-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 639 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

เทคโนฯ เกษตร





กำลังปรับปรุงครับ


ความหมายของศัพท์บางคำที่ใช้เกี่ยวข้องกับปุ๋ยเคมี
                
ปัจจุบันนี้เกษตรกรไทยนิยมใช้ปุ๋ยเคมีในการเพิ่มผลผลิตในการปลูกพืชมากขึ้นกว่าอดีตและปุ๋ยเคมีส่วนใหญ่จะต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ดังนั้นเกษตรกรไทยจะต้องรู้ความหมายของศัพท์

บางคำที่ใช้เกี่ยวข้องกับปุ๋ยเคมีเพื่อจะได้ใช้ปุ๋ยเคมีได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งศัพท์ที่สำคัญมีดังต่อไป
นี้คือ


1. เกรดปุ๋ย

ปัจจุบัน ปุ๋ยเคมีที่ขายในท้องตลาดมีมากมายหลายชนิด หลายตราทั้งปุ๋ยเชิงเดี่ยว เชิง
ผสม และเชิงประกอบ อยู่ในผลึก เม็ด เกร็ด ผง และน้ำ เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้ขายและผู้ซื้อ นักวิชาการเรื่อง ดิน – ปุ๋ย จึงได้กำหนด “เกรดปุ๋ย” ขึ้นมา เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายหรือระเบียบที่วางไว้
สูตรหรือเกรดปุ๋ย (fertilizer analysis หรือ fertilizer grade) หมายถึง การบอกการรับประกันปริมาณธาตุอาหารปุ๋ยขั้นต่ำที่สุดที่มีอยู่ในปุ๋ยนั้น ๆ จะบอกเป็นเปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนักของปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด (total nitrogen) ปริมาณฟอสฟอริกแอซิค (P2O5) ที่เป็นประโยชน์ (available P2O5) และปริมาณโปตัสเซียม (K2O) ที่ละลายน้ำได้ (water soluble potash) (คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา, 2541)

ปุ๋ยเคมีที่จำหน่ายตามท้องตลาด ที่ถูกต้องตามพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. 2518 บนภาชนะที่บรรจุปุ๋ยจะต้องมีตัวเลขแสดงเกรดปุ๋ยให้ชัดเจน ประกอบด้วยตัวเลข 3 ชุด แต่ละชุดมีเครื่องหมาย แยกตัวเลขไว้ เช่น 15 – 15 – 15 ซึ่งตัวเลขชุดแรกจะบอกปริมาณ เปอร์เซ็นต์ของธาตุไนโตรเจนทั้งหมด อย่างต่ำสุด 15 เปอร์เซ็นต์ ตัวเลขชุดที่ 2 จะเป็นตัวเลขที่บอกปริมาณเปอร์เซ็นต์ของฟอสฟอริกแอกซิค ที่เป็นประโยชน์อย่างต่ำ 15 เปอร์เซ็นต์ และตัวเลขที่3 เป็นตัวเลขที่บอกปริมาณเปอร์เซ็นต์ของโปตัสเซียมที่ละลายน้ำได้อย่างต่ำ15เปอร์เซ็นต์

2. เรโซปุ๋ย

หมายถึง สัดส่วนอย่างต่ำซึ่งเป็นเลขลงตัวน้อยระหว่างปริมาณของธาตุไนโตรเจน
ทั้งหมด (N) ฟอสฟอริกแอซิคที่เป็นประโยชน์ (P2O5) และโปแทชที่ละลายน้ำได้ (K2O) เช่น สูตรปุ๋ย 30–30–30, 17–17–17, และ 15–15–15 จะมีเรโซเท่ากันคือ 1:1:1 เป็นต้น

3. การดูดความชื้น

ปุ๋ยเคมีโดยทั่วไปสามารถที่จะดูดความชื้นได้ ทำให้ปุ๋ยชื้นหรือบางทีละลาย และจับตัวกันเป็นของแข็ง อย่างไรก็ตามปุ๋ยแต่ละชนิดจะชื้นได้ยากง่ายต่างกัน และสภาพอากาศร้อนชื้นก็มีส่วนช่วยให้ปุ๋ยชื้นง่ายยิ่งขึ้น นอกจากนี้ การเอาปุ๋ยต่างชนิดกันมาผสมกันจะยิ่งทำให้ปุ๋ยชื้นได้ง่ายมากขึ้นเช่นกัน ดังนั้นการเก็บปุ๋ยไม่ควรเก็บในที่อับ ร้อนชื้น และถ้าเปิดถุงใช้แล้วควรปิดให้มิดชิด


4. ความเค็ม

ปุ๋ยเคมีโดยทั่วไปเป็นเกลือ ดังนั้นจึงมีความเค็ม ซึ่งถ้าใส่ให้กับพืชครั้งละมาก ๆ และใส่ใกล้รากอาจจะก่อให้เกิดอันตรายต่อพืชได้ ปุ๋ยแต่ละชนิดมีความเค็มมากน้อยต่างกัน เราอาจจะสังเกตได้ง่าย ๆ คือ ปุ๋ยที่ละลายน้ำดี ละลายน้ำง่าย และละลายน้ำได้ทั้งหมด โดยปกติจะมีความเค็มมาก ปุ๋ยที่ละลายช้าหรือละลายได้ไม่หมด มักจะมีความเค็มน้อย

5. ความเป็นกรด – ด่าง

ปุ๋ยบางชนิดเมื่อใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ มีผลตกค้างทำให้ดินเป็นกรดหรือเป็นด่าง ปุ๋ยไนโตรเจนมักให้ผลตกค้างเป็นกรด ส่วนปุ๋ยที่มีแคลเซียม หรือโซเดียมมาก ๆ มักจะทำให้ผลตกค้างเป็นด่าง อย่างไรก็ตามผลอันนี้มักเกิดขึ้นน้อยโดยเฉพาะกับดินที่เป็นดินเหนียว





ชนิดของปุ๋ยเคมี

ปุ๋ยเคมีที่เกษตรกรนิยมใช้ในการเพิ่มผลผลิตของพืชมีรูปร่างอยู่หลายประเภทขึ้นอยู่กับความต้องการใช้ของเกษตรกร สามารถจำแนกตามคุณสมบัติทางกายภาพได้ดังนี้


1. ปุ๋ยผง (power)
หมายถึงปุ๋ยเคมีที่ทำการบดให้ละเอียดอยู่ในรูปผง โดยใช้ตะแกรงร่อนเพื่อให้ได้ขนาดตามที่ต้องการ

2. ปุ๋ยเกร็ด (crystal)
ที่อยู่ในรูปผงหรือผลึกซึ่งมีความบริสุทธิ์สูง ละลายน้ำได้หมด ราคาแพงนิยมใช้เป็นปุ๋ยทางใบ

3. ปุ๋ยน้ำ (solution)
หมายถึงปุ๋ยที่อยู่ในรูปของของเหลวไม่มีสิ่งเจือปนหรือตกตะกอน



ประเภทของปุ๋ยเคมีและคุณสมบัติที่สำคัญของปุ๋ยเคมี 

ดินที่อุดมสมบูรณ์ต้องประกอบด้วยธาตุอาหารพืช 16 ชนิด พบในดิน 13 ชนิด เมื่อใช้ดินในการปลูกพืชไปนานๆดินเกิดการเสื่อมคุณภาพและความอุดมสมบูรณ์ของดินลดลง ต้องมีการปรับปรุงดินและเพิ่มธาตุอาหารการใส่ปุ๋ยเคมีเป็นวิธีหนึ่งที่ใช้เพิ่มธาตุอาหารแก่ดิน ปุ๋ยเคมีสามารถแบ่งตามปริมาณธาตุอาหารสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ


1. ปุ๋ยเดี่ยว

ปุ๋ยเดี่ยว หมายถึงปุ๋ยที่ประกอบด้วยธาตุอาหารหลักเพียงธาตุเดียวในปุ๋ยนั้นได้แก่


1.1 ปุ๋ยไนโตรเจน

ปุ๋ยไนโตรเจน ที่อยู่ในรูปอินทรีย์ไนโตรเจน ที่ได้มาจากการสังเคราะห์ ได้แก่ ปุ๋ยยูเรีย (46 เปอร์เซ็นต์ไนโตรเจน) มีสูตรทางเคมี CO(NH2 )2 ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต (21 เปอร์เซ็นต์ไนโตรเจน) ปุ๋ยแอมโมเนียมคลอไรด์ (25 เปอร์เซ็นต์ ไนโตรเจน) ยูเรียฟอร์ม (29 เปอร์เซ็นต์ไนโตรเจน) และปุ๋ยอ๊อกซามีดส์ (32 เปอร์เซ็นต์ ไนโตรเจน) เป็นต้น ปุ๋ยไนโตรเจนที่นิยมใช้ได้แก่


1.1.1 ปุ๋ยยูเรีย (CO(NH2) 2:46 เปอร์เซ็นต์ไนโตรเจน)

ปุ๋ยยูเรีย เป็นแม่ปุ๋ยที่มีธาตุไนโตรเจนสูงสุด ซึ่งกำลังได้รับความนิยมใช้กันมากในปัจจุบัน เนื่องจากมีราคาต่อหน่วยของธาตุไนโตรเจนต่ำ เมื่อเทียบกับปุ๋ยไนโตรเจนชนิดอื่น ปุ๋ยยูเรีย เป็นของแข็งที่ละลายน้ำได้ง่าย ที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส สามารถละลายได้เป็น 7 เท่า เมื่อเทียบกับปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต ปุ๋ยยูเรียสามารถเตรียมได้ 2 ขั้นตอนใหญ่ๆได้ดังต่อไปนี้ ขั้นตอนที่ 1 ขั้นเตรียมแอมโมเนีย เตรียมได้โดยการนำเอาก๊าซไนโตรเจน (N2) มาทำปฏิกิริยากับก๊าซ ไฮโดรเจน (H2) ที่ความดัน และอุณหภูมิสูง ดังสมการ


ขั้นตอนที่ 2 เอาแอมโมเนียที่ได้จากสมการ มาทำปฏิกิริยากับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่มีความดันสูง และมีตัวเร่งปฏิกิริยาที่เหมาะสมดังสมการ


 

คุณสมบัติที่สำคัญของ ยูเรียคือ เป็นของแข็ง ละลายน้ำได้ดี มี ถ.พ. = 1.335 ดูดความชื้นได้ง่าย เป็นสารประกอบที่เป็นด่าง แต่เมื่อใส่ลงไปในดิน ยูเรียจะถูกไฮโดรไลซ์ไปเป็นแอมโมเนียมคาร์บอเนตก่อน ดังสมการ เมื่อ (NH4)2 CO3 อยู่ในดินที่มีการถ่ายเทอากาศได้ดี แอมโมเนียมไอออน

จะถูกเปลี่ยนไปเป็นไนเตรต และ ไฮโดรเจนไอออนทำให้ดินอยู่ในสภาพเป็นดินกรด ดังสมการ

ยูเรียสามารถนำไปใช้เป็นปุ๋ยทางใบ เนื่องจากปุ๋ยยูเรียสามารถดูดซึมเข้าไปในทางใบพืชได้


1.1.2 ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต (21 เปอร์เซ็นต์ไนโตรเจน)

กรรมวิธีในการผลิตปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟตโดยนำเอาก๊าซแอมโมเนีย (NH3) มาทำปฏิกิริยากับกรดกำมะถัน (H2SO4) แล้วนำเอาผลที่ได้มาตกผลึกเป็นเกลือแอมโมเนียมซัลเฟต ดังสมการ


ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต (21 เปอร์เซ็นต์ไนโตรเจน) มีข้อดีดังต่อไปนี้ คือเป็นปุ๋ยที่ไม่ชื้นแฉะง่าย ไม่จับตัวกันเป็นก้อนเร็ว เกล็ดปุ๋ยมีความแข็งสูง มีความคงตัวทางเคมีสูง ส่วนข้อเสียเป็นปุ๋ยที่มีปริมาณไนโตรเจนต่ำ (21 เปอร์เซ็นต์ไนโตรเจน) มีส่วนประกอบของกำมะถัน ทำให้ดินเป็นกรดสูงเมื่อใช้ไปนาน ใช้ได้ดีกับดินที่เป็นด่างและค่าใช้จ่ายในการขนส่ง และแรงงานสูง


1.1.3 ปุ๋ยแอมโมเนียมคลอไรด์ (25 เปอร์เซ็นต์ ไนโตรเจน)

ปุ๋ยชนิดนี้ ส่วนมากนิยมใช้กับข้าว สามารถใช้ได้ผลดีกับพืชชนิดอื่น เช่น ข้าวโพด ข้าวฟ่าง อ้อย มะพร้าว และปาล์มน้ำมัน เป็นต้น โดยมีกรรมวิธีในการผลิตได้ โดยการใช้ก๊าซแอมโมเนียทำปฏิกิริยากับกรดไฮโดรคลอริก ที่อุณหภูมิ 75 – 80 องศาเซลเซียส ความดัน 250 – 300 เอทีเอ็ม ดังสมการ ซึ่งมีข้อดีดังนี้คือเมื่อใส่ลงไปในดิน จะสูญเสียไนโตรเจนน้อยกว่ายูเรีย แอมโมเนียมซัลเฟตมีข้อดีคือเป็นปุ๋ยที่มีไนโตรเจน ต่ำกว่า แอมโมเนียมไนเตรตและ
ปุ๋ยยูเรีย และคลอรีนสูงอาจจะมีผลเสียต่อคุณภาพของผลิตผลของพืชได้


 

1.2 ปุ๋ยฟอสฟอรัส (phosphorus fertilizer)
ธาตุฟอสฟอรัส เป็นธาตุอาหารหลักที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช และพืชต้องการในปริมาณที่มากเนื่องจากฟอสฟอรัสมีความสำคัญต่อการช่วยเก็บและเปลี่ยนรูปพลังงาน กับขบวนการสร้างและทำลายต่าง ๆ ภายในพืช เช่น ขบวนการ ไกลโคไลซีส ขบวนการสร้างพวกน้ำตาล แป้ง และโปรตีน นอกจากนั้นยังเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ของ อา เอ็น เอ (RNA) และ ดี เอ็น เอ (DNA)

ฟอสฟอรัสยังช่วยเร่งหรือเพื่อการเจริญเติบโตของระบบราก การออกดอก ออกผลของพืช การงอกของเมล็ดพืช และการเพิ่มคุณภาพและปริมาณของผลผลิตพืช ปุ๋ยฟอสฟอรัสจะมีทั้งส่วนที่ละลายน้ำได้ง่าย และส่วนที่ละลายน้ำได้ยาก พืชสามารถนำเอาส่วนที่ละลายน้ำได้ง่ายไปใช้ ซึ่งอยู่ในรูปของ ฟอสฟอรัสที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อยู่ในรูปของ กรดฟอสฟอริก (phosphoric acid : P2O5) ปุ๋ยฟอสฟอรัส แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ

1.2.1 ปุ๋ยฟอสฟอรัสที่ได้มาจากธรรมชาต
ิ  ได้แก่ หินฟอสเฟตที่เกิดจาก หินอัคนี ซึ่งเกิดจากหินที่ละลายหลอมเหลวให้พื้นผิวโลก เกิดการแข็งตัวในภายหลังหรือได้จากแร่ฟอสเฟตที่เกิดจากการตกตะกอนในทะเล (marine phosphates) เป็นแร่ฟอสเฟตที่เกิดขึ้นจากการตกตะกอนของสารประกอบฟอสเฟตในทะเล หรือได้จากแร่ฟอสเฟตในรูปกัวโน (Guano) ที่เกิดจากการสะสมตัวของมูลนกทะเล และมูลค้างคาว


1.2.2 ปุ๋ยฟอสฟอรัสที่ได้จากการสังเคราะห์ได้แก่ปุ๋ยซูเปอร์ฟอสเฟตธรรมดา

(ordinary superphosphate) นิยมทำโดยนำเอาหินฟอสเฟต (rock phosphate) มาทำปฏิกิริยากับกรด เช่น กรดไนตริก กรดไฮโดรคลอริก กรดฟอสฟอริค และกรดซัลฟิวริก ดังสมการ 

ปุ๋ยซูเปอร์ฟอสเฟตมีข้อดีดังต่อไปนี้คือ เป็นปุ๋ยที่มีสภาพทางกายภาพดี คือ ปั้นเป็นเม็ดที่แข็งแกร่ง และไม่ชื้นง่าย และ ปุ๋ยซูเปอร์ฟอสเฟตชนิดเข้มข้นเรียกว่า ดับเบิ้ล หรือ ทริปเปิลซูปเปอร์ฟอสเฟต มีปริมาณ กรดฟอสฟอริก (P2O5) อยู่ระหว่าง 40 – 46 เปอร์เซ็นต์ กรรมวิธีในการผลิต คือ ใช้หินฟอสเฟต และกรดฟอสฟอรัสเป็นวัตถุดิบในการผลิตดังสมการ ปุ๋ยซูเปอร์ฟอสเฟตเข้มข้นมีปริมาณของกรดฟอสฟอริกมากกว่าปุ๋ยซูเปอร์ฟอสเฟตธรรมดาประมาณ 2 เท่า จึงประหยัดค่าใช้จ่ายในการขนส่งและ การเก็บรักษา ปุ๋ยไนโตรเจนฟอสเฟตปุ๋ยชนิดนี้ผลิตขึ้นโดยใช้กรดดินประสิว ทำปฏิกิริยากับหินฟอสเฟต


ทำให้ได้ปุ๋ยผสมระหว่าง ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปตัสเซียม จะอยู่ในรูปไนเตรต (NO3- ) ทั้งหมด ดังสมการ


ปุ๋ยแอมโมเนียมฟอสเฟต เตรียมโดยใช้แอมโมเนียทำปฏิกิริยากับกรดออโทฟอสฟอรัส ปุ๋ยชนิดนี้ใช้มากมีด้วยกัน 2 ชนิดคือโมโนแอมโมเนียมฟอสเฟต (Monoammonia phosphate) เรียกชื่อย่อว่า เอ็มเอพี มีสูตรปุ๋ย 12–52–0 เกิดจากการทำปฏิกิริยาระหว่างแอมโมเนียมกับกรดฟอสฟอริค ดังสมการ


 

ไดแอมโมเนียมฟอสเฟต (Diammonium phosphate) เรียกชื่อย่อว่า ดี เอ พี (DAP) มีสูตรปุ๋ยว่า 16–48–0 เกิดจากการทำปฏิกริยาระหว่างแอมโมเนียกับ ออโทฟอสฟอรัส ดังสมการ


ปุ๋ยแอมโมเนียมฟอสเฟต ละลายน้ำได้ดี และมีธาตุอาหารหลักสองธาตุ คือ NP (รวมกันสูงถึง 64 เปอร์เซ็นต์) ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการขนส่ง และแรงงาน มีคุณสมบัติในการเก็บรักษาทางฟิสิกส์ที่ดี จึงประหยัดค่าเก็บรักษา

1.3 ปุ๋ยโปตัสเซียม (potassium fertilizer)

โปตัสเซียมเป็นธาตุอาหารหลักที่พืชต้องการในปริมาณมากโปตัสเซียมมีความสำคัญต่อการทำงานของเอนไซม์ต่าง ๆ ภายในพืช สร้างโปรตีนที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อเจริญต่าง ๆ

กรรมวิธีการผลิตปุ๋ยโปตัสเซียม โดยขบวนการเกี่ยวกับการแยกเกลือออกจากสินแร่โปแตช ด้วยกรรมวิธีทางเชิงกล ปุ๋ยโปตัสเซียมที่นิยมใช้ส่วนใหญ่ ได้แก่ ปุ๋ยโปตัสเซียมคลอไรด์ โปตัสเซียมซัลเฟต ปุ๋ยโปตัสเซียมไนเตรต ปุ๋ยโปตัสเซียมคลอไรด์ กรรมวิธีในการผลิตให้บริสุทธิ์ โดยนำเอาสินแร่มาบดให้ละเอียดแล้วละลายในน้ำร้อน (ประมาณ 90 องศาเซลเซียส) เติมโซเดียมคลอไรด์ให้มากเกินพอ แล้วค่อย ๆ ทำให้น้ำยานี้เย็นลงจะได้โปตัสเซียมคลอไรด์แยกตัวออกมาปุ๋ยโปตัสเซียมที่ได้จากการสังเคราะห์ได้แก่ ปุ๋ยโปตัสเซียมซัลเฟต เป็นปุ๋ยที่มีความสำคัญรองลงมาจากปุ๋ย โปตัสเซียมคลอไรด์ เหมาะสำหรับพืชที่อ่อนไหวต่อการเกิดพิษของธาตุ คลอรีน เช่น พวกมันฝรั่งและพวกยาสูบ กรรมวิธีในการผลิตปุ๋ยโปตัสเซียมซัลเฟต โปตัสเซียมแมกนีเซียมซัลเฟต (potassium magnesium sulfate : K2SO4 • 2 MgSO4) ทำปฏิกริยากับเกลือโปตัสเซียมคลอไรด์ โดยอาศัยหลักการแลกเปลี่ยนประจุ เขียนสมการได้ดังนี้


หรืออาจจะเตรียมโดยใช้โปตัสเซียมคลอไรด์ ทำปฏิกิริยากับกรดกำมะถัน เขียนเป็นสมการได้ดังนี้


ปุ๋ยโปตัสเซียมไนเตรต (KNO3) นิยมใช้รองลงมาจากปุ๋ยโปตัสเซียมคลอไรด์ และโปตัสเซียมซัลเฟต เนื่องจากมีราคาแพง และใช้ได้กับพืชบางชนิด และสภาพอากาศบางสภาพ ในดินบางชนิดด้วย เป็นปุ๋ยที่นิยมใช้กับพืชที่มีปัญหาเกี่ยวกับธาตุ คลอรีน เช่น พืชยาสูบ นอกจากนี้ยังนิยมผลิตปุ๋ยในรูปของ ปุ๋ยเกร็ด และปุ๋ยเหลว




2. ปุ๋ยผสม

ปุ๋ยผสมหมายถึงปุ๋ยที่ได้มาจากการนำเอาแม่ปุ๋ยธาตุอาหารหลักชนิดต่างๆมาผสมกันเพื่อให้ได้สูตรตามที่เราต้องการ เช่นไนโตรเจนกับฟอสฟอรัส ฟอสฟอรัสกับโปตัสเซียม หรือมีธาตุอาหารหลักทั้ง 3 ธาตุ คือไนโตรเจน ฟอสฟอรัสและโปตัสเซียมผสมกันก็ได้ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่คือ


2.1 ปุ๋ยผสมแบบปั้นเม็ด
โดยนำเอาแม่ปุ๋ยอาจเป็นของแข็งหรือของเหลวก็ได้ ถ้าเป็นของแข็งนำมาบดให้ละเอียดเสียก่อนจากนั้นนำปุ๋ยที่เตรียมไว้มาเติมสารเสริม และสารเพิ่มน้ำหนัก ( fillers ) เพื่อให้น้ำหนักครบตามที่ต้องการ นำไปปั้นเม็ดด้วยเครื่องจักรซึ่งมีปริมาณของธาตุอาหารที่สม่ำเสมอในแต่ละเม็ด เหมาะสำหรับไปใช้กับดินที่ขาดธาตุอาหารในปริมาณมากๆ

2.2 ปุ๋ยผสมแบบคลุกเคล้า (bulk blend )
เป็นปุ๋ยที่นำเอาแม่ปุ๋ยที่มีการปั้นเม็ดแล้ว
นำมาผสมคลุกเคล้ากันด้วยวิธีทางกายภาพเพื่อให้ได้สูตรตามที่เราต้องการ ซึ่งง่ายและ สะดวกกว่า
วิธีปั้นเม็ดมากแต่ต้องคำนึงถึงขนาดของแม่ปุ๋ยที่ใช้ต้องมีขนาดใกล้เคียงกันเพื่อป้องกัน ความไม่
สม่ำเสมอของธาตุอาหารในแต่ละเม็ด ในด้านปุ๋ยจุลธาตุซึ่งใช้ในปริมาณน้อยๆควรเคลือบเม็ดแม่ปุ๋ย
ก่อนที่จะนำมาผสมกันเพื่อป้องกันการขาดจุลธาตุ



ปัญหาเกษตรกรไทยกับการใช้ปุ๋ยเคมี

พอถึงฤดูกาลเพาะปลูก มักมีข่าวปรากฏอยู่เสมอว่า ปุ๋ยเคมีมีไม่เพียงพอกับการเพาะปลูกของเกษตรกรยิ่งไปกว่านั้นยังมีข่าวให้เกษตรกรสับสนมากยิ่งขึ้น เช่นการเสนอข่าวในทางส่งเสริมการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ มากกว่าการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยเคมีโดยเน้นเสมอว่าการส่งเสริมให้ใช้ปุ๋ยเคมีมากๆ นั้นเป็นการทำให้เกษตรกรยากจนลง ดังนั้นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในเรื่องการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยเคมีจึงตกเป็นเป้าหมายการโจมตีไปด้วย นอกจากนี้ยังมีพวกอนุรักษ์นิยมบางกลุ่มที่ขาดข้อมูลได้ออกบทความเสนอข่าวต่อสื่อมวลแบบเข้าใจแบบผิด ๆ ต่อการใช้ปุ๋ยเคมีว่าเป็นสิ่งที่มีพิษภัย เช่นเดียวกับการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช เรื่องดังกล่าวนี้ทำให้เกิดความเข้าใจผิดต่อ ๆ กันไปและมากยิ่ง ๆ ขึ้น จนอาจเป็นผลเสียต่อการเกษตรของประเทศไทยในอนาคตเป็นอย่างมาก เนื่องจากอาจเป็นผลทำให้ผลผลิตทางการเกษตรลดลงไม่เพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศจนอาจต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศ หรือผลิตผลการเกษตรของไทยไม่เป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศที่มีผู้แข่งขัน เนื่องจากด้อยคุณภาพและการให้ข่าวในทางที่ดีกว่าประเทศคู่แข่ง แม้ว่าจะมีการดำเนินการเกษตรเช่นเดียวกับประเทศไทยก็ตาม ประเทศไทยเป็นประเทศที่กำลังพัฒนาประเทศเดียวในทวีปเอเชียที่สามารถพึ่งผลิตผลทางการเกษตรหลายชนิด ผลผลิตที่ได้มีพอเพียงกับการบริโภคภายในประเทศและส่งออกเป็นสินค้าทำรายได้เข้าประเทศ ซึ่งเป็นความจริงอย่างแน่นอนว่าผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่เพิ่มขึ้นอย่างมากมายนั้น นอกจากการขยายเนื้อที่การเพาะปลูกในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา การขยายพื้นที่ การชลประทาน ตลอดจนการปรับปรุงพันธุ์พืชและวิธีการเพาะปลูกแล้ว ปุ๋ยย่อมเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญประการหนึ่งที่มีบทบาทเป็นอย่างมากและถือเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มผลผลิตพืช

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจในเรื่อง “ปุ๋ย” หรือ “ปุ๋ยเคมี” เสียก่อน ปุ๋ยตามความหมายของเกษตรกรหรือนักวิชาการเกษตรก็คือสารอินทรีย์หรือสารอนินทรีย์ใด ๆ จะเป็นธรรมชาติหรือสังเคราะห์ก็ตามเมื่อใส่ลงไปในดินโดยวัตถุประสงค์ในการเพิ่มเติมธาตุอาหารพืชให้แก่ดิน หรือตามความหมายตาม พ.ร.บ.ปุ๋ย พ.ศ. 2518 ได้ให้ความหมายว่า “ปุ๋ย” หมายความว่า สารอินทรีย์ หรืออนินทรีย์ไม่ว่าจะเกิดขึ้นโดยธรรมชาติหรือทำขึ้นก็ตาม สำหรับใช้เป็นธาตุอาหารแก่พืชได้ไม่ว่าโดยวิธีใด หรือทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีในดินเพื่อบำรุงความเติบโตแก่พืชใน พ.ร.บ. ปุ๋ย พ.ศ. 2518 ยังให้คำนิยามของ “ปุ๋ยเคมี” ไว้ว่าเป็นปุ๋ยที่ได้จากสารอนินทรีย์หรืออินทรีย์สังเคราะห์รวมทั้งปุ๋ยเชิงเดียว ปุ๋ยเชิงผสม ปุ๋ยเชิงประกอบและหมายถึงปุ๋ยอินทรีย์ที่มีปุ๋ยเคมีผสมอยู่ด้วย แต่ไม่รวมถึงปูนขาว ดินมาร์ล ปูนพลาสเตอร์ หรือยิบซั่ม เหตุผลที่มีคำนิยามของปุ๋ยก็เพื่อเป็นความรู้และเป็นบรรทัดฐานเบื้องต้น อีกทั้งเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดความสับสนในปัญหาของปุ๋ยในประเทศ เพราะคำว่า “ปุ๋ยเคมี” นั้นมีบุคคลบางกลุ่มเรียกว่า “ปุ๋ยวิทยาศาสตร์” ซึ่งพอมีคำว่าวิทยาศาสตร์อยู่ด้วยอาจจะทำพวกอนุรักษ์นิยมเกรงไปว่าเป็นการนำวิทยาศาสตร์สมัยใหม่มาใช้จนทำให้ลืมของเดิม อย่างไรก็ตามการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยเคมีของทางราชการ โดยเฉพาะพวกนัก

วิชาการด้านดินและปุ๋ยของกรมวิชาการเกษตรนั้น ได้คำนึงถึงการใช้ปุ๋ยไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยเคมีว่าเป็นหัวใจสำคัญของนักปรับปรุงบำรุงดิน และการใช้ปุ๋ยจะต้องคำนึงถึงการได้กำไรสูงสุดจากการใช้ปุ๋ยแทนที่จะคำนึงถึงผลผลิตสูงสุด

การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยชีวภาพหรือแหนแดง ฯลฯ นั้น นับว่าเป็นประโยชน์มาก เพราะนอกจากจะให้อาหารแก่พืชแล้วยังช่วยปรับปรุงคุณสมบัติทางกายภาพของดินให้เหมาะสมแก่การเจริญเติบโตของพืชยิ่งขึ้น แต่ปุ๋ยอินทรีย์มีเปอร์เซ็นต์ของธาตุอาหารหลัก เช่น ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปตัสเซียมต่ำ จึงจำเป็นต้องใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในปริมาณสูงมากต่อพื้นที่ เพื่อให้ปริมาณธาตุอาหารหลักเพียงพอแก่ความต้องการของพืช อย่างไรก็ดีในทางปฏิบัติเกษตรกรได้ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดต่าง ๆ อยู่แล้วโดยใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมี โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะใช้กับพืชที่ให้ผลตอบแทนสูง เช่น พืชผักที่ปลูกอยู่รอบ ๆ ชานกรุงเทพฯ หรือไม้ดอกไม้ประดับที่ปลูกในกระถางหรือปลูกเพื่อเป็นอาหารตาของผู้มีอันจะกิน แต่เนื่องจากปุ๋ยอินทรีย์ที่ใช้ต้องใช้ในอัตราหรือปริมาณสูง เมื่อคำนึงถึงพื้นที่การเกษตรของประเทศไทยและอัตราการเพิ่มของประชากรในการหาอาหารมาบริโภค รวมทั้งปริมาณผลผลิตที่เหลือส่งออกเพื่อนำรายได้มาพัฒนาประเทศแล้วจึงจำเป็น การยากที่จะหาปริมาณปุ๋ยอินทรีย์ให้เพียงพอแก่ความต้องการใช้ทั่วประเทศได้

ดังนั้นปุ๋ยเคมีจึงมีบทบาทที่สำคัญต่อการเกษตรและความอยู่รอดของชาติ เกษตรกรจึงมีคุณภาพ
ความจำเป็นต้องใช้ปุ๋ยเคมีเข้ามาเสริมในการเพิ่มผลผลิต ปุ๋ยเคมีนอกจากสามารถทำให้มีธาตุอาหารตามความต้องการของพืชและให้ผลตอบสนองในการเพิ่มผลผลิตทันตาเห็นแล้ว ยังเป็นปุ๋ยที่หาได้ในปริมาณสูง สะดวกในการใช้และปราศจากกลิ่นอันไม่พึงประสงค์

เนื่องจากประเทศไทยได้ทำการเพาะปลูกพืชติดต่อกันมานานประกอบกับการบำรุงรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินโดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมียังไม่มากพอเมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณธาตุอาหารที่พืชนำออกไปจากดิน จึงทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ถึงแม้ในปัจจุบันเกษตรกรไทยจะนิยมใช้ปุ๋ยเพิ่มขึ้นทุกปีก็ตาม โดยเฉลี่ยแล้วประเทศไทยมีการใช้ปุ๋ยน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่นในสหรัฐอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น หรือแม้ประเทศในกลุ่มอาเซียนด้วยกัน ปัญหาที่เกษตรกรไทยยังมีการใช้ปุ๋ยเคมีในการเพิ่มผลผลิตน้อยกว่าประเทศเกษตรกรรมอื่นๆ อาจจะมาจากสาเหตุดังต่อไปนี้


1. ปัญหาราคาปุ๋ยเคมีแพงเกินไปและราคาผลผลิตทางการเกษตรต่ำ จึงทำให้เกษตรกรได้รับผลตอบแทนจากการใช้ปุ๋ยเคมีไม่คุ้มค่ากับการลงทุน การนำสั่งปุ๋ยเคมีเข้ามาจากต่างประเทศจึงทำให้ระบบราคาการจำหน่ายปุ๋ยไม่สม่ำเสมอ ในช่วงที่ยังไม่ถึงฤดูเพาะปลูกปุ๋ยค่อนข้างจะมีราคาถูกแต่เมื่อถึงฤดูกาลปลูกพืช ปุ๋ยเคมีมักจะมีราคาแพงตามกลไกของตลาด รัฐน่าจะมีบทบาทในการเข้าไปแทรกแซงตลาด จัดระบบการประกันราคาขั้นต่ำขยายผลผลิตทางการเกษตรและควบคุมราคาปุ๋ยเคมีให้อยู่ในราคายุติธรรม ถ้าเป็นไปได้ควรจะมีการจัดตั้งโรงงานผลิตปุ๋ยเคมีขึ้นภายในประเทศโดยเร็ว

2. ปัญหาการถือครองที่ดินและระบบการเกษตรของประเทศไทย เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง พื้นดินที่เหมาะสมกับการเกษตรหรือพื้นที่ในเขตชลประทานได้ถูกจัดสรรเป็นที่อยู่อาศัยหรือกิจกรรมอื่นที่ไม่ใช่การเกษตร เมื่อเกษตรกรไม่มีที่ดินทำกินก็ได้บุกรุกที่ทำมาหากินใหม่ในเขตป่าสงวนจนเป็นปัญหาต่อ ๆ ไป แต่ถึงแม้เกษตรกรบางส่วนจะมีที่ดินเป็นของตนเอง ที่เหล่านั้นมักมีความเสี่ยงสูงในการใช้ปุ๋ยสำหรับการเพิ่มผลผลิต จึงทำให้ต้นทุนการผลิตด้านการใช้ปุ๋ยสูงไปด้วย

3. ปัญหาการขาดการจัดระบบการให้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ การให้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพจะเป็นการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยเคมีอย่างมีประสิทธิภาพ และลดการเสี่ยงด้านการใช้ปุ๋ยเคมีในการเพิ่มผลผลิตพืช

4. ปัญหาเรื่องคุณภาพและปริมาณปุ๋ยเคมีที่จำหน่ายในท้องตลาด ปัญหาการเอารัดเอาเปรียบของผู้ประกอบการค้าปุ๋ยบางคน และบางกลุ่มในเรื่องปุ๋ยปลอม ปุ๋ยด้อยมาตรฐาน ปุ๋ยเสื่อมคุณภาพ ปุ๋ยมีน้ำหนักไม่ตรงตามที่ระบุไว้ในฉลาก ตลอดจนการโฆษณาโอ้อวดคุณภาพของปุ๋ยจน
เกินความเป็นจริง เป็นสาเหตุของการเพิ่มราคาของปุ๋ยและต้นทุนการใช้ปุ๋ยและเป็นการปลูกฝังความรู้สึกของเกษตรกรในความไม่มั่นใจต่อการใช้ปุ๋ยเคมี รัฐบาลควรจะได้ใช้กลไกของรัฐแก้ปัญหาเรื่องนี้อย่างจริงจังและถือเป็นนโยบายหลักในการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยเคมี โดยจะต้องปรับปรุงกลไกของรัฐบาลเพื่อให้ความเป็นธรรมทั้งผู้ประกอบการค้า และเกษตรผู้ใช้ปุ๋ย

5. ขาดการส่งเสริมความรู้พื้นฐานของการใช้ปุ๋ยเคมีอย่างมีประสิทธิภาพถูกต้องตาม
คุณลักษณะของดิน และความต้องการของพืชที่ปลูกเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดนั้นมีปัจจัยหลายอย่างที่เข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น สภาวะแวดล้อมในดิน สภาพอากาศ อันได้แก่ความชื้นอุณหภูมิ แสงแดด ปริมาณฝน ฯลฯ ชนิดของปุ๋ยเคมีซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับปริมาณธาตุอาหารในดินและมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช วิธีการใส่ปุ๋ยซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของดินและพืชที่ปลูก ปริมาณปุ๋ยเคมีที่ใช้ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้เกษตรและผู้ประกอบการค้าปุ๋ยควรจะได้รับข้อมูลอย่างถูก ต้องต่อการใช้ปุ๋ยเคมี ความนึกคิดของกลุ่มบุคคลที่มักจะให้ข่าวในทางลบของปุ๋ยเคมี เช่นการใช้ปุ๋ยติดต่อกันนาน ๆ แล้วทำให้ดินเสื่อมดินแข็ง ดินเป็นกรดมากขึ้น จนทำให้คุณภาพและผลผลิตของพืชที่ปลูกลดลง แต่ถ้ามองโดยภาพรวมจะเห็นได้ว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่นประเทศในทวีปยุโรป สหรัฐอเมริกา หรือ ประเทศในเอเชีย คือ ญี่ปุ่น เป็นต้น ประเทศเหล่านี้มีการใช้ปุ๋ยเคมีก่อนประเทศไทยมานับร้อยปี ผลผลิตและคุณภาพของผลิตผลการเกษตรของประเทศเหล่านั้นก็ไม่ได้ลดลงแต่ประการใด เพราะประเทศต่าง ๆ เหล่านั้นมีการจัดการดินที่ดี จัดระบบการปลูกพืชอย่างมีระบบสำหรับประเทศที่กำลังพัฒนาที่ประสบกับปัญหาในเรื่องความอุดมสมบูรณ์คงจะไม่ใช่เกิดจากปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว สาเหตุที่สำคัญอันหนึ่งก็คือ ขาดข้อมูลและการปฏิบัติอย่างจริงจังในการจัดการอินทรียวัตถุในดิน การไถพรวนดิน ฯลฯ




สรุป

ปุ๋ยเคมีสามารถจำแนกตามคุณสมบัติทางกายภาพออกเป็น ปุ๋ยผง ปุ๋ยเกรด ปุ๋ยน้ำและแบ่งตามปริมาณของธาตุอาหารออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือปุ๋ยเดี่ยวและปุ๋ยผสม วิธีการใส่ปุ๋ยเคมีในการปลูกพืชต้องคำนึงถึงปัจจัยดังต่อไปนี้คือชนิดของปุ๋ยที่ถูกต้อง อัตราปุ๋ยที่พอเหมาะ เวลาในการใส่ปุ๋ย วิธีการใส่ปุ๋ย การผสมปุ๋ยเคมีใช้เอง แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอนใหญ่ๆ คือ ขั้นเตรียมอุปกรณ์ และขั้นผสมปุ๋ย ในการซื้อปุ๋ยเคมีต้องสังเกตดูตรา ดูสูตร และน้ำหนักที่บอกไว้ที่ถุงว่ามีความถูกต้องหรือไม่ และมีรอยฉีกขาด หรือรอยเย็บใหม่หรือไม่ ในการเก็บรักษาปุ๋ยเคมีควรเก็บรักษาไว้ใน
โรงเรียนที่มีหลังคาและควรแยกออกเป็นพวกๆ โดยเก็บไว้ในที่แห้ง กรณีของปุ๋ยแอมโมเนียมไนเตรตควรไม่ให้เก็บไว้ใกล้น้ำมันเพราะจะทำให้สามารถระเบิดและลุกเป็นไฟได้



คำถามทบทวน

1. คณะกรรรมการปุ๋ยประกอบด้วยบุคคลใดบ้าง
2. ผู้ที่ทำปุ๋ยเคมีปลอมขายให้เกษตรกรมีโทษอะไรบ้าง
3. บอกชนิดของปุ๋ยเคมีตามคุณสมบัติทางกายภาพ
4. ให้ออกแบบเครื่องมือในการปั้นเม็ดปุ๋ยอย่างง่ายๆเพื่อสามารถใช้ในหมู่บ้านได้
5. ทำไมเกษตรกรไทยนิยมใช้ปุ๋ยเคมีมากกว่าใช้ปุ๋ยอินทรีย์
6. การผลิตปุ๋ยยูเรียมีขั้นตอนผลิตอย่างไรบ้างอธิบายพร้อมทั้งเขียนสมการประกอบ
7. บอกปัจจัยในการใช้ปุ๋ยเคมีให้เกิดประสิทธิภาพในการเพิ่มผลผลิตของพืช
8. บอกข้อดีและข้อเสียในการผลิตปุ๋ยไว้ใช้เอง
9. ปัจจุบันเกษตรกรไทยมักมีปัญหาการใช้ปุ๋ยเคมีไม่ว่าจะเป็นด้านราคา และวิธีการจัดการใช้ปุ๋ยจะมีวิธีแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้อย่างไรโดยอาศัยหลักการที่ได้เรียนไป
10. จากคำกล่าวที่ว่าถ้าใช้ปุ๋ยเคมีไปนานๆจะทำให้ดินไม่เหมาะสมสำหรับการปลูกพืชท่านคิดว่าคำกล่าวดังกล่าวถูกต้องหรือไม่ให้เหตุผล





เอกสารอ้างอิง

กรมพัฒนาที่ดิน. (2544). การใช้ที่ดินของประเทศไทย พ.ศ. 2543. . Available :
http//www.Idd.go.th/ofsweb/Thaisoil/no2.html[2544, สิงหาคม 31] .
กลุ่มวิจัยดินและปุ๋ยพืชไร่, ( 2538 ) การใช้ปุ๋ยเคมีกับพืชบางชนิด. กรุงเทพมหานคร : กองปฐพี
วิทยา, กรมวิชาการเกษตร.
เกษมศรี ซับซ้อน. (2541). ปฐพีวิทยา(พิมพ์ครั้งที่4). กรุงเทพมหานคร : นานาสิ่งพิมพ์.
คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิยา. ( 2541). ปฐพีวิทยาเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่8). กรุงเทพมหานคร :
เรืองธรรมการพิมพ์.
ถวิล ครุฑกุล. ( 2527 ). ดินและปุ๋ยเพื่อการเพาะปลูก. กรุงเทพมหานคร : ภาควิชาปฐพีวิทยา
คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
นที ขลิบทอง. ( 2528 ). ดิน น้ำ ปุ๋ย. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
นักวิชาการการเกษตร. ( 2538 ). คำแนะนำการใช้ปุ๋ยเคมีกับพืชเศรษฐกิจและความรู้เรื่องปุ๋ยเคมี.
กรุงเทพมหานคร : กองปฐพีวิทยา กรมวิชาการเกษคร.
ปิยะ ดวงพัตรา. ( 2538 ). หลักการและวิธีการใส่ปุ๋ยเคมี. กรุงเทพมหานคร : ภาควิชาปฐพีวิทยา
คณะเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ศูนย์ฝึกอบรมวิศวกรรมเกษตร. ( 2526 ). ปฐพีวิทยา. กรุงเทพมหานคร : กองวิทยาลัยเกษตรกรรม
กรมอาชีวศึกษา










สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-08-25 (1255 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©