-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 456 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

เทคโนฯ เกษตร





กำลังปรับปรุงครับ


ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการขยายพันธุ์พืช ความหมายของการขยายพันธุ์พืช

การขยายพันธุ์พืช (Plant Propagation) หมายถึง การเพิ่มหรือทวีจำนวนต้นพืชให้มีมากขึ้นหรือหมายถึงการเพิ่มจำนวนพืชจากที่มีอยู่ แต่ไม่รวมถึงการเพิ่มจำนวนต้นพืชด้วยวิธีที่นำมาจากที่อื่นการขยายพันธุ์พืชแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่               

1. การขยายพันธุ์พืชโดยอาศัยเพศ ( Seed or Sexual propagation)
2. การขยายพันธุ์พืชโดยไม่อาศัยเพศ หรือใช้ส่วนต่างๆของต้น   (Asexual propagation)                                         

หลักการขยายพันธุ์พืช
การขยายพันธุ์พืชให้ประสบผลสำเร็จต้องมีความรู้ดังนี้คือ         
1. ต้องมีทักษะในการขยายพันธุ์พืช ผู้ที่จะทำการขยายพันธุ์ไม่ว่าจะเป็นวิธีการตอนกิ่ง การต่อกิ่ง ติดตา และทาบกิ่ง จำเป็นที่จะต้องฝึกปฏิบัติหัดเพื่อให้เกิดความชำนาญ               

2. ต้องรู้จักโครงสร้างภายในต้นพืชและนิสัยการเจริญเติบโตของพืชและควรมีความรู้พื้นฐานทางด้านพฤกษศาสตร์ พืชสวน พันธุศาสตร์ และสรีรวิทยาของพืช ความรู้พื้นฐานเหล่านี้มีส่วนช่วยให้การขยายพันธุ์ประสบผลสำเร็จอย่างมาก               

3. ต้องรู้จักชนิดของพืชและวิธีการขยายพันธุ์ที่ให้ผลแน่นอน ซึ่งพืชแต่ละชนิดมีความยากง่ายในการขยายพันธุ์แตกต่างกัน ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องทราบถึงเทคนิคต่างๆ ในพืชแต่ละชนิด ซึ่งความรู้อาจได้จากการศึกษาจากเอกสารทางวิชาการหรือจากผู้ที่มีประสบการณ์หรืออาจทำการศึกษาทดลองค้นคว้าด้วยตนเอง
    

การขยายพันธุ์

อาศัยเพศ

ไม่อาศัยเพศ
จากส่วนต่างๆของต้น
จากสปอร์
อาศัยรากของตนเอ นนนเอง
อาศัยรากของต้นอื่น

     
รูปที่ 1.1 แสดงการขยายพันธุ์พืชแบบต่าง ๆ 

1.พวกที่ไม่ทำการแยกก่อนออกราก

- การขยายด้วยหน่อ
- การขยายด้วยไหล
- การขยายด้วยการตอน

2. พวกที่ทำการแยกก่อนหรือหลังการออกราก
- การขยายด้วยการตัดชำ

3. พวกที่ทำการแยกก่อนหรือหลังการออกราก
- การขยายด้วยการแยก
- การขยายด้วยการแบ่ง 

1 การต่อกิ่ง
2 การทาบกิ่ง
3 การติดตา
            
 
ความสำคัญของการขยายพันธุ์พืช
1. ความสำคัญต่อการดำรงพันธุ์ของพืช การขยายพันธุ์โดยอาศัยเพศมักทำให้เกิดการ กลายพันธุ์ ดังนั้นการที่จะคงพันธุ์พืชที่ดีไว้จึงจำเป็นที่จะต้องหาวิธีการขยายพันธุ์โดยวิธีการอื่นที่ไม่ก่อให้เกิดการกลายพันธุ์ โดยการขยายพันธุ์โดยไม่อาศัยเพศเช่น ตัดชำ ตอนกิ่ง ต่อกิ่งและทาบกิ่งเป็นต้น    

2. เพื่อหาพันธุ์ใหม่ที่ดีกว่าเดิม เช่น การขยายพันธุ์โดยอาศัยเพศ หรือใช้เมล็ดเพาะปลูก ถึงแม้จะทำให้ มีโอกาสกลายพันธุ์ได้มาก แต่การกลายพันธุ์อาจได้พันธุ์ใหม่ที่มีลักษณะที่ดีกว่าเดิม เช่น ลำไยพันธุ์ต่างๆ ที่ปลูกในภาคเหนือ ซึ่งเป็นพันธุ์ที่นำมาจากประเทศจีน ต่อมามีการกลายพันธุ์เกิดขึ้นทำให้ได้ลักษณะพันธุ์ใหม่ที่มีคุณภาพดีกว่าพันธุ์เดิม               

3. ความสำคัญต่ออาชีพเกษตร อาชีพเกษตรมีความผูกพันธ์กับการขยายพันธุ์พืชอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะสาขาพืช ไม่ว่าจะมีอาชีพปลูกพืชชนิดใด จะต้องเกี่ยวข้องกับการขยายพันธุ์เพื่อเพิ่มปริมาณอยู่ตลอดเวลา จึงควรอย่างยิ่งที่เกษตรกรสาขาพืชจะเรียนรู้หลักการและวิธีการขยายพันธุ์พืชที่ถูกต้อง และเหมาะสมเพื่อช่วยการประกอบอาชีพการเกษตรให้ประสบความสำเร็จและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 


ข้อดีและข้อเสียของการขยายพันธุ์โดยอาศัยเพศ และไม่อาศัยเพศ                
1.
ข้อดีของการขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด                               
1. ต้นพันธุ์ที่ได้มีระบบรากแก้ว สามารถหยั่งลึกลงไปในดิน ช่วยยึดลำต้นได้ดีเหมาะสำหรับปลูกในที่พื้นที่ดอน                               
2. ทำได้ง่าย รวดเร็ว ได้จำนวนต้นมาก ไม่ต้องใช้เครื่องมือมาก เช่น การเพาะเมล็ดมะละกอ น้อยหน่า เป็นต้น                               
3. สะดวกในการขนส่งในระยะไกล เนื่องจากต้นกล้ามีขนาดเล็กและ แข็งแรงและตายยาก
4. มีโอกาสกลายพันธุ์ไปในลักษณะที่ดีกว่าต้นพ่อและแม่พันธุ์เช่น มะม่วงพันธุ์โชคอนันต์ ซึ่งเป็นพันธุ์ทะวายออกดอกมากกว่า 1 ครั้งต่อปีกลายพันธุ์มาจากพันธุ์มะม่วงสามปี          
5. ไม่ติดโรคไวรัสจากต้นแม่ เพราะเชื้อไวรัสไม่ถ่ายทอดจากต้นแม่ไปยังลูกโดยอาศัยเมล็ดเป็นพาหะ                               
6. พืชบางชนิดสามารถเพาะเมล็ดได้ทุกฤดูกาล เช่น มะละกอ 
7. พืชที่ปลูกด้วยเมล็ดจะมีอายุยาวนานกว่าการปลูกด้วยส่วนอื่นๆของต้น           


2. ข้อเสียของการขยายพันธุ์โดยอาศัยเพศ
                              
1. มีการกลายพันธุ์ได้ง่าย มักมีการกลายพันธุ์ลักษณะที่เลวกว่าต้นแม่             
2. ให้ผลผลิตช้า เนื่องจากการเพาะเมล็ดจะต้องผ่านระยะเยาว์วัย (juvenility period) ไม้ผลบางชนิดอาจใช้เวลายาวนานมากกว่า 10 ปีจึงจะให้ผลผลิต เช่น ลำไย และลิ้นจี่   
3. ต้นสูงใหญ่ไม่สะดวกต่อการดูแลรักษาด้านต่าง ๆ เช่น การพ่นสารเคมี การเก็บเกี่ยวผลผลิต เป็นต้น       
4. พืชบางชนิดไม่มีเมล็ด เช่น กล้วย ฝรั่งพันธุ์บางกอกแอปเปิล และองุ่นบางพันธุ์ จึงไม่สามารถขยายพันธุ์โดยวิธีนี้ได้                               
5. พืชบางชนิดใช้ระยะเวลาในการงอกนาน เช่น มะยม                       



3. ข้อดีของการขยายพันธุ์โดยไม่อาศัยเพศ หรือใช้ส่วนต่างๆ
                
1. ต้นพันธุ์ได้มีลักษณะตรงตามพันธุ์                               
2. ออกดอกติดผลเร็วกว่าต้นที่เพาะจากเมล็ด เช่น มะม่วงที่ปลูกด้วยกิ่งเสียบหรือกิ่งทาบ สามารถออกดอกติดผลได้ภายในระยะเวลาปีแรกหลังการปลูก แต่ในทางปฏิบัติมักจะให้มีการออกดอกติดผลเมื่อต้นมีอายุได้ 2 ปีขึ้นไป ส่วนต้นที่ปลูกด้วยเมล็ดอาจใช้เวลานานถึง 5 ปีจึงจะออกดอก    
3. ต้นพันธุ์ที่ได้มีขนาดสม่ำเสมอ เช่น การตอนกิ่ง การปักชำ หรือการทาบกิ่ง เราสามารถที่จะเลือกขนาดของกิ่งที่ต้องการให้มีขนาดใกล้เคียงกัน                                4. ได้ต้นที่ไม่สูงเกินไป สะดวกแก่การเก็บเกี่ยว ตัวอย่างเช่น มะม่วงที่ปลูกด้วยกิ่งทาบ จะมีทรงต้นเตี้ยกว่าการปลูกด้วยเมล็ด                     


4. ข้อเสียของการขยายพันธุ์โดยไม่อาศัยเพศ
1. การขยายพันธุ์โดยไม่อาศัยเพศเช่น ต้นพันธุ์ดีที่ได้จากการตอนกิ่งและตัดชำจะไม่มีรากแก้ว จึงทำให้โค่นล้มได้ง่าย                               
2. ถ้าต้นแม่เป็นโรค กิ่งพันธุ์ที่นำไปปลูกมักติดโรคมาด้วย เช่น กิ่งพันธุ์ของส้มที่เกิดจากเชื้อไวรัส เชื้อนี้สามารถถ่ายทอดไปยังกิ่งพันธุ์ได้                               
3. กิ่งหรือต้นมีขนาดใหญ่ ขนส่งลำบาก และเปลืองเนื้อที่ในการเก็บรักษา           
4. วิธีการขยายพันธุ์บางอย่าง เช่น การทาบกิ่ง การเสียบกิ่ง และการติดตา จะต้องอาศัยเทคนิคและความชำนาญจึงจะประสบผลสำเร็จ   



ตัวอย่างของไม้ผลที่นิยมขยายพันธุ์โดยวิธีการต่างๆ  
                
ไม้ผลแต่ละชนิดนิยมขยายพันธุ์ด้วยวิธีที่แตกต่างกัน ไม้ผลบางชนิดนิยมขยายพันธุ์ได้มากกว่าวิธีเดียว  ในที่นี้ขอยกตัวอย่างการขยายพันธุ์ไม้ผลที่นิยมทำเป็นการค้าในบ้านเราเท่านั้น                     
1. การเพาะเมล็ด ได้แก่  กระทกรกและ มะละกอ
2. การตัดชำ ได้แก่  ชมพู่ ฝรั่งและ ลำไยพันธุ์เพชรสาคร       
3. การตอนกิ่ง  ได้แก่ ชมพู่ ฝรั่ง มะนาว ลำไย ลิ้นจี่ และส้มโอ       
4. การต่อกิ่ง  ได้แก่  ขนุน  มะม่วง  ท้อ ทุเรียน บ๊วย พลับ สาลี และอะโวกาโด  
5. การทาบกิ่ง ได้แก่  มะขาม มะม่วง มะปราง  และแมคคาเดเมียนัท                6. การติดตา  ได้แก่  กระท้อน และเงาะ
7. การขยายพันธุ์ด้วยไหล ได้แก่  สตรอเบอรี่ 


การขยายพันธุ์พืชโดยอาศัยเพศ 
1. การเกิดเมล็ด               
ในขณะที่ต้นพืชเริ่มติดผล ในรังไข่ (ovary) จะมีเนื้อเยื่อที่เรียกว่า รก (placenta) เกิดขึ้นที่ตรงส่วนปลายของรกจะเกิดก้อนกลมๆ เป็นจุด และก้อนกลมนี้จะค่อยๆ เจริญเรียกว่า นิวเซลลัส  (necellus) จากนั้นจะมีการสร้างเนื้อเยื่อที่เรียกว่าอินเท็คคิวเม้นท์ (integument)  ล้อมรอบนิวเซลลัสจากด้านที่ติดกับรกออกไปทั้งสองข้าง แล้วมาจดกันทางด้านตรงข้าม ทำให้เกิดเป็นรูเล็กๆ ขึ้น เรียกไมโครพาย (micropyle) เราเรียกส่วนที่กล่าวมาทั้งหมดว่าไข่ (ovule) พืชบางชนิดจะมีก้านสั้นๆ ที่เชื่อมระหว่างไข่กับรกเรียกฟันนิวคูลัส (funiculus) และเรียกบริเวณที่เชื่อมอินเท็คคิวเม้นท์ กับ  นิวเซลลัสว่า ซาลาซ่า(chalaza) เมื่อไข่เจริญเต็มที่แล้วก็จะเกิดการถ่ายละอองเกสรของเกสรตัวผู้(pollination)ผสมกับเกสรตัวเมียจนเกิดปฎิสนธิ (fertilization) จากนั้นภายในดอกจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจนในที่สุด     

รังไข่(ovary)เจริญไปเป็นผล(fruit) ซึ่งอาจรวมถึงส่วนที่ประกอบขึ้นเป็นผลแก่     

ไข่(ovule)จะเจริญไปเป็นเมล็ด(seed)ส่วนอินเท็คคิวเม้นท์(integument) เจริญเป็นเปลือก (testa of seed coat)และนิวเซลลัส (nucellus) เจริญไปเป็นเพอริสเปิม (perisperm)  เมื่อเมล็ดเจริญเต็มที่จนแก่  (mature) 


2. โครงสร้างของเมล็ด
               
ลักษณะภายในของเมล็ด(internal seed characteristics) จะประกอบไปด้วยส่วนสำคัญๆ  3 ส่วน คือ
ก. คัพภะ  (embryo)
ข. อาหารสะสมภายในเมล็ด  (food storage tissue)
ค. ส่วนห่อหุ้มเมล็ด  (eed covering) 


คัพภะ 
 
เป็นต้นพืชเล็กๆ ที่อยู่ภายในเมล็ดเกิดขึ้นจากไข่ (egg) ได้รับการผสมจากเชื้อของเกสรตัวผู้  (male gamete)ในระหว่างที่เกิดขบวนการปฎิสนธิ
 
คัพภะ ประกอบด้วนส่วนต่างๆ 4  ส่วนด้วยกันคือ           
1. ใบเลี้ยง(seed leaves or cotyledon)           
2. ตายอด(bud or plumule)
3. ต้น(hypocotyl)
4. รากแรกเกิด (radicle) 

อาหารสะสมภายในเมล็ด
(food storage tissue)อาจจะมีอยู่ในใบเลี้ยง  (cotyledons)หรือ เพอริสเปิม(perisperm) ก็ได้  สำหรับเอ็นโดสเปิมนั้น เกิดจากการรวมตัวของเชื้อตัวผู้(male nuclei) กับโพล่านิวคลีอาย(2 polar nuclei)ภายในถุงคัพภะ(embryo sac)เมล็ดแต่ละชนิดจะมีส่วนที่เก็บอาหารสะสมไม่เหมือนกัน บางชนิดมีแต่ใบเลี้ยง เช่นพวกพืชตระกูลถั่วต่างๆ บางชนิดมีแต่เอ็นโดสเปิม อย่างเดียว เช่น เมล็ดข้าวโพด ข้าว บางชนิดมีแต่เพอริสเปิม เช่น เมล็ดมังคุด เมล็ดพืชบางชนิดมีอาหารสะสมอยู่ 2-3 อย่าง เช่นมีใบเลี้ยงกับเอ็นโดสเปิม เช่น เมล็ดละหุ่ง ยางพารา หางนกยูง มีใบเลี้ยงกับเพอริสเปิม เช่น เมล็ดส้มและ มะม่วง มีใบเลี้ยงเอ็นโด-สเปิมและ เพอริสเปิม เช่น เมล็ด  beetroot เป็นต้น

ส่วนห่อหุ้มเมล็ด(seed covering) 
อาจประกอบด้วยเปลือกของเมล็ดเพอริสเปิม และ เอ็นโดสเปิม หรือบางส่วนของผล ปกติเปลือกของเมล็ดจะมี 1-2 ชั้น เกิดจากอินเทคคิวเม้นท์ของไข่ เมื่อเมล็ดแก่ลักษณะของเปลือกเมล็ดจะเปลี่ยนไปโดยที่ข้างนอกจะมีลักษณะแห้งแข็ง และหนา ส่วนชั้นในจะมีลักษณะบางใส ถัดจากเปลือกข้างในเข้ามาจะเป็นเพอริสเปิม และเอ็นโดสเปิม เปลือกเมล็ดมีหน้าที่ป้องกันมิให้ คัพภะได้รับความกระทบกระเทือนมาก จึงเหมาะที่จะขนส่งไปในระยะไกล และเก็บรักษาได้เป็นเวลานาน 

ลักษณะภายนอกของเมล็ด
(external seed characteristies) 
เมล็ดโดยทั่วไปมีลักษณะที่แตกต่างกันได้หลายอย่าง และลักษณะที่แตกต่างกัน ดังต่อไปนี้ ใช้ถือเป็นหลักอย่างหนึ่งในการแบ่งชนิด(indentification)ของเมล็ดพืช        

ราฟี่(rephe) 
เป็นสันของเมล็ดที่อยู่ตรงข้ามกับไมโครพาย เป็นส่วนที่เกิดมาจากท่อน้ำท่ออาหารของฟันนิคิวลัส  ที่เชื่อมติดต่อระหว่างเมล็ดกับภายในของเพอริคาร์พ(pericarp)   

ชาลาช่า
(chalaza) เป็นส่วนที่อยู่ตอนปลายบน(upper end)ของราฟี่เป็นส่วนที่มัดท่อ น้ำท่ออาหารเชื่อมกับฐานของไข่(ovule)ปกติมักอยู่ตรงข้ามกับยอดของคัพภะ   

ฮีลัม(hilum)เป็นแผลที่เกิดจากเมล็ดที่หลุดออกมา แผลนี้จะเห็นไม่ชัดในเมล็ดพืชบางชนิด 

ไมโครพาย(micropyle)เป็นรูที่อยู่ระหว่างปลายอินเท็คคิวเม้นท์ทั้ง 2 ชั้น เมล็ดที่แก่รูนี้มักจะปิด เป็นส่วนที่ทำหน้าที่สำหรับให้น้ำผ่านเข้าไปในเมล็ด และเป็นทางที่รากจะแทงออกมาข้างนอก


3. การงอกของเมล็ด(seed germination)               
นักสรีรวิทยาและนักชีววิทยา ได้ให้ความหมายของการงอก (germination)หมายถึงการที่รากแทงทะลุ(emergence)เปลือกหุ้มเมล็ดออกมา แต่ในทางการเกษตรแล้ว การงอกจะรวมถึงการที่รากแทงทะลุเปลือกหุ้มเมล็ดออกมา และต้นอ่อนมีการเจริญถึงระยะที่ต้นกล้าสามารถสร้างอาหารได้เอง ดังนั้นInternational Seed Testing Association(ISTA)ได้ให้ความหมายของการงอกหมายถึงการที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของต้นอ่อนเจริญแทงทะลุเปลือกจากเมล็ดไปเป็นต้นอ่อนที่สมบูรณ์

3.1  ปัจจัยในการงอกของเมล็ด
               
เมล็ดที่จะงอกได้จะต้องมีปัจจัยการงอกที่เหมาะสมทั้งตัวเมล็ดเอง และสภาพแวดล้อมภายนอก ดังนี้1. เมล็ดที่จะงอกได้จะต้องมีชีวิตอยู่(viable)การมีชีวิตของเมล็ดนับว่าเป็นปัจจัยสำคัญในการเพาะเมล็ด
2. เมล็ดจะต้องพ้นระยะการฟักตัว                       
3. เมล็ดจะต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในขณะที่ทำการเพาะ ซึ่งปัจจัยที่เกี่ยวกับสภาพแวดล้อม ได้แก่ 

น้ำ(water)
เป็นตัวกระตุ้น(trigger)ขบวนการงอก โดยเป็นตัวทำให้เปลือกหุ้มเมล็ดอ่อนนุ่ม และเป็นตัวกระตุ้นปฎิกิริยาชีวเคมีในเมล็ด เมล็ดโดยทั่วไปเมื่อแก่จะมีปริมาณน้ำหรือความชื้นในเมล็ดต่ำ ความสำคัญของความชื้นในเมล็ดมีส่วนเกี่ยวข้องกับความมีชีวิต(viability)ของเมล็ดด้วย ในเมล็ดพืชส่วนมากมีปริมาณความชื้นในเมล็ดต่ำ จะมีชีวิตอยู่ได้นาน แต่เมล็ดพืชบางชนิดที่จะต้องรักษาปริมาณน้ำในเมล็ดให้สูงเสมอ เพื่อความมีชีวิต เช่น กาแฟ โกโก้ ลำไย ลิ้นจี่ ขนุน มะม่วงและ เงาะ เป็นต้น 

อุณหภูมิ (temperature)
 
อุณหภูมิที่เหมาะสมช่วยให้เมล็ดดูดน้ำ และขบวนการงอกของเมล็ดเกิดขึ้นเร็วขึ้น อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับพืชแต่ละชนิดจะไม่เท่ากันอุณหภูมิที่เหมาะสมของพืชเมืองร้อนย่อมสูงกว่าอุณหภูมิที่เหมาะสมของพืชเมืองหนาว ตัวอย่างเช่น เมล็ดมะม่วงจะงอกได้ดี และเร็วที่สุดที่อุณหภูมิ 30–35 ๐ซ.  ส่วนมะกอกฝรั่ง จะงอกได้ดีที่อุณหภูมิ 25 ๐ซ 

แสง(light)
 
เมล็ดเมื่อเริ่มงอกมีทั้งต้องการแสง และไม่ต้องการแสง ส่วนใหญ่เมล็ดเมื่อเริ่มงอกจะไม่ต้องการแสง ดังนั้นการเพาะเมล็ดโดยทั่วไปจึงมักกลบดินเพาะทับปิดเมล็ดเสมอ นอกจากนี้แสงยังความจำเป็นหลังจากที่เมล็ดงอกแล้วขณะที่เป็นต้นกล้า แสงที่พอเหมาะจะทำให้ต้นกล้าแข็งแรง และเจริญเติบโตได้ดี

ออกซิเจน(oxygen) 
เมื่อเมล็ดเริ่มงอกเมล็ดจะเริ่มหายใจมากขึ้น ซึ่งจะต้องใช้ออกซิเจนไปเผาผลาญอาหารภายในเมล็ดให้เป็นพลังงานเพื่อใช้ในการงอก                

3.2 ขบวนการงอกของเมล็ด
(seed germination process)มี 3 ขั้นตอน ดังนี้1. ขั้นตอนการตื่นตัว การเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีและสรีรวิทยา(aweakening or activation and biochemical, physiological change) ขั้นตอนนี้อาจจะเกิดขึ้นได้ และสิ้นสุดในระยะเวลาเพียงสั้นๆ เป็นนาทีหรือชั่วโมง ขั้นตอนนี้เริ่มตั้งแต่เมล็ดมีการดูดน้ำ  (imbibition or absorption of water) ทำให้เปลือกหุ้มเมล็ดอ่อนตัวลง และโปรโตพลาสซึม(protoplasm) มีการดูดน้ำเข้าเซลล์จะเป็นผลให้ขบวนการสังเคราะห์ต่างๆ ภายในเซลล์เริ่มทำงาน เอ็นไซม์ซึ่งถูกสร้างขึ้นขณะเมล็ดกำลังเติบโตจะถูกกระตุ้นให้อยู่ในสภาพ  active ทำให้เกิดสังเคราะห์เอ็นไซม์ และโปรตีนต่างๆ และ  DNA, RNA  พลังงานที่จะต้องใช้ในการสังเคราะห์เอ็นไซม์ หรือโปรตีนต่างๆ จะได้มาจากไมโตรคอนเดีย(mitrocondria)  ซึ่งมีหน้าที่ผลิต ATP ทำให้มีการเพิ่มอัตราการหายใจของเมล็ดอย่างรวดเร็ว

2. ขั้นตอนการย่อยและการลำเลียง(digestion and translocation)เกิดการย่อยสลายสารอาหารที่สะสมไว้ในเมล็ด เช่น ไขมัน โปรตีน คาร์โบไฮเดรท ในเนื้อเยื่อสะสม เช่น เอนโดสเปริมและเฟอริสเปริม สารอาหารที่ถูกย่อยเป็นสารประกอบง่ายๆ เช่น น้ำตาล กรดอะมิโน จะถูกลำเลียงไปยังส่วนที่กำลังเจริญเติบโต ได้แก่ส่วนคัพภะ เพื่อใช้ในการเจริญเติบโตของโครงสร้างเซลล์และโครงสร้างอวัยวะใหม่

3. ขั้นตอนการเติบโตของคัพภะ คือ เมื่อคัพภะได้อาหารที่ย่อยแล้วจะเกิดขบวนการแบ่งเซลล์ และเกิดการยึดตัวของเซลล์เกิดขึ้นที่รากแรกเกิดจะทำให้ รากแรกเกิดยึดตัวและแทงออกจากเปลือกหุ้มเมล็ด ส่วนจุดการเจริญเติบโตของลำต้นในคัพภะ คือ plumule จะมีการยึดตัวและการเติบโตเกิดใบแรก  (primary leaf) และแกนของคัพภะ ส่วนใต้ใบเลี้ยงจะเติบโตเป็นไฮโปโคทีล  (hypocoryl)ส่วนเหนือใบเลี้ยงจะเจริญเป็นอีพีโคทีล epicoryl) 

3.3 ลักษณะการงอกของเมล็ด
  แบ่งได้ 2 แบบ คือ
1. การงอกแบบยกใบเลี้ยงขึ้นเหนือดิน(epigeous germination)(ภาพที่ 2.1)ได้แก่ กระท้อน น้อยหน่า พุทรา มะขามป้อม มะกอกน้ำ มะเฟือง ทุเรียน มะขาม และ ละมุด เป็นต้น  
      
ภาพที่ 2.1 ลักษณะการงอกของเมล็ดแบบยกใบเลี้ยงขึ้นเหนือดิน

2. การงอกแบบไม่ยกใบเลี้ยง(hypogenous germination)(ภาพที่ 2.2) ได้แก่ มะม่วง ขนุน เงาะ ลำไย ลิ้นจี่ มะปราง ชมพู่และส้ม เป็นต้น                     

3.4 จำนวนต้นอ่อนต่อเมล็ด
แบ่งได้ 2 แบบ คือ
1. จำนวนต้นอ่อน 1 ต้น ต่อเมล็ด(monoembryony)ได้แก่ ขนุน ลำไย ลิ้นจี่ เงาะ ทับทิม มะเฟือง มะขาม ทุเรียน พุทรา น้อยหน่าและ ส้มโอ เป็นต้น 

ภาพที่ 2 ลักษณะการงอกของเมล็ดแบบไม่ยกใบเลี้ยง           

2. จำนวนต้นอ่อนมากกว่า 1 ต้น ต่อเมล็ด (polyembryony)ได้แก่ มะม่วง ส้มเขียวหวาน ลูกหว้าและชมพู่ เป็นต้น  วรรณไพร(2536)ได้ศึกษาลักษณะการงอก เปอร์เซ็นต์การงอกของเมล็ดไม้ผล 20 ชนิด  

ตารางที่ 
2.1 จำนวนวันเฉลี่ยในการงอก เปอร์เซ็นต์การงอก จำนวนต้นต่อเมล็ด


4. การพักตัวของเมล็ด(seed dormancy)               
เมล็ดของพืชมักจะมีกลไกภายใน เพื่อควบคุมการงอกให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและฤดูกาลในธรรมชาติทั้งนี้เพื่อความอยู่รอดของต้นอ่อน เมล็ดบางชนิดถึงแม้จะมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการงอก แต่เมล็ดก็ไม่งอกเกิดการพักตัวของเมล็ด สำหรับความหมายของการพักตัวของเมล็ดนั้นหมายถึงความล้มเหลวในการงอกหรือเมล็ดไม่งอก(failure to germinate)ทั้งๆ ที่เมล็ดนั้น ยั้งมีชีวิตและสามารถที่จะงอกได้ แต่มีเมล็ดพืชบางชนิดจะงอกตั้งแต่อยู่ในผล เช่น ขนุน มะละกอ ซึ่งเรียกการงอกแบบนี้ว่า(viviparous germination)  

1.สาเหตุของการพักตัวของเมล็ดอาจเกิดจาก
                  
ก. ปัจจัยภายนอกที่เกี่ยวกับการงอก(environmental factors)ไม่เหมาะสม ปัจจัยภายนอกได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้น ออกซิเจน และแสง
ข. ปัจจัยภายในที่เกี่ยวข้องกับการงอก(internal factors)ได้แก่

1.1 การพักตัวอันเนื่องจากเปลือกหุ้มเมล็ด (seed coat dormancy)ซึ่งเกี่ยวข้องกับ 1.1.1)  การที่น้ำไม่สามารถซึมผ่านไปได้ส่วนใหญ่เกิดจากเมล็ดที่มีเปลือกหุ้มเมล็ดแข็ง เช่น เมล็ดพุทรา
1.1.2) การที่ก๊าซไม่สามารถซึมผ่านเข้าออกได้                    
1.1.3) เปลือกหุ้มเมล็ดหรือชั้น pericarp หนาแข็งทำให้เมล็ดไม่สามารถงอกได้
1.2 การพักตัวเนื่องจากตัวของคัพภะเอง (embryo dormancy)การพักตัวในรูปแบบนี้เกิดเนื่องจากขบวนการทางสรีรวิทยาของเมล็ดเอง ถึงแม้เมล็ดจะดูดความชื้นพอเพียงต่อการงอก และมีปัจจัยที่จำเป็นต่อการงอกอย่างอื่นครบแล้วก็ตาม การพักตัวแบบนี้มักจะเกิดขึ้นจากสาเหตุของคัพภะเป็นส่วนใหญ่ซึ่งแยกได้ดังนี้

1.2.1) คัพภะยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่(Immature embryo)พืชบางชนิดคัพภะในเมล็ดยังเติบโตไม่เต็มที่โดยที่โครงสร้างของต้นอ่อนยังไม่ครบ และต้องการเจริญต่อไปชั่วระยะเวลาหนึ่งหลังจากเก็บจากต้นแม่ ซึ่งเรียกว่า “after ripening period”  เมล็ดที่คัพภะยังเจริญไม่ครบเรียกว่า rudimentary embryo ซึ่งมักจะเกิดกับพืชเมืองร้อน เช่น ปาล์มน้ำมันอาฟริกา พืชสกุล Ginkgo
1.2.2 คัพภะต้องการอุณหภูมิต่ำ(chilling requirement)การพักตัวแบบนี้เนื่อง จากสาเหตุที่ตัวอ่อนต้องการช่วงอุณหภูมิต่ำเป็นระยะเวลาหนึ่งจึงหลุดพ้นจากการพักตัว ซึ่งมักจะเกิดกับผลไม้เขตหนาวกลไกการพักตัวซึ่งเกี่ยวข้องกับความต้องการช่วงอุณหภูมิต่ำนี้ยังไม่ทราบแน่ชัด
1.2.3 สารยับยั้งการงอก(germination inhibitors)ในพืชที่เมล็ดมีการพักตัวบางชนิดจะมีสารยับยั้งการงอก เช่น ABA, coumarin  ซึ่งสกัดได้จากต้นอ่อนในเมล็ด หรือใบเลี้ยง และมีผลต่อการงอกของเมล็ด เช่น สาลี่ ท้อ แอปเปิล ส้ม มะละกอและ องุ่น การพักตัวของเมล็ดพืชนั้น อาจเกิดจากสาเหตุเพียงอย่างเดียวหรือหลายอย่างประกอบกัน

2. การทำลายการพักตัวของเมล็ด(break dormancy)

วิธีการทำลายการพักตัวของเมล็ดมีหลายวิธี ส่วนการที่จะใช้วิธีการใดนั้นขึ้นอยู่กับสาเหตุของการพักตัวนั้นๆ วิธีการหนึ่งอาจจะเหมาะสมสำหรับพืชชนิดหนึ่งแต่อาจไม่มีผลกับพืชอีกชนิดหนึ่ง วิธีการต่างๆ ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้เมล็ดพ้นจากสภาพการพักตัวและสามารถงอกได้มีดังนี้ 
2.1) Scarification  การทำลายเปลือกหุ้มเมล็ดใช้กับเมล็ดที่พักตัวเนื่องจากเปลือกหุ้มเมล็ดซึ่งน้ำและอากาศซึมผ่านไม่ได้
2.1.1)  การฝนเมล็ด อาจใช้หินฝน หรือกระดาษทราย เพื่อขัดเปลือกหุ้มเมล็ดให้บางลง ข้อสำคัญคืออย่าขัดตรงจุดที่เป็นที่อยู่ของคัพภะ                    
2.1.2)  การตัดปลายเมล็ด โดยตัดทางด้านตรงข้ามกับคัพภะ เช่นเมล็ดน้อยหน่า   
2.1.3) การกระเทาะเปลือก หรือทุบให้เป็นรอยร้าว เช่น เมล็ดพุทรา        
2.1.4)  แช่ในน้ำ  (soaking)  อาจใช้น้ำอุ่นอุณหภูมิ 50-70 ๐ซ. หรือแช่น้ำเย็นทิ้งไว้ประมาณ  24 ชั่วโมง วิธีนี้จะใช้กับเมล็ดที่มีเปลือกบาง         
2.1.5)  แช่ในกรดกำมะถันเข้มข้น(H2 SO4)นาน 15-60 นาที จะทำให้เปลือกหุ้มเมล็ดอ่อนตัวลง เหมาะสำหรับเมล็ดที่มีเปลือกหนา


2.2) Stratification (moist–chilling) 
เป็นการทำลายการพักตัวเนื่องจากคัพภะต้องการอุณหภูมิต่ำ วิธีการคือเก็บเมล็ดไว้ที่อุณหภูมิ 1-8๐ซ.  โดยให้ความชื้นและออกซิเจนเพียงพอ ทิ้งไว้นานตั้งแต่ 20-140 วัน  ขึ้นอยู่กับชนิดของเมล็ดไม้ผล ดังแสดงในตารางที่ 2.2

เมื่อครบกำหนด จึงนำมาเพาะต่อในอุณหภูมิที่เหมาะสมเมล็ดจึงจะงอกได้ ในกรณีเมล็ดไม่ได้รับอุณหภูมิต่ำนานพอจะทำให้ต้นกล้าที่เกิดขึ้นเตี้ย และแคระแกรน ตัวอย่างเช่น การลดช่วง  stratification  ของเมล็ดท้อ จาก 120 วัน เหลือ 68 วันจะทำให้ต้นกล้าที่เกิดขึ้นเตี้ย นอกจากนั้นถ้าเมล็ดได้รับอุณหภูมิต่ำ และความชื้นไม่สม่ำเสมอ จะทำให้เมล็ดกลับเข้าการพักตัวใหม่เป็นครั้งที่ 2 เรียกว่า secondary dormancy  ซึ่งจะหลุดพ้นการพักตัวยากขึ้น 


ตารางที่ 
2.2  แสดงอุณหภูมิต่ำ และระยะเวลาในการทำลายการพักตัวของเมล็ดไม้เมืองหนาว 
ชนิดพืช อุณหภูมิที่ต้องการ (๐ซ.)    อุณหภูมิที่ดีที่สุด (๐ซ.)        ระยะเวลา (วัน)
แอปเปิลอัลมอนด์แอพปิคอทเชอร์รี่หวานท้อ , Lovelสาลี่ , Eupean      พลัม       4.4 – 10.04.4 – 10.04.4 – 10.01.0 – 10.0    1.0 – 10.01.0 –   4.5    4.4 – 10.0 4.57.27.24.57.24.44.4  10 – 8020 – 3060 – 70120 – 140120 - 13060 – 90100 – 120 
 

ที่มา  :  สุรินทร์, มมป. 
1.  Dry  storage  หรือ  After – ripening  คือ   การเก็บเมล็ดในภาวะแห้ง  ความชื้นต่ำ ช่วงระยะเวลาหนึ่ง  พืชหลายชนิดมักจะไม่งอกเมื่อเก็บจากต้นแม่ใหม่ๆ จนกว่าจะได้ผ่านการเก็บไว้ในที่ๆ ความชื้นต่ำ ซึ่งอาจจะเป็นระยะเวลาไม่กี่วันจนกระทั่งหลายเดือน หรือเป็นปีขึ้นอยู่กับชนิดของเมล็ด
2.  Chemical  treatment  การใช้สารเคมี สารเคมีหลายชนิดสามารถกระตุ้นการงอกของเมล็ดได้ เช่น โพแทสเซียมไนเตรท  เมล็ดที่มีการพักตัวและไม่งอกในที่มืดหรืออุณหภูมิสูง อาจกระตุ้นให้งอกได้โดยใช้ไทโอยูเรียหรือโพแทสเซียมไนเตรทสารเคมีที่เป็นสารควบคุมการเจริญเติบโตที่ใช้กันมากได้แก่  GA3  ซึ่งใช้ความเข้มข้นตั้งแต่  10-10,000 ส่วนต่อล้าน  สามารถทดแทนความต้องการช่วงอุณหภูมิในการงอกได้

สำหรับการพักตัวของเมล็ดที่มีสาเหตุของการพักตัวสองอย่าง เช่น เมล็ดไม่งอก เพราะมีเปลือกหนาหรือแข็งในขณะเดียวกันก็มีคัพภะที่พักตัวด้วย ซึ่งเรียกว่าเมล็ดมี double dormancy วิธีแก้ไขคือ ทำลายการพักตัวด้วยสาเหตุของเปลือกหุ้มเมล็ดโดยวิธี scarification ก่อน เช่น การกระเทาะ การฝนเปลือกหุ้มเมล็ด แล้วจึงทำให้เมล็ดได้รับความชื้นสูงและอุณหภูมิต่ำ นั่นคือ การใช้วิธี stratification 


5. การเก็บรักษาเมล็ด
               
การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์พืชเพื่อให้เมล็ดมีชีวิต(seed viability) คงอยู่ได้นาน พืชแต่ละชนิดมีวิธีการเก็บรักษาและระยะเวลาการเก็บรักษาต่างกัน เช่น เมล็ดพันธุ์ พืชไร่ พืชสวน ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด และพืชผักทุกชนิดได้มีศัพท์เรียกรวมๆ ว่า orthodox seed  ซึ่งจัดเป็นเมล็ดพันธุ์ที่ชอบอยู่ในที่แห้ง และอุณหภูมิต่ำ ถ้าจะเก็บได้ระยะยาวนานเกิน 10 ปี ต้องลดความชื้นในเมล็ดให้ต่ำกว่า 0.05 กรัม ของน้ำต่อน้ำหนักสดเมล็ด ในทางตรงกันข้ามเมล็ดพันธุ์พืชพวก  recalcitrant seeds  เป็นคำเรียกตามลักษณะนิสัยของขึ้นบนสรีรวิทยาว่าเป็นเมล็ดที่ไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ ถ้าลดความชื้นลงต่ำกว่าความชื้นวิกฤต (ประมาณ 0.30 กรัมของน้ำต่อน้ำหนักเมล็ด)  การเก็บรักษาเมล็ดจะต้องรักษาความชื้นภายในเมล็ดคงอยู่ให้นานที่สุด และควรเก็บไว้ที่ที่มีอุณหภูมิต่ำประมาณ 32-50 ๐ฟ. ส่วนการที่จะรักษาความชื้นภายในเมล็ดนั้น อาจทำได้โดยเก็บเมล็ดเป็นชั้นๆ กับวัสดุที่ชื้น เช่น ทรายที่ชื้น แล้วเก็บในภาชนะที่ปิดมิดชิด เพื่อป้องกันน้ำจากวัสดุนั้นระเหยออกไปนอกภาชนะ มีการศึกษาเปรียบเทียบอายุการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ไม้ผล ซึ่งจัดเป็นพวก  recalcitrant seed 7 ชนิด  ได้แก่ ทุเรียน ขนุน น้อยหน่า มะม่วง ลำไย ลิ้นจี่ และเงาะ สามารถจัดแบ่งความเป็น  recalicitrant  ได้  3 พวก คือ

1.) highly recalcitrant seed คือ เมล็ดจะมีชีวิตได้ประมาณ 2-4 วัน หลังจากแกะออกจากผล ได้แก่ ลำไย และมะม่วง (มะม่วงที่แกะเปลือกหุ้มเมล็ดแล้ว)  

2.) moderately recalcitrant seed คือ เมล็ดจะมีชีวิตได้ประมาณ 8-10 วัน หลังจากแกะเมล็ดออกจากผลแล้ว ได้แก่ ทุเรียน เงาะ ลิ้นจี่  

3.) minimally recalcitrant seed คือ เมล็ดจะมีชีวิตได้ประมาณ 16-18 วัน หลังจากแกะออกจากผล ได้แก่ น้อยหน่า และขนุน 




6. การทดสอบความมีชีวิตของเมล็ด (Viability test)
           
เป็นการทดสอบว่าเมล็ดยังมีชีวิตอยู่ และพร้อมจะงอกได้ มีวิธีการ ดังนี้            

1.)  การทดสอบความงอก(germination test)โดยหาเปอร์เซ็นต์ความงอกของต้นกล้าที่ปกติ ผิดปกติ และที่ไม่งอก ซึ่งเมล็ดพืชแต่ละชนิดมีเปอร์เซ็นต์การงอก และระยะเวลาที่ใช้ในการงอกแตกต่างกัน             
2.) การแกะคัพภะมาเพาะ(excised embryo test)วิธีนี้นิยมใช้ทดสอบความงอกของไม้ยืนต้น การแกะเอาคัพภะแล้วนำไปเพาะ คัพภะที่มีชีวิตจะบอกได้หรือมีท่าทีว่าจะงอกในขณะที่คัพภะที่ตายแล้ว อาจจะเน่าสลายไป วิธีการนี้อาจใช้กับไม้ผล เช่น ท้อ บ๊วยและพุทรา    

3.) Tetrazolium test เป็นวิธีการทดสอบความมีชีวิตของเมล็ดทางชีวเคมีโดยใช้หลักการที่ว่าการหายใจของเซลล์ที่มีชีวิตจะให้ก๊าซไฮโดรเจน ซึ่งทำปฎิกิริยากับสารละลาย 2, 3, 5  triphenyl tetrazodium chloride (TTC)ซึ่งไม่มีสีให้สีแดงของ triphenyl formazan  คือ กลุ่มเซลล์หรือเนื้อเยื่อของเมล็ดที่มีชีวิตจะติดสีแดง แต่เนื้อเยื่อของเมล็ดที่ไม่มีชีวิตจะไม่ติดสี เพราะไม่มีการหายใจที่ให้ก๊าซไฮโดรเจนออกมาทำปฎิกิริยากับสารละลาย วิธีการนี้ควรใช้กับเมล็ดพืชที่งอกช้า  



7.  วิธีการเพาะเมล็ด                  
วิธีการเพาะเมล็ดโดยทั่วไปแบ่งได้ 2 แบบ คือ    

7.1 การเพาะเมล็ดในภาชนะ
  เหมาะสำหรับงานที่ต้องการจำนวนต้นพืชไม่มากนัก และเมล็ดที่ต้องการดูแลรักษาเป็นพิเศษ สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการเพาะเมล็ดในภาชนะ ได้แก่       

1. ภาชนะที่ใช้เพาะ  ควรมีลักษณะดี คือ มีน้ำหนักเบา ไม่แตกหักหรือผุพังง่าย หาได้ง่ายและมีราคาถูก ไม่เป็นพิษต่อต้นพืชที่ใช้เพาะ มีรูระบายน้ำออกได้ง่าย และมีขนาดพอเหมาะที่จะหยิบยกได้สะดวก ดังนั้นภาชนะที่ใช้เพาะอาจเป็นกะบะไม้ หรือกระถาง หรือถุงพลาสติกที่มีรูระบายน้ำก็ได้

2. วัสดุที่ใช้เพาะ
(media) หมายถึง ดินที่ใช้ในการเพาะควรจะมีคุณสมบัติที่เหมาะกับการงอกของเมล็ดพืช ได้แก่ มีความโปร่ง คือ ระบายและถ่ายเทน้ำและอากาศในดินได้ดี และอุ้มน้ำมากพอควรมีธาตุอาหารพืชพอเพียง ในอายุของต้นกล้าพืชตามปกติ (ประมาณ 30-45 วัน) น้ำหนักเบาเพื่อสะดวกในการหยิบยกหรือเคลื่อนย้าย ปราศจากโรคแมลงหรือแร่ธาตุที่เป็นพิษ และไม่เป็นกรดหรือด่างจัดจนเป็นอันตรายต่อต้นกล้าพืช

3. เมล็ดที่จะทำการเพาะ
 ควรเป็นเมล็ดที่ได้จากต้นแม่ที่แข็งแรงสมบูรณ์ดี เมล็ด ไม่อยู่ในระยะพักตัว มีความงอกดี และมีความบริสุทธิ์สูง  

วิธีการเพาะเมล็ดในภาชนะ
  มีขั้นตอนของการเพาะเมล็ด ดังนี้
1). การบรรจุดินลงกะบะเพาะ 
ก่อนอื่นควรมีวัตถุช่วยการระบายน้ำข้างใต้ดิน เพาะวัตถุเหล่านี้อาจได้แก่อิฐหรือหินขนาดต่างๆ เศษหญ้าแห้ง เปลือกถั่วลิสง หรือใยกาบมะพร้าว หลังจากนั้นบรรจุดินที่ใช้เพาะให้เต็มกะบะ เกลี่ยหน้าดินให้เรียบและได้ระดับโดยปรับหน้าดินที่เรียบร้อยแล้ว ให้ต่ำกว่าขอบกะบะเพียงเล็กน้อย เพื่อป้องกันการชะล้างหน้าดิน หรือเมล็ดพืชที่เพาะอันเนื่องมาจากการรดน้ำมากเกินไป ความหนาของเนื้อดินที่ใช้เพาะควรหนาอย่างน้อย 3  นิ้ว                

2). การหว่านเมล็ด  ทำได้ 2 วิธี คือ
การหว่านกระจ่ายทั่วไปทั้งกะบะ และควรโรยเมล็ดในแต่ละแถวแต่พอบางๆ เมล็ดที่มีขนาดเล็กมาก ควรผสมวัตถุอื่น เช่น ทรายหรือผงถ่าน หรือขี้เลื่อย เพื่อความสะดวกในการหว่าน และเมล็ดไม่ตกที่หนึ่งที่ใดมากเกินไป                 

3)
. การกลบเมล็ด 
ความหนาของดินที่ใช้กลบเมล็ดขึ้นอยู่กับชนิด และขนาดของเมล็ด เมล็ดที่ต้องการแสงในการงอกควรกลบเมล็ดแต่พอบางๆ แต่เมล็ดที่ต้องการความมืด หรือไม่ต้องการแสงขณะที่งอก ควรกลบเมล็ดให้ลึก แต่ไม่ควรกลบให้หนาเกิน 2-3 เท่า ของขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของเมล็ด หลังจากนี้ควรกดดินให้กระชับเมล็ดเพื่อให้เมล็ดได้ความชื้น และงอกได้สม่ำเสมอแล้วจึงรดน้ำให้โชก                

7.2  การเพาะเมล็ดในแปลงเพาะ
  
มักใช้สำหรับการเพาะเมล็ดในฤดูกาลปกติ ประกอบกับต้องการต้นกล้าพืชจำนวนมาก ความสำเร็จในการเพาะเมล็ดแบบนี้ขึ้นอยู่กับการเลือกที่และการเตรียมแปลงเป็นหลักประการแรก และหลักสำคัญที่สุด วิธีการเพาะเมล็ดในแปลงเพาะ มีดังนี้               

1) การเลือกที่และการเตรียมแปลง
ควรเลือกที่ที่มีวัชพืชขึ้นน้อย ดินมีความอุดมสมบูรณ์พอควร ไม่สะสมโรคและแมลง ทำการถางหญ้าและเก็บเศษพืชต่างๆ ออกให้หมด โดยเฉพาะต้นหรือหัวพืชพวกที่มีอายุยืน(perennials)วางหรือกะแปลงเพาะให้หัวท้ายของแปลงอยู่ในแนวทิศเหนือและใต้ ขนาดของแปลงมักใช้ขนาดกว้าง 1 เมตร และยาว 5 เมตร ถ้าเป็นดินเหนียวควรฟื้นดินตากแดดให้แห้งเสียก่อน แล้วจึงย่อยดินพร้อมกับใส่ปุ๋ยคอกเพิ่มเติมลงไปในดิน และควรทำการฆ่าเชื้อโรคในดินก่อนเพาะเมล็ดด้วย                                    

2) การหว่านเมล็ดในแปลงเพาะ
นิยมหว่านทั่วแปลงหรืออาจโรยเมล็ดเป็นแถว กรณีที่เมล็ดมีขนาดเล็กหรือการย่อยดินไม่ละเอียดพอ ก่อนหว่านมักนิยมใช้ปุ๋ยคอกเก่าๆ หว่านให้ทั่วแปลง แล้วรดน้ำให้ปุ๋ยคอกไปอุดดินเสียก่อนเพื่อกันเมล็ดตกลงไปตามซอกเม็ดดินควรหว่านเมล็ดแต่บางๆ ก่อนเมื่อเห็นว่าเมล็ดน้อยไปก็เพิ่มเติมให้หนาขึ้นได้
                  
3) การทำร่ม (Shading)ให้แก่ต้นกล้าในแปลงเพาะ
 
การทำร่มให้แก่ต้นกล้ามีจุดประสงค์ เพื่อพรางแสง คือ ให้กล้าได้รับแสงน้อยในตอนแรก เมื่อกล้ายังเล็กอยู่ และให้ได้รับแสงมากขึ้นจนถึงให้แดดตลอดวัน นอกจากนี้การทำร่มยังป้องกันการชะล้างน้ำฝนให้แก่แปลงเพาะอีกด้วย วัตถุที่นิยมทำร่มได้แก่ ผ้าดิบสีขาว เย็บเป็นผืนขนาดโตพอเหมาะกับแปลงแล้วคลุมลงบนโครงไม้

4) การดูแลรักษาต้นกล้า  
เพื่อให้ได้กล้าที่แข็งแรงพ้นจากการทำลายของโรคโคนเน่าคอดิน(damping off)การดูแลรักษากล้าพืชในระยะแรก คือ แสงสว่าง ควรเปิดให้ต้นพืชได้รับแสงหลังจากที่งอกโผล่พ้นจากผิวดิน ควรให้แต่น้อยในเวลาเช้า และเย็นเท่านั้น อุณหภูมิขนาดปานกลางถึงต่ำ ทำให้กล้าพืชแข็งแรง ส่วนอุณหภูมิสูงทำให้ความชื้นในแปลงเพาะสูญเสียไปมาก และกระตุ้นให้เกิดโรคโคนเน่าคอดินอีกด้วย เมื่อต้นกล้าเจริญขึ้นก็จะต้องเพิ่มแสงให้มากขึ้น จนถึงแสงเต็มที่ทั้งวันขณะที่ต้นกล้าโตถึงขั้นที่จะทำการย้ายปลูกได้แล้ว การให้น้ำเป็นเรื่องสำคัญควรให้แปลงเพาะมีความชื้นเพียงพอ ไม่มากเกินไปหรือน้อยเกินไป
               
5) การย้ายกล้า
 
การย้ายกล้าจะทำในกรณีที่ได้หว่านเมล็ดหนา อันเป็นผลทำให้ต้นกล้าพืชขึ้นหนาแน่น และเบียดเสียดกันมากเกินไป ถ้าไม่ได้ทำการย้ายกล้าปลูกอาจทำให้เกิดโรคโคนเน่าคอดิน หรือมิฉะนั้นจะทำให้กล้าพืชชะงักการเจริญเติบโต ควรย้ายกล้าขณะที่กล้าพืชมีใบจริง 2-3 ใบ และมีขนาดโตพอสมควร การย้ายปลูกอาจทำการย้ายปลูกลงกะบะหรือกระถาง หรือแปลงปลูกชั่วคราวก็ได้


การขยายพันธุ์พืชโดยไม่ใช้เพศ 
การขยายพันธุ์พืชโดยไม่ใช้เพศ คือ การขยายพันธุ์โดยใช้ส่วนต่างๆ ของพืช เช่น ราก ลำต้น กิ่ง ใบ ตา ยอด และหน่อ มาทำให้เกิดรากและยอดเพื่อเจริญเป็นต้นพืชต่อไป ในระหว่างการขยายพันธุ์นั้นอาจจะตัดส่วนต่างๆ จากต้นแม่ หรือทำการขยายพันธุ์กับต้นแม่จนกว่าจะเชื่อมติดกับต้นตอดีแล้วจึงตัดออก การขยายพันธุ์แบบไม่ใช้เพศ แบ่งออกเป็นหลายวิธีด้วยกัน คือ

1. การตัดชำ  (cutting)
2. การตอนกิ่ง  (marcotting)
3. การต่อกิ่ง  (grafting)
4. การทาบกิ่ง  (inarching)
5. การติดตา  (budding)
6. การแบ่งและการแยก  (separation and division) 


  เหตุผลของการขยายพันธุ์จากส่วนต่างๆ ของต้น
 
1)  พืชบางชนิดและบางพันธุ์ไม่มีเมล็ด เช่น กล้วย ฝรั่งพันธุ์บางกอกแอปเปิล ส้ม และองุ่นบางพันธุ์ จึงจำเป็นต้องขยายพันธุ์โดยวิธีนี้เท่านั้น

2) การขยายพันธุ์จากส่วนต่างๆ ของต้นจะใช้สายต้น(clone)ที่มีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนต้นแม่ทุกประการ เนื่องจากการขยายพันธุ์แบบนี้ใช้การแบ่งเซลล์แบบไมโตซีส(mitosis)ซึ่งรับโครโมโซม และไซโตพลาสซึม ทั้งชุดจากต้นแม่

3)เพื่อต้องการร่นระยะเวลาในการออกดอกติดผลให้เร็วขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับการเพาะเมล็ด เช่น การต่อกิ่งหรือทาบกิ่งมะม่วง จะใช้เวลาเพียง 1-2 ปี ก็สามารถออกดอกติดผลได้ หรือลิ้นจี่ที่ปลูกด้วยกิ่งตอนใช้เวลา 3-4 ปี ก็ให้ผลผลิต ส่วนการเพาะเมล็ดอาจใช้ระยะเวลามากกว่า 10 ปี

4)เพื่อต้องการใช้ประโยชน์จากต้นตอและตอกลาง(intermediate stock)ของพืชบางชนิดที่มีคุณสมบัติพิเศษ เช่น การทนต่อโรคและแมลง การปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้ดี หรือมีผลต่อยอดพันธุ์ดีในด้านการเจริญเติบโตทางด้านกิ่งใบ และการออกดอกติดผลตลอดจนคุณภาพของผลผลิต     



1.  การตัดชำ
 
1.1  ความหมายของการตัดชำ               
การตัดชำ คือ การตัดส่วนใดส่วนหนึ่งของต้น ใบ หรือรากของพืช แล้วนำมาชำไว้ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมเพื่อให้เกิดรากและยอด และพัฒนาเป็นพืชต้นใหม่ โดยที่ต้นใหม่มีลักษณะเหมือนต้นแม่ทุกประการ                

1.2  ประเภทของการตัดชำ
  แบ่งได้ดังนี้ คือ    
1) การตัดชำราก  (Root cutting)
การตัดชำรากนั้นจะกระทำได้เฉพาะในพืชบางชนิดเท่านั้น รากที่ใช้เพาะชำจะตัดให้มีขนาดยาว  2-9  นิ้ว แล้วฝังขนาดไว้ในวัสดุเพาะชำและให้น้ำอยู่เสมอ จากนั้นรากและหน่อก็จะแตกออกจากตาพิเศษ  (adventitious bud)  เจริญเป็นพืชต้นใหม่ ไม้ผลที่ตัดชำรากได้  ได้แก่ สาเก ขนุน ฝรั่ง มะเดื่อ แอปเปิล ราสเบอรี่ เป็นต้น 

2) การตัดชำกิ่ง(Stem cutting)  แบ่งออกได้  3 ชนิดด้วยกัน คือ
2.1) การตัดชำกิ่งอ่อน (Soft wood cutting)
กิ่งอ่อน คือ กิ่งที่เพิ่งแตกออกมาใหม่ มีลักษณะอ่อนและอวบน้ำ ความสำเร็จในการขยายพันธุ์โดยการตัดชำกิ่งอ่อนขึ้นอยู่กับอาหารและฮอร์โมนของพืช กล่าวคือ อาหาร(Food supply)ที่มีอยู่ในกิ่งอ่อนหรือยอดของพืชไม่ใช่ปัจจัยอันสำคัญ เพราะอาหารในส่วนของพืชดังกล่าวมีไม่มากพอ ดังนั้นอาหารที่จะนำมาสร้างรากจะต้องได้จากการสังเคราะห์แสง ด้วยเหตุนี้การตัดชำกิ่งอ่อนจะต้องมีใบติด นอกจากนั้นปัจจัยอื่นๆ คือ อุณหภูมิ ความชื้น และแสงที่พอเหมาะก็เป็นองค์ประกอบที่สำคัญเช่นกัน ไม้ผลที่สามารถตัดชำกิ่งอ่อน ได้แก่ ฝรั่ง ชมพู่ พลัม ท้อ แอปเปิล ส้ม กระท้อน  เป็นต้น

2.2) การตัดชำกิ่งกึ่งอ่อนกึ่งแก่ (Semi hard wood cutting)
กิ่งชนิดนี้เป็นกิ่งที่มีการเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว และมีเนื้อไม้เริ่มแข็ง สำหรับกิ่งที่ใช้ในการตัดชำ ควรริดใบแก่หรือใบล่างออกเหลือไว้เฉพาะใบที่เจริญเต็มที่และใบที่อยู่ด้านยอดประมาณ 4-5 ใบ ตัวอย่างไม้ผลที่ตัดชำกิ่งกึ่งอ่อนกึ่งแก่ ได้แก่  องุ่น ส้ม ฝรั่ง  เป็นต้น
                          
2.3) การตัดชำกิ่งแก่ (Hard wood cutting)
ไม้ผลส่วนมากจะขยายพันธุ์โดยการตัดชำกิ่งแก่ การเลือกกิ่งจะต้องคำนึงถึงสิ่งสำคัญดังนี้ คือ.ต้องเป็นกิ่งที่อยู่ในระยะพักตัวโดยเฉพาะไม้เมืองหนาว และเป็นกิ่งข้ามฤดู หรือข้ามปี สำหรับไม้เมืองร้อน ทั้งนี้เนื่องจากกิ่งดังกล่าวจะมีอาหารสะสมอยู่เป็นจำนวนมากพอที่จะใช้ในการออกราก และเจริญของใบกิ่งควรจะได้จากต้นที่สมบูรณ์ และเจริญเติบโตเร็วควรจะหลีกเลี่ยงกิ่งที่มีปล้องยาวเกินไป หรือกิ่งที่อยู่ในทรงพุ่ม 

การตัดชำกิ่งแก่มี 
3 แบบ คือ               
แบบ  mallet  การตัดท่อนของกิ่งแก่กว่าเป็นท่อนสั้นๆ ติดโคนกิ่งไปด้วย              แบบ  heel  การตัดให้ส่วนของกิ่งที่แก่กว่าติดโคนไปด้วย              
แบบ  straight  การตัดโดยไม่มีชิ้นส่วนของกิ่งที่แก่กว่าติดไปด้วย 

วิธีการตัดชำกิ่งแก่
               
1. เตรียมกิ่งขนาดยาว 4-30 นิ้ว โดยทั่วไปประมาณ 6–9 นิ้ว ขนาดของกิ่ง ¼ ถึง 1 นิ้ว บางครั้งถึง 2 นิ้ว ขึ้นอยู่กับชนิดพืช      
2. กิ่งจะต้องมีข้อจำนวน 2-3 ข้อ               
3. โคนกิ่งควรตัดเป็นรูปปากฉลามหรือฝานบวบใต้ข้อเล็กน้อย               
4. ฝังกิ่งลึก ¾ ส่วน ของความยาวกิ่งในลักษณะเอียง 45 องศา               
5. กิ่งอาจมีใบติดหรือไม่มีใบขึ้นอยู่กับชนิดของพืช ตัวอย่างไม้ผล เช่น องุ่น ทับทิม มะเดื่อ พลัม   ควิ้น มะเดื่อฝรั่งและมะกอก  เป็นต้น                      

3) การตัดชำใบ
(Leaf cutting)
การตัดชำใบมักนิยมใช้ในไม้ประดับหลายชนิด ส่วนของใบสามารถแตกรากและงอกหน่อได้
                        
4) การตัดชำใบที่มีตาติด(Leaf bud cutting)
   
เป็นการนำเอาแผ่นใบรวมทั้งก้านใบและตาข้างที่อยู่โคนต้นนำไปตัดชำ ในกรณีที่ต้นแม่มีจำกัด การตัดชำควรชำให้ลึกประมาณ ½–1 นิ้ว วัสดุที่ใช้ ทรายกับขี้เถ้าแกลบ อัตราส่วน 1:1 ไม้ผลที่ตัดชำใบที่มีตาติด ได้แก่ มะนาวและ แบลคเบอรี่  เป็นต้น  หลังจากตัดชำได้สักระยะหนึ่งจะสังเกตเห็นตรงโคนกิ่งมีเนื้องอกหรือเรียก แคลลัส(callus)ซึ่งเป็นกลุ่มเซลล์พาเรนไคมาที่กำเนิดจากเซลล์ที่มีอายุน้อย บางครั้งรากแรกที่แทงออกมักแทงออกจาก แคลลัส  ทำให้เชื่อว่าการมีแคลลัสเป็นสิ่งจำเป็นในการเกิดราก  แต่โดยความเป็นจริงแล้ว การเกิดรากและการเกิดแคลลัสไม่มีความสัมพันธ์กัน ที่เกิดมาพร้อมกันเนื่องจากต้องการปัจจัยภายในและสภาพแวดล้อมภายนอกคล้ายๆ กัน แต่อย่างไรก็ตามการเกิดแคลลัสอาจมีผลทางอ้อม ในด้านการดูดน้ำได้ดีขึ้นและป้องกันการเข้าทำลายของเชื้อโรค
                  
1.3  ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดรากของกิ่งตัดชำ
 
1) อายุและสภาพของต้นแม่ 
ส่วนต่างๆ ของพืชที่จะนำมาตัดชำควรจะมีอายุพอดีไม่แก่หรืออ่อนจนเกินไป แต่พืชบางชนิดจะออกรากได้ดีต้องใช้กิ่งอ่อน และบางชนิดต้องใช้กิ่งแก่ สภาพของกิ่ง ตัดชำต้องสมบูรณ์ปราศจากโรค โดยเฉพาะโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส การเกิดรากของกิ่งตัดชำนั้นมีปัจจัยภายในหลายอย่างเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น ออกซิน(auxin)คาร์โบไฮเดรต สารประกอบไนโตรเจน วิตามิน และปัจจัยร่วมอื่นๆ อีก หากตัดส่วนของพืชขณะที่มีสิ่งเหล่านี้อยู่ในอัตราที่พอเหมาะก็จะทำให้การเกิดรากของส่วนเหล่านั้นดีขึ้น ดังนั้นเวลาตัดกิ่งตัดชำจากต้นแม่จึงควรเลือกเวลาให้เหมาะสม

2) จำนวนใบของกิ่งตัดชำ
 
ใบที่ติดอยู่บนกิ่งตัดชำจะมีส่วนช่วยในการออกรากของกิ่งตัดชำได้เช่นกัน เพราะอาหารและฮอร์โมนที่สะสมอยู่ในใบจะช่วยทำให้เกิดรากและเพิ่มจำนวนรากดีขึ้น ควรตัดใบให้เหลือครึ่งหนึ่งเพื่อช่วยลดการคายน้ำ แต่ถ้ากะบะเพาะชำมีความชื้นเพียงพอ เช่น แปลงตัดชำที่มีการให้น้ำแบบพ่นหมอกเป็นระยะๆ ก็ไม่จำเป็นต้องตัดเอาใบออก กิ่งตัดชำที่มีใบจะสามารถสังเคราะห์แสงได้เอง

3) รอยตัดของกิ่งตัดชำ
 
รอยตัดของกิ่งตัดชำด้านที่จะปักลงไปในวัสดุชำจะมีผลต่อการออกรากของกิ่งตัดชำ ควรทำรอยแผลเฉียงประมาณ 45 องศา จะทำให้การเกิดรากได้ดีกว่าการตัดตั้งได้ฉากกับกิ่ง เพราะจะได้เนื้อที่เกิดรากมากขึ้น บางครั้งอาจใช้มีดกรีดเป็นรอยแผล(wounding) ตามความยาวของกิ่งประมาณ 3–4 รอย เพื่อจะได้ช่วยดูดน้ำได้มากขึ้น และถ้ามีการใช้สารเคมีช่วยในการเกิดรากก็จะทำให้กิ่งดูดสารเคมีดีขึ้น ส่วนรอยตัดด้านบนควรตัดให้ตั้งฉากกับกิ่งเพื่อลดการคายน้ำ สำหรับรอยตัดด้านล่างควรตัดผ่านใกล้ๆ กับข้อจะทำให้กิ่งออกรากได้ดีขึ้น

4)วัสดุชำ
 
วัสดุที่ใช้เป็นตัวกลางเพื่อให้กิ่งตัดชำออกรากนั้นควรจะเก็บความชื้นได้ดีเป็นวัสดุที่ระบายน้ำได้ดี ที่นิยมใช้ในบ้านเราปัจจุบัน คือ ทราย ขี้เถ้าแกลบ ดิน ซึ่งอาจใช้ผสมกันหรือใช้เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของพืชที่จะนำมาตัดชำ                          

5) ความเป็นกรด-ด่างของวัสดุตัดชำ
 
วัสดุตัดชำโดยทั่วไปควรมี pH ประมาณ 7.0
                                           
6) การใช้สารเร่งราก
 
สารเร่งรากจะเพิ่มจำนวนรากให้มากขึ้น และทำให้การเกิดรากได้เร็วขึ้น ปัจจุบันที่นิยมใช้จะเป็นสารที่อยู่ในกลุ่มของออกซิน เช่น  IBA  NAA  2,4-D  2, 4, 5-TP  อาจใช้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือใช้ร่วมกัน                              

7) การใช้สารป้องกันกำจัดเชื้อรา
 
การจุ่มกิ่งตัดชำในสารป้องกันกำจัดเชื้อรา จะช่วยป้องกันโรคที่อาจจะเกิดขึ้น

8) ความชื้นในอากาศ
 
นอกจากวัสดุตัดชำจะมีความชื้นแล้ว ความชื้นในอากาศควรมีอย่างเพียงพอ หากความชื้นในอากาศน้อยเกินไป ก็จะมีผลทำให้ใบมีการคายน้ำมากเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจทำให้กิ่งตัดชำเหี่ยวตายได้ แต่ในทางตรงกันข้ามถ้าความชื้นมากเกินไปก็จะทำให้การระบาดของโรคมากเพิ่มขึ้น เช่นกัน
                               
9) อุณหภูมิ 
 
อุณหภูมิบริเวณแปลงเพาะชำไม่ควรสูงหรือต่ำมากนัก อุณหภูมิที่เหมาะสมที่สุดสำหรับพืชโดยทั่วไป   คือ กลางวันอุณหภูมิอยู่ในช่วง 21–27 ๐ซ  ชและกลางคืนระหว่าง 15-21 ๐ซ อุณหภูมิของวัสดุตัดชำควรสูงกว่าอุณหภูมิอากาศบริเวณรอบๆ นอกประมาณ 2 ๐ซ จะทำให้กิ่งตัดชำเกิดรากขึ้นก่อนที่ตาจะแตกยอดสำหรับการควบคุมอุณหภูมิอาจทำได้โดยวิธีการสร้างกะบะที่มีขดลวดไฟฟ้า  (Bottom heat chamber)

10) แสงสว่าง
 
ปกติแสงสว่างจะเป็นอุปสรรคต่อการเกิดราก การให้แสงแก่กิ่งตัดชำนั้นควรจะดูว่าเป็นกิ่งตัดชำชนิดใด ถ้าเป็นกิ่งอ่อน (Soft wood) ต้องการแสงน้อยกว่า เพราะมีอาหารเก็บสะสมไว้บ้างแล้ว แต่โดยทั่วไปแล้วควรทำการตัดชำในที่ร่มรำไร                               

11) ฤดูหนาว
 พืชแต่ละชนิดมีฤดูกาลที่เหมาะสมในการเกิดรากแตกต่างกัน เช่น พวกไม้ผลัดใบ มักตัดชำกิ่งแก่ในฤดูหนาว ส่วนไม้ผลเมืองร้อนมักตัดชำในฤดูที่ต้นไม้กำลังเติบโต อย่างไรก็ตาม การที่จะตัดชำในฤดูใดนั้น ควรมีการศึกษาถึงสรีรวิทยาของพืชเป็นสำคัญ 

2.  การตอนกิ่ง
                
2.1  ความหมายของการตอนกิ่ง                     
การตอนกิ่ง คือ การทำให้ส่วนของพืชเกิดรากในขณะที่ยังติดอยู่กับต้นแม่ คือ ทำให้เกิดรากพิเศษ  (adventitious roots) เมื่อกิ่งออกรากดีแล้วก็ตัดไปปลูก ต้นพืชที่ปลูกและตั้งตัวได้ดีแล้ว จะกลายเป็นต้นพืชต้นใหม่ต่อไป สำหรับการตอนกิ่งเป็นวิธีการขยายพันธุ์ไม้ผลวิธีการหนึ่งที่นิยมทำกันมากเพราะสามารถกระทำได้โดยง่าย สะดวก และใช้อุปกรณ์น้อย                  

2.2  แบบต่างๆ ของการตอนกิ่ง
1. การตอนกิ่งโดยวิธีใช้ยอด(Tip layering)คือ การโน้มปลายกิ่งทิ่มลงไปในดิน กลบปลายดินให้มิด พอรากและยอดแตกดีแล้วก็นำไปปลูก ใช้กับแบลคเบอร์รี่(blackberries)ราสเบอร์รี่  Arasberries)และดิวเบอร์รี่(dewberry)

2.
การตอนกิ่งโดยวิธีง่ายๆ(Simple layering)คือ การโน้มยอดเอาดินกลบแต่ให้ยอดโผล่ขึ้นมาจากดิน ส่วนที่ถูกดินกลบอาจจะบาก แล้วหาเศษไม้คั่นเพื่อให้รอยแผลอ้า ซึ่งจะทำให้ออกรากได้ เร็วขึ้น ถ้าเป็นกิ่งที่โน้มยากอาจใช้ไม้ตรึงไว้ พอออกรากดีแล้วก็ต้องไปปลูกได้เลย อาจใช้กับไม้ผล เช่น ฝรั่ง

3.
การตอนกิ่งแบบซับซ้อน หรือแบบงูเลี้อย(Compoung or Serpentine layering) วิธีนี้คล้ายๆ กับแบบที่ 2 คือ  แทนที่จะบากเฉพาะตรงข้อใดข้อหนึ่งเพียงข้อเดียว กลับบากเว้นข้อสลับกันไปจากใกล้โคนไปหาปลายยอดกิ่งหลายๆ แห่ง โน้มกิ่งแล้วเอาดินทับพร้อมกับตรึงที่บากไว้ระยะๆ ส่วนข้อใดที่ไม่ได้บากก็ปล่อยโค้งโผล่เหนือผิวดินวิธีนี้เหมาะสำหรับไม้เถา ซึ่งมีกิ่งอ่อนที่อาจโค้งได้ตามต้องการ พอรากแตกออกตรงรอยบากดีแล้วก็ตัดจากต้นแม่ไปปลูกได้

4. 
การตอนกิ่งแบบคูหรือขุดร่อง (Trench layering) 
เป็นการโน้มกิ่งลงในดินให้กิ่งขนานราบไปกับคูหรือร่องที่ขุดไว้ แล้วกลบด้วยดินทุกข้อ บากตรงบริเวณข้อด้านล่างหรือบริเวณที่ต้องการให้เกิดราก รากจะเกิดตรงรอยบากที่ฝังอยู่ในดิน ส่วนตาที่อยู่บนกิ่งก็จะเจริญไปเป็นต้นต่อไป วิธีนี้มักใช้กับการขยายพันธุ์ต้นตอของแอปเปิล พลับ สาลี่ และเชอรี่

5. 
การตอนกิ่งแบบสุมโคน(Mound or stool layering) 
เป็นการขยายพันธุ์โดยการตัดลำต้นให้เหลือโคนอยู่เหนือดินเพียงเล็กน้อย แล้วปล่อยไว้ให้แตกกิ่งใหม่ขึ้นมาแทน เมื่อกิ่งใหม่มีอายุได้ 2–3 เดือน ก็กลบดินทับโคนกิ่งเหลือแต่ส่วนยอดไว้ และรากจะแตกออกจากทุกๆ กิ่ง ในกรณีของพืชที่ออกรากยากโดยเฉพาะไม้เมืองร้อน ได้แก่ มะม่วง ฝรั่ง อาจขยายพันธุ์โดยวิธีนี้ได้เช่นกัน แต่ต้องใช้สารเร่งราก เช่น IBA เข้าช่วยด้วยวิธีการควั่นรอบๆ กิ่ง แล้วขูดเนื้อเยื่อเจริญออก ทาด้วยสาร IBA ความเข้มข้น 5,000 ส่วนต่อล้านผสมกับลาโนลีนทาบริเวณรอยควั่นด้านบน                          

6. การตอนบนอากาศ
(Air layering, Chinese layering, Potlayering, Circumposition, Marcotage, Gootee) 
วิธีนี้เหมาะสำหรับพืชที่ออกรากยาก แบ่งการตอนบนอากาศได้ 3 วิธี คือ              
1. การกรีดกิ่ง

ปกติใช้กับกิ่งพืชที่ยังเป็นกิ่งอ่อน โดยทำการกรีดกิ่งตรงบริเวณที่ต้องการเกิดราก จากนั้นหุ้มด้วยกาบมะพร้าว หรือขุยมะพร้าวที่ชุ่มชื้น              
2. การปาดกิ่ง
 
เป็นวิธีการเฉือนกิ่งทางด้านล่างของกิ่งให้เข้าไปในเนื้อไม้เล็กน้อย ความยาวของรอยเฉือนประมาณ  1–2 นิ้ว จากนั้นใช้เศษไม้หรือฟิวลวดไฟฟ้าคั่นไว้ หุ้มด้วยกาบมะพร้าวหรือขุยมะพร้าว   
3. การควั่นกิ่ง 
ปกติเป็นวิธีที่นิยมทำกันมากในปัจจุบัน  เช่น ไม้ผล พวกลำไย ลิ้นจี่ ส้ม ชมพู่ เป็นต้น  วิธีการทำโดยการควั่นกิ่งเป็น 2 รอยห่างกันพอสมควร ปกติเท่ากับเส้นรอบวงของ  กิ่งตอน ทำการลอกเปลือกออกแล้วขุดเยื่อเจริญออกให้หมด จากนั้นใช้ดินพอกรอยควั่นไว้ ใช้วัสดุที่อุ้มความชื้นได้ดี  เช่น กาบมะพร้าว หรือขุยมะพร้าวหุ้ม แล้วหุ้มด้วยพลาสติก เพื่อป้องกันน้ำระเหยออกจากวัสดุ บางพืชการตอนกิ่งอาจไม่จำเป็นต้องใช้ดินพอก แต่ใช้ขุยมะพร้าวที่ชื้นอัดใส่ถุงพลาสติกขนาด 4x6 นิ้ว มัดปากถุงให้แน่นแล้วผ่าครึ่งหุ้มรอยควั่นมัดกระเปราะหัวท้าย เมื่อกิ่งตอนเกิดราก และมีรากในปริมาณที่มากจึงตัดมาชำในถุงหรือกระถาง 


การดูแลรักษากิ่งตอน
1. หมั่นดูแลอย่าให้วัสดุที่หุ้มกิ่งตอนแห้งก่อนที่รากจะงอก
2. ป้องกันการโยกและหมุนของวัสดุที่นำมาหุ้ม 

2.3 หลักการพิจารณาการตัดกิ่งตอนลงชำ
1. กิ่งตอนควรมีรากเป็นจำนวนมากโดยทั่วไปควรรอให้รากเปลี่ยนจากสีขาว เป็นสีน้ำตาลและมีการแตกรากแขนงย่อยออกมาจึงทำการตัด
2. ถ้ากิ่งตอนมีขนาดกิ่งใหญ่มีใบมาก ควรทำการริดใบออกเพื่อลดการคายน้ำของใบ
3. กิ่งตอนพืชบางชนิดจะต้องนำไปแช่น้ำทันทีที่ตัดออกมาแช่ไว้ประมาณ 24–48 ชั่วโมง เช่น กิ่งทุเรียน เพื่อให้กิ่งดูดน้ำได้เต็มที่เรียกว่า การชำน้ำ
4. ถ้าเป็นพืชที่มีราคาแพงและหายาก ควรใช้วิธีการควั่นส่วนที่จะตัดออก ทีละน้อยๆ เพื่อให้กิ่งตอนปรับตัวได้ทัน
5. เมื่อตัดกิ่งตอนแล้วควรชำกิ่งแล้วเก็บไว้ในร่มแสงประมาณ  50 เปอร์เซ็นต์ หรือน้อยกว่านี้ในระยะแรกของการชำ 

2.4 ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดรากของกิ่งตอน
               
การออกรากของกิ่งตอนนั้นจะสำเร็จมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ในการควบคุมการออกราก ถ้าปัจจัยต่างๆ  อยู่ในสภาพที่ส่งเสริมการออกรากแล้ว ความสำเร็จในการตอนกิ่งมาก ในทางตรงกันข้ามหากปัจจัยต่างๆ อยู่ในสภาพที่ไม่เหมาะสมแล้วความสำเร็จในการตอนกิ่งก็มีน้อย ปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง  ได้แก่
1. ความชื้นของวัสดุที่ใช้ตอนกิ่ง  (Medium) 
มีผลต่อการออกรากพบว่าถ้าที่มีความชื้นเพียงพอ จะทำให้การออกรากเร็วขึ้น วัสดุที่นิยมใช้หุ้มกิ่งตอนในบ้านเรา  ได้แก่ กาบมะพร้าวที่แช่น้ำไว้ประมาณ 1–3 เดือน และขุยมะพร้าวซึ่งสามารถดูดซับน้ำได้ดี

2. 
ความชื้นในอากาศ(Relative Humidity) 
การเพิ่มความชื้นในอากาศจะช่วยลดการคายน้ำของพืช นั่นคือ ถ้าความชื้นในอากาศมีน้อยจะส่งผลถึงการระเหยของน้ำจาก medium

3. 
C/N ratio 
หมายถึง อัตราส่วนของการสะสมคาร์โบไฮเดรต และสารประกอบของไนโตรเจนในกิ่งตอน  ซึ่งสัดส่วนจะเป็นตัวบ่งชี้ถึงการออกราก ถ้า C/N ratio มีค่าสูงกิ่งตอนจะเกิดรากได้ดี และเร็วกว่ากิ่งที่มี C/N ratio ต่ำ

4. 
Etiolation  
เป็นการให้ความมืดแก่กิ่งตอน จากการทดลองของนักวิทยาศาสตร์หลายคนพบว่า กิ่งตอนที่ทำการให้ความมืดแล้วจะทำให้มีการออกรากเร็วกว่ากิ่งที่ไม่ผ่านการให้ความมืด นอกจากนี้ถ้ามีการใช้สารหรือพ่นสารควบคุมการเจริญเติบโตด้วยแล้ว จะทำให้การออกรากเร็วกว่าการให้ความมืดเพียงอย่างเดียววกว่าการให้ความมืดเพียงอย่างเดียว

5. 
อุณหภูมิ (Temperature) 
พืชทั่วไปต้องการอุณหภูมิสำหรับออกราก คือ อุณหภูมิกลางวัน ประมาณ 21–27 ๐ซ และอุณหภูมิกลางคืนประมาณ 17–21 ๐ซ ถ้าอุณหภูมิสูงเกินไปจะมีผลทำให้การหายใจมากเกินไป ใช้อาหารมากโดยเฉพาะอาหารพวกคาร์โบไฮเดรต ซึ่งมีผลทำให้ค่าของ C/N ratio ต่ำลงทำให้ปริมาณการออกรากน้อย นอกจากนี้ยังมีผลทำให้เกิดการสูญเสียของน้ำจากใบ และจาก medium มีมากขึ้น

6. 
ขนาดของกิ่ง (Shoot diameter) 
หมายถึงเส้นผ่าศูนย์กลางของกิ่ง กิ่งที่มีขนาดเล็กจะรับน้ำหนักไม่ค่อยได้จะเกิดการหัก ถ้ากิ่งใหญ่เกินไปถึงแม้จะออกรากก็ตาม แต่เมื่อตัดลงไปปลูกในแปลงแล้วโอกาสที่จะตายมีมากกว่า แต่อย่างไรก็ตามการเลือกขนาดของกิ่งนั้นขึ้นอยู่กับชนิดของพืชที่จะทำการตอน เช่น ในลิ้นจี่ขนาดของกิ่งที่ใช้ในการตอนที่เหมาะสมคือขนาด 1.5 เซนติเมตร

7. 
ความเข้มข้นของแสง และตำแหน่งที่ทำการตอน(Light intensity and Position) 
กิ่งที่ได้รับแสงเต็มที่ซึ่งหมายถึงกิ่งที่อยู่รอบๆ ทรงพุ่ม จะทำให้การออกรากได้ดี และเร็วกว่ากิ่งที่อยู่ในทรงพุ่ม

8. การตอบสนองต่อแรงโน้มถ่วงของโลก(Geotropism)
 
การออกรากตามปกติ รากจะแทงหรือ เจริญเข้าหาแรงโน้มถ่วงของโลก(positive geotropism) การตั้งตรงของกิ่งตอนก็มีผลต่อการออกรากด้วย กิ่งที่อยู่ในลักษณะขนานกับพื้นโลก การออกรากจะเกิดเฉพาะทางด้านล่างของกิ่งเท่านั้น ซึ่งจะมีผลให้จำนวนของรากมีน้อยไปด้วย ส่วนกิ่งที่ตั้งตรงเน้นการออกรากจะออกรอบๆ กิ่ง และมีจำนวนรากมากด้วย

9. สารควบคุมการเจริญเติบโตพืช (Plant Growth Regulators)
 
หมายถึงสารเคมีต่างๆ ที่ช่วยเร่งและเพิ่มการเกิดรากให้มากขึ้นได้แก่สาร  IAA  (Indole-butyric acid)  NAA  (Napthalene acetic acid)  2,  4-D  (dichlorophenozy acdetic acid) 2, 4, 5-T  (Trichloropenoxy acetic acid)  เป็นต้น 


3. การต่อกิ่ง
 
3.1 ความหมายของการต่อกิ่ง                               
การต่อกิ่งหรือการเสียบกิ่งคือการสอดส่วนของพืชหรือกิ่งพืชต้นหนึ่งลงบนต้นพืชอีกต้นหนึ่ง และส่วนทั้งสองของพืชจะเชื่อมประสานติดต่อกัน และเจริญไปเป็นพืชต้นใหม่ โดยส่วนที่อยู่ใต้รอยต่อจะทำหน้าที่เป็นรากดูดน้ำ และแร่ธาตุอาหาร เรียกว่า ต้นตอ(rootstock, understock, stock)  และส่วนที่อยู่เหนือรอยต่อจะทำหน้าที่เป็นกิ่งก้านสาขาที่ให้ดอกและผลเร็วกว่ากิ่งพันธุ์ดี(Scion or cion)                

3.2 แบบต่างๆ ของการต่อกิ่ง
1. การต่อกิ่งแบบเข้าลิ้น(Whip or Tongue grafting)วิธีนี้ควรใช้กับต้นตอและ      กิ่งพันธุ์ดีที่มีขนาดเท่าๆ กัน ทำได้โดยเฉือนกิ่งพันธุ์ดี และต้นตอเป็นรูปปากฉลามให้มีความยาวพอๆ กัน แล้วผ่าตรงกลางรอยเฉือนทั้งต้นตอ และกิ่งพันธุ์ดี เอากิ่งพันธุ์ดีเสียบลงไปบนต้นตอให้เข้ากัน

2. 
การต่อกิ่งแบบฝานบวบ(Spliced grafting)
วิธีนี้ทำคล้ายกับวิธีเสียบกิ่งแบบเข้าลิ้นแต่ไม่ผ่ากลาง และประกบเข้าด้วยกันจัดเนื้อเยื่อเจริญให้ตรงกัน และพันด้วยพลาสติก วิธีนี้ใช้สำหรับต้นตอและกิ่งพันธุ์ดีมีขนาดเล็ก มักใช้กับไม้เนื้ออ่อนที่ผ่าไม่ค่อยได้รูป

3. 
การต่อกิ่งแบบเสียบข้าง(Side grafting) 
ทำได้โดยการเฉือนต้นตอด้านข้างให้เฉียงลงลึกเข้าไปในเนื้อไม้ รอยแผลยาวประมาณ 1-3 นิ้ว (ขึ้นอยู่กับชนิดพืชและขนาดของต้นตอ) ให้ทำมุม 30 องศากับเปลือก ส่วนกิ่งพันธุ์ดีให้เฉือนโคนกิ่งเป็นรูปลิ่ม

4. 
การต่อกิ่งแบบวีเนีย (Side veneer grafting) 
วิธีการคล้ายกับการเสียบข้าง ต่างกันที่ต้องตัดชิ้นส่วนรอยเฉือนของต้นตอออกให้เหลือเพียง 1/3 ของรอยเฉือนทั้งหมด และการเตรียมรอยเฉือนกิ่งพันธุ์ดี ให้เฉือนเฉียงเป็นปากฉลาม และเฉือนกิ่งพันธุ์ดีด้านตรงข้ามออกให้มีความยาวเท่ากับรอยเฉือนที่เปลือกไว้บนต้นตอ

5. 
การต่อกิ่งแบบเสียบลิ่ม(Cleft or wedge grafting) 
นิยมทำในกรณีที่ต้องการเปลี่ยนยอด และมักเป็นกิ่งที่มีขนาดใหญ่หรือขนาดเล็กก็ได้ วิธีการคือผ่าครึ่งต้นตอความยาวประมาณ 1–2 นิ้ว สำหรับไว้สอดใส่กิ่งพันธุ์ดี การเตรียมรอยแผลยอดพันธุ์ดี โดยเฉือนเป็นรูปลิ่มให้มีความยาวของรอยแผลเท่ากับรอยแผลของต้นตอ

6.
การต่อกิ่งแบบเข้ากับเดือย(Saddle grafting)
นิยมทำกับกิ่งพืชที่ยังอ่อนหรือต้นอ่อน และเป็นพืชที่ค่อนข้างอวบน้ำ

7.
การต่อกิ่งแบบบาก(Sawkerf or notch grafting) 
นิยมทำในกรณีที่ต้องการเปลี่ยนยอดโดยเฉพาะและมักเป็นกิ่งที่มีขนาดโตกว่าการต่อกิ่งแบบเสียบลิ่ม

8. 
การต่อกิ่งแบบอินเลย์  (Inley grafting) 
คล้ายกับการต่อกิ่งแบบบาก และมักใช้กับกิ่งพันธุ์ดีที่มีขนาดเล็กกว่า

9. 
การต่อกิ่งแบบเสียบเปลือก(Bark grafting) 
นิยมใช้ในกรณีที่เปลือกต้นตอลอกออกจากเนื้อไม้ และควรทำในระยะที่พืชเจริญเติบโตสูง  (active growth)

10. 
การต่อกิ่งแบบเชื่อมสะพาน(Bridge grafting) 
การเสียบกิ่งวิธีนี้จะใช้ในกรณีที่ลำต้นและเปลือกถูกทำลายโดยเครื่องจักรหรือศัตรูพืช มักนิยมทำการต่อกิ่งและยึดเหนี่ยว(bracing)ซึ่งเป็นการต่อเชื่อม 

4. การติดตา
                
4.1 ความหมายของการติดตา
  การติดตาการนำเอาตาของกิ่งพันธุ์ที่ดีเพียงตาเดียวมาติดบนต้นตอ แผ่นตาอาจจะลอกเนื้อไม้ออกหรือไม่ก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดพืช และวิธีการติดตา อาจเรียกการติดตาว่าการต่อตา(bud grafting) 

4.2 แบบ
ต่างๆ ของการติดตา1.                                      การติดตาแบบตัวทีหรือแบบรูปโล่ (T-or Shield budding) 
คือ การติดตาที่กรีดต้นตอเป็นรูปตัว(T)และเฉือนแผ่นตาออกมาเป็นลักษณะรูปโล่ ลอกเนื้อไม้ออกสอดแผ่นตาเข้าไปในรอยแผลของต้นตอ

2.
การติดตาแบบตัวทีหัวกลับ(Inverted T-budding)
คือ การติดตาคล้ายกับแบบตัวทีแต่กรีดตัวทีทางด้านล่าง และสอดแผ่นตาให้หงายขึ้น เพื่อป้องกันการขังของน้ำหรือน้ำยางของต้นตอ

3. 
การติดตาแบบแพทธ์หรือแบบแปะ(Patch T-budding) 
คือ การติดตาที่แกะเปลือก ต้นตอเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า แล้วใช้แผ่นเปลือกที่มีตาของกิ่งพันธุ์ดีที่มี ขนาดเท่ากันหรืออาจเล็กกว่ารอยแผลต้นตอเล็กน้อย มาสอดลงแผลของต้นตอ

4. 
การติดตาแบบเพลท(plate or forkert budding) 
คล้ายกับการติดตาแบบแพทธ์ แต่ต่างกันตรงที่การเตรียมรอยแผลของต้นตอจะไม่ตัดเอาเปลือกออกหมด

5. 
การติดตาแบบฟลูท(Flute budding)  
คือ การติดตาคล้ายกับแบบแพทธ์ แต่จะแคะเอาเปลือกออกเกือบรอบต้นตอเหลือแนวเปลือกไว้ราย  1/8 ของเส้นรอบวง

6. 
การติดตาแบบตัวไอหรือแบบหน้าต่าง(I-or Window budding) 
คือ การติดตาที่ทำโดยการกรีดต้นตอตามขวาง 2 รอบ แล้วกรีดตามยาวให้เชื่อมระหว่างรอยกรีดทั้งสอง เผยอแผ่นเปลือกต้นตอเหมือนกับการติดตาแบบตัวที ส่วนแผ่นตาจะเฉือนเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือสี่เหลี่ยมจตุรัสหรือรูปโล่ก็ได้ แล้วจึงสอดแผ่นตาเข้าไปในแผ่นเปลือกรูปตัวไอ

7. 
การติดตาแบบชิพ(Chip budding) 
คือ การติดตาที่ใช้ในกรณีที่เปลือกไม่ลอกออกจากเนื้อไม้ ทำโดยเฉือนต้นตอให้เข้าไปในเนื้อไม้ทำรอยเฉือนคล้ายกับวิธีการต่อกิ่งแบบวีเนีย แต่ต่างกันตรงกิ่งเสียบมีตาเพียงตาเดียว

8. 
การติดตาด้วยต้นตอสองต่อ(Double working by budding) 
การติดตา 2 ครั้ง โดยครั้งแรกทำการติดตาของตอกลางบนต้นตอ และในปีถัดไปหรือฤดูถัดไปจึงทำการติดตากิ่งพันธุ์ดีลงไปบนตอกลาง ทั้งนี้จะใช้ในกรณีที่กิ่งพันธุ์ดี และต้นตอไม่สามารถเข้ากันได้ หรืออาจจะต้องการคุณสมบัติบางอย่างของตอกลาง ตัวอย่างเช่น การติดตาด้วยต้นตอสองต่อที่เป็นตัวอย่างที่ดีที่สุด คือการเตรียมต้นตอของสาลี่ ซึ่งใช้ต้นตอ ควินซ์(Cydonia oblonge Mill) ใช้ส่วนตอกลางเป็นสาลี่พันธุ์ Old Home และใช้กิ่งของสาลี่พันธุ์ดี คือ พันธุ์ bartlett การใช้สาลี่พันธุ์ Old Home เป็นตอกลางคั่นระหว่างกิ่งต่อ คือสาลี่พันธุ์ Bartlet และต้นตอควินซ์ นั้น  ถ้าติดตาหรือต่อกิ่งกันโดยตรง แต่ถ้าใช้สาลี่พันธุ์ Old Home เป็นส่วนต่อหรือเเป็นข้อต่อ หรือเป็นส่วนกันชนของเนื้อเยื่อต้นตอกับเนื้อเยื่อของกิ่งสาลี่พันธุ์  Bartlett  แล้วก็จะทำให้ได้ต้นตอที่มีรอยประสานที่แข็งแรงไม่ฉีกหักง่าย นอกจากนี้ต้นตอควินซ์ ยังมีคุณสมบัติทำให้สาลี่พันธุ์  Baretlett เป็นต้นเตี้ยทนทานต่อแมลงกินราก และไส้เดือนฝอยอีกด้วย 

5. การทาบกิ่ง
 
5.1 ความหมายของการทาบกิ่งการทาบกิ่ง 
คือ การนำต้นพืชสองต้น ซึ่งต่างก็ยังมีรากเหมือนกัน มาทำการเชื่อมติดเป็นต้นเดียว หลังจากที่รอยต่อเชื่อมกันสนิทดีและต้นตอมีรากในปริมาณที่มากพอจึงตัดกิ่งลงมาชำ
5.2 การทาบกิ่งแบ่งได้เป็น 2 พวก คือ
1. การทาบกิ่งแบบประกอบ(Approach grafting)เป็นการทาบกิ่งที่ไม่ตัดยอดต้นตอออก คือทั้งต้นตอและกิ่งพันธุ์ดีต่างก็มียอดทั้งหลังจากที่รอยต่อเชื่อมกันสนิทดีจึงทำการจัดยอดต้นตอเหนือรอยต่อ และตัดกิ่งพันธุ์ดีใต้รอยต่อ

1.1 การทาบกิ่งแบบฝานบวบ (Spliced approach graft

ต้นตอและกิ่งพันธุ์ดีควรมีขนาดเท่ากัน ทำการเฉือนต้นตอและกิ่งพันธุ์ดีเป็นรูปโล่ ความยาวของรอยแผล 1–2 นิ้ว จัดเนื้อเยื่อเจริญให้สัมผัสกัน พันด้วยผ้าพลาสติกให้แน่น
1.2 การทาบกิ่งแบบเข้าลิ้น(Tongued approach graft) 
วิธีนี้คล้ายกับวิธีการแรกแต่แตกต่างกันที่ต้องมีการเฉือนรอยแผลของกิ่งพันธุ์ดี และต้นตอให้เป็นลิ้น สวมลิ้นของต้นตอและกิ่งพันธุ์ดีเข้าด้วยกัน จัดเนื้อเยื่อเจริญให้สัมผัสกัน พันด้วยผ้าพลาสติก วิธีนี้รอยต่อจะสวมกันแน่นเนื่องจากมีลิ้นช่วยยึด
1.3 การทาบกิ่งแบบอินเลย์ (Inlay approach graft) 
การทาบกิ่งวิธีนี้มักใช้ทาบกิ่งเพื่อต้องการเปลี่ยนยอด การเตรียมต้นตอโดยแซะเปลือกออกเป็นร่องยาวประมาณ 3–4 นิ้ว ใช้ในกรณีที่เปลือกของต้นตอล่อน การเตรียมแผลของกิ่งพันธุ์ดีให้เข้าไปในเนื้อไม้เป็นรูปโล่ให้ยาวเท่ากับความยาวของรอยแผลต้นตอ ใช้ตะปูขนาดเล็กตอกกิ่งพันธุ์ดีให้ติดกับต้นตอแล้วใช้พลาสติกหุ้มรอยต่ออีกทีหนึ่ง

2. 
การทาบกิ่งแบบเสียบ  (Inarching) 
การทาบกิ่งวิธีนี้เป็นกิ่งที่นิยมทำกันมากในปัจจุบัน วิธีการคือ  จะตัดยอดต้นตอทิ้งให้เหลือตอไว้ยาว2– 5 นิ้ว สำหรับวิธีการทาบกิ่งแบบนี้ที่นิยมทำกันมี 3 วิธี คือ
2.1 การทาบกิ่งแบบฝานบวบดัดแปลง (Modified spliced approach grafting)  ฃวิธีนี้การเตรียมรอยแผลคล้ายกับวิธีการทาบกิ่งแบบฝานบวบ แต่ต่างกันตรงที่ตัดยอดต้นตอทิ้ง
2.2 การทาบกิ่งแบบวีเนียดัดแปลง(Modified Side veneer approach grafting) 
วิธีการนี้เตรียมรอยแผลคล้ายกับวิธีการทาบกิ่งแบบฝานบวบ แต่ต่างกันตรงที่ตัดยอดต้นตอทิ้ง
2.3 การทาบกิ่งแบบเสียบข้างดัดแปลง(Modified Side grafting) 
การเตรียมรอยแผลของกิ่งพันธุ์ดี โดยเฉือนให้ลึกเข้าไปในเนื้อไม้ยาวประมาณ 1–2 นิ้ว แล้วเฉือนต้นตอให้เป็นรูปลิ่มความยาวของรอยแผลเท่าๆ กัน สอดรอยแผลของต้นตอเข้ากับรอยแผลของกิ่งพันธุ์ดี จัดเนื้อเยื่อเจริญให้ชิดกันพันด้วยผ้าพลาสติก 

6. การแบ่งและการแยก(Separation and division)
 
ส่วนของพืชที่สามารถแยกออกได้ตามธรรมชาติ หรือพร้อมที่จะแยกออกจากต้นพ่อแม่ได้และนำไปใช้ในการขยายพันธุ์  ได้แก่ หัว แง่ง หน่อ ไหล และจุก หรือตะเกียง เป็นต้น               
การแยก(Separation)
 
คือ การแยกส่วนของพืชออกจากกัน เช่น การแยกหัวของหอมแบ่ง หรือการแยกกระจุกหัวของแกลดิโอลัส ส่วนการแบ่ง(Division)คือ การตัดออกเป็นชิ้นๆ แต่ละชิ้นมีตาซึ่งจะทำให้กำเนิดเป็นพืชต้นใหม่ขึ้น เช่น มันฝรั่ง  เป็นต้น               

การขยายพันธุ์โดยใช้วิธีแบ่ง หรือการแยกส่วนของพืชนี้ มักจะได้พืชต้นใหม่ที่มีลักษณะ แข็งแรงเจริญเติบโตเร็วกว่าปลูกด้วยเมล็ด การแบ่งและการแยกนี้ส่วนมากจะใช้ในการขยายพันธุ์ไม้ประดับ  แบ่งออกตามลักษณะของส่วนของพืชดังนี้ คือ

1. 
Bulb  คือ ส่วนของพืชที่มีตาต่อหุ้มด้วยใบ หรือโคนใบ หรือกาบใบ และรากจะแตกออกจากส่วนฐานของหัว  ตัวอย่างเช่น  หอม, ลิลลี่, ทูลิป, หว่านสี่ทิศ  เป็นต้น

2. 
Corm  คือ ส่วนของลำต้นใต้ดินที่มีรูปร่างค่อนข้างกลมประกอบด้วยข้อและปล้อง ซึ่งมีลักษณะคล้ายวงแหวนคาดอยู่โดยรอบ และตาที่อยู่รอบๆ หัวจะเจริญเติบโตเป็นหัวขนาดเล็กเชื่อมด้วย  Corm  ติดอยู่กับหัวของลำต้นซึ่งใช้ในการขยายพันธุ์  ตัวอย่างเช่น แกลดิโอลัส หรือซ่อนกลิ่นฝรั่ง  เป็นต้น

3. 
Tuber คือ ส่วนยอดที่อ้วนสั้นของต้นที่อยู่ใต้ระดับผิวดิน  เป็นส่วนที่ใช้สะสมอาหาร  เช่น มันฝรั่ง  (Trish potato)  บอนประดับ  (Caladium)  มักขยายพันธุ์โดยการแบ่ง  (Division)

4. 
Tuberous roots คือ รากของพืชพวกไม้เนื้ออ่อน ที่มีลักษณะอวบอ้วน และพองตัวภายในรากจะมีอาหารสะสมอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น หัวมันเทศ หัวรักเร่ คาดตะกั่ว(begonia) การขยายพันธุ์โดยใช้ต้น(adventitious shoot)ทิวเบอร์ขนาดเล็กที่เกิดอยู่ในอากาศตามง่ามใบ  (tubercles)และการแบ่ง(division)

5. 
Runner or stolon  คือ ส่วนของพืชที่เจริญออกจากต้นพ่อแม่ มีลักษณะกลมยาวทอดขนานไปบนผิวดิน เช่น สตรอเบอรี่ เรียกว่าไหลบนดิน จึงขยายพันธุ์โดยวิธีแยกไหล

6. 
Rhizome  คือ ส่วนสะสมอาหารของพืชที่มีข้อ ปล้อง พร้อมด้วยเปลือกหุ้มตาอยู่ ซึ่งต้นนี้จะงอกเป็นหน่อ และรากจะแตกออกจากข้อหรือระหว่างข้อ  ตัวอย่างเช่น  ขิง ข่า สาคู  เป็นต้น

7. 
Sucker of slip or offset คือ ส่วนของพืชที่เจริญเป็นพืชต้นใหม่จากต้นพ่อแม่ ถ้าเจริญเป็นต้นใหม่จากต้อนพ่อแม่ ถ้าเจริญเป็นต้นใหม่จากต้นพ่อแม่ ถ้าเจริญเป็นต้นใหม่จากส่วนของลำต้นอยู่เหนือผิวดิน เรียกว่า หน่อเหนือดิน (sucker of slip) เช่น สับปะรด เบ็ญจมาศ ถ้าอยู่ในดินเรียกว่า หน่อใต้ดิน(ground sucker)เช่น กล้วย สับปะรด ถ้าอยู่ระดับผิวดิน เรียกหน่อข้า  (off set) เช่น อินทผาลัม  ปรง

8. 
Crown คือ ส่วนคล้ายใบที่อยู่ส่วนบนของผลสับปะรด             

ทฤษฎีของการติดตาต่อกิ่ง
 
1. การติดตาต่อกิ่ง แบ่งได้ 3 พวก คือ
การต่อกิ่ง (Grafting)
การติดตา (Budding)
การทาบกิ่ง(Inarchingor approach grafting) 

2. จุดประสงค์ของการติดตาต่อกิ่ง
การต่อกิ่งและติดตา อาจมีจุดประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังนี้ คือ             1. เพื่อขยายพันธุ์พืชซึ่งไม่สามารถขยายได้ง่ายโดยการไม่ใช้เพศอย่างอื่น เช่น การตอนกิ่ง การตัดชำ การแบ่ง และการแยก  ตัวอย่างเช่น มะม่วง พุทรา อัลมอนด์ และวอลนัท พืชเหล่านี้จะไม่สามารถออกรากได้เลย หรือออกรากน้อยมาก ดังนั้นจึงต้องใช้วิธีการต่อกิ่ง ติดตา และทาบกิ่ง  

2. เพื่อให้ได้รับประโยชน์ในการเปลี่ยนยอดพันธุ์เดิมที่ปลูกอยู่ก่อนแล้ว  เช่น การเปลี่ยนยอด  (Top working)  พันธุ์มะม่วง ส้ม ซึ่งบางครั้งต้นที่ปลูกอยู่เดิมมีปัญหาเรื่องการออกดอกติดผล หรือบางพันธุ์ไม่เป็นที่นิยมของตลาดในปัจจุบัน วิธีการแก้ปัญหานี้แทนที่จะตัดต้นเก่าทิ้งแล้วปลูกใหม่ ซึ่งจะต้องใช้เวลานาน เราสามารถที่จะนำยอดพันธุ์ดีมีคุณสมบัติตามที่ต้องการมาเปลี่ยนยอดต้นเดิม วิธีนี้ยอดพันธุ์ดีจะมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และใช้เวลาประมาณ 1–2 ปี ก็สามารถให้ผลผลิตได้

3. เพื่อช่วยย่นระยะเวลาของต้นกล้าพืชที่คัดเลือกไว้ให้ออกผลเร็วขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในด้านการปรับปรุงพันธุ์ในกรณีที่ต้องการทดสอบคุณภาพผลผลิตของลูกผสมเราก็นำเอายอดของพันธุ์ลูกผสมมาเสียบไว้บนต้นตอที่เคยให้ผลผลิตมาแล้ว เมื่อต้นตอออกดอก กิ่งที่นำไปเสียบก็ออกดอกตาม เชื่อว่าสารบางอย่างที่ผลิตในต้นตอส่งผ่านรอยต่อชักนำให้ยอดต้นกล้าที่นำไปเสียบออกดอกตาม ซึ่งเรื่องนี้น่ามีการศึกษาเพื่อหาว่าสารที่ส่งผ่านไปยังรอยต่อคือสารอะไร สำหรับพืชที่ประสบผลสำเร็จในขณะนี้ คือ มะม่วง

4. เพื่อเพิ่มผลผลิต เช่น การเสียบกิ่งมะม่วงเพื่อเพิ่มผลผลิตโดยนำยอดพันธุ์ดี ที่ตลาดต้องการไปเสียบกับต้นเดิมที่มีอยู่ เมื่อยอดพันธุ์เพิ่มออกดอกก็จะชักนำให้ยอดพันธุ์ดีออกดอก และติดผลตาม ซึ่งก็เท่ากับว่าได้ผลผลิตต้นพันธุ์เดิม และยอดพันธุ์ดีที่นำมาเสียบ

5. ใช้ในการศึกษาเรื่องโรคไวรัส ปกติไวรัสสามารถถ่ายทอดจากต้นหนึ่งไปยังต้นหนึ่งโดยวิธีการติดตา ต่อกิ่ง และทาบกิ่ง พืชบางพันธุ์มีโรคนี้แต่ไม่แสดงอาการให้เห็น วิธีทดสอบพืชที่สงสัยว่าจะติดเชื้อไวรัส ทำโดยการเสียบกิ่งหรือทาบกิ่งลงบนพืชทดสอบซึ่งอ่อนแอต่อเชื้อไวรัส ถ้าพืชที่ทดสอบแสดงอาการของโรคไวรัสทันที แสดงว่าพืชที่สงสัยติดเชื้อไวรัส การตรวจโรคโดยวิธีนี้ เรียกว่า indexing

6. เพื่อให้ได้รับประโยชน์จากการใช้ต้นตอบางชนิด บางครั้งพันธุ์ต่างๆ ของพืชบางชนิดอาจขยายพันธุ์ได้ง่ายโดยการตัดชำ หรือการใช้เมล็ดแต่ก็ยังนิยมการต่อกิ่ง หรือติดตาบนต้นตอ เพื่อต้องการลักษณะพิเศษบางอย่างของต้นตอ เช่น ทนต่อโรค และสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมบางอย่าง นอกจากนั้นต้นตอบางอย่างยังมีผลดีทำให้กิ่งพันธุ์ดีมีความแข็งแรง(Vigourous)หรือแคระแกรน (dowarf)
ความต้องการต้นตอบางชนิดมีผลต่อคุณภาพของผลผลิต

7. เพื่อให้ได้รับประโยชน์จากการใช้ต้นตอกลางบางชนิด ในบางครั้งอาจทำการต่อกิ่งของพืช 2 ครั้ง(double working)โดยใช้ตอกลาง(intermediate of interstock) ซึ่งมักใช้ในกรณีที่ต้นตอ และกิ่งพันธุ์ดีเข้ากันไม่ได้ (incompatibility)หรือต้องการลักษณะพิเศษของตอกลางบางอย่าง  เช่น ทำให้กิ่งพันธุ์ดีมีทรงพุ่มเตี้ย ซึ่งมีการใช้ในแอบเปิลบางพันธุ์

8. เพื่อประโยชน์ในการซ่อมส่วนของต้นพืชที่ได้รับอันตรายในกรณีที่พบว่าราก ลำต้น หรือส่วนกิ่งขนาดใหญ่ของพืช ได้รับอันตรายอย่างร้ายแรง จากโรคและแมลง สัตว์บางชนิด หรือเครื่องจักรต่างๆ วิธีการแก้ไขปัญหา คือ ใช้วิธีการต่อกิ่งแบบเชื่อมสะพาน(bridge grafting)หรือ การทาบกิ่ง  (inarching)  เพื่อซ่อมแซมส่วนที่ได้รับอันตราย  


3. การเกิดรอยต่อ 
(Formating of the graft union)ในการต่อกิ่ง ทาบกิ่งไม้ ประเภทเนื้อแข็ง การเชื่อมตัวหรือการสมานตัว(healing)ของรอยต่อมีขั้นตอน ดังนี้
1. การต่อกิ่ง การทาบกิ่ง  จะต้องจัดวางให้บริเวณเยื่อเจริญ(cambium)ของต้นตอและกิ่งพันธุ์ดีให้สัมผัสกันมากที่สุด(เนื้อเยื่อเจริญคือเนื้อเยื่อที่อยู่ระหว่างเปลือกกับเนื้อไม้ ประกอบด้วยกลุ่มเซลล์เยื่อเจริญที่สามารถแบ่งเซลล์ได้ตลอดเวลา)  ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมที่เซลล์ของพืชจะเจริญได้ดี ควรมีอุณหภูมิอยู่ในช่วง 55–90 ๐ฟ (12.8–32 ๐ซ) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของพืช  ดังนั้นควรทำการต่อกิ่งในฤดูกาลที่เหมาะสม คือ ในขณะที่อุณหภูมิพอเหมาะแก่การเจริญเติบโตของพืช นอกจากนี้ความชื้นก็มีส่วนสำคัญเพราะกลุ่มเซลล์ที่เกิดขึ้นใหม่จากบริเวณเยื่อเจริญประกอบด้วยเซลล์ที่พองตัว และมีผนังเซลล์อ่อนบาง และแห้งตายง่าย ควรจัดความชื้นบริเวณใกล้รอยต่อพอเหมาะ เพื่อป้องกันการแห้งตายก่อนที่จะรอยต่อจะประสานกัน ในทางปฎิบัติจึงใช้พันด้วยผ้าพลาสติก หรือหุ้มรอยต่อด้วย ขี่ผึ้ง บริเวณรอยต่อต้องไม่มีเชื้อโรคเข้าทำลาย เพื่อป้องกันการเกิดเชื้อโรคเข้ารอยต่อจึงต้องหุ้มหรือกันรอยต่อให้เร็วที่สุด                             

2  การเกิดและการประสานตัวของกลุ่มเซลล์ของต้นตอและกิ่งพันธุ์ดี ในการต่อกิ่งส่วนผิวนอกของรอยเฉือนอาจแห้งตายไป แต่ส่วนภายในของรอยเฉือนจะเกิดการสร้างกลุ่มของเซลล์พาเรนไคมา  (parenchyma)ของต้นตอและกิ่งพันธุ์ดี เนื้อเยื่อที่สร้างขึ้นใหม่เรียกว่าแคลลัส (callus)  ส่วนใหญ่ต้นตอจะเป็นผู้ผลิตแคลลัสได้มากกว่ากิ่งพันธุ์ดีกลุ่มแคลลัสนี้ประกอบด้วยกุล่มเซลล์หลวมๆ ซึ่งเป็นตัวเชื่อมรอยต่อระหว่างส่วนของพืชทั้งสองขณะเดียวกันก็จะช่วยพยุง หรือยึดส่วนของกิ่งพันธุ์ดีให้อยู่กับที่ และจะเป็นทางผ่านของน้ำ และธาตุอาหารจากต้นตอไปยังกิ่งพันธุ์ดี
                 
3. การเกิดเยื่อเจริญใหม่ระหว่างแคลลัส(Callus bridge)การเกิดเยื่อเจริญใหม่จะเกิดตามแนวของเยื่อเจริญเดิม โดยที่แคลลัสที่เกิดใหม่ซึ่งอยู่ติดกับแนวเยื่อเจริญเดิมจะเปลี่ยนแปลงไปเป็นเยื่อเจริญใหม่ ขบวนการเกิดเยื่อเจริญใหม่นี้จะค่อยๆ ดำเนินไปเรื่อยๆ จากแนวเยื่อเจริญเดิมของกิ่งพันธุ์ดี และต้นตอเข้าไปในแคลลัส จนกระทั่งแนวเยื่อเจริญที่เกิดขึ้นใหม่นี้จะพบกัน ซึ่งจะทำให้วงของเยื่อเจริญติดต่อกันไป                             

4. การเกิดท่อน้ำ(xylem)และท่ออาหารใหม่(phloem)จากกลุ่มเซลล์ของเยื่อเจริญใหม่ที่เกิดขึ้นในแคลลัสนี้จะเริ่มทำหน้าที่เป็นเยื่อเจริญทันที คือจะสร้างท่อน้ำ และท่ออาหารขึ้นใหม่ตามแนวของเยื่อเจริญเดิมของกิ่งพันธุ์ดี และต้นตอต่อไปจนตลอดอายุพืช 


4.  ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการประสานของรอยต่อ 
(Factors influencing the healing of the graft union)                            1. การที่พืชทั้งสองเข้ากันไม่ได้(Incompatibility) 
ความไม่สามารถเข้ากันได้ระหว่างต้นตอกับกิ่งพันธุ์ดี เป็นผลให้เกิดการไม่เข้ากันหรือไม่รวมตัวของรอยต่อทำให้ไม่เกิดรอยต่อนั้น คือจะทำให้ต้นพืชมีเปอร์เซ็นต์การติดน้อย ดังนั้นในทางงปฎิบัติควรจะคำนึง
เสมอว่าต้นพืชทั้งสองชนิดควรจะต่อกันได้ (compatible)

2. ชนิดของพืช(Kind of plants)
พืชบางชนิดถึงแม้ว่าจะเข้ากันได้ แต่ที่ทำการต่อกิ่ง ทาบกิ่งยาก เช่น แอปเปิล และสาลี่ จะทำ top grafting ได้ด้วยวิธีที่ง่ายได้ผลดีมาก ในพืชบางชนิดจะติดตาต่อกิ่งบนต้นตอ ชนิดเดียวกัน  ได้ผลน้อยกว่าการทำบนต้นตอชนิดอื่นๆ เช่น การต่อกิ่งท้อ บนต้นตอท้อจะทำได้ยากกว่าการต่อกิ่งท้อ บนต้นตอพลัม หรืออัลมอนด์นอกจากนี้วิธีการต่อกิ่งก็มีผลสำคัญเช่นกัน คือ ในพืชบางชนิดใช้วิธีการทาบกิ่งได้ผลดีกว่าการต่อกิ่ง หรือในทางตรงกันข้ามอาจจะต่อกิ่งได้ผลดีกว่าวิธีการทาบกิ่ง และการติดตาความแตกต่างกันระหว่างพืชชนิดต่างๆ และพันธุ์ต่างๆ ที่จะมีผลสำเร็จมากน้อยขนาดไหนอาจเกี่ยวกับความสามารถในการผลิตแคลลัส ซึ่งจำเป็นมากในการเกิดรอยเชื่อมหรือรอยประสาน


3. สภาพแวดล้อมในระหว่างที่ทำการต่อกิ่งหรือภายหลังการติดแล้ว
 (Environmental condition during and following grafting) สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการเกิดรอยประสานที่สำคัญ ได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้น และออกซิเจน        

3.1 อุณหภูมิ 
มีผลโดยตรงต่อการผลิตเนื้อเยื่อของแคลลัส มีการศึกษาในวอลนัท จะเห็นว่าการผลิตแคลลัสจะเริ่มเกิดเมื่ออุณหภูมิของอากาศประมาณ 60 ๐ฟ (15.5 ๐ซ) และจะเพิ่มเรื่อยๆ หลังจากนั้นจนกว่าผลิตแคลลัสจะสูงที่สุด เมื่ออุณหภูมิสูงราว 87 ๐ซ หากอุณหภูมิสูงกว่านี้ แล้วการผลิตแคลลัสจะลดลง และจะหยุดที่อุณหภูมิ 100๐ฟ การศึกษาในแอปเปิลพบว่า การผลิตแคลลัสจะเกิดขึ้นน้อยมากหากอุณหภูมิต่ำกว่า 32 ๐ฟ หรือสูงกว่า 104๐ฟ (40 ๐ฟ)
                               
3.2 ความชื้น 
มีการศึกษาพบว่า เซลล์พาเรนไคมา ซึ่งมีผนังเซลล์ที่อ่อนนุ่ม และบางทำให้ไม่สามารถทนต่อการขาดน้ำได้ ดังนั้นบริเวณรอยต่อจึงควรหุ้มรอยต่อด้วยพลาสติก หรือขึ้ผึ้งโดยตลอดจะเป็นการรักษาความชื้นบริเวณรอยแผล                               

3.3 ออกซิเจน
 
เป็นปัจจัยสำคัญต่อการสร้างแคลลัส เพราะขบวนการแบ่งเซลล์การเจริญเติบโตของเซลล์ มีอัตราการหายใจสูง จึงจำเป็นที่จะต้องใช้ออกซิเจนมาก ในพืชบางชนิดแม้จะมีออกซิเจนต่ำกว่าอากาศทั่วไปก็เพียงพอแล้ว แต่ในพืชบางชนิดต้องการออกซิเจนสูงในการเกิดแคลลัส ดังนั้นหากมีการหุ้มขี้ผึ้งจะทำให้การเคลื่อนย้ายของอากาศตรงบริเวณรอยต่อถูกจำกัด ทำให้ออกซิเจนที่ควรจะได้รับถูกจำกัดลงเช่นกันเป็นผลกระทบกระเทือนต่อการเกิดแคลลัสด้วย ตัวอย่างเช่นองุ่นจะไม่ใช้ขี้ผึ้งหุ้ม                                           
3.4 การเจริญเติบโตของต้นตอ (Growth activity of the stock plant)  การขยายพันธุ์พืชบางชนิดโดยเฉพาะการขยายพันธุ์พืชด้วยวิธีการติดตาหรือต่อกิ่งแบบเสียบเปลือก ต้นตอที่ทำการต่อกิ่งจะต้องอยู่ในระยะที่กำลังเจริญเติบโต เปลือกจะต้องแยกจากเนื้อไม้ได้ง่าย ในการทำการติดตา ต่อกิ่งต้นกล้าในแปลงเพาะชำในปลายฤดูร้อนจะต้องแน่ใจว่าต้นพืชได้รับความชื้นในต้นเพียงพอในระยะก่อน ระยะระหว่างและระยะหลังการเกิดรอยต่อเพราะถ้ามีการขาดน้ำเกิดขึ้นจะพบว่าการเจริญเติบโตจะลดลง การแบ่งเซลล์ในเยื่อเจริญจะหยุดหรือเป็นไปได้ช้า ดังนั้นโอกาสที่จะได้ตาที่ดีจึงทำได้ยาก                               

3.5 เทคนิคในการขยายพันธุ์
(Propagation techniques) 
ในการติดตาต่อกิ่งแม้ว่าจะทำตามวิธีการที่แนะนำว่าได้ผลดี บางครั้งเปอร์เซ็นต์การติดลดลง ทั้งนี้จะเป็นเพราะเทคนิคการเฉือนรอยแผลของแต่ละคนไม่เหมือนกัน คือหากทำการเฉือนรอยแผลเรียบและไม่ชอกช้ำ โอกาสที่จะมีเปอร์เซ็นต์การติด ก็สูง นอกจากนี้การจัดวางรอยแผล และการพันผ้าพลาสติกก็มีความสำคัญ คือ ต้องจัดวางเนื้อเยื่อเจริญให้ชิดกัน และการพันผ้าพลาสติกควรพันให้แน่น และพยายามอย่าให้รอยแผลที่วางไว้ครั้งแรกขยับ                       

4. การทำลายเชื้อไวรัส แมลง และเชื้อโรคต่างๆ 
(virus contamination, insects, and diseases) 
หากรอยต่อหรือต้นตอ และกิ่งพันธุ์ดีถูกรบกวนจากเชื้อโรค และแมลงก็จะทำให้เปอร์เซ็นต์การติดต่ำลง                               

5. การใช้สารเคมีเร่งการประสานของรอยต่อ
(Growth substances in healing of graft unions) 
การใช้สารเร่งการเกิดการประสานของรอยต่อ สารที่สำคัญได้แก่สารในกลุ่ม cytokinin นอกจากนี้ยังรายงานการให้ออกซินฉีดพ่นที่แผลของการทาบของกิ่งมะม่วงก็มีผลทำให้เกิดแคลลัสได้เช่นกัน  แต่อย่างไรก็ตามการใช้ออกซินเพียงอย่างเดียวมักให้ผลไม่ค่อยแน่นอน มีการทดลองใช้สาร BA ซึ่งเป็นสารที่อยู่ในกลุ่ม cytokinin ฉีดพ่นตรงบริเวณรอยแผลของต้นตอและกิ่งพันธุ์พบว่ามีการเกิดแคลลัสได้มาก และมีเปอร์เซ็นต์การรอดตายมากกว่าการไม่ใช้สาร 

5. การไม่รวมตัวกันของรอยต่อ (Graft Incompatibility)
คือ การที่พืชสองต้นเมื่อนำมาต่อกัน รอยต่อไม่สามารถเชื่อมติดกัน การต่อกิ่งในบางคู่อาจพบว่า รอยต่อเชื่อมติดกันแต่อาจเกิดอาการผิดปกติบางอย่าง เช่น อาการใบเหลือง หรือเกิดการตายของเนื้อเยื่อที่รอยต่อ หรือเกิดการเจริญมากกว่าปกติเหนือรอยต่อ (Over growth) พืชดังกล่าวจะมีชีวิตอยู่ได้ช่วงระยะเวลาหนึ่ง และจะตายไปในที่สุด เช่น การต่อกิ่งแอปเปิลบนสาลี่ ในระยะ 5 เดือนแรกจะมีการเจริญเติบโตที่แข็งแรงแต่หลังจากนั้นจะตาย                
5.1 ชนิดของการไม่รวมกันของรอยต่อ (Type of incompatibility) การเกิด  incompatibility อาจเกิดได้ 2 ชนิด คือ
1. Translovated incompatibility เป็น incompatibility ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงบางอย่างของท่ออาหาร  เป็นเหตุให้เกิดการจำกัดการเคลื่อนย้ายของคาร์โบไฮเดรตขึ้นที่รอยต่อ ทำให้เกิดการสะสมสารดังกล่าวที่ส่วนบนของรอยต่อแต่สะสมที่ส่วนล่างน้อย มีการสังเกตการเกิด incompatibility ชนิดนี้คือการเกิดเส้นสีน้ำตาลหรือบริเวณเนื้อเยื่อตายที่เปลือกได้เนื้อเยื่อที่เสียไป อาจมากหรือน้อยแตกต่างกันซึ่งมีผลทำให้ไม่เกิดรอยต่อเลยหรือเกิดรอยต่อที่อ่อนแอ หรืออาจให้รอยต่อที่แข็งแรงมีเนื้อเยื่อติดต่อกันได้ตามปกติ ตัวอย่างเช่น การใช้ท้อพันธุ์ “Hale’s Early” เป็นกิ่งพันธุ์ดีเสียบบนต้นตอท้อพันธุ์ ‘Myrobalan B’ จะได้รอยต่อที่อ่อนแอ และเนื้อเยื่อที่ปิดไม่เป็นรูป และจะมีปริมาณแป้งสะสมอยู่ที่ส่วนฐานของกิ่งพันธุ์ดีผิดปกติไป แต่หากใช้พลัมพันธุ์ ‘Brompton’ เป็นตอกลางก็ยังคงมีอาการ incompatibility อยู่ และเกิดการสะสมแป้งที่ตอกลางแทน                               

มีรายงานการต่อกิ่งอัลมอลด์ โดยใช้อัลมอนด์พันธุ์ ‘Nonpareil’ เป็นกิ่งพันธุ์ดีต่อบนพลัมพันธุ์  ‘Marianna 2624’ จะได้พืชที่มีการเปลี่ยนแปลงบางอย่างของท่ออาหาร คือ เกิดการสลายตัวของเนื้อเยื่อท่ออาหารแม้ว่าท่อน้ำจะติดต่อกันได้ดีก็ตาม หากใช้อัลมอนด์พันธุ์ ‘Texas’ เป็นกิ่งพันธุ์ดีบนพลัมพันธุ์ ‘Marianna 2624’จะได้รอยต่อที่สมบูรณ์ แต่หากใช้อัลมอนด์พันธุ์  ‘Texas’ ขนาดความยาว 6 นิ้ว เป็นตอกลางระหว่างกิ่งพันธุ์ดีของอัลมอนด์พันธุ์ ‘Nonpareil’
และต้นตอเป็นพลัมพันธุ์ ‘Marianna 2424’ จะได้ incompatibility เพราะเกิดการสลายตัวของเปลือกที่รอยต่อของอัลมอนด์พันธุ์ ‘Taxas’ กับพลัมพันธุ์ ‘Marianna  2624’
                             
2. Localized incompatibility เป็น incompatibility ที่เกิดจากปฎิกิริยาระหว่างต้นตอ และกิ่งพันธุ์ดี เมื่อแยกให้ต้นตอและกิ่งพันธุ์ดีออกจากกันโดยใช้ตอกลางคั่นกลาง ก็จะทำให้ incompatibility หมดสภาพไป การเกิด incompatibility ชนิดนี้พบว่าโครงสร้างของรอยต่อจะอ่อนแอ(mechanically weak)และการเชื่อมโยงของเยื่อเจริญและท่อน้ำท่ออาหารจะขาดตอนกันไป แต่บางครั้งพบว่ารอยต่อแข็งแรงดี และเนื้อเยื่อต่างๆ เชื่อมกันสนิทดี มีการสังเกตการเกิด incompatibility ชนิดนี้จะแสดงอาการให้เห็นจากภายนอกอย่างช้าๆ จะมากน้อยขึ้นอยู่กับการผิดปกติที่รอยต่อ และเมื่อการเคลื่อนย้ายอาหารผ่านรอยต่อถูกรบกวน ในที่สุดส่วนรากก็จะขาดอาหาร  ตัวอย่างเช่น การต่อกิ่งของสาลี่พันธุ์ “Bartlett’ (Williams)  เป็นกิ่งพันธุ์ดีบน quince  จะได้พืชที่ incompatible  แต่หากใช้สาลี่พันธุ์  compatible ได้แก่ ‘Old Home’ (‘Beurre’ Haardy’)เป็นตอกลาง จะได้พืชที่  compatible และให้การเจริญเติบโตเป็นที่น่าพอใจเป็นที่น่าสังเกตุว่าในการเกิด  compatibility เนื้อเยื่อที่รอยต่อควรจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างและจัดแบ่งหน้าที่ตามปกติ แต่ถ้าเกิด incompatibility แล้วโดยเฉพาะ localized incompatibility  เนื้อเยื่อที่รอยต่อจะเกิดกลุ่มของเซลล์ parenchyma หรือกลุ่มของเปลือกหรือทั้ง 2 กรณีรวมกัน
                
5.1. การเกิดกลุ่มของเซลล์  parenchyma ที่รอยต่อ อาจเกิดได้โดย
. กลุ่มของเซลล์ parenchyma 
มีลักษณะอ่อนและหลุดลุ่ย เข้าอยู่แทรกตรงรอยต่อ กลุ่มของเซลล์นี้จะไปขวางการเชื่อมต่อของท่อน้ำ ท่ออาหาร ที่จะเกิดขึ้นระหว่างต้นตอ และกิ่งพันธุ์ดี

. ก้อนของเซลล์ parenchyma  
ที่เกิดพร้อมกับกลุ่มท่อน้ำ ท่ออาหาร จะทำให้เกิดเชื่อมโยงติดต่อกันระหว่างกลุ่มเซลล์เหล่านั้น. กลุ่มของเซลล์  parenchyma  จะทำให้ปลายของท่อน้ำท่ออาหารแยกออกจากกัน และในรายที่รุนแรงมากคือ เมื่อระบบส่งน้ำและอาหารถูกตัดขาดออกจากกัน แต่เซลล์  parenchyma  ระหว่างต้นตอ และกิ่งพันธุ์ดี ยังคงมีอยู่เรื่อยๆ ดังนั้น  บริเวณเยื่อเจริญของต้นตอ และกิ่งพันธุ์ดี จะเกิดการสร้างเซลล์ parenchyma  ที่รอยต่อแต่เพียงอย่างเดียวเมื่อเยื่อเจริญไม่สามารถเกิดติดต่อกันได้ตลอด ความเสียหายที่เกิดขึ้นนี้มักจะเกิดปลายฤดูการเจริญเติบโตของพืช แต่โดยธรรมชาติแล้วพืชจะปรับตัวโดยทำให้เกิดการต่อกิ่งอีกครั้งหนึ่งเอง (regrafting)  แต่โดยปกติมักจะไม่เป็นไปอย่างสมบูรณ์ เพราะเมื่อพืชมีอายุมากขึ้น ขนาดของต้นตอ และ  กิ่งพันธุ์ดีจะขยายใหญ่ขึ้น ทำให้เยื่อเจริญและชั้นของเซลล์  parenchyma  ไม่สัมผัสกันพอดี มีผลทำให้รอยต่อไม่แข็งแรง เนื่องจากโครงสร้างอ่อนแอนั่นเอง 

5.2. อาการของการเกิด
Incompatibility(Symtoms of Incompatibility)
1. เมื่อต่อกิ่งแล้วไม่เกิดการประสานตัวของรอยต่อ ทำให้เปอร์เซ็นต์การต่อกิ่งต่ำ

2.  เกิดอาการใบเหลืองหลังจากฤดูกาลเจริญเติบโต ในที่สุดใบจะร่วงก่อนกำหนด เกิดอาการกิ่งแห้งจากปลายยอด ต้นไม่แข็งแรง

3.  ต้นตายก่อนกำหนด ปกติพืชจะมีชีวิตอยู่ในเรือนเพาะชำได้เพียง 1–2 ปี

4.  ต้นตอ และกิ่งพันธุ์ดีมีอัตราการเจริญเติบโต และความแข็งแรงที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด

5.  ต้นตอและกิ่งพันธุ์ดีมีระยะเริ่มต้น และสิ้นสุดการเจริญเติบโตแตกต่างกัน

6. มีการเจริญเติบโตมากเกินควรที่บริเวณเหนือและใต้รอยต่ออย่างไรก็ตามลักษณะอาการบางอย่างที่แสดงออกมาในการติดตาต่อกิ่งพืชในบางกรณีอาจไม่แสดงถึง incompatibility แต่ลักษณะอาการดังกล่าวอาจแสดงถึงผลของสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่น การขาดน้ำหรือแร่ธาตุที่จำเป็น หรือถูกทำลายจากโรคและแมลง หรือเทคนิคการติดตาต่อกิ่งไม่ดีเพื่อให้แน่ชัดลงไปว่าการเกิด  incompatibility  สิ่งที่จะชี้ให้เห็นว่าเกิดอาการนี้คือ เกิดการหักหรือแยกออกจากกันของพืชทั้งสองตรงรอยต่อ ซึ่งมักจะเกิดขึ้นเมื่อพืชเจริญเติบโตได้ 1–2 ปี ส่วนที่หักจะมีลักษณะราบเรียบ 

5.3. ลักษณะอาการบางอย่างที่ไม่อาจเป็นตัวบ่งชี้ว่าเกิด 
incompatibility 
คือ
การบวมพองที่รอยต่อ อาการบวมพองที่รอยต่อนี้หากปรากฎว่าไม่มีอาการอย่างอื่นแสดง ให้เห็นแล้ว อาจไม่ใช่ลักษณะของ  incompatibility  ในการศึกษาแอปเปิลและสาลี่ เกี่ยวกับอาการบวมพองที่รอยต่อพบว่า การเกิด  incompatibility  ไม่มีความเป็นสหพันธ์กันแต่อย่างใด ดังจะเห็นจากการต่อกิ่งสาลี่บนแอปเปิลคู่ที่เป็น  incompatibility  มากที่สุดจะไม่เกิดการบวม  ในขณะที่อาการบวมพองจะเกิดมากที่สุดในคู่ที่เป็น  compatible 

5.4  สาเหตุการเกิด incompatibility
สาเหตุที่แท้จริงของการเกิด incompatibility ยังไม่ทราบแน่ชัดแม้จะมีทฤษฎีที่พยายามอธิบายสาเหตุของการเกิด incompatibility หลายๆ ทฤษฎี  แต่หลักฐานที่นำมาอ้างยังอ่อนเกินไป และมักมีข้อยัดแย้งกันอยู่เสมอ อย่างไรก็ตามทฤษฎีที่พอจะหยิบยกมาอธิบายถึงความเป็นไปได้ในการเกิด  incompatibility  ดังนี้
                                
ทฤษฎีที่หนึ่ง  กล่าวว่าสาเหตุของการเกิด  incompatibility  เกิดเนื่องจากการเจริญเติบโตที่ไม่เท่ากันของต้นตอ และกิ่งพันธุ์ดี  (Different growth characteristics of the stock and scion are associated with incompatibility)  อธิบายว่าเราอาจเดาหรือคาดคะเนการเกิด  incompatibility ได้  ถ้าหากทราบถึงความแตกต่างของความแข็งแรง หรือระยะเวลาที่เริ่มเจริญ  (time of starting vegetative growth)  หรือระยะเวลาของการเจริญเติบโต  (time of completing vegetative growth for the season)  คือถ้าต้นตอ และกิ่งพันธุ์ดี มีอัตราการเจริญเติบโตเท่ากัน และมีรูปแบบของการเจริญในฤดูกาลนั้นเหมือนกัน รอยต่อก็น่าจะได้เป็น  compatible  โดยสมบูรณ์ ต้นตอที่เป็นพันธุ์แคระกับกิ่งพันธุ์ดีที่เป็นพันธุ์แข็งแรง หรือระยะเวลาที่เริ่มเจริญต่างกัน เช่นต้นตอเริ่มแตกใบอ่อนเดือนเมษายน กับกิ่งพันธุ์ดีที่เริ่มแตกใบอ่อนเดือนพฤศจิกายน หรือระยะเวลาการเจริญเติบโตต่างกัน เช่น ต้นตอใช้ระยะเวลาเจริญ 8 เดือน และพักตัว  4 เดือน ส่วนกิ่งพันธุ์ดีใช้ระยะเวลาเจริญ 10 เดือน และพักตัว 2 เดือน หรือไม่มีการพักตัวเลย ควรจะได้พืชที่เป็น incompatible  แต่เมื่อพิจารณาถึงความเป็นจริง จะพบว่าการที่ต้นตอและกิ่งพันธุ์ดีจะเกิดรอยต่อขึ้นได้นั้น ต้นตอ และกิ่งพันธุ์ทีที่มีความแตกต่างกันในเรื่องการเจริญเติบโตมากๆ บางทีก็เกิด compatible ได้อย่างดี และบางทีก็เกิด incompatible ขึ้นนอกจากนี้ต้นตอ และกิ่งพันธุ์ดีที่แตกต่างกันในด้านการเจริญเติบโตเพียงเล็กน้อย ก็ยังเกิด  incompatibility  ขึ้นได้                                

ทฤษฎีที่สอง
  กล่าวว่าสาเหตุของการเกิด incompatibility เกิดเนื่องจากความแตกต่างทางสรีรวิทยา และชีวเคมี ระหว่างต้นตอและกิ่งพันธุ์ดี  (Physiological and biochemical difference between stock and scion)  ตัวอย่างในการต่อกิ่งสาลี่บน  quince  ที่อิสราเอลได้ผลเป็น  incompatible  และสรุปไว้ว่า

. หลังจากทำการต่อกิ่งแล้ว สาร cynogenic glucoside (prunasin) จะเคลื่อนย้ายภายในท่ออาหารจาก quince ไปยังสาลี่  เนื้อเยื่อของสาลี่ตรงบริเวณรอยต่อจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสาร  prunasin  เกิดเป็นสารหลายตัวรวมทั้ง  ‘hydrocyanic acid  การเปลี่ยนแปลงนี้เกี่ยวข้องกับน้ำย่อย ดังนั้น อุณหภูมิจึงมีผลโดยตรงต่อปฎิกิริยา สาลี่พันธุ์ต่างๆ จะมีความสามารถในการสลายตัวของสารได้แตกต่างกันไป

. การเกิด  hydrocyanic acid  ทำให้การทำหน้าที่ของเยื่อเจริญเสียไป นอกจากนี้จะเกิดผิดปกติในแง่กายวิภาคในท่อน้ำ และท่ออาหารที่รอยต่อ ส่วนของท่ออาหารจะถูกทำลายตรงบริเวณรอยต่อทีละน้อยๆ ทำให้การขนส่งของสารละลายต่างๆ ทั้งในท่อน้ำ และท่ออาหารลดน้อยลง

. เมื่อน้ำตาลส่งไปเลี้ยงต้นตอได้น้อยลงนี้ ทำให้  prunasin  เกิดสลายตัวมากขึ้น มีการสะสม  hydrocyanic acid มากขึ้น เป็นเหตุให้ท่ออาหารของ  quince  ต้นตอถูกทำลายเป็นบริเวณยิ่งกว้างมากขึ้น. น้ำย่อยที่เป็นตัวเปลี่ยนแปลงสาร  cyanogenic glocoside  ในสาลี่เป็นสารที่ละลายน้ำได้ และมีคุณสมบัติเป็น  readily diffusable inhibitor  ในสาลี่บางพันธุ์และในปริมาณที่แตกต่างกัน ซึ่งมีผลทำให้สาลี่บางพันธุ์เป็น  compatible  ส่วนบางพันธุ์เป็น  incompatible  กับต้นตอ  quinceในการติดตาท้อบนพลัมพันธุ์  ‘marianna’  ซึ่งโดยปกติจะได้พืชที่  incompatible  ตาของท้อจะติดกับพลัมได้ และให้การเจริญในปีแรกได้ดีมาก แต่ในปีที่สองจะเกิดผิดปกติ คือ จะเกิดการขยายตัวขึ้นที่เหนือรอยต่อพอดี หลังจากนั้นท้อจะมีใบสีเหลือง และเหี่ยวตายไปในที่สุด เมื่อทำการศึกษาทางกายวิภาคศาสตร์พบว่าการเกิด incompatibility  นี้ เกิดเนื่องจากรอยต่อมีท่อน้ำติดต่อกันดี แต่ท่ออาหารไม่สามารถติดต่อกันได้ ดังนั้นจึงเกิดการขาดแคลนอาหารขึ้นที่ส่วนต้นตอ และเป็นเหตุให้รากตาย ต่อมาส่วนของกิ่งพันธุ์ดีก็จะตายและเหี่ยวไปด้วย 

ทฤษฎีที่สาม
 
กล่าวว่าสาเหตุของการเกิด  incompatibility  เกิดเนื่องจากส่วนของต้นพืชผลิตสารบางชนิดที่เป็นพิษต่ออีกสายหนึ่ง  (One of the partners of the graft combination produces some material which is toxic to the other)  ในคู่ของต้นพืชที่ต่อเข้ากันไม่ได้ จะพบว่ามีสารที่เป็นพิษซึ่งมีอิทธิพลต่อต้นตอและกิ่งพันธุ์ดี คือ เชื้อไวรัส ตัวอย่างในการต่อกิ่งส้มเกลี้ยงบนส้มเปรี้ยวในอัฟริกาใต้ และชวา จะได้ต้นพืชที่ incompatible  แม้ว่าพืชคู่นี้จะต่อกันได้สำเร็จในซีกโลกซีกอื่น การเกิด  incompatible  นี้เชื่อกันว่าเกิดจากการผลิตสารบางอย่างจากกิ่งพันธุ์ดีที่เป็นพิษต่อต้นตอ สารพิษดังกล่าวทำให้เกิดโรค  quick decline  ในการปลูกส้มที่คาลิฟอเนีย และบางส่วนของโลกด้วย สารนี้ผลิตจากส้มเกลี้ยงที่เป็นพันธุ์ดี โดยส้มเกลี้ยงจะทนเชื้อไวรัสดังกล่าวได้ แต่ส้มเปรี้ยวไม่สามารถทนเพราะอ่อนแอต่อโรคในแอปเปิลที่ขยายพันธุ์โดยการไม่ใช้เพศ พบว่ากิ่งพันธุ์ดีทางสายพันธุ์  (strain)  ที่ต่อบนต้นตอพันธุ์  ‘Horthern spy’  จะไม่เจริญแต่บางสายพันธุ์ เช่น  Mcintosh Winesap  จะสามารถเจริญได้ตามปกติ การที่พืชที่ต่อแล้วจะเจริญหรือตายไปในที่สุด เนื่องจากเชื้อไวรัสที่เกิดขึ้นในแอปเปิลบางพันธุ์ หรือบางสายพันธุ์ คือเมื่อกิ่งพันธุ์ที่มีโรคนี้อยู่ถูกนำไปต่อบนต้นตอชนิดต่างๆ ถ้าเป็นพันธุ์หรือสายพันธุ์ที่อ่อนแอต่อโรคนี้ โรคจะเข้าทำอันตรายและมีผลทำให้กิ่งพันธุ์ที่ต่ออยู่ตายไปด้วย มีผู้อธิบายเพิ่มเติมว่าความผิดปกติของต้นที่ทำการต่อที่เป็นผลมาจากเชื้อไวรัส ซึ่งอาจเกิดเมื่อทำการต่อต้นพืชทั้งสองเข้าด้วยกัน บางครั้งอาการผิดปกติอาจไม่เกิดขึ้นเพราะพืชที่ใช้เป็นพันธุ์ที่แข็งแรง เชื้อไวรัสจึงมีลักษณะแฝงตัวอยู่  (Latent virus or symptomless virus)  แต่เมื่อใดที่ต้นพืชที่ใช้เป็นพันธุ์ที่อ่อนแอต่อโรค ต้นพืชจะเกิดการเสื่อมตัวอย่างรวดเร็ว                

5.5.  การแก้ไขการเกิด incompatibility
 
ถ้าเราทราบสาเหตุว่าคู่ของต้นพืชต้นใดเป็น  incompatible  โดยเฉพาะในกรณีของ  localized incompatibility  อาจแก้ไขได้โดยการต่อกิ่งแบบเชื่อมสะพานด้วยต้นพืชที่เป็น  compatible  พืชสามารถเข้าได้ทั้งต้นตอ และกิ่งพันธุ์ดี 

5.6. ขอบเขตของการติดตาต่อกิ่ง  (Limit of grafting)
       
ก่อนที่จะมีการติดตาต่อกิ่งพืช สิ่งสำคัญอันแรกที่ผู้ปฎิบัติจะต้องทราบแน่นอนว่าต้นพืชที่จะนำมาเสียบกันทั้งสองต้นนั้นเข้ากันได้  (Compatible)  ซึ่งไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัวที่จะปฎิบัติเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยปกติจะถือว่าพืชที่มีลักษณะใกล้ชิดทางพฤกษศาสตร์มากเท่าใดก็จะมีโอกาสที่จะทำการติดตาต่อกิ่งได้สำเร็จมากยิ่งขึ้น แต่ก็พบว่าไม่เป็นความจริงเสมอไป เพราะการแบ่งประเภททางพฤกษศาสตร์นั้น ถือลักษณะของเครื่องเพศเป็นหลัก แต่ในการทำการติดตา ต่อกิ่ง ถือเอาคุณสมบัติทางลำต้น  (Vegetative properties)  เป็นหลัก
                               

หลักเกณฑ์ที่พอจะยึดถือได้ในการติดตาต่อกิ่งของพืชทั่วไปมีดังนี้
                 1. การติดตาต่อกิ่งต้นพืชในพันธุ์เดียวกัน  (Grafting within a variety)  คือการต่อกิ่งในพืชที่อยู่ในพันธุ์เดียวกัน  เช่น การเสียบกิ่งมะม่วงพันธุ์หนังกลางวันบนต้นตอพันธุ์หนังกลางวัน หรือการเสียบกิ่งส้มโอพันธุ์ขาวพวงบนต้นตอพันธุ์ขาวพวง  เป็นต้น
                
2. การติดตาต่อกิ่งพืชที่อยู่ระหว่างพันธุ์
(Grafting betwiin varieties)  ปกติพืชที่อยู่ต่างพันธุ์แต่อยู่ในชนิดเดียวกัน มักจะติดตาต่อกิ่งกันได้ไม่ยากนัก  เช่น การเสียบกิ่งมะม่วงพันธุ์เขียวเสวย บนต้นตอพันธุ์ตลับนาคหรือบนต้นตอมะม่วงแก้ว การเสียบกิ่งส้มโอพันธุ์ขาวพวงบนต้นตอพันธุ์ขาวทองดี  เป็นต้น                 

3. การติดตาต่อกิ่งพืชที่อยู่ระหว่างชนิด
(Grafting between species)  การต่อกิ่งพืชที่ระหว่างชนิด บางกรณีก็สามารถต่อกันได้ดี เช่นในพืชสกุลส้ม สามารถติดตาต่อกิ่งได้สำเร็จเป็นส่วนใหญ่  ตัวอย่างเช่น ส้มโอ  (Citrus grandis  L.)  สามารถเสียบกับมะนาว  (Citrus aurantifolia)  แต่บางครั้งพบว่าพืชในสกุลเดียวกันแต่คนละชนิดอาจจะทำการต่อกิ่งไม่ได้  เช่น อัลมอนด์ และแอพริคอท  ซึ่งอยู่ในสกุล  Prunus  sp.  เหมือนกัน แต่ติดตาต่อกิ่งกันไม่ได้              

4. การติดตาต่อกิ่งพืชที่อยู่ระหว่างสกุล 
(Grafting between genera)  เป็นการติดตาต่อกิ่งพืชที่อยู่ข้ามสกุล แต่อยู่ตระกูล  (Family) เดียวกัน โอกาสที่จะประสบผลสำเร้๗จะมีน้อย แต่บางกรณีอาจพบว่าสามารถติดกันได้ดี และใช้ประโยชน์ทางการค้าได้  เช่น ส้มสามใบ  (Poncirus trifoliala)  สามารถใช้เป็นต้นตอเตี้ยกับส้มชนิดต่างๆ ในสกุลส้ม  (Citrus spp.)               

5. การติดตาต่อกิ่งต้นพืชที่อยู่คนละตระกูล 
(Grafting between families)  การต่อกิ่งข้ามตระกูลขณะนี้ยังไม่มีรายงานถึงความสำเร็จที่จะทำเป็นการค้าได้

6. ความสัมพันธุ์ระหว่างต้นตอกับกิ่งพันธุ์ดี  (Stock-Scion Relationships)
ในบางกรณีต้นตอมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของกิ่งพันธุ์ดีอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง และในทางตรงกันข้าม กิ่งพันธุ์ดีก็สามารถมีผลกระทบต่อต้นตอได้ เช่นกัน อิทธิพลบางอย่างของต้นตอที่ให้ผลดี และใช้ในด้านการค้า  ส่วนลักษณะบางอย่างที่ให้ผลในทางเสียหายก็ควรหลีกเลี่ยง 

6.1 ผลของต้นตอที่มีต่อกิ่งพันธุ์ดี (Effects of the rootstock on the scion cultivar)
 ผลของต้นตอที่มีต่อขนาดและนิสัยการเจริญเติบโตของกิ่งพันธุ์ดี  (Size and growth)  ต้นตอพืชบางชนิดมีผลในการควบคุมทรงต้นทั้งในด้านการเร่ง และการลดการเจริญเติบโตของกิ่งพันธุ์ดี  ตัวอย่างเช่น ส้มเขียวหวานบนต้นตอรัฟเลมอน(Rough lemon)  จะมีการเจริญเติบโตเร็วกว่าต้นตอมะกรูดและมะนาวหลายเท่า ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ การศึกษาถึงผลของต้นตอแอปเปิลพันธุ์ต่างๆ ที่มีต่อขนาดของกิ่งพันธุ์ดี ซึ่งอาจแบ่งต้นตอตามขนาดที่ทำให้เกิดความแคระ  (dwarf) ได้เป็น4 กลุ่ม  ดังนี้คือ

(1) ต้นตอที่ทำให้แคระมาก คือ จะทำให้ต้นพันธุ์ดีมีการเติบโตเพียง 20-40 เปอร์เซ็นต์ ของต้นธรรมดาได้แก่พันธุ์  Malling 9  และ  Malling 27

(2) ต้นตอที่ทำให้ต้นแคระปานกลาง คือจะทำให้ต้นพันธุ์ดีมีการเติบโตเพียง 40-50 เปอร์เซ็นต์ ของต้นธรรมดา ได้แก่พันธุ์  Malling 26

(3) ต้นตอที่ทำให้กิ่งพันธุ์ดีค่อนข้างแคระ คือ ทำให้ต้นพันธุ์ดีมีการเติบโตเพียง 55-56 เปอร์เซ็นต์ของต้นธรรมดา ได้แก่พันธุ์  Malling 4, Malling 7, MM 106 (4) ต้นตอที่ทำให้กิ่งพันธุ์ดีต้นแคระเล็กน้อย พวกนี้ทำให้ต้นพันธุ์ดีมีการเติบโต 65-80 เปอร์เซ็นต์ของต้นธรรมดา  ได้แก่พันธุ์  Malling1, Malling 5, Malling 16, Malling 25, MM 109, MM 111  เป็นต้น                 

1.   ผลของต้นตอที่มีต่อการออกดอกเร็วกว่าธรรมดา  การเกิดดอกและผลการติดผลและผลผลิตพืช  (Fruiting precocity, fruit bud formation, fruitset, and yield)  โดยทั่วไปต้นตอที่ทำให้กิ่งพันธุ์แคระนั้นมักจะเร่งให้เกิดดอกผล เร็วกว่าปกติ  การศึกษาในส้ม 5 ชนิด คือ  ส้มเปรี้ยว ส้มเกลี้ยง ส้มสามใบ ส้มโอผลเล็ก และรัฟเลมอน  ปรากฎว่าการติดตาบนต้นตอตัวของตัวเอง จะทำให้ออกดอกและผลก่อนกำหนดถึง  2 ฤดู เมื่อเปรียบเทียบกับที่ไม่ได้ต้ดตา แม้ว่าจะมีขนาดของทรงต้นเเท่าๆ กันก็ตาม              

2.   ผลของต้นตอที่มีต่อขนาด คุณภาพ และการแก่ของผล  (Size quality and maturity of fruit)  ตัวอย่างเช่น การใช้ส้มเปรี้ยวเป็นต้นตอ และใช้ส้มต่างๆ คือ ส้มเกลี้ยง ส้มเขียวหวาน และส้มโอผลเล็ก  เป็นยอดพันธุ์ดีจะได้ผลที่มีเปลือกเรียบเกลี้ยง เปลือกบางมีน้ำมาก มีคุณภาพดี และเก็บได้นาน แต่ถ้าใช้รัฟเลมอน  (rougt lemon)  เป็นต้นตอจะได้ผลที่มีเปลือกหนา ผลใหญ่ ผิวหยาบ มีเปอร์เซ็นต์กรด และน้ำตาลต่ำ              

3.   ผลปลีกย่อยของต้นตอที่มีต่อกิ่งพันธุ์ดี  (Miscellaneous effects of the rootstock on the scion cultivar)  ผลปลีกย่อยดังกล่าว  เช่น ความทนต่อความหนาว  (cold hardiness)  ความต้านทานโรค  (disease resistance)  ต้นตอแต่ละพันธุ์มีผลช่วยในการต้านทานต่อโรค และความหนาวเย็นแตกต่างกัน  เช่น การใช้ส้มเปรี้ยวและส้มสามใบ เป็นต้นตอจะมีความต้านทานต่อโรคโคนเน่า  (Footrot)  มากกว่า  รัฟเลมอน  เป็นต้น 


6.2  ผลของกิ่งพันธุ์ดีที่มีต่อต้นตอ  (Effects of the scion cultivan on the stock)
                 
1.   ผลของกิ่งพันธุ์ดีที่มีต่อความแข็งแรงของต้นตอ  (Effects of the scion cultivar on the rootstock) 
ผลที่เกี่ยวกับความแข็งแรงนี้นับว่าเป็นผลที่สำคัญที่สุดที่กิ่งพันธุ์ดีมีต่อต้นตอ คือ ถ้ามีการใช้กิ่งพันธุ์ดีที่เป็นพันธุ์ที่แข็งแรงมีการเจริญเติบโตสูงต่อกิ่งบนต้นตอที่อ่อนแอจะได้ผลคือ การเจริญของต้นตอจะถูกกระตุ้นให้เจริญเติบโตเร็วขึ้นกว่าที่ไม่ได้ต่อกิ่ง ในทางกลับกันถ้าใช้กิ่งพันธุ์ดีที่อ่อนแอต่อกิ่งบนต้นต่อที่แข็งแรงจะได้ต้นตอที่มีการเจริญเติบโตน้อยกว่าที่ไม่ได้ต่อ ตัวอย่างในแอปเปิล พบว่า ขนาดลักษณะต่างๆ และรูปร่างของระบบรากที่เกิดจากต้นตอที่ได้จากการเพาะเมล็ด จะเป็นผลมาจากกิ่งพันธุ์ดีที่ใช้ เช่น ถ้าใช้แอปเปิลพันธุ์   ‘Red Astrachan’  จะได้ระบบรากเป็นแบบฝอยมาก และมีรากแก้วเล็กและสั้น แต่ถ้าใช้แอปเปิลพันธุ์  ‘Oldenbgurg’ หรือ ‘Fameuse’  จะได้ระบบรากแบบไม่เป็นฝอย และมีรากแก้ว 2-3 อัน หยั่งลึกลงไปในดิน                    

2 .  ผลของกิ่งพันธุ์ดีที่มีต่อการทนความหนาวเย็นของต้นตอ
  (Effect on colf-hardiness of the rootstock) 
ในพืชบางชนิด ความทนอากาศหนาวของต้นตอจะเป็นผลมาจากการใช้กิ่งพันธุ์ดี ผลอันนี้อาจจะไม่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติของการทนอากาศหนาวของกิ่งพันธุ์ดีโดยตรงก็ได้ แต่อาจเกี่ยวข้องกับความแก่  (degree 0 maturity)  ของต้นตอ  หมายความว่ากิ่งพันธุ์ดีใดที่ยืดการเจริญเติบโตของต้นตอไปจนถึงฤดูใบไม้ร่วง เนื้อเยื่อของรากก็จะยังไม่แก่พอ จึงทำให้ความหนาวเย็นของฤดูหนาวสามารถทำอันตรายต้นพืชได้ง่าย แต่ถ้าต้นตอที่ไม่ได้ต่อหรือที่ต่อบนกิ่งพันธุ์ดี เจริญโดยสมบูรณ์คือ หยุดเจริญในฤดูใบไม้ร่วง แล้วเซลล์ของต้นตอก็จะแก่พอ จึงทำให้สามารถทนความหนาวเย็นของอากาศในฤดูหนาวได้ 

6.3 ผลของตอกลางที่มีต่อต้นตอและกิ่งพันธุ์ดี 
(Effects of an intermediate stock on scion and stock)
ตอกลางบางชนิดมีคุณสมบัติพิเศษ  คือ   มีผลทำให้ยอดพันธุ์ดีแคระและออกดอกก่อนกำหนด ตัวอย่างเช่น การใช้แอปเปิลพันธุ์  Malling 9  ซึ่งเป็นพันธุ์แคระเป็นตอกลางจะได้พืชทั้งต้นที่เป็นพันธุ์แคระไปด้วย มีการเปรียบเทียบหลาย ๆ ครั้ง เกี่ยวกับอิทธิพลของต้นตอ และตอกลางที่มีต่อกิ่งพันธุ์ดี ปรากฎว่าทั้งต้นตอ และตอกลางมีอิทธิพลต่อกิ่งพันธุ์ดีทั้งสองอย่าง แต่อิทธิพลจากต้นตอจะมีมากกว่า ส่วนเหตุผลที่เป็นดังนี้มีผู้อธิบายว่า การใช้ตอกลางเป็นการเพิ่มปริมาณรอยต่อให้แก่พืชอีกแห่งหนึ่ง เป็นการจำกัดการเคลื่อนย้ายน้ำ และแร่ธาตุอาหารหรือการเคลื่อนย้ายอาหารลงมายังส่วนต่างๆ ของพืช6.4 อิทธิพลของต้นตอที่มีต่อกิ่งพันธุ์ดี และกิ่งพันธุ์ดีมีต่อต้นตอ  มีกลไกที่เป็นได้ดังนี้  (Possible mechanisms for the effects of stock on scion and scion on stock)             

พฤติกรรมของความสัมพันธ์ระหว่างต้นตอ ตอกลาง และกิ่งพันธุ์ดี นับว่ามีความซับซ้อนมาก คำอธิบายเกี่ยวกับเรื่องนี้มักมีความเห็นแตกต่างกัน อย่างไรก็ตามมีการอธิบายถึงความเป็นไปได้ในเรื่องนี้ไว้  2 ประการ คือ               

1.
   การดูดและการใช้ประโยชน์ของอาหาร  (Nutritional uptake and utilization)
การใช้ต้นตอแคระมีผลทำให้ต้นพันธุ์ดีแคระตามนั้น น่าจะเป็นเพราะขาดธาตุอาหาร เพราะพืชแคระมักจะมีระดับอาหารที่เป็นอินทรีย์ และแร่ธาตุมากกว่าต้นที่แข็งแรง ตัวอย่างเช่น การใช้แอปเปิลที่ยังโตไม่เต็มที่มาต่อบนต้นตอแคระพันธุ์  Malling 9  พบว่าจะเกิดการสะสมแป้งที่ต้นพันธุ์ดีมากก่อนเวลาที่ควรจะเป็น จึงมีผลให้เกิดการกระตุ้นตาดอกเร็วขึ้น ในขณะที่การใช้ต้นตอพันธุ์  Malling 12  ซึ่งเป็นต้นแข็งแรงกลับไม่ออกดอก และมีการสะสมแป้งน้อย นอกจากนี้การดูดน้ำ และแร่ธาตุอาหารของต้นที่แข็งแรงมีมาก แต่จะกระตุ้นการเจริญเติบโตทางกิ่งใบ  จึงไม่มีการสะสมควร์โบไฮเดรต เหมือนต้นแคระ                 

2.
 การเคลื่อนย้ายของอาหารและน้ำ  (Translocation of nutrients and water)
การใช้ต้นตอกลางพันธุ์แคระ คือ พันธุ์  Malling 9  มีผลทำให้กิ่งพันธุ์ที่นำมาต่อแคระตามที่เป็น  เช่น อาจเกี่ยวกับกรณีใดกรณีหนึ่งหรือทั้งสองกรณี คือ เกิดการขัดขวางที่รอยต่อเป็นบางส่วน และ/หรือ เกิดการลดอัตราการเคลื่อนย้ายของน้ำ และแร่ธาตุอาหารในตอกลางมีการศึกษาการเคลื่อนที่ของ  radioactive P  และ  Ca  ให้ที่รากแก่แอปเปิลพันธุ์ Mc Intosh  อายุ  1 ปี  ที่ปลูกในน้ำยาปลูกพืช พบว่าการใช้ต้นตอที่เป็นพันธุ์แข็งแรง  คือ Malling 16  ทำให้กิ่งพันธุ์ดีเจริญเร็วขึ้นเป็น 3 เท่า ของเมื่อใช้ต้นตอพันธุ์  Malling 9  ซึ่งเป็นพันธุ์แคระ  แสดงว่าต้นตอพันธุ์แข็งแรงสามารถดูดน้ำและแร่ธาตุอาหาร และเคลื่อนย้ายไปยังกิ่งพันธุ์ดี ได้มากกว่าต้นตอพันธุ์แคระ    




ฝ่ายส่งเสริมการเกษตร  สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร  มหาวิทยาลัยแม่โจ้  โทร. 0-53873938-9
http://www.it.mju.ac.th/dbresearch/organize/extention/book-fruit/fruit040.htm









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-08-25 (6004 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©