-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 361 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

เทคโนฯ เกษตร








วิธีการใส่ปุ๋ย

      
การใส่ปุ๋ย หมายถึง วิธีการให้ธาตุอาหารแก่พืชในส่วนที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืชที่ได้จากดิน และเพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพ วิธีการใส่ปุ๋ยที่ถูกต้อง ควรเลือกใช้วิธีการที่ถูกหลักทางเศรษฐกิจ และมีประสิทธิภาพสูงสุด


หลักการในการพิจารณาการใส่ปุ๋ย

วิธีการใส่ปุ๋ยเคมีที่มีสถานะแตกต่างกัน







วิธีการใส่ปุ๋ยเคมีที่มีสถานะแตกต่างกัน มีหลายวิธีการดังนี้ คือ

1. การใส่ปุ๋ยที่อยู่ในรูปแก๊ส ได้แก่ การใส่แอนไฮดรัสแอมโมเนียมีวิธีการใส่ดังนี้ คือ

1.1 ใส่ลงดินดดยตรงด้วยเครื่องมือชนิดพิเศษจะต้องใส่ในระยะความลึกไม่ต่ำกว่า 10-15 เซนติเมตร ในขณะที่ดินมีความชื้นพอเหมาะหากเป็นดินเนื้อหยาบควรใส่ลึกกว่านี้เล็กน้อย

1.2 พ่นฟองแอมโมเนียลงในร่องนำชลประทาน เพื่อให้แอมโมเนียละลายน้ำแล้วกระจายไปกับน้ำสู่ดินอย่างทั่วถึง ทั้งนี้ควรระมัดระวังการสูญหายของก๊าซแอมโมเนียด้วย

      
2. การใส่ปุ๋ยชนิดแข็ง
มีวิธีการใส่ 2 ขั้นตอนด้วยกันคือ
2.1 การใส่ก่อนปลูกหรือพร้อมกับการปลูก (Basal application) เรียกปุ๋ยที่ใช้ในวิธีการนี้ว่า ปุ๋ยรองพื้นหรือรองก้นหลุม (ถ้าปลูกพืชเป็นหลุม) การใส่ปุ๋ยที่ค่อนข้างละลายง่ายพร้อมกับการหยอดเมล็ดหรือก่อนหยอดเมล็ด ควรใส่ในระยะที่ปุ๋ยอยู่ไม่ห่างจากเมล็ดมากนัก เพื่อให้กล้าอ่อนได้ใช้ประโยชน์โดยเร็ว และเจริญเติบโตได้ดีในระยะแรก ปุ๋ยรองพื้นเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า ปุ๋ยเร่งต้นอ่อน (Starter fertilizer)

   
2.2 ใส่ปุ๋ยแต่งหน้า (Top dressing) คือ การใส่ปุ๋ยขณะที่มีการปลูกพืชอยู่ในพื้นที่แล้วเป็นการใส่ปุ๋ยเสริมปุ๋ยรองพื้นจากที่เคยใส่ก่อนปลูกเพื่อให้พืชได้รับปุ๋ยนั้นๆอย่างเพียงพอ วิธีการนี้เหมาะสำหรับปุ๋ยไนโตรเจนและควรมีการพิจารณาจำนวนครั้งที่ใส่ตามความเหมาะสม การใส่ปุ๋ยรองพื้นและปุ๋ยแต่งหน้ามี 4 วิธี ที่ควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะของพืชที่ปลูกดังนี้

   
- โรยเป็นแถวแคบ (Banding) เป็นวิธีที่เหมาะสมกับพืชที่ปลูกเป็นแถว โดยโรยปุ๋ยเป็นแถบข้างๆ แถวพืช ข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างก็ได้ หากเป็นการใส่พร้อมกับการหยอดเมล็ดจะต้องระวังไม่ให้แนวปุ๋ยอยู่ใกล้มล็ดพืชเกินไป เพราะความเค็มของปุ๋ยจะทำลายการงอกของเมล็ด เช่น การปลูกถั่วด้วยเครื่องปลูก ควรบังคับปุ๋ยให้อยู่สองข้างแถวเมล็ด ห่างจากแถวเมล็ดข้างละ 5 เซนติเมตร และลึกกว่าระดับเมล็ด 5 เซนติเมตร

   
- โรยเป็นแถวกว้าง (Strip placement) เป็นวิธีการใส่ปุ๋ยที่ขยายแถบปุ๋ยให้กว้างในระหว่างแถวพืช ซึ่งจะช่วยให้ดินบริเวณที่รับปุ๋ยได้มากขึ้น แต่เป็นการเพิ่มความเข้มข้นของธาตุอาหารที่สูงขึ้นกว่าการหว่านทั่วแปลงแต่ไม่เข้มข้นสูงเหมือนแนวที่ได้รับการโรยเป็นแถบแคบจึงช่วยการกระจายของปุ๋ย และลดการตรึงปุ๋ยของดินได้

   
- การหว่านทั่วทั้งแปลง (Broadcasting) เพื่อให้ปุ๋ยมีการกระจายอย่างสม่ำเสมอทั่วพื้นที่ เป็นการปฏิบัติก่อนการปลูกเมื่อหว่านเสร็จแล้วอาจพรวนกลบก็ได้ หรือการใส่ปุ๋ยแต่งหน้าในนาข้าว

   
- ใส่เป็นจุด (Loalized placement) หมายถึง การใส่ปุ๋ยที่ขุดหรือรูที่เจาะไว้เป็นการเฉพาะเท่านั้น วิธีนี้ใช้ได้ผลดีเฉพาะไม้ยืนต้น ที่มีการกกระจายของรากพืชหลายระดับแลหลายทิศทาง เช่น การใส่ปุ๋ยไม้ผลที่มีการเจริญเติบโตแล้ว

การใส่ปุ๋ยลงไปในตำแหน่งที่เหมาะสมกับระบบรากพืช จะมีขอบเขตที่ไม่แพร่กระจายบนผิวดิน จะช่วยให้การเจริญเติบโตในระยะแรกที่ดีขึ้นและเป็นการจำกัดการเจริญเติบโตของวัชพืชดวย และเหมาะสำหรับปุ๋ยที่เคลื่อนย้ายได้น้อย เช่น ปุ๋ยฟอสเฟตที่โรยปุ๋ยเป็นแถวลึกกว่าเมล็ด 2 นิ้วให้ผลดีกว่าการโรยเป็นแถวข้างเมล็ด โดยห่างจากเมล็ดนิ้วครึ่งและลึกลงไป 2 นิ้ว

   
2.3 การใส่ปุ๋ยในลักษณะที่เป็นของเหลว

1. การใส่ปุ๋ยร่วมกับการให้น้ำ เป็นการใส่ปุ๋ยในอ่างเก็บน้ำแล้วสูบระบบการทำฝนเทียมหรือการพ่นฝอย (Sprinkling system) พืชที่ได้รับปุ๋ยทั้งทางใบและทางราก วิธีนี้เหมาะกับดินเนื้อหยาบ แต่ควรพิจารณาคุณสมบัติของปุ๋ยบงชนิดที่จะก่อให้เกิดปฏิกิริยา และทำให้เกิดการตกตะกอนในถังน้ำ ตะกอนเหล่านั้นอาจจะอุดตันในระบบพ่นฝอย วิธีการใส่ปุ๋ยแบบนี้ เรียกว่า Fertigation ซึ่งเป็นวิธีที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้ปุ๋ย หรือในการให้ปุ๋ยร่วมกับระบบชลประทาน ได้แก่ การใส่ปุ๋ยโดยการละลายปุ๋ยในน้ำชลประทานที่จะให้กับพืชในระดับใต้ผิวดิน หรือเหนือผิวดิน เช่น ในระบบน้ำหยด ซึ่งวิธีการนี้พืชจะได้รับน้ำชลประทานและปุ๋ยเคมีไปพร้อมๆ กันในเวลาเดียวกัน วิธีการใช้ปุ๋ยวิธีนี้จัดได้ว่าเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูง ประหยัดแรงงาน และมีต้นทุนค่าใช้จ่ายในระยะยาวต่ำกว่าการให้ระบบพ่นฝอย

      
2. การฉีดพ่นทางใบ (Foliar sprays) เป็นการใส่แบบฉีดพ่นให้กับพืชโดยทางใบ โดยการฉีดปุ๋นที่ละลายน้ำได้ง่ายให้เป็นละอองน้ำจับที่ใบหรือส่วนของต้นพืชเหนือดินเป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถทำให้พืชได้รับธาตุอาหารเพิ่มเติมจากที่เราจะดึงดูดขึ้นมาได้จากดิน อย่างไรก็ตาม การให้ปุ๋ยทางใบหรือส่วนของต้นเหนือดิน ถึงแม้ธาตุอาหารที่ฉีดให้จะสามารถเข้าสู่พืชได้เร็ว แต่ปริมาณธาตุอาหารที่ดูดซึมเข้าสู่พืชมักจะน้อย ดังนั้นการให้ปุ๋ยโดยวิธีการนี้เหมาะสำหรับการให้ธาตุอาหารเสริมแก่พืช และพืชที่มีระบบรากถูกทำลาย



หลักการพิจารณาการใช้ปุ๋ยทางใบให้มีประสิทธิภาพ มีดังต่อไปนี้

1. พืชที่มีจำนวนของใบมากและมีแผ่นใบใหญ่ ก็จะมีพื้นที่ผิว (Surface area) ที่จะรับละอองปุ๋ยได้มาก และมีการดูดซึมธาตุอาหารได้สูงกว่าพืชที่มีใบเล็ก เนื่องจากใบมีช่องว่างซึ่งมีโอกาสให้ธาตุอาหารต่างๆ เคลื่อนเข้าไปสู่พืชได้ จึงมีการพัฒนาปุ๋ย ให้สามารถดูดไปใช้ได้โดยผ่านเข้าทางปากใบ ซึ่งโดยเฉลี่ยพืชมีปากใบ 100-300 ต่อตารางมิลลิเมตร ผิวใบด้านล่างมีจำนวนปากใบมากกว่าผิวด้านบน การมี่พืชมีปากใบเป็นจำนวนมากย่อมทำให้ธาตุอาหารพืชมีโอกาสเข้าสู่ใบได้มาก แต่อย่างไรก็ตามนอกจากปากใบแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นอีกที่ควบคุมการดูดธาตุอาหารเข้าสู่ใบพืช เช่น ชั้นคิวติเคิล ผนังเซลซูโลส และพลาสมาเมนเบรน ทั้งนี้สารละลายจะต้องผ่านชั้นเหล่านี้ให้ได้ก่อนจึงจะเข้าสู่เซลล์พืชได้

   
2. ความเข้มข้นของปุ๋ยที่ใช้ ถ้าใช้เกินอัตราพอดีจะทำให้อัตราการดูดซึมได้ช้า และเป็นอันตรายต่อพืชอีกด้วย เช่น การใช้ปุ๋ยยูเรียควรมีความเข้มข้นของไบยูเร็ต (Biuret) ต่ำกว่าร้อยละ 0.25 หากสูงกว่านี้จะทำให้ใบไหม้ และถ้าใส่ลงในดินก็ไม่ควรมีไบยูเร็ตสูงกว่าร้อยละหนึ่งจึงจะปลอดภัยแก่การใช้ ไบยูเร็ตเกิดขึ้นในกระบวนการผลิตในขั้นตอนที่ใช้ความร้อน ถ้าการควบคุมอุณภูมิไม่เหมาะสมในขั้นนี้ ยูเรีย 2 โมเลกุลรวมตัวกันได้ไบยูเร็ต 1 โมเลกุลและแอมโมเนีย1 โมเลกุล นอกจากนี้พืชแต่ละชนิดจะมีความทนทานต่อความเข้มข้นของสารละลายปุ่ยแตกต่างดังแสดงในตารางที่ 8-1 แม้พืชพันธุ์เดียวกันแต่ในใบอ่อนและอวบน้ำ จะไม่อาจทนต่อสารละลายที่มีความเข้มข้นสูงได้เท่ากับใบแก่หรือใบที่หนาและแข็ง ทั้งนี้เนื่องจากใบอ่อนดูดยูเรียตลอดจนอนุมูลอื่นๆ เช่น P, Mg, K , Zn และ Mn ได้รวดเร็วกว่าใบแก่แม้จะใช้ความเข้มข้นเดียวกัน ขนาดของหยดหรือละอองที่พ่นจับผิวใบก็ให้ผลแตกต่างกัน กล่าวคือ ละอองของสารละลายที่ใหญ่จะก่อให้เกิดใบไหม้ได้ง่ายกว่าละอองเล็ก
ตารางที่ 8-1 แสดงอัตราของปุ๋ยยูเรียที่พืชทนได้ (น้ำหนักของยูเรียเป็น กิโลกรัมต่อน้ำ 100 ลิตร)

พืช อัตราที่ทนได้

พืชต่างชนิดกัน ระยะเวลาการดูดซึมในพืชต่างชนิดกันได้เร็วช้า มากน้อยแตกต่างกัน

   
3. ปุ๋ยชนิดต่าง พืชจะใช้เวลาต่างดูดซึมได้เร็วต่างกัน อาทิ เช่น ไนโตรเจนในรูปของยูเรีย จะถูกดูดซึมเข้าไปได้เร็วกว่าฟอสฟอรัสและโพแทสเซียม

   
4. พืชที่ขาดธาตุอาหารนั้นๆ เมื่อได้รับปุ๋ย พืชก็จะดูดปุ๋ยได้ดีและเร็วกว่าพืชที่ไม่ขาดธาตุอาหารนั้นๆ

   
5. การเคลื่อนที่ (Mobility) ของธาตุอาหารต่างๆ จะแตกต่างกันตามชนิดของธาตุอาหารและรูปของธาตุอาหารนั้นๆ






อัตราการใช้ปุ๋ยเคมีที่เป็นธาตุอาหารเสริม


ปุ๋ยเคมีที่ใช้ธาตุอาหารเสริมจะอยู่ในรูปของเกลือและคีเลต โดยจะมีปริมาณของธาตุอาหารเสริมที่อยู่ในรูปที่พืชนำไปใช้ประโยชน์ดังนี้ และมีอัตราการใช้เป็นปุ๋ยทางใบ

ธาตุอาหารเสริม
ในรูปของ
อัตราการใช้
โบรอน (B)
ทองแดง (Cu)
เหล็ก (Fe)
โพแทช (K)
แมกนีเซียม (Mg)

แมงกานีส (Mn)
โมลิบดีนัม (Mo)
ไนโตรเจน (N)


ฟอสฟอรัส (P2O5)
สังกะสี (Zn)

เกลือโบเรตหรือกรดบอริก
เกลือซัลเฟตหรือคลอไรด์
เกลือซัลเฟตหรือคลอไรด์
โพแทสเซียมไนเตรต
เกลือซัลเฟตหรือไนเตรต

เกลือซัลเฟตหรือคลอไรด์
เกลือโซเดียมหรือแอมโมเนียม
ปกติใช้ยูเรียผสมน้ำ


เกลือซัลเฟตหรือคลอไรด์


150 กรัมต่อน้ำ 32 ลิตร

10 กรัมต่อน้ำ 40 ลิตร

0.1-0.4 เปอร์เซ็นต์
3-4 เปอร์เซ็นต์ ทุกๆ 15-20 วัน
2 เปอร์เซนต์ของสารพ่น 2-4 ครั้ง
7 กรัม / น้ำ 2 ลิตร
10-50 กรัม / น้ำ 100 ลิตร
ไม่เกิน 0.5-1.0 เปอร์เซ็นต์ ถ้าใช้กับ หอม ฝ้าย มันฝรั่ง ใช้ 2 เปอร์เซ็นต์
ไม่เกิน 0.37 เปอร์เซ็นต์




สภาพที่เหมาะสมบางประการในการเลือกใช้การให้ปุ๋ยทางใบ มีดังนี้ คือ

1. เมื่อพืชแสดงอาการขาดธาตุอาหาร และจะเป็นการช้าเกินไปถ้าจะให้แต่ปุ๋ยทางดินเท่านั้น เช่นเมื่อระบบรากถูกทำลายหรือเพิ่งเริ่มย้ายปลูก

2. เมื่อพืชแสดงอาการขาดธาตุอาหารเสริม และมีปัญหาเกี่ยวกับสมบัติของดินบางประการ เช่น ดินอาจเป็นดินด่างที่มีสมบัติตรึงเหล็กได้สูง การใช้ปุ๋ยเหล็กทางดินอาจไม่มีผลเหมือนการใช้ปุ๋ยทางใบ เป็นต้น

3. เป็นธาตุอาหารเสริมที่พืชต้องการเพียงเล็กน้อย

4. เมื่อจำเป็นต้องมีการฉีดยาป้องกันและกำจัดโรคแมลงศัตรูพืชอยู่แล้ว การใช้ปุ๋ยทางใบอาจใช้ผสมไปกับสารเคมีควบคุมศัตรูพืชพร้อมๆกันก็ได้

5. เมื่อต้องการเสริมธาตุอาหารพืชนอกเหนือจากที่พืชได้รับจากทางรากเท่านั้น

6. จะตอบสนองกับพืชที่มีพื้นที่ผิวใบทั้งหมดสูง คือใบใหญ่และจำนวนมากเพราะจะรับละอองปุ๋ยได้มาก

7. เพื่อเพิ่มคุณภาพการติดดอกและคุณภาพของผล

8. ควรเลือกใช้ในช่วงที่มีอุณหภูมิต่ำ แดดไม่จัดและมีความชื้นสัมพัทธ์สูงเพื่อให้สารละลายคงรูปอยู่ ไม่แห้งติดใบ ซึ่งเป็นการยากต่อการดูดซึมเข้ารูใบ






ข้อจำกัดในการให้ปุ๋ยทางใบ

1. การพ่นปุ๋ยน้ำให้มีละอองเล็กและรวดเร็วต้องใช้เครื่องมือพิเศษ

2. พืชหลายชนิดไม่ค่อยตอบสนองต่อการพ่นปุ๋ยทางใบ องค์ประกอบทางเคมี และสัณฐานลักษณะของพืชมีผลกระทบต่อการเกาะติดที่ใบและการใช้ประโยชน์จากปุ๋ย

3. หากใช้อัตราสูงเกินไปอาจเกิดอาการใบไหม้ได้อย่างรุนแรงกว่าการใส่ในดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ปุ๋ยจุลธาตุจะต้องระมัดระวังในเรื่องอัตราที่ใช้อย่างมาก มิฉะนั้นอาจเกิดความเสียหายได้

4. ต้องไม่ใช้ปุ๋ยทางใบในขณะที่พืชเหี่ยวเฉาหรือขาดน้ำ หรืออากาศร้อนจัด หรือเมื่อคาดว่าฝนจะตก

5. ปุ๋ยเคมีชนิดน้ำ อาจมีก๊าซเกิดขึ้นซึ่งอาจเป็นอันตรายได้ ควรเปิดด้วยความระมัดระวัง

6. โดยปกติปุ๋ยที่มักใช้อยู่ในรูปของอนินทรีย์สาร ซึ่งมาฤทธิ์ในการกัดกร่อนอุปกรณ์การพ่นปุ๋ยมากกว่าสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชทั่วๆไป

7. ปุ๋ยที่มีราคาแพง จึงควรฉีดพ่นให้สัมผัสใบมากที่สุด





การสูญเสียปุ๋ยเคมีไปจากดิน

ประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยของพืชจึงขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อการเปลี่ยนรูปของปุ๋ยเคมีเมื่อเกิดปฏิกิริยาต่างๆ ในดิน และเกิดการสูญเสียได้หลายทางด้วยกัน ดังนี้ คือ

1. การสูญเสียธาตุอาหารโดยการชะล้าง น้ำไหลบ่าและกษัยการในดินเนื้อหยาบ ดินที่มีไฮดรัสออกไซด์ของเหล็กและอะลูมินัมสูง ดินมีความจุในการแลกเปลี่ยนไอออนประจุบวกต่ำ จะมีการสูญเสียธาตุอาหารเกิดขึ้นอย่างรุนแรงในฤดูฝน ธาตุไนโตรเจนจะสูญเสียในรูปไนเตรตมาก เมื่อฝนตกหนักและน้ำไหลบ่าบนผิวดิน จะมีการสูญเสียปุ๋ยไนเตรตที่ละลายน้ำกับบางส่วนที่ดูดซับกับผิวของคลอลอยด์ในดิน ไนเตรตเหล่านี้จะถูกชะล้างลงไปสะสมในแหล่งน้ำ ธาตุอาหารพืชที่มีการสูญเสียโดยการชะล้างรองลงมาได้แก่ โพแทสเซียม ส่วนฟอสฟอรัสสูญเสียโดยการชะล้างน้อยที่สุด

สำหรับดินที่มีการชะล้างสูงๆ จะมีวิธีการลดการสูญเสียไนโตรเจนและโพแทสเซียมโดยการชะล้างได้ โดยมีการแบ่งการใส่เป็นปุ๋ยแต่งหน้าเป็น 2 ครั้ง เพื่อที่จะให้พืชใช้ประโยชน์จากปุ๋ยได้ทันที และเหมาะสมต่อระยะการเจริญเติบโตของพืชและพืชสามารถดูดไปในอัตราที่ค่อนข้างสูง ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยของพืชได้ดีกว่าการใส่ปุ๋ยทั้งหมดก่อนปลูก หรือการใช้ปุ๋ยที่มีขนาดเม็ดโตขึ้น ปุ๋ยละลายช้าหรือปุ๋ยที่มีการควบคุมความเป็นประโยชน์ ก็เป็นการช่วยลดการสูญเสียปุ๋ยโดยกสนชะล้างได้

การสูญเสียของไอออนประจุลบไปกับการชะล้างจะมากหรือน้อยจะขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝนที่ดินได้รับ และสมบัติในกานดูดซับไอออนประจุลบของดินนั้น เช่น ดินที่มีออกไซด์ของเหล็กและอะลูมินัมสูง ถ้ามีระดับความเป็นกรดเป็นด่าง = 6 หรือต่ำกว่า จะดูดซับไนเตรตได้เพียงเล็กน้อย เมื่อเปรียบเทียบระหว่างไอออนประจุลบด้วยกันแล้ว ซัลเฟตจะดูดซับกับดินได้เหนียวแน่นกว่าไนเตรต ดินที่เป็นกรดจะมีความสามารถดูดซับไอออนประจุลบได้มากขึ้น ขณะเดียวกันความเป็นกรดของดินจะช่วยชะลอกระบวนการทางชีวภาพ เช่น ไนตริฟิเคชัน (Nitrification) จึงมีการสูญเสียไนเตรตน้อยลง

2. การสูญเสียไนโตรเจนในรูปก๊าซ
การสูญเสียไนโตรเจนในรูปก๊าซจากดิน เกิดขึ้นโดยสองกระบวนการ คือ
1.1 ดีไนตริฟิเคชัน (Denitrification) เป็นการสูญเสียไนโตรเจนในสภาพที่ใช้ปุ๋ยในรูปไนเตรตในดินที่ขาดออกซิเจน ส่วรยูเรียและปุ๋ยแอมโมเนียมนั้น เมื่อถูกเปลี่ยนรูปในดินเป็นไนเตรต และดินนั้นอยู่ในสภาพที่มีน้ำขังหรือมีการขาดแคลนออกซิเจนในภายหลัง ก็จะสูญเสียโดยกระบวนการนี้เช่นกัน การพรวนดิน และระบายน้ำในดิน ทำให้มีปริมาณออกซิเจนเพียงพอจะลดการสูญหายของปุ๋ยในลักษณะนี้ ดังนั้นการใช้ปุ๋ยในนาข้าวน้ำขังควรเลือกใช้ปุ๋ยเชิงเดี่ยวหรือปุ๋ยเชิงประกอบ ที่มีไนโตรเจนในรูปแอมโมเนียมหรือยูเรีย จะลดการสูญเสียจากกระบวนการนี้ได้

1.2 การระเหยของแอมโมเนียมจากปุ๋ย ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อมีการใส่ปุ๋ยยูเรียในดินที่เป็นกรดจนถึงเป็นด่าง และปุ๋ยแอมโมเนียมในดินที่เป็นกลางถึงเป็นด่าง เมื่อหว่านปุ่ยทั้งสองประเภทนี้บนผิวดิน ดังนั้นควรใส่ปุ๋ยโดยการพรวนกลบใต้ผิวดินประมาณ 5 เซนติเมตร จะลดการสูญหายไปได้มาก ลักษณะดินที่ส่งเสริมให้เกิดการสูญเสียแอมโมเนีย จากปุ๋ยแอมโมเนียมและยูเรียมากขึ้น ได้แก่ ดินมีความจุในการแลกเปลี่ยนไอออนประจุบวกต่ำ ดินเนื้อหยาบ ดินเป็นด่าง และดินที่มีความชื้นในดินต่ำ

1.3 การตรึงฟอสฟอรัสในดิน การสูญเสียฟอสฟอรัสโดยการถูกตรึงเกี่ยวข้องกับอัตราปุ๋ยที่ใช้ ดังนั้นควรใส่ในปริมาณที่เพียงพอแก่พืช เช่น ใส่ในอัตราที่สูงในดินที่ตรึงฟอสฟอรัสมาก และใช้ในอัตราที่ต่ำลงในดินที่ตรึงปุ๋ยนี้ได้น้อย ระดับความเป็นกรดเป็นด่างของดินต่ำ ฟอสเฟตจะถูกตรึงโดยไอออนบวกที่ละลายได้ของ Al+3 และ Fe+3 และเมื่อระดับความเป็นกรดเป็นด่าง สูงขึ้นจาก 6 จนถึง 8 จะถูกตรึงโดย Ca+2, Mg+2 และ CaCO3




วิธีการลดการตรึงปุ๋ยฟอสเฟตในดิน มี 6 วิธี คือ
1. ใส่ครั้งเดียวเท่ากับความสามารถในการตรึงของดิน และควรพิจารณาถึงการใช้ปุ๋ยอัตราสูง ซึ่งอาจจะกระทบกระเทือนต่อสมดุลของธาตุอาหารอื่นเพียงใด

      
2. โรยปุ๋ยที่ละลายได้ง่ายเป็นแถวแคบให้เพียงพอกับความต้องการพืชในแต่ละระยะการเจริญเติบโตและฤดูปลูก เพื่อลการสัมผัสระหว่างปุ๋ยกับดิน ซึ่งจะทำให้การตรึงเกิดน้อยลงไป อัตราปุ๋ยที่ใช้ควรน้อยกว่าแบบหว่านทั่วแปลง แต่สำหรับดินที่มีระดับฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ต่ำเกินไป การโรยเป็นแถวแคบอาจให้ผลน้อยกว่าการดรยเป็นแถวกว้างหรือบางส่วนหว่านทั่วแปลงแต่บางส่วนโรยเป็นแถวแคบ

      
3. ใส่ปุ๋ยละลายช้าอย่างเดียวหรือใส่ร่วมกับปุ๋ยที่ละลายน้ำง่าย

      
4. ควรใช้ปุ๋ยที่มีขนาดเม็ดใหญ่ คือ ปุ๋ยที่ละลายน้ำง่ายควรผลิตเป็นเม็ดใหญ่ เนื่องจากปุ๋ยเม็ดจะทำปฏิกิริยากับดินช้า แม้จะหว่านทั่วแปลงก็พบว่าประมาณร้อยละ 2 ของปริมาตรของดินเท่านั้น ที่สัมผัสกับปุ๋ย และถ้าใส่เป็นแถวแคบ จะลดการสัมผัสลงไปได้อีก

      
5. ปรับระดับความเป็นกรเป็นด่าง ( ความเป็นกรดเป็นด่าง ) ของดินให้อยู่ระหว่าง 6-7

6. เพิ่มปริมาณอินทรีย์วัตถุในดิน เพื่อให้ไอออนลบของอินทรียวัตถุตรึงแทนฟสเฟตและกรดอินทรีย์จากการสลายตัวของอินทรียวัตถุจะทำปฏิกิริยา กับ Fe+3 Al+3 ทำให้ลดปริมาณ Fe+3 และ Al+3 ลง จึงมีผลทำให้ลดการตรึงฟอสเฟตได







การตรึงโพแทสเซียม เกิดจากสาเหตุดังนี้

1. แร่ดินเหนียวที่ตรึงโพแทสเซียมได้มาก คือ อิลไลต์เวอร์คิวไลต์ และคลอไรด์ เนื่องจากแร่ดินเหนียวเหล่านี้มีประจุลบเกิดในแผ่นซิลิกา (Si-sheet) ส่วน มอนต์อริลโลไนต์จะไม่ตรึงโพแทสเซียม

2. การถ่ายทอดอากาศในดินมีผลต่อการดุดโพแทสเซียมของรากพืช ในดินที่มีการถ่ายเทอากาศเลว เนื่องจากดินชื้นเกินไปหรือดินแน่นทึบ รากพืชจะดูดะาตุนี้ได้น้อย และการดูดดพแทสเซียมจะลดลงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการดูดไนโตรเจนและฟอสฟอรัสของพืชชนิดเดียวกัน

      


อุปสรรคที่ขัดขวางการเจริญเติบโตของราก

การเจริญและพัฒนาของรากเป็นการขยายพื้นที่ผิว สำหรับการดูดธาตุอาหาร และเป็นการเคลื่อนที่ของเนื้อเยื่อรากไปหาปุ๋ย ดังนั้นปัจจัยใดที่ขัดขวางการเจริญเติบโตของรากย่อมทำให้พืชได้ปุ๋ยน้อยลงปัจจัยเหล่านี้ได้แก่
1. รากถูกตัดด้วยเครื่องมือถูกแมลงกัด ไส้เดือนฝอยทำลาย และรากพืชเป็นโรค

2. ดินแน่นทึบทำให้การระบายน้ำและถ่ายเทอากาศเลว และความชื้นของดินต่ำหรือสูงเกินไป
3. อุณหภูมิของดินต่ำหรือสูงเกินไป
4. ขาดแคลนธาตุอาหารอื่นๆ บางธาตุ แล้วยังไม่ได้แก้ไขมีสารพิษในดิน




ผลกระทบจากการใช้ปุ๋ยต่อความเป็นกรดเป็นด่างของดิน
ผลกระทบจากการใช้ปุ๋ยเคมีติดต่อกันเป็นเวลานานๆ จะทำให้ความเป็นกรดเป็นด่างของดินเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เช่น ดินที่เคยเป็นกลางก็จะกลายเป็นกรดหรือด่าง ซึ่งจะเกิดจากการใช้ปุ๋ยดังต่อไปนี้
1. การใช้ปุ๋ยโพแทส ปุ่ยโพแทสเซียมคลอไรด์หรือโพแทสเซียมซัลเฟต จะไม่ทำให้ความเป้นกรดเป้นด่างของดินเปลี่ยนอย่างถาวร อาจเปลี่ยนแปลงบ้างเล็กน้อยหลังการใส่ปุ่ยแต่จะกลับคืนสู่สภาพเดิมไม่นานนัก

2. การใช้ปุ๋ยฟอสเฟต ในกรณีที่มีปุ๋ยโมโนแคลเซียมฟอสเฟตเป็นองค์ประกอบ เช่น ปุ๋ยซูเปอร์ฟอสเฟต เมื่อปุ๋ยดังกล่าวได้รับความชื้นจากดินโมโนแคลเซียมฟอสเฟตจะถูกไฮโดรไลส์ได้กรดออร์โธฟอสฟอริกกับแคลเซียมโมโนไฮโดรเจนฟอสเฟต กรดข้นที่เยิ้มออกมานี้มีความเป็นกรดด่าง 1.5 ซึ่งหากเมล็ดพอยู่ใกล้กับเม็ดปุ๋ยเกินไปย่อมเป็นอันตราย อย่างไรก็ตามกรดฟอสฟอริกจะทำปฏิกิริยากับเหล็ก อะลูมินัม และแมงกานีสที่มีอยู่ในดินทำให้ฤทธิ์กรดหายไป ปุ๋ยซูเปอร์ฟอสเฟตจึงมีสมมูลกรดและสมมูลด่างเท่ากับศูนย์ หรือไม่ทำให้ความเป็นกรดเป็นด่างของดินเปลี่ยนแปลง

ปุ๋ยแอมโมเนียมและยูเรีย เมื่อใช้ในดินไร่มีผลตกค้างเป็นกรดเนื่องจากกระบวนการไนตริฟิเคชัน ทำให้เกิดไฮโดรเจนไอออนเกิดขึ้นจำนวนหนึ่ง เพียงส่วนหนึ่งในจำนวนนี้เท่านั้นที่จะก่อให้เกิดกรด พืชและจุลินทรีย์ดินดูดไปใช้ในขณะที่เป็นแอมโมเนียม บางส่วนจะสูญหายไปในรูปก๊าซแอมโมเนียมไอออนบางส่วนถูกตรึงอยู่ในดิน




ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดกรดเมื่อมีการใช้ปุ๋ยแอมโมเนียม

1. ดินที่มีความต้านทานต่อการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรดเป็นด่างได้ดี หรือที่เรียกว่า Buffering capacity สูง เช่น ดินเหนียวหรือดินที่มีอินทรียวัตถุสูงนั้น แม้จะใส่ปุ๋ยแอมโมเนียมต่อเนื่องหลายๆ ปีก็ไม่ค่อยกระทบกระเทือนต่อความเป็นกรดเป็นด่างของดิน

2. ปัจจัยด้านพืช ขึ้นอยู่กับอัตราส่วนระหว่างด่างส่วนเกิน (Excess base) กับไนเตรต
ไนโตรเจนที่พืชดุดเข้าไป ด่างส่วนเกินคำนวณได้จากสูตร

ด่างส่วนเกิน = (Ca+Mg+K+Na)-(Cl+S+P) มิลลิกรัมสมมูล /100 กรัม

หากอัตราส่วนดังกล่าวมีค่าน้อยกว่า 1 แสดงว่าพืชดูดไนเตรตไปมากกว่าเบส ดังนั้นเบสที่เหลือในดินก็ทำหน้าที่สะเทินกรดที่เกิดที่เกิดจากไนตริฟิเคชัน สำหรับเมล็ดข้าวโพดมีค่าของอัตราส่วนดังกล่าวเพียง 0.05 แสดงว่าการเก็บเกี่ยวเฉพาะฝักข้าวโพดแล้วทิ้งซังไว้ในแปลงจะช่วยชะลอการลดความเป้นกรดเป็นด่างของดิน อันเกิดจากใส่ปุ๋ยแอมโมเนียมหรือยูเรียอย่างต่อเนื่องได้ดี

3. การใส่ปุ๋ยแอมโมเนียมในอัตราพอเหมาะและแบ่งใส่ในระยะที่ถูกต้อง เพื่อให้พืชใช้ปุ๋ยนั้นอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ตกค้างในดินและเปลี่ยนเป็นไนเตรตมากนัก นอกจากนี้ การใช้สารที่ลดการเกิดกระบวนการไนตริฟิเคชัน จะมีผลทำให้ความเป็นกรดเป็นด่างของดินเปลี่ยนแปลงน้อยลง



http://182.93.150.244/244/media/din/agrilib/techno/poe3.9.html









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-08-25 (1586 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©