-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 438 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ปุ๋ยเคมี





กำลังปรับปรุงครับ


 ธาตุอาหารสมดุลและใส่ถูกวิธี


(ข) ธาตุรอง   คือธาตุอาหารที่พืชต้องการปริมาณมากแต่ในดินเพาะปลูกทั่วไป มักมีเพียงพอแก่ความต้องการของพืช จะพบว่าขาดสำหรับพืชในดินบางแห่ง แต่ไม่บ่อยครั้งเหมือนพวกแรก มี 3 ธาตุ ได้แก่ แคลเซียม แมกนีเซียม และกำมะถัน

ธาตุแคลเซียม (Ca)

เป็นส่วนประกอบของผนังเซลล์ และโครงสร้างที่สำคัญในลำต้น กิ่ง ใบ ควบคุมการละลายของเกลือและความสมดุลของกรดอินทรีย์ต่าง ๆ ในเซลล์ช่วยการงอกของเมล็ด การเจริญเติบโตของส่วนยอด ส่วนที่ยังอ่อนของพืช รวมทั้งปลายราก ควบคุมการดูดใช้ธาตุโปแตสเซียมและแมกนีเซียม ถ้าพืชดูดกินธาตุนี้มากเกินไปจะแสดงอาการขาดธาตุเหล็ก กำมะถัน และฟอสฟอรัส ได้

เป็นธาตุที่พบในดินเป็นจำนวนมากแม้พืชจะต้องการใช้ในปริมาณค่อนข้างสูง แต่ส่วนใหญ่พืชไม่แสดงอาการขาดธาตุนี้ ยกเว้นในสภาพของดินบางชนิด เช่น ในดินกรด แต่ก็แก้ได้โดยใช้หินปูนบด, ปูนขาว, ปูนมาร์ล รวมทั้งปูนพวก Dolomite ใส่ลงไปในดิน

พืชตระกูลถั่วต้องการธาตุแคลเซียมค่อนข้างสูง โดยเฉพาะถั่วลิสง การขาดแคลนเซียมจะทำให้เกิดการติดเมล็ดไม่ดีและไม่เจริญเท่าที่ควร

ถ้าขาดธาตุแคลเซียมพืชจะแสดงอาการที่รากอ่อน ยอดและใบ ซึ่งจะมีเมือกเหนียว ๆ ทำให้ใบติดซ้อนกันไม่คลี่ออก สีของใบอ้อยจะซีดและไม่เจริญเติบโต ลำต้นอ่อนแอหักล้มง่าย ลำต้นจะแคระแกรนและเตี้ยผิดปกติ พืชจะดูดธาตุแมกนีเซียมเข้าไปมากผิดปกติ

ธาตุแมกนีเซียม (Mg)

เป็นองค์ประกอบของคลอโรฟิลล์ ส่วนที่เป็นสีเขียวของพืช ช่วยระบบการทำงานของเอนไซม์ สร้างและเปลี่ยนไขมัน การเคลื่อนย้ายอาหารในต้นพืชเป็นตัวนำธาตุอาหารฟอสฟอรัส จากส่วนรากไปยังส่วนต่าง ๆ ของพืช และควบคุมปริมาณแคลเซียมในพืช

ถ้าขาดธาตุแมกนีเซียมใบจะมีสีเหลืองซีด ใบพืชหลายชนิดใบจะมีสีเขียวสลับกับเหลืองเป็นลวดลาย หรือเป็นแถบยาวตลอดใบ เช่น ข้าวโพดจะเป็นลายเขียวสลับเหลืองขนานกับขอบและแกนกลางของใบพืช มักมีลำต้นสีเหลืองซีด การเจริญเติบโตไม่เต็มที่ ใบจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองในช่วงที่พืชกำลังเจริญเต็มที่

ธาตุกำมะถัน (S)

เป็นองค์ประกอบของโปรตีน ช่วยยึดเอนไซม์หรือโปรตีนเข้าไว้ด้วยกัน ทำให้เกิดเป็นโมเลกุลใหญ่ขึ้น และเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของสารหลายชนิดที่จำเป็นสำหรับ Metabolism ของเซลล์ เป็นธาตุที่พบในอินทรียสารเป็นส่วนใหญ่ หลังการสลายตัวแล้วพืชจึงจะนำไปใช้ได้

ถ้าขาดธาตุกำมะถัน พืชจะแสดงอาการในส่วนที่ยังอ่อนอยู่ ใบอ่อนจะมีสีเขียวซีด ลำต้น แคระแกรน บางครั้งต้นอาจจะมีสีแดง หรือสีม่วงคล้ายอาการขาดธาตุฟอสฟอรัส สำหรับในพวกธัญพืช อาการคล้ายคลึงกับการขาดธาตุแมกนีเซียม คือมีทางสีขาวหรือสีเหลืองเกิดขึ้นเป็นลายขนานไปกับ แกนใบ แตกกอน้อย พืชที่ขาดธาตุกำมะถัน จะมีธาตุไนโตรเจนสะสมอยู่ค่อนข้างสูง และการสุกจะ ช้ากว่าปกติในพวกธัญพืชเมล็ดจะแก่ช้า เมล็ดติดไม่สมบูรณ์ และมักมีเมล็ดลีบ


(ค) ธาตุอาหารปริมาณน้อย (หรือธาตุอาหารเสริมตาม พ.ร.บ.ปุ๋ย พ.ศ.2518) เป็นธาตุที่มีความสำคัญทัดเทียมกับ 2 พวกแรก ซึ่งพืชจะขาดเสียมิได้ แต่พืชต้องการในปริมาณเพียงเล็กน้อย จึงไม่ค่อยปรากฏว่าขาดธาตุเหล่านี้
ในดินที่ทำการเพาะปลูกทั่ว ๆ ไป มี 7 ธาตุ ได้แก่ ธาตุเหล็ก แมงกานีส สังกะสี ทองแดง โบรอน โมลิบดีนัม และคลอรีน

ธาตุเหล็ก (Fe)

มีหน้าที่ช่วยเสริมสร้างคลอโรฟิลล์ ช่วยในขบวนการหายใจ เป็นองค์ประกอบของสาร Ferrodoxin ใช้ในการลดและเติมออกซิเจนในปฏิกิริยาชีวเคมีเป็นสารประกอบของ Hemoglobin ซึ่งมีส่วนสำคัญในการตรึงไนโตรเจนจากอากาศโดยพวกบักเตรี, ไรโซเบียม เหล็กจึงมีความสำคัญต่อพืชตระกูลถั่วเป็นอย่างมาก

ในดินนาน้ำขังที่ใช้ในการปลูกข้าวมานาน และดินขาดธาตุเหล็ก ถ้าใช้ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต อาจจะเป็นสาเหตุทำให้ต้นข้าวแสดงอาการคล้ายเป็นโรคที่มีชื่อเรียกว่า โรค “Akiochi”

พืชจะแสดงอาการขาดเหล็กในดินที่มีหินปูนและในดินด่าง รวมทั้งดินที่อยู่ในสภาพน้ำขังเป็นเวลานาน

ถ้าขาดธาตุเหล็กพืชจะแสดงอาการใบเหลืองซีด ลักษณะต้นและทรงพุ่มแคระแกรน มีขนาดเล็ก มักแสดงอาการขาดที่ยอดและใบอ่อนมากกว่าที่ใบแก่ แกนใบจะเขียว ในขณะที่พื้นที่ระหว่างเส้นใบจะมี สีเหลือง ทำให้เส้นแกนใบเป็นลวดลายชัดเจน ลักษณะใบจะหนาเล็ก และหยาบกระด้าง พืชอาจไม่ให้ ผลผลิตเลย

ธาตุแมงกานีส (Mn)

มีความสำคัญต่อระบบการหายใจของพืช เป็นตัวการทำให้เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน และรีดักชัน ของเหล็กและไนโตรเจนในขบวนการเมตาโบลิซึม ช่วยการสร้างคลอโรฟิลล์ การเปลี่ยนแป้งเป็นพลังงานในพืช

ถ้าขาดธาตุแมงกานีสพืชจะแสดงลักษณะการขาดคลอโรฟิลล์ ทำให้ใบเป็นสีเหลืองหรือขาวในบริเวณพื้นที่ในระหว่างเส้นใบ หรือเป็นแถวสีเขียวแก่อ่อนขนานไปกับเส้นใบ และเส้นกลางใบ คล้ายอาการขาดธาตุสังกะสีและเหล็ก ถ้าขาดมากใบจะเป็นสีขาวหรือไหม้แห้งตายในที่สุด

ถ้าหากแมงกานีสมากเกินไปในดินจะเกิดเป็นพิษกับพืช และขาดความสมดุลกับธาตุอื่น

ธาตุสังกะสี (Zn)

มีความสำคัญต่อการสร้างฮอร์โมนและเอนไซม์ต่าง ๆ ในพืช ช่วยการดูดใช้ธาตุอาหารอื่น เช่น ธาตุฟอสฟอรัสมีความสัมพันธ์กับธาตุสังกะสีในการดูดซึม ธาตุอาหารในพืช เป็นต้น

ถ้าขาดธาตุแมงกานีสพืชจะแสดงอาการในใบอ่อนที่เริ่มเจริญเติบโต เช่น ยอดข้าวโพดจะมีสีขาว ปล้องสั้น ที่ยอดใบจะรวมกันเป็นพุ่ม อาการนี้เรียกว่า “Rosetting” หรือมีลักษณะใบส่วนล่างเป็นทางขาว เรียกว่า “White bud” อาการคล้ายโรคราน้ำค้างมาก บางครั้งแยกกันไม่ออก ถ้าขาดมากใบอาจร่วงหรือไม่ออกดอกในพืชบางชนิด ระดับปกติของธาตุนี้ที่พบในช่วง 25-150 ส่วนในล้านส่วน (ppm.) ข้าวโพดและถั่วจะมีความไวต่อการขาดธาตุนี้

ธาตุทองแดง (Cu)

เป็นตัวกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ต่าง ๆ เช่น ไทโรซิลเลส แลคเตส ฯลฯ ช่วยในขบวนการสังเคราะห์แสงในพืช ใบพืชบางชนิด เช่น ข้าวโพด ทองแดง มีความสำคัญในการสะสมธาตุเหล็ก และมีส่วนเกี่ยวข้องกับขบวนการเมตาโบลิซึมของพวกไขมัน ในขบวนการและปฏิกิริยาของระบบหายใจ

ถ้าขาดธาตุทองแดงพืชจะแสดงอาการที่ใบอ่อน คือจะมีสีเหลืองซีดและจะเริ่มไหม้ จนในที่สุดพืชจะแกรนและตายได้ ถ้าขาดมากยอดใบและขอบใบจะตายคล้ายอาการขาดธาตุโปแตสเซียม เช่น ใบข้าวโพดจะมีสีซีดในใบอ่อนและแห้งตาย ในพืชผักใบจะแห้งและไม่อวบน้ำ ใบอาจม้วนและ ไม่ออกดอก

ธาตุโบรอน (B)

เกี่ยวข้องกับการทำงานของเอนไซม์ แต่หน้าที่และความสำคัญ ยังไม่มีการอธิบายที่แน่ชัด ช่วยการดูดและการใช้ธาตุแคลเซียม ควบคุมการดูดธาตุฟอสฟอรัส ควบคุมอัตราส่วนระหว่างธาตุ โปแตสเซียมต่อแคลเซียม ควบคุมการแบ่งเซลล์และสร้างโปรตีน แป้งและน้ำตาล พืชใบเลี้ยงคู่จะมีความต้องการธาตุนี้มากกว่าพืชใบเลี้ยงเดี่ยว

อาการขาดธาตุโบรอนส่วนใหญ่จะพบในพืชยืนต้นมากกว่าพืชล้มลัก กะหล่ำดอก มีความต้องการโบรอนสูงและสามารถทนทานต่อความเข้มข้นได้สูง ไม้ผล และพืชผักต้องการธาตุนี้อยู่เสมอ ถ้าขาดจะแห้งตาย ลักษณะใบหนา หงิกงอและแตกหรือซีดเหลือง ในพืชหัวจะแสดงอาการเน่า ใบและเนื้อเยื่อตายบางส่วน เช่น ในพืชหัวพวกผักกาดหวาน ในผลไม้ เช่น ส้ม ความหนาของเปลือกจะไม่เท่ากัน และลูกจะบิดเบี้ยว และมีเมือกปรากฏอยู่ แต่ลักษณะเริ่มแรกทั่ว ๆ ไป จะเกิดกับยอดอ่อนและใบอ่อน ขอบและใบแห้ง หงิกงอคล้ายกับอาการของโรคเกิดจากไวรัส

ธาตุโมลิบดีนัม (Mo)

มีความสำคัญในระบบเมตาโบลิซึมของพืช เช่น ช่วยในการสร้างอมีนที่ใช้ในการสร้างสารประกอบพวกกรดอะมิโน ช่วยจุลินทรีย์ในการตรึงไนโตรเจนจากอากาศ เช่น จุลินทรีย์ในปมพืชตระกูลถั่ว เป็นตัวเร่งการทำปฏิกิริยาของเอนไซม์ไนเตรทรีดักเตส ในการเปลี่ยนรูปไนเตรท NO-3 ให้เป็น NH-2 ในพืช

จุลินทรีย์ในดินที่อาศัยในปมรากพืชตระกูลถั่วมีความต้องการธาตุนี้ในการตรึงไนโตรเจนจากอากาศ ซึ่งพืชจะใช้ประโยชน์ได้ต่อไป

ถ้าขาดธาตุโมลิบดีนัม พืชจะแสดงอาการสีซีดขาวตรงบริเวณระหว่างเส้นใบและต้นเตี้ย ซึ่งอาจพบในพืชประเภททุ่งหญ้า พืชตระกูลถั่ว มะเขือเทศ มันเทศ ถั่วเหลืองและผักต่าง ๆ ถ้าขาดมากขอบใบจะไหม้ ม้วนลงเล็กน้อยคล้ายหลอด พืชที่ขาดธาตุนี้จะมีไนเตรทสะสมอยู่ในส่วนต่าง ๆ ของต้น ในปริมาณสูงผิดปกติ

ธาตุคลอรีน (CI)

มีความสำคัญในขบวนการสังเคราะห์แสงของพืช พบเล็กน้อยในโมเลกุลอินทรีย์ของพืช ช่วยรักษาความเต่งตึงของเซลล์

ถ้าขาดธาตุคลอรีน จะแสดงอาการที่ใบอ่อน ต้นพืชจะแสดงอาการเหี่ยวเฉา ใบจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง และอาจแห้งตาย ส่วนรากจะเกิดรากแขนงมากเกินไป แต่เนื่องจากพืชสามารถใช้ธาตุนี้ทั้งจาก ในดิน ในน้ำฝน รวมทั้งในอากาศ จึงไม่พบอาการขาดธาตุนี้

ธาตุคลอรีนพบมากในดินที่มีน้ำทะเลท่วมถึง ในดินที่มีการใช้น้ำชลประทานที่มีธาตุนี้ผสมอยู่มาก ดินในที่ลุ่มที่ได้รับน้ำจากบริเวณใกล้เคียง และมีการระบายน้ำเลว รวมทั้งดินที่มีการถูกชะล้างน้อยปัญหาที่พบเกิดกับธาตุนี้คือ พืชจะดูดใช้ธาตุนี้มากเกินไป ทำให้เกิดเป็นพิษต่อพืช โดยเฉพาะพืชที่ขึ้นในดินเค็ม ซึ่งจะแสดงอาการใบไหม้ที่ยอดใบและตามขอบใบ


ปริมาณความต้องการธาตุอาหารในระยะต่าง ๆ ของการเจริญเติบโตของอ้อย

ระยะที่ 1 หน่ออ้อยที่เจริญจากท่อนพันธุ์มีเพียง 2-3 หน่อ/กอ อัตราการเจริญช้ามากเพราะต้องอาศัยระบบรากที่แทงออกมาจากท่อนพันธุ์ ระบบรากแท้ของแต่ละหน่อจะเริ่มพัฒนา การหาน้ำและธาตุอาหารในระยะช่วงแรกจึงเกิดขึ้นในอัตราต่ำ ในระยะอ้อยเริ่มงอกนี้ดินจะต้องมีความชื้นที่พอเหมาะกับการงอก ถ้าความชื้นในดินมากเกินไปตาอ้อยจะเน่า แต่ถ้าความชื้นน้อยเกินตาอ้อยจะไม่งอก ดังนั้น ในระยะนี้การให้น้ำอ้อยควรให้น้อย แต่บ่อยครั้ง เพื่อให้สภาพของดินมีความชื้นพอเหมาะ

ระยะที่ 2 หน่ออ้อยอายุ 3-4 เดือน หลังจากปลูกมีระบบรากแท้ที่สมบูรณ์ สามารถหาน้ำและอาหารจากดินมาใช้ได้ ดังนั้นช่วงที่หน่อเริ่มพัฒนาระบบรากแท้ จึงควรได้รับธาตุอาหารพวกไนโตรเจนและฟอสฟอรัสอย่างเพียงพอ

ระยะที่ 3 หลังจากอ้อยอายุ 4 เดือน อ้อยมีอัตราการเจริญเติบโตเร็วมาก เริ่มย่างปล้อง เพิ่มจำนวนปล้อง สร้างใบใหม่ ถ้าต้องการให้อ้อยมีลำยาว ปล้องยาว ต้องเร่งธาตุอาหารพวกไนโตรเจน เป็นหลัก และเสริมด้วยฟอสฟอรัสและโปแตสเซียม ในระยะนี้อ้อยต้องการน้ำมาก การให้น้ำต้อง บ่อยครั้งและให้มากขึ้น

ระยะที่ 4 อ้อยโตเต็มที่อายุประมาณ 10 เดือน อ้อยจะหยุดการเจริญเติบโตทางลำต้นและเริ่มสะสมน้ำตาลในปล้อง ดินควรมีธาตุอาหารพวกไนโตรเจนน้อย และควรมีธาตุโปแตสเซียมและน้ำ พอประมาณ ก่อนเก็บเกี่ยวอ้อยหนึ่งเดือนควรหยุดให้น้ำเพื่อให้รีดิวซิงซูการ์ (reducing sugar) เปลี่ยนเป็นซูโครส (sucrose)

สำหรับอ้อยตอ ควรมีการบำรุงตอโดยไถตัดรากข้างกอออกไปบ้าง แต่ระบบรากของอ้อยตอยังเหลืออยู่และสามารถหาอาหาร น้ำ มาให้หน่อใช้อย่างเพียงพอ ทำให้หน่อที่เจริญจากตองอกงามอย่าง รวดเร็ว หน่อใหม่จะเริ่มระบบรากแท้ภายในหนึ่งเดือน โดยมีระบบรากเก่าทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงระยะเวลาหนึ่งแล้วตายไป ดังนั้นเพื่อที่จะให้หน่อจากตอมีระบบรากที่มั่นคงแข็งแรงควรตัดแต่งตอให้ติดดิน เพราะถ้าตอโผล่พ้นผิวดินตาที่อยู่เหนือผิวดินจะงอกทำให้ระบบรากแท้ไม่แข็งแรง หน่อมากแต่ไม่โต การบำรุงตออ้อยต้องมีการให้ปุ๋ยเพื่อส่งเสริมการพัฒนาระบบรากของหน่อและการเจริญเติบโตของหน่อให้มีจำนวนมากปุ๋ยที่ใส่ควรเป็นไนโตรเจนฟอสฟอรัสและควรใส่ปุ๋ยแก่อ้อยตอเป็นปริมาณที่มากกว่า อ้อยปลูก


การประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดิน (Soil Fertility Evaluation)

หมายถึง การคาดคะเนปริมาณและสัดส่วนของธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชในดินว่ามีอยู่มากน้อยหรือเหมาะสมเพียงใด ก่อนที่จะใส่ปุ๋ยแล้วปลูกพืช เพราะดินที่ทำการปลูกพืชต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน ๆ ความอุดมสมบูรณ์ของดินจะลดลง การลดลงจะมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับชนิดพืชที่ปลูกและการจัดการดิน การแนะนำการใช้ปุ๋ยที่เหมาะสมกับดินแต่ละแห่งนั้น ต้องอาศัยข้อมูลจากการประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดินเป็นพื้นฐาน

การประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดินในเขตร้อนที่ใช้กันอยู่ทั่วไป มีอยู่ 5 วิธี คือ ดูจากอาการผิดปกติของพืช วิเคราะห์ดิน วิเคราะห์พืช การใส่ธาตุอาหารครบทุกตัว ยกเว้นธาตุที่จะศึกษาและการตอบสนองต่อพืชโดยการใส่ปุ๋ยแบบคร่าว ๆ

การประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดิน โดยการวิเคราะห์ดินเป็นวิธีที่เสียค่าใช้จ่ายน้อย และใช้ระยะเวลาสั้นในการทดสอบและยังเป็นวิธีการป้องกันปัญหาเอาไว้ก่อน กล่าวคือ ก่อนที่จะปลูกพืช ก็นำดินจากพื้นที่บริเวณนั้น มาทำการวิเคราะห์ทางเคมี ทำให้รู้ถึงปัญหาว่าควรจะใส่ธาตุอะไรอัตราเท่าใด ลงไปในดิน หลักการคือใช้สารที่เฉพาะสำหรับแต่ละวิธีใส่ลงไปในดินตัวอย่างที่เก็บมา เพื่อทำการละลายเอาธาตุที่ต้องการวิเคราะห์ออกมา โดยให้สารละลายออกมาอยู่ในสภาพของไอออนในน้ำยา ต่อจากนั้นก็นำไปวัดหาปริมาณและคำนวณออกมาเป็นตัวเลขได้ว่ามีมากน้อยเพียงใด


การวิเคราะห์ดิน

ความอุดมสมบูรณ์ของดินนับว่ามีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืชเป็นอย่างยิ่งเพราะหากพื้นที่ดินแห่งใดมีความอุดมสมบูรณ์ ก็จะมีผลทำให้พืชเจริญเติบโตงอกงามดีและให้ผลผลิตต่อพื้นที่สูง แต่ถ้าหากพื้นที่ดินแห่งใดขาดธาตุอาหารหรือมีปริมาณธาตุอาหารน้อย ก็อาจจะปลูกพืชไม่ได้หรือถ้าได้ พืชจะเจริญเติบโตงอกงามได้ไม่ดีเท่าที่ควรและให้ผลผลิตต่อพื้นที่ต่ำ อย่างไรก็ตามแม้ว่าพื้นที่แห่งใดจะมีธาตุอาหารอุดมสมบูรณ์สูงสักปานใด เมื่อใช้ปลูกพืชติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน โดยมิได้มีการบำรุงรักษาดินให้มีความอุดมสมบูรณ์แล้ว ความอุดมสมบูรณ์ของพื้นดินก็จะลดลงไปเรื่อย ๆ จนในที่สุดไม่อาจใช้สำหรับปลูกพืชต่อไปได้ ดังนั้น จำเป็นที่จะต้องมีการบำรุงรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินตามความเหมาะสม เพื่อให้ผลผลิตต่อหน่วยพื้นที่สูงอยู่เสมอ

ดินแต่ละชนิดจะมีปริมาณธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชไม่เท่ากัน และมี สัดส่วนของธาตุอาหารเหล่านี้ไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับวัตถุต้นกำเนิดดินและสภาพแวดล้อม ประกอบกับเมื่อนำดินเหล่านี้มาปลูกพืชทางการเกษตร จึงทำให้ความอุดมสมบูรณ์ของดินแต่ละแห่งในแต่ละช่วงเวลามีความแปรปรวนไม่แน่นอน ดังนั้นถ้ามีการประเมินระดับความอุดมสมบูรณ์ของดิน จะทำให้ทราบว่า ดินนั้น มีปริมาณธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชมากน้อยเพียงใด อยู่ในสัดส่วนที่เหมาะสมต่อความต้องการของพืชหรือไม่ มีธาตุใดบ้างที่ขาด ถ้าต้องการเติมธาตุอาหารในรูปของปุ๋ยจะต้องเติมลงไปอีกเท่าใดจึงจะเพียงพอ เพราะถ้าใส่ปุ๋ยมากเกินไปจะไม่เกิดประโยชน์ต่อพืช และสิ้นเปลืองค่าปุ๋ยโดยเปล่าประโยชน์

ข้อสังเกตของการวิเคราะห์ดิน

(1)  วิธีการวิเคราะห์ดิน มีอยู่หลายวิธีแตกต่างกัน บางวิธีอาจใช้ได้อย่างมีข้อจำกัดเฉพาะดินและพืชบางชนิด บางวิธีอาจใช้ได้อย่างกว้างขวาง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดดินและชนิดพืช เป็นสำคัญ

(2)  การวิเคราะห์ดิน จะบอกระดับความอุดมสมบูรณ์ของดิน และคำแนะนำปุ๋ย โดยประมาณเท่านั้น

(3) ผู้ที่จะแปลค่าวิเคราะห์ดิน และคำแนะนำปุ๋ยนั้น จะต้องมีประสบการณ์และความเข้าใจเกี่ยวกับดิน พืช การใช้ปุ๋ยเป็นอย่างดี

(4)  การทราบประวัติการใช้ที่ดิน และการจัดการดิน ชนิดพืช และผลผลิต ที่เคยได้รับ การระบาดของโรคแมลง ตลอดจนสภาพดินฟ้าอากาศในปีที่ผ่านมา จะช่วยทำให้การประเมินระดับความอุดมสมบูรณ์ของดินและการแนะนำการใช้ปุ๋ยได้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น


http://oldweb.ocsb.go.th/udon/All%20text/1.Article/01-Article%20P8.7b.htm









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-08-25 (1415 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©