-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 191 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

เทคโนฯ เกษตร








การปลูกพืชระบบรากยึด (aggregate culture หรือ substrate culture)

หมายถึงการปลูกพืชบนวัสดุต่างๆ ที่ไม่ใช่ดิน และวัสดุนั้นทำหน้าที่เพียงให้รากพืชยึดเกาะเพื่อช่วยพยุงลำต้น โดยไม่เป็นแหล่งธาตุอาหารของพืช ระบบรากยึดมีข้อดีหลายอย่างเช่น

  • พืชสามารถพยุงลำต้นได้เอง ทำให้ไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการพยุงลำต้น ยกเว้นพืชที่เป็นเถาเลื้อย
  • อากาศสามารถแพร่ผ่านวัสดุปลูกไปยังรากได้เช่นเดียวกับการปลูกพืชใช้ดิน ดังนั้นการปลูกพืชระบบนี้จึงไม่จำเป็นต้องเติมอากาศลงไปในสารละลาย การปลูกพืชระบบนี้จึงเกือบจะไม่มีปัญหารากพืชขาด O2 ซึ่งจะทำให้ระบบปลูกล้มเหลว
  • วัสดุปลูกช่วยดูดซับสารละลายธาตุอาหารส่วนหนึ่งไว้ ดังนั้นเมื่อการจ่ายสารละลายหยุดชะงักด้วยเหตุใดก็ตาม พืชยังคงมีน้ำและธาตุอาหารในการเจริญเติบโตเป็นระยะเวลานานกว่าระบบอื่น
  • ผู้ปลูกสามารถเลือกจัดการสารละลายธาตุอาหารได้ทั้งระบบปิด (หมุนเวียนสารละลายกลับมาปรับสภาพแล้วใช้ใหม่) หรือระบบเปิด (ปล่อยสารละลายธาตุอาหารทั้งไปหลังจากไหลผ่านวัสดุปลูก) การเลือกใช้ระบบเปิดช่วยให้ผู้ปลูกไม่ต้องสร้างระบบปรับสภาพ และการจัดการสารละลายทำได้ง่ายกว่า

ด้วยข้อดีหลายอย่างดังที่กล่าวแล้ว ทำให้การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินระบบรากยึดได้รับความนิยมแพร่หลายในการผลิตพืชในเชิงพาณิชย์ ต้นคริสศตวรรษที่ 1970 การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินในประเทศอังกฤษส่วนใหญ่ปลูกด้วยระบบรากแช่แบบ NFT แต่หลังจากนั้นการปลูกด้วยระบบรากยึดค่อย ๆ เพิ่มขึ้น จนในปี ค.ศ. 1989 มีผู้ปลูกแบบ NFT เพียง 11% ส่วนที่เหลือเป็นระบบรากยึด (Weston, 1994 p.200)



วัสดุปลูกที่ใช้ในการปลูกพืชไม่ใช้ดินมีหลากหลายชนิดผู้ปลูกสามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม ดังนี้

1. ทราย (sand)ทรายหมายถึงหินที่แตกละเอียดมีขนาดอนุภาคอยู่ในช่วง 0.2-3.0 มิลลิเมตร ทรายเป็นวัสดุปลูกที่หาได้ง่ายในหลายพื้นที่ ทรายเหมืองที่ขุดจากหลุมที่ลึกลงไปจากผิวดิน และทรายแม่น้ำมีความเหมาะสมสูงในการใช้เป็นวัสดุปลูก เนื่องจากทรายเหล่านี้มีสารที่ละลายน้ำได้เจือปนอยู่น้อย มีเมล็ดวัชพืชและจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรคพืชปะปนอยู่น้อย ทราบบางแหล่งอาจมีหินปูนเจือปน การนำมาใช้จะต้องปรับสูตรของสารละลายธาตุอาหารให้เหมาะสม และหลีกเลี่ยงการปลูกพืชที่ไม่ชอบด่าง ทรายบางแห่งมีความเค็มสูงอาจจำเป็นต้องล้างเกลือออกไปก่อนจึงจะใช้ปลูกพืชได้ และควรเลือกพืชที่ไม่ไวต่อความเค็ม ความลึกของชั้นทรายที่เหมาะสมในการปลูกประมาณ 30 - 35 cm หากใช้ชั้นทรายที่ตื้นเกินไปจำทำให้ความชื้นกระจายไม่สม่ำเสมอ และอาจทำให้รากพืชงอกยาวเข้าในท่อระบายสารละลายทำให้ท่ออุดตันได้ ควรเปลี่ยนหรือฆ่าเชื้ออย่างน้อยปีละครั้ง เพื่อป้องกันการสะสมของโรคพืชและไส้เดือนฝอย ทรายมีข้อเสียที่มีน้ำหนักมาก (ความหนาแน่ประมาณ 1.5 kg/ลิตร) ทำให้การขนย้ายต้องใช้แรงงานมาก

2. กรวด (gravel) กรวดที่เหมาะสำหรับใช้เป็นวัสดุปลูกควรมีขนาดประมาณ 0.75 cm กรวดหรือทรายที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเล็กกว่า 0.5 cm ควรแยกออก เพื่อป้องกันไม่ให้วัสดุขนาดเล็กเหล่านี้ ทำให้ท่ออุดตัน หรือขัดขวางการไหลของสารละลาย กรวดที่เกิดจากการเย็นตัวของลาวาจากภูเขาไฟ (scoria) เป็นวัสดุที่มีความเหมาะสมมาก แม้จะมีขนาด 1.0 - 1.25 cm ก็ยังคงใช้เป็นวัสดุปลูกได้ดี ทั้งนี้เนื่องจาก scoria เป็นกรวดที่มีความพรุนสูงอุ้มน้ำได้ดี การถ่ายเทอากาศดีกว่ากรวดชนิดอื่น กรวดที่มีหินปูนเจือปนควรหลีกเลี่ยงหากไม่จำเป็น เพราะหินปูนจะละลายออกมาเจือปนในสารละลายธาตุอาหารที่ใช้ นอกจากนี้ Ca ที่ละลายออกมายังอาจเป็นสาเหตุให้ซัลเฟต และฟอสเฟตตกตะกอน ทำให้พืชที่ปลูกได้รับสารอาหารเหล่านี้ไม่เพียงพอ

3. เวอร์มิคูไลท์ (vermiculite) เวอร์มิคูไลท์เป็นแร่ในกลุ่ม alumino-silicate ชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นแผ่นบาง ๆ คล้ายเกล็ดปลาซ้อนกันหลาย ๆ ชั้น แร่เวอร์มิคูไลท์ดิบยังไม่เหมาะที่จะใช้เป็นวัสดุปลูก จะต้องนำมาเผาที่อุณหภูมิ 760 องศาC เพื่อให้แผ่น alumino-silicate ที่ซ้อนทับกันปริขยายออก เรียกกระบวนการนี้ว่า exfoliation แร่ที่ผ่านกระบวนการนี้แล้วมีความหนาแน่นรวมลดลงเหลือประมาณ 95 - 145 kg/m3 และสามารถอุ้มน้ำได้มากถึง 500% (w/w) เวอร์มิคูไลท์มีธาตุอาหาร โพแทสเซียม แมกนีเซียม และแคลเซียม ที่พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ การใช้เวอร์มิคูไลท์เป็นวัสดุปลูกจึงอาจลดความเข้มข้นของธาตุเหล่านี้ในสารละลายลง เวอร์มิคูไลท์ที่ผ่านกระบวนการ exfoliation แล้วจะค่อยๆ ยุบตัวลงเมื่อใช้ปลูกพืชไปนาน ๆ ภายใน 1 ปี ปริมาตรจะลดลงเหลือประมาณ 20% ของปริมาตรเดิม และเมื่อผ่านไปประมาณ 2 ปี สมบัติในการอุ้มน้ำและถ่ายเทอากาศจะสูญเสียไปจนไม่สามารถใช้เป็นวัสดุปลูกได้อีกเวอร์มิคูไลท์เป็นวัสดุปลูกที่มีราคาแพงเมื่อเทียบกับวัสดุชนิดอื่นในปัจจุบันจึงไม่เป็นที่นิยมมากนัก แต่มีข้อดีที่ไม่มีการปนเปื้อนของโรคพืชและวัชพืช

4. เพอร์ไลท์ (perlite) เพอร์ไลท์เป็นวัสดุธรรมชาติที่เกิดจากการสลายตัวของหินภูเขาไฟ เพอร์ไลท์ธรรมชาติยังไม่เหมาะที่จะใช้เป็นวัสุดปลูก จะต้องนำไปเผาที่อุณภูมิ 980 - 1000 องศาC ก่อนเพื่อให้เพอร์ไลท์ขยายตัวเช่นเดียวกับเวอร์มิคูไลท์ เมื่อเผาแล้วเพอร์ไลท์มีความหนาแน่นประมาณ 95 - 145 kg/m3 มีความสามารถในการอุ้มน้ำและระบายอากาศได้ดีเพอร์ไลท์เมื่อขยายตัวแล้วมีเสถียรภาพดี มีการยุบตัวน้อย ราคาไม่แพงนักจึงนิยมใช้กันแพร่หลายในประเทศที่มีแหล่งวัตถุดิบ

5. ใยหิน (rock wool) ใยหินเป็นวัสดุสังเคราะห์ที่ได้จากการนำหินบาซอลท์ ถ่านโค๊ก และหินปูน มาหลอมรวมกันที่อุณหภูมิ 1482 - 1600 องศาC ในบางกรณีอาจใช้กากเตาจากโรงงานพลุงเหล็ก (slag) แทนหินบาซอลต์ ของเหลวที่ได้จากการหลอมถูกปล่อยให้ไหลผ่านลูกกลิ้ง แล้วใช้ลมเป่าเพื่อให้กลายเป็นเส้นใย เมื่อเส้นใยเย็นตัวลงกลายเป็นของแข็ง เดิมใยหินสังเคราะห์ขึ้นเพื่อใช้เป็นวัสดุก่อสร้างเพื่อใช้เป็นฉนวนความร้อนและป้องกันเสียงสะท้อน ปัจจุบันมีการสังเคราะห์เพื่อใช้ในการปลูกพืชโดยตรง ใยหินประเภทหลังนี้อาจปรับปรุงคุณสมบัติให้เปียกน้ำได้ดีขึ้น เพื่อช่วยให้ใยหินอุ้มน้ำได้ดีขึ้น และตัดหรืออัดให้มีขนาดและรูปทรงเหมาะสมต่อการใช้เพื่อการเกษตร แท่งใยหินแต่ละแท่งมีส่วนประกอบที่เป็นของแข็ง 3 - 4 % (v/v) ส่วนที่เหลือเป็นช่องว่าง เมื่อนำมาแช่น้ำแล้วปล่อยให้น้ำไหลออกอย่างอิสระ น้ำจะไหลออกไปประมาณ 15 - 17 % สัดส่วนของน้ำต่ออากาศที่เกิดขึ้นนี้เป็น สัดส่วนที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช ใยหินมีธาตุอาหารพืชอยู่น้อยช่วยให้ง่ายต่อการจัดการธาตุอาหาร แต่ใยหินมีสมบัติเป็นด่าง เมื่อนำมาแช่น้ำจะทำให้น้ำมี pH 7.5-8.5 อย่างไรก็ตามด่างที่อยู่ในใยหินมีปริมาณน้อย ใช้น้ำชะล้างเพียงครั้งเดียวก็สามารถใช้ปลูกพืชได้ ใยหินเป็นวัสดุสังเคราะห์ที่สลายตัวได้ยาก ทำให้สร้างปัญหากับการจำกัดของเสียที่เกิดขึ้น เกษตรกรมักจำเป็นต้องกำจัดทิ้งหลังปลูกในแต่ละครั้ง เพื่อป้องกันโรคระบาด และรากพืชที่ตกค้างอยู่ภายในเน่า ไม่สามารถใช้ปลูกพืชรุ่นต่อไปได้

6. ฟองน้ำสังเคราะห์ (plastic foam) ฟองน้ำสังเคราะห์มีหลายชนิด เช่น polystyrene, ployorethane และ polyphenolic compound เป็นต้น polystyrene เหมาะสมสำหรับใช้เป็นวัสดุปลูกมากที่สุดเนื่องจากอุ้มน้ำได้ดีและมีน้ำหนักเบา ก่อนใช้ฟองน้ำปลูกพืชควรนำมาแช่น้ำแล้วบีบน้ำออกหลาย ๆ ครั้ง เพื่อล้างสารอินทรีย์โมเลกุลเล็กที่เจือปนอยู่ เนื่องจากสารเหล่านั้นอาจมีผลกระทบต่อการงอก และการเจริญเติบโตของพืช

7. พรุ (peat) พรุเป็นวัสดุธรรมชาติที่เกิดจากการทับถมของซากพืช แหล่งพรุขนาดใหญ่ในประเทศไทยอยู่ตอนเหนือของทะเลสาบสงขลาบริเวณรอบๆ ทะเลน้อยในเขตจังหวัดพัทลุงและนครศรีธรรมราช อีกแหล่งหนึ่งอยู่ในเขตจังหวัดอยู่ในจังหวัดนราธิวาส พรุจากบางแหล่งมีกรดฮิวมิคเป็นองค์ประกอบอยู่มาก และมี pH ต่ำ การนำมาใช้เป็นวัสดุปลูกจะต้องผสมกับวัสดุปูนเพื่อทำให้มีสมบัติเป็นกลางก่อน พรุแห้งมีความหนาแน่นประมาณ 104 kg/m3 ในขณะที่เมื่ออิ่มตัวด้วยน้ำจะมีความหนาแน่นเพิ่มขึ้น 1,560 - 2,090 kg/m3 นั่นคือพรุสามารถอุ้มน้ำได้มากกว่าหนักของตัวนั้นเอง 15 - 20 เท่า พรุจึงมีคุณสมบัติเหมาะสมต่อการใช้เป็นวัสดุปลูก พรุมีธาตุอาหารพืชอยู่เพียงเล็กน้อยแต่สามารถดูดซับธาตุอาหารที่อยู่ในรูปแคทไอออนได้ดี การนำพรุมาใช้เป็นวัสดุปลูกมักนิยมอัดแท่ง หรือทำให้แห้งแล้วบรรจุกระสอบ พรุมีข้อดีที่สามารถกำจัดทิ้งได้ง่าย

8. ถ่าน (chacoal) ถ่านได้จากการนำผลิตภัณฑ์ไม้ชนิดต่าง ๆ ไปเผาในเตาอบอากาศ เพื่อให้เหลือองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นคาร์บอน ถ่านมีหลายชนิด เช่น ถ่านไม้ ถ่านแกลบ ถ่านกะลามะพร้าว ถ่านกะลาปาล์ม ถ่านแกนข้าวโพด และถ่านขี้เลื่อยอัด เป็นต้น ถ่านมีธาตุอาหารพืชน้อยและดูดซับธาตุอาหารได้น้อย ทำให้ง่ายต่อการจัดการธาตุอาหาร อุ้มน้ำได้น้อยแต่สามารถระบบอากาศได้ดี ถ่านยังมีความเหมาะสมต่อการใช้เป็นวัสดุปลูกเนื่องจากไม่มีการปนเปื้อนของโรคพืชและวัชพืช ยกเว้นถ่านเก่าที่ผ่านการปลูกพืชมาแล้ว หรือถ่านที่ผู้ผลิตเก็บรักษาไม่ดี

9. เปลือกไม้ (bark) เปลือกไม้ที่นำมาใช้เป็นวัสดุปลูกมักได้มาจากโรงงานแปรรูปไม้ การใช้เป็นวัสดุปลูกควรนำมาบดและหมักก่อน ทั้งนี้เนื่องจากสารบางอย่างจากเปลืองไม้ หรือเกิดจากการสลายตัวของเปลือกไม้เป็นอันตรายต่อพืช เปลือกไม้อุ้มน้ำได้น้อยแต่สามารถระบายอากาศได้ดี

10. ขี้เลื่อย (sawdust) ขี้เลื่อยได้จากโรงงานแปรรูปไม้มีความเหมาะสมในการใช้เป็นวัสดุปลูกคล้ายเปลือกไม้ที่บดแล้ว ขี้เลื่อยสดไม่เหมาะที่จะใช้เป็นวัสดุปลูก ควรหมักหรือใช้ผสมกับวัสดุชนิดอื่น สารพิษจากขี้เลื่อยของไม้บางชนิดสามารถกำจัดโดยกองขี้เลื่อยไว้ในที่โล่งแจ้งเป็นเวลานานพอสมควร

11. แกลบ (rice hull) แกลบได้จากโรงสีข้าว แกลบอุ้มน้ำได้น้อยแต่ระบายอากาศได้ดี แกลบสดสามารถใช้เป็นวัสดุปลูกได้ดีโดยไม่มีปัญหาสารพิษ แต่อาจมีปัญหาจากจุลินทรีย์ที่ย่อมสลายแกลบแย่งธาตุอาหารจากพืชที่ปลูก ทำให้ต้องใช้ธาตุอาหารมากขึ้น

12. ขุยมะพร้าวและเปลือกมะพร้าว ขุยมะพร้าวได้จากโรงงานผลิตเส้นใยมะพร้าว ส่วนเปลือกมะพร้าวสามารถหาได้จากสวน ซึ่งมีมากทางภาคใต้ของประเทศไทย โดยจะต้องนำมาตัดหรือสับใหม่ให้มีขนาดเหมาะสมก่อนใช้ขุยมะพร้าวและเปลือกมะพร้าวอัดไม่เหมาะสมที่จะใช้เป็นวัสดุปลูก ควรทิ้งไว้กลางแจ้งให้สารพิษสลายตัวไปก่อน หรือนำไปหมักก่อนใช้

13. อิฐก้อน (clay ball) เป็นวัสดุที่ผลิตจากดินเหนียวคล้ายการทำอิฐ ผลิตเป็นก้อนกลมเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 - 2 cm อิฐก้อนเป็นวัสดุที่มีรูพรุน จึงสามารถเก็บความชื้นได้ และสามารถระบายน้ำได้ดี

14. วัสดุผสม วัสดุปลูกแต่ละชนิดที่กล่าวมาแล้วนอกจากใช้เป็นวัสดุปลูกเดี่ยวๆ แล้ว ยังสามารถนำวัสดุแต่ละชนิดมาผสมกัน เพื่อปรับปรุงสมบัติบางอย่างให้ดีขึ้น เช่น ทรายผสมกับขี้เลื่อยหรือขุยมะพร้าว หรือแกลบผสมกับขุยมะพร้าว เป็นต้น เพื่อทำให้ความสามารถในการอุ้มน้ำ และการถ่ายเทอากาศของวัสดุดีขึ้น


1. ถังบรรจุสารละลายธาตุอาหาร ในกรณีที่มีการหมุนเวียนสารละลายธาตุอาหารกลับมาใช้ใหม่ ถังบรรจุสารละลายจะทำหน้าที่เป็นถังปรับสภาพของสารละลายไปด้วย ในกรณีไม่มีการหมุนเวียนอาจมีถังผสมแยกต่างหากอีก 1 ถัง

2. ปั๊มจ่ายสารละลายหรือหมุนเวียนสารละลาย ในกรณีที่จ่ายสารละลายแบบหยด (drip irrigation) ปั๊มจะต้องให้แรงดันสูงพอสำหรับหัวหยดทุกหัวในโซนที่ออกแบบไว้ ในกรณีของการหมุนเวียนปั๊มจะต้องสามารถสูบสารละลายได้เร็วกว่าอัตราการไหล เพื่อป้องกันสารละลายล้นถังรองรับ

3. ท่อจ่ายสารละลาย ในกรณีที่ออกแบบระบบจ่ายสารละลายแบบหยด ต้องใช้ท่อ 2-3 ขนาด คือ ท่อประธาน (main line) ท่อย่อย (sub-main line) และต่อแขนง (lateral line) ทำให้ต้องใช้ท่อจำนวนมาก ปัญหาท่อรั่วท่อตันมีโอกาสเกิดขึ้นได้มาก นอกจากนี้ยังเสียเวลาและสิ้นเปลืองแรงงานมากทั้งในขั้นตอนติดตั้ง และเก็บท่อหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ปัญหาการจัดการระบบท่อจึงเป็นจุดอ่อนอย่างหนึ่งของการปลูกพืชระบบรากยึดและจ่ายลายแบบหยด

4. อุปกรณ์ควบคุมการจ่ายสารละลาย ชนิดและจำนวนอุปกรณ์ที่ใช้ขึ้นอยู่กับรายละเอียดในการออกแบบระบบ อุปกรณ์โดยทั่วไปที่จำเป็นต้องใช้ได้แก่ เครื่องวัดอัตราการไหลของสารละลาย เครื่องวัดความดัน เครื่องควบคุมความดัน วาล์วป้องกันการไหลย้อนกลับ เป็นต้น

5. เครื่องกรองน้ำและสารละลาย เครื่องกรองสารละลายมีความสำคัญมากในกรณีออกแบบให้มีการหมุนเวียนสารละลายกลับมาใช้ใหม่ ทั้งนี้เพื่อป้องกันปั๊มเสียหายและท่ออุดตัน ในกรณีที่ไม่หมุนเวียนสารละลายกลับมาใช้ใหม่ เครื่องกรองสารละลายก็ไม่จำเป็นต้องใช้ แต่ควรกรองน้ำที่นำมะเตรียมสารละลาย ไม่ให้มีตะกอนหรือสารแขวนลอยที่มีขนาดใหญ่กว่าหัวจ่ายสารละลาย เพื่อป้องกันหัวจ่ายสารละลายอุดตัน


การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินระบบรากยึดมีการออกแบบเครื่องปลูกที่หลากหลายมากกว่าระบบอื่น การออกแบบมักคำนึงถึงสมบัติของวัสดุค้ำจุนรากเป็นหลัก วัสดุปลูกที่อุ้มน้ำได้ดี เช่น พรุ เพอร์ไลท์ และใยหิน เป็นต้น มักออกแบบให้ไม่ต้องหมุนเวียนสารละลายกลับมาใช้ใหม่ เพื่อตัดปัญหาการปรับสภาพสารละลาย ส่วนวัสดุปลูกที่อุ้มน้ำได้น้อย เช่น กรวด และทราย เป็นต้น มักออกแบบให้ต้องหมุนเวียนสารละลายกลับไปใช้ใหม่ เพื่อลดการสิ้นเปลืองสารละลาย การหมุนเวียนสารละลายจะต้องนำสารมากรองและปรับสภาพ (ปรับค่า pH และ EC) ทำให้มีการใช้จ่ายในการก่อสร้างเครื่องปลูกแพงขึ้น และการจัดการยุ่งยากขึ้น ในกรณีนี้ควรหลีกเลี่ยงการใช้ท่อหรือหัวจ่ายสารละลายขนาดเล็ก เพราะจะทำให้เกิดการอุดตันได้ง่าย

ในพื้นที่ซึ่งมีความเสี่ยงจากกระแสไฟฟ้าขัดข้อง การออกแบบเครื่องปลูกควรให้มีความสามารถรองรับปัญหาที่จะเกิดขึ้นนี้ได้ เช่น เลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ที่สามารถอุ้มน้ำได้ดี ออกแบบให้มีถังจ่ายสารละลายอยู่สูงจากพื้นปลูก เพื่อใช้แรงโน้มถ่วงของโลกช่วยสร้างแรงดันแทนการใช้ปั๊ม ออกแบบให้มีวาล์วปิดอัตโนมัติเพื่อป้องกันสารละลายล้นถังในกรณีหมุนเวียนสารละลายแบบปิด หรือออกแบบให้มีทางล้นฉุกเฉินของสารละลายในกรณีที่หมุนเวียนสารละลายแบบปิด เป็นต้น

ตัวอย่างการออแบบระบบปลูก

รูปที่ 4-1 การออกเครื่องปลูกโดยใช้ใยหินเป็นวัสดุค้ำจุนรากของบริษัท Kaneko ปรเทศญี่ปุ่น ต้นพืชจะถูกเพาะในแท่งเพาะชำรูปลูกบาศก์ (รูปขวา) จากนั้นจะนำไปวางบนแท่งใหญ่เมื่อพืชโตขึ้น สารละลายถูกส่งไปตามท่อประธาน แล้วแยกเป็นท่อยย่อย และท่อแขนง ความดันในท่อประธานปรับโดยดูจากความสูงของสารละลาย
รูปที่ 4-2 ตัวอย่างพืชที่ปลูกด้วยเครื่องปลูกของบริษัท Kaneko ปรเทศญี่ปุ่น (ซ้าย) แตงแคนตาลูป (ขวา) มะเขือเทศ
รูปที่ 4-3 การออกเครื่องปลูกโดยใช้กรวดเป็นวัสดุค้ำจุนรากของบริษัท Sumitomo ปรเทศญี่ปุ่น กรวดที่ใช้ปลูกมีขนาด 5 - 10 มิลลิเมตร นำมาบรรจุในรางกว้าง 45 เซนติเมตร (ความกว้างภายใน) ลึก 17 เซนติเมตร สารละลายจากถังเก็บจ่ายผ่านหัวพ่นสองข้างรางวันละ 3- 5 ครั้ง ครั้งละ 30 - 90 วินาที สารละลายส่วนเกินไหลกลับลงสู่ถังสารละลายอีกครั้ง หลังสิ้นสุดการปลูกแต่ละครั้งจะต้องถอนรากพืชทิ้ง ล้างวัสดุค้ำจุนรากด้วยน้ำ แล้วฆ่าเชื้อด้วย methyl bromide และต้องทำความสะอาดรางปลูกอย่างน้อยปีละครั้ง
รูปที่ 4-4 การปลูกแตงกวาโดยใช้ใยหินเป็นวัสดุค้ำจุนราก และใช้และใช้แผ่นเหล็กเคลือบสังกะสีเป็นอุปกรณ์รองรับ ใยหินยังคงใส่ไว้ในถุงเพื่อการระเหยของสารละลาย
รูปที่ 4-5 การปลูกคาเนชั่น (ซ้าย) และมะเขือเทศ (ขวา) บนถุงบรรจุพรุ (bag culture)
รูปที่ 4-6 การปลูกมะเขือเทศในกระสอบบรรจุ perlite จ่ายสารละลายแบบหยด และปล่อยให้สารละลายขังอยู่ด้านล่างของถุง
รูปที่ 4-7 แผนผังเครื่องปลูกด้านบน (ซ้าย) และด้านข้าง (ขวา) ของการปลูกพืชระบบรากยึด โดยการใช้กรวดหรือหินภูเขาไฟเป็นวัสดุค้ำจุนราก ระบบนี้มีถังสารละลาย 2 ถัง รางปลูกสร้างด้วยคอนกรีต ค่าก่อสร้างแพง และปรับเปลี่ยนยาก


http://agri.wu.ac.th/msomsak/Soilless/Chapter04/Aggregate.htm
agri.wu.ac.th/msomsak/Soilless/Chapter04/Aggregate.htm -









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-08-25 (749 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©