-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 160 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

เทคโนฯ เกษตร





กำลังปรับปรุงครับ


สารปรับปรุงดิน

สารปรับปรุงดิน คือ สารใดก็ตามที่ใส่ลงไปในดินแล้ว ทำให้สภาพทางเคมี ทางกายภาพและชีวภาพของดินเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช ซึ่งอาจมีธาตุอาหารพืชปะปนอยู่ในสารนั้นแต่วัตถุประสงค์ใช้สารปรับปรุงดิน จะไม่เน้นการเพิ่มเติมธาตุอาหารพืช สารปรับปรุงดินสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ

    1. สารปรับปรุงสภาพทางเคมีของดิน
    2. สารปรับปรุงสภาพทางกายภาพของดิน
    3. สารปรับปรุงดินในการรักษาความชื้น

สารปรับปรุงสภาพทางเคมีของดิน

สภาพทางเคมีของดิน ได้แก่ ความเป็นกรด – เป็นด่างของดิน และความเค็มของดิน ซึ่งถ้าอยู่ในสภาพ
ที่ไม่เหมาะสม พืชก็ไม่สามารถเจริญเติบโตเป็นปกติได้ หรือ เจริญเติบโตไม่ถึงศักยภาพที่ควรจะเป็น สารที่ใช้ปรับปรุงสภาพทางเคมีของดิน ได้แก่
1.ปูน (Lime) เป็นสารประกอบคาร์บอเนตออกไซค์และไฮดรอไซค์ของแคลเซี่ยมและแมกนีเซี่ยม
เมื่อใส่ลงในดินก็จะทำปฏิกิริยาสะเทินความเป็นกรดของดินทำให้ระดับความเป็นกรด- เป็นด่างงของดินอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ปัญหาเกี่ยวกับธาตุอาหารพืชต่าง ๆ ที่เป็นพิษหรือขาดแคลนในสภาพที่ดินเป็นกรดก็จะหายไป ปูนเป็นสารประกอบที่มีราคาไม่แพง
- หินปูน (Lime tone) ส่วนประกอบที่สำคัญของปูน คือหินโดโลไมท์หรือแคลเซี่ยมคาร์บอเนต+
แมกนีเซี่ยมคาร์บอเนต
- หินโดโลไมท์ ประกอบด้วยแคลเซี่ยมคาร์บอเนต 54% และแมกนีเซี่ยมคาร์บอเนต 46 %
- ปูนมาร์ล (Marl) และดินสอพอง (Marly Limes tone) มีลักษณะและองค์ประกอบที่ใกล้เคียงกัน
คือเป็นตะกอนของแคลเซี่ยมคาร์บอเนตที่ค่อนข้างจะร่วนยังไม่จับตัวเป็นหินแข็ง เกิดเป็นชั้นอยู่ใต้ดิน โดยปูนมาร์ลจะมีแคลเซี่ยมคาร์บอเนตเป็นองค์ประกอบประมาณ 35-65 % ที่เหลือเป็นดินเหนียว ส่วนดินสอพองจะมีแคลเซี่ยมคาร์บอเนตประมาณ 80-97%
- ปูนขาวและเปลือกหอยเผา องค์ประกอบที่สำคัญของปูนขาวและเปลือกหอยคือ แคลเซี่ยม
ไอดรอกไซค์ได้มาจากการเผาหินปูนหรือเปลือกหอยจนสุกแล้วนำมาพรมด้วยน้ำ ปูนเผาจะทำปฏิกิริยากับน้ำได้ปูนขาวจะมีเนื้อยุ่ยเป็นผงแต่ก่อนที่จะนำออกจำหน่ายจะมีการบดและร่อน
2. ยิปซัม (Gypsume) เป็นสารปรับปรุงดินที่แนะนำให้ใช้แก้ปัญหาดินเค็ม โดยเฉพาะดินเค็มโซดิก
ซึ่งดินเค็มที่มโซเดียมอยู่มากจนเกิดเป็นพิษต่อพืชและดินชนิดนี้จะมีปฏิกิริยาเป็นด่างทำให้พืชอาจขาดธาอาหารเสริมบางชนิดได้ ยิปซัมเป็นแร่ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติมีแคลเซี่ยมซัลเฟตเป็นองค์ประกอบหลักไม่ต่ำกว่า 96 % เกิดจากการตกตะกอนของแคลเซี่ยมซัลเฟตซึ่งละลายอยู่ในน้ำทะเลและยังเป็นผลพลอยได้จากโรงงานผลิตปุ๋ยเคมีฟอสเฟต

สารปรับปรุงสภาพทางกายภาพของดิน

สภาพทางกายภาพของดิน ได้แก่ คุณสมบัติทางด้านความโปร่ง ความร่วนซุยหรือความแน่นทึบ
มีผลโดยตรงต่อการถ่ายเทอากาศและการอุ้มน้ำของดิน การปรับปรุงสภาพทางกายภาพของดิน มีหลายชนิด เช่น
1.การเกิดแผ่นแข็งบนผิวดิน (Crust)
การเกิดแผ่นแข็ง (crust) บนผิวหน้าดินเป็นปัญหาต่อการปลูกพืชที่พบมากบนพื้นที่แถบแห้งแล้ง
และกึ่งแห้งแล้ง มีผลกระทบต่อพืชโดยตรง คือ เป็นอุปสรรคต่อการงอกของเมล็ด และการแทงโผล่ของต้นกล้าออกมาพ้นผิวดิน
วัตถุประสงค์หลักของการใช้สารปรับปรุงดิน เพื่อลดปัญหาการเกิดแผ่นแข็งบนผิวหน้าดิน คือ
1. เพิ่มความเสถียรของก้อนดิน (soil aggregath) ให้มีความคงทนไม่แตกยุ่ยง่ายเมื่อโดนเม็ดฝน
หรือน้ำชลประทานที่เหนือดินตกกระแทก
2. ทำให้อนุภาคดินที่แขวนลอยในน้ำเกิดการฟุ้งกระจาย (dispersion) น้อยลงหรืออีกนัยหนึ่ง
ทำให้อนุภาคดินโดยเฉพาะอย่างยิ่งอนุภาคดินเหนียวเกิดการซับกันเป็นกลุ่มมวลดิน (flocculation) ทำให้เมื่อแห้งลงไม่เกิดการฉาบเคลือบผิวดินเป็นกลุ่มมวลดิน หรืออุดรูอากาศในดินบริเวณผิวดิน
วิธีการป้องกันหรือลดปัญหาการเกิดแผ่นแข็งบนผิวหน้าดินทำได้หลายวิธี เช่น การพรวนดิน
การใช้วัสดุคลุมดินและการใช้สารปรับปรุงดินไม่ว่าจะเป็นอินทรียวัตถุ สามารถแก้ไขปัญหาการเกิดแผ่นแข็งบนผิวดินได้ผลดี ถ้าใช้ในปริมาณที่มากพอ แต่ข้อจำกัดก็คือปัญหาการจัดหาเพื่อให้ได้มาและค่าใช้จ่ายในการใส่ เนื่องจากการขนส่งและปริมาณการใช้ต้องใช้ปริมาณมาก ๆ สำหรับสารปรับปรุงดินอินทรียวัตถุที่สำคัญ ๆ มีดังนี้
1. สาร PAM มีชื่อการค้าว่า “syaram” เป็นสารประกอบอินทรีย์โพลิเมอร์ที่มีโมเลกุลของโมโนเมอร์
(monomer) ต่อกันเป็นเส้นขาว คุณสมบัติโดยทั่ว ๆ ไปเป็นสารที่ละลายน้ำได้ดีและมีความสามารถในการเชื่อมอนุภาคแร่ดินเหนียวเข้าด้วยกัน หรือทำให้อนุภาคแร่ดินเหนียวในเม็ดดินจับกันด้วยแางที่มีความเสถียรสูงสุดยิ่งขึ้น ซึ่งจะมีผลทำให้เม็ดดิน (aggregates) มีความต้านทานต่อการกระแทกของฝนหรือน้ำชลประทานที่ตกลงมากระทบมากยิ่งขึ้น จาการศึกษาของ Shainburg และคณะ (1990) ในการแก้ปัญหาการเกิดแผ่นแข็งบนผิวดิน โดยการฉีดสารละลาย PAM ลงบนผิวดินที่จับกันเป็นแผ่นแข็งในอัตรา 3.2 กิโลกรัมต่อไร่ ให้ผลดีมากขึ้นในการเพิ่มการแทรกซึมน้ำในดิน
2. ยิปซั่ม (Gysum) หรือฟอสโฟยิมซั่ม (Phosshopypsum) การใช้ยิมซั่มหรือฟอสโฟยิมซั่มช่วยปรับปรุง
สมบัติทางกายภาพบางประการของดินให้ดีขึ้น เช่น ทำให้ดินมีปัยหาจับกันเป็นแผ่นแข็งที่ผิวดินน้อยลง ดินมีการแทรกซึมน้ำดีขึ้น มีการไหลบ่าของน้ำน้อยลง และเกิดการสูญเสียน้อยลง จากการทดลองของ Gennett และคณะ (1964) โดยใส่ยิปซัมอัตรา 250 ปอนด์ต่อเอเคอร์ โดยโรคเป็นแถบกว้าง ๆ เหนือกลางเมล็ดที่ปลูกฝ้าย พบว่าเมล็ดฝ้ายสามารถงอกแทงโผล่ผิวดิน คิดเป็นร้อยละ 48.1 และไม่ใส่ยิปซัมเมล็ดฝ้ายสามารถงอกและแทงโผล่ผิวดินคิดเป็นร้อยละ 10.8 ส่วนดัชนีความแข็งของครัสท์ (ปอนด์) พบว่า ไม่ใส่ยิปซัมมีความแข็ง 3.72 ปอนด์ และเมื่อใส่ยิปซัมดัชนีมีความแข็งมีค่าเท่ากับ 1.70 ปอนด์
3. ไลม์-ซัลเฟอร์ (Lim-sulfer) หรือสารประกอบแคลเซียมไพลีซัลไฟด์ (CaS5) เมื่อใส่ลงไปในดิน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งดินโซดิก (sodic soils) ที่มีปูนแคลเซียมคาร์บอเนต จะเกิดการเปลี่ยนแปลงในดินจนในที่สุดจะได้สารเคมีเหมือนกับการเปลี่ยนแปลงยิปซัมเมื่อใส่ลงไปในดิน กล่าวคือ ไลม-ซัลเฟอร์ มีบทบาททำให้ดินเกิดการจับกันเป็นแผ่นแข็งบนผิวดินน้อยลง เช่นเดียวกับยิปซัม อย่างไรก็ตามการใช้สารประกอบแคลเซียมไพลีซัลไฟด์อาจต้องใช้เวลาในการเปลี่ยนรูปทางเคมีของตัวสารบ้างในระยะแรก ซึ่งก็ขึ้นกับสภาพแวดล้อมในดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการระบายอากาศในดิน ฯลฯ ประสิทธิภาพในเชิงพาณิชย์ของสารชนิดนี้เมื่อเปรียบเทียบกับยิปซัมจะแตกต่างกันอย่างไรหรือไม่ขึ้นอยู่กับ
1. ราคาของสาร
2. ปริมาณการใช้ที่ก่อให้เกิดผล
3. ประสิทธิภาพของสาร

http://www.doae.go.th/spp/biofertilizer/impv1.htm









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-08-25 (1098 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©