-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 329 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

เทคโนฯ เกษตร





กำลังปรับปรุงครับ


คำถามเกี่ยวกับซิลิกอน


1. ซิลิกอน กับ ซิลิก้า เหมือนกันหรือไม่

     ตอบ ซิลิกอน เป็นชื่อธาตุ (Si) แต่ ซิลิก้า เป็น องค์ประกอบของซิลิกอนที่รวมกับ อ๊อกซิเจน (SiO2)ซึ่งจะเป็นสารที่พบโดยทั่วไป เช่น ทราย แก้ว แผ่นเซลแสงอาทิตย์




2. แอ๊กทีฟซิลิกอน ของกรีนซิล เป็นสารสกัดจากธรรมชาติ หรือไม่


     ตอบ แอ๊กทีฟซิลิกอน ของ กรีนซิล สกัดมาจากแกลบข้าว โดยกรรมวิธีทางวิทยาศาสตร์เพื่อให้ ซิลิกอนในแกลบ อยู่ในรูป โมเลกุลเดี่ยวและ ละลายน้ำได้





3. ทำไมจึงเรียกว่าแอ๊กทีฟซิลิกอน

      ตอบ เพราะ ซิลิกอน ที่มีการนำมาใช้เป็นสารอาหารสำหรับพืชโดยทั่วไป ส่วนใหญ่อยู่ในรูปสารประกอบ ของแข็ง ซึ่งพืชไม่สามารถดูดซึมได้ จะอาศัยปฏิกริยาการสลายตัว เปลี่ยนรูปเป็นโมเลกุลเล็ก จนพืชสามารถดูดซึมได้ ซึงต้องใช้เวลา และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และของแข็งเหล่านั้น สลายตัวเป็นซิลิกอนได้เพียงบางส่วนเท่านั้น แต่ซิลิกอนของกรีนซิล เป็นของเหลว ซึ่งพืชสามารถดูดซึมได้ทันที จึงตอบสนองได้เร็ว และพืชสามารถนำไปใช้ได้ทุกหยดของซิลิกอน ปราศจากสารประกอบที่ตกค้าง เพือ่ให้เข้าใจง่ายขึ้นเปรียบเทียบกับ คาร์โบไฮเดรท เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญสำหรับร่างกาย เราสามารถฉีดน้ำตาลกลูโคส(น้ำตาลโมเลกุลเดี่ียว)เข้าเส้นเลือดได้ เพื่อไห้ร่างกายสดชื่นทันที ขณะที่การฉีด สารละลายน้ำตาลทราย(น้ำตาลหลายโมเลกุล) เข้าเส้นเลือดอาจทำให้ร่างกายเป็นอันตรายImage





4. ในเมื่อแกลบเป็นแหล่งซิลิกอน เราสามารถใช้แกลบ หรือขี้เถ้าแกลบดำ เป็น สารอาหารสำหรับพืชได้หรือไม่

     ตอบ ได้ แต่ ทั้งแกลบ และขี้เถ้าแกลบดำจะสลายตัวเป็นซิลิกอน ที่ละลายนำ้ได้ ต้องใช้เวลานานมาก การใช้สารทั้งสองเป็นสารอาหารสำหรับพืช จะช่วยในแง่ปรับปรุงโครงสร้างดินให้ร่วนซุยเท่านั้น ไม่ได้ใช้ประโยชน์ของธาตุซิลิกอน 





5.แอ๊กทีฟซิลิกอน เป็นสารประเภท ไคโตซาน หรือ ฮอร์โมนอื่นๆ หรือไม่

      ตอบ ไม่ใช่ กลุ่มไคโตซาน จะซึมเข้าถึงระดับเซลพืชคล้ายกัน แต่ไคโตซานทำตัวคล้ายสิ่งแแปลกปลอมในเซลพืช เพื่อกระตุ้นให้พืชหลั่งสารต่อต้าน(ป้องกันตัวเอง)ออกมา ทำให้พืชเจริญเติบโตและมีภูมิต้านทานเพิ่มขึ้น  การกระตุ้นดังกล่าวหากมากเกินอาจทำให้พืชเป็นอันตรายได้ และถ้าหากโครงสร้างต้น ใบ ราก ไม่สมบูรณ์ การกระตุ้นดังกล่าวก็อาจไม่เห็นผล แต่แอ๊กทีฟซิลิกอนเป็นสารที่เข้าไปจัดการระบบการสังเคราะห์แสง และเป็นธาตุอาหารที่เข้าไปเสริมสร้างโครงสร้างลำต้น ราก ใบ ให้แข็งแรงและทำงานอย่างมีประสิทธิภาพโดยตรง จึงสามารถให้ได้บ่อยครั้งโดยไม่มีอันตรายต่อพืช





6.ทำไมการใช้แอ๊กทีฟซิลิกอนในนาข้าวจึงใช้ในปริมาณที่สูงมากเมื่อเทียบกับสารเคมีเกษตรกลุ่มอื่น

     ตอบ เนื่องจากข้าว อ้อย ข้าวโพด เป็นพืชที่ต้องการซิลิกอนปริมาณมาก การให้ขนาดต่ำ (20-50 ซี.ซี. ผสมน้ำ 20 ลิตร เพื่อฉีดพ่น) ก็ให้ผลผลิตที่เพิ่มขึ้นเหมือนกัน แต่จากการวิจัย การให้ปริมาณสูงขึ้นไปอีก ก็จะได้ผลผลิตที่เพื่มขึ้นไปอีก ซึ่งในแง่เศรฐศาสตร์แล้วยังถีอว่าคุ้มค่ากว่ามาก ประกอบกับแอ๊กทีฟซิลิกอน ของกรีนซิลเอง ทำมาจากแกลบ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของข้าวเอง จึงเข้ากันได้ดีมากกับข้าว และในสารละลายยังมีธาตุอาหารอืนๆที่จำเป็นต่อข้าว เพราะสารอาหารต่างๆที่ต้นข้าวดูดซึมมา เพื่อใช้สร้างเมล็ด ส่วนใหญ่จะสะสมอยู่ในแกลบข้าวนั้นเอง





7.แอ๊กทีฟซิลิกอนใช้กับพืชได้ทุกชนิดหรือไม่

     ตอบ แอ๊กทีฟซิลิกอนของกรีนซิล สามารถใช้กับพืชได้ทุกชนิด ทั้งพืชผัก ผลไม้ และไม้ดอก ไม้ประดับ โดยยังคงคุณค่าของซิลิกอนต่อพืชทุกประการ แต่ต้องปรับลดขนาดการใช้ลง เหลือ 10-30 ซี.ซี./น้ำ 20 ลิตร  แล้วแต่ชนิดของพืช






8.ใช้แอ๊กทีฟซิลิกอน ของกรีนซิล ช่วยภาวะโลกร้อนได้อย่างไร

     ตอบ เนื่ิองจากโครงสร้างที่แข็งแรงของพืชจะช่วยให้เกษตรกรลดการใช้สารเคมี และยาฆ่าแมลง การใช้แอ๊กทีฟซิลิกอนจะคืนความสมดุลในระบบนิเวศน์ และแอ๊กทีฟซิลิกอนของกรีนซิล ผลิตมาจากแกลบ ซึ่งเป็นผลผลอยได้จากกระบวนการสีข้าว ไม่ได้ขุดเจาะ ระเบิด หรือ แปรรูป อันเป็นการรบกวนสิ่งแวดล้อมในธรรมชาติ  การให้แอ๊กทีฟซิลิกอน ของ กรีนซิล กับพืช ก็คือการนำ แกลบข้าวกลับสู่ธรรมชาตินั่นเอง





9.ทำไมจึงต้องให้แอ๊กทีฟซิลิกอนกับพืชบ่อยครั้ง เพื่อให้ผลดีที่สุด

     ตอบ เนื่องจากหลักการทำงานของสารอาหารซิลิกอน คือให้มีการสะสมอยู่ในส่วนต่างๆ ของพืช ไม่ใช่เป็นการกระตุ้นพืช ให้เกิดภาวะเครียด เหมือนเคมีเกษตรกลุ่มอื่น จึงต้องสะสมตั้งแต่พืชยังเล็ก และให้จนโตเต็มที่ เทียบได้กับถ้าเกษตรกรต้องการให้ลูกมีร่างกายที่ แข็งแรง สูงใหญ่ เจริญเติบโตดี จำเป็นต้องให้ลูกดื่มนมบ่อยๆ ตั้งแต่วัยเด็ก





10.แอ๊กทีฟซิลิกอนของกรีนซิล คือกรดซิลิกอน ใช่หรือไม่

    ตอบ ไม่ใช่ แต่ทั้งสองมีส่วนของซิลิกอนอิออน ที่เป็นประโยชน์เหมือนกัน แต่แอ๊กทีฟซิลิกอนของกรีนซิลมีฤทธิ์เป็นด่าง (เบส) ซึ่งมีมีผลช่วยปรับสภาพดินด้วย เพราะปุ๋ย และเคมีเกษตรส่วนใหญ่ จะมีฤทธิ์เป็นกรด ทำให้เชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในดินเจริญเติบโตได้ไม่ดี  ดินที่เป็นเบสอ่อนๆ ทำให้จุลินทรีย์ต่างๆ ฟื้นฟูดิน ได้อย่างเต็มที่ และที่สำคัญแอ๊กทีฟซิลิกอนของกรีนซิล มีโปแตสเซียมอิออน ซึ่งเป็นธาตอาหารหลักที่ช่วยจัดการลำเลียงอาหารในพืช ซึ่งดูดซึมเข้าพืชถึงระดับเซลได้ทันทีเช่นกัน





11.โรคต่างๆ ที่เกิดกับพืช อะไรบ้าง ที่แอ๊กทีฟซิลิกอน สามารถป้องกันได้

    ตอบ เนื่องจากกลไกการทำงานของซิลิกอน คือเสริมสร้างความแข็งแรงของเซล เมื่อเซลแข็งแรงเชื้อโรคต่างๆ ก็จะเข้ามาฝั่งตัวในพืชได้ยากขึ้น ทำให้ไม่เป็นโรค การทำงานในลักษณะป้องกัน จึงให้ผลที่ดีกว่า แต่อย่างไรก็ตามมีการรับรองในต่างประเทศแล้วว่า แอ๊กทีฟซิลิกอน สามารถใช้ป้องกัน และรักษา โรคที่เกิดจากเชื้อราได้เป็นอย่างดี










หลากคำถามเรื่องปุ๋ยทางใบ (foliar fertilizer)


1.พืชสามารถ ดูดสารอาหารเข้าทางใบได้หรือไม่

   ตอบ อาหารส่วนใหญ่ที่พืชใช้ จะได้มาจากการดูดซึมของระบบราก ในส่วนของใบเองจะมีหน้าที่รับแสง และสังเคราะห์แสง รับและคายน้ำ จากงานวิจัยพบว่า สารอาหารต่างๆ สามารถซึมเข้าสู่ใบพืชได้เช่นกัน แม้จะไม่มากเท่ากับสารอาหารที่ได้มาจากระบบราก แต่ก็มีปริมาณที่มากพอให้เกิดการเปลี่ยนแปลง  ทั้งนี้เกษตรกรอาจคุ้นเคยกับการทำงานของ ไกลโฟเสต หรือยาฆ่าหญ้า ซึ่งจะออกฤทธิ์ยับยั้งการสังเคราะห์แสงของพืช ซึ่งสารไกลโฟเสตนี้ พืชดูดซึมผ่านทางใบ จะเห็นว่าใช้เพียงปริมาณเล็กน้อยเท่านั้น




2.จริงหรือไม่ที่ ให้สารอาหารทางใบ ออกฤทธิ์ ได้เร็วกว่า การให้ผ่านทางระบบราก

  ตอบ จริง เพราะจริงๆ แล้วสารอาหารต่างๆ ที่พืช ดูดซึมมา จะต้องถูกลำเรียงมาที่ใบ เพื่อผ่านกระบวนการสังเคราะห์แสงให้เป็นอาหาร จากนั้นอาหารเหล่านี้จะถูกลำเลียงไปยังส่วนต่างๆของพืชอีกที ดังนั้นสารอาหารที่ให้ทางใบจะเข้าสู่กระบวนสังเคราะห์แสงทันที ที่เริ่มสัมผัสกับพืช จะเห็นว่าการให้สารอาหารทางใบจะเป็นการเพิ่มปริมาณสารอาหารบนใบพืช จากปกติที่ระบบรากของพืชสามารถหามาได้





3. ในเมื่อการให้อาหารทางใบ มีประโยชน์ เราสามารถ นำปุ๋ยเม็ดมาละลายน้ำ แล้วฉีดพ่นให้กับพืชได้หรือไม่

    ตอบ ไม่ได้ เพราะสารอาหารที่เป็นประโยชน์กับพืช เมื่อฉีดพ่นทางใบ ต้องเป็นสารอาหารที่พืชสามารถนำไปสังเคราะห์แสงได้ทันที ปุ๋ยเม็ดที่เกษตรกรใช้ส่วนใหญ่ จะเป็นเกลือของสารประกอบ ซึ่งต้องผ่านการคัดกรองโดยระบบรากเท่านั้น พืชจึงจะนำไปใช้ประโยชน์ได้ มิหนำซ้ำ ปุ๋ยบางชนิดอาจทำอันตรายพืช เมื่อให้ทางใบ





4. ทำไม การให้ปุ๋ยทางใบ จึงมีปริมาณสารอาหารเล็กน้อย เมื่อเทียบกับการให้ทางราก

    ตอบ เนื่องจากการให้ปุ๋ยทางใบ สารอาหารต่างๆ ต้องอยู่ในสภาพที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ทันที สารอาหารจึงมีความบริสุทธิ์สูง และการให้ทางใบ มีการสูญเสียไปกับสภาพแวดล้อมต่ำมาก เมื่อเทียบกับการให้ทางราก สารอาหารบางตัว การให้ทางใบเพีบง 1 กิโลกรัม จะให้ผลเท่ากับการให้ทางราก 20 กิโลกรัมทีเดียว




5.ทำไมสารอาหารทางใบจึงมีราคาแพง จะคุ้มค่าหรือไม่

    ตอบ เนื่องจากสารอาหารต่างๆ ที่จะให้ทางใบได้ จะต้องถูกนำไปผ่านกระบวนการสลาย ให้อยู่ในรูปที่พืช สาม่รถดูดซึมทางใบ และนำไปใช้สังเคราะห์แสงได้ทันที ซึ่งมีขั้นตอนการผลิตที่ซับซ้อนกว่า แต่จากที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า สารอาหารทางใบมีความบริสุทธิ์สูง จึงใช้เพียงปริมาณเล็กน้อยเท่านั้น และต้องใช้ร่วมกับปุ๋ยทางดิน หากมองผลผลิตที่เพิ่มขึ้น นับว่าคุ้มค่ากว่ามาก





6.สารอาหารทางใบ ใส่ไปเพียงเล็กน้อย จะทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นได้อย่างไร

    ตอบ จากที่กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า ปริมาณสารอาหารส่วนใหญ่ที่พืชใช้ในการสร้างผลผลิต ยังคงมาจากระบบราก ซึ่งในการเพาะปลูกจริงปริมาณอาหารถูกจำกัดโดย ประสิทธิภาพของระบบราก ซึ่งจะดี ไม่ดีขึ้นอยู่กับสภาพดินและคุณภาพน้ำ รวมทั้งโรคต่างๆ ซึงการให้สารอาหารทางใบ จะให้สารอาหารกับพืชเพิ่มขึ้นจากที่ระบบรากหาได้ การให้โดยตรงที่ใบ จะทำให้อัตราการสังเคราะห์แสงเพิ่มขึ้น ซึ่งกระบวนการสังเคราะห์แสงที่เพิ่มขึ้น จะกระตุ้นให้พืชดูดน้ำมากขึ้น ทำให้ระบบรากนำพาสารอาหารเข้าไปในลำต้นมากขึ้นด้วย และการสังเคราะห์แสงเพิ่มขึ้นอีก คล้ายปฏิกริยาลูกโซ่ จึงส่งผลให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น





7.เมื่อให้สารอาหารทางใบแล้ว จำเป็นต้องให้ทางรากด้วยหรือไม่

    ตอบ จำเป็นต้องให้ทางรากด้วย เพราะจากที่กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า การให้สารอาหารทางใบ เป็นการกระตุ้นให้พืชดูดสารอาหารทางรากมากขึ้น และลดข้อจำกัดของระบบรากในพืช แต่ปริมาณสารอาหารส่วนใหญ่ จำเป็นต้องมาจากระบบราก เพื่อให้ได้ผลผลิตที่เพิ่มขึ้น





8.เราสามารถให้สารอาหารทางใบ กับพืชทุกชนิดหรือไม่

    ตอบ เกือบทุกชนิด แต่ประสิทธิภาพในการรับสารอาหารทางใบของพืชแต่ละชนิดไม่เท่ากัน พืชที่มีใบใหญ่ ปากใบกว้างและเปิดนานกว่า จะดูดซึมได้ดีกว่า ซึ่งในพืชบางชนิด อัตราการดูดซึมปุ๋ยทางใบ ไม่คุ้มค่า เมื่อเทียบกับผลผลิตที่เพิ่ม





9.เราควรฉีดพ่น อาหารทางใบให้กับพืชช่วงไหนดี

    ตอบ พืชจะดูดสารอาหารทางปากใบ เราจึงควรฉีดพ่นในช่วงเวลาที่ปากใบเปิด คือช่วงที่อากาศไม่ร้อนจัด ที่เหมาะสมจะเป็นช่วงเช้าของวัน หรือฉีดพ่นตอนเย็น เมื่ออากาศไม่ร้อนแล้ว





http://www.siamgreensil.com/index.php?option=com_content&task=view&id=48&Itemid=44









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-08-25 (873 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©