-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 354 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

เทคโนฯ เกษตร





กำลังปรับปรุงครับ


แมลงศัตรูไม้ผล

ลักษณะการเข้าทำลาย
โดยทั่วไปการศึกษาแมลงศัตรูพืช วิชานี้ได้เปิดสอนแล้วในภาควิชากีฎะวิทยา ดังนั้นในรายละเอียดต่างๆจะไม่ได้รับการกล่าวถึง ในที่นี้จะเจาะลงไปถึงแมลงที่เป็นศัตรูไม้ผลโดยตรง โดยจะเริ่มจากการเข้าทำลายของแมลงก่อนดังมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1. แมลงที่เข้าทำลายใบ: แมลงที่เข้าทำลายใบมีหลายกลุ่มประกอบด้วย
-กลุ่ม Lepidoptera ; กลุ่มนี้จะยกตัวอย่างเช่น ตัวอ่อนของผีเสื้อ (Lavae) อาจจะเข้าทำลายโดยตรงหรือไม่โดยตรง เช่นหนอนชอนใบในส้มเป็นต้น

-กลุ่ม Coleoptera ; กลุ่มที่เข้าทำลาย เป็นทั้งตัวอ่อนและตัวแก่ ขึ้นอยู่กับระยะเวลา อาจจะทำลายทั้งหมดทุกระยะทั้งระยะที่เป็นตัวอ่อน และตัวแก่ หรือระยะเดียว เช่นเป็นตัวอ่อน หรือตัวแก่ ระยะเดียว เพียงแต่การทำลายจะทำลายโดยใช้ปากกัดใหัขาดหมดเช่นใบอ่อนมะม่วง โดยเริ่มจากตัวแก่ของพวกนี้วางไข่ เสียบที่ก้านใบแล้วตัวอ่อนจะเริ่มโตใช้ปากกัดใบอ่อนทำลายจนเสียหายหมด

-กลุ่ม Thysanoptera ; พวกนี้คือพวกเพลี้ยไฟที่จะทำให้ผลผลิตและลดคุณภาพผลไม้ลดลงเช่น ส้มจะเกิดเป็นรอยด่าง ยกตัวอย่างเช่นส้มสายน้ำผึ้งของอำเภอฝาง หากถูกเพลี้ยไฟเข้ารบกวนส้มจะถูกทำลายเปลี่ยนจากส้มเกรด A ลงจะเป็นส้มเกรด B ทันทีซึ่งทำให้ราคาเปลี่ยนซึ่งราคาที่แพงมากก็จะถูกลดลงโดยการทำลายของกลุ่มเพลี้ยไฟ

-กลุ่ม Psyllidae; กลุ่มนี้ยกตัวอย่างการเข้าทำลายของเพลี้ยไก่ฟ้าที่เข้าทำลายใบมะม่วง การเข้าทำลายในส้ม แต่มีความสำคัญไม่มาก วิธีการทำลายเกิดจากการวางไข่ใต้เนื้อเยื่อของใบมะม่วงแล้วมะม่วงจะสร้างเซลล์หุ้มไว้ ตัวอ่อนก็จะฟักตัวกลายเป็นตัวแก่แล้วเจาะทำลายใบออกมา
เรียบเรียงจาก คำบรรยาย อ. ปรัชวาลย์ สุกุมลนันท์ 2543. ภาควิชากีฏะวิทยา คณะเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

-กลุ่มไร (mites); กลุ่มนี้ทำให้เกิดผลเสียหายแก่ไม้ผลในกรณีทำให้ไม้ผลตกเกรดเช่นการตกเกรดของส้มเขียวหวาน ดังนั้นจึงมีการศึกษาควบคู่กันไประหว่างเพลี้ยไฟและไรมากเพราะเกิดการทำลายมาก จึงมีการศึกษาพ่นยาควบคุมโดยมีการผสมสารเคมีอื่นๆเข้าไปเช่นฮอร์โมน และปํยทางใบ การพ่นทุกครั้งต้องระวังเพราะเป็นกาลงทุนที่ค่อนข้างสูงหากไม่ระวังจะเกิดการเสียหายมาก

แมลงที่เข้าทำลายกิ่งและลำต้นไม้ผล
แมลงพวกนี้เป็นกลุ่มที่เข้าทำลายค่อนข้างมาก แก้ไขก็ลำบาก โดยจะเข้าทำลายโดยวิธีกัดกิน ชอนไช ดูดน้ำเลี้ยง เป็นต้น ทั้งนี้ประกอบด้วย
- กลุ่ม Lepidoptera ; กลุ่มนี้จะเข้า เจาะ กัด ทำลาย กิ่ง และ ลำต้น
- กลุ่ม Homoptera: กลุ่มนี้จะยกตัวอย่างเช่นครั่ง โดยมันจะเจาะดูดน้ำเลี้ยงของกิ่งลิ้นจี่ ทำให้เกิดการเสียหายมาก

3. แมลงที่เข้าทำลายช่อดอก : แมลงพวกนี้จะประกอบด้วย
-กลุ่ม Lepidoptera ; จะมีการเข้ากินช่อดอกเป็นครั้งคราวแต่ก็ไม่ใช่ศัตรูทำลายที่สำคัญมากนัก

-กลุ่ม Thusanoptera และกลุ่ม Homoptera ; กลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่ทำลายมากเช่นเพลี้ยไฟ และเพลี้ยจักจั่น จะเข้าทำลายดอกทำให้เกิดการเสียหายอย่างร้ายแรง ยกตัวอย่างในแถวเชิงดอยสุเทพ มะม่วงจะเกิดการทำลายของเพลี้ยกระโดด


4. แมลงที่เข้าทำลายผล; เป็นการทำลายผลผลิตในระยะสุดท้ายซึ่งจะประกอบด้วย
-กลุ่ม Thysanoptera (เพลี้ยไฟ) ทำให้ผลด้านด่างไม่ได้ราคา
-กลุ่ม Homoptora จะดูดกินเช่นกันแต่กลุ่มนี้จะเข้าไปทำลายน้อยมาก
-กลุ่ม Fruit fly (Diptera:Bactocera sp.) แมลงวันผลไม้นี้ตัวแก่ของมันจะใช้อวัยวะวางไข่ ฝังไข่ไว้ที่ผิวมะม่วงเมื่อมันโตขึ้นมาก็จะชอบไชออกมาจะทำให้มะม่วงเน่าและล่วงหล่นไปในที่สุด ข้อจำกัดของแมลงกลุ่มนี้จะเข้าทำลาย เมื่อ มะม่วงแก่แล้ว
- กลุ่ม Fruit Piercing Month; กลุ่มนี้ยังไม่มีวิธีการกำจัดที่เหมาะสม การแนะนำจากจากกรมวิชาการเกษตร โดยการใช้ สับปะรดชุบยาป้องกันมวนหวานแขวนไว้ในสวนผลไม้ แต่ไม่ได้ผลเพราะมวนหวานที่เจาะผลไม้ที่แท้จริงจะไม่กินผลไม้ที่ปอกเปลือกให้กิน กลุ่มนี้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มดังนี้

1.Primary Fruit Piercing Moth; กลุ่มนี้จะมีปากแข็งที่จะเจาะผลไม้ได้ดีมากเป็นศัตรูที่แท้จริงของไม้ผล

2.Secondary Fruit Piercing Moth; กลุ่มนี้จะเข้ากินตามกลุ่มแรกที่เจาะไว้แล้วโดยจะดูดจากรูที่พวกแรกเจาะเอาไว้ วิธีการกำจัดยังไม่มีการค้นพบที่ถูกต้องแต่ในต่างประเทศ เช่นในญี่ปุ่นจะใช้วิธีจุดไฟไล่ หรือวิธีอีกวิธีการหนึ่งคือการกำจัดพืชอาศัย (Host) เช่นบอระเพ็ดซึ่งจะเป็นที่อาศัยของ Primary Fruit Piercing Moth ได้ แต่ก็ยากมากเพราะบอระเพ็ดขึ้นได้ทั่วไปในป่าของประเทศไทย


5. แมลงที่เข้าทำลายราก
แมลงที่เข้าทำลายรากของพืชนั้นพบว่ามักเป็นแมลงกลุ่ม Homoptera เข้าทำลาย ยกตัวอย่างเช่น ลำไยบนที่ดอนจะ พบพวกเพลี้ยแป้งเข้าทำลายที่ราก

การป้องกันกำจัดแมลงคืออะไร?
การให้ความจำกัดความการป้องกันกำจัดนั้นค่อนข้างยาก ขึ้นอยู่กับการพิจารณาว่าผลผลิตนั้นจะเสียหายขนาดไหน หากพิจารณาแยกแยะออกไปก็คือการควบคุมหรือป้องกันแมลงไม่ให้มีปริมาณสูงเกินไปจนถึงปริมาณมากถึงกับขนาดเข้าทำลายในระดับเศรษฐกิจ

ในการป้องกันกำจัดแมลงจะต้องรู้และเรียงลำดับความสำคัญในการทำลายของแมลง ตลอดจนถึงชื่อทางวิทยาศาสตร์ของแมลง ทั้งที่เป็นประโยชน์ในการค้นคว้าเอกสารได้ง่าย โดยเฉพาะวงจรชีวิตของแมลง ทั้งนี้เพื่อจะสามารถทราบจุดอ่อน และจะสามารถกำหนดขั้นตอนที่เหมาะสมในการป้องกันกำจัดต่อไป

คำจำกัดความที่สำคัญ
Insect control : หมายถึงระดับการควบคุมระดับประชากรแมลงให้อยู่ในระดับต่ำ โดยทั่วไปให้ต่ำกว่าการทำลายระดับเศรษฐกิจ

Economic threshold (ET): หมายถึงระดับที่แมลงระบาดถึงจุดหนึ่งแล้วเข้าทำลายจนทำให้เกิดผลกระทบกระเทือนต่อผลผลิตในระบบเศรษฐกิจ ทำให้ผลผลิตน้อยลง

Economic injury level (EIL) : เป็นระดับที่แมลงระบาดก่อความเสียเข้าทำลายในระบบเศรษฐกิจอย่างรุนแรง หรืออีกนัยหนึ่งทำให้เกิดการเสียหายมาก

Equilibrium position(EP): เป็นลักษณะการระบาดของแมลงในระดับธรรมดา หรือระบบ สมดุลย์ตามธรรมชาติ

ขั้นตอนในการกำจัดแมลง (Ultimate step in insect control)
โดยทั่วไปแล้ว EP มักจะอยู่ต่ำเสมอ หากเกิดระบาดขึ้นจำเป็นจะต้องมีการศึกษาถึง population density หากพบว่าประชากรแมลงเริ่มระบาดถึงระดับ ET ก็จะมีการป้องกันและกำจัดให้จำนวนประชากรลงน้อยไปไม่ให้สูงกว่า ET

ดังนั้นขั้นตอนในการป้องกันและกำจัดจึงประกอบด้วย
1. การศึกษาชนิดของแมลง (Insect identification and classification) เป็นการศึกษาชนิดของแมลงเพื่อประโยชน์ในการป้องกันกำจัด

2. การสำรวจจำนวนหรือปริมาณที่แมลงระบาด (Insect surveys)

3. การศึกษาลงไปในรายละเอียดของแมลงที่ระบาด (Detail study on each insect pest) เป็นจุดสำคัญในการศึกษาวงจรชีวิต พฤติกรรม ของแมลง แต่ละระดับของวงจรชีวิต

4. การเลือกวิธีการป้องกันกำจัด (Selection of controlling measurs)









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-08-25 (1275 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©