลิต (กก./ต้น) (เฉลี่ย 2 ฤดูกาล) คุณภาพผลผลิต ผลตอบแทน(บาท/ไร่/ปี) 
ขนาดใบ(ตร.ซม.) น้ำหนักแห้งใบ(กรัม) สัดส่วนที่      บริโภคได้ (%)  สีเนื้อ  รสชาด
1. การให้ปุ๋ยเคมีทางดินอัตรา 100% (1.3-1.6-1.8 กก.ของ N – P2O5 – K2O ต่อต้นต่อปี)  52  0.4  14,170  147  34.9  Y 10C  7.27  100%
2. การให้ปุ๋ยเคมีในระบบน้ำ อัตรา 60% ของทางดิน (0.8-0.7-1.0 กก.ของ N – P2O5 – K2O ต่อต้นต่อปี)   55   0.6   13,327   168   34.8   Y 10 B   7.92   115%
 ตารางที่ 4   การเจริญเติบโตของต้น การออกดอก ปริมาณผลผลิต คุณภาพผลผลิตและผลตอบแทน ของมะม่วงพันธุ์เขียวเสวยที่ทำการให้ปุ๋ยเคมีทางดินและในระบบน้ำ (2539 – 2542) 
  วิธีการ  ขนาดพื้นที่ผิวทรงพุ่มที่เพิ่มขึ้น (ตร.ม.)  ปริมาณผลผลิตสะสม 2 ฤดูกาล (กก.) คุณภาพผลผลิต ผลตอบแทน(บาท/ไร่/ปี) 
ความหนาเนื้อ(ซม.) สัดส่วนที่บริโภคได้ (%) อัตราส่วนความหวาน /ปริมาณกรด
1. การให้ปุ๋ยเคมีทางดินอัตรา 100% (1.0-1.6-20 กก.ของ N – P2O5 – K2O ต่อต้นต่อปี)  297 %   30.2  1.4  75  5.9  100%
2. การให้ปุ๋ยเคมีในระบบน้ำ อัตรา 40% ของทางดิน (0.4-0.6-0.7 กก.ของ N – P2O5 – K2O ต่อต้นต่อปี)   258%   31.8   1.7   74   6.9   125%
           


จากผลการตอบสนองของไม้ผลทั้ง 4 ชนิดนี้ พอจะกล่าวได้ว่าวิธีการให้ปุ๋ยเคมีพร้อมน้ำสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการน้ำและธาตุอาหารได้ระดับหนึ่ง จากการลดการใช้แรงงานการจัดการน้ำและปุ๋ย และใช้ปุ๋ยปริมาณน้อยลง  แต่ในด้านผลตอบแทนการผลิตยังไม่เป็นที่น่าพอใจนัก เนื่องจากปุ๋ยที่ละลายน้ำได้ดีเหมาะสมต่อการให้ไปในระบบน้ำนั้นมีราคาสูงกว่าปุ๋ยเคมีแบบเม็ดที่ใช้หว่านทางดิน งานวิจัยการให้ปุ๋ยเคมีในระบบน้ำจึงต้องทำการพัฒนางานวิจัยการให้ปุ๋ยเคมีในระบบน้ำให้เหมาะสมและเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรให้มากยิ่งขึ้น ในการดำเนินงานวิจัยพัฒนาได้รวบรวมข้อมูลและแนวทางการวิจัยไว้ 3 ประการเข้าด้วยกัน คือ  การใช้แม่ปุ๋ยผสมเอง การประเมินปริมาณและระดับธาตุอาหารพืชหลักที่พืชต้องการ รวมทั้งการพัฒนาประสิทธิภาพระบบการให้ปุ๋ยเคมีในระบบน้ำ


การใช้แม่ปุ๋ยผสมเอง
 : เป็นการนำแม่ปุ๋ยชนิดต่างๆ มาผสมตามสัดส่วนและปริมาณที่ต้องการ แม่ปุ๋ยเหล่านี้มีคุณสมบัติธาตุอาหารสูงมีความสามารถในการละลายน้ำได้ดี และมีราคาถูกลง 

การประเมินปริมาณ
และระดับธาตุอาหารพืชหลักที่พืชต้องการ  :  สามารถทำได้โดยการนำข้อมูลจากผลการวิเคราะห์ดินและพืชมาเป็นแนวทางการประเมินระดับธาตุอาหารของพืช และความสมบูรณ์ดินปลูก นอกจากนั้นยังได้ทำการประเมินปริมาณธาตุอาหารพืชหลัก NPK ที่พืชสูญเสียไปโดยการเก็บเกี่ยวผลผลิต ซึ่งจะเห็นได้ว่าผลผลิตไม้ผลส่วนใหญ่ถูกเก็บเกี่ยวออกไปจากแปลงโดยไม่มีการนำส่วนเหลือทิ้งกลับคืนให้กับดินปลูก จากการผลิตผลแต่ละฤดูกาลพืชจึงสูญเสียธาตุอาหารไปกับผลผลิตเหล่านี้เป็นปริมาณมากพอควร ในการวางแผนการจัดการธาตุอาหารจึงได้คำนึงถึงปริมาณธาตุอาหารเหล่านี้ เพื่อให้พืชได้รับธาตุอาหารที่เพียงพอเหมาะสมต่อเป้าหมายการผลิต และรักษาสมดุลของธาตุอาหารพืชไว้ได้อีกทางหนึ่ง และจากการนำผลเงาะ มังคุด มะม่วงและทุเรียนในระยะเก็บเกี่ยวไปวิเคราะห์ความเข้มข้นธาตุอาหาร ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมแล้วพบว่ามีปริมาณที่แตกต่างกัน ดังแสดงในตารางที่ 7





ตารางที่ 5
   ปริมาณธาตุอาหารไนโตรเจน ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียม ในผลเงาะพันธุ์โรงเรียน (กรัม/กิโลกรัมผล) มังคุด (กรัม/กิโลกรัมผล) มะม่วงพันธุ์เขียวเสวย (กรัม/กิโลกรัมผล) และทุเรียนพันธุ์หมอนทอง (กรัม/ผล)

 
พืช ปริมาณธาตุอาหารพืช (กรัม)
ไนเตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม
1. เงาะพันธุ์โรงเรียน 2.3 0.4 2.1
2. มังคุด 1.4 0.6 3.6
3. มะม่วงพันธุ์เขียวเสวย 1.6 0.4 1.7
4. ทุเรียนพันธุ์หมอนทอง 6.0 2.4 16.7
 





ตารางที่ 6
   ปุ๋ยชนิดต่างๆ และความสามารถในการละลายน้ำของปุ๋ย (กรัม/ลิตร)

 

ชนิดของปุ๋ย

สูตรปุ๋ย

ความสามารถในการละลายน้ำ

1. แอมโมเนียมคลอไรด์

NH4Cl 389

2. แอมโมเนียมไนเตรท

NH4NO3

1,950

3. โมโนแอมโมเนีย ฟอสเฟต

NH4 H2PO4

282

4. ไดแอมโมเนียม ฟอสเฟต

(NH4 )2HPO4

610

5. แอมโมเนียม ซัลเฟต

(NH4 )2SO4

760

6. โพแทสเซียม คลอไรด์

KCl

347

7. โพแทสเซียม ไนเตรท

KNO3

316

8. โพแทสเซียม ซัลเฟต

K2SO4

110

9. โมโนโพแทสเซียม ฟอสเฟต

KH2PO4

300

10. ไดโพแทสเซียม ฟอสเฟต

K2HPO4

1,670

11. แคลเซียม ไนเตรท

CaNO3

3,270

12. แมกนีเซียม ไนเตรท

Mg (NO3)2

430

13. ฟอสฟอริค แอสิค

H3PO4

5,400

14. ยูเรีย

(NH2)2CO

1,100

     
 

ที่มา : D.Pitts.,Handout of Micro irrigation management workshop series.
         Southwest Florida Research and Education Centre.University of Florida.    

ความสามารถการละลายน้ำได้ที่อุณหภูมิ ประมาณ 70 องศาฟาเรนท์ไฮท์



ตารางที่ 7   ความสามารถในการเคลื่อนที่ในดินของปุ๋ยชนิดต่างๆ
 
เคลื่อนที่ได้ดี เคลื่อนที่ได้น้อย
1. ยูเรีย  1. แอมโมเนียม
2. ไนเตรท  2. โพแทสเซียม
   3. ฟอสเฟต
 
ที่มา :   S. McNab. et al. 1995. 


การพัฒนาประสิทธิภาพระบบการให้น้ำและปุ๋ย
: จากการวิจัยการพัฒนาระบบการให้น้ำและปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพสำหรับสวนทุเรียน ภายใต้โครงการวิจัยของสำนักงานกองทุนวิจัยแห่งชาติ ซึ่งได้ทำการศึกษาและแนะนำวิธีการออกแบบระบบน้ำที่เหมาะสม โดยพิจารณาข้อมูลเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม ข้อมูลทางดิน (เนื้อดิน, ความสามารถในการอุ้มน้ำของดิน, ความลึกดิน ฯลฯ)  ข้อมูลทางสภาพภูมิ-อากาศ และข้อมูลเกี่ยวกับพืช โดยเฉพาะข้อมูลการใช้น้ำของพืช ซึ่งนำมาออกแบบระบบน้ำให้เหมาะสมต่อพืช และเมื่อใช้ร่วมกับระบบควบคุมการให้น้ำ เช่น Tensiometer ทำให้ระบบการให้ปุ๋ยพร้อมน้ำมีประสิทธิภาพได้มากยิ่งขึ้น 



การพัฒนาการให้ปุ๋ยเคมีในระบบน้ำที่เหมาะสมต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมังคุดและทุเรียน

จากการพัฒนาการให้ปุ๋ยเคมีในระบบน้ำให้เหมาะสมต่อการผลิตมังคุดและทุเรียน ได้ดำเนินการวิจัยในสวนเกษตรกร ต.ตะปอน อ.ขลุง จ.จันทบุรี และแปลงปลูกทุเรียนพันธุ์หมอนทองของศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี โดยผลการทดลองในปีแรกพบว่า สามารถลดต้นทุนค่าใช้จ่ายปุ๋ยลงได้ต่ำกว่าการให้ปุ๋ยเคมีแบบเม็ดหว่านทางดินอีกประมาณ 15-30% โดยการให้ปุ๋ยเคมีในอัตราลดลง ตามเกณฑ์การประเมินระดับความต้องการที่สอดคล้องต่อปริมาณผลผลิตเป้าหมาย และความสมบูรณ์ของดิน และนำแม่ปุ๋ยที่ให้ธาตุอาหารไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม เช่น ยูเรีย โพแทสเซียมไนเตรท โมโนโพแทสเซียมฟอสเฟต ฯลฯ มาผสมใช้เอง ต้นทดลองยังคงมีปริมาณการออกดอก ผลผลิต และคุณภาพผลผลิต  ไม่ด้อยไปกว่าการให้ปุ๋ยเคมีแบบเม็ดหว่านทางดิน อัตรา 100%

              
ในขณะที่งานวิจัยพัฒนาได้ดำเนินการทดสอบในสภาพแปลงปลูกนั้น ยังได้ทำการวิเคราะห์ดินและส่วนต่างๆ ของพืชเพื่อนำข้อมูลมาปรับระดับธาตุอาหารที่พืชต้องการให้เหมาะสมยิ่งขึ้น โดยเฉพาะผลผลิตทุเรียนที่มีองค์ประกอบของโพแทสเซียมสูงมาก จึงได้มีการวิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหารในผลอ่อนระยะต่างๆ เพิ่มขึ้น เพื่อให้ได้ข้อมูลการจัดการธาตุอาหารเหล่านี้ให้ทันต่อความต้องการในการเจริญเติบโตของผลทุเรียน ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพผลผลิตทุเรียนให้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย



www.fruitboard.doae.go.th/Data/soil&fertilizer/nutrient/.../KUhome1.doc









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-08-25 (1036 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©