-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 188 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

เทคโนฯ เกษตร





กำลังปรับปรุงครับ

โรคและการควบคุมโรคไม้ผล

โรคพืชเป็นปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญอย่างหนึ่งในการจำกัดผลผลิตของพืชลง นอกเหนือจากสาเหตุอื่นๆ ซึ่งทั้งนักโรคพืชและเกษตรกรต้องพบอยู่เป็นประจำ พืชที่ปลูกจะเป็นโรครุนแรงมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างเช่น พันธุ์พืชที่ปลูกอ่อนแอต่อโรค เชื้อโรคที่แข็งแรงและมีความรุนแรง ตลอดจนสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเกิดโรคหรือการระบาดของโรค โรคบางชนิดถ้าเกิดการระบาดอย่างรุนแรงและรวดเร็วหากผู้ปลูกไม่มีความรู้ด้านโรคพืช และวิธีการป้องกันกำจัดที่ดีพอ ก็อาจทำให้การป้องกันกำจัดโรคนั้นไม่ได้ผลหรือไม่ทันเวลา ซึ่งจะทำให้เกิดความเสียหายต่อผลผลิตเป็นอย่างมากจนอาจทำให้ผู้ปลูกพืชนั้นหมดกำลังใจก็ได้ ในทางตรงกันข้ามถ้าผู้ปลูกพืชได้มีการศึกษาวิชาการด้านโรคพืชและแนวทางในการป้องกันกำจัดมากพอสมควรก็จะสามารถวินิจฉัยโรคได้อย่างถูกต้อง รวมถึงมีการตัดสินใจที่ดีในการหาวิธีการป้องกันกำจัดโรคให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งผลตอบแทนจากการปลูกพืชนั้นๆ ได้มากขึ้น

สาเหตุที่ทำให้ไม้ผลเป็นโรค
โรคไม้ผลเกิดจากสาเหตุหลายประการ ซึ่งพอจะแบ่งได้ 2 กลุ่มดังนี้
เกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต (ไม่มีเชื้อ)
สิ่งไม่มีชีวิตดังกล่าวก็คือ สภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่น อุณหภูมิสูงหรือต่ำเกินไป สภาพของดินน้ำหรืออากาศเป็นพิษ หรืออาจเกิดจากความไม่สมดุลของธาตุอาหารในดิน ซึ่งอาจจะมากหรือน้อยจนเกินไป

เกิดจากสิ่งมีชีวิต (มีเชื้อ)
สิ่งมีชีวิตที่ทำให้พืชเป็นโรคคือจุลินทรีย์ หรือสัตว์ที่มีขนาดเล็กมาก ส่วนใหญ่ไม่สามารถสร้างอาหารเองได้ จึงต้องอาศัยอยู่กับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ (พืชที่เพาะปลูก) จนทำให้เกิดอาการผิดปกติขึ้น (พืชเป็นโรค) และก่อความเสียหายในระยะต่อมา จุลินทรีย์เหล่านี้ได้แก่ เชื้อรา แบคทีเรีย ไวรัส มายโคพลาสมา (ไพโตพลาสมา) และไวรัส ส่วนสัตว์ที่มีขนาดเล็กที่ทำให้พืชเป็นโรคได้แก่ ไส้เดือนฝอยชนิดต่างๆ

โรคที่สำคัญของไม้ผลและการควบคุม
การปลูกไม้ผลแต่ละชนิดมีข้อปฏิบัติที่แตกต่างกันออกไป พืชบางชนิดต้องมีการเพาะกล้าก่อนที่จะลงปลูกในแปลงใหญ่ พืชบางชนิดต้องปลูกโดยทำเป็นต้นต่อก่อนแล้วค่อยเปลี่ยนยอดโดยวิธีการติดตาทาบกิ่ง หลังจากการปลูกไปแล้วต้องมีการดูแลรักษาและการปฏิบัติที่ถูกต้องเพื่อให้ต้นไม้มีการเจริญเติบโตแข็งแรงและไห้ผลผลิตดี

อย่างไรก็ตามในการปลูกไม้ผลแต่ละชนิดมักมีปัญหาเกี่ยวกับการระบาดของโรคพืชอยู่เสมอ โรคของไม้ผลที่สำคัญส่วนใหญ่เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อรา เชื้อราหลายชนิดที่เป็นสาเหตุของโรคจะแตกต่างกันไปตามชนิดของไม้ผล การป้องกันกำจัดโรคเหล่านั้นจะมีความแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับชนิดของพืช ตลอดจนปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โรคที่สำคัญของไม้ผลมีดังต่อไปนี้

1. โรคเน่า (root rot) เป็นโรคที่มักพบกับระยะกล้าและต้นโต เกิดจากเชื้อราหลายชนิด เช่น Pythium spp, Phytophthora spp. และ Rhizoctonia sp. ซึ่งเป็นเชื้อราอาศัยในดิน เมื่อสภาพแวดล้อมในดินเปลี่ยนแปลง มีความเหมาะสมกับเชื้อก็จะมีการระบาดเข้าทำลายระบบรากของไม้ผลเช่น สภาพดินที่มีน้ำขังจะเอื้ออำนวยต่อการเข้าทำลายของเชื้อ Pythimu spp. ทำให้ต้นกล้าไม้ผล แสดงอาการเหี่ยว ใบร่วงและชะงักการเจริญเติบโต และถ้ามีสภาพน้ำขังนานก็จะทำให้ต้นเหี่ยวตาย ในกรณีต้นโตระบบรากจะถูกทำลายทีละน้อยมักเป็นบริเวณรากฝอย จึงทำให้ระบบรากฝอยเน่าเหลือน้อย ระบบยึดดินของต้นพืชอ่อนแอเมื่อจับโยกดูลำต้นโยกคลอนหรือล้มง่ายเมื่อโดนลมพายุ ต้นไม้ผลที่โตแล้วที่เป็นโรครากเน่าจะชะงักการเจริญเติบโต ติดดอกออกผลน้อย ตัวอย่างโรคที่สำคัญได้แก่ โรครากเน่าของมะละกอ เกิดจากเชื้อรา Pythiume aphanidermatum และโรครากเน่าของส้มเกิดจากเชื้อรา Phytophthora nicotianae var. parasitica.
วิธีป้องกันกำจัดรากโรคเน่าควรเน้นในการเตรียมดินและการจัดการสวนที่ดี เช่น การจัดการระบายน้ำน้ำที่ดี และการปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างในอยู่ระหว่างระดับ 6-7 รวมทั้งปรับปรุงลักษณะทางฟิสิกส์ของดินให้มีความร่วนซุย มีอินทรีย์วัตถุเพียงพอรวมทั้งการใส่ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมักรองพื้นก่อนปลูก แล้วเสริมด้วยปุ๋ยวิทยาศาสตร์ให้พอเหมาะกับระยะการเจริญเติบโตของพืช โรครากเน่าจะมีการระบาดน้อยเมื่อมีการใส่ปุ๋ยรองพื้นด้วยปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมัก เพราะในปุ๋ยธรรมชาติเหล่านี้มีเชื้อจุลินทรีย์สารมากมายหลายชนิด ซึ่งจะรวมตัวกันในดินบริเวณรากพืช ช่วยป้องกันเชื้อโรคที่มีอยู่แล้วในดินบริเวณแปลงปลูกไม้ให้เชื้อโรคเข้าทำลายราก วิธีนี้จึงเป็นวิธีควบคุมโรคพืชโดยชีววิธีที่ดีวิธีหนึ่ง ส่วนวิธีการใช้สารเคมีในการทำลายเชื้อโรคในแปลงปลูกเป็นวิธีที่ใช้ทุนมากและกระทำได้ในปริมาณและประสิทธิภาพที่จำกัดเป็นวิธีการที่ให้ผลในระยะสั้นช่วงใดช่วงหนึ่งของพืชเท่านั้น เช่นการใช้สารเคมีรมฆ่าเชื้อในดินแปลงเพาะกล้า การใช้วิธีคลุมผิวดินด้วยแผ่นพลาสติกใสเพื่อใช้แสงแดดเพิ่มอุณหภูมิฆ่าเชื้อในดินเป็นวิธีที่นิยมกันในหลายประเทศ

2. โรครากเน่าและโคนเน่า (root and foot rot) เป็นโรคที่ระบาดมากในไม้ผลต้นโตหลายชนิด เกิดจากเชื้อราบางชนิด เช่นเดียวกันโรครากเน่า เช่นเชื้อรา Phytophthora spp. และ Pythium aphanidermatum เข้าทำลายลุกลามขึ้นโคนต้น ทำให้เนื้อเยื่อบริเวณโคนต้นไม้ผลแสดงอาหารเปียกเยิ้มมียางไหล เนื้อเยื่อเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและเน่าตาย แสดงอาการซีดเหลืองของใบและแสดงอาการใบร่วงในเวลาต่อมา พืชจำนวนมากแสดงอาการใบร่วงและลำต้นยืนแห้งตาย เชื้อสาเหตุของโรคสามารถแพร่ระบาดทางลมฝนและน้ำในดิน ทำให้กิ่งและลำต้นระดับเหนือดินเป็นโรคแสดงอาการเนื้อเยื่อตาย เชื้อโรคชนิดเดียวกันอาจแพร่ระบาดเข้าทำลายผลไม้ทำให้ผลเป็นจุดเน่า ผลร่วงหล่น ตัวอย่างโรครากเน่าและโคนเน่าที่สำคัญเช่น โรครากเน่าของส้ม เกิดจากเชื้อรา Phytopthora nicotianae var parasitica และโรคโคนเน่าและผลเน่าของทุเรียน เกิดจากเชื้อรา Phytophthora palmivora. โรคโคนเน่าต้นมะละกอเกิดจากกเชื้อรา Phytium aphanidermatum

วิธีการป้องกันกำจัดโรครากและโคนเน่า ควรทำเช่นเดียวกับโรครากเน่าและมีการเพิ่มการป้องกันระดับเหนือดินโดยวิธีการตัดแต่งทรงพุ่มไม้ผลให้โปร่ง เพื่อให้อากาศระบายความชื้นในทรงพุ่มให้ลดน้อยลง ทำให้บรรยากาศภายในทรงพุ่มต้นแห้งไม้เอื้ออำนวยต่อากรแพร่ระบาดเข้าทำลายกิ่ง ใบ ดอก และผล นอกจากนี้ควรเพิ่มมาตรการฉีดพ่นป้องกันด้วยสารเคมีโดยพ่นทั้งในและนอกทรงพุ่ม เพื่อป้องกันในระยะก่อนการระบาดของโรค

3. โรคเหี่ยว(wilt) เป็นโรคที่ทำความสูญเสียรุนแรงกับไม้ผลระยะการเจริญเติบโต เชื้อโรคระบาดเข้าสู่รากทางดินเข้าสู่ระบบท่อน้ำท่ออาหารของต้นพืช ทำให้ท่อน้ำและท่ออาหารถูกอุดตันและเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ทำให้ใบเหี่ยวตายอย่างรวดเร็ว และยืนต้นตายในเวลาต่อมา เชื้อสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเหี่ยวของไม้ผลมีหลายชนิด คือ เชื้อแบคทีเรีย Pseudomonas solanacearum และเกิดจากกลุ่มเชื้อรา คือ Fusarium oxysporum และ Verticillium sp. มีข้อสังเกตุความแตกต่างระหว่างโรคเหี่ยวที่เกิดจากแบคทีเรียกับราในสภาพสวนและไร่ โดยการตัดเนื้อเยื่อพืชที่ผิดปกตินำไปแช่น้ำสะอาดในแก้วน้ำ ถ้าเป็นแบคทีเรียจะมีน้ำขุ่นขาวของกลุ่มเชื้อแบคทีเรีย (bacterial oozes ) พุงทะลักออกมา ส่วนเชื้อราจะไม่ปรากฏลักษณะดังกล่าว การระบาดของโรคเหี่ยวมีสาเหตุเนื่องจากสภาพดินที่ไม่เหมาะสม ขาดความสมดุลย์ของแร่ธาตุอาหารและจุลินทรย์ที่เป็นศัตรูธรรมชาติในดิน ทำให้เชื้อราหรือแบคทีเรียสาเหตุของโรคเข้าทำลายพืชได้ง่าย ตัวอย่างโรคเหี่ยวที่สำคัญคือ โรคเหี่ยวของกล้วยหรือโรคกล้วยตายพรายเกิดจากเชื้อรา Fusarium oxysporum f. sp. cubense. โรคเหี่ยวของกล้วยเกิดจากเชื้อบักเตรี Pseudomonas solancearum และโรคเหี่ยวของต้นอะโวคาโดเกิดจากเชื้อรา Pseudomonas solanacearum และโรคเหี่ยวของต้นอะโวกาโดเกิดจากเชื้อรา Verticillium dahliae
วิธีการป้องกันกำจัดโรคเหี่ยวของต้นพืชมีความเกี่ยวข้องกับการเตรียมดินที่ดี ปรับระดับความเป็นกรดด่างอย่างเหมาะสมกับพืช การเพิ่มจุลินทรย์ในดินสภาพปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมักที่สลายตัว
ดีแล้วลงดินจะช่วยลดโรคเหี่ยวได้มาก การใช้น้ำเสียที่ปนเปื้อนจากโรงงานในการรดต้นไม้ก็จะไปทำลายจุลินทรย์ในดิน ทำให้ขาดความสมดุลย์ทางชีววิธีในดินก็จะทำให้มีเชื้อระบาดทำลายทำให้มีลำต้นเหี่ยวมากขึ้น วิธีการใช้สารเคมีควบคุมโรคเหี่ยวภายหลังจากเกิดโรคจะให้ผลน้อยมาก

4. โรคโคนเน่าระดับดิน (collar rot) พบระบาดในระยะกล้าหรือระยะต้นโตในไม้ผลบางชนิด ทำให้ต้นกล้าแห้งตายหรือลำต้นเหี่ยวตาย เชื้อสาเหตุคือรา Sclerotium rolfsii หรือ “ราเมล็ดผักกาด” ซึ่งเจริญเข้าทำลายต้นระดับดินและสร้างเส้นใยขาวฟูรอบโคนต้น มีกลุ่มของเส้นใยรวมตัวเป็นเม็ดกลมๆ คล้ายเมล็ดผักกาดแต่มีสีขาว เรียกว่าเม็ดสะเคลอโรเทียม (sclerotium ) ต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลดำรวมเป็นกระจุกบริเวณโคนต้นพืชที่ถูกทำลาย ส่วนของเชื้อที่เป็นเม็ดกลมๆ ของเชื้อราใช้ในการแพร่พันธุ์และตกค้างในดินได้นาน ทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง เพื่อเข้าทำลายโคนต้นพืชในฤดูกาลต่อไป ตัวอย่างโรคที่สำคัญคือ โรคโคนต้นเน่าระดับดินในกล้ามะม่วง และโรคโคนเน่าของแอปเปิล

วิธีการป้องกันกำจัดโรคโคนต้นเน่าระดับดินมักเน้นถึงการปรับสภาพดินที่เหมาะสมและการใส่เชื้อจุลินทรย์หลายชนิดลงในดินโดยใช้ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมักซึ่งสามารถทำลายเชื้อราสาเหตุของโรคได้ เช่นรา Trichoderma spp. เข้าทำลายเส้นใยและเม็ดสะเคลอโรเทียมของเชื้อราทำให้ช่วยลดประชากรของเชื้อโรคในดิน การใช้ดินเพาะกล้าที่ซ้ำซากหรือใช้วัสดุเพาะที่เก่าก็จะมีโรคชนิดนี้ระบาดได้ง่ายเป็นประจำ ควรรื้อทำลายปรับส่วนผสมของดินและให้มีการระบายน้ำที่ดี ไม่ควรเพาะกล้าแน่นเกินไป หากพบต้นกล้าเริ่มเหี่ยวเป็นหย่อมๆ ให้สำรวจดูที่โคนต้นถ้าพบลักษณะของเชื้อราดังกล่าว ต้องรวบรวมต้นที่เป็นโรคเผาทำลาย การใช้สารเคมีฉีดพ่นหรือราดแปลงกล้าจะช่วยป้องกันโรคชนิดนี้ได้ เช่น เอทาโซล (ethazole) หรือ พีซีเอ็นบี (PCNB) ในการราดดินหรือวัสดุเพาะกล้าเป็นระยะๆ จะช่วยยับยั้งการระบาดของโรค ในกรณีไม้ผลต้นโตที่พบเห็นโรคเริ่มเข้าทำลายที่โคนควรขุดดินบริเวณโคนออกและถากผิวเปลือกที่ถูกทำลายออกแล้วทาสารเคมีดังกล่าว

5. โรครากปม (root knot) พบระบาดกับไม้ผลหลายชนิด ทำให้ลำต้นชะงักการเจริญเติบโต มีสาเหตุจากไส้เดือนฝอย Meloidogyne spp. อาศัยอยู่ในดินเข้าทำลายทางระบบราก ทำให้รากเกิดอาการบวมมองเห็นเป็นปมมากมาก มีผลต่อการดูดน้ำเลี้ยงของรากที่ส่งไปเลี้ยงลำต้นทำให้ลำต้นแคระแกรน ใบซีดเหลืองหรือเหี่ยว ตัวอย่างที่สำคัญโรครากปมของไม้ผล เช่น โรครากปมของฝรั่ง โรครากปมของต้นมะละกอและสับปะรด

6. โรคแอนแทรกโนส (anthracnose) เป็นโรคที่สำคัญที่สุดของไม้ผลในเขตร้อน เพราะมีการระบาดได้แทบทุกระยะการเจริญเติบโต ระยะแทงช่อดอก ติดผล และระยะหลังเก็บเกี่ยว สาเหตุ คือเชื้อรา Colletorichum gloeosporioides และ Colletotrichum spp. ทำลายพืชไม้ผลได้หลายชนิด เมื่อระบาดทำลายระยะกล้าจะทำให้เป็นจุดเล็กๆ สีน้ำตาลเกิดกระจัดกระจายบนใบอ่อน ทำให้ใบเจริญผิดปกติใบบิดเบี้ยว เชื้อราเมื่อแพร่ระบาดเข้าทำลายยอดอ่อน ในปริมาณมากทำให้ใบแห้งตาย บริเวณลำต้นกล้าที่มีสีเขียวจะเป็นจะสีน้ำตาล เนื้อเยื่อเน่าตาย เชื้อราเข้าทำลายทำให้ต้นกล้าหักพับและยอดเหี่ยว ในระยะต้นโตจะพบอาการใบที่แตกใหม่เป็นจุดสีน้ำตาล เนื้อเยื่อใบที่เป็นโรคบริเวณกลางจุดมักแตกเป็นรู เชื้อราแพร่ระบาดเข้าช่อดอกทำให้ช่อดอกเน่าดำ ทำให้ผลไม้ระยะที่ผลพัฒนาขนาดปรากฏจุดกำเกิดกระจัดกระจายในลักษณะไหลเป็นทางจากขั้วผลไปสู่ก้นผล ทำให้ผลไม้ชะงักการเจริญเติบโต ผลอ่อนที่เป็นโรคแอนแทรคโนสจะเน่าดำเสียหายและผลร่วง ระยะที่ผลพัฒนาขนาดของผลโตจนถึงระยะใกล้เก็บเกี่ยวจะพบโรคเป็นจุดดำบนผลมีขนาดแตกต่างกัน สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการระบาดของเชื้อโรคคือสภาพอากาศร้อนและชื้นจะทำให้เกิดจุดดำของโรคอย่างรวดเร็ว ทำให้ผลแตกตรงจุดดำระยะใกล้เก็บเกี่ยวผลไม้ระยะใกล้สุกในโรงเก็บที่ไม่ปรากฏลักษณะอาการของโรคมาก่อนเมื่อเก็บรักษาไว้ในระยะหลังเก็บเกี่ยวผลไม้ระยะหลังเก็บเกี่ยวจะมีโรคแอนแทรกโนส ซึ่งสามารถพักอาศัยอยู่ในผิวผลตกค้างมาจากสวนเริ่มเจริญเติบโตทำลายผลสุก ยิ่งผลไม้สุกงอมมากจะปรากฏจุดดำของโรคแอนแทรกโนสบนผลไม้เป็นจำนวนมาก วิธีการเข้าทำลายแบบแฝง (latent infection) และพบเชื้อราสร้างสปอร์ในลักษณะเมือกลีชมพูให้เห็นชัดเจนบนผลที่เน่าดำ จึงเป็นอุปสรรคในการส่งผลไม้ไปต่างประเทศ ตัวอย่างโรคแอนแทรคโนสที่สำคัญได้แก่ โรคแอนแทรกโนสในมะม่วง กล้วย มะละกอ พุทรา องุ่น และอะโวกาโด

การป้องกันกำจัดโรคแอนแทรกโนสทั้งระยะกล้าและต้นโตทำได้โดยการเน้นในการเตรียมเพาะต้นกล้าให้ห่างกันไม่แน่นทึบ ตัดแต่งทรงพุ่มต้นโตให้โปร่งแสง เมื่อมีการระบาดของโรคต้องมีการฉีดพ่นสารเคมีป้องกันเป็นระยะๆ โดยเฉพาะระยะที่เป็นเนื้อเยื่ออ่อนมีลักษณะอวบน้ำคือ ระยะกล้า ระยะแตกยอดใหม่ ระยะแทงช่อดอก และระยะติดผล สารเคมีที่ใช้ฉีดพ่นมีชนิดดูดซึม (systemic fungicide) เช่น เบนโนมิล (benomyl) และคาร์เบนดาซิม (carbendazim) มักใช้ฉีดพ่นสลับสลับกับสารชนิดไม่ดูดซึม (contact fungicide) เช่น แมนคอเซ็บ (mancozeb) การฉีดพ่นสารเคมีชนิดดูดซึมบ่อยครั้งติดกันอาจก่อให้เกิดเชื้อดื้อสารเคมี จึงควรใช้ด้วยความระมัดระวัง ผลไม้ที่ได้รับการควบคุมด้วยสารเคมีจากสวนแล้วมีความจำเป็นต้องเพิ่มมาตรการควบคุมโรคระยะหลังเก็บเกี่ยวในกรณีที่ต้องใช้เวลาเก็บรักษานานหรือส่งออกต่างประเทศ โดยการใช้สารเคมีร่วมกับน้ำร้อนที่ระดับอุณหภูมิที่พอเหมาะสำหรับผลไม้แต่ละชนิดแตกต่างกัน เช่น การใช้ คาร์เบนดาซิม หรือ เบนโนมิลที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส ใช้จุ่มผลมะม่วงและมะละกอหลังระยะเก็บเกี่ยวโดยใช้ระยะเวลาต่างกัน 5 และ 20 นาที ตามลำดับจะลดปัญหาผลเน่าเนื่องจากโรคแอนแทรคโนสของผลไม้ทั้งสองชนิด

7. โรคราแป้ง (powdery mildew) ทำความเสียหายระยะช่อดอกและติดผลของไม้ผลหลายชนิด กลุ่มเชื้อราสีขาวคล้ายฝุ่นแป้งเจริญปกคลุมใบและช่อดอกทำให้ดอกร่วงไม่ติดผล ราแป้งเกิดจากเชื้อ Oidium spp. พบระบาดเข้าทำลายพืชในสภาพที่แห้งแล้งและมีอากาศเย็น เชื้อราจะสร้างสปอร์บนช่อดอกได้ดีเมื่อพืชแสดงอาการของโรครุนแรงและมีสภาพความชุ่มชื้นในอากาศที่สูงพอ การเข้าทำลายระยะแรก ๆ ในพืชบางชนิดจะไม่ปรากฏกลุ่มเชื้อราที่เด่นชัด เชื้อราแป้งในพืชบางชนิดระบาดทำลายเฉพาะผลไม้ระยะพัฒนาขนาดของผลต่างๆ กัน ทำให้ผลไม้ชะงักการเจริญเติบโต ผลบิดเบี้ยว มีร่องรอยตกกระบนผิวผลเมื่อโตขึ้นและทำให้รสชาติเปลี่ยนไป ในไม้ผลบางชนิดพบราแป้งบนใบอ่อนที่อยู่ในพุ่มและพบเฉพาะในที่สูงบนภูเขาที่มีสภาพอากาศหนาวเย็น ราแป้งทำลายใบอ่อนรุนแรงมีราสีขาวปกคลุมทั่วทั้งใบทำให้ใบแห้งตาย ตัวอย่างที่สำคัญของโรคราแป้งในไม้ผลคือ โรคราแป้งของ มะม่วง องุ่น เงาะ พุทรา แอปเปิล และท้อ

วิธีการป้องกันกำจัดโรคราแป้งต้องเน้นในการใช้สารเคมีฉีดพ่นป้องกันเป็นระยะๆ โดยทั่วไปใช้กำมะถัน (wettable sulfur) ซึ่งให้ประสิทธิภาพสูงเมื่อฉีดพ่นทั่วถึง มีข้อควรระวังอัตราที่เข้มข้นจะทำให้เกิดการเป็นพิษทำลายเนื่อเยื่อพืชโดยเฉพาะในสภาพที่มีอากาศร้อนและมีอุณหภูมิสูง สารเคมีชนิดดูดซึมที่ควบคุมโรคราแป้งที่ได้ผลดี เช่น ไตรอาดีมีฟอน (triadimefon) พาราโซฟอส (parasophos) และสารเคมีที่มีประสิทธิภาพสูงชนิดอื่นๆ อีกหลายชนิดที่ใช้ควบคุมราแป้งได้ดี

8. โรคราสนิม(rust) พบระบาดกับไม้ผลหลายชนิด ทำให้เกิดจุดซีดเหลืองด้านบนใบ
และมีกลุ่มเชื้อสีเหลืองส้มหรือน้ำตาล ลักษณะคล้ายกับฝุ่นสนิมด้านใต้ใบ จุดอาจรวมกันทำให้เกิดอาการใบไหม้แห้งตาย และใบร่วงทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต มีสาเหตุจากเชื้อราสนิมหลายชนิด เช่น โรคราสนิมองุ่นเกิดจากเชื้อ Phakopsora ampelopsids โรคราสนิมท้อเกิดจากเชื้อ Tranzschelia discolor โรคราสนิมขนุนเชื้อเกิดจาก Physopella artocarpi โรคราสนิมพุทธาเกิดจากเชื้อ Phakopsora zizphi-vulgaris โรคราสนิมมักแสดงอาการชัดเจนในใบแก่

การควบคุมโรคราสนิมของไม้ผลควรเน้นการตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่ง พ่นสารกำจัดที่มีประสิทธิภาพสูง เฉพาะราสนิม เช่น อ๊อกซีคาร์บ๊อกซิน (oxycarboxin) ซึ่งใช้ควบคุมโรคราสนิมของพืชหลายชนิด

9. โรคราน้ำค้าง (downy mildew) เป็นโรคที่ระบาดได้รุนแรงในสภาพที่มีความชื้นสูงระยะยาวนานมีฝนตกชุก พบระบาดรุนแรงกับองุ่น เกิดจากเชื้อ Plasmopara viticola ทำให้ใบองุ่นเป็นจุดด่างเหลืองด้านบนใบและมีกลุ่มเส้นใยสีขาวฟูด้านใต้ใบ จุดอาจขยายลุกลามเข้าหากัน ทำให้เกิดอาการใบแห้งตาย เมื่อมีสภาพอากาศแห้งแล้ง เชื้อราน้ำค้างเป็นราชั้นต่ำซึ่งแพร่ระบาดทางลมและฝนและทางการให้น้ำจึงเข้าทำลายช่อดอกและผลองุ่นได้ง่าย ทำให้ช่อดอกแห้งและผลองุ่นบิดงอชะงักการเจริญเติบโต

การป้องกันกำจัดโรคราน้ำค้างควรตัดแต่งทรงพุ่มในสวนองุ่นให้โปร่ง มีแดดส่องถึง
และมีการระบายอากาศดีทำให้สามารถฉีดพ่นสารเคมีได้ทั่วถึง สารเคมีชนิดที่ได้ผลดีกับราน้ำค้าง ได้แก่ แมนคอเซ็บ (mancozeb) เมตาแลคซิล (metalaxyl) และฟอสแอทธิล อลูมินัม (fosethylaluminum)

10. โรคใบจุด (leaf spot) พบระบาดกับพืชไม้ผลหลายชนิดทำให้เกิดจุดใบมีรูปร่างของจุดแตกต่างกันหลายแบบตามแต่ชนิดของเชื้อสาเหตุที่เข้าทำลายขึ้นอยู่กับกลุ่มของเชื้อรา เช่น Pestalotiopsis spp., Macrophoma spp., Cercospora spp., และ Phyllosticta spp. ส่วนที่เป็นกลุ่มของบักเตรี เช่น Xanthomonas spp. อาการใบจุดที่เกิดจากเชื้อราเมื่อสุ่มตรวจดูด้วยแว่นขยายก็จะพบส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อราเป็นตุ่มดำ ๆ หรือ เป็นกลุ่มของเส้นใยเชื้อราเจริญฟูบริเวณกลางแผลของเนื้อเยื่อที่ตาย แผลที่ถูกทำลายโดยบักเตรีจะพบลักษณะเป็น หยดน้ำเยิ้มของบักเตรี (bacterial exudates) ตามบริเวณขอบแผลซึ่งมีเนื้อเยื่อฉ่ำน้ำ (water soaked) ลักษณะอาการของโรคใบจุดและส่วนของเชื้อที่ปรากฎจะช่วยบอกกลุ่มของเชื้อสาเหตุเมื่อส่องดูด้วยกล้องจุลทัศน์ เพราะมีลักษณะที่ค่อนข้างแตกต่างกันอย่างชัดเจน ตัวอย่าง โรคใบจุดพบกับไม้ผลทุกชนิด เช่น มะม่วง มะขาม ทักทิมและอื่น ๆ

วิธีป้องกันกำจัดโรคใบจุดควรเริ่มจากการตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่งแล้วพ่นป้องกันด้วย สารเคมีเป็นระยะ ๆ เน้นระยะใบอ่อน สารเคมีที่ใช้แบ่งเป็นกลุ่มที่ใช้ได้ผลดีชนิดดูดซึมเช่น เบนโนมิล และ คาร์เบนดาซิม และชนิดไม่ดูดซึม ได้แก่ แมนคอเซ็บ และสารทองแดง (copper fungicide) เช่น คอปเปอร์ออกซิคคอลไรด์ (copper oxychloride) และคูปรัสออกไซด์ (cuprous oxide) สารทองแดงมีข้อระมัดระวังในการฉีดพ่นพืชระยะช่อดอกและติดผลอ่อนซึ่งอาจเป็นอันรายทำให้ผลมีผิวลายเมื่อโตขึ้น แต่สารชนิดนี้ให้ผลดีในการควบคุมโรคใบจุดที่เกิดจากบักเตรีและเชื้อราเมื่อฉีดพ่นทั่วถึง

11. โรคใบไหม้ใบติด (leaf blight) ทำให้พืชใบร่วมอย่างมาก ลักษณะอาการของโรคจะมีจุดตายบนใบแล้วขยายตัวลุกลามอย่างรวดเร็ว ทำให้มองเห็นเป็นลักษณะใบไหม้แห้งตาย มีสาเหตุจากเชื้อรา Rhizoctonia sp. ซึ่งสร้างเส้นใยเข้าทำลายใบ มีลักษณะคล้ายใยแมงมุมคลุมใต้ใบหรือบนใบและลุกลามไปยังใบใกล้เคียง เส้นใยของเชื้อรายึดติดกันทำให้ใบที่แห้งตายติดกันเป็นกระจุก ตัวอย่าง โรคใบติดที่สำคัญ ได้แก่ โรคใบติดของทุเรียน สตรอเบอรี่ และกล้ามะม่วง

วิธีการป้องกันกำจัดโรคใบไหม้หรือใบติดต้องลดความชุ่มชื้นในทรงพุ่ม โดยวิธีการตัดแต่งกิ่งตามฤดูกาลที่เพียงพอ โดยเฉพาะชายพุ่มที่ใกล้คะดับดินควรตัดให้โปร่งเพื่อป้องกันเชื้อโรคที่จะกระเซ็นลุกลามจากดินขึ้นไปสู่ใบ สภาพฤดูกาลที่โรคระบาด คือ อากาศร้อนและชื้น กำจัดวัชพืชและรวบรวมใบเป็นโรคเผาทำลาย ควรฉีดพ่นป้องกันด้วยสารคอปเปอร์ออกซิคลอไรด์ หรือแมนคอเซ็บ

12. โรคราสีชมพู (pink disease) ทำลายไม้ผลยืนต้นทำให้กิ่งตายเนื่องจากเชื้อรา Corticium salmonicolor แพร่ระบาดทางลมเข้าทำลายบริเวณง่ามกิ่ง แล้วสร้างกลุ่มของเส้นใยสีชมพูประสานกันหนาแน่นเจริญคลุมกิ่งและขยายไปตามความยาวของกิ่ง ทำให้เนื้อเยื่อกิ่งตายเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ยอดจะแสดงอาการเหี่ยวและแห้งตาย ตัวอย่างโรคราสีชมพูของไม้ผล คือ โรคราสีชมพูของส้ม เงาะ ทุเรียน ลองกอง และแอปเปิ้ล

วิธีการป้องกันกำจัดโรคราสีชมพูโดยการตัดทรงพุ่มให้โปร่ง และฉีดพ่นสารเคมีป้องกันเป็นครั้งคราวให้สารเคมีเคลือบกิ่งและส่วนของลำต้นภายในพุ่ม หากพบต้นที่เป็นโรคให้รีบตัดกิ่งเผาทำลาย

13. โรคแคงเกอร์ (canker) เป็นโรคที่สำคัญของพืชตระกูลส้ม ทำให้เกิดลักษณะจุดเหลืองนูนทั้งสองด้านของใบส้ม ทำให้กิ่งเป็นแผลแตกโดยเฉพาะกิ่งอ่อนและยอดจะเป็นโรคได้ง่าย ทำให้ ผลส้มเป็นจุดนูนสีน้ำตาลและเป็นแผลบริเวณผิวผลทำให้แลดูไม่สวยงาม เชื้อสาเหตุ คือ เชื้อบักเตรี Xanthomonas campestris pv. citri แพร่ระบาดได้ง่ายโดยทางน้ำที่รดต้นส้ม น้ำฝนที่ตกกระเซ็นนำเชื้อบักเตรีไปทำลายส่วนอื่นของต้นส้ม เมื่อเป็นโรคหนาแน่นจุดนูนอาจเชื่อมกันเป็นแผลโต ทำให้ใบหงิกงอ ผลแตก ยอดชะงักการเจริญเมื่อถูกทำลายร่วมกับหนอนชอนใบส้ม โรคแคงเกอร์รุนแรง คือ ส้มเขียวหวาน มะนาว มะกรูด และส้มโอ

การป้องกันกำจัดโรคแคงเคอร์ส้มต้องเริ่มจาการใช้กิ่งพันธุ์ที่ปราศจาโรค และพ่นป้องกันด้วยคอปเปอร์ออกซี่คอไรด์ (copper oxychoride) หรือสารในกลุ่มทองแดงชนิดอื่น ๆ ฉีดพ่นให้ทั่วทั้งต้นเป็นระยะ ๆ จะลดความรุนแรงของโรคให้น้อยลง ควรผสมสารจับใบทุกครั้งในการพ่นสารทองแดงควบคุมโรค

14. โรคราดำ (sooty mold) ทำให้ยอด ใบ ช่อดอก ลำต้นและกิ่งมีกลุ่มราสีดำเจริญคลุมผิว
มีสาเหตุมาจากเชื้อรา Meliola sp. และ Capnodium sp. อาศัยผิวพืชเป็นที่ยึดเกาะโดยมีการระบาดร่วมกับแมลง เช่น เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยแป้ง และเพลี้ยหอย ที่เข้าทำลายพืชและขับถ่ายสารเหนียว ๆ (honey dew) ลงจับที่ใบ กิ่งและช่อดอกเป็นอาหารของเชื้อราดำ ซึ่งเจริญบนผิวพืชจะบดบังการสังเคราะห์แสงและชะงักการเจริญเติบโตของพืช ช่อดอก ที่มีราดำจะบานช้าและผิดปกติ ไม่ติดผล ราดำที่คลุมกิ่งและส่วนอื่นของลำต้นที่มีสีเขียวจะมีผลกระทบ ต่อเนื้อเยื่อที่มีการสังเคราะห์แสง ราดำที่เจริญปกคลุมบนผลไม้ ทำให้ผิวผลแลดูไม่สะอาด มีราคาต่ำ ตัวอย่างโรคราดำ ที่สำคัญของไม้ผลคือ ราดำที่ช่อดอกบนกิ่งใบและผลมะม่วง ส้ม ทุเรียน และเงาะ

วิธีการป้องกันกำจัดราดำ โดยการตัดแต่งกิ่งให้โปร่งเพื่อไม่ให้เป็นที่พักอาศัยาของแมลงแล้วฉีดสารเคมีควบคุมแมลงชนิดต่าง ๆ ดังกล่าว ผสมสารเคมีที่ควบคุมเชื้อรา เช่น แมนคอเซ็บ

15. โรคจุดสาหร่ายหรือจุดสนิมแดง (algal disease, red rust) พบเจริญบนใบไม้ผลหลายชนิด มีลักษณะเป็นกลุ่มโคโลนีสีเหลืองหรือสีส้ม เกิดกระจัดกระจายบนใบ มีสาเหตุมาจากสาหร่ายชนิดที่เป็นโรคเพียงชนิดเดียว คือ Caphaleuros virescens ดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ใบชะงักการเจริญเติบโต สาหร่ายที่ระบาดเข้ากิ่งที่จะทำให้เปลือกกิ่งแตก และทำให้เกิดจุดบนผล ตัวอย่างโรคจุดสาหร่ายในไม้ผลที่สำคัญ คือ พบในมะม่วง ส้ม ฝรั่ง อะโวกาโด มะขาม และไม้ผลชนิดอื่น ๆ อีกหลายชนิด วิธีการป้องกันกำจัดโรคฉีดพ่นป้องกันด้วยคอปเปอร์ออกซิคลอไรด์










สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-08-25 (2408 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©