-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 649 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

เทคโนฯ เกษตร





กำลังปรับปรุงครับ


สารละลายธาตุอาหารพืช

โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. วัฒนา เสถียรสวัสดิ์
         

สารละลายธาตุอาหารพืชนับเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งในการปลูกพืชด้วยวิธีไฮโดรพอนิกส์ ธาตุอาหารที่พืชต้องการในการเจริญเติบโตมีทั้งหมด ๑๖ ธาตุ ซึ่ง ๓ ธาตุ คือ C. H.และ O. ได้จากน้ำและอากาศ ส่วนอีก ๑๓ ธาตุ ได้จากการดูดกินผ่านทางราก สารละลายธาตุอาหารพืชทั้ง ๑๓ ธาตุ แบ่งออกเป็น ๒ กลุ่มตามปริมาณที่พืชต้องการ คือ ธาตุอาหารที่พืชต้องการเป็นปริมาณมาก และธาตุอาหารที่พืชต้องการเป็นปริมาณน้อย พืชดูดกินธาตุอาหารพืช ในรูปของไอออนที่เป็นทั้งประจุไฟฟ้าบวกและประจุไฟฟ้าลบ



ถังผสมและจ่ายสารละลายธาตุอาหารพืช



 

ธาตุอาหารที่พืชต้องการเป็นปริมาณมาก หรือมหธาตุ (Macronutrient Elements)
         
แบ่งเป็น ๒ กลุ่มย่อย คือกลุ่มธาตุอาหารหลัก ได้แก่ N. P. K. และกลุ่ม ธาตุอาหารรอง ได้แก่ Ca. Mg. S. โดยพืชจะใช้กลุ่มธาตุอาหารหลักมากกว่ากลุ่มธาตุอาหารรอง 
         
๑) N. คือ ไนโตรเจน (Nitrogen)เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของสารหลายชนิด ภายในเซลล์พืช เช่น โปรตีน คลอโรฟีลล์ กรดนิวคลิอิก พืชดูดกินไนโตรเจนทั้งใน รูปของแอมโมเนียมไอออน (NH4+) และ ไนเทรตไอออน (NO3-) ซึ่งไนโตรเจนส่วนใหญ่ ในสารละลายธาตุอาหารพืชจะอยู่ในรูปของไนเทรตไอออน สารเคมีที่ให้ไนเทรตไอออน คือ แคลเซียมไนเทรต และโพแทสเซียมไนเทรต นอกจากนี้ ยังอาจได้จากกรดไนทริก (HNO3-) ที่ใช้ในการปรับความเป็นกรดด่างของสารละลายธาตุอาหารพืช
         
๒) P. คือ ฟอสฟอรัส (Phosphorus)เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของ sugar phosphate ที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์แสงและการหายใจ ส่วนประกอบของ DNA  RNA และสารพลังงานสูง ฯลฯ รูปของฟอสฟอรัส  ที่พืชสามารถดูดกินได้ คือ โมโนไฮโดรเจนฟอสเฟตไอออน (HPO4-2) และไดไฮโดรเจนฟอสเฟตไอออน (H2PO4-) ส่วนจะอยู่ในรูปใดมากกว่ากันขึ้นอยู่กับความเป็นกรดด่างของสารละลายในขณะนั้น สารเคมีที่ให้ฟอสฟอรัส คือ โมโนแอมโมเนียมฟอสเฟต ไดแอมโมเนียมฟอสเฟต โมโนโพแทสเซียมฟอสเฟต และไดโพแทสเซียมฟอสเฟต 
         
๓) K. คือ โพแทสเซียม (Potassium)เป็นตัวกระตุ้นเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์แสง การหายใจและควบคุม การคายน้ำ พืชดูดกินในรูปโพแทสเซียม-ไอออน (K+)  สารเคมีที่ให้โพแทสเซียม คือ โพแทสเซียมไนเทรต และโพแทสเซียม-ฟอสเฟต 
         
๔) Ca. คือ แคลเซียม (Calcium)เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของผนังเซลล์พืช พืชดูดกินในรูปแคลเซียมไอออน (Ca+2) แหล่ง แคลเซียมไอออนที่ดีที่สุด คือ แคลเซียมไนเทรต เนื่องจากละลายง่าย ราคาไม่แพง  และยังให้ธาตุไนโตรเจนด้วย แหล่งอื่นๆ ได้แก่ แคลเซียมคลอไรด์ และแคลเซียมซัลเฟต
         
๕) Mg. คือ แมกนีเซียม (Magnesium)เป็นแกนกลางของโครงสร้างของคลอโรฟีลล์ที่เป็นตัวกระตุ้นของเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์แสง และการหายใจ ฯลฯ พืชดูดกินในรูปแมกนีเซียมไอออน (Mg+2)  สารเคมีที่ให้แมกนีเซียม คือ แมกนีเซียมซัลเฟต (MgSo4)
         
๖) S. คือ กำมะถัน (Sulphur) เป็นองค์ประกอบของกรดอะมิโน โปรตีน และโมเลกุลของเอนไซม์หลายชนิด พืชสามารถดูดกินในรูปซัลเฟตไอออน (SO4-2)  โดยทั่วไปไม่ค่อยมีปัญหาการขาดกำมะถันในระบบการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน เพราะพืชต้องการกำมะถันในปริมาณน้อย และมักได้รับจากสารเคมีพวกเกลือซัลเฟตของ K. Mg. Fe. Cu. Mn. และ Zn. อยู่แล้ว


ผักกาดหอมห่อที่แสดงลักษณะผิดปกติ อันเนื่อง มาจากขาดธาตุแคลเซียม

ธาตุอาหารพืชที่พืชต้องการเป็นปริมาณน้อย หรือจุลธาตุ (Micronutrient Elements)
         
บางทีเรียกธาตุอาหารเสริม ได้แก่ 
๑) B คือ โบรอน (Boron) มีบทบาทในการสังเคราะห์ DNA  RNA การงอกของละอองเกสร ฯลฯ สารเคมีที่ให้โบเรตไอออน (BO3-3) ซึ่งพืชสามารถดูดกินได้ คือ กรดบอริก (H3BO3) 
         
๒) Zn คือ สังกะสี (Zinc) มี ความจำเป็นต่อกระบวนการเมแทบอลิซึม ของไนโตรเจน และการหายใจของเซลล์พืช  รวมทั้งพัฒนาการและกิจกรรมของฮอร์โมนพืชต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งออกซิน (auxins) พืชดูดกินในรูปซิงก์ไอออน (Zn+2) สารเคมี ที่ให้ ได้แก่ ซิงก์ซัลเฟต (ZnSO4) หรือซิงก์คลอไรด์ (ZnCl2) 
         
๓) Cu คือ ทองแดง (Copper) เป็นส่วนประกอบของเอนไซม์ cytochrome oxidase พืชดูดกินในรูปคอปเปอร์ไอออน (Cu+2) สารเคมีที่ให้ ได้แก่ คอปเปอร์ซัลเฟต (CuSO4) หรือคอปเปอร์คลอไรด์ (CuCl2) 
         
๔) Fe  คือ เหล็ก (Iron)  เป็น องค์ประกอบที่สำคัญของโปรตีนหลายชนิดที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งอิเล็กตรอนในกระบวนการสังเคราะห์แสงและการหายใจ พืชดูดกินในรูป Fe+2 หรือ Fe+3 สารเคมีที่ให้ธาตุเหล็กที่มีราคาถูกที่สุด คือ เฟอร์รัสซัลเฟต (FeSO4) ซึ่งละลายน้ำได้ง่าย แต่ก็จะตกเป็นตะกอนได้เร็ว จึงต้องควบคุมสภาพความเป็นกรดด่างของสารละลาย และเพื่อ หลีกเลี่ยงปัญหาเหล่านี้ จึงนิยมใช้เหล็กในรูปคีเลต (Fe-chelate) ซึ่งเป็นสารประกอบเชิงซ้อน สามารถคงตัวอยู่ในรูปสารละลายธาตุอาหารพืชและพืชดูดกินได้ 
         
๕) Mn คือ แมงกานีส (Manga nese) ทำหน้าที่กระตุ้นการแตกตัวของน้ำ ในกระบวนการสังเคราะห์แสงเกี่ยวข้องกับ chloroplast membrane กระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ มีลักษณะเหมือนกับเหล็ก คือ ความเป็นประโยชน์ของแมงกานีสจะถูกควบคุมโดย pH  ถ้าสารละลายธาตุอาหาร พืชมีลักษณะเป็นด่าง ความเป็นประโยชน์ของแมงกานีสจะลดลง พืชดูดกินในรูปแมงกานีสไอออน (Mn+2) จะได้จากสารเคมีแมงกานีสซัลเฟต (MnSO4) หรือแมงกานีสคลอไรด์ (MnCl2) 
         
๖) Mo คือ โมลิบดีนัม (Molyb-denum)  เป็นองค์ประกอบของเอนไซม์ nitrogenase มีบทบาทต่อกระบวนการ nitrate reduction พืชดูดกินในรูป molybdate ion (MoO4-2) ซึ่งได้จากสาร sodium molybdate หรือ ammonium molybdate


ลักษณะลายใบแคนตาลูปที่ขาดธาตุสังกะสี (Zn) จะแสดงอาการใบด่างระหว่างใบ คือ เส้นใบจะมีสีเขียวแก่ ระหว่างใบจะมีสีขาวหรือสีขาวนวล ใบหน

การเตรียมสารละลายธาตุอาหารพืช
         
ซึ่งดูเหมือนจะเป็นวิธีการจัดการด้านโภชนาการของพืชที่มีความยุ่งยากที่สุด มีสิ่งที่ควรพิจารณา คือ 
๑. น้ำและคุณภาพน้ำที่ใช้ในการเตรียมสารละลายธาตุอาหารพืช (ดูในข้อ ๓.๓) 
         
๒. สูตรสารละลายธาตุอาหารพืช เพื่อให้พืชเจริญเติบโตดีที่สุดตามที่ต้องการ จำเป็นต้องให้พืชได้รับธาตุอาหารที่ครบถ้วน ในปริมาณที่เพียงพอ ต้องไม่ขาดหรือเกิน  และมีความสมดุลตามที่พืชต้องการ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดพืช อายุพืช และสภาพแวดล้อม


http://guru.sanook.com/search/knowledge_search.php?select=1&q=%CA%D2%C3%C5%D0%C5%D2%C2%B8%D2%B5%D8%CD%D2%CB%D2%C3%BE%D7%AA









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-08-25 (1030 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©